เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 35352 มดอยากรู้ สำรวจกรุภาพเก่า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:34

 คุณ B ขา  ไปนอนซะไป๊  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:50

คุณ B หากไปนอนจะไม่เจ๊อะ เวรจริงแบบเรียลไทม์นะครับ...555
เซฟเก็บไว้อ่านดีกว่าครับ เป็นการกันเหนียว เผื่อท่านผู้มีเจตนาดีแต่ประสงค์ร้าย จะมาช่วยทำความสะอาดเรือนไทยแบบคราวที่แล้วอีก

ทองบางตะพาน นี่ก็หมุดเวลาอีกหนึ่งดอกครับ เป็นเหตุให้นายสำอางต้องโทษประหารไงครับ เบิกเงินหลวงไปเป็นหมื่นชั่ง ได้ทองมาร้อยกว่าชั่ง นั่นคือต้นรัชกาลที่ 5 ครับ ตอนนั้นทองคงเกลี้ยงเหมืองแล้ว

มีหลักอย่างนี้แล้ว ผมคุ้ยเอกสารไม่นานเป็นได้เรื่องครับ เสียดายไม่ได้อยู่ไกล้โรงเรียนเก่า ที่นั่นค้นจนจำเป็นชั้น ไม่ต้องพึ่งบัตรรายการ

ส่วนเรื่องฝิ่นนี่ มีมากขนาดร. 3 เอากลักมาหลอมทำพระพุทธรูปเชียวครับ จำไม่ผิดก็ที่วัดสุทัศน์ แต่ต้องสอบตำนานก่อน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 20:01

 หน้าแตกดังเพล้ง....
คดีพระปรีชาเกิดที่กบินทร์ครับ
ขอสมาลาโทษท่านผู้อ่านทุกท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 09:16

 ทองเสาชิงช้า จากสุภาษิตสอนหญิงของสุนทรภู่ มาแล้วค่ะ
สุนทรภู่ค่อนขอดผู้หญิงยากจนที่อยากทำเทียมหน้าเทียมตาคนรวย  ไม่มีเงินซื้อทองของจริง
ก็ไปซื้อทองเสาชิงช้ามาประดับกาย  อยากโก้กับเขาบ้าง
ถ้าท่านอยู่มาจนทุกวันนี้คงจะค่อนขอดสินค้าเลียนแบบแบรนด์เนมเป็นแน่

หาทองแท้แก้ไขมันไม่คล่อง
ต้องเอาทองเสาชิงช้าน่าใจหาย
แต่ล้วนเนื้อสิบน้ำทองคำทวาย
สายสร้อยสายหนึ่งก็ถึงสลึงเฟื้อง
แพงไม่เบาเขายังกล้าอุตส่าห์ซื้อ
ผูกข้อมือแลงามอร่ามเหลือง
ถึงจนยากอยากบำรุงให้รุ่งเรือง
จนทองเหลืองไม่ละจะกละงาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 09:24

 ค้นเรื่องทองเสาชิงช้ามาให้แล้ว บังเอิญไปเจอตอนนี้ในสุภาษิตสอนหญิง เลยเอามาแถมให้คุณพิพัฒน์
สุนทรภู่เล่าถึงผู้หญิงที่มีชู้ สามีจับได้   เอาตัวไปฟ้องตุลาการ  การตัดสินคดีของตุลาการคือไต่สวนเรื่องราวจนได้ความจริง

ครั้นซักไซ้ไต่ถามได้ความชัด
จึงจำกัดศักดินาราคาขาย
ถ้ารักชู้ก็ให้อยู่กับชู้ชาย
มันเบื่อหน่ายขายกลับเอาทรัพย์คืน

คำตัดสินก็คือดูศักดินาของผู้หญิงแล้วตั้งราคาขาย  ถ้าอยากอยู่กับชู้ก็ให้ชู้จ่ายค่าศักดินากับผัว เพื่อเอาเมียไป
แต่เอาไปแล้ว  ชู้เกิดเบื่อหน่ายขึ้นมาก็ขายเมียเอาเงินคืนได้

ฟังๆดูแล้วสิทธิในการขายอยู่ที่ฝ่ายชาย  ผู้หญิงไม่มีสิทํธิ์คัดค้าน  ถ้างั้นสุภาษิตนี้ต้องเขียนก่อนรัชกาลที่ ๔ หรืออย่างช้าก็ต้นรัชกาลที่ ๔
ก่อนพ.ศ.ที่อำแดงเหมือนแกถวายฎีกา  เพราะหลังจากนั้นถ้าซื้อขายลูกเมีย  สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ท่านกำหนดให้ลูกเมียต้องสมัครใจเสียก่อน พ่อหรือผัวถึงขายได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 11:22

 "ผ้หญิงเปนควาย ผู้ชายเปนคน" หาเปนยุตธรรมไม่ ให้ยกเสีย
อยู่ใน ประกาศรัชกาลที่ 4 หมายเลข 294 พ.ศ. 2410
พระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมีย บิดามารดาขายบุตร

และพบประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงิน ถึงสองฉบับ ออกในพ.ศ. 2409 แสดงว่าคงมีคดีเกิดชุกในเวลานั้น


ส่วนทองเสาชิงช้า ผมสนใจ เพราะตลาดเสาชิงช้า ไม่ใช่ตลาดใหม่ เนื่องจากเป็นตลาดบก จะเจริญได้ ต้องรอถนนบำรุงเมืองตัดผ่านเสียก่อน เดิมเป็นถนนสะเล็กสะน้อย
เรื่องนี้ยังสัมพันธ์กับยี่ห้อกิมตึ๋งฮกกี่ ฮวดกี่ ที่ไปยึดทำเลแถวนั้นค้าเครื่องกระเบื้องในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 เรือนไทยของคุณชายคึกฤทธิ์ก็ดูเหมือนเคยอยู่แถวนั้นเหมือนกัน








รูปมาจากมูโอต์ เป็นเสาชิงช้าสมัย 2400-5 ตำแหน่งเดิม ไม่ใช่อยู่หน้าวัดเหมือนทุกวันนี้  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 11:29


.

รูปถ่ายตอนปลายรัชกาลที่ 4 มองจากพระบรมบรรพตเข้าในกำแพงเมือง เห็นประตูเมืองด้านทิศตะวันออก ที่กลายเป็นมาเรียกว่า ประตูผี เพราะความเคยชิน (เป็นทางลำเลียงศพออก คราวโรคห่ระบาด สมัยร. 2 เป็นต้นมา เหมือนวัดสังเวช ก็ได้ชื่อเพราะศพออกทางนั้นมากเหมือนกัน)

ตำแหน่งที่เป็นถนนบำรุงเมืองยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสวนผลไม้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 11:36


.

ถนนบำรุงเมือง เมื่อต้นรัชกาลที่ 5 ประมาณ 2420-5 (แนวเส้นสีแดง) ห่างจากรูปที่แล้วสิบปี ไม่เกินสิบห้าปี
กลายเป็นเมืองแล้ว กิจการร้านค้ารุ่งเรือง สวนและป่าหายหมด เพราะท่านโปรดให้น้องๆ ไปสร้างวัง เท่ากับขยายเมืองไปในตัว  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 11:48


.
ขยายภาพ 127 ตัดบางส่วนมาถาม
นี่คลองมหานาคหรือคะ?
ปัจจุบันอยู่ตรงไหน   พยายามวาดภาพตามค่ะ
ชอบเรือนไทยริมคลองสองหลังแฝดน่ะค่ะ
ท่าทีโอ่อ่า น่าจะเป็นเรือนคหบดี
ลำคลองพาดขวางภาพ ตัดตรงแหนวเชียว ฝีมือขุดคลองของคนจีนนี่ใช้ได้มากๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 12:47

 เห็นภาพกรุงเทพในช่วงขยายเมือง  สวนยังมีอุดมสมบูรณ์แม้ว่าฝั่งกรุงเทพเป็นที่ลุ่ม    เปิดหน้าต่างห้องนอนก็เห็นสวนแล้ว  
อยากส่งคุณติบอกลับไปอาศัยอยู่ในเรือนคหบดีในภาพค.ห. 129  เช้าตรู่คงได้คุยกับพรรคพวก น้องนกกางเขน  สีชมพูสวน  และน้องอะไรต่อมิอะไรจนคอแห้ง
อากาศในตอนนั้นเย็นสบายกว่าเดี๋ยวนี้หลายองศา  โดยเฉพาะในยามเช้าที่สงบเงียบ ไร้เสียงยวดยานพาหนะแสบหู

เห็นเรือหลายลำ เลือกไม่ถูกว่าจะนั่งไปไหนบ้าง   คงให้คุณติบอชวนคุณหมูน้อยและคุณเฟื่อง เลือกลงเรือประทุนลำไหนก็ได้ไปเที่ยวตามคลองต่างๆของกรุงเทพ ที่เชื่อมโยงถึงกันตลอด
**************
ขอออกนอกเรื่องค่ะ
เมื่อวานไปจ่ายตลาดที่ดอนหวาย     ทางเข้าจากถนนปิ่นเกล้า-นครไชยศรี   ยังคงมีสภาพสวนเขียวชอุ่มให้เห็นเมื่อสองสามปีก่อน
แต่วันนี้สวนใกล้หายไปเหมือนบางกรวย  หมู่บ้านจัดสรรเข้ามาแทนที่  ดินที่ปลูกผลไม้ได้งาม ถูกเททับด้วยคอนกรีตเกือบหมดแล้ว
วันหนึ่งข้างหน้าเราคงต้องสั่งมะพร้าว กล้วย ฝรั่ง ละมุด จากนอกมากิน  รสชาติไม่ดีเท่าของเดิม  
พูดแค่นี้ค่ะ ไม่อยากบ่นนานกว่านี้
บันทึกการเข้า
Tiwa
อสุรผัด
*
ตอบ: 16

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 14:35


ตอบ ค.ห. 113

จัดให้ตามคำขอของอาจารย์ครับ ที่อยากทราบรายละเอียดของข้อมูลของผม ความจริงสิ่งที่ผมอ่านมา
ไม่ใช่ว่าผมจะให้น้ำหนักกับมันเสมอไปนะครับ ผมเพียงแต่อ่านเพื่อความบันเทิง อ่านเอาเรื่อง
ไม่ได้อ่านหาเรื่อง...แหะๆๆ ล้อเล่นนะครับ ยังดีนะครับที่ผมตามเจอว่าอ่านมาจากเล่มไหน
ถ้าไม่เจอละก็ ผมก็ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมายืนยันว่าผมไม่ได้ลิขิตขึ้นเองน่ะคราาาาาาาาบบบบบ

สิ่งที่ทราบมาก็คือในสมัยโบราณ ชายมิอาจเข้าไปในพระราชฐานฝ่ายใน แต่เรื่องในกำแพงวัง
ชั้นในที่เขาถ่ายทอดกันมาเป็นอักษรสาร เจ้านายผู้ชายทรง "ดอด" เข้าไปข้างในก็บ่อยไปครับ

ไม่งั้น ทำไมกรมขุนพินิจฯ ถึงทรงเข้าไปฝากรักที่สอง กับคุณแพรได้สำเร็จ จนขวดโอเดอโคโลน
หล่นแตก หอมฟุ้งโจษจันไปทั้งวัง
เจ้าฟ้าภาณุรังษี กลางวันทรงประทับที่หนึ่ง กลางคืนทรงเข้าไปนิทรากับสมเด็จยายข้างในได้

เอาล่ะครับ ถ้าสงสัยอะไรก็ถามขึ้นมาได้ครับ นี่ยังดีที่ผมยังไม่ได้เล่าเรื่องการสืบสวนคดี
กรมหลวงรักษ์รณเรศกับตัวละคอนนอก ที่ว่า " ใช้มือเคลื่อนธาตุ" เพราะมันติดเรทมาก

ต่อไปผมจะเอากระชอนกรองก่อนครับ สิ่งใดที่ผมไม่เชื่อ ผมจะรีบออกตัวว่าผมก็ไม่เชื่อครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 14:40


.

ผิดไปเพียงไม่กี่วาครับ เป็นคลองคูเมิอง ที่ผ่าระหว่างวัดราชนัดดา กับวัดสระเกษ เดี๋ยวนี้กลายเป็นชุมชนน่ารังเกียจที่บ้านเมือง โดยฝูงคนแก่เพราะกินเข้า เฒ่าเพราะอยู่นาน อ้างเหตุผลซังกะบ๊วยอะไรสักอย่าง ไล่รื้อมา 14 ปีแล้วครับ หาว่ารกพระนคร ความจริงเขาอยู่นอกกำแพงพระนครโดยความกล้าหาญนะครับ ข้าศึกบุกเข้ามา พวกนี้ตายก่อน

อนาถใจ เอาคนไม่รู้ประวัติศาตร์มาคุมงานอนุรักษ์เมือง อายไปถึงรัชกาลที่ 1 เลยครับ

คลองมหานาคไปทางขวาอีกนิดเดียวก็เจอครับ คลองนี้ น่าจะเป็นฝีมือเขมรตอนรัชกาลที่ 1  
บันทึกการเข้า
Tiwa
อสุรผัด
*
ตอบ: 16

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 14:49


ต่อครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 14:51


.

ขยายให้เห็นรายละเอียด จุดแดงที่ทำไว้ คือแนวคลองหลอดเส้นที่ผ่าวัดเทพธิดาราม (ซ้ายบน เห็นโบสถ์วิหารคู่กัน)
กับวัดราชนัดดา ปลายคลองออกวัดบุรณศิริฯ  
บันทึกการเข้า
Tiwa
อสุรผัด
*
ตอบ: 16

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 15:02


ภาพนี้ต่อจาก คห 131 ครับ ขออภัยครับ เรียงผิด
ต้นฉบับชัดดี แต่ผมบีบไฟล์สุดๆครับ
.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 19 คำสั่ง