เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 35361 มดอยากรู้ สำรวจกรุภาพเก่า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 21:26


.
ต้องมีใครในเรือนไทย มีบุญตาได้ชมกระบวนเรือในงานเฉลิมฉลองครั้งนี้แน่นอน
ผมบุญน้อย มีแต่รูปมาฝากครับ ถ่ายเมื่อ 2409 หน้าวัดทองบางกอกน้อย(กระมัง) ปักทุ่นมัดเรือให้นิ่ง ฝีพายทำท่า เพื่อการถ่ายรูปนี้ จอห์น ธอมสัน ลงชื่อไว้ตรงมุมซ้ายล่าง แต่ผมไม่เคยเชื่อหมอนี่เลย อาจจะจริงก็ได้

เส้นสีขาวกลางรูป คือรอยต่อ เป็นพานอรามาครับ งามแมะ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 21:32


.
ตามใจคุณติบอ ต้นฉบับไม่ดีนัก น้ำยาเริ่มจะหมดอายุ อีกไม่กี่ปีก็คงเหลือแต่เงาจางๆ บนกระดาษสีเหลืองๆ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 21:47

 .










ไม่เหมือนรูปนี้
ชัดจนไม่น่าให้อภัย
แม้แต่ตัวเครื่องหมายอะไรสักอย่าง
ที่มุมขวาล่าง  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 00:07

 เห็นทีผมคงหมดความจำเป็นจะต้องมาใช้ผ้าตอบคำถามตัวเองหรือเปล่าก็ไม่ทราบนะครับ
แค่พระธำมรงค์แต่ละนิ้วก็ทรงเหมือนกันขนาดนี้ ครั้งเดียวกันที่ทรงฉายภาพแน่นอนครับ


ว่าแต่เรื่องเรือ คนยกพายน่าสงสารน่าดูนะครับ ถือค้างเอาไว้ให้ถ่ายภาพนี่คงต้องยกนานน่าดู
ภาพถ่ายสมัยนู้นยิ่งต้องเปิดหน้ากล้องนานเป็นสิบนาทีด้วยนี่ครับ
มิน่าล่ะ บางภาพพายสั่น อิอิ


ปล. คุณpipat พอจะมีภาพเรือสุพรรณหงส์มั้ยครับ เท่าที่ผมจำได้ เมื่อก่อนพู่ที่ห้อยที่โขนเรือเป็นแค่พู่จามรีเฉยๆ ไม่ได้มีแก้วเจียระไนยเหมือนเดี๋ยวนี้ นี่ครับ (ไม่รู้ไปเห็นรูปมาจากไหนน๊า หิหิ)
บันทึกการเข้า
Tiwa
อสุรผัด
*
ตอบ: 16

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 00:39

 ตอบ คห 103

อะร้ายยยย..... ผมเล่าไม่รู้เรื่องจริงๆหรือครับ
ที่เดาว่าเป็นสมเด็จแม่ของ ร. 5 นั่นน่ะ คือการเดา แต่สิ่งที่เล่าให้ฟังนั่นคือการอ่านมา
แล้วมาถ่ายทอดต่อ โดยไม่ได้ปรุงแต่งอะไรเพิ่มครับ


รูปนี้กับภาพ 80 เป็นกุมารองค์เดียวกันไหมครับ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 07:37

 110 ไม่ใช่องค์เดียวกับ 80
คุณได้ 110 มาจากใหน ที่นั่นน่าจะบอกได้ว่าคือพระองค์ใด
ผมมิได้ระบุพระนามทุกรูป เพราะไม่ประสงค์จะให้เป็นสมุดพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์
อยากให้พวกเราสนุกกับการอ่านรายละเอียดที่มีในรูป การไม่รู้ แล้วพยายาค้นตามที่ตัวเองพอจะทำได้ น่าจะเป็นของเล่นให้สมอง แต่ท่ามีท่านใดไม่ชอบก็บอกมานะครับ ยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้ว

คุณ Tiwa สำนวนเหมือนคุณ Rinda มาก เพียงแต่ต่างเพศกันเท่านั้น คิดอย่างนั้นเพราะมีวิธีทิ้งท้ายที่คุ้นความรู้สึก และมีสำนวนที่ผมอ่านแล้วไม่เข้าใจเสมอ แต่คงไม่ใช่คนเดียวกัน แค่ทำให้คิดถึงเท่านั้น

อย่างประโยคข้างบนที่ว่า
"ที่เดาว่าเป็นสมเด็จแม่ของ ร. 5 นั่นน่ะ คือการเดา "
เป็นประเด็นใหม่ ไม่พบในความเห็นของคุณมาก่อนว่าคุณเคยเดาแต่เมื่อไรในเรื่องสมเด็จแม่ของ ร. 5 แล้วทำไมต้องเดา หรือว่าทรงมีสมเด็จแม่พระองค์อื่นอีก

ถ้ายังไงกรุณาเขียนให้ผมอ่านรู้เรื่องสักนิดนะครับ ถ้าหากยังรักจะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 11:29

 เรียน ทุก ๆ ท่านที่เคารพ
ขออนุญาตแวะมาที่นี่ครับ
ผมคิดว่าความเห็นที่ 110 คล้าย ๆ ว่าจะเป็นเจ้านายสายสืบมาแต่สมเด็จพระปิยมาวดีฯ มากกว่า ไม่น่าใช่รูปเดียวกับความเห็นที่ 80 ครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 14:44

 ถามคุณ Tiwa  สืบเนื่องจากค.ห. 97

พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ทรงแก่กว่าสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีถึง 12 ปี    คุณทิวายังเรียกว่าทรงมีชันษาไม่ต่างกันมากหรือคะ  ดิฉันว่าต่างกันมากโขทีเดียว

สมเด็จพระราชินี ทรงได้เป็นพระมเหสีเมื่อพระชนม์ประมาณ ๑๘ ปี  กรมหมื่นมเหศวรฯ ท่านก็ ๓๐ เข้าไปแล้ว
เห็นทีจะทรงใกล้ชิดกันยาก  ตามกฎมณเฑียรบาล

สมเด็จฯท่านเป็นเจ้านายฝ่ายใน  ส่วนกรมหมื่นฯเป็นเจ้าในฝ่ายหน้า ถ้าจะเสด็จออกหรือเสด็จไปไหนมาไหนก็ต้องแยกกันคนละส่วน  ไม่มาปะปนกัน
ถ้าจะเข้าเฝ้าสมเด็จ  กรมหมื่นก็คงเข้าเฝ้าเมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกพร้อมสมเด็จ    ตรงเข้าไปเฝ้าถึงฝ่ายในไม่ได้แน่นอน

อยากอ่านรายละเอียดของข้อมูลที่คุณได้มาจังค่ะ

ส่วนเรื่องกรมหมื่นฯท่านน้อยพระทัยสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ไม่เคยรู้เหมือนกัน
ทราบแต่ว่ากรมหมื่นฯเคยถวายพระธำมรงค์   สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงสวมติดนิ้วพระหัตถ์อยู่เสมอ  
รับสั่งว่า  เป็นแหวนของพ่อใหญ่   ถ้าหากว่าหายคิดถึงเมื่อไรก็จะถอด  
แต่ก็ไม่เคยถอดเลย  ตราบจนเสด็จสวรรคต   หลังพระราชโอรสสิ้นพระชนม์ล่วงหน้าไปแล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 15:51

 ตอบคุณพิพัฒน์  คห. 111
ถ้าหากว่าเลือกได้  ดิฉันอยากทายรูปที่ไม่รู้ว่าเป็นรูปใครมากกว่า   มันสนุกกว่าเวลาเราเห็นภาพเก่าเล่าเรื่อง
โดยไม่มีคำตอบมากำกับเสียแต่แรกว่า  เป็นภาพของใคร หรือเจ้านายองค์ใด   ถ้าเป็นแบบรู้ชื่อ  การใช้จินตนาการจะน้อยลง
ถ้าไม่รู้ จะเพิ่มการสังเกตมากขึ้น

ดิฉันไม่อายถ้าหากว่าตัวเองวิเคราะห์ผิดไปเป็นโยชน์   ไม่รู้ก็คือไม่รู้    ผิดแบบนี้ไม่ใช่ผิดศีลธรรม  จะไปอายทำไม
แต่ถ้าคนอื่นๆอยากรู้   ก็ตามใจเสียงส่วนใหญ่ค่ะ
*******************
คุณพิพัฒน์บอกไว้ในคห.73  ว่า

ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทองหยองเครื่องประดับมีใช้กันเกลื่อนกล่น จนถึงพระองค์ต้องทรงออกประกาศตักเตือนชาวบ้านอย่าแต่งองค์ทรงเครื่องเด็กให้มากนัก จะล่อตาผู้ร้าย

ดิฉันเลยนึกขึ้นมาได้ถึงขุนช้างขุนแผนตอน"กำเนิดพลายงาม" ที่ขุนช้างหลอกพาพลายงามไปฆ่า   แล้วแกล้งพาโลตำหนินางวันทองว่าปล่อยปละละเลยจนลูกหายไป

เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง
กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ
แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมิ
ว่าแล้วซิอย่าให้ลงไปดิน

ลูกปะหล่ำกำไลใส่ออกกบ
ฉวยว่าพบคนร้ายอ้ายคนฝิ่น
มันจะทุบยุบยับเหมือนกับริ้น
ง้างกำไลไปกินเสียแล้วกรรม


สมัยที่สุนทรภู่แต่งกำเนิดพลายงาม  คงมีคดีคนร้ายฆ่าเด็กเพื่อชิงทรัพย์  เพราะพ่อแม่แต่งทองรูปพรรณให้เด็กทั้งสร้อยคอและกำไล    
เป็นอาชญากรรมแพร่หลาย  ไม่ใช่ว่านานๆเกิดที  สุนทรภู่จึงเอามาใส่ปากขุนช้างให้พูดเหมือนเป็นคดีเกิดบ่อย  รู้กันทั่วไปแบบข่าวหน้าหนึ่งไทยรัฐ
ก็เลยถามไว้ลอยๆ ไม่มีคำตอบว่า แต่งสมัยรัชกาลที่ ๔ หรือเปล่า?
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 17:34

 .............."อ้ายคนฝิ่น"..................

โปรดรับกราบงามๆ จากลูกศิษย์ที่ "โง่วรรณคดี" หนึ่งกราบครับ

นี่คือนาฬิกาเวลาที่มีค่าเหลือล้น
ฝิ่นเข้ามาเมืองไทยเมื่อไหร่ ร. 3 กำราบฝิ่นอย่างไร โรงฝิ่นเกิดเมื่อไร "คนฝิ่น" มีมาแต่เมื่อไร ตีชิงวิ่งราว หลอกไปลอกคราบเกิดเมื่อไร.............

เหล่านี้ ล้วนบ่งบอกสิ่งแวดล้อมที่ท่านสุนทร กำลังนั่งเอกเขนก ว่ากลอนเป็นน้ำไหลไฟดับ แข่งกับเหตุการณ์บ้านเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างโกลาหล

มีอีกใหมครับ หมุดทองบอกเวลาเหล่านี้ ผมจะได้เอาไปจบเรื่องขรัวกับท่านสุนทรฯ
ได้อย่างสวยงาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 18:32

 เวรจริงๆ ไม่น่าบอกนักเรียนโค่ง ให้หาการบ้านใส่ตัวเองเลย

ไม่มีหนังสือพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ค่ะ  จำได้แต่ว่ามีการปราบฝิ่นกันในสมัยนี้
ลองค้นในกูเกิ้ล เจอกระทู้เก่าของ pantip เท้าความถึงพระราชบัญญัติห้ามเรื่องฝิ่นเอาไว้

สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีกฎหมายที่สำคัญ ๓ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติห้าม  ไม่ให้ซื้อฝิ่น ขายฝิ่น สูบฝิ่น จ.ศ.๑๑๗๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔)
พระราชกำหนดห้ามสูบฝิ่น จ.ศ. ๑๑๘๑ (พ.ศ. ๒๓๖๒) และประกาศเพิ่มเติมห้ามมิให้ลักจำหน่ายฝิ่นและสูบฝิ่น จ.ศ.   ๑๑๘๒ (พ.ศ. ๒๓๖๒)
ดังปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับบทลงโทษทางกฎหมายที่น่าสนใจหลายประการ เป็นต้นว่า
"...แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น กินฝิ่น ซื้อฝิ่น  ขายฝิ่น และเป็นผู้ซื้อขายเป็นอันขาดทีเดียว
ถ้ามิฟังจับได้และมีผุ้ฟ้องร้อง พิจารณาเป็นสัจจะ ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๓ ยก ทะเวนบก ๓ วัน ทะเวนเรือ ๓ วัน ริบราชบาทว์ บุตร ภรรยา และทรัย์สิ่งของให้สิ้นเชิง ให้ส่งไปตะพุ่นหญ้าช้าง
ผู้รู้เห็นเป็นใจ มิได้เอาความมาว่ากล่าว ให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยน ๖๐ ที ..."


ขนาดห้ามในรัชกาลที่ ๒ ก็ยังต้องมาปราบกันในรัชกาลที่ ๓ แสดงว่ายังมีผู้ละเมิดอยู่เรื่อยๆ

ส่วนโรงฝิ่น ยังหาไม่ได้ว่าในรัชกาลที่ ๔ มีหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:08

 ออกตัวว่ายังไม่ได้อ่านอย่างละเอียดนะคะ

แวะเข้ามาบอกว่า นึกภาพอาจารย์พูดว่า
"เวรจริงๆ" แล้วหนูขำกลิ้งเลยค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:11

 ขอใช้ความจำเล่าเสริมนะครับ
ฝิ่นเป็นเหตุให้จีนเสียท่าอังกฤษคงทราบดีอยู่แล้ว อังกฤษนั้นกุมความลับในการผลิต นัยว่าทางอินเดียรู้ก่อน อังกฤษเป็นเจ้าเข้าครอง มีหรือจะไม่ใช้มันทำกำไร ฝิ่นจึงแพร่ไปทั่วโลก

มาถึงสยามก็ตามกฏหมายที่ว่าละครับ แต่ไม่ใช่มหันตภัยร้ายแรง จนมาถึงรัชกาลที่ 3 จึงเด่นชัด จนกระทั่ง ร. 3 ให้หมอบลัดเลพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นนั่นแหละครับ 8,000 แผ่น สำหรับราชอาณาจักร นับว่ามากมายมหาศาลทีเดียว

คุณสุกิจ เล่าว่า วันหนึ่ง เกิดเรืองใหญ่ในพระนคร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ออกขุนนาง เห็นผู้คนน้อยกว่าทุกวัน ทรงถามจึงทราบว่า ส่วนมากไปที่บ้าน"พี่บดินทร์" ด้วยท่านกำลังจะลงโทษลูกชายที่ค้าฝิ่น

โปรดให้เจ้าพระยาพระคลัง ไปห้ามปราม ปรากฏว่าท่านหายไปนาน กลับมา กราบบังคมทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเข้าไปถึงที่จวน ท่านสมุหนายกก็เอ่ยว่า เจ้าคุณมาก็ดีแล้ว เราเป็นข้าพระเจ้าอยู่หัว เห็นการกระทำอันละเมิดกฏหมายบ้านเมือง ขัดต่อพระบรมราชโองการ คงจะไม่นิ่งดูดายปล่อยให้มันผ่านไปโดยไม่จัดการตามโทษานุโทษกระมัง ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังดังนั้นก็ก้มกราบแล้วนั่งดูเหตุการณ์ มิอาจเอ่ยคำอันใดได้ จนท่านเฆี่ยนบุตรชายครบยก จึงรีบกลับมาเฝ้า
พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มสรวล ตรัสว่า พี่บดินทร์พูดตัดทางคนอื่นเช่นนี้ จะทำกระไรได้
โปรดฯ ให้เรียกบุตรชายเจ้าพระยาบดินทร์มาพระราชทานเงินทำขวัญ แล้วโปรดฯ ให้หมอหลวงรักษา
(เล่าตามที่จำได้ ไม่ตรงนัก ผมใปนสำนวนของผม ต้องไปอ่านต้นฉบับนะครับ อยู่ในหนังสืองานศพของท่าน)

นี่แสดงว่า ปลายรัชกาลที่ 3 นั้น วิกฤติการณ์ฝิ่นคงมาถึงปากประตูบ้านแล้ว

แต่พอพ่อเบาริงมาทำสัญญานี่ มันลามปามขอให้ฝิ่นเป็นสินค้าเสรีนะครับ เราไม่ยอมเด็ดขาด เป็นไงเป็นกัน ถึงได้ยอมยกออก แต่ฝิ่นก็เข้ามาเต็มตัวละครับ มีข้อห้ามในพระราชวงศ์จักรี โดยรัชกาลที่ 5  ประกาศเด็ดขาดว่า ใครติดฝิ่นถือว่าขาดกัน (อยู่ในคำเตือนเจ้านายให้เร่งมือการฉลองพระนคร 100 ปี อย่าให้เหลว) แสดงว่าเป็นคำสั่งเสียจากพระจอมเกล้าแน่แท้

ดังนั้น คำกลอนบทนี้ จะช่วยเปิดทางให้คลำต่อได้แจ่มชัดขึ้น

อาจารย์แถมเรื่อง "ทองเสาชิงช้า" ด้วยได้ใหมครับ อยู่ในสุภาษิตสอนหญิงหรืออะไรคล้ายๆ  และอาจจะมีหลายกลอนด้วยกระมัง
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:18

 กระทู้นี้ใช้เวลาในการโหลดนานเหมือนกันนะคะ คงเป็นเพราะ
มีภาพเยอะ

ถ้าขึ้นกระทู้ใหม่ เรื่องที่คุยกันไว้จะขาดตอนหรือเปล่าคะ อาจารย์ คุณพิพัฒน์?

ป.ล. เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่มีเวลาอ่านกระทู้อย่างละเอียดจริงๆทั้งที่อยากร่วมวงคุยด้วยมาก เห็นเวลาที่โพสต์ไหมคะ? ตีห้ากว่าที่แคลิฟอร์เนียค่ะ
ยังไม่ได้นอนเลย พักด้วยการแวะเข้าเรือนไทยค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:27

รูปขนาดใหญ่ทำให้โหลดนานหน่อยค่ะ แต่ภาพใหญ่เห็นรายละเอียดชัด    พอดีเราคุยกันเรื่องรายละเอียดทั้งนั้น

ทองเสาชิงช้า อยู่ที่นี่ค่ะ  คุณลุงแก่ กู้ชีพดิฉันไว้ทัน
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=18&Pid=4554
เดี๋ยวจะไปอ่านสุภาษิตสอนหญิงให้อีกทีว่าทองเสาชิงช้าอยู่ตรงไหน

มีทองมาฝากคุณพิพัฒน์ จาก "กำเนิดพลายงาม" นี่ละ
เมื่อนางวันทองเจอพลายงาม รู้ว่าขุนช้างลวงไปพยายามฆ่า  นางก็ให้หนีไปหาย่าที่กาญจนบุรี
ตอนเตรียมเสบียงกับทรัพย์สินติดตัวไปให้   สุนทรภู่บรรยายว่า

จึงเย็บไถ้ใส่ขนมกับส้มลิ้ม
ทั้งแช่อิ่มจันอับลูกพลับหวาน
แหวนราคาห้าชั่งทองบางตะพาน
ล้วนต้องการเก็บใส่ในไถ้น้อย

แหวนราคาห้าชั่ง (สี่ร้อยบาท)  ราคาคงมหาศาลถ้าเป็นสมัยรัชกาลที่ ๒  ยังไม่ทราบว่าเงินสี่ร้อยบาทสมัยรัชกาลที่ ๒ ซื้ออะไรได้บ้าง
ถ้าเป็นรัชกาลที่ ๓ หรือ ๔ พอไหวไหมคะ
เงินถุงแดง มีเงินถุงละ ๑๐ ชั่ง  เท่าแหวนสองวงเท่านั้น  
ถ้าขุนช้างแกเป็นเศรษฐีบ้านนอก  มีเงินทองกล่นเกลื่อนขนาดเมียแอบเอาแหวนห้าชั่งติดตัวไปกับลูก   แกยังไม่รู้   แสดงว่าแกรวยไม่ต่างจากโดนัลด์ ทรัมป์เท่าไร

อีกอย่าง ทองบางสะพาน ค้นพบและนำมาใช่ตั้งแต่สมัยไหน  เมื่อพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ประสูติ   มีการค้นพบทองก้อนใหญ่ จากบางสะพานหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง