เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75223 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 23:30

 ตอนที่เจ้าหญิงวิคตอเรียขึ้นเป็นพระราชินี เป็นข่าวช็อกโลก เพราะเธอเพิ่ง 17 หรือ 18 แต่ครองอาณาจักรใหญ่ที่สุดในโลก
ทั่วทุกหนแห่งคลั่งเธอยิ่งกว่าคลั่งดาราสมัยนี้ ตอนนั้นยังไม่มีกล้องถ่ายรูป ภาพพิมพ์แสดงรูปสาวน้อยแสนสวย (ครับ เธอเคยสวย ...ก่อนมาเป็นก้อนเนื้อมหึมาที่วินด์เซอร์) ขายทั่วโลกแบว่าจะพิมพ์ไม่ทัน

มีรูปเช่นนี้มาถึงราชสำนักด้วย พระยาไทรบุรีนำเข้ามาถวาย ร. 3 ทรงทอดพระเนตรแต่ไม่เชื่อว่าเป็นรูปถ่าย แม้กระนั้นก็โปรดให้ใส่กรอบแขวนประดับท้องพระโรง นี่ว่าตามที่ตากุหลาบเล่า

ผมเดาเอาว่า กิตติศัพท์นางกษัตริย์แสนสวยทรงอำนาจ(ทางเรือด้วยนะครับ) น่าจะมากระทบใจกวีจอมเล่าเรื่อง

ตอนที่ทำเสน่ห์ลงในรูปนั้น ผมอ่านอย่างคนบ้าถ่ายรูป ก็เห็นว่าเป็นรูปแบบดาแกร์โรไทป์ ซึ่งเป็นเทคนิคสร้างรูปลงบนแผ่นพิวเตอร์ขัดเงาเคลือบเกลือเงิน ดูในมือจะเหมือนรูปคนอยู่ในกระจก

ส่วนเรือยักษ์ที่มีทุกอย่างในนั้นก็คงเป็นส่วนผสมระหว่างเรือโนอาห์กับเรือโตนแซน ฮาริศ ที่ใหญ่จนเข้าปากน้ำไม่มได้ มันใหญ่จนขนวงบิกแบนด์พร้อมเครื่องดนตรีครบชุด เข้ามาบรรเลงที่พระบรมมหาราชวัง

ส่วนท่านสังฆราชบาดหลวงนั้น ผมจองตัวปาเลกัวส์ไว้เป็นแบบ

อันที่จริง ถ้าเราลบปีเกิด ปีตายของท่านสุนทรภู่ทิ้งไปก่อน จะทำให้เห็นอะไรสนุกขึ้นอีกมากมายมหาศาลเชียวนะครับ

นี่ผมเข้าข่ายสติแตกแบบดอกเตอร์ต๊องคนนั้นหรือยังครับ
------------------

รูปที่แนบมา 1832 ก่อนเป็นราชินี กับ 1837 เป็นราชินี

.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 00:43

 ทีนี้จะลองอธิบายเรื่องความเป็นไทยสักเล็กน้อย เป็นฉบับย่อก่อน ก่อนไปเจอฉบับพิศดาร

เรายังไม่พูดถึงขรัว เพราะยังไกลเกินไป แล้วผมก็ยังหารูปของท่านที่เหมาะใจไม่ได้ มาพูดถึงสนุกนึกนิ์กันก่อน เรื่องนี้มีกระทู้ตั้งต้นไว้แล้ว ลองหาอ่านดูก่อนนะครับ

ประเด็นของผมก็คือ เรื่องนี้ไทยหรือเปล่า
ในทางวิวัฒนาการวรรณกรรม สมมติว่าเราเป็นโปรเฟสเซ่อด้านนี้มาถกกันนะ
เสียงส่วนใหญ่เป็นต้องยกความดีความชอบให้ฝรั่ง ว่านี่เป็นการเริ่มต้นวรรณกรรมสากล โดยอาศัยโนเวิลฝรั่งเป็นแม่แบบ แม้แต่พระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงอ้างเช่นนั้น
แล้วมันจริงใหมครับท่าน
เอาล่ะ สมมติว่าจริงละนะ แล้วมันแปลว่าอะไร แปลว่าเรากำลังเข้าสู่เว็สเทิ่นไน๋ส์แล้วกระนั้นหรือ มันง่ายยังงั้นเชียวหรือท่าน

ถ้างั้น ผมเขียนซอนเน็ตสักชิ้น เราก็เป็นเรเนซองแล้วหรือ เขียนไฮกุ เพิ่มอีกบท ก็กลายเป็นเซ็นไปเสียแล้ว
มีศิลปินไทยเขียนอะไรบางอย่างที่มันคล้ายๆ ดาลี อ้าว เราเป็นเซอร์เรียลริสต์แล้วหรือ ทำวิจัยได้เล่มใหญ่ทีเดียว

ศิลปะนี่มันติดกัน ง่ายยิ่งกว่าหวัดนกอีกแฮะ

พรุ่งนี้จะมาต่ออย่างยาวครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 00:39

 ใช้สูตร "ติดง่าย" กันต่อ
ในทางกลับกัน คุณไมเคิล ร้าย เขียนภาษาไทย แกก็เป็นคนไทยละซี หัวหน้าวงฟองน้ำ เล่นเพลงไทย นุ่งโจงกระเบน แกก็ไทยอีกนั่นแหละ
พวกเรานี่ ไทยร้อยเปอร์เซนต์เลย ไม่ต้องมาพิสูจน์ทราบอะไรอีกแล้ว ขนาดนอนฝัน ยังใช้ภาษาไทยเลย จะมีทางเป็นไทยมากไปกว่านี้ไปได้อย่างไร
สูตร "ติดง่าย" นี่ ง่ายดีแฮะ

แต่................ผมรู้ตัวดี ว่าผมไม่ใช่ไทย แม้จะนอนฝันเป็นภาษาไทย ใครจะว่ายังไงก็ช่าง
ไม่ใช่เพราะผมเป็นลูกเจ๊ก และไม่ใช่เพราะผมใช้ภาษาไทยลูกผสม มันมากกว่านั้น

อย่างหนึ่งล่ะที่ทำผมรู้ตัวว่าไม่ใช่คนไทย คือเมื่อผมวาดรูป
จะด้วยเวรหรือกรรมอะไรสักอย่างก็เหลือเดา แม่แบบในสำนึกห้วงลึกของผม มันไพล่ไปเป็นคนต่างด้าวทั้งนั้น เวลาที่ผมเขียนลายเส้น จิตก็ประหวัดไปถึงศิลปินต่างด้าว เวลานึกถึงอะไรที่ไพเราะ ก็ต่างด้าว พูดง่ายๆก็คือ มาตรฐานทางนามธรรมส่วนใหญ่ ในมโนนึกของผม มันต่างด้าวทั้งนั้น

จนถึงวันหนึ่ง เมื่อรู้ตัวว่า มาตรฐานทั้งหมดที่ผมประเคนใส่ตัวเองมาตั้งแต่แรกเข้าสายวิชาชีพนี้ ถ้าเป็นของจริง จับต้องได้ อย่างมากที่สุด ก็เป็นได้เพียงดีหนึ่งประเภทสอง หรือที่ชื่นชมหลงไหล ก็เป็นเพียงรูปจำลองจากของจริงลงมาอีกที นั่นแหละ จึงกลับหลังหัน มาสนใจความเป็นไทย

หมายความว่า ผมเป็นประเภทก้าวเข้าสู่ ไม่ใช่ประเภทก้าวออกมา
คือหาตั๋วเข้าสมาคมคนรักไทย ไม่ใช่เกิดมาแต่อ้อนแต่ออกก็เป็นคนรักไทย
ท่านก็จะต้องถามผมดังๆว่า แล้วมันมีเหรอ พวกที่รักไทยมาแต่เกิด ผมก็ขอตอบดังๆว่า มีสิพี่

คนที่เกิดมาแล้วก็รักไทย ที่จะขอยกตัวอย่างก็คือ สมเด็จฯ นริศ ต้นวงศ์ครูช่างอีกสาแหรกของกระผมไงครับ
ท่านบอกว่าตั้งแต่เด็กก็ชอบขีดเขียนเลียนแบบจิตรกรรม โตขึ้น พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานสมุดให้เล่มหนึ่ง ก็ทรงทราบเองว่าต้องทำแผนผังสถานที่ต่างๆที่เสด็จถวายให้ทรงใช้ปิดรายงาน
ทั้งหมดนี้ ทรงทำโดยไม่มีครู แปลว่าครูก็คือสังคมทั้งหมดที่ท่านเติบใหญ่เป็นสมาชิกอยู่ มองไปทางใหนก็ยั่วให้หลงไหล จนวันหนึ่งพระมารดาต้องตามเจ้ากรมสายมาเป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อแก้อาการกระหายเขียนรูปของพระองค์ ซึ่งตอนนั้น อาการหนักเข้าทุกที เห็นใครเก่ง เป็นต้องไปประจบ...อลิ้มอเหลี่ย...อยากได้วิชาเขา

คนเรา จะเป็นไทยได้ ต้องเกิดมาอย่างนั้นแหละครับ จึงเรียกว่าเป็นไทย แล้วตอนหลัง จะเปลี่ยนจะเพี้ยนไปยังไง ครูเดิมก็ยังอยู่

ผมก็ขอสรุปเอากลางทางอย่างนี้ก่อนละกัน
ว่า อาศัยเหตุผลแวดล้อมดังได้เรียนบรรยายพรรณาสาธก และนำเสนอมาเป็นลำดับ
ขรัวอินโข่งท่านต้องเป็นไทยแง๋มๆ เลยนะครับ

หรือใครจะเถียง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 01:10


.
รูปที่เชิญมานี้ เพื่อช่วยอาจารย์เทาฯ กลืนเหตุผลของผม คล่องคอขึ้นนี๊ดดดนึง  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 01:19


.
ฝีมือครูปู่ของกระผม ครูเลิศ พ่วงพระเดช แห่งสำนักเพชรบุรี
หนึ่งในสองครูช่างที่ราชการเชิญฝากฝีมือบนพระระเบียงวัดพระแก้ว ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้าย
คู่กับพระเทวาภินิมิตร ศิษย์สมเด็จนริศฯ อีกท่านหนึ่ง

หากยังกลืนไม่ลง อาจจะต้องโพส ติดต่อกัน 20 ชิ้น ให้มันเห็นดำเห็นแดงกันไปข้างหนึ่งทีเทียวเจียว.......

อ้าวลืมไป เห็นดำเห็นขาวต่างหาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 08:44

 รอที่เหลืออีก ๑๗ ชิ้นด้วยความอยากเห็นมากๆค่ะ
ภาพในคห. ๙๓   ภาพซ้าย  เดาว่าเป็นพาลีรบกับทรพี
ภาพกลางมาขยายในคห. ๙๔  เข้าใจว่าเป็นตอนพาลีชิงนางมณโฑจากทศกัณฐ์    
ส่วนขวาสุด ก็เหตุการณ์ตอนเดียวกัน  ไม่รู้ถูกหรือเปล่า  
************
ตอบคห. ๙๒  
ดิฉันยังสงสัยว่ามีบัณฑิตกี่คนในมหาวิทยาลัยประเทศไทย ที่ปลอดจากทฤษฎีของฝรั่ง ไม่เคยเอามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ก็ในเมื่ออะไรต่อมิอะไรที่เราเรียนกันอยู่  ล้วนแต่มาจากฝรั่งทั้งนั้น
อาจจะเว้นนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทยที่ยังมองเห็นอะไรไทยๆอยู่

แม้แต่วรรณคดีและวรรณกรรมไทยก็เอาทฤษฎีฝรั่งมาจับ   เอามาตรฐานฝรั่งมาตัดสินในการมอบรางวี่รางวัลสร้างสรรค์ต่างๆ    เอาแนวคิดแบบฝรั่งไม่ว่าโพสต์โมเดิร์นหรือซิมบอลลิสซึ่มมาใช้ในการแต่งและวิจารณ์เรื่องในสังคมไทย ทั้งที่รากเหง้าของเราก็คนละอย่างกับเขา

ดิฉันเองก็เดินตามฝรั่งมาหลายปีเหมือนกันกว่าจะเหยียบเบรคได้  แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าร่องรอยกลวิธีแบบฝรั่งก็ยังมีอยู่  สลัดไม่หลุด  
ถ้าสลัดหลุด ก็คงต้องหันไปเรียบเรียงภาษาตามแบบสามก๊ก  ซึ่งนอกจากฝีมือห่างชั้นกันสุดกู่แล้ว  ถึงทำได้จนจบ   ก็คงไม่มีใครอยากอ่านงานของเราอยู่ดี  

ก็เลยสรุปกับตัวเองว่า   อย่าไปคิดให้มันปวดมันสมองก้อนน้อยๆเลย  ดำเนินรอยตามพระบรมปัจฉิมโอวาทในพระบาทสมเด็จพระมหาเจษฎาราชเจ้ารัชกาลที่ ๓ ดีกว่า   ผ่านมาเป็นร้อยกว่าปีแล้วยังทันสมัยอยู่

" การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว    จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี   อย่าให้เสียทีแก่เขาได้
การงานสิ่งใดของเขาที่คิด   ควรจะเรียนเอาไว้ ก็ให้เอาอย่างเขา   แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว"
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 12:37

 ผมยกประเด็นมา ก็เพื่อประกาศว่า ความเป็นไทยไม่ใช่สิ่งที่จะมาใช้หลักสูตรสอน เพื่อให้เป็น
แต่เป็นการเกิดมา เพื่อเป็น

เหมือนคนแก่ตามบ้านนอก ที่มีความรู้ ว่างงานแกก็อ่านประถมสมโพธิ์ เพราะในชีวิตน้อยๆ ของแก ศาสนาเป็นที่หมายสุดท้าย

แต่คนแก่ๆ แถวในเมือง นั่นต้องอ่านและแปลโสกราตีส ถ้าพุทธก็ต้องมหายานสุดกู่ มีลูกก็ต้องส่งเรียนอังกฤษ......ก็ไม่ผิดอะไรนะครับ เพราะเป็นระบบสติปัญญาและค่านิยมส่วนตัว
ผมเพียงแต่จะเทียบให้เห็นว่า ถ้าสังคมสร้างสิ่งแวดล้อมแบบใหน สมาชิกก็โตมาเป็นอย่างนั้น

สมมติว่าในพ.ศ. นี้ มีเด็กสักคน เพิ่งอ่านหนังสือแตก ก็ชอบอ่านสามก๊กเป็นบ้าเป็นหลัง นั่นหมายความว่า ที่บ้านแก มีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมฝังอยู่ ถ้าเด็กคนนั้นจะชอบ F4 แก่นของแกคงไม่เปลี่ยนหรอกครับ

แต่ในเมื่อสังคมของเรา สร้างสมมาย้อนศรถึงขนาดนี้
คือ แฮรี่ ป๊อตเต้อร์เป็นกระแสหลัก
พระอภัยมณีเป็นกระแสหลุด
ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่ลี้ลับกว่านี้ พวก จินดามณี ประถมกอ กา.....ซึ่งหาคนเคยอ่าน ยากยิ่งกว่า "มัจฉามีทั่วท้อง ชโลธร หาเงือกงูมังกร ยากได้" ปัญหาเรื่องความเป็นไทยก็ถึงกาลอวสาน

เป็นได้ก็พวกโจรกลับใจ
"ดิฉันเองก็เดินตามฝรั่งมาหลายปีเหมือนกันกว่าจะเหยียบเบรคได้ แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าร่องรอยกลวิธีแบบฝรั่งก็ยังมีอยู่ สลัดไม่หลุด" 55555
ผมก็เป็นด้วยคนครับอาจารย์

แต่ขรัวอินโข่ง ท่านเดินคนละแบบกับเรา ท่านเกิดมาเป็นไทย หาของใหม่ใส่เข้ามา เพื่อให้ความเป็นไทยนั้นเติบโตต่อไป

แต่อย่างผมนี่ เริ่มเรียนวาดเขียน ครูก็เอาสมุดระบายสี มีเรือใบอยู่กลางน้ำ เป็นฝรั่งจ๋ายิ่งกว่าฟ้าแจ้งจางปาง มาตั้งเป็นจุดเริ่มต้น
ไม่เหมือนครูเลิศที่ยกรูปท่านมา นั่นท่านโตได้สักหกเจ็ดขวบ พระอาจารย์ก็จับมือให้วาดช่อกระหนก
วาสนาคนมันไม่เท่ากัน

ผมถึงได้โตมาเป็น"เจ้าชายเลือดผสม" ไงครับ ครึ่งผีครึ่งเปรต แบบที่ฝาหรั่งเรียก Hi-brid culture

เห็นมะ จะยกศัพท์ ยังต้องใช้ต่างด้าวเลย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 00:57


.
พักรบเรื่อง เป็น หรือ ไม่เป็นไทย ไว้ชั่วคราว
ขอเชิญชมสมุดตำราภาพจับ สกุลช่างเพชรบุรี ตามคำขอของอาจารย์เทาชมพู
มี 25 ชิ้น ปกอีก 1 ได้มาจากใหน เป็นความลับ ไปใหนแล้ว ก็เป็นความลับ
มีคนรู้ว่าผมชอบ เลยให้ file มาเป็นของขวัญ
เชิญชมตามอัธยาศัย  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 01:08


.
ใครเป็นใคร กราบขออภัย
ข้าพเจ้าไม่ทราบ โง่รามเกียรติ์ขอรับ
รู้แต่ว่า เป็นสกุลรัตนโกสินทร์ ที่เน้นโครงสร้าง ไม่เน้นลายมือ
เส้นจะนิ่ง เดินเส้นใหญ่ ถูกต้อง และชอบพลิกแพลงในท่าจับ

ขอให้สังเกตต่อไป ถึงการจบชองมือเท้าและการวางท่าที มีชีวิตชีวาในสกุลสมจริง
เป็นรูปประติมากรรมมากกว่าเป็นลายเส้นพริ้วไหวแบบสกุลอยุธยาในเกาะเมือง  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 01:49

 จากสมุดลายไทยแบบนี้แหละครับ
ที่ช่างไทยเริ่มต้นชีวิตช่างของตน

พ่อแม่พาไปหาครู เมื่อสักห้า-หกขวบ ท่านก็ดูหน่วยก้านสักพักหนึ่ง ราวเดือน ขาดเกินก็ไม่มาก
เมื่อมั่นใจแล้ว ก็นัดวัน หาดอกไม้ธูปเทียนมา ไหว้ครู ครูท่านก็จับมือเขียนลาย เป็นเสร็จพิธี
ต่อจากนั้น ทุกวันก็มาที่สำนัก ทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยตามแต่ครูสั่ง อาจจะมีบดสีฝุ่นบ้าง ล้างพู่กันบ้าง บางวันโชคดีก็ได้ลองเขียนเส้นดู


เป้าหมายก็คือ "การเอาอย่าง" รูปแบบที่ครูสร้างไว้แล้ว เช่นสมุดภาพเล่มนี้
แต่การเอาอย่างนี่ ไม่ใช่ทำปุ๊บก็เป็นนะครับ อย่างแรกเลย คือต้องเลียนแบบให้เหมือนอย่างไม่กระดิก ซึ่งไม่มีใครในโลกทำได้หรอกครับ
มันเป็นอุบายสอน


เมื่อตาเห็นเส้น เห็นทิศทางของเส้น เห็นหนักเบา เห็นแก่อ่อน เห็นจุดเริ่มต้น เห็นจุดจบ
ใจก็สั่งมือให้ทำตาม ตอนนั้นหัวสมองยังไม่ทำงานครับ
มันจะทำงานหลังขั้นตอนนี้ อีกสักหลายเวลาข้างหน้า

เมื่อแก่กล้าได้ระดับหนึ่ง สมองจึงเริ่มสั่งให้เอาอย่าง
ตอนนั้นมือต้องเชื่องแล้วนะครับ สมองสั่งว่าเส้น"เร็ว"
มือก็ทำเร็วได้......สั่งว่าโค้ง สั่งว่าหยุด สั่งว่าช้า
มือต้องทำตามได้หมด

ทั้งหมดนี้คือการเอาอย่าง เหมือนที่ผมขยายรูปให้เห็นเต็มตาข้างบนนี่
เวลาช่างเอาอย่าง ก็ต้องนึกเห็นอย่าง"เต็มตา" แบบนี้เหมือนกันครับ แล้วพยายาม "ถ่ายถอน" สาระออกมา
จะได้รูปที่ซ้ำกัน แต่ไม่เหมือนกัน กลายเป็นวิวัฒนาการแบบสยาม
ไม่ใช่แบบศิลป์ พีระศรี
นั่นอีกสกุลหนึ่ง ซึ่งผมก็สะเอาะเป็นสมาชิกนอกคอกกะเขาอีก

ถึงได้ไม่ค่อยสมประกอบอย่างทุกวันนี้ไงครับท่าน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 10:12

 ไม่มีความรู้เรื่องจิตรกรรมไทยค่ะ  ขอนั่งฟังแถวหลังสุด

มีภาพหนึ่ง จากหน้าแรกของสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง  ไม่ได้บอกว่ามาจากเรื่องไหน
เป็นภาพกษัตริย์สององค์ ทรงช้าง มีไพร่พลหน้าตาไม่ค่อยเหมือนคนไทย อาจจะพวกพรานป่าหรืออะไรทำนองนี้
กับมีฝรั่งเมียงมองอยู่ด้วยสองคน
สังเกตว่าหน้าของกษัตริย์นั้น วาดคล้ายกับภาพในคห. 98/99

ขอเอามาฝากค่ะ  เผื่อคุณพิพัฒน์จะช่วยอธิบายให้ฟังเมื่อว่างเว้นจากเล่าเรื่องเขียนลายเส้นแล้ว
.
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 10:14

 ขยายให้ดู
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 10:19

 ภาพนี้เป็นภาพที่ต่อเนื่องกับภาพในค.ห. 100  อยู่ทางซ้ายของภาพ
.
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 10:34


.
.
ฝรั่งอั้งม้อแอบกระมิดกระเมี้ยนอยู่ด้วย 2 คน
เสื้อผ้าน่าจะเป็นศตวรรษที่ 18

ขอขัดจังหวะแค่นี้ละค่ะ    ถอยกลับไปนั่งฟังหลังห้องต่อ
ไม่ส่งเสียงอีกแล้ว  เดี๋ยวครูเหน็บเอา
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 12:27

 รูปที่อาจารย์นำมาช่วยนี้ เป็นสีมือบรมครูนิรนามในสำนักสกุลช่างคงแป๊ะ ครั้งรัชกาลที่ 3 ปรากฏสง่างามอยู่บนฝาผนังพระอุโบสถวัดบางยี่ขัน มีรายละเอียดอย่างดีอยู่ในเวปยอดนิยมแห่งหนึ่ง
 http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=133

เห็นสภาพวัดตามบทความนี้แล้ว ต้องขอเวลานอกไปร้องไห้ อาลัยรักในเอกศิลปะแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชิ้นนี้สักพัก
อ้อ ผมก็เพิ่งรู้จากที่เขาเขียนไว้ละครับ ว่า ตกลง ที่นี่เป็นสีมือครูคงแป๊ะอย่างเป็นทางการไปเสียแล้ว ไม่รู้เอาหลักฐานมาจากใหน
ความจริง จะต้องเปรียบเทียบครูทองอยู่ ครูคงแป๊ะ กับท่านขรัวของผมในตอนท้ายๆ น่ากลัวต้องปัดฝุ่นความจำมาใช้เร็วขึ้น

ขอไปกินยาทัมใจก่อนครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 19 คำสั่ง