pipat
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 11:57
|
|
อ่าน โข่งโหย่งโย่เย่อีเล้กุก ๆ ของคุณศรีฯ ที่ 24 แล้ว เกิดดวงตาเห็นธรรมว่า ภาษาไทยนี่มันไม่มีคำด่าผู้ชายเลยนิ ....มีน้อยมากเมื่อเทียบกับคำด่าเพศแม่
ใครรู้ภาษาอื่น มา โข่งโหย่งโย่เย่อีเล้กุก ๆ กันหน่อยปะไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 12:15
|
|
476 หน้า สำหรับการได้ มะริกันดรีม มาเป็นของตน เสียดายเฮียแม้วเลิกแนะนำหนังสือแล้ว แต่แกคงอ่านอยู่กระมัง
ผมแนะนำมั่งดีกว่า Tractatus.. เป็นฝ่ายฆ่าฝัน หรือเปลี่ยนเป็นฝันร้าย ........5555
คุณนกข.น่าจะเอามาซ่อนใต้หมอน ฮิฮิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 16:40
|
|
เรียน คุณพิพัฒน์ ที่เคารพครับ ไม่ทราบว่าใครเคยได้ยินคำว่า หมวกแข็งคุ่ม บ้างครับ ผมรับประกันว่า พจนานุกรมไม่เคยบรรจุทรัพย์นี้ลงไปเลย คนที่นำมาอ้าง (เท่าที่ผมทราบ) คือ คุณดำรงค์ อารีกุล ครับ เขา(แอบ)บอกในเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของเขาว่า เคยมีคนใช้ศัพท์นี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 17:26
|
|
เรียนคุณศรีปิงเวียงที่เคารพยิ่งกว่า ครับ
อย่าหวังว่าจะหาศัพท์อะไรที่คุณอยากรู้จากราชบัณฑิตเหล่านี้ ท่านเคยบอกแล้วว่าพจนานุกรมไม่ใช่ที่รวมของศัพท์อะไรที่หาไม่เจอแล้วเป็นต้องมาเจอในพจนานุกรมของท่าน ครือ...ท่านสมเป็นราชบัณฑิตง่ะ คุณอยากได้อะไรจากราชบัณฑิตล่ะ นอกจากความเป็นบัณฑิต ผมละให้แปลกใจจริงๆ ที่คำนี้ทำไมมาตรงกับคำว่า bandit หยั่งกะเดาใจผมออก อันนี้ขอบ่นนิดหน่อยในฐานะที่เสียภาษีนะครับ
ส่วนคุณดำรงค์นั้น ท่านมีภาระเหมือนเราในการทำร้ายภาษา ท่านจึงมีอิสระในการสร้างสรรค์จนกว่าไม่ใครก็ใครสักคนจะวายวอดไปข้าง ถ้าอยากรู้ความหมายของ หมวกแข็งคุ่ม คุณก็ต้องอยากรู้ กระบือบาล, โสดไม่เสร็จ, แหกคอกเขียว,.... และอาจเตลิดเพริดแพร้วไปถึง อึ้กกะบึ้ก ของทางเชียงใหม่เขา
สรุปว่า จนด้วยเกล้าครับ มันคืออะไรหรือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 17:44
|
|
สวัสดีครับคุณพิพัฒน์(ผู้เคารพยิ่งที่สุดท่านหนึ่งในเรือนไทย) คำทำนายของพี่ติบอ เป็นจริงแล้วครับ ตอนนี้ ผมขออนุญาตไปเสาะหาเจ้า แข็งคุ่ม ก่อนนะครับ ป.ล. 1. ผมเคยได้ข่าวมาว่า ท่านราชบัณฑิตท่านเปลี่ยนคำว่า นกขุ้ม เป็นนกคุ่ม 2. คุณ อาว์ หายไปไหน และ 3. และประเด็นสุดท้าย ท่านจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ชวด แปลว่าทวด หรือว่าแปลว่าหนูกันแน่ครับ ขออนุญาตลาพักฝนสักพักนะครับ เกรงว่าจะอุกอักกระอักอึก ๆ ไปมากกว่านี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 18:34
|
|
ขออนุญาตช่วยครูพัดตอบน้องศรี ประเด็นสุดท้าย
พี่ว่า อยากทราบความหมายของคำพ้อง คงต้องดูที่บริบทนะคะ
ถ้าได้ยินพี่พูดว่า
"พี่เฟื่องเกิดปีชวด ส่วนคุณชวดเกิดปีระกา"
หนูคงไม่สับสนแน่ๆ ว่า ชวดไหนเป็นหนูกันแน่
ชวด ยังแปลว่า อด ด้วยนะ ไม่แน่ใจว่าเป็นภาษาปากเท่านั้นหรือเปล่า
การเรียนรู้ความหมายของคำพ้องโดยอาศัยบริบท น่าจะใช้ได้ในการเรียนทุกๆ ภาษานะคะ
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 21:47
|
|
ปวดหัวกะกระทู้นี้จริงๆ อ่านแล้วมีการบ้านเยอะจะทำไม่ไหว แค่ที่ต้องทำจากที่คณะ ก็เกือบๆจะไม่เหลือเวลาเป็นตัวของตัวเองแหล่ว ทำไมคุณpipat ถึงได้เปิดประเด็นที่น่าสนใจออกมามากขึ้นเรื่อยๆกลั่นแกล้งเด็กอย่างผมก็ไม่รู้ ไปดีฝ่า
ปล. คุณศรีฯ ครับ ตั้งแต่เล่นเรือนไทยมาผมไม่เคยทำนายอะไรกับเขาเลย เคยแต่ไปอ่านเซียมซีคนอื่นที่โดนทักเรื่อง "นกดำ" น่ะพอจำความได้ คุณเอาลูกแก้วหมอดูที่ไหนมาให้ผมตั้งแต่เมื่อไหร่เหรอครับ ??
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 22:04
|
|
นู๋เฟื่อง ที่น้องเนตรปริบๆ ถือไว้น่ะ มันกำลังถูกแมลงวันตอม หรือมันกะลังร้องไห้น้ำตากระเซ็น....555
ส่วนคุณศรีปิงเวียงที่เคารพมากยิ่งกว่าเมื่อตะกี้ ครับ คุณทำให้ผมต้องไปขุดรู คุยกับตุ๊ดตู่ออนไลน์ ได้ความว่า นกคุ่ม เป็นปืนชนิดหนึ่งจริง ส่วน "ขุ้ม" นั้น เขาไม่นับเป็นภาษา ข่าวที่คุณได้ยินมาจึงถูกต้อง
ทีนี้คำแปลนกคุ่มที่ผมเจอนี่ ทำความปวดหัวใจแก่ผู้หมั่นไส้เป็นอาจิณอย่างผมเป็นอักโขโสหินี
ครือว่า ถ้าเกิดลูกชายผม เจอว่านกคุ่มเป็นปืน มัน ซึ่งไม่มีความสำนึกรอบคอบพอจะทราบว่าในยุคก่อนมีปืนไฟ เขาเรียกอาวุธอย่างหนึ่งว่าปืน อย่างที่โลกนิติบอกว่า -ดุจช่างปืนดัดไม้ แต่งให้ปืนตรง ...จะเกิดความเข้าใจผิดไปมากแค่ใหน ไม่อยากนินทา มันอาจจะเข้าใจต่อว่า ปืนนกคุ่ม ปืนขานกยาง ปืนนกสับ ฯลฯ เป็นปืนรุ่นอะไรต่อมิอะไรให้วุ่นวาย ซึ่งชื่อปืนเหล่านี้ ราชบัณฑิตก็ไม่รับเข้าเป็นภาษาอีกเหมือนกัลลล์ เฮ้อออ... มันต้องฉลาดมากจึงจะรู้ว่า ให้ค้นที่ ขานกยาง จะพบคำอธิบายว่าเป็นปืน แต่...ถ้ามันฉลาดขนาดนั้น มันคงไม่คบกับราชบัณฑิตอีกแหละ
ผมเคยเชื่อว่าพจนานุกรมคือหน้าตาของวัฒนธรรม มันจะใช้ไม่ได้กับเสียมก๊กซะละมั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 02 มิ.ย. 06, 14:03
|
|
ว้าย ที่ถือไว้นั่น กุหลาบทิพย์ค่ะ ที่เห็นกระจายๆ อยู่นั่นคือ กากเพชร อิอิ
ไปแระ หนูไปประชุมก่อน บ่ายๆ จะเข้ามาให้แซวกันใหม่ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 19:04
|
|
 กราบเรียน และสวัสดี อ. เทาชมพูครับ จริง ๆ ผมตั้งใจจะมาต่อประเด็นเรื่อง โข่งโหย่งฯ ครับ แต่ช่วงนี้ไม่ว่างจริง ๆ ครับ พอพี่เฟื่องกับท่านผู้สัมเรทธิราชการประจำเรือนไทย(24 ชั่วโมง) หายหน้าไป กระทู้นี้ก็เงียบต๋อมครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 19:16
|
|
คุณศรีปิงเวียงคะ ลูกระเบิดชื่อ หมวกแข็งคุ่ม ที่คุณมาหย่อนเอาไว้น่ะค่ะ ยังได้ยินเสียงมันเดินติ๊กๆ อยู่เลย มันแปลว่าอะไรกันแน่
ถ้าเป็นชื่อหมวกชนิดหนึ่ง คำว่า แข็ง และ คุ่ม เป็นวิเศษณ์ (adjective)ประกอบคำนาม หมวก ดิฉันก็นึกถึงหมวกปีกแข็ง ที่ปีกหมวกหลุบลง อย่างหมวกกะโล่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 19:23
|
|
เรียน อ.เทาชมพู ที่เคารพอีกครั้งครับ หมวกแข็งคุ่ม ในนิยายเรื่องหนึ่งเขาระบุไว้แค่ว่า ตำรวจสองนายเดินไปที่รถ สวมหมวกแข็งคุ่ม ครับ แน่นอนว่า มันคือ หมวกกันน็อกครับ ขอบพระคุณความเห็นของ อ. และทุก ๆ ท่าน มา ณ ที่นี้ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 19:33
|
|
หมวกกันน็อค  ค้น : คุ่ม คำ : คุ่ม ๒ เสียง : คุ่ม คำตั้ง : คุ่ม ๒ ชนิด : ว. ที่ใช้ : ที่มา : นิยาม : ค่อมน้อยๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง. หมวกกันน็อค น่าจะเรียก หมวกแข็งครอบ มากกว่าหมวกแข็งคุ่ม หรือ บอกผ่านแบบไม่ต้องต่อ..เอ้า...หมวกแข็งหุ้ม(หัว)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 20:20
|
|
นึกว่าผมติดใจหมวกแข็งคุ่มอยู่คนเดียว
คือได้แต่ติดอยู่ในใจ ไม่มีอะไรจะร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนแบ่งปันได้ ครั้นมาอ่านของคุณครู ทชพ. ก็ต้องพยักหน้าหงึกๆ ว่า ผมก็นึกว่าหมวกแข็งคุ่ม น่าจะเป็นหมวกทำนองหมวกกะโล่เหมือนกัน
ซึ่งตำรวจสมัยหนึ่งก็อาจจะใส่ แต่สมัยนี้ไม่ทราบว่าใส่รึเปล่า
ผมคลับคล้ายคลับคลา - แต่ไม่ยืนยัน - ว่า จะเคยเห็นครูอบ ไชยวสุ (ฮิวเมอริสต์) หรือนักเขียนรุ่นอาวุโสท่านอื่น จะ พ. เนตรรังษี รึเปล่าไม่แน่ใจ พูดถึงหมวกที่เด็กสมัยโน้นใส่ โดยใช้คำนี้บรรยาย เข้าใจว่าถ้าไม่หมวกฟางนักเรียนรุ่นโบราณ ก็หมวกเครื่องแบบลูกเสือรุ่นโบราณเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|