เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75373 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:20


เอารูปมาฝากคุณ Pipat
ถ้าคุณชอบลายเส้น คงจะอิ่มใจถ้าได้ชมรูปนี้
แต่ว่า หญิงชายในรูปคู่นี้ไปอยู่เมืองนอก
ไม่กลับมาแล้ว คิดว่าเราคงไม่ได้เห็นกันอีกแล้ว
เลยเอามาฝากกันครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:21


ภาพนาง
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:27

 ส่วนรูปข้างล่าง ทั้ง 4 รูปนี้ มาจากสมุดพับสาสมัยอยุธยา
ไปเมืองนอกแล้วอีกเช่นกัน แต่ยังไม่มีใครมาซื้อ
หากใครมีปัจจัยมากพอ ช่วยซื้อกลับมาก็จะเป็นบุญคุณ
กับชาติมากครับ อยู่ในเว็บเมืองนอก 1 พับ มี 4 รูป
เขียนด้วยอักษรขอม ตกราวๆ หมื่นกว่าบาท
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:28


พับด้านหน้า คู่กัน
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:29


อีกด้าน เส้นกลมตึงสวยมาก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 19:30


รูปคู่กันครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 21:04

 ขอบคุณครับ
1 ลายเส้น อ่านตัวหนังสืออกใหมครับ
ท่วงทีน่าสนใจมาก
2 ปั๊บสา เป็นของเหนือกระมัง แต่เล่มนี้ ขายเอาเงินเข้าประเทศได้ก็ดีครับ น่าจะเขียนเสร็จเมื่อสอง-สามปีก่อน แถวๆ บางโพ ไม่ก็บางขวาง คงไม่ถึงอยุธยาครับ ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 12:06

 ตอบคุณ Pipat
๑. อ่านไม่ออกครับ
๒. สมุดเล่มนี้ อยุธยาของแท้แน่นอนครับ
มีอยู่ในคลังอีกหลายฉบับ ถ้าอยากชม
จะไปรื้อมาฝากครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 18:14

 ยกมือถามจากหลังห้อง

สงสัยว่าคุณพิพัฒน์สังเกตจากอะไรคะ
๑)สีสันที่ระบายสดใส  ว่าเป็นสีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ไม่ใช่สีโบราณ
๒) สภาพของกระดาษที่ยังใหม่มากด้วย สำหรับอายุ ๒๐๐ ปีขึ้นไป กระดาษสาไม่น่ารอดมาได้ดีขนาดนี้

หรือว่าเป็นข้ออื่น

ขอโทษที่ขัดจังหวะ คุณโพธิ์ฯคงไม่เคือง   ดิฉันก็สนใจอยากศึกษาเหมือนกันค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 19:27

 สังเกตจากเพื่อนที่ประกอบอาชีพผลิตศิลปะขายครับ

สมุดภาพเล่มนี้ ตัวสมุดอาจจะเก่า แต่มีข้อพิรุธคือ โครงสีแบบนี้ เป็นอยุธยาปลาย
แต่ถ้าเป็นอยุธยาปลาย ช่างไม่ตัดเส้นแบบนี้
และช่างที่สามารถสร้างโครงสีแบบนี้ได้ในยุคสองร้อยปีก่อน
จะมีฝีมือตัดเส้นที่เลอเลิศกว่าฝีมือประสมสีขึ้นไปอีกครับ

ผมอาจจะเปลี่ยนความเห็นถ้าได้เห็นรายละเอียดที่ใกล้ชิดกว่านี้ครับ หรือไม่ก็จำได้เลยว่าเป็นเพื่อนคนใหนทำ

ขอชมเล่มอื่นๆ ด้วยได้ใหมครับ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 19:28

 ขอตะโกนเสียงดังหน่อย ถามแซมขึ้นมาอีกคน (เจี๊ยวจ้าวเชียว)

สงสัยเช่นเดียวกับอาจารย์เทาชมพูครับ
ออกตัวก่อนว่าด้อยเรื่องประวัติศาสตร์ ยิ่งเรื่องจิตรกรรมยิ่งด้อยใหญ่ แต่หมูน้อยฯมี ข้อสังเกตุในภาพหลายอย่างอยาก จะเสนอเผื่ออาจเป็นจุดเล็กๆให้ประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับภาพได้บ้าง (ที่จริงอาจไม่ช่วย อะไรเลยก็ได้ ..)

-กายแต่งกายของพระสมัยนั้น การใช้ประคด ผ้าอังสะฯลฯ เหมือนในภาพหรือไม่ ..สมัยนั้นกับสมัยนี้แต่งกายแตกต่างกันบ้างไหม..  อย่างไร? (คุณโพธิ์ฯ บอกว่าเป็นภาพสมัยอยุธยา)
-ในภาพนั้นพระไม่กันคิ้ว ซึ่งก็อาจตรงกับเหตุการณ์สมัยนั้น เพราะพระเริ่มกันคิ้วในสมัยหลัง (ผมเข้าใจถูกไหมนี่?)
-ทรงผม และการแต่งกาย ของชาวบ้านในภาพนั้นบอกลักษณะของคนล้านนา สมัยนั้นได้หรือไม่ ... ชัดเจนเพียงไร?
-กระเบื้องมุงหลังคาภาพ 1และ2 นั้นผมเคยเห็นแถววัดที่ภาคเหนือ ดูจากรูปทรงและการเคลือบสีเข้มไว้ภายใน  แต่ไม่แน่ใจว่าภาคอื่นจะเคลือบอย่างนั้นไหม.. หรือแม้แต่ปัจจุบันก็ยังเคลือบกันอย่างนั้นอยู่ ก็ไม่แน่ใจเช่นกัน ?
-ภาพสุดท้ายนั่น ฉัตรรึเปล่า ไฉนมีธงอยู่ตรงปลาย ? ..งานศพนั้นก็น่าจะเป็นของผู้มีบุญ หรือไม่ก็ ผู้มีตังค์ เพราะแต่งโดยรอบเสียสวย มีบางอย่างคล้ายฉากกั้น( ไม่แน่ใจว่าเป็นฉากกั้นไหม?) มีฉัตร มีผ้าคลุมศพลวดลายสวยงามเชียว คิดว่าราคาคงแพงแต่ใช้คลุมศพ  เชิงเทียนของล้านนาเป็นรูปหงษ์หรือครับ นึกว่ามีใช้เฉพาะภาคกลางเสียอีก..
-รูปทั้งหมดสื่อหรือบอกเล่าเรื่องราว วิธีปฎิบัติ ประเพณี หรือเหตุการสำคัญอะไร ? หรือไม่ได้สื่อถึงอะไรเลย ..?
-รูปทั้งหมดเป็นของเก่าโบราณ ใช่ไหม ?
-หรือรูปทั้งหมดเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ต้นแบบจากภาพเดิม ?
-หรือแย่กว่านั้น กล่าวคือเขียนขึ้นใหม่โดยใช้เพียงจินตนาการและการบอกเล่า?
-???

น่าสนใจครับ  มานั่งรอฟังคำตอบด้วย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 20:16

 ผมทำหมูน้อยสับสนซะแล่ว
ที่ติงคำว่า"ปั๊บสา" เพราะสงสัยว่าคุณโพธิ์ฯ จงใจหรือใช้ตามสะดวก
ทางเหนือเรียกปั๊บสา หรือปั๊บหนังสา
ภาคกลางเขาเรียกสมุดข่อย เพื่อความแน่ใจ เลยใช้บริการตุ๊ดตู่ออนไลน์ โอ้...พระเจ้า ท่านไม่เก็บคำว่าสมุดข่อย เก็บแต่
ข่อย
นิยาม :  ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าต่ำและริมแม่น้ำลำคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทำกระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้ และเมล็ดใช้ทำยาได้.
เอาล่ะ นั่นประเด็นที่หนึ่ง

รูปงานศพที่หมูน้อยท้วงนั้น เป็นเรื่องใหญ่ครับ
ปุจฉา : ใครเอ่ย ตีนยื่นเลยโลงออกมาอีก

ประเด็นสุดท้าย ผมไม่แนะนำให้เทียบจิตรกรรมกับความเป็นจริงนะครับ เว้นแต่เก่งเป็นเซียนย้อนเวลาได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 20:17

 อ้อ หมูน้อยฯ......
ยอมแพ้เรื่องคนโบราณเรียกหมาสีดำว่าอะไรแล้วหรือ
นี่ปาเข้าไปจะเดือนแล้วนา เงินหมดหรือไง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 20:43

 ขออนุญาตเดานะครับ ในฐานะละอ่อนน้อยที่คุณpipat เคยเตือนเรื่องไม่ควรเอาจิตรกรรมมาเทียบกับความเป็นจริง ไปเมื่อเกือบๆสัปดาห์ก่อน อิอิ



ผมเดาเอาว่าเรื่องเท้าที่ยื่นออกจากโลง มาจากฉากถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ
แต่สมองน้อยๆของผมดันจำได้ไม่ชัดเจนเสียแล้ว ว่ายื่นออกจากโลงหรือจากผ้าห่อพระศพ 500 ชั้นกันแน่
สงสัยต้องรบกวนให้คุณนทีสีทันดรมาเล่าให้ฟังอีกซักที แต่ที่เดาเอาว่าเป็นพระพุทธองค์ เพราะเท้าเป็นสีทองครับ

ถ้าหาจุดเริ่มต้นได้ว่าเรื่องที่ว่านี่เข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎกเมื่อไหร่ คงพอเดาได้ว่าสิ่งที่ผมเดามันผิดหรือถูก
(แต่จะมีเวลาไปค้นข้อมูงได้เมื่อไหร่ ผมก็ไม่มั่นใจเสียแล้ว
เพราะตอนนี้แค่อยากหาบันทึกฯ ของสมเด็จนริศเล่ม 1 มาอ่านยังไม่มีเวลาเลยครับ แหะๆ)



ส่วนเรื่องการตัดเส้น คุณpipat ทำเอาผมต้องไปรื้อหนังสือปกแข็งๆ 2 เล่มเรื่องสมุดไทยสมัยอยุธยามาเปิดดู (คำนี้หาความหมายได้ในตุ๊ดตู่ออนไลน์ของคุณ pipat ครับ)
หลังจากที่ทดลอง "เปิดหน้าไหนก็ได้" ดูไปร่วมๆ 50 หน้าได้ ข้อสังเกตที่พบคือช่างเขียนจะตัดเส้นละเอียดพอๆกันทั้งภาพ
ไม่ว่าจะเป็นตัวละคร สิ่งก่อสร้าง สถานที่ หรือต้นไม้ดอกไม้ที่แทรกประกอบอยู่ในภาพ จะตัดเส้นด้วยฝีแปรงละเอียดพอๆกันเกือบทั้งหมด และจัดวางองค์ประกอบภาพได้ละเอียดละออมาก

ผมขออนุญาตเดาเอาเองว่า เป็นเพราะช่างเขียนยุคนั้นเขียนภาพในสมุดไทย  ขึ้นในยุคที่หนังสือซักเล่มยังเป็น "งานช้าง" อยู่
ตำราซักเล่มเป็นของมีค่ามหาศาล ช่างจึงบรรจงเขียนและจัดวางองค์ประกอบของภาพด้วยความวิจิตรปราณีตเท่าๆกันทั้งภาพ

แต่ภาพจากขอบสมุดไทยที่คุณโพธิ์ประทับช้างนำมาฝากพวกเราจะสังเกตได้ว่าตัวละครตัดเส้นด้วยเส้นละเอียด
ส่วนความละเอียดของการตัดเส้นฉากหลังนั้นแตกต่างจากตัวละครมาก (ไม่ทราบจะเข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ แหะๆ)



ปล. ขอนุญาตยกมือถามคุณpipat อีกซักเรื่องครับ ว่าสีฟ้า และชมพู ที่ขอบภาพเริ่มใช้ในงานจิตรกรรมไทยกันประมาณช่วงไหนครับ
เห็นแล้วนึกถึงลายเส้นคั่นในผ้าซิ่นไทยลื้อแถบจังหวัดเชียงรายรุ่นไม่ถึง 80 ปีที่ผ่านมาขึ้นมาตะหงิดๆ
(ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่ามันบังเอิญไปตรงกัน หรือว่าผมเอาความเคยชินของตัวเองมาเป็นอารมณ์หรือเปล่านะครับ แหะๆ)
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 15 มิ.ย. 06, 20:53

 โธ่..ก็คุณพิพัฒน์ให้เวลาตั้งเจ็ดปี นี่ยังไม่ถึงเดือนก็ใจร้อนจะเอาคำตอบเสียแล้ว

ใจร้อนอย่างกับวัยสะรุ่นก็ไม่ปาน

ไอ้ยอมแพ้น่ะเห็นจะยาก แต่เงินนี่สิ หมดไปตั้งแต่วันแรกที่ถามเสียแล้ว

ตอบถูกจะได้รางวัลไหมหนอนี่ ? ถ้าได้จริง จะขอเป็นสมุดภาพเหมือนที่ท่านอาจารย์ฯ เคยได้ไปนั่นก็ดีไม่น้อย  ถ้เช่นนั้นจริงก็จะขอบุกป่าฝ่าโคลน ลุยไปไต่ถามมาให้จงได้ ว่าอ้ายหมาดำนั้น คนโบราณ แต่หัวสมัยใหม่แบบคุณพิพัฒน์ เขาเรียกว่าอันใดกานนนนน


ปล.ได้รับแมวที่ผมฝากไปให้แล้วใช่ไหมครับ ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง