เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75251 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 15:34

อาจารย์พิพัฒน์บรรยายเร็วมาก   ข้อมูลละเอียดยิบ จนดิฉันถอดรหัสตามแทบไม่ทัน
ได้แต่ตามเก็บเบี้ยใต้ถุนชั้นเรียนที่หล่นเกลื่อนอยู่  ได้เบี้ยทองฝังเพชรมาหลายเบี้ย

ใช้เวลาวันหยุด ค้นตู้หนังสือ  อุ้มหนังสือเล่มที่ 1 ในสองเล่มคู่ หนักเล่มละไม่ต่ำกว่า 5 กิโล  มาเปิดหาภาพที่คุณเอ่ยถึง  เพราะอยากรู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง
ต่อจากนั้นก็สแกน  ทุลักทุเลหน่อย  เพราะขนาดและน้ำหนักเป็นเหตุ

จนได้ภาพที่คุณเอ่ยถึงใน ค.ห. 13 พระบรมฉายาทิสลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่เดิมเชื่อว่าเป็นฝีมือขรัวอินโข่ง   ต่อมาเชื่อว่าเป็นฝีมือนาย E.Peyze-Ferry เพราะมีลายเซ็นติดอยู่ในภาพ

ขอนำคำบรรยายของดร. อภินันท์ โปษยานนท์ที่เอ่ยถึงภาพนี้ มาประกอบ

"...เขียนด้วยสีน้ำมันบนแผ่นไม้   เดิมสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกของไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่อันที่จริงเป็นฝีมือจิตรกรชาวยุโรปชื่อ E.Peyze-Ferry ประวัติของท่านผู้นี้ไม่ปรากฏ
เขาคงได้เห็นตัวอย่างจากพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์พิมพ์ลายแกะ
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระมาลาทรงสูงและทรงฉลองพระองค์
แต่จะเห็นได้ว่าภาพของพีซเฟร์รี่นั้นยังขาดความเข้าใจในการเขียนภาพเหมือนบุคคล  เมื่อเปรียบเทียบกับพระบรมสาทิสสลักษณ์โดยจิตรกรชาวจีน"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 15:36


.
.
พระบรมสาทิสลักษณ์ที่ว่าในค.ห.ข้างบนนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 15:37


.
.
พระบรมสาทิสสลักษณ์ที่ดร.อภินันท์สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นต้นแบบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 15:42


.
.
พระบรมสาทิสลักษณ์ ในสมเด็จพระจอมเกล้าฯ
วาดโดยจิตรกรชาวจีน ที่ดร.อภินันท์อ้างถึง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 01:10

 กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาฯ ที่กรุณาเสี่ยงกับกระจกเครื่องสแกนเนอร์แตก ถ่ายทอดพระรูปจากมหาหนังสือ มากำนัลพวกเรา แหะแหะ...อาจารย์คิดค่าแรงแพงใหมครับ ผมมีอีกเจ็ดร้อยกว่ารูปรอสแกนอยู่
เพื่อเอาใจผู้สูงอายุที่ไม่ชอบซิ่ง ผมจะลดความเร็วบทความลงสามขีด อันอาจจะทำให้จบทันบอลโลกอย่างหวุดหวิด...ฮา
พวกวัยกระเตาะอาจจะอึดอัดหน่อย

วินิจฉัยของดร. อภินันท์นั้น ยังไม่กลมกล่อม ยังรู้สึกถึงเครื่องปรุงที่ไม่เข้าเนื้อ ผมจะลองปรุงใหม่อย่างนี้เลยละกัน

ตอนเบาริงก์เข้าเฝ้าไปรเวท แกขออนุญาตว่า จะพิมพ์บันทึกภารกิจครั้งนี้เป็นหนังสือเล่ม และขอข้อมูลจากพระเจ้าอยู่หัวหลายอย่าง
ทรงปลื้มปิติ เพราะไม่ทรงโปรดฯ ที่บาดหลวงปาเลกัวส์แสดงข้อมูลผิดเพี้ยน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ไทย ลงใน"เล่าเรื่องกรุงสยาม" แต่ก็ไม่มีอำนาจไป"สอนหนังสือสังฆราช" ได้

ทรงจัดพระบรมรูปและรูปสิ่งของหลายอย่าง เช่นรูปเขียน พระบรมฉายาสาทิศลักษณ์ และที่สำคัญคือสำเนาจารึกพ่อขุนรามฯ (ที่ใครหนึ่งกล่าวหาว่าทรงแต่งใหม่ๆ ซิงๆ และอีกคนหนึ่งบอกว่าเป็นพิมพ์เขียวอะไรสักอย่าง...สักวันผมจะชวนสองคนนี้ไปที่สวนเจ้าพระยาภาณุวงษ์ฯ.....) พระราชทานออกไปในปีรุ่งขึ้น ผ่านทางหนุ่มปาร์ค ที่เข้ามาเปลี่ยนสัญญา

เสอร์จอห์น จัดแจงพิมพ์หนังสืออย่างเร่งรีบ เสร็จในปี 1857 (พ.ศ. 2400) เป็นสิ่งพิมพ์ระดับสุดยอดของยุคสมัย ปกแข็งเดินทอง พิมพ์นูน หุ้มผ้าไหม แบ่งเป็นสองเล่ม ขนาดสิบหกหน้ายก ข้างในแทรกด้วยรูปลายเส้นอย่างงดงาม มีแผนที่และสำเนาจารึก เรียกว่า ดีที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีการพิมพ์ ณวันนั้นจะทำได้ สิ่งพิเศษสุดก็คือ พิมพ์รูปสอดสีด้วยเทคนิคพิมพ์หิน lithographs ส่วนลายเส้นนั้น เป็นบล็อคโลหะเล่นน้ำหนักอ่อนแก่ ไม่ใช่เอ็นเกรฟวิ่งเด็กๆ แบบที่ปาเลกัวส์ใช้

หนังสือคงเดินทางเข้ามาสยามอย่างด่วนจี๋ ผมนั่งทางในจนทราบว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเป็นที่สุด โดยเฉพาะพระบรมรูปสอดสี ปกติจะทรงได้รับแต่รูปภาพขาวดำ แม้แต่พระรูปจากกล้องในปีนั้นก็ยังใช้งานลำบาก เพราะเป็นรูปแผ่นเงิน (daguerreotype) จะดูตรงๆก็อาจเห็นเป็นเนกกะตีป ต้องเอียงนิดๆ ให้แสงเหลื่อมเล็กน้อย จึงจะเห็นเป็นรูปโพสิตีป แถมยังเล็กมาก บางชิ้นยังเล็กกว่านามบัตร รูปก็มืดไม่คนชัด เพราะเคมีที่ใช้ไม่เหมาะกับเมืองร้อน สารพัดจะขัดข้อง

ทรงเห็นพระบรมรูป ก็คงจะทรงคิดต่อว่าช่างไทยจะทำดูบ้างได้ใหม ทรงเรียกตัวพระภิกษุอินเข้ามาลองฝีมือ โดยอาศัยพระรูปในหนังสือเป็นตัวเทียบ พระราชประสงค์นี้คงทำให้อาจารย์ปู่ทวดของผมหนักใจไม่น้อย เพราะอย่างเก่ง ท่านก็แค่เขียนผนังเป็นเรื่องในพุทธศาสนา จะมีช่องให้พลิกแพลงเล่นสนุกก็ที่ "ภาพกาก" ซึ่งไม่ต้องเคารพกำหนดนิยมจนดิ้นไม่หลุด มิหนำซำยังเป็นพระบรมรูปที่ไม่เคยปรากฏว่าช่างไทยเคยเขียน งานนี้คงทำให้ท่านต้องศึกษาหนักพอดู

หมูหินที่สุด เห็นจะเป็นรายละเอียดของพระภักตร์ ท่านไม่เคยเรียนอนาโตมีเหมือนน้องติบอ จะหารูปเปรียบเทียบมากๆ เจ้าลูกหมูก็ยังไม่เกิด ยิ่งกว่านั้น พระเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระพักตร์ที่ผิดรูป เพราะทรงเป็นอัมพาตอย่างอ่อนที่ริมฝีปาก ทั้งยังทรงสูญพระทนต์ไปเกือบหมดอีกด้วย

ขรัวอินโข่งพยายามศึกษาพระรูปจากหนังสือ รักษารูปริมฝีปากที่ห้อยเล็กน้อย และตำแหน่งพระเนตร แต่รายละเอียดของจมูกที่จะต้องเขียนให้โด่งออกมา พระกรรณที่มีราบละเอียดแปลกประหลาด........ไม่มีตรงใหนเลย ที่วิชากนกนารีกระบี่คชะ จะเอามาใช้ได้

พระรูปเหมือนที่ไม่เหมือนนี้ คงสำเร็จอย่างทุลักทุเล และต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เก็บเข้าในคลังดีกว่า จะทำลายก็ไม่ได้ ด้วยเป็นพระรูปสูงศักดิ์เสียแล้ว คงถูกทอดทิ้งอยู่ในคลังรวมกับพระรูปอื่นๆ ที่ไม่ทรงโปรด จนสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิญออกแสดงเมื่อคราวจัดพิพิธภัณฑ์ อาจจะเป็นเมื่อครั้งรัชกาลที่ 7
ลายมือภาษาฝรั่ง จะมีใครมือบอนมาเติมตอนใหนก็ไม่รู้
(ขอพักแป๊บนะครับ จะไปนอนฮ่า...)  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 09:40

 จะเป็นอย่างที่ดร. อภินันท์กล่าวว่า นายอีอะไรสักอย่างเขียนมาขายราชสำนักมิได้หรือ
ขอตอบว่า เป็นไปได้ยาก

1 ขอให้สังเกตไรพระศก เห็นเล็กน้อยตรงเหนือพระกรรณ
ช่างเขียนไปเอาข้อมูลมาจากใหน ในเมื่อรูปของเบาริงก์ไม่มีแม้สักเส้นพระเจ้า นี่ถ้าเชื่อว่าช่างเขียนอยู่ที่เมืองกะโลโปเกสักแห่ง รับงานทางไกลผ่านจดหมายและใช้รูปจากหนังสือ
หรือว่าช่างเขียน มาถึงบางกอก ได้เข้าเฝ้า ก็อาจจะเป็นได้ แต่ค่าจ้างคงสูงลิบลิ่ว ซึ่งทางราชสำนักคงไม่สั่งเข้ามาเพียงสร้างงานชิ้นเดียว และแกก็คงไม่เหมือนอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่บอกว่า "ข้าพเจ้ามีความละอาย....กินเงินเดือนราชการแต่ไปรับงานเอกชน..."
นายอี คนนี้คงรับเขียนรูปชาวบางกอกเปรมไปเลยเชียวแหละ เหมือนที่ต็อมสันช่างภาพทำนั่นแหละ

2 ฝีมืออย่างนี้ เขียนให้ฟรี ก็ไม่มีใครเอา อย่าว่าแต่ต้องจ้างเลย
สำหรับมาตรฐานฝรั่ง การตั้งห้างรับเขียนรูปได้ และถึงกับรับงานข้ามประเทศได้นี่ มีเงื่อนไขหลายอย่าง แต่ข้อที่สำคัญที่สุดคือฝีมือต้องดีอยู่ในชั้นแนวหน้า
เราจะใช้สมองที่ยังไม่ถี่ถ้วน ไปคิดดุ่ยๆว่า คงเหมือนฝรั่งขี้นกสักคน มาที่พัฒน์พงศ์ เห็นช่างกระจอกราคาถูกข้างถนนก็แวะ ถามว่า รูปละเท่าไหร่ แล้วก็ซื้อมั่วซั่ว หรือนั่งเมาเหล้าให้เขียนสดๆ สิบนาทีเสร็จ เป็นอันเสร็จพิธี  ไม่ได้
กระบวนการสั่งของข้ามประเทศในรัชกาลที่ 4 นั้นเขียนเป็นบทความขนาดมหึมาได้ทีเดียว
จริงอยู่ ราชสำนักก็เคยถูกฝรั่งหลอก มีพระราชหัตถ์เลขาเป็นพยาน ตัววัตถุก็มีรักษาไว้ แต่มันต้องแนบเนียนกว่ารูปเหมือนที่ไม่เหมือนชิ้นนี้
เราจะคิดถึงเรื่องในอดีตอย่างดูแคลนบรรพชนมากเกินไป อาจถูกกล่าวหาว่าเสียชาติเกิดเอาได้ง่ายๆ อย่างน้อย บันดาของนำเข้าทั้งหลายทั้งปวงที่เหลือตกทอดอยู่ ก็มีแต่ของดีๆทั้งนั้น แพงนั้นอาจจะใช่ แต่ห่วยเห็นจะไม่ใช่
สยามเป็นราชสำนักที่"บริโภค"เป็นมาแต่ใหนแต่ไรแล้วนะครับ เครื่องกังไสของเรา ถ้ารู้จักจัดการ ทำสมุดภาพสี่ภาษาออกมาสักหนึ่งตู้ โลกตะลึงเชียวแหละ ชามหมิงสีนี่ใบละเป็นล้าน แล้วรู้ใหมว่าเบญจรงค์น่ะ มาจากใหน เป็นหมิงสีใช่ใหม....
ผ้าอย่างของเรา ดีเลิศมาจากอินเดีย บางผืนมีค่าควรเมือง....โรงกระษาปณ์ทั้งโรงเรายังสั่งเข้ามาใช้งานได้ ปืนใหญ่กี่ร้อยกี่พันกระบอก....ม้าเทศเราก็สั่งเข้า เก๋งกรงนกสกุนวัณผมก็คิดว่าต้องเป็นปักษีนานาชาติ เพชรยอดพระมหาพิชัยมงกูฏก็มาจากนอก....บรรยายได้ไม่รู้จบ
นักช็อบโลกไม่ลืมระดับนี้ จะซื้อรูปเหมือนไม่เป็นหรือครับ

3 พิจารณาจากฝีมือช่างในพระบรมรูป ผมสรุปว่า เป็นช่างไทย เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เขียนจากพระองค์จริง แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ จึงมีชิ้นเดียวไม่มีงานต่อเนื่อง
เขียนหลังจากหนังสือของเบาริงก์ถูกส่งเข้ามา (2400+) แต่ก่อนพระบรมรูปรับฑูตฝรั่งเศสที่มีรูปราชสีห์เข้ามาถวาย (2406+) ซึ่งเป็นรูปฝีมือฝรั่งชิ้นแรก เขียนโดยเราส่งรูปถ่ายออกไปให้เขาเขียนกลับเข้ามา รูปรับราชฑูตนี้ฝีมือเยี่ยมยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นเรื่องแปลกที่ราชสำนักเพิ่งถูกฝรั่งขี้นกหลอกมาหยกๆ แต่กลับฉลาดพอสั่งทำรูปที่มีกระบวนการสลับซับซ้อนกว่าอย่างได้ผล

ถ้าใช้สายสะพายเป็นหลัก ก็คงปี 2406 ที่ฝรั่งเศสถวายตราลิจงดงเนอร์ เข้ามา มีสายสะพายประกอบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 10:43

 ใช้เวลาตอนเช้า ค้นหาร่องรอยของนายอี.พีซ-เฟร์รี่  ดิฉันยังติดใจในตัวแกอยู่  พบว่าไม่มีเลยในเน็ต  
ชื่อของแก สำเนียงน่าจะเป็นชาวฝรั่งเศส  พบทั้งคนชื่อ Peyze และ Ferry (ซึ่งไม่เกี่ยวกับศิลปะ)  แต่ว่า Peyze-ferry ไม่ยักมี

แกต้องเป็นจิตรกรโนเนม ที่มีรสนิยมวาดรูปสีน้ำมันบนแผ่นไม้   ไม่ใช่บนผืนผ้าใบ
มีโอกาสวาดให้ราชสำนักสยามนับว่าน่าประหลาดมาก เพราะผลงานอื่นๆ  ในหอศิลป์ต่างๆไม่มีการบันทึกไว้เลย    

ไปเจอข้อความในเว็บของคุณรอยใบลาน   ระบุว่าวาดเมื่อพ.ศ. ๒๓๙๙  ไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลจากที่ไหนคะ  ถ้าแวะมาตอบด้วยจะขอบคุณมาก

**************************
ใช้แรงงานคนแก่ หนักสาหัส เจ็ดร้อยกว่าภาพ    บาปนะหลานเอ๊ย    
ไหนพ่อหมูน้อยฯช่วยเปิดตำราหมอความ บอกยายถีเถอะ  
ยังงี้ ต้องร้องเรียนส.ส.ปิ๊ก  รึว่าคุณหญิงหน่อยกันแน่  
ยายมันปูนนี้ ชักหลงๆแล้ว   จำไม่ใคร่จะได้ว่าคนไหน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 10:52

 ขออนุญาตยกมือขึ้นถาม คุณpipat นิดนึงครับว่า สายสะพายที่ว่าเท่าที่ผมจำได้สีแดงนะครับ
(เหมือนในภาพที่ ร.4เสด็จออกรับราชทูตฝรั่งเศสอีกครั้งที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ส. 2410 ก็ทรงสายสะพายเส้นที่ว่า)
ทำไมสายสะพายในภาพเป็นสีฟ้าล่ะครับ ??
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 11:49

 แหม๋ๆ ท่านอาจารย์ครับ อย่าพึ่งไปร้องเรียน ส.ส. ,ส.ว. ที่ไหนเลยนะครับ แฮ่ๆๆ ตัวหมูน้อยฯ เองก็อยากเห็นภาพที่เหลือนั้น เหมียน กัลลลล
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 12:16

 มีหลักให้พิจารณาได้ว่า ก่อนหน้านี้ สยามไม่รู้จักสายสะพาย

จะเป็นสีอะไร ก็ต้องพัฒนามาจาก Légion d'honneur

ท่านอาจจะดีไซน์เล่นส่วนพระองค์ ก่อนจะสถาปนาเครื่องราชอิสริยยศหรือแดกอระแช่น เพื่อถวายตอบแทนพระราชาธิบดียุโรบ



ปีที่คุณรอยใบลานระบุ 2399 ก็มาจากดร.อภินันท์แหละครับ อยู่แผ่นก่อนหน้าที่สแกนครับ ผมว่าคุณอภินันท์จะรวบรัดปีเกินไป เพราะถ้าท่านอ้างว่านายอี เขียนจากหนังสือ ก็ต้องรอหนังสือพิมพ์เสร็จ 2400 กว่าจะเข้ามาถึงพระจอมเกล้า กว่าจะสั่งเขียน ตกลงราคา มิปาไป 2401-2

จะเป็น 2399 ได้ ท่านต้องทำอย่างนี้ครับ ฉายพระรูปแผ่นเงินสององค์ (ปีนั้นกระจกเปียกมาถึงแล้ว แต่อีตาปาร์กทำตกน้ำที่สิงคโปร์ครับ) องค์หนึ่งพระราชทานเสอร์จอน อีกองค์หนึ่งไปที่นายอี แต่มันก็จะติดปัญหาอีกว่า แล้วช่างเขียนรู้สีได้ยังไง ก็ต้องมีหนังสืออธิบายกำกับ....ก็เป็นได้ครับ ไม่ปิดประตูเสียทีเดียว



แต่ ถ้าเป็นช่างรับจ้างทางยุโรปนะครับ ผมขอนั่งยันนอนยัน ทำอะไรก็ ขอได้ยันลูกเดียว ว่าฝีมืออย่างนี้ แปลว่าไม่รู้อนาโตมี ไม่รู้อนาโตมีจบวิชาช่างไม่ได้ ไม่จบวิชาช่าง เปิดสตูดิโอรับงานไม่ได้ ฝีมืออย่างนี้ เต็มที่ก็รับเขียนสลากกอเอี๊ยะละพอไหว แต่ถ้าเป็นฝีมือช่างไทย นั่นต้องปิดตำราอีกเล่มมาพิจารณากัน



พระจอมเกล้า เวลาสั่งของจากเมืองนอก ทรงมีตัวแทนการค้า ทรงเลือกจากคนดีมีชาติตระกูล มีผู้น่าเชื่อถือแนะนำ มารับใช้ พวกนี้จะความหาได้ช่างเห่ยๆอย่างอีตาอีรูปูกี้อะไรนี่น่ะ เป็นไปไม่ได้ครับ ท่านสั่งปลดแน่นอน

พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้เป็นนักปราชญ์นะครับ ไม่ใช่พระเจ้าอะรูอะรูห้า....หรือหกก็ไม่รู้ ที่ว่างงาน เอาเงินชาติล้างผลาญ เพียงเพื่อได้ชื่อว่า เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เดินทางรอบโลก



ประเทศเรามีดีพอจะอวด ในเรื่องการทำสิ่งสร้างสรรค์

ขรัวอินโข่งท่านก็รู้ตัว ชีวิตหลังจากนั้นจึงพยายามพัฒนาฝีมือเขียนรูปเหมือน จนได้รับพระราชทานรางวัลในที่สุด



นี่หมายความว่าผมเชื่อว่าพระรูปนี้เป็นฝีมือปู่ทวดในสกุลช่างของผม ถ้าผิด ก็หน้าผมที่แตกขอรับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 12:30

 หนูปิ๊ก เธอชอบแนวเหวอะหวะ ส่วนหนูหน่อยนั่นชอบมูมมาม
พิจารณาจากหลักฐานพยาน เรื่องบั่นคอพิราป สับคอแมว แลสับ สับ สับ เฉือน เฉือน....แนะนำให้พึ่งหนูปิ๊กครับ แต่ตอนไปพบ ควรนำสื่อไปด้วยมากๆ และหัวหอมเพื่อบีบใส่ตาอีกพอประมาณ จะประสบความสำเร็จดังใจหวัง

เอ แต่ตรวจปูมหลัง หนูปิ๊กไม่สนคนแก่นะครับ ต้องไปคนคนคนคนคนค้นคน ขานั้นร้อยกว่ายังเข็นขึ้นเลยครับ 55555

อาจารย์คร๊าบบบ....คราวนี้ทำเสียงอ้อน
มีสารานุกรมเล่มสองใหมคราบบ ผมอยากได้ดรออิ้งของขรัว ที่คุณยิ้มพิมพ์ไว้  หรือคนอื่นจะกรุณาก้อยินดีนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 14:24

 เริ่มกระเหม่น-เขม่นตาซ้ายขวา   เหมือนมีลาง  
นึกแล้วว่าถ้ายื่นมือเข้ามาเอี่ยวในกระทู้คุณพิพัฒน์ จะต้องเจ็บตัวกลับไป  นี่ก็เริ่มไหล่ล้าจากแบกหนังสือไปสแกน

สารานุกรมอะไรคะ    สารานุกรมศิลปะหรือ  ไม่มีค่ะ   บ้านไม่พอเก็บ  ไม่ใช่หอสมุดวังท่าพระ นะคุณ
ผลงานของขรัวอินโข่ง อาจจะมีหนังสือรวบรวมภาพวาดในผนังโบสถ์วัดบวรฯอยู่ ณที่ใดที่หนึ่ง
เก็บไว้อย่างดีจนหาไม่เจอ เช่นเดียวกับหนังสือมีค่าหายากอื่นๆ

แต่ดรออิ้งไม่มี  หรือไม่ก็ยังนึกไม่ออกว่ามี จึงขอฟังไปพลางๆก่อน ไม่มาเสริมอีกแล้วละค่ะ

ไปถามคนค้นคน เค้าตอบมาว่ายังไม่ได้แม้แค่ครึ่งของปู่เย็น   ก็เลยอดออนแอร์

**********************
หมูน้อยฯ  จูงยายไปฟ้องคุณหญิงหมอก็ได้นะ...
เรื่องสับ สับ สับ ฉับ..ฉับ..ชำแหละ  แนวเธออยู่แล้ว    
อะไร้  ต้องตรวจดีเอ็นเอด้วยเหรอ  เอ! ไปดีมั้ยเนี่ย...    
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 15:04

 สารานุกรมเจ็ดชั่วโคตะระครับ ป่านนี้ถึงเล่มเท่าไรแล้วไม่รู้ ผมเคยไล่ซื้ออยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็นึกว่าเดี๋ยวรอตอนเสร็จเลดีกว่า ไม่ชอบว่าเล่มหนึ่งเก่ากึ๊กแล้ว เล่มสิบห้ยังใหม่เอี่ยว วางในดู้แล้วขัดลูกตา
นี่รอมาค่อนชีวิตแล้ว แบงค์ใบโพธิ์ทำอีลุบตุ้บหนั้บ แป๊บเดียวเสร็จ

พอดีรูปลายเส้นดังกล่าว หาชมยาก เป็นสมบัติของหอพระสมุด เห็นพิมพ์ในสารานุกรมแห่งเดียว ส่วนที่อีตาลูก้าถ่ายรูปให้วัดบวรฯ ไว้ก็ไม่มีครับ ที่เมืองโบราณก็ไม่มี

เรื่องขรัวฯ นี้ หากอาจารย์ทอดทิ้งไม่เหลียวแล มันจะวิ่งเร็วฉวัดเฉวียนยิ่งกว่ามอไซค์ปากซอยนะครับ

ส่วนดีเอ็นเอ อาจารย์หลอกลูกไปเจาะแทนก็ได้ครับ  5555
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 15:24

 ต่อไปนี้เป็นตัวบท ตอนต่อไปครับ
----------------
มูลเหตุที่ทำให้ผมต้องมารื้อฟื้นพิจารณาผลงานของท่าน ทั้งๆ ที่มีผู้ศึกษาแล้วอย่างดี ก็เพราะรูปถ่ายชิ้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับรูปถ่ายอีกชิ้นหนึ่ง ทำให้ผมคาดว่า ที่ท่านแต่ก่อนวินิจฉัยเรื่องอายุสมัยนั้น เห็นจะผิด
สำหรับประวัติศาสตร์ช่วงสองร้อยปีลงมา การกำหนดอายุผิดสักปีสองปี อาจเปลี่ยนวินิจฉัยไปได้เป็นคนละประเด็นทีเดียว
เช่นกัน ในกรณีของขรัวอินโข่ง ถ้าเราพบว่า จิตรกรรมปริศนาธรรมที่วัดบวรนิเวศน์ฯ นั้น มิได้สร้างขึ้นคราวที่พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯ ทรงครองวัด สมัยรัชกาลที่ 3 แต่มาเขียนหลังจากนั้นร่วมสามสิบปี และงานบางชิ้นของขรัวฯ อาจจะเขียนตอนต้นรัชกาลที่ 5

ประวัติศาสตร์จิตรกรรมไทย ก็ต้องเบี่ยงไปจากเดิมไม่มากก็น้อย

แล้วยิ่งถ้าเราเกิดพบว่า สุนทรภู่กับขรัวเป็นเกลอกัน ทำงานร่วมสมัยกัน และเรื่องพระอภัยมณีก็ไม่ได้แต่งถวายเจ้านายสูงศักดิ์เสียทั้งหมด อย่างน้อย ฉบับที่ตกทอดมาอาจจะแต่งให้พระยาบุรุษฯ เอาไปทำเป็นละคอนประโลมใจชาวบางกอก และตั้งแต่ต้นเรื่องอย่างน้อยที่ศรีสุวรรณชมเมือง ก็ชมอยู่แถวท่าเตียนสมัยรัชกาลที่ 4 นี่เอง
งานวิจัยอภิมหาวิชาการเรื่องกระฎุมพี...ก็คงต้องวิจัยใหม่

หรือมิเช่นนั้น อาจารย์เทาชมพูก็ต้องส่งเทียบเชิญผมออกจากเรือนไทย ไปอยู่สรีระสำราญแทน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 15:58

เข้ามาทำตาปริบๆ ประนมมือฟังเล็กเช่อร์ของท่าน pipat รวมทั้งของท่านอาจารย์ปู่ของท่านด้วยอีกชั้นหนึ่งครับ

เรื่องโข่งกับโค่งนั้น ถ้าพจนานุกรมว่ายังงั้นผมก็จนด้วยเกล้า แต่จำได้ว่าก่อนพจนานุกรมราชบัณฑิตยฯ เกิด ใน สาสนสมเด็จ สมเด็จทั้งสองพระองค์เคยทรงถกกันเรื่องคำนี้มาแล้ว ดูเหมือนพระมติที่ผมจำได้ (ไม่ได้เปิดหนังสือทบทวนครับ) โข่งก็คือโค่ง แปลว่าโตหน่อยหนึ่งทั้งคู่

ที่ราชบัณฑิตยฯ ท่านว่าโข่งแปลว่าเปิ่นเซอะ ส่วนโค่งแปลว่าเณรแก่เกินอายุเณรนั้น สงสัยว่าจะมาทีหลัง

ผมยังจำได้เลยว่า สมเด็จองค์หนึ่ง จะสมเด็จฯ ครู หรือสมเด็จฯ กรมดำรงก็ลืมแล้ว ท่านรับสั่งทำนองว่า อ้อ... เข้าใจเลย หอยโข่งก็หอยที่ตัวมันโตกว่าพวกมัน (และแน่นอน เณรโค่งก็แค่เณรตัวโต เพราะแก่กว่าเณรเด็กๆ เท่านั้นแหละ - ในวงเล็บอันนี้ท่านไม่ได้ทรงว่า ผมว่าของผมเอง)

ราชบัณฑิตยสถาน ทราบแล้วเปลี่ยน?

กราบเรียนพระเจ้าตา pipat อีกข้อหนึ่ง เอามาฝากครับ พระเจ้าแผ่นดินอะไรที่ว่าไม่มีงานทำเลยทรงพระเที่ยวรอบโลกเล่นนั้น หลวงตาหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินอาณาจักรฮาวายใช่ไหมครับ พระเจ้ามูมูกูมาดูทะเล... เอ๊ย- น่าจะ คิง คาเลฮาเลฮา ที่เท่าไหร่ไม่รู้ ชื่อภาษาฮาวายจำยาก ผมอาจจะจำผิดก็ได้ แต่จำได้ว่าอีตาคิงองค์นี้เคยเสด็จประพาสรอบโลก และเคยทรงแวะมาเป็นพระราชอาคันตุกะในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ปิยมหาราช ของไทยเราด้วย ดูเหมือนตอนนั้นช่วงต้นรัชกาล

อีกไม่กี่ปีต่อมา หลังรัชสมัยคิงอะไรองค์นั้น อาณาจักรฮาวายก้ถูกเรือรบสหรัฐบุกยึดครอง แล้วในที่สุดก็เปลี่ยนสภาพจากประเทศเอกราชกลายเป็นดินแดนในอารักขาของสหรัฐฯ และเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐในที่สุด (ก่อนสหรัฐรุกรานอิรักและอัฟกานิสถานหลายสิบปี)

เอวัง...

ขอเชิญกลับไปคุยกันเรื่องท่านขรัวอิน โข่งหรือโค่งก้ไม่รู้แน่ ต่อครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง