เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3408 กฎมนเทียรบาล
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


 เมื่อ 31 พ.ค. 06, 20:12

 กฎมนเทียรบาล ในกฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับม.ธรรมศาสตร์ บอกว่าตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) เพราะว่าเขียนไว้ว่าศักราช 720 ปีชวด (แต่ปีชวดต้องเป็นจ.ศ. 722) ดังนั้นเมื่อเทียบเป็นพ.ศ. จึงได้เป็น 1903 (722+1181?) ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)

แต่ว่าจากชื่อของพระมหากษัตริย์ คือ ".....รามาธิบดีบรมไตรโลกนารถ" ซึ่งไม่น่าจะใช่สร้อยพระนามเพราะในกฎหมายอื่นๆ ที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ไม่ปรากฏว่าใช้สร้อยพระนามบรมไตรโลกนารถ อีกทั้งในกฎมนเทียรบาล ก็สอดคล้องกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเช่น กล่าวถึงศักดินาที่กำหนดตายตัวแน่ชัด เอ่ยถึงสมุหนายก และมีชื่อบรรดาศักดิ์ตั้งแต่ เจ้าพญาพระหลวงขุน เป็นต้น ดังนั้นจึงน่าที่จะตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และเป็นเป็นการเขียนศักราชผิดมากกว่า

แต่ทำไมในกฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับม.ธรรมศาสตร์ บอกว่าตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง)ฮืม
ขอความกรุณาทุกท่านช่วยแสดงความเห็นด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 00:48

 เรื่องนี้ถ้าไม่ได้พิจารณาเองจากต้นฉบับ พูดยากครับ

ผมเคยสนใจประเด็นนี้อยู่เหมือนกัน แต่ยังไม่มีเวลาค้นคว้า แต่ก็เคยเห็นงานค้นคว้าของ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ครับ จำไม่ได้ว่าท่านค้นคว้าอยู่ในฐานะของหน่วยงานใด แต่รู้สึกว่า ท่านจะสรุปว่า กฎมณเทียรบาล ในกฎหมายตราสามดวงนี้ เขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งน่าจะใช้หลักการอย่างที่คุณ พระยาสุเรนทร์ ว่า คือ จากสร้อยพระนาม "ไตรโลกนารถ" ส่วนศักราชนั้น ถ้าไม่ลงไว้ผิด ก็อาจจะเป็นศักราชอื่น ที่ไม่ใช่จุลศักราช

เรื่องศักราชอื่นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเคยกล่าวถึงไว้เหมือนกันครับ โดยทรงเรียกว่า ศักราชกฎหมาย ซึ่งก็ยังไม่มีผู้ศึกษาต่อว่า สรุปแล้วศักราชกฎหมาย กำหนดด้วยอะไร

ส่วนเหตุที่ ฉบับธรรมศาสตร์ กล่าวว่าเขียนในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๑) นั้น คงเป็นเพราะยังคงยึดตามข้อมูลเดิมมั้งครับ ที่พิจารณาว่าเลขศักราชดังกล่าว หมายถึง จุลศักราช ส่วนที่ผิดไป ๒ ปี ก็อาจเป็นไปได้เช่นกันว่า คัดลอกกันมาผิด จาก ๗๒๒ เป็น ๗๒๐ เพราะเลขลบเลือน ?

แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นไปได้ครับที่ ตัวกฎหมายมีมาตั้งแต่ตั้งกรุงศรีอยุธยา แล้วมาแก้ไขครั้งใหญ่ ในราชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงปรากฎพระนามของพระองค์ต่อท้าย

หรือ เลขศักราชดังกล่าว เป็นศักราชเดิม ของราชธานี ที่สืบมาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอาจใช้ที่กรุงลวปุระ เป็นแห่งแรก ฮืม

ข้อมูล ก็ให้รับฟังไปทั้ง ๒ ฝ่ายครับ แต่จะเลือกใช้ด้านไหน ก็ต้องไปค้นที่มาของเหตุผลว่า ทำไมถึงใช้เลขนั้นเลขนี้ หรือ ลองคิดหาความเป็นไปได้แบบอื่นๆ แล้วค้นคว้าดูเองก็น่าสนุกดีนะครับ

คุณพระยาสุเรนทร์ ถ้ามี ต้นฉบับ ก็ลองเอามาลงให้อ่านกันก็ดีนะครับ จะได้ช่วยกันพิจารณาได้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.031 วินาที กับ 19 คำสั่ง