เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 42478 ยายกะลี ตากะลา
TNT108
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

ทำงาน


 เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 20:45

 ไม่ทราบว่า ผมจะเขียนผิดหรือไม่นะครับ แต่สมัยเด็กๆ เวลาที่กรวดน้ำเสร็จแล้วก็จะนำไปเทที่โคนต้นไม้ คุณแม่ผมก็จะสอนให้ท่องว่า "ยายกะลี ตากะลา แม่พระคงคาที่เคารพ ลูกขอฝากน้ำหลั่งสิโณทก ..."

พอเริ่มโตขึ้นก็เริ่มคิดเยอะขึ้น เลยอยากทราบว่า ยายกะลี ตากะลา นี้มีที่มมาทีไปอย่างไร หรือว่า เป็นแค่บทท่องจำให้จำง่าย จะว่าจำง่ายก็ไม่ได้ง่ายนะเพราะผมน่ะท่องเป็น ยายกะลี ตีกะลา ประจำเลยครับ ว่าจะถามเรื่องนี้กับคุณแม่ท่านก็ด่วนจากไปเสียก่อนจะได้ถาม เลยมาขอความรู้จากบนเรือนไทยแห่งนี้นะครับ

แล้วอีกข้อนะครับ คือบทท่องดังกล่าวมีใครเคยได้ยินหรือเคยท่องบ้างครับ บทเต็มๆ ว่าอย่างไร ใครพอจะมีบ้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:26

 ไม่เคยได้ยินคำนี้ค่ะ คิดไม่ออก  
เดาว่าเป็นเวอร์ชั่นที่เพี้ยนมาไกลจาก ยถา วารีวหา  บทกรวดน้ำ
บันทึกการเข้า
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 23:11

 เรื่อง...ยายกะลา   ตากะลี  เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่ท่านบอกเล่ากันมาว่า ยายกะลา  ตากะลี เป็นผู้ที่มีอำนาจมากในมวลหมู่ผีทั้งหลายหรือเรียกว่าเป็นใหญ่ในหมู่ผี..คำว่า ยายกะลา  ตากะลี..บางท้องถิ่นก็จะเรียกว่าปู่กุลา  ย่ากุลี หรือปู่กะลา  ย่ากะลี  หรือเรียกอีกอย่างก็คือปู่สังกะสา  ย่าสังกะสี...เวลาจะทำการสิ่งใด เช่นการปลูกบ้านปลูกเรือน  ยกศาลพระภูมิ ฯลฯ ก็จะมีการบอกกล่าวท่านก่อน..... และก็จะมีคำคล้ายๆกันเช่น..พระภูมิเจ้าที่  ธรณีเจ้าทาง........อ่อ..หากอยากได้รายละเอียดอีกก็จะค้นหามาให้ครับ.....สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
Gabriel
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 01:22


....ยายกะลา ตากะลี....
คือเจ้าที่เจ้าทาง แต่เจ้าที่ในที่นี้ ไม่ใช่เจ้าที่เจ้าทางแบบศาลเจ้าที่ๆอยู่ในบ้านนะครับ  ....ยายกะลา ตากะลี เป็น ผีผู้คุมเหล่าผีในป่าช้า (ที่ฝังศพนั่นล่ะ) หรือที่หมอผีเรียกว่า "นายป่าช้า" ก่อนที่หมอผีจะเข้าไปทำกิจอันใดก้อตามในป่าช้า จะต้องบวงสวงนายป่าช้าก่อนว่าจะยินยอมให้ทำกิจนั้นๆได้รึไม่ (อย่างเช่นขุดศพเพื่อเอาน้ำเหลืองศพไปทำน้ำมันพลาย เป็นต้น) ถ้านายป่าช้าไม่ยอมรึไม่พอใจในเครื่องเซ่นไหว้ หมอผีคนๆนั้น จะมิอาจที่จะละเมิดได้ เพราะถ้าฝืนไปจะต้องเกิดอันตรายกับตัว.....
....บางครั้งเผาศพ เราจะได้ยินคนเฒ่าคนแก่มักจะโยนเงินใส่ไปในโรงศพแล้วพูดว่า "ยายกะลา ตากะลี ขอซื้อที่สามวาสองศอก" เหมือนเป็นการซื้อที่ให้กับผู้ตาย เพราะสมัยก่อนศพคนตายมักจะฝังเอาไว้ก่อนค่อยเผาทีหลัง  
บันทึกการเข้า
Gabriel
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 01:27

 ปล.ข้อมูลนี้ได้จาก หนังสือ พระไสยเวทย์
บันทึกการเข้า
TNT108
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 11:50

 อ้าวววว ตกลงเป็น ยายกะลา ตากะลี หรอกหรือนี่ หลงท่องสลับมาตั้งนาน ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ผมคงต้องตามอ่าน พระไสยเวทย์เพื่อประดับความรู้บ้างแล้วหละ แต่หากใครมีที่มาที่ไปอื่นๆ ก็เชิญมาร่วมกันแบ่งปันความรู้ต่อๆ กันนะคร้าบบบบ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 14:06

 เคยได้ยิน ยายกะลา ตากะลี เหมือนกันครับ

รายละเอียดผมไม่ชัดเจนนัก แต่คล้ายๆ กับที่ท่านอื่นๆ ว่ามาแล้วในนี้

ผมเดาว่า อาจเกี่ยวกับ กาลีหรือกลี ซึ่งเป็นตัวความชั่วร้ายของฮินดู อย่างที่สิงพระนล ไทยเราจะเกณฑ์ให้แกเป็นนายผีในป่าช้าด้วยก็คงพอไปกันได้ แต่จะไกลไปถึงขนาดว่าเลือนมาจากพระแม่เจ้ากาลีหรือพระอุมาภาคดุ (ซึ่งก็เป็นนายหญิงของบรรดาผีเหมือนกัน พระสวามีคือพระศิวะนั้น ได้ชื่อว่าภูเตศวรแปลว่านายผี) หรือไม่นั้นผมไม่กล้ายืนยันขนาดนั้นครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 15:01

คุณหลวงนิลครับ ผมคุ้นๆว่าผีพวกนี้จะเก่ากว่าความเชื่อผีแนวใหม่ที่เข้ามาจากอินเดียพอดูนะครับ
ผีแนวใหม่ของคนอินเดียเป็นเทพเจ้า มีตำนานยาวเฟื้อยที่นักปราชญ์บรรจงแต่งแต้มสีสันเป็นรากฐาน
ซึ่งพออ่านตำนาน เห็นเทวรูป แล้วคนพื้นเมืองก็เทคะแนนศรัทธาให้จนเกือบจะลืมผีเก่าๆของตัวเองไปเลยก็ว่าได้
ทั้งๆที่พ่อแม่ปู่ย่าตายายเขาก็เล่ากันถึงผีเก่าๆพวกนี้มาน่ะล่ะ เวลาลูกๆหลานๆมาถามว่า "โลกเกิดมายังไงอ่ะปู่"

สำหรับผีอย่างยายกะลา ตากะลี ถึงจะถูกลืมไปเยอะแล้ว แต่ก็ดูจะแอบแฝงอยู่ในวิถีชีวิตของคนพื้นเมืองเดิมในท้องถิ่นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เยอะนะครับ
ผมจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าชาวลาวที่ถูกเทครัวเข้ามาอยู่ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยหลายกลุ่มจะเรียกชื่อผี หรือเทพ 2 องค์นี้กันบ่อยมากในการประกอบพิธี หรือประเพณีต่างๆ เช่น เวลาจะเซ่นผี เข้าทรง หรือขึ้นบ้านใหม่ ก็น่าจะมีนะครับ


ถามเจ้าของกระทู้อย่างคุณ TNT 108 ดีกว่า ว่าคุณเป็นคนจังหวัดอะไร อำเภอไหน แล้วก็มีเชื้อสายอะไรครับ
เผื่อผมจะหาวิธีไปค้นมาให้เพิ่มเติมได้ ว่าผีที่คุณเล่ามาเขามีตำนานกันมาว่าอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
TNT108
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 18:55

 คุณติบอครับ โดยส่วนตัวผมเป็นคนกรุงเทพ โดยกำเนิด แต่คุณแม่ผมท่านเป็นคนแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงครามน่ะครับ ก็คิดว่าท่านน่าจะได้บทท่องจำนี้จากที่บ้านเกิดกระมัง แต่ถ้าถามถึงเชื้อสาย ทางตระกูลท่านทั้งหมดก็เป็นคนไทยเชื้อสายจีนล้วนๆ น่ะครับ แต่ท่านก็เป็นสาวชาวบ้านคนนึงที่เข้าวัดเข้าวาตามธรรมเนียม ช่วยกิจการงานวัดตามประเพณี โดยเฉพาะด้านงานครัว ท่านมีฝีมือทางอาหารเป็นเลิศ(โฆษณาซะงั้น หึหึหึ) ท่านเลยไม่ค่อยจะเป็นจีนเท่าไร ค่อนข้างโอนมาทางไทยมากกว่า พูดไทย เรียนหนังสือไทยครับ
ไม่ทราบว่าข้อมูลเกินเลยไปมากน้อยแค่ไหนนะครับ

ต้องขอบพระคุณมากเลยครับ ที่ทำให้ผมได้ข้อมูลมากขึ้นมาก และทำให้ผมกระหายใคร่รู้มากกว่าเดิมอีกเยอะ ด้วยสเน่ห์ของเรื่องราวยายกะลาตากะลี ที่เป็นตำนานเล่าขานกัน ต้องไปหามาอ่านมากขึ้นแล้วหละครับ แต่ท่าทางจะลำบากนิดหน่อย เพราะไม่ค่อยได้ไปห้องสมุดเลย แล้วอยู่ต่างจังหวัดด้วย จะได้ออกไปในเมืองก็ไม่ค่อยได้ไป แต่ยังโชคดีที่เล่นเน็ตเป็น เลยได้หาความรู้จากในเน็ต  และได้มาพบกับเรือนไทยจึงได้แวะมาพักชม ได้ความรู้แล้วก็ผ่านไปเป็นระยะๆ จนได้เวลาหนึ่งก็บอกกับตัวเองว่า น่าจะเข้ามากราบคารวะท่านผู้รู้บนเรือนแห่งนี้ เพื่อขอความรู้ประดับตนไว้ เลยตกลงขออนุญาตท่านอาจารย์เทาชมพู ขอซุกอยู่ซอกหนึ่งข้างๆ เรือน คอยฟังผู้ใหญ่เล่าแจ้งแถลงความ ไขขานเรื่องราวต่างๆ ให้จดจำไว้ประดับสมอง และก็พยายามเข้ามาอ่าน มาเก็บเกี่ยวความรู้ไว้เสมอครับผม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 22:19

 เข้ามาว่าจะตอบคุณ TNT 108 แต่เห็นทีจะตอบยากเสียแล้วสิครับเนี่ยะ
แม่กลองเคยเป็นที่อยู่ของลาวเทครัวจริงๆครับ ถ้าเอาเท่าที่สมองเบลอๆของผมจะจำได้ตอนนี้ น่าจะเป็นโซ่ง ?
แต่ไม่ได้มั่นใจว่าข้อมูลที่ตัวเองตอบไปตอนนี้จะถูก


ผมเชื่อว่าเป็นไปได้มากครับ ที่คุณแม่ของคุณ TNT 108 ท่านจะได้ยินบทสวดที่ว่ามาจากผู้นำชุมชนซึ่งเป็นชนเชื้อสายอื่น
เพราะตามนิสัยของคนจีนซึ่งแทรกตัวอยู่ในประเทศไทย มักรับและส่งอิทธิพลวัฒนธรรมของตัวเองให้กับคนในท้องถิ่นได้อย่างแนบเนียน

ผมเองก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นลูกเสี้ยวจีน เพราะมีแค่ทวดคนหนึ่งใน 8 คนเป็นคนไทย ที่เหลืออีก 7 ก็จีนทั้งหมด
แต่ตอนนี้จะอ้าปากพูดภาษาแต้จิ๋วซักคำก็ยากแสนยาก ฟังก็ไม่รู้เรื่อง ฟังแม่ค้าตำส้มเว่าลาวเสียยังจะรู้เรื่องมากกว่าอีก


ตอนนี้ขอใช้วิชาเดาชั่นเดาเอาก่อนนะครับ ว่าบทสวดที่คุรได้ยินมาน่าจะมาจากสายลาวโซ่ง
เพราะผมเชื่อว่าบทสวดในพุทธศาสนาคงไม่เอาผีขึ้นมาสวดก่อนแล้วล่ะครับ

ลองหาญาติพี่น้องท่านอื่นๆของคุณที่อาศัยอยู่ในละแวกที่คุณแม่ของคุณท่านเคยอาศัยอยู่ถามดูก่อนมั้ยครับ
เพราะตำนานปู่สังกะสาย่าสังกะสี หรือ ยายกะสา ตากะสี ทำนองนี้ผมได้ยินจากคนในกลุ่มนี้มากเอาการอยู่นะครับ
บันทึกการเข้า
TNT108
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 23:40

 คุณติบอครับ ผมไม่เคยได้ยินญาติคนอื่นๆ พูดถึงเรื่องนี้เลย หรือไม่เขาก็อาจจะท่องโดยไม่ให้ได้ยินก็ได้นะ สงสัยต้องลองถามตรงๆ เพราะอันที่จริง เวลากรวดน้ำท่านก็กรวดน้ำปกติ ท่านจะสอนให้ท่องบทนี้ตอนเทน้ำกรวดแล้วลงดิน จำได้เบลอๆ ว่าท่านบอกว่า ให้ท่องบทนี้เพื่อขอฝากน้ำกรวดให้รักษาไว้ เพื่อให้บุญกุศลที่ทำ เทวดาอารักษ์เมื่อผ่านมาจะได้รับไป อะไรทำนองเนี้ยครับ ก็เป็นการอธิษฐานประมาณว่า เผื่อเทวดาท่านยังไม่ว่างมารับบุญกุศลที่ทำไปให้แก่บุคคลที่เราแผ่ไปให้ก็ขอให้ ยายกะลาตากะลี ช่วยรับไว้ก่อนเพื่อส่งต่อให้อะไรทำนองนี้น่ะครับ

คนสอนท่านก็ไม่อยู่ให้ถามแล้วนี่สิครับ เฮ้อออ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 00:13

 คุณ TNT 108 ครับ ไม่ต้องไปถามเขาก็ได้ครับว่ารู้จักมั้ยเพราะถ้าแม่คุณท่านยังไม่เคยเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
การถามข้อมูลลักษณะนี้ ผมเปิดเรื่องไว้ให้คุณส่วนนึงแล้ว ว่าคุณแม่คุณท่านอาจจะได้ยินมาจากเผ่าใดซักเผ่า

ถ้าคุณลองถามญาติๆคุณที่เคยอยู่ในชุมชนนั้น ว่ามีชนเผ่าใดอาศัยอยู่ในชุมชนบ้างได้ คุณก็ไปค้นต่อได้
หรือถ้าญาติๆคุณจำไม่ได้ก็ลองถามเรื่องเทศกาล งานพระเพณีต่างๆ ว่ามีรายละเอียดยังไง คุณก็ไปหาต่อได้

บางครั้งเรื่องใครเป็นเผ่าอะไร อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ใครจะใส่ใจจำเท่าใดนัก เพราะไม่รู้จะจำไปทำไม
แต่อาจจะมีรายละเอียดอื่นๆที่เขาจำได้ เช่น คุณลองไปถามดูว่าเวลางานประเพณีเขาแต่งตัวกันยังไง
หรือถามเรื่องวิธีการแต่งงาน การรับประทานอาหาร การขึ้นบ้านใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่ติดตามากกว่า เขาอาจจะจำได้
เมื่อคุณก็เก็บเอารายละเอียดพวกนี้มาทีละเล็กทีละน้อย แล้วค้นต่อก็ได้ว่าคุณแม่คุณท่านจำมาจากไหน

ทางลัดน่ะ หายากนะคุณ ถ้าคุณอยากค้นคว้าจริงๆ ต้องหาจุดที่คุณจะค้นได้ไปเรื่อยๆค่อยๆสืบต่อไป




ว่าแต่ อีกซักครู่ อาจจะมีสมาชิกท่านอื่นที่ให้ความกระจ่างกับคุณได้มากกว่าผมมาเล่าให้คุณฟังก็ได้ครับ ว่าเรื่องเป็นยังไง
บันทึกการเข้า
TNT108
อสุรผัด
*
ตอบ: 15

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 มิ.ย. 06, 20:40

 ขอบคุณคุณติบอมากครับ

หากว่าผมได้แวะไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ทางคุณแม่ ผมจะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามรายละเอียดตามข้อแนะนำของคุณติบอครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 02:52

 ออกตัวก่อนนะครับว่า เพิ่งเคยได้ยินเหมือนกันครับ "ยายกะลี ตากะลา" เลยไปคุยกับคุณน้องติบอพอได้แนวคิด ก็เลยลองหาข้อมูลในเน็ตนี่แหละครับ ไปพบว่า เหมือนกับที่คุณคุณพี่บอกคือ ชื่อคู่นี้มีหลายเวอร์ชั่น แต่ที่พบมากคือ "ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี"

ไม่ว่าจะเป็น "ยายกะลี ตากะลา" หรือ "ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี" ต่างก็เป็นความเชื่อในลัทธิบูชาผีบรรพบุรุษ ครับ ซึ่งเป็นลัทธิดั่งเดิมของคนไทเดิม ก่อนที่คนไทเดิมจะยอมรับนับถือพุทธศาสนาครับ

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะนับถือพุทธศาสนาแล้ว แต่ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ก็ยังคงอยู่ในพิธีกรรมต่างๆ ทำให้คนไทเดิมบางกลุ่ม รับเอาเรื่องในพุทธศาสนามาผสมเป็นท้องเรื่องให้กับผีบรรบุรุษ กลายเป็นนิทานที่มีโครงเรื่องมาจากคัมภีร์ฝ่ายพุทธ แต่มีตัวละครหลักมาจากลัทธินับถือผีบรรพบุรุษ

ทั้ง "ปู่-ย่า" และ "ตา-ยาย" ต่างก็ชี้ให้เห็นว่า เป็น ผีบรรพบุรุษ ครับ ส่วนชื่อ สังกะสี-สังกะสา หรือ กะลี-กะลา นั้น น่าจะเป็นการเรียกเพี้ยนแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มของคนไทเดิม อย่างชื่อที่ยกมานี้จะเห็นว่า มีการเพี้ยนกับไปมาระหว่าง "ส" กับ "ล"

สรุปว่า การนับถือ ยายกะลี-ตากะลา หรือ ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี เป็นลัทธิบูชาผีบรรพบุรุษครับ กลุ่มเดียวกับการนับถือเจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา ดังนั้น บทบาทของ ผีบรรพบุรุษ คู่นี้ จึงมากในพิธีกรรมทางศาสนาครับ ซึ่งปัจจุบันจะปะปนกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในบางท้องที่ ส่วนใหญ่จะเป็นทางภาคเหนือ และอีสาน ซึ่งยังคงนับถือผีบรรพบุรุษควบคู่กันกับพระพุทธศาสนา
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 03:01

ต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายของคุณ บ่อซอน จากเว็บ http://www.thaioctober.com

-------------------------------------------------------------
โดย บ่อซอน เมื่อ: 14 ก.ค. 2002, 00:36

คนไทเรามีอยู่หลายต่อหลายกลุ่ม ในหลายประเทศ แต่มีข้อสังเกตุว่ากลุ่มไทลื้อ กับไทยวน (เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา ฯลฯ) จะใกล้ชิดถ่ายเทวัฒนธรรม ตำนาน ความเชื่อถึงกันและกันได้ตลอด

ยกตัวอย่างเช่น ตำนานความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องการสร้างโลก (creation myth) ของคนไทแต่โบราณจะแบ่งเป็นสองพวกใหญ่ๆ พวกแรกจะยึดตำนานในแบบ ปู่-ย่าสร้างโลก ได้แก่ไทลื้อ ไทยวน ไทเขิน (ในรัฐฉานพม่า) รวมทั้งไทอิสานบ้านเรา  โดยมีตำนานคล้ายๆ กันว่า ปู่สังกะสา ย่าสังกะสี  หรือปู่แถนย่าแถนเป็นผู้สร้างโลก หรือ เป็นมนุษย์คู่แรกของโลก หรือ เป็นผู้ปั้นดินขึ้นเป็นมวลมนุษย์ รายละเอียดจะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่

คนไทลื้อ เรียก ปู่ย่าผู้ให้กำเนิดนี้ว่า ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี
คนไทยวนเชียงใหม่ เรียก ปู่สังสะ-ย่าสังไส้  หรือ ปู่สองสี ย่าสองไส้ ก็มี
คนไทเขินเชียงตุง เรียก ปู่สังกะสี-ย่าสังกะไส้ หรือ ปู่แถน-ย่าแถน
คนอิสานเรียก ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี เหมือนไทลื้อ

พวกที่สองจะยึดตำนานเรื่องมนุษย์ออกมาจากน้ำเต้า  ได้แก่ลาว ไทดำ และไทขาว (ในเวียดนาม) ไทคง (แม่น้ำคง หรือสาละวิน) ในยูนนาน จ้วง(ในกวางสี) อาจรวมถึงไทอาหม (ในอัสสัม) ที่คนออกมาจากผลฟักทอง แทนที่จะเป็นน้ำเต้า แกนเรื่องจะคล้ายๆกันตรงหลังเหตุการณ์น้ำท่วมโลก แถนจะมาเจาะรูผลน้ำเต้าให้มนุษย์ออกมาสร้างเผ่าพันธ์บนโลก

นี่เป็นการแบ่งกลุ่มคร่าวๆ แต่พอลงไปในรายละเอียดจะมีเนื้อหาซ้ำซ้อนคาบเกี่ยวข้ามกลุ่มกันไปกันมาพอสมควรเพราะเป็นเรื่องของการถ่ายเททางวัฒนธรรม มีการเอาโครงหลักๆของเรื่อง เช่นเรื่องมีปู่ มีย่าไปสร้างตำนานย่อยๆของท้องถิ่น และเอาไปผสมกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่เข้ามาในตอนหลังอีก

เรื่องปู่และย่า ของทางเชียงใหม่จะเข้ากฏเกณฑ์นี้หรือไม่  ยังไม่ค่อยแน่ใจครับ ทราบเพียงเนื้อหาคร่าวๆ ว่าเป็นยักษ์ปู่ย่าบรรพบุรุษผู้คุ้มครองเมือง เมึ่อก่อนชอบกินเนื้อมนุษย์ แต่ละเลิกได้เพราะองค์พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาและห้ามไว้ กระนั้นชาวบ้านยังต้องทำบัดพลีกรรมฆ่าควายให้กินอยู่ ทางหลวงพระบางก็มีปู่เยอ-ย่าเยอ คล้ายๆกัน ทีนี้ทางไทยวนมีพิธีกรรมความเชื่ออะไร ทางไทลื้อก็คงต้องมีด้วยเพราะจัดเป็นกลุ่มที่ใกล้ชิดทางด้านวัฒนธรรมกันดังกล่าวอยู่แล้วครับ

ถ้าคุณดิน หรือเพื่อนๆสนใจรายละเอียดลองไปหาอ่าน หนังสือ ชนชาติไทยในนิทาน โดย อาจารย์ศิราพร ณ ถลาง สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม  เป็นงานวิจัยที่ให้ข้อมูลเพียบน่าสนใจมาก ผมอ่านแล้วก็จำๆมาเล่าเท่านั้นแหละครับ

-------------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง