เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 33010 นอร์แมน ร็อคเวลล์ ศิลปินวาดภาพประกอบชาวอเมริกัน
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 13:22

 ภาพของลุงนอร์มัน ที่อาจารย์เทาชมพูว่าจะหามา 4 ภาพว่าด้วยเสรีภาพ 4 ประการนั้น ถ้าจำไม่ผิด คือ Freedom from Want / from Fear/ of Speech/ of Religions 4 ประการ เป็นแนวคิดของประธานาธิบดีวิลสัน

ผมจำได้วาเคยเห็นภาพของลุงนอร์มัน แต่จำรายละเอียดไม่ได้ทุกภาพ จำได้แม่นคือเสรีภาพในการพูดหรือแสดงออก กับเสรีภาพจากความอดอยากหิวโหย 2 ภาพ อีก 2 จำไม่ได้

ยังไงๆ ผมก็ยังชอบลุงนอร์มันอยู่ และแน่ละในทางอุดมคติผมก็เห็นว่าเสรีภาพทั้ง 4 นี้เป็นหลักการสำคัญที่ถ้าทำได้จริงก็ดีแน่ละ แต่ผมอดมีข้อสังเกตเล็กๆ ไม่ได้ว่า บรรดาคนที่อยู่ในรูปของลุง 2 รูป ซึ่งกำลังเอ็นจอยเสรีภาพทั้ง 2 อยู่นั้น มีแต่คนขาว ไม่มีคนผิวสีอื่นเลยแม้แต่คนเดียว

ผมคิดว่าลุงนอร์มไม่ทันได้คิดหรือไม่ได้ตั้งใจหรอก แต่มันก็ออกมาอย่างนั้น

ที่จริงอีกนั่นแหละ รูปสบายๆ เบาๆ น่ารักๆ ของลุง โดยเฉพาะในยุคต้นๆ นั้น ตัวละครในภาพเป็นฝรั่งผิวขาวแทบทั้งหมดเลย ลุงเพิ่งจะมาเขียนเด็กนิโกร หรืออาซิ้ม หรืออื่นๆ ในรูปของลุง ดูเหมือนจะในระยะหลังแล้ว เมื่อจำเป็นต้อง -หรืออยากจะ- แสดงภาพของสังคมอุดมคติแห่งสหรัฐฯ ที่เป็น melting pot เท่านั้นแหละจึงได้ให้ประชากรเชื้อชาติอื่นของสหรัฐฯ แสดงตัวออกมาในภาพของลุงด้วย
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 13:27

 ภาพ Freedom from Want ของลุงนอร์มัน รอคเวลล์ พระเจ้าตา Piapt จัดให้เป็นพวกเดียวกับศิลปะโปรประกันดาของพวกนาซีเยอรมัน อยู่ใน คห. ที่ 20 ครับ ภาพที่เป็นงานเลี้ยงอันอุดมสมบูรณ์ (น่าจะเป็นงานเลี้ยงเทศกาลขอบคุณพระเจ้า) รูปขวาสุด เห็นไหมครับว่า คนที่อยู่ในภาพนี้ บังเอิญเป็นฝรั่งทั้งหมดเลย ไม่มีฮิสแปนิกอเมริกัน ไม่มีเอเชี่ยนอเมริกัน ไม่มีอินเดียนแดง และไม่มีแอฟโฟรอเมริกันเลยสักครึ่งคน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 13:33

 ให้ผมแสดงความเห็นเกี่ยวกับรูป Wood Stove นี้เหรอครับ
มันจะยิ่งกว่าตาบอดคลำช้างนา...ระดับช้างคลำคนตาบอดเชียวแหละ

เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เสียไปถึงท่านทวด ที่ท่านวางองค์ประกอบเชิงซ้อนไว้ หนักยิ่งกว่าที่เฮียไวฯ ทำกับรูปนี้
ผมจะใช้โมเมโถโลยี่ มั่วว่า

การยืดจุดสนใจออกจากกัน (ในที่นี้คือคริสตินากับหน้าต่าง) ก็เพื่อให้เกิด tempo-spatial ส่วนจะเป็นเท็มโประดับใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับสายตาผู้ชมที่จะอ่านสัญลักษณ์แต่ละชิ้นในรูป

การยืด ซึ่งน่าจะเรียกให้ถูกต้อง ว่าการฉีกสองสิ่งออกจากกัน ยังเป็นการบอกนัยยะด้วยว่าสองสิ่งที่ถูกฉีกออก ไม่ใช่สิ่งสำคัญ
ถ้างั้นอะไรเล่าคือสิ่งสำคัญในรูปนี้ ต้องไม่ใช่เตาผิง เก้าอี้หรือถังใบน้อยแน่นอน

หากเรากวาดตามองภาพนี้อย่างเป็นธรรมชาติ
เหมือนเรากำลังดูห้องในบ้านเก่าๆ หลังหนึ่ง ไม่ใช่ดื่มด่ำจิตรกรรมบนผนังห้องแสดง
เราน่าจะรับรู้ได้ว่า มีบางอย่างในรูปนี้ ที่เรารู้สึก แต่มองไม่เห็น ไม่มีตัวตนให้จับต้อง แต่สามารถสัมผัสได้ด้วยอายะตนะที่เหมาะสม ครั้นเมื่อสัมผัสได้แล้ว สิ่งนั้นก็ไม่สามารถปฏิเสธว่าไม่มีได้อีกต่อไป

ไวอัจจงใจเขียนให้เห็นว่า คริสตินาไม่รับรู้กับสิ่งที่เรายังเดาไม่ออกนี้ เธอยังเป็นตัวของตัวเอง
เตาผิงเสียอีก ที่ดูจะ "รู้สึก" มากกว่าเธอ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:01

 กราบนมัสการพระเจ้าตาอีกเรื่อง

มีหนังสือเล่มหนึ่ง เพิ่งออกมาไม่นานนักนี่เอง ชื่อ "American Dream, Global Nightmare" ผมอ่านไปได้ครึ่งเล่มแล้ว สนุกดีครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:08

 ประเด็นที่ผมจะเชื่อมโยงระหว่างไวยอัจกับร็อคเวลล์ก็คือ ความเป็นอเมริกัน
ทั้งคู่ เป็นยอดฝีมือ แต่ทำไมเล่า ท่านนิลกางขา...แซว ของผมถึงต้องน้อยใจ ว่าลุงนอร์ม ถูกเหยียดลงต่ำกว่าศิลปิน อันนี้ผมไม่เห็นด้วยเช่นกัน ลุงแกเป็นศิลปินครบถ้วนกระบวนความ หลายสิ่งหลายอย่าง ยังเหนือกว่าพวกปลอมปนเป็นศิลปิน ที่มีเกลื่อนโลก

แต่....ด้วยฝีมือระดับเทพยดาพู่กันทองฝังเพ็ชร แกไม่น่ามาเป็นศิลปินอเมริกันเลย มีความเป็นอเมริกันอยู่สามอย่าง ที่มันโดมิเนตคุณค่าให้ต้อยต่ำ คือความมักง่าย มักมาก และมักรู้ (...นี่กำลังพูดถึงแยงกี้นะครับ ไม่ใช่เสียมก๊ก)
ฝีมือแกไม่ต้อยต่ำกว่าเฮียไวฯ แม้แต่น้อย แต่เฮียไวฯ แกมี "มักทั้งสาม" น้อยกว่าเกณฑ์อเมริกันชนทั่วไป แกถึงเห็นอัญมณีข้างบ้านไงครับ
ส่วนลุงนอร์มน่ะหลงบูชาตะกั่ว

อีตาวิลสันคนนี้ใช่ใหม ที่อนุมัติให้อิโนลา เกย์ ขนไอ้เด็กน้อยไปฝากชาวฮิโรชิมา  แล้วอีกเจ็ดสิบสองชั่วโมงต่อมา มันก็มอบไอ้อ้วนให้ชาวนางาซากิ พลเรือนกว่าสองแสนนะครับ ที่สังเวยความอยากรู้ของมัน ผมไม่เคยคิดจะดูหมิ่นคนพิการเลย ยกเว้นเจ้าหมอนี่ ดังนั้นถ้าเวรตนนี้พูดอะไรออกมา แม้แต่คาถา เย ธมมา...ผมก็ไม่เชื่อครับ

ลอร์ดคลาร์ก เขียนไว้ใน Civilization ว่า
ระหว่างตึกกับคำปราศัยในตึกนั้น แกเชื่อตึกง่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:19

 ตอนเรียนวรรณคดี   ดิฉันมักสงสัยว่าสิ่งที่อาจารย์อธิบายว่าตัวละครคิดยังโง้นยังงี้   เรื่องราวเป็นงั้นเป็นงี้  

อย่างบทรำพึงกับตัวเองอันลือชื่อของ Hamlet  ขึ้นต้นว่า To be, or not to be นั้น  แฮมเล็ตแกคิดถึงปรัชญาชีวิตยังงั้นของแกจริงๆหรือว่าปรมาจารย์ทั้งหลาย 'คิด' ว่าแกคิด

เคยถามเหมือนกัน   อาจารย์บอกว่าต้องอ่านหนังสือเยอะๆ โดยเฉพาะผลงานของกวีหรือนักประพันธ์นั้นๆ เพื่อแกะรอยเขาได้ รวมทั้งต้องรู้ประวัติหรือสังคมแวดล้อมที่เป็นแรงบันดาลใจด้วย



ตามประสาคนไม่มีปรัชญาชีวิต  ดิฉันก็ไม่ค่อยจะเชื่อว่ากวีที่เป็นมนุษย์อย่างเราๆคิดอะไรได้ลึกขนาดนั้น รวมทั้งต้องชักแม่น้ำทั้งห้าจากสภาพแวดล้อมมาประกอบด้วยอีกแน่ะ  มันยุ่งยากกับชีวิตมากไปมั้ง



ดิฉันเห็นว่าผลงานของศิลปินนั้นประดุจลมหายใจ   เขาไม่รู้ตัวหรอกว่ากำลังสูดลมเข้าหรือออก    ดังหรือเบา กระชั้นหรือว่าเนิบเนือยแค่ไหน    เขาหายใจโดยอัตโนมัติตามสบายและตามถนัด   มันก็หล่อเลี้ยงชีวิตเขาไปเองจนหมดอายุขัย

แต่นักวิชาการนั้นเหมือนหมอที่มาเฝ้าดูว่า หมอนี่กรนดังไหม หัวใจเต้นกี่ครั้งต่อนาที  หายใจแบบนี้แสดงว่าสุขภาพดี   แบบนี้แสดงว่าแย่แล้ว ฯลฯ



เชกสเปียร์อาจเมาจนพูดไม่รู้เรื่องก็ได้ตอนเขียนบทแฮมเล็ตรำพึง   เลยเขียนอะไรออกมาอ่านไม่รู้เรื่อง   กลายเป็นเหตุของความลึกล้ำยากจะตีความ  

ตอนแกสร่างเมา เขียนรู้เรื่อง ก็ชัดเจนแจ่มแจ้งดีจนไม่ต้องอธิบาย เลยไม่มีใครติดอกติดใจตอนนั้น  หาว่ามันตื้น



ที่พล่ามมายาวจนออกนอกร็อคเวลล์ไปเยอะ คือจะบอกคุณพิพัฒน์ว่าดิฉันมองภาพ Wood Stove แบบงี่เง่า  เลยเห็นไปอีกอย่าง  

เตลิดเปิดเปิงออกนอกเส้นทางไปมากทีเดียวละค่ะ

แต่ยังไม่บอกว่าเป็นยังไง  ขอไปหาเกราะมาสวมก่อน  กันเจ็บตัว

มีเกราะของอัศวินพระเจ้าชาลมาญอยู่แถวนี้ให้ยืมซักชุดไหมคะ คุณนกข.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:29

 ป่านนี้ประธานาธิบดีวิลสันสะดุ้งอยู่ในหลุมแล้ว  

ภาพชุดที่นำชื่อเสียงมาให้ร็อคเวลล์มากที่สุด คือภาพชุด Freedom
เขาวาดขึ้น โดยมีแรงบันดาลใจจากสุนทรพจน์ของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี.รูสเวลท์ ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๑๙๔๑
ขอลอกมาให้อ่านกันตามนี้ค่ะ

In the future days which we seek to make secure,
we look forward to a world founded upon four essential human freedoms.

The first is freedom of speech and expression
-- everywhere in the world.

The second is freedom of every person to worship God in his own way
-- everywhere in the world.

The third is freedom from want, which, translated into world terms,
means economic understandings which will secure to
every nation a healthy peacetime life
for its inhabitants
-- everywhere in the world.

The fourth is freedom from fear, which, translated into
world terms,
means a world-wide reduction of armaments
to such a point and in such a thorough fashion
that no nation will be in a position to commit an act of physical aggression against any neighbor
-- anywhere in the world.

That is no vision of a distant millennium. It is a definite
basis for a kind of world attainable in our own time and generation.
That kind of world is the very antithesis of the so-called "new order" of tyranny
which the dictators seek to create with the crash of a bomb.

มันยาวนัก ไม่แปลละค่ะ ถ้าคุณนกข.อดรนทนไม่ได้ เดี๋ยวก็มาแปลให้ฟังเอง และอาจจะมีของแถมให้อีกด้วย
เพราะส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์อันงามสง่าหวานหูนี้ คงไปกระทบต่อมคันยุกยิกในหัวใจของท่าน นกข. เข้าไม่มากก็น้อย

บอกสั้นๆว่าท่านประธานาธิบดีพูดถึง เสรีภาพ ๔ อย่าง ที่มนุษย์พึงมี
-freedom of speech เสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็น
-freedom to worship เสรีภาพในการนับถือศาสนา ตามศรัทธาความเชื่อของตน
-freedom from want ข้อนี้คือปลอดพ้นจากความอดอยากขาดแคลน
-freedom from fear ปลอดพ้นจากภยันตราย ไม่มีภัยใดมาข่มขู่คุกคาม มีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ร็อคเวลล์ได้รับมอบหมายให้ตีความทั้ง ๔ ข้อออกมาเป็นภาพ ที่"พูดได้" (ขอยืมสำนวนพระเจ้าตาของคุณนกข.)
ในที่สุดเขาก็ทำได้จริงๆ ภาพของเขาพูดออกมากังวานไปทั่วอเมริกา
สามารถ"ฝึกฟื้นใจเมือง" ที่กำลังหน้าดำคร่ำเครียดกับสงครามโลกครั้งที่สองอย่างได้ผล
นี่คือ Freedom of Speech
.
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:32

 Freedom of Worship
.
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:33

 Freedom from Want
.
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 14:36

 Freedom from Fear
.
.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 15:15

ผมมีเรื่องมาฝากอาจารย์เทาฯ

เกี่ยวกับศิลปะหรือเปล่าก็ไม่รู้



วงร็อคอังกฤษวงหนึ่ง ดังพอดูเชียวแหละในยุคของเขา manic street preacher มาแสดงที่กรุงเทพ นักจัดรายการดังคนหนึ่งของไทย ไปสัมภาษณ์ ตอนหนึ่งสังเกตว่า พวกนี้ทำไมดูอารมณ์เสียจังวะ นั่งหน้านิ่วคิ้วขมวด ถามคำตอบคำ แกก็เลยถามว่า พวกคุณไม่มีความสูขหรือ

"ไม่"

อ้าว ทำไมละ คุณได้เล่นดนตรีที่คุณรัก มีชื่อเสียง มีแฟนเพลงทั่วโลก ได้เกียรติยศชื่อเสียงเหนือกว่าคนส่วนมาก เป็นผมละก็ มีความสุขตายเลย ผมอยากเป็นอย่างคุณ

"อย่าเลย มันไม่ดีหรอก"

ไม่ดียังไง คนส่วนใหญ่ยอมทุกอย่างเพื่อเป็นอยางคุณตอนนี้

"คุณไม่รู้อะไร เรามันพวกเด็กวัยยี่สิบ เป็นกลุ่มที่แย่ที่สุด"

เป็นไปได้ไง วัยรุ่นก็เหมือนกันนั่นแหละ

"ไม่เหมือน ...เด็กต่ำกว่าสิบ อยู่กับพ่อแม่ตลอดเวลา มีแต่ความสุข เด็กสิบขวบกว่า ใครๆ ก็เอาอกเอาใจ กลัวว่ามันจะใจแตก ไอ้พวกสามสิบขึ้นไป มันก็มีงานทำ มีครอบครัว มีสังคม...



พวกเราเด็กยี่สิบนี่แหละ ที่ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแล...

แม้แต่เวลาเล่นดนตรี พวกผมก็ต้องเล่นเอาใจคนฟัง ไม่ได้เล่นอย่างที่ตัวเองอยากเล่น...." นี่ขนาดศิลปินเด็กนะครับ มันยังครุ่นคิดตรึกตรองขนาดนี้



ผมว่าอาจารย์เทาฯ แกล้งทำเป็นไม่ฉลาดอย่างแนบเนียน  ความจริงฉลาดเหลือร้ายทีเดียว คิดดูนะครับ ยกคำนี้มา "ผลงานของศิลปินนั้นประดุจลมหายใจ เขาไม่รู้ตัวหรอกว่ากำลังสูดลมเข้าหรือออก"

จะหลอกให้ผมชำแหละศิลปินจำพวกหนึ่ง ผมไม่หลงกลละคร๊าบบบ...อย่างที่อีตาปีกัสโสว่า "i do not seek i've found"



ตอนนั้นแกพูดอะไรก็เท่ทั้งนั้นแหละ คนเราดังแล้วนี่ ทำเป็นเงียบคนก็ว่าลึกซึ้ง ทำเป็นแหกปากโวยวาย คนก็ว่าบริสุทธิ์ใจ



ศิลปินที่ทำงานออกมาเหมือนลมหายใจนี่ ผมว่าทั้งประวัติศาสตร์โลกนี่ จะมีคุณสุวรรณอยู่คนเดียวมังครับ

สมเด็จนริศฯ ทรงใช้สำนวนว่า "..แตกออกมาเป็นเหื่อ" ศิลปะ มันหนักหนาประมาณนั้นนะครับ ขนาดผมพิมพ์ความเห็นไม่เป็นโล้เป็นพายนี่ ยังเหนื่อยแฮกๆ เลยครับ



ตอบความเห็น 42 ที่อาจารย์เทาชมพุกรุณา....จ๊าก ลืมตัวครับ

ที่บ้านสอนให้นอบน้อมกับคุณยาย เอ๊ย คุณพี่..ผู้อาวุโส  แหะแหะ รับทราบ...และปฏิบัติ  ครับพ้ม



ส่วนคุณนิลฯ ถ้าคุณอ่านเล่มนั้นจบ แล้วไม่มาเล่าให้พวกเราฟัง ผมจะแช่งให้คุณ.... เอ เคยแต่ด่าคน แช่งไม่เป็น....

เอางี้

ให้คุณถูกล็อตตะรี่ติดกันสิบสามงวด แต่ลืมสลากไว้ในกระเป๋ากางเกง ส่งไปซัก นึกขึ้นได้ ตามไปเอา ....ร้านบอกว่า...

คิดเอาเองละกัน  5555



ทีนี้มาว่าด้วยฮอบเปอร์กับพี่ไวฯ สองคนนี่ก็น่าพิจารณาเหมือนกัน ใครจะเริ่มก่อนครับ

เชิญ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 15:52

มีแต่คนฉลาดเท่านั้นที่นึกว่าคนอื่นฉลาดเหมือนตัว...ทุภาษิตจากไหนก็ไม่รู้บอกไว้

อยากฟังคุณพิพัฒน์เริ่ม จะฮอปเปอร์หรือไวเอ็จก็ได้ค่ะ  คนไหนก็ประเสริฐแก่โสตเท่ากัน

นำภาพ Wind from the Sea ที่คุณชอบมาขยายให้คนอื่นดูกันบ้าง
ภาพนี้ดูแล้วเศร้ากว่า Early Sunday Morning เสียอีกค่ะ
ใน ESM ยังรู้สึกว่ามีคนอยู่มากมายในภาพนั้น แม้ว่ามองไม่เห็นตัว ก็ยังรู้สึกถึงการดำรงอยู่
แต่ภาพนี้  คริสติน่าซ่อนอยู่นอกภาพ  มองออกไปจากหน้าต่างห้องเก่าแก่   เธอมองไม่เห็นคนอยู่ที่ไหนเลยจนคนเดียว
สายลมพัดเข้ามา  แต่เธอไม่ได้ออกไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 15:54


.
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 17:26

 จาก คหพต 24 รู้สึกตัวเองเหมือนเป็นกุมารทอง
ว่ายวนอยู่ในอ่างปลาทองดีๆ พ่อแผนก็เรียก..

อ่านอยู่เงียบๆแท้ๆ เชียวนะเนี่ย
(ไม่ทำร้ายใครแน่ๆค่ะ  รับรองด้วยเกียรติของปลาทองแคระ)

ชอบผลงานลุงนอร์ม เหมือนกันค่ะ

ด้วยความที่ถนัดทางภาพยนตร์มากกว่า แหะๆ
ทำไมก็ไม่ทราบ พอเห็นผลงาน ผนวกกับเรื่องอเมริกันดรีม
แล้วทำให้นึกถึงเรื่องนี้ค่ะ

Nothing is as simple as Black and White

.
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 17:32

 Freedom from want ?

.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.044 วินาที กับ 19 คำสั่ง