[Another point of view in support of our King's เศรษฐกิจพอเพียง - our 'main principle'
for building our future society and home.
We have enough people who 'see' the light; we need to organize and become 'effective'.

]
http://www.onopen.com/2006/02/649... ฮอว์เคนเสนอว่า หากเราเปลี่ยนความคิดใหม่ เอา “ทุนธรรมชาติ” เป็นตัวตั้งในฐานะทุนที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต กระบวนทัศน์แบบ “ทุนนิยมธรรมชาติ” ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะสำคัญๆ ดังต่อไปนี้:
สิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นเพียงต้นทุนระดับรองในการผลิต หากเป็นระบบอันซับซ้อนที่หุ้มห่อ หล่อเลี้ยง และรักษาเศรษฐกิจทั้งโลก ดังนั้น ข้อจำกัดที่แท้จริงในการพัฒนาเศรษฐกิจคือ ความอุดมสมบูรณ์ของ “ทุนธรรมชาติ” โดยเฉพาะระบบนิเวศต่างๆ ที่ไม่สามารถทดแทนได้และยังไม่มีมูลค่าตลาด
ระบบธุรกิจที่ถูกออกแบบมาไม่ดี อัตราการเติบโตของประชากร และพฤติกรรมการบริโภคแบบทิ้งขว้าง เป็นสาเหตุหลักของการบั่นทอนทุนธรรมชาติ ปัญหาทั้งสามข้อนี้ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน (sustainable economy)
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้ดีที่สุดในระบบตลาดเสรีที่เป็นประชาธิปไตย ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต จนถึงกระบวนการจำหน่ายสินค้า เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับทุนทุกชนิด ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนที่เป็นตัวเงิน ทุนที่มนุษย์ผลิต และทุนธรรมชาติ
กุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้แรงงาน เงิน และสิ่งแวดล้อมให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุดคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรอย่างก้าวกระโดด
วิธีที่ดีที่สุดในการเพิ่มมาตรฐานความเป็นอยู่ของมนุษย์ คือการปรับปรุงคุณภาพของบริการต่างๆ ที่มนุษย์ต้องการ (คือเน้น “คุณค่า”) ไม่ใช่สักแต่เพิ่ม “มูลค่า” รวมของบริการเหล่านั้น
ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้และฐานะ ในระดับโลก
สิ่งที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีที่สุดในระยะยาวสำหรับการค้าขาย คือระบบธรรมาภิบาลแบบประชาธิปไตย ที่ตั้งอยู่บนความต้องการของประชาชน ไม่ใช่ความต้องการของภาคธุรกิจ
แน่นอน กระบวนทัศน์ “ทุนนิยมธรรมชาติ” ฟังดูดีกว่ากระบวนทัศน์แบบเดิมหลายเท่า แต่ท่านผู้อ่านคงกำลังสงสัยว่า ระบบแบบนี้จะเกิดขึ้นได้จริงหรือ?
ในหนังสือ ฮอว์เคนอธิบายกลยุทธ์หรือหลักการต่างๆ ที่ผู้สนับสนุนกระบวนทัศน์ใหม่หลายรายกำลังนำมาใช้อย่างได้ผลในโลกแห่งความจริง เขาแบ่งกลยุทธ์ทั้งหมดออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่: การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจบริการ (service economy) การลอกเลียนแบบธรรมชาติ (biomimicry) และการลงทุนในทุนธรรมชาติ
...