เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75225 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 21:16

 ยืมรูปของกรมศิลปากรมาใช้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างของสมุดไทย
ที่คุณโพธิ์ฯ เอามาอวดเป็นรายละเอียดตรงขอบ อยากเห็นทั้งเล่ม จะช่วยให้รู้ชัด

สำหรับเรื่องสีนั้น เขียนบนผนัง จะมีวิวัฒนาการอุ้ยอ้ายกว่า เขียนในสมุดครับ
ปลายสมัยอยุธยา สีสดใช้ในสมุดกันออกเกร่อ แต่ช่างเขียนผนังยังไม่กล้า
ตัดเส้นบนสมุด ก็อะเหร็ดอะหร่อย เส้นสายมีชีวิตชีวา บนผนัง ยังระแวดระวังตัวแทบลีบ

สมุดเล่มนี้ ฝีมือตัดเส้น อยู่ประมาณปีสองกำลังสอบซ่อมอยู่
เดาว่าคงต้องตก ออก
ไปขอเงินแม่ เปิดร้านที่ตลาดสนามหลวง 2

ฮิฮิ  
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 21:31

 คุณ Pipat รู้จัก คุณสุดสาคร ชายเสมมั้ยครับ ?
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 22:34

 ผมไม่ได้มีความรู้สูงส่ง หรือ ต้องการแสดงภูมิอะไร
เพียงแต่เห็นว่าโพสไปแล้วจะเกิดประโยชน์กับท่านอื่นๆ
ผมไม่เคยโพสอะไรที่ไร้สาระ หรือ ไม่มีหลักฐานข้อมูล
เพียงแค่อยากเห็นสังคมที่มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
ศิลปกรรมไทย ก่อนที่จะสายเกินไป.. จนสักวัน เราต้อง
ไปเรียนเรื่องราวของตัวเองจากคนต่างชาติ

ขออนุญาติตอบคำถามคุณเทาชมพูนะครับ

๑)สีสันที่ระบายสดใส ว่าเป็นสีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สีโบราณ

ตอบ คุณเทาชมพู ลองพิจารณาจากภาพสมุดข่อยฉบับ
วัดหัวกระบือดูครับ ฉบับนี้มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาสมุดข่อยโบราณ
สมัยอยุธยา สมุดไทยฉบับวัดหัวกระบือนี้ เขียนเรื่อง “พระพุทธคุณคัมภีร์”
ระบุว่าในสมุดว่าสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๒๘๖ ซึ่งตรงกับปีในรัชกาล
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ลองพิจารณา
ถึงสีสันที่ยังสดใสอยู่มาก ถ้าบอกว่าสมุดข่อยฉบับนี้ปลอม ก็เหมือนกับ
บอกว่าประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากไชยยา
ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ อันเลืองชื่อเป็นของปลอม
ภาพนี้คงเป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีถึงการใช้โครงสร้างสีที่สดใส
ฉูดฉาดมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย นี่เป็นสีของเค้าจริงๆ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 22:41

 ๒) สภาพของกระดาษที่ยังใหม่มากด้วย สำหรับอายุ ๒๐๐ ปีขึ้นไป
กระดาษสาไม่น่ารอดมาได้ดีขนาดนี้

ตอบ ก่อนอื่น ผมต้องขออนุญาติอธิบายคุณเทาชมพูเรื่องความเก่าใหม่
ท่านทั่วไปมีความเข้าใจว่าอยุธยาถูกทำลาย แทบจะไม่มีอะไรเหลือ
แต่ในความเป็นจริงยังมีศิลปะอยุธยาที่สมบูรณ์เหลือรอดอยู่อีกมาก
แต่ส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของภาคเอกชน ผมสะสมศิลปะอยุธยา
เป็นงานอดิเรก ได้สัมผัสกับโบราณวัตถุ และ สมุดข่อยอยุธยา
มานับไม่ถ้วน บางเล่มที่ผมพบ มีสภาพสมบูรณ์มากกว่าฉบับ
ที่ลงไปแล้วครับ คุณเทาชมพูลองเปรียบเทียบเนื้อกระดาษ
ของสมุดวัดหัวกระบือกับฉบับที่ผมโพสไปดูนะครับ

การทำน้อยแต่ได้มาก คือ เสน่ห์ของงานอยุธยาที่งานรัตนโกสินทร์ไม่มี
รัตนโกสินทร์ให้ความสำคัญกับรายละเอียดมาก สิ่งที่ปรากฏออกมา
จึงเป็นลักษณะการตกแต่งประดับประดา ถ้าเทียบกับวิธีที่แสดง
ออกทางศิลปกรรม รัตนโกสินทร์ทำมากแต่ได้น้อย

อย่างที่ทราบกัน อยุธยามีช่างมากมาย มีทั้งช่างราษฏร์ ช่างหลวง
เราจะเอางานของหลวงมาเปรียบเทียบกับของราษฏร์ไม่ได้
ผมอยากให้เรามองที่คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ และ สุนทรียศิลป์
ว่าที่สวย สวยยังไง แบบไหนที่เรียกว่าสวย ?
ว่ามีคุณค่าอย่างไร แบบไหนที่เรียกว่ามีคุณค่า ?
ดีกว่าไปตามกระแสทั่วๆ ไป ที่ไม่รู้ถึงสุนทรียะและคุณค่า
ถ่องแท้จริง คนไทยสมัยนี้มีรสนิยมดีมากๆ ในแบบสากล
แต่แบบไทยแท้ๆ ถือว่าเข้าขั้นน่าเป็นห่วง

อีกอย่างผมเห็นและสัมผัสกับสมุดวัดหัวกระบือ ฉบับจริงๆ
มาแล้ว ถึงได้กล้ายืนยันครับ

ถ้ามีโอกาส ผมขอชมฝีมือการเขียนจิตรกรรมไทยของคุณ Pipat
โพสให้ชมเป็นขวัญตาบ้าง ก็จะดีไม่ใช่น้อยครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 22:43


ชมกันอีกสักรูป ไม่เก็บค่าชมครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 00:25

 อาจารย์สุดสาครเป็นคนดัง ผมไม่รู้จักครับ

ฝีมือเขียนรูปของผม เด็กฝึกงานยังเก่งกว่าครับ ดูไปก็ไม่ช่วยให้รักศิลปะไทยมากขึ้น ข้อนี้ขอรับรอง
สมัยก่อนที่ยังทำงานภาคสนาม ทำเป็นแต่เขียนแผนผังครับ

สมุดภาพวัดหัวกระบือ ทำให้เรารู้ว่า เขียนในสมุด ต่างกับเขียนบนผนัง
และรู้เพิ่มอีกว่า เขียนสมุด กล้าเล่นสี แพรพราวยังกับงานสมัยใหม่
หลังจากนั้น ในตลาดของเก่า จึงมีสมุดภาพสีสดใสวางขาย แปลกใหมครับ

สมุดวัดหัวกระบือ เขียนรูปโอ่อ่า หน้ากระดาษไม่พอสำแดงฝีมือ
สมุดหมื่นกว่าบาท เขียนรูปเหมือนปลาน้อยว่ายเวิ้งในมหาสมุทร
ช่างหลวงช่างราษฎ์ ถ้าเขียนสวยก็คือสวยครับ ทางใครทางมัน คุณไปดูหน้าบันวัดที่อุตรดิตถ์
ไกลห่างจากราชสำนัก ฝีมือไม่แพ้ในเกาะเมืองอยุธยา

ถกกันเรื่องแบบนี้ ไม่มีใครว่าอวดหรอกครับ ผมฟังที่คุณว่ามา ก็น่าฟัง คุณฟังที่ผมว่ามั่ง
แลกเปลี่ยนกันไปมา น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

ผมไม่เชื่อว่าเป็นของมีราคา คุณก็แนะนำผมหน่อยเป็นไร
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 08:11

 ขอตอบคุณโพธิ์ฯด้วยความเกรงใจอย่างยิ่งว่า อ่านคำตอบของคุณแล้ว  ดิฉันก็ยังไม่รู้เรื่องอยู่ดีละค่ะ
เป็นข้อด้อยของดิฉันเองที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะของแท้ของเทียม   ขอฟังเงียบๆไปก่อนดีกว่า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 12:54

 อยากชวนคุณโพธิ์ประทับช้างเปิดห้องศิลปะไทย จะเริ่มด้วยสมุดภาพวัดหัวกระบือก็น่าจะดีมังครับ แล้วมาว่ากันด้วยฝีมือช่าง เนื้อเรื่อง การวางเรื่อง ฝีมือตัดเส้น ....เรื่อยเปื่อยไปได้ ถึงใหนถึงกัน

พอดีกระทู้นี้ จั่วหัวเป็นขรัวอินโข่งไว้ จะพลิกแพลงแซงเรื่องอื่นก็กลัวจะไม่ได้กลับมาเพชรบุรีอีก

นอกจากนั้นยังติดการบ้าน อธิบายว่า ทำไมจึงว่า ขรัวอินโข่งเป็นไทย ซึ่งกำลังจะเริ่มต่อไป
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:02

 ขอบคุณ คุณ Pipat มากครับ
ผมเชื่อว่าทุกท่านในที่นี้มีวิจารณญาณ
การจะเชื่อหรือไม่เชื่อถือ ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้
และประสบการณ์ของแต่ละท่าน ลองเลือกเอา
ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ ก็จะไม่เสียหลาย
ดีที่คุณ Pipat มาถกด้วย อย่างน้อยก็ได้ความรู้
และได้รู้จักกันมากขึ้นครับ

ที่คุณเทาชมพูสงสัย ขออนุญาติอธิบายครับ
จะรู้ได้ว่าของจริงของปลอม ?

- ต้องมีของจริงของเราไว้เทียบ และหาข้อมูลเยอะๆ ครับ
- ต้องมีของปลอมไว้เทียบเยอะๆ
- เวลาซื้อ ต้องโดนต้ม ซื้อของปลอมไปในระยะแรกๆ
หลังจากนั้น ก็จะโดนน้อยลงครับ ควรจะซื้อจากคนที่
น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ เพราะจะเสียชื่อเสียงและเสียลูกค้า
ถ้าปลอมก็คืนได้ตลอดชีพครับ
- ซื้อของปลอมมากๆ แล้วหาข้อแตกต่าง
ก็จะรู้ว่าอันไหนปลอม อันไหนแท้ อันไหนซ่อม
ก็จะผ่านโปรเป็น Collector อย่างสมบูรณ์
ก่อนที่จะหมดสตางค์และจนไปกับของเก๊เสียก่อน
- ถ้าอยากจะรู้ว่า Collector คนไหนผ่านหรือ
ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องดูที่ Collection ของแต่ละคนครับ
ทุกคนย่อมต้องเคยซื้อของปลอมมาก่อน เรียกว่า
"การตกควาย" และนี่คือเสน่ห์และรสชาติของ
การสะสมของเก่า ของแท้ก็ย่อมเป็นของแท้อยู่
ยังวันยังค่ำครับ

เอารูปมาฝากครับ ที่มา Private Collection
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 16 มิ.ย. 06, 13:02

 เมื่อผมมั่นใจแล้ว ว่าขรัวอินโข่ง ทำงานอยู่ในรัชกาลที่ 4 มาจนต้นรัชกาลที่ 5 การพินิจพิจารณาเรื่องราวก็เข้ารูปเข้ารอยขึ้น

คงจำกันได้ ว่าเมื่อกรมหลวงพิชิตปรีชากรแต่งเรื่องแนวใหม่ออกเผยแพร่ เกิดความแตกตื่นมากขนาดใหน อันนี้ภาษาทางมานุษย์สังคมวิทยา เรียก คัลเจ้อร์ ช็อค อันนั้นเกิดตอนที่สังคมไทยเป็นสากลมากมายแล้วเสียด้วยซ้ำไป

คิดเปรียบเทียบแล้ว จิตรกรรมปริศนาธรรมของท่านขรัว ก็คงช็อคสังคมไทยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ผมเหมาว่า จะยิ่งกว่าเสียด้วย


ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัดบรมนิวาสบ้าง ยกมือขึ้น
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 24 มิ.ย. 06, 22:51

 ตั้งคำถามทิ้งท้ายไว้ หลายวัน ปรากฏว่าไม่มีใครตอบ
แปลว่าไม่มีใครเคยไปวัดนี้หรืออย่างไร

เอ้า ถามใหม่ ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัดบวรฯ บ้าง
อันนี้ถามเจาะนะครับ วัดนี้คนไปแล้วมากมาย
แต่จะมีที่ไปชมจิตรกรรมบ้าง สักกี่ท่าน

ยกมือขึ้น
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 24 มิ.ย. 06, 23:32

 เข้ามาอ่านเสียหลายวันแล้วล่ะครับ คุณpipat แต่ไม่กล้ายกมือ
เพราะคำถามที่ตั้งไว้ ณ ถามคนไปชมจิตรกรรมนี่ครับ
แต่ผมน่ะ บุญน้อยด้อยวาสนากว่าจะหาเวลาไปทำอะไรซักอย่างได้ก็ยากจับใจ

ล่าสุดไปวัดบวรมาก็ได้แต่ฟังเทศน์ กับชมจิตรกรรมในพระวิหาร
พระอุโบสถมิได้ดูเลย เนื่องจากเข้าไปฟังบรรยายช้าเพราะอยากฟังเทศน์จนจบน่ะครับ


เห็นทีพรุ่งนี้เช้าถ้ารีบตื่นไหว คงต้องลุกไปชมจิตรกรรมเสียที เผื่อเย็นๆจะแวะมายกมือ ชูจั๊กกะแร้เหม็นๆในกระทู้นี้ได้บ้าง




ปล. ได้ยินว่ามีชาวเวบนี้ท่านหนึ่ง เคยหารายได้พิเศษโดยการแวะไปทำทะเบียนของในตำหนักมา
จะไม่เข้ามายกมือตอบให้คุณpipat ชื่นใจหน่อยหรือครับว่าเคยแวะไปชมจิตรกรรมมาน่ะครับ ฮี่ฮี่
บันทึกการเข้า
Oam
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 08:14

 เคยแต่เดินผ่านหน้าวัดที่ว่ามาทั้งสองวัด ถ้าคุณpipat จะนำทางพาเลี้ยวเข้าวัด ก็จะเดินตามเข้าไปด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 08:16

 เคยเข้าไปในพระอุโบสถค่ะ  แต่เห็นภาพไม่ถนัด  
โบสถ์ค่อนข้างมืด  ภาพที่อยากเห็นก็อยู่สูงเสียด้วย
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 25 มิ.ย. 06, 19:36

 อ๊ะ .............................................................ผมไม่กล้ายกมือตอบกระทู้คุณพิพัฒน์

เพราะตาไม่ดี มาอ่านทีไรก็จะได้ความว่า "ใครเคยไปชมจิตรกรรมที่วัด "บวรมงคล" บ้าง"

เลยไม่ได้ยกมือตอบเสียที เพราะกำลังคิดว่า วัดลิงขบมันมีจิตรกรรมอะไรกัน

ขอโทษอย่างสูงครับ มิฉะนั้นจะตอบไปเสียหลายทีแล้ว

เคยไปชมอยู่หลายครั้งเหมือนกัน เพราะเคยไปรับจ๊อบที่วัดนั้นบ้าง จิตรกรรมถ่ายมาได้แต่ค่อนข้างสั่นเพราะแสงน้อยและอยู่สูง แต่ความมืดของภาพทำให้พระประธานคือพระชินสีห์ดูเหมือนกำลังลอยทีเดียว

สวยงามมากครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง