เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7044 อาณาจักรศรีจนาศะ มีจริงหรือไม่
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



 เมื่อ 27 พ.ค. 06, 22:00

 อยาทราบเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีจนาศะหากท่านใดมีกรุณามาให้ความรู้หน่อยครับ   ขอบพระคุณครับ  
บันทึกการเข้า
Hotacunus
องคต
*****
ตอบ: 613


AD FRANCIAM


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 04:39

 ข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวอาณาจักรนี้ ศึกษาได้จากศิลาจารึก ซึ่งปัจจุบันพบอยู่ ๒ หลักคือ

๑.  จารึกบ่ออีกา (จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. ๑๔๑๑)

สถานที่พบ บ้านบ่ออีกา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

เนื้อหาโดยสังเขป
ด้านที่ ๑ กล่าวถึงสัตว์และทาสที่พระราชาแห่งศรีจนาศะถวายแก่พระสงฆ์
ด้านที่ ๒ เริ่มต้นด้วยการกล่าวสรรเสริญพระศิวะ แล้วกล่าวยกย่องอังศเทพซึ่งเป็นผู้สร้างศิวลึงค์นี้


๒. จารึกศรีจานาศะ (จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. ๑๔๘๐)

สถานที่พบ บริเวณเทวสถาน ใกล้สะพานชีกุน อำเภอเมือง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ ๑ เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระศิวะ จากนั้นสรรเสริญนางปารวตี ต่อจากนั้นจึงกล่าวถึงรายพระนามพระราชาแห่งอาณาจักรจานาศปุระ คือ พระราชาองค์แรกทรงพระนามว่าภคทัตต์ ผู้ที่สืบต่อลงมาจากพระเจ้าภคทัตต์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า สุนทรปรากรม พระเจ้าสุนทรปรากรมทรงมีโอรสทรงพระนามว่า สุนทรวรมัน พระเจ้าสุนทรวรมันทรงมีโอรส ๒ องค์องค์พี่ทรงนามว่านรปติสิงหวรมัน ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แห่งอาณาจักรศรีจานาศะ องค์น้องทรงนามว่า มงคลวรมัน ได้โปรดให้สร้างจารึกหลักนี้เพื่อฉลองการสร้างพระรูปพระชนนีเป็นพระราชเทวี คือ ชายาของพระศิวะ เมื่อศักราช ๘๕๙ (พ.ศ. ๒๔๘๐) ส่วนจารึกด้านที่ ๒ นั้น เป็นรายชื่อของทาส

ถ้าดูจากที่ปรากฎชื่อ "ศรีจนาศะ" ในจารึก ก็แสดงว่า ดินแดนนี้มีจริงครับ แต่ว่าจะเป็นอาณาจักรเชียวหรือ ฮืม??

ศรีจนาศะ อาจเป็นเพียงแคว้นหนึ่ง ที่มีศูนย์กลางอยู่แถวๆ โคราชก็ได้ครับ จะว่าเป็นถึง "อาณาจักรนั้น" ก็ฟังดูโม้ไปหน่อย อย่างไรก็ตาม ก็ต้องอ่านจารึกดูครับ อะไรที่นอกเหนือที่บอกในจารึกก็เป็น "ข้อสันนิษฐาน" ทั้งสิ้น ซึ่งจะถูกผิดก็ต้องไล่กันไปตามตรรกะครับ

นักวิชาการที่ศึกษามีอยู่ครับ ลองไปหาหนังสืออ่านดู รู้สึกว่า ศิลปวัฒนธรรม ได้พิมพ์รวมบทความเกี่ยวกับแคว้นนี้ไว้ มีนักวิชาการเขียนอยู่หลายท่าน

ไปอ่านเนื้อหาของจารึกทั้ง ๒ หลักนี้ได้ที่

 http://www.sac.or.th/jaruk/
โดยไปที่หมวดค้น "คำสำคัญ" ใช้คำว่า "ศรีจนาศะ"

ได้ความรู้อะไรใหม่ๆ ก็มาแชร์ มาเล่ากันบ้างก็ดีครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 17:02


ศิลปะแบบศรีจนาศะครับ
เรื่องของศรีจนาศะขอติดไว้ก่อนครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 17:03


ขยายครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 17:03


จะเห็นว่าส่งอิทธิพลกับศิลปะแบบอู่ทองมาก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 17:09


ลองเทียบกับพระพุทธรูปแบบศิลปะอู่ทองยุค 2 ดูครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:49

 ใช่พระเมตไตรยที่บ้านฝ้าย บุรีรัมย์หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
คุณพี่
มัจฉานุ
**
ตอบ: 76



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 08:39

 โบราณวัตถุนี้พบ  ณ ที่ใดครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 10:43

 ถ้าให้ผมเดาก็คงเป็น เมืองฝ้าย ลำปลายมาศ บุรีรัมย์หรือเปล่าครับ เช่นนั้นอายุก็คงราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 เก่ากว่าศักราในจารึก ปัญหาก็คือศรีจนาศะเก่าไปถึงขนาดไหน และ
สิ้นสุดลงเมื่อใด รวมทั้งประติมากรรมเหล่านี้สร้างขึ้นเนื่องในแคว้นนี้หรือเพื่ออาณาจักรขอม ขอความรู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 19:07

 สวัสดีครับ คุณ Hotacunus, คุณพี่, คุณ กุรุกุลา
ประติมากรรมจากประโคนชัย บุรีรัมย์
ส่วนเศียรพระพุทธรูปจาก Private Collection ครับ

ผมเอาเรื่อง เขมรสูง-เขมรต่ำ มาฝากครับ
ที่เหลือก็คงต้องช่วยกันค้นต่อไป
ย่อมาจากของคุณ Sea Pen
 http://www.scubazoom.com/smf_/index.php?PHPSESSID=c9c52b2f393c1897ed76cd1818dda9f6&topic=684.msg15807


"อีสาน หรือ ที่ราบสูงโคราช"
ทางด้านทิศตะวันตก มีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และ ดงพญาเย็น ทางทิศใต้
มีเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้พื้นที่ลาดเอียงไปทางตะวันออกจนถึงแม่น้ำโขง  ตอนกลางของภูมิภาค
มีเทือกเขาภูพานพาดกลาง  แบ่งที่ราบสูงอิสาน ออกเป็น 2 ส่วน

เรียกพื้นที่ตอนบนว่า "แอ่งสกลนคร" หรือ "เขมรสูง" คือบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ โขง ชี และแม่น้ำมูล
ครอบคลุมไปจนถึงอุบลราชธานี ที่ราบสูงโบเวนและจำปาสักในลาว

เรียกพื้นที่อีกแอ่งหนึ่งอีกแอ่งหนึ่งว่า "แอ่งโคราช" หรือ "เขมรต่ำ" ตั้งแต่เมืองพิมายไปจนถึงประเทศ
กัมพูชาในปัจจุบัน ราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 ไม่พบอารยธรรมขอมอยู่ในบริเวณนี้  แต่มาพบในบริเวณ
ที่เรียกว่า "เขมรสูง" คือแอ่งสกลนคร  ทั้งในส่วนประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
บริเวณนี้ พบร่องรอยของอารยธรรมเก่าแก่ตั้งแต่ยุคค่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการพบภาพเขียนสีผนังถ้ำ
และเครื่องปั้นดินเผา เครื่องสัมริดต่างๆมากมาย (เช่นที่ผาแต้มและบ้านเชียง) ลบล้างความเชื่อที่ว่า
อีสาน เป็นดินแดนลี้ลับโดดเดี่ยว

จากหลักฐานทางโบราณคดี  ในจารึก และจดหมายเหตุต่าง ๆ พบว่าผู้คนในดินแดนนี้ มีการติดต่อกับ
สังคมภายนอกอย่างกว้างขวางตลอดทั่วทั้งแอ่งสกลนครและแอ่งโคราช โดยเริ่มก่อตัวเป็นชุมชนเล็กๆ
จากนั้น จึงได้ขยายใหญ่เป็นเมือง และกลายเป็นรัฐแรกในยุคประวัติศาสตร์ ที่รู้จักกันในนาม
"อาณาจักรเจนละ" หรือ กำเนิดแห่งอาณาจักรขอมโบราณ ที่มีมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 10
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 19:10


เรื่องประติมากรรม เอามาฝากครับ
"ศิลปะเขมรสูงชาวพุทธ" คัดลอกจาก
หนังสือพระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา
ประวัติศาสตร์ชนชาติไทยกับปฏิมากรรมในพุทธศาสนา เล่ม 1
ของ สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์
พิพม์ครั้งที่ 2 หน้า373

"เป็นศิลปะที่มีอายุอยู่ช่วงสมัยกับศิลปะทวาราวดีและลวะปุระ ที่ปัจจุบันเรายังอนุโลมให้เรียก
พระพุทธรูปและปฏิมากรรมทางศาสนาอื่นๆ ที่มีอายุตั้งแต่ปีคริสต์ศตวรรษที่ 7-11
ว่าเป็นกลุ่มศิลปะทวา-อีสาน แต่ที่ถูกต้องตามความเป็นจริงในหน้าประวัติศาสตร์จะต้องเป็น
ศิลปะเขมรสูง ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนครหลวงจนถึงยุคนครหลวงตอนต้น จริงอยู่ในสมัยนั้น
โดยสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ศิลปะเขมรสูงกลุ่มนี้ได้ร่วมศิลปะกับศิลปะทวาราวดีที่อยู่ใกล้กัน
มานานแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ประชาชนและดินแดนส่วนนี้ก็ยังขึ้นอยู่ภายใต้การปกครอง
ของอาณาจักรกัมพูชาอย่างปฏิเสธมิได้ ศิลปะที่ค้นพบในดินแดนเขมรสูงแห่งนี้ มีทั้งปฏิมากรรม
ทางศาสนาพราหมณ์ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานปฏิมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน
เช่น พระพุทธรูปที่แสดงสัญลักษณ์ของเหล่าธยานิพุทธ หรือ พระโพธิสัตต์ศรีอริยเมตไตรที่ค้นพบ
ที่อำเภอประโคนชัยที่โด่งดังไปทั่วโลก ที่มีอายุอยู่ระหว่างคริสศตวรรษที่ 8-9 มีรูปแบบคล้ายกับ
ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุกของเขมรเมืองพระนครหลวง แต่มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปตามสาย
สกุลช่างพื้นถิ่น

จากการศึกษาถึงด้านประติมานวิทยาจะเห็นว่า ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 8 ช่างในดินแดน
ประเทศไทยส่วนนี้มีประติมานวิยาทางการหล่อสำริดจะสูงกว่าในเมืองนครหลวงของอาณาจักร
กัมพูชามาก ดังพระราชวินิจฉัยของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่พระองค์กล่าวว่า
หากเป็นการแกะสลักศิลาช่างเขมรจะเก่งกว่า แต่หากเป็นงานหล่อโลหะสำริดช่างลพบุรีจะ
เก่งกว่ามาก เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ปฏิมากรรมโลหะที่พบในกัมพูชาอาจจะ
หล่อจากเมืองลพบุรี แล้วส่งไปยังนครหลวงของกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่ไม่น่าจะเกิน
ความเป็นจริงนัก เพราะมีการพบหลักฐานหล่อปฏิมากรรมรูปแบบต่างๆ ที่หล่อไม่ติดมีมากมาย
ที่ค้นพบในเมืองลพบุรี จนถึงทุกวันนี้ยังมีการค้นพบปฏิมากรรมโลหะแบบสำริดผสมในลพบุรี
จำนวนมากกว่ากัมพูชา

เพราะเหตุนี้ ผู้เขียนจึงขอฝากงานวิจัยให้ท่านนักปราชญ์ช่วยนำเรื่องศิลปะลพบุรีไปช่วยศึกษา
ค้นคว้าต่อ โดยเฉพาะหน่วยงานการศึกษาของทางราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพราะเหตุว่า
สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้เป็นศิลปะภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ที่น่าจะมีการขยายวงกว้างเจาะลึก
เขียนเป็นงานศึกษาวิจัยขนาดใหญ่สำคัญของชาติ ดีกว่าจะให้คนบางกลุ่มที่ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์
ชอบนำมากล่าวแบบลอยๆ ไร้หลักฐานว่า ศิลปะเหล่านี้เป็นของกัมพูชา แต่เราก็ไม่ปฏิเสธว่า
กลุ่มเขมรสูงและกลุ่มมอญทวาราวดีซึ่งเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณษจักรกัมพูชาที่
ศูนย์อำนาจอยู่ที่เมืองพระนครหลวงนั้น เป็นบรรพบุรุษตัวจริงผู้มีส่วนริเริ่มการก่อตั้งรัฐไทย
โดยเฉพาะอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย"
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 19:12


ลองเทียบดูกับประติมากรรมแบบทวา
อายุไม่ห่างกันเท่าไหร่ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง