เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75328 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 02 มิ.ย. 06, 11:28

 เดามั่วนะครับ คุณpipat ผมไม่แน่ใจอะไรกับความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ในสมองเอาเสียเลย

ถ้าจำได้ไม่ผิด The English Governess at the Siamese Court น่าจะพิมพ์เอาปี 1870 คิดเป็นพุทธศักราชก็ 2413
ส่วน Romance of the Harem จะพิมพ์เอาเมื่อปี 1873 คิดเป็นปีพุทธศักราชก็ 2416

ผมเลยเดามั่วๆเอาว่าภาพที่คุณpipat ส่งมานี่คงถ่ายราวๆปี 2405 - 2409 หรือช้าที่สุดก็ไม่เกิน 2410 แล้วกันนะครับ
(ขอเน้นย้ำครับ ว่ามั่วร้อยละร้อย แหะๆ) เพราะไม่มีความรู้อะไรเลย


เชิญสมาชิกท่านอื่นมาคงหาคำตอบที่น่าจะเป็นที่พอใจของสมาชิกท่านอื่นๆมากกว่าผมได้ล่ะครับ
ไปดีกว่า ขอตัวไปดูแอนนาหน่อยครับ อิอิ



.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 02 มิ.ย. 06, 12:14

 ตี๋ นี่ดูยังไง ก็ตี๋ นะครับ
นึกถึงว่าเบื๊อกนี่ เกิดสั่งประหารใครสักคน คงจะหน่อมแน้มเอ้อเร้อเอ้อเต่อ อีหลุกขุกขยุยต็มทน

ให้มันเป็นบั้ตเล่อร์ละก้อ พอทน แต่คงระดับภัตตาคารระดับสองดาวกระมัง คือมันไม่มีราษีเอาเสียเลย

ผมเปิดห้องไร้สาระไว้ เรียนเชิญคุณติบอเอาสิ่งไร้รสนิยมพันธุ์ยังงี้ไปแหมะไว้ได้ใหม อยู่ที่นี่ท่านทวดอินของกระผม จะเสียสมาธิ เดี๋ยวเลยประสมสีผิด จะเสียไปทั้งสาแหรกตระกูลช่าง 555
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 15:35

 กลับมาเข้าตัวบท
-------------------
สำหรับคนที่มีพื้นทางด้านถ่ายรูปมาบ้าง รูปพระพุทธชินสีห์นี้ มีหลายสิ่งที่บ่งบอกที่มาและอายุสมัยได้ หากใช้จินตนาการเข้าช่วย ประการแรก ขอให้สังเกตว่า เป็นรูปถ่ายในร่ม ในอาคาร ที่ค่อนข้างจะมืดมาก รูปอย่างนี้ ครั้งหนึ่งถือว่าถ่ายไม่ได้ทีเดียว
ประการต่อมา กล้องสามารถเก็บรายละเอียดออกมาได้อย่างน่าพึงพอใจ นี่ย่อมสะท้อนคุณภาพของเลนส์ ฟิล์ม และกระบวนการล้างฟิล์มได้เป็นอย่างดี ว่าเป็นสมัยที่เทคนิคพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ในกรณีของรูปนี้ ซึ่งเราทราบว่า แม่แอนนาเคยนำไปใช้ ย่อมจะเป็นรูปถ่ายที่นางพาติดตัวกลับไปยังบ้านใหม่ แต่จะเป็นรูปแต่ครั้งใหน ต้นหรือปลายรัชกาล
ก็ขอชี้ชัดเลยว่าเป็นรูปถ่ายคุณภาพสูงตอนปลายรัชกาล ไม่ใช่รูปที่ตกทอดมานานจนให้แหม่มเอาไปใช้หากินทีหลัง

เพราะถ้าเป็นรูปก่อน 2410 ลงไป จะมีข้อด้อยหลายประการให้จดจำ เป็นต้นว่า น้ำยาจะขุ่นข้นมากกว่านี้ อันจะทำให้รูปไม่ใสกระจางตา ไม่สามารถเก็บรายละเอียดในที่มืดได้อย่างครบถ้วนเช่นนี้ และจะต้องเปิดหน้ากล้องนานเสียจนเก็บการเคลื่อนไปของแสงแดดที่กระทบเป็นไฮไลท์ กลายเป็นแสงพร่าเลือน เพราะอาจจะต้องเปิดหน้ากล้องนานถึงสามสี่สิบนาที

ในสายตาของอดีตครูสอนถ่ายรูป งานชิ้นนี้จึงถ่ายในวันที่ช่างภาพ ได้เลนส์ที่ "สว่าง" กว่า และพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบกระจกได้บางลง อันทำให้ไวแสงมากขึ้น กว่าสมัยถ่ายรูปท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ในปี 2406 เป็นอันมาก

เชิญชมรูปท้องพระโรงดังกล่าว

.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 15:45

 ลองขยายรูปท้องพระโรงให้ค่ะ
ที่นี่คนละแห่งกับพระที่นั่งอนันตสมาคมปัจจุบันนี้นี่นา  
อยู่ในพระบรมมหาราชวังใช่ไหม
.
.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:34

 ถูกต้องแล้วครับ
พระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่สอง องค์แรกสร้างครั้งรัชกาลที่ 4 หลังเบาริงก์ออกไป ประมาณ 2400 ท่านก็เริ่มสร้าง เพื่อใช้รับแขกเมืองอย่างตะวันตก เป็นหมู่พระที่นั่ง ซึ่งถ้าเรียกอย่างปัจจุบันก็คือคอมเพล็กส์ นั่นเอง นับว่าทรงทันสมัยล้ำยุคทีเดียว พระที่นั้งทั้งสิบหลังมีชื่อคล้องจองกันและมีหน้าที่ใช้สอยจำเพาะเจาะจง ผู้สนใจขอเชิญไปแสวงหาความรู้เอาจากประชุมพงศาวดารภาค 25

รูปที่อาจารย์ขยายใหญ่ให้นี้ เป็นเพียงครึ่งเดียวของรูปต้นแบบที่เราส่งให้ฝรั่งวาดเข้ามา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพงศาวดารฉบับมีรูปภาพ ซึ่งจะทรงวางแผนไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ผมสังเกตว่าน่าจะทรงตั้งพระทัยเป็นแนวนั้น จึงทรงอุดหนุนวัฒนธรรมการสร้างรูปบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นจริงเป็นจัง

ในรูปที่ฝรั่งวาดเข้ามา จะเห็นสมเด็จเจ้าพระยา และสมเด็จกรมหลวงฯ วงษาฯ ออกท้องพระโรงด้วย นับว่าหาชมยาก และถ้าเราไม่มีต้นฉบับออกไป ฝรั่งที่ใหนจะนั่งเทียนเขียนเข้ามาได้

ผมจึงออกจะดูถูกคนที่ดูหมิ่นบรรพชนว่า สั่งเขียนพระบรมรูปแบบมาตรฐานต่ำเข้ามา คนรุ่นนั้นฉลาดล้ำลึกกว่าที่เราคิด ไม่งั้นเราทุกวันนี้ได้เป็นขี้ข้าฝรั่งมาร้อยห้าสิบปีแล้วละครับ

อุเหม่..อยากจะแช่งมันนัก

.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:38


.

ขยายขึ้นมาครับ จะได้ช่วยกันดูว่าผมไม่ได้ตาฝาด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:45


.

อันนี้มุมตรง ถ่ายตอนปีแรกๆของรัชกาลที่ 5 ตอนนั้นถ่ายรูปในร่ม เป็นเรื่องง่ายแล้ว
แต่ความง่าย ก็แลกเอาความประณีตไปนะครับ เลนส์ที่ไวแสงก็มักจะอ่านค่าขาวจัดดำจัดแย่ลงไปด้วย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:54


.

รูปปิดท้าย หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ครั้งรัชกาลที่ 4
ใครสนใจมากๆ ก็ไปหาหนังสือของศาสตราจารย์ มรว. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี มาอ่านดู ท่านเขียนไว้ครบถ้วนตั้งแต่สร้างจนรื้อ
หนังสือสวยและเขียนดี พวกเราคงไม่พลาดอยู่แล้ว

อาจารย์เทา มอบอภิสิทธิ์ให้ผมแปะรูปได้ใหญ่ขึ้น
แต่บุญมี กรรมมาบัง
รูปยิ่งใหญ่ คอมฯ บุโรทั่งของผมก็ออกอาการอิดออด
ดังนั้นดูกันตามกำลังเครื่องที่ผมมีละกันนะครับ แหะ แหะ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 21:57

 เพิ่งเคยเห็นภาพนี้เป็นครั้งแรกค่ะ    อัศจรรย์ใจมาก
ท้องพระโรง โอ่อ่าตระการตาจริงๆ

กรมหลวงวงษาธิราชสนิท คือทางขวาใช่ไหมคะ  
สมเด็จเจ้าพระยา หมายถึงท่านไหน   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ หรือว่าสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่/องค์น้อย

ท่านั่งของท่านทั้งสอง เหมือนเป็นสิทธิพิเศษเหนือขุนนางทั่วไป   ถ้ากรมหลวงวงษาฯ ประทับนั่งอย่างนี้ก็ไม่แปลก เพราะท่านเป็นพระบรมวงศานุวงศ์
แต่สมเด็จเจ้าพระยาได้นั่งแบบนี้  ขณะที่ขุนนางหมอบกันเป็นแถว  แสดงให้เห็นความสำคัญแบบไม่ธรรมดา
ฝรั่งที่ยืนเข้าแถวกันอยู่นั้น คือพวกของเซอร์จอห์น เบาริงหรือเปล่าคะ

คำถามเยอะมาก ขออภัย มัวตื่นเต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 22:09


.
.
มาขยายภาพที่ 52 ให้ค่ะ
จำได้งูๆปลาๆจากคุณพิพัฒน์เอง  ถนนสายนี้คือสายที่ผ่านหน้าวัดพระแก้ว ทางด้านกระทรวงกลาโหม
ในรูปนี้กระทรวงกลาโหมยังไม่ถือกำเนิด
วัดพระแก้วกำลังสร้างบางส่วนอยู่
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 04 มิ.ย. 06, 23:21


.
รูปรับราชทูตนี้ กระทำที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม จึงเป็นเบาริงก์มิได้
ดูการแต่งกาย คงคุ้นเคยว่าเป็นราชสำนักฝรั่งเศส แต่เป็นคณะใหน เพราะมากมายหลายครั้ง ดร. อภินันท์เชื่อตาม มรว. แสงสูรย์ว่าเป็นคณะปี 2410 ที่ถวายพระรูปเอมเปอเรอร์และพระแสงกระบี่
แต่ผมเห็นแย้ง เพราะสิ่งสำคัญคือรูปสิงห์โตยัดนุ่น ที่เชิญมาเป็นขบวนใหญ่โต มีบันทึกในพระราชพงศาวดารว่า เข้ามา 2406
จึงถือตามนั้น

สมเด็จเจ้าพระยาสององค์แรก หมดบทบาทตั้งแต่ 2400 เพราะสิ้นชีพิตักษัย จึงต้องเป็นท่านช่วง
ท่าเข้าเฝ้านี่ ผมเข้าใจเอาว่า ช่างเขียนจะทำเลยเถิดไปสักนิด
แต่เราก็มีเกล็ดเรื่องเท้าท่านช่วงเคยไปป่ายศรีษะพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่ง แสดงว่าท่านก็คงตามสบายแม้ในที่รโหฐารอยู่เป็นอาจิณกระมัง

อีกประการเครื่องยศในการเข้าเฝ้าก็เอื้อกับการเอกเขนกหน้าพระที่นั่งอยู่ไม่น้อยละครับ ดังนั้นที่มาวางท่าเจ้ายศเจ้าอย่างกันยังกับลิเกทรงเครื่องนี่ ผมยังคิดอย่างอกุศลนิดหน่อยว่า มาเริ่มใหม่ราวกลางรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงวางรากฐานการเมืองได้แน่นหนา และเสนาบดีก็เป็นน้องสนิททั้งนั้น ความเคารพเทิดทูนคงเพิ่มจนกลายเป็นภาพติดในความทรงจำและใช้กันมาตลอด

อาจารย์คงเคยอ่านเจอว่า พระปิ่นเกล้า ท่านนึกยังไงก็ไม่รู้ จู่ๆ กลางดึกก็ควบม้าไปหาขุนนางของท่านที่บ้าน ซึ่งผิดแบบอย่างมาก เรียกลงมาที่สนามแล้วก็นั่งยองๆ คุยไปเขี่ยขี้ไต้ไปจนเสร็จเรื่อง หรือที่ท่านทรงขับเรือเล่นไปบ้านหมอบลัดเล นี่ก็ทรงห้าวนัก
การถือยศศักดิ์ครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงน่าค้นคว้าไม่น้อย

หากจะเทียบก็อาจอ้างราชสำนักรัสเซียได้ ว่าสมัยปีเตอร์มหาราชนั้น บรรยากาศออกจะเป็นสมาคมผู้คงแก่เรียน วางท่าเป็นเจ้ากันน้อย แต่ผ่านไปหลายชั่วคน อำนาจเข้าสิง ราชสำนักก็เล่นลิเกหนักเข้าจนเสียเมือง เป็นอย่างนี้แม่แต่กุบไลข่านครองจีน แรกๆ ก็เป็นมงโกล อยู่อย่างพี่น้อง เผลอแผล็บเดียวขันทีเปลี่ยนจิตใจเสียหมด

รูปใหม่นี่เป็นลายเส้นจำลองรูปเขียน ยังตามที่มาไม่เจอ กรมศิลปากรทำสำเนาเก็บไว้ มีรายละเอียดที่น่าสนใจและไม่ตรงกับรูปวาด ทิ้งไว้ให้นักค้น ช่วยกันค้นต่อไปนะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 14:01

 ในภาพ คห. ที่ 52 และ 54 ซึ่งคือภาพเดียวกัน
สำหรับหนุ่มสาวชาวกรุงสมัยนี้ ร.ศ. 224 อาจจะนึกไม่ออก

นักศึกษาวิชาทหาร รด. ทั้งหลายนึกถึงกรมการรักษาดินแดนออกไหมครับ ตอนนั้นยังไม่ได้สร้างเลย แต่คือมุมขวาล่างของภาพถนที่แล่นขึ้นไปจากตอนล่างของภาพขึ้นไปข้างบนนั้น คือถนนสนามไชยเดี๋ยวนี้ ฝั่งซ้ายถนนเป็นวัดโพธิ์และพระบรมมหาราชวัง ฝั่งขวาของถนน ในรูปตกขอบพอดี แต่ปัจจุบันนี้จะเป็นสวนสราญรมย์ วังสราญรมย์ (กระทรวงการต่างประเทศเก่า เดี๋ยวนี้เป็นทำเนียบองคมนตรี) และกระทรวงกลาโหม ซึ่งในสมัยที่ถ่ายรูปนี้ยังไม่สร้างเลยทั้งนั้น

(กระทรวงกลาโหมยังไม่มีการติดทีวีวงจรปิดด้วย เพราะยังไม่ได้สร้างแม้แต่ตึกแล้วจะเอากล้องไปติดตรงไหนละครับ)

ดูในภาพ วัดพระแก้วดูเหมือนกำลังสร้างเพิ่มเติมหรือซ่อมอะไรอย่างหนึ่งอยู่
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 14:50


.



ผมเข้าใจว่าเป็นการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆเพิ่มเติมบนฐานไพที ได้แก่ ปราสาทพระเทพบิดร และ พระศรีรัตนเจดีย์ครับ คุณหลวง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 17:33


.

ฐานไพทีสร้างพร้อมกับสิ่งก่อสร้างทั้งปวงบนนั้น ได้แก่
ยกพระมณฑปขึ้น
ถมสระรอบพระมณฑป
ยกพระเจดีย์ย่อมุมปิดทอง (ซึ่งผมขออนุญาตเดาว่าทรงสร้างอุทิศถวายพระชนกชนนี) ออกมาตรงตำแหน่งในรูป
สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาท
สร้างพระศรีรัตนเจดีย์
และอีกหลายอย่างที่ไม่ตรงกับเอกสาร แต่ไม่เป้นไรครับ
เรามาเล่นตามล่าขุมทรัพย์จากรูปโบราณกัน
งานนี้คนตาดีจึงมีสิทธิ์ ผมตาถั่วและมัว ขอเป็นคนดู
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 17:39


.

หมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ หัวใจของการปกครองในรัชกาลที่ 4
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.089 วินาที กับ 20 คำสั่ง