pipat
|
อาจารย์เทาชมพุท่านช่างเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ได้ละเอียดยังกับตัวมดในสมุด (อันนี้โดยเสด็จ สำนวนของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่เอ่ยถึงพระยาอนุมานราชธน ว่า เหมือน "ตัวหนอนในสมุด" แต่เดี๋ยวนี้เราใช้ว่าหนอนหนังสือ)
ผมมีรูปเก่าๆอยู่จำนวนหนึ่ง บางรูปมีคุณภาพดีมากๆ ขนาดขยายใหญ่ราวๆ 2000% ก็ยังดูรู้เรื่อง ตอนแรกกะว่าจะแอบเอาไว้ชื่นชมคนเดียว แต่ตามนิสัยขี้อวด อดมาแพลมให้พวกเราดูมิได้
ใครจะไปนึกว่า ท่านจะเล่าเรื่องในรูปพวกนี้ สนุกยังกับผู้ใหญ่หลอกเด็ก อย่ากระนั้นเลย เราเป็นเด็ก หลอกท่านเล่านิทานเรื่องจริงจากรูปถ่ายของมิศฟะรันซิศ จิต ช่างภาพคู่พระทัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกันดีกว่า --------------- รูปเปิดเรื่องคือบ้านริมน้ำ ระหว่างวัดแจ้งกับวัดระฆัง โบสถ์ที่เห็นเป็นฉากหลัง คือวัดเครือวัลย์ แถวนี้ ท่านสุนทร จรไปมาเป็นประจำ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:25
|
|
 .
รูปเปิดเรื่อง เป็นส่วนหนึ่งของรูปนี้ครับ หลังคาโอ่อ่ากลางรูป คือกรมท่า เป็นออฟฟิศของเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:31
|
|
 .
และเป็นส่วนหนึ่งของรูปนี้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:37
|
|
 .
และ สามารถประกอบเป็นรูปนี้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:45
|
|
 . คราวนี้ มาดูลูกน้องเจ้าน็อกส์กัน รูปนี้เขายังเป็นฝรั่งพเนจร รับราชการฝึกทหารให้พระปิ่นเกล้าอยู่ครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:56
|
|
 . ลูกน้องเจ้าน็อกส์ คงมาแอบพักระหว่างฝึกกระมัง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 00:17
|
|
แอบเป็นแมลงสามง่าม แวบเข้ามานั่งเกาะๆขอบรูปเก่าๆพวกนี้ก่อน อิอิ แต่กินม่ะลงอ่ะ รูปซ๊วยสวย ชัดแจ๋วเลยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 00:17
|
|
 . รูปทั้งหมด ถ่ายโดยนายจิต ซึ่งต่อมาได้เป็นขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ แล้วมาเป็นหลวงอัคคีนฤมิตรในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านมีชื่อตัว ว่า ฟะรัน ซิศ จิต Francis Chit เป็นไทยแท้สืบเชื้อสายมาจากทหารอาสาโปรจุเกต ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตอนกรุงแตก ชาวไทยเลือดผสมเหล่านี้ หนีภัยมาร่วมสร้างแผ่นดินใหม่กับเจ้าตาก จนได้รับพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ ตั้งมั่นเป็นชุมชนใหญ่ใกล้พระราชวังธนบุรี บริเวณวัดประยุรวงศ์และวัดกัลยาณฯ ที่ปัจจุบันเราเรียกอย่างหมดราคาเลยว่า ชุมชนซังตาครูส
ในสมัยธนบุรีมาถึงรัชกาลที่ 5 ชุมชนนี้ คือที่รวมของวิทยาการล้ำยุคทั้งปวง เพราะเป็นพวกเดียวที่ติดต่อฝรั่งตะวันตก พูดจากันรู้เรื่อง ราชสำนักได้อาศัยชาวไทยเหล่านี้เป็นล่าม เป็นช่างเทคนิค และเป็นฝายความมั่นคง
ท่านเหลานี้ ส่วนหนึ่งยังยึดมั่นในความเชื่อแคธอลิก บ้างก็เปลี่ยนเป็นไทยพุทธ ฟรันซิศ จิต ใช้ชื่อตามนักบุญของท่าน แต่ลูกของท่านกลายเป็นพุทธไปแล้ว ทุกวันนี้ยังมีที่สืบอาชีพช่างภาพเหมือนต้นตระกูล เป็นชั่วที่ 5 แล้วกระมัง
------------------ แก้ไขครับ ในรูปความเห็น 4 และ 5 นี่ ถ่ายตอนปลายรัชกาลที่ 4 ดังนั้นเจ้าน็อกส์ได้ดี เป็นกงศุลอังกฤษไปซะแล้ว |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 00:30
|
|
รูปไม่สวยจะหลอกครูไหว ไหวรื้อ
นี่ท่านคงไปรื้อตู้หนังสือกระจุยกระจาย พรุ่งนี้จะมาบ่นปวดหลัง และจามฝุ่นสมุดจนหน้าแดงเชียว
เอ้า น้องๆ ที่ใต้ถุนเรือน หายาหม่อง ยาลม และยาม้า.. เฮ้ยไม่ใช่ ยานัตถุ์ เตรียมไว้ด้วย พรุ่งนี้ได้ฟังโบราณนิทานคดีกันอร่อยแน่ เชื่อหัวติบอได้
เว้นแต่จะค้นหนังสือจนหลังยอก....5555555 เล่าม่ายหวายยยย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 07:35
|
|
หลอกเด็ก...เอ๊ย...หลอกยายแก่ บาปนะหลานเอ๊ย ย่าไหวแกก็รู้ว่าตาพิพัฒน์รู้เยอะกว่า แต่ไม่อยากเมื่อย ขอโพสต์ภาพลูกเดียว เลยโยนกลองมาให้ครูไหวแกยังงั้นละ ************************ ตอนนี้นั่งอยู่ในที่ห่างไกลตู้หนังสือ เอาความทรงจำไปก่อนค่ะ บ่ายนี้เจอหนังสือ จะเก็บมดมาเล่าให้ฟังทีละตัว
เริ่มอินโทรที่วัดเครือวัลย์ ที่มองเห็นโบสถ์ในฉากหลังของภาพที่ ๑ ขอชวนนั่งเรือข้ามแม่น้ำไปทางฝั่งธน ไปเที่ยวประวัติวัด ส่วนตัววัดไปถ่ายรูปเอาเองได้ ปัจจุบันวัดอยู่ติดกับกรมอู่ทหารเรือ เป็นฌาปนสถานของกองทัพเรือ
วัดเครือวัลย์ได้ชื่อตามเจ้าจอมเครือวัลย์ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมท่านเป็นธิดาในสกุลบุณยรัตพันธุ์ สายเจ้าพระยาภูธราภัย(นุช) ขุนนางบิ๊กเบิ้มท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๓
พวกบุณยรัตพันธุ์ สืบย้อนประวัติต้นสกุลไปได้ถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม ต้นสกุลเป็นพราหมณ์พฤติบาศมาจากอินเดีย พราหมณ์พวกนี้เป็นพราหมณ์ตระกูลสูง มีหน้าที่ทำพิธีเกี่ยวกับช้างและปัดเสนียดจัญไร ในเมื่ออาณาจักรอยุธยาอุดมไปด้วยช้าง ใช้ในการศึกและการเดินทาง การคล้องช้างจึงเป็นเรื่องใหญ่ทำกันทุกปี คล้องทีก็ไม่ใช่สั่งพรานเข้าไปคล้องเอาดื้อๆ มีขั้นตอนกระบวนการหลากหลายค่ะ กษัตริย์ลงมาเองเลยเชียว ตลอดจนต้องมีพระราชพิธีทำเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
ช้างเอกๆที่คล้องมาได้เพื่อเป็นพระราชพาหนะออกศึก เป็นพญาช้างป่าดุร้ายพยศนัก มีตบะอำนาจสูง กวีในราชสำนักก็ต้องแต่งคำสังเวยกล่อมช้างให้อ่อนน้อมยอมเชื่อง จึงเกิดฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างขึ้นมาหลายบทประดับวงวรรณคดี ใช้คำประพันธ์ประเภทฉันท์ ซึ่งถือกันว่าเป็นของสูง พราหมณ์พฤฒิบาศก็เลยเข้ามาประจำในราชสำนักอยุธยาด้วยเหตุนี้ละค่ะ สืบเชื้อสายกันมาถึงตอนกรุงแตกครั้งที่สอง นายบุญรอด ลูกหลานคนหนึ่งรอดมาได้สมชื่อ เข้ารับราชการสมัยธนบุรีต่อเนื่องมาจนรัตนโกสินทร์ จนได้เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช ล่วงมาถึงรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุล ลูกหลานก็นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานนามสกุล พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ทรงแปลงชื่อ บุญรอด จับบวชเป็นบาลีได้เก๋มากว่า "บุณยรัต" แล้วทรงเติมคำว่า พันธุ์ลงไปให้รู้ว่าสืบเชื้อสายจากนายบุญรอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 08:00
|
|
มาลงชื่อให้กำลังใจคุณ pipat เจ้าของกระทู้ค่ะ
ดิฉันยังไม่มีเวลาอ่านอย่างละเอียดเลยค่ะ คุณพิพาท (ชอบชื่อนี้ค่ะ อิอิ) กำลังยุ่งมากๆ ทั้งๆที่อยากคุยๆๆ
ขอบพระคุณทั้ง อ.เทาชมพูและคุณพิพัฒน์จริงๆค่ะ สำหรับกระทู้ดีๆแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 08:36
|
|
ผมคิดว่าซางตาครูสก็เป็นชื่อที่ดีนะครับ คุณpipat
อยากไปดูหลุมฝังศพท่านเหมือนกัน ถ้าท่านเป็นคาทอลิกจริงก็น่าจะมีสุสาน แต่ได้ข่าวว่าเขาย้ายป่าช้าซางตาครูสไปไว้ที่สามพรานแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะยังมีอะไรเหลือบ้าง
อืม เห็นที่เสื้อท่านมีกระดุมประกอบตัวอักษร พอทราบที่มาไหมครับ
อีกอย่างครับ เห็นรูปพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ด้านข้าง ตรงสนามหญ้ายังมีสิ่งปลูกสร้างอยู่เลย ตอนนี้กลายเป็นสนามหญ้าเอาไว้ดูสังคีตศาลายามเย็นไปแล้ว อยากทราบว่าเมื่อก่อนมันเป็นอะไรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 08:58
|
|
วัดเครือวัลย์นี้แหละครับ มีอัครจิตรกรรมฝาผนังหนึ่งเดียวในประวัติศาสตร์ เคยมีการพิมพ์ออกมาเป็นเล่มสมุดงดงาม เนื้อเรื่องไม่มีที่ใหนเหมือน สมัยเรียนหนังสือชอบมาดูเป็นที่สุด นับเป็นครูสอนการผูกเรื่องเล่ารูป ฝีมือเขียนก็เปี่ยมรสนิยม แถมคิดค่าแรงง่าย เพราะแบ่งช่องเท่าๆ กัน
ไม่บอกว่าเป็นเรื่องอะไร ทิ้งให้อยากรู้ อยากรู้ก็ต้องถามและจะต้องมีน้ำมะตูมจากตรอกมะตูมแถวนั้นมาฝากด้วยนะจ๊ะ ครูไหวจะได้ไม่คอแห้ง
จำได้เลาๆ ว่าหมื่นพรหมสมพัสตรสร (ไม่รู้เขียนถูกหรือปล่าว) หรือเสมียนมี จะทำงานเป็นช่างเขียนวัดนี้ด้วยซี จำได้แต่ที่ท่านบ่นว่า...เอาเงินล่อพอใจ ไม่เจ็บหลัง....
เสมียนมีนี่เป็นตัวอย่างพิเศษของช่างเขียนที่ขอรับพระราชทานเปลี่ยนอาชีพได้ เกิดมาเป็นช่างเขียน แต่ตายโดยเป็นกวี
มีใครเก๋ได้เท่านี้ใหมฮะ....
-----------คุณ B หายไปหลายเพลา ทำชาวประชาคิดถึง อ่านละเลียด พิศให้ละเอียด ย้อนไปวกมา ไม่ต้องเกรงใจเวลา เพราะเราเป็นพวกย้อนกระแสแห่งการไหลไปของเวลานะครับ
รูปเปิดเรื่องไม่จุใจ เอาใหม่ให้สมกับที่จะเล่าเรื่อง จากวัดแจ้งไปสวนมังคุด ฮิฮิ .
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 09:23
|
|
เรียนคุณ กุรุกุลา คำว่าซังตาครูสน่ะดีแน่ แต่คำว่าชุมชนนี่สิน่าเกลียด ในทางการปกครองเขาหมายถึงอย่างเดียวกับคลองเตยน่ะครับ คำนี้สายสังคมสงเคราะห์เขาถนัด
ผมให้ประหลาดใจยิ่งนัก ว่าสังคมไทยนี่ทำไมชำนาญในการทำลายคุณค่าทางมานุษยวิถีกันนัก อย่างการตั้งชื่อซอยเป็นตัวเลขอย่างนี้เป็นต้น ชื่อบ้านนามเมืองสูญหายเกลี้ยงเกลา สะดวกก็แต่พวกแท็กซึ่กระมัง
การจำชื่อซอยเป็นเลขนี่ ทำลายความผูกพันธ์ต่อถิ่นของประชาชนหมดสิ้นครับ ผมว่า
ทำไมไม่ใช้ว่าบ้านซังตะครูส หรือบ้านกระดีจีน ตามโบราณนิยม หรือนึกเอาว่าบ้านเป็นเอกพจน์กระมัง พอจะใช้หมู่บ้าน ก็เดียจฉันท์ว่าบ้านนอก พวกนี้ รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ......
ผมขยายกระดุมสามเม็ดมาฝาก พิจารณากันเอาเอง ผมเห็นของผมว่าเป็นพระปรมาภิไธยย่อ
ไม่รู้ใช่หรือปล่าว ตาไม่ค่อยดีครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 09:26
|
|
ถ้า ชาวประชา ที่คิดถึงดิฉันชื่อคุณพิพัฒน์ล่ะก็ เป็นปลื้มค่ะ ใกล้จะจบได้กลับบ้าน กลับไปทวงซีดีเต็มทนแล้วค่ะ คุณพิพัฒน์ ซีดีน่ะ ไม่ขอรับทางเมล์นะคะ แต่จะไปสวัสดีด้วยตัวเองค่ะ อยากรู้จักคนเก่งอย่างคุณพิพัฒน์ อยากไปชมภาพของจริงด้วยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|