เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 75226 ประวัติศาสตร์มีชีวิต : ขรัวอินโข่ง ข้อเสนอใหม่
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 25 พ.ค. 06, 09:34

 .





สำนักพิมพ์เมืองโบราณเคยพิมพ์หนังสือเล่มใหญ่ เกี่ยวกับขรัวอินโข่ง ปกแข็งงดงาม เรียบเรียงโดยวิยะดา ทองมิตร (จิตรกรรมแบบสากล สกุลช่างขรัวอินโข่ง 2522 ) จากวัตถุดิบของ น ณ ปากน้ำ อันเป็นต้นทางให้สำนักฯ นี้ ผลิตชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทยออกมาอีกยาวนาน
แม้แรงบันดาลใจทางวิชาการ คือ อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ จะลาลับโลกนี้ไปแล้ว งานก็ยังไม่หยุด

ข้อความจากนี้ไป หากจะมีสาระบ้าง ก็โปรดทราบว่า มาจากการศึกษาบุกเบิกของอาจรย์ประยูรเป็นหลัก
แม้มีข้อโต้แย้งวินิจฉัยของท่าน ก็เป็นดั่งการเติมแต่งให้ครบถ้วน เท่าที่คนรุ่นหลังจะพึงทำแก่มรดกทางสุนทรียะของบรรพชน ทั้งนี้ก็โดยอาศัยหนทางที่ท่านผู้มาก่อน แผ้วถางไว้ให้

หากมีความผิดเพี้ยนตื้นเขิน ย่อมมาจากสติปัญญาต้อยต่ำของผมโดยแท้จริง

รูปจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK13/pictures/s13-101-1.jpg    
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 09:50

 อันที่จริง น. ณ ปากน้ำ มิได้เป็นนักวิชาการคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง
ท่านเป็นคนแรก ที่อธิบายงานของขรัวอินโข่งจากมุมมองด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยการตามดูทุกแหล่งที่มีผลงานของจิตรกรท่านนี้ปรากฏอยู่ วิเคราะห์ แนะนำ และวินิจฉัยแง่มุมใหม่ๆออกมา และถึงกับไปเพชรบุรีเพื่อสัมภาษณ์คนเก่าแก่ ที่น่าจะรู้เรื่อง

สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นนักศึกษาแรกสุด ที่สนใจขรัวอินโข่ง และได้ทำทุกอย่างที่ น. ณ ปากน้ำ ทำ ก่อนหน้าตั้งสามสี่สิบปี เพียงแต่ทรงศึกษาเพื่อประโยชน์ทางช่าง มิใช่ทางตำรา และแม้จะทรงบันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับจิตรกรท่านนี้อยู่ใน "จดหมายเวร" ที่เราเรียกกันว่าสาส์นสมเด็จ ก็ยังเป็นเอกสารปิด น้อยคนจะใช้ประโยชน์

ความสนใจเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง มีที่มายาวนานกว่าสาส์นสมเด็จไปอีกหนึ่งรัชกาล
เราพบนามท่านเป็นครั้งแรก ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5 "พระราชกรัณยานุสรณ์ " พระราชนิพนธ์ที่ต่อมาจะกลายเป็นพระราชพิธีสิบสองเดือนอันลือเลื่อง เท่าที่ตรวจสอบดู พระองค์ระบุนามช่างเขียนผู้นี้อย่างให้เกียรติ และผมมั่นใจว่า ท่านจะเคยพบศิลปินเอกผู้นี้เมื่อครั้งต้นรัชกาล.....
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 11:19

 ขออนุญาตเข้ามานั่งรอคุณpipat มาเล่ากระทู้ต่อนะครับ
อยากอ่านมานานแล้วแหละ อิอิ


ปล. สารภาพเลยละกัน ว่าผมเคยไม่ชอบขรัวอินโข่งมาก่อนแหละ แหะๆ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 13:15


ท่านขรัวอิน ท่านเป็นพระ บวชไม่ศึก
ตลอดชีวิต ท่านอุทิศตนให้กับพระศาสนา
งานจิตรกรรมของท่าน น่าจะเป็นแนวทางให้กับ
จิตรกรไทยรุ่นใหม่ได้คิดและมีทัศนวิสัยที่ยาวไกล
ผมรู้สึกประทับใจในและชื่นชมงานของท่านจริงๆ และ
ทำให้คิดถึงจิตรกรยุโรปคนหนึ่ง ที่ชื่อ Gustav Klimt
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 15:36

 เรียน คุณพิพัฒน์,คุณโพธิ์ประทับช้าง และพี่ติบอ ที่เคารพ
ขออนุญาตลงชื่อด้วยคนครับ
เท่าที่อ่านดูแล้ว นอกจากเราจะทราบฝีมือของขรัวอินโข่งแล้ว
เรายังทราบพระเกียรติคุณในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์อีกข้อหนึ่งครับ
คือ การใฝ่หาความรู้ รู้จักประยุกต์ใช้ความรู้นั้นในด้านอื่น ๆ อีกครับ
ตอนนี้ ก็ต้องรอตอนต่อไปครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 19:40

 รายวิชา(ไม่ต้อง)เลือก ไทยศึกษา 555 เรื่องขรัวฯ ผมตั้งใจนำเสนอ ประมาณว่าจะมีร้อยตอนจบ ก๊ากกก...ล้อเล่นครับ เก้าสิบเจ็ดตอนเอง...แหะ แหะ

เสนอเพื่อบูชาคุณครู  ครือว่า ...ครูช่างที่ครอบผม ท่านสืบสายสกุลช่างเมืองเพชรดังนี้
ขรัวอินโข่ง---หลวงพ่อฤทธิ์---อาจารย์เลิศ---อาจารย์วิไล
ท่านสุดท้ายนั่นแหละครับ จับมือผมเขียนพู่กัน เท่ม้า....น้องติบอ อย่าอิจฉา

ส่วนที่คุณโพธิประทับช้างเสริมมา ผมขออนุญาตค้านหมดเลยนะครับ
"ท่านเป็นพระ บวชไม่ศึก" (sic.) ..........สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าประทาน มรว สุมนชาติ ว่า....เคยเห็นตัว ผมสีดอกเลา.....ท่านไม่ทรงระบุว่าเป็นพระ และถ้าผมสีดอกเลา น่าจะเป็นฆราวาสกระมัง

ทำให้คิดถึงจิตรกรยุโรปคนหนึ่ง ที่ชื่อ Gustav Klimt อันนี้หัวเด็ดตีนขาดก็เอามาปนเปื้อนไม่ได้ครับ งานของขรัว เป็นปริศนาธรรม
แต่คลิ้มต์นี่เป็นโลกียะธรรมครับ ไม่แฝงอะไรเลยนะครับ โดยเฉพาะพวกลายเส้นนี่ เป็นลามกธรรม 100 เปอร์เซนต์ครับ

หรือว่าคุณโพธิ์ฯ มีประเด็นเด็ดๆ ลองแย้มมาร่วมสนุกดูที

กระทู้นี้อาจจะไปช้าหน่อย เพราะต้องค้นอะไรมากอยู่เหมือนกัน อะไรที่เป็นตัวบท ผมจะพยายามให้เคร่งครัดสักหน่อย ประมาณว่า ให้เหมาะกับเว็บวิชาการน่ะครับ
ส่วนที่ผมเพ้อเจ้อ อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็จะเพ้อมันอยู่ในกรอบนี้แหละครับ ไม่ไปปนกัยตัวบท
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 20:36


เห็นเจ้าของกระทู้บ่นกระปอดกระแปดอยู่
ว่าภาพเปิดกระทุ้เล็กเหลือเกิน

ผมเลยเอามาลงให้ใหม่นะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 21:43

 โถ... โตกว่าเมี่ยงนิดเดียว แล้วมันจะไปเห็นอะไรกันได้เล่าเพ่

แต่เอาเหอะ ก็ยังดีกว่าที่ผมแปะเอง
รูปนี้ เป็นจิตรกรรมบนกระดานชิ้นเล็ก ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่ศิลปินไทยสร้างขึ้น

ปกติ ศิลปินไทยทำรูปเล็กไม่เป็นนะครับ อย่างอุจจาระสุกรอุจจาระสุนัขนี่ก้อ แปดคูณยี่สิบสี่ ไม่ใช่นิ้วหรือฟิตนะครับ
เมตร ครับ เขียนมารผจญนี่ ตัวภาพบางทีใหญ่กว่าคน

ท่านที่มักจะเอ่ยถึงศิลปะไทยว่าอ่อนช้อย ประณีตบันจง....ก็อ เปลี่ยนใจยังไม่สายครับ  ไปดูฝีมือพระอาจารย์นาคที่หอไตรวัดระฆังจะแจ่มแจ้ง สุครีพถอนต้นรัง ท่านวาดเหมือนมีชีวิต ต้นรังดูเข้มแข็งเหมือนรากหยั่งลงสู่แกนโลกทีเดียวเจียว

ทีนี้ลองจินตนาการ หรือใช้เคล็ดวิชาเดาชั่นของครูไหวใจดีก็ได้
ว่า พอขรัวฯ ท่านได้รับรีไควเมนต์ หรือคอมมิสชั่น (ภาษาประกิตหน่อย เข้ายุค 2400) ให้ทำรูปกระจิ๋วหริว ท่านจะทำฉันใด เมืองนอกก็ไม่เคยไป โปสการ์ดสมัยนั้นก็ยังพิมพ์รูปสีบ่ได้ หนูเฟื่องก็ยังไม่เกิด  เอ...เกี่ยวไม้หว่า

สมเด็จฯ กรมดำรง ท่านวินิจฉัยว่า ขรัวได้ตัวอย่างกระดาษปิดฝาเรือนที่พวกฝรั่งนำเข้ามาใช้งาน เป็นแบบ
ผมยังไม่เชื่อสนิทใจ ในประเด็นนี้
(บางท่านอาจจะบ่นในใจว่า...ไม่เห็นเอ็งเคยเชื่ออะไรเลยซักกะอย่าง)
เพราะยังไม่เคยเห็นตัวอย่างวอลล์เปเปอร์แบบที่ว่า

นี่ยังไม่ใช่ตัวบทนะครับ แค่จะขอบคุณเฮียติ เท่านั้น
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 พ.ค. 06, 23:26

 คุณpipat ครับ

แล้วพวกจิตรกรรมบนแผ่นไม้แผ่นเล็กๆ ตามเหนือขอบหน้าต่างอย่างที่วัดพระเชตุพน, หรือวัดพระแก้วล่ะครับ
ผมไม่คิดว่ามันจะถูกเขียนขึ้นหลังขรัวอินโข่งนะครับ ?



เอ๊า ใหญ่ให้อีกนี๊ดนึง อิอิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 26 พ.ค. 06, 00:18

 ที่คุณยกตัวอย่าง คงหมายถึงจิตรกรรมชิ้นเล็กเหนือบานหน้าต่าง
ที่ประดับเป็นสามบานบ้าง หนึ่งบานบ้าง นั่นเป็นการสำแดงออกทางจิตรกรรมที่ต่างไปจากรูปของขรัวท่าน ราวกับเรื่องสั้นต่างจากสามก๊กนั่นเทียว
เปรียบอีกที ก็เหมือนละคอนพูดองค์เดียว ต่างจากละคอนหลังข่าวสามเดือนจบของเจ็ดสีนั่นแหละครับ

ที่ขรัวอินโข่งทำ เป็น single scene painting ไม่ใช่อเนกมิติพรรณนาแบบจิตรกรรมฝาผนัง
เราจะถกกันเรื่องนี้ในตอนที่แปดสิบกว่า

ปล. แมวของคุณ มาถึงผมด้วยดี แต่ทว่า "หน้าต่าง" ของพ่อประตูใหญ กำลังเกเรผมอย่างหนัก เข้าใจว่าคงถึงเวลากินยาฆ่าหญ้าของคุณแล้วกระมัง เปิดแต่ละที สามสี่นาที และชอบบอกเออเร่องี่เง่าประจำ

เอาไว้ผมขโมยแอปเปิ้ลของลูกมาได้ จะหาแมวคุณอีกทีนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 26 พ.ค. 06, 08:08

 อ่า ขอบพระคุณครับคุณpipat อุตส่าห์เข้ามาตอบตอนดึกๆด้วย
ผมก็เข้าใจสับสนกันอยู่ซะนาน แหะๆ

ส่วนเรื่องอีแมว เอาไว้คุณpipat สะดวกแล้วค่อยคุยกันนะครับ
มีเรื่องที่อยากคุยกับคุณpiapt อีกหลายเรื่องเลยล่ะครับ หิหิ



ปล. เอาภาพมาฝากอีกภาพนึงครับ






.
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 26 พ.ค. 06, 11:20


ตอบ คุณ Pipat

ศิลปะ "ตะวันตก" กับ "ตะวันออก" นั้นแตกต่างกัน
เพราะมีอุดมคติ ปรัชญาในการทำงานศิลปะ และ
ประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกัน

พื้นฐานของศิลปะตะวันตกนั้น ว่าด้วยเรื่องของวัตถุ หรือ Realistic
คือเน้นความเหมือนจริง เน้นเรื่องของปริมาตร จับต้องได้
เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง ผม ขน และ แสงเงา
พื้นฐานของศิลปะตะวันออกนั้น ว่าด้วยเรื่องของจิต หรือ Idealistic
เรียกว่า อุดมคติ คือ มีลักษณะเป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ
จิตรกรรมไทย จึงมีพื้นฐานอยู่บนอุดมคติ มีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
แบบเสมือนจริง - แบบกึ่งอุดมคติ - แบบอุดมคติ

เราจึงไม่สามารถนำภาพของ ขรัวอินโข่ง มาเทียบกับภาพของ Klimt ได้
และผมก็ไม่ได้นำมาเปรียบเทียบกัน เพียงแต่ท่านทั้งสองมีความคิดก้าวหน้าเหมือนกัน
อาจจะมองผลงานศิลปะของ Klimt ว่าเป็นโลกียธรรมได้ เพราะ
แสดงถึงสิ่งที่เป็นอยู่ในโลกนี้ ยังเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพในภูมิทั้ง 31
ส่วน โลกุตระธรรม นั้นยากเกินกว่าที่คนธรรมดาสามัญจะไปถึง อย่าว่าแต่ Klimt
หรือ ท่านขรัวอินโข่งเลย แม้กระทั่งตัวเราเอง ก็เป็นเรื่องยากจะหลุดพ้นไปได้
อีกอย่างอาจจะเป็นเพราะ Klimt ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา และ ขรัวอินโข่ง
ก็ไม้ได้นับถือคริสต์ศาสนากระมัง จึงนำมาเปียบเทียบกันไม่ได้
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 พ.ค. 06, 13:12

 ขอบคุณที่ชี้แจงครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง เป็นอันว่าผมค้านผิดไปหน่อย ไม่ว่ากันนะครับ

อยากจะบ่นเรื่องชื่อของท่าน ก่อนจะเข้าตัวบท

พักหลังผมเห็นมีการแสดงความเห็นว่าให้เรียกชื่อท่านว่า ขรัวอินโค่ง
เพราะรังเกียจว่า "โข่ง" แปลแล้วความหมายไม่ดี แต่ "โค่ง" แปลแล้วดูดีกว่า
อันนี้เขาคงอ้างอิงตุ๊ดตู่ออนไลนืของผมแน่เลย เพราะที่นั่น เขาแปล โข่ง = เปิ่น, ไม่เข้าท่า.
โค่ง = คำเรียกผู้บรรพชาเป็นสามเณรมาจนอายุครบอุปสมบทเป็นภิกษุแต่ไม่ยอมอุปสมบทว่า สามเณรโค่ง

ความเห็นนี้ลามเข้าไปถึงในสมุดภาพสมัยรัชกาลที่ 4 ที่กรมศิลปากรพิมพ์ คราวฉลอง 200 ปีพระจอมเกล้าฯ ซึ่งผมรับประทานไม่ลงจริงๆ ใครให้อำนาจกรมฯ นี้แก้ของเก่าก็ไม่ทราบ แบบที่แซวกันว่า
โบราณทำผิด กรมศิลป์เลยต้องมาทำให้ถูก

อันดับแรกต้องชมราชบัณฑิตก่อน ว่าสามารถทำของ "เป็น" ให้ "ตาย" ได้อย่างเลือดเย็น พอท่านปักหมุดเสียแล้วว่า โข่ง กะ โค่ง มีความหมายต่างกันเช่นนี้ แล้วจะทำยังไงกับวรรณกรรมไทยที่เกิดก่อนท่าน แต่ดันใช้ไม่เหมือนท่านเล่า
จะทำยังไงกับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์สองสมเด็จ และงานเขียนอีกร่วมร้อย ที่เอ่ยนาม ขรัวอินโข่ง

ที่สำคัญ ถ้าท่านมั่นใจเรื่องโค่ง คือเณรโค่ง
อันจะทำให้ใครก็ตามที่ศึกษาชีวิตและงานของขรัวฯ แอบย้อนไปหมายความได้ว่าพระอาจารย์อิน ท่านบวชเณรจนแก่ (แบบที่สมเด็จนริศฯ ทรงเล่าไว้) ซึ่งมีนัยยะที่เหยียดอยู่ในที แต่มันจะไม่ตรงกับที่รัชกาลที่ 5 ท่านทรงเรียกอย่างยกย่องน่ะซี

ในเมื่อเรามีพระเถระชื่อ "โต" และ ร. 4 ทรงเรียกว่า "ขรัวโต"
ผมก็ต้องขอแหกกรอบท่านราชบัณฑิต ไปอิงหลักที่ผมมั่นใจมากกว่าว่า "ขรัว" เป็นคำยกย่องในเรือนพ.ศ. 2400 ขรัวตาอิน / ขรัวอินโข่ง / พระอาจารย์อิน...เหล่านี้ เป็นคำยกย่อง และโข่ง ก็อาจจะหมายถึงบุคคลที่ร่างเล็กลงกว่า โต

ส่วนท่านราชบัณฑิต จะพอใจเหยียบย่ำต้นตระกูลครูช่างของผม โดยอาศัยอุปกรณ์ยี่ห้อบ้องตื้นและบ้องตัน
ก็ตามแต่พระเดชพระคุณจะเห็นควร

ผมไม่เอาด้วย
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 พ.ค. 06, 23:10

 ความรู้มาตรฐานชิ้นแรก เกี่ยวกับขรัวอินโข่ง ปรากฏอยู่ในสารานุกรมไทยเล่มอักษร ข เขียนโดยนายยิ้ม ปัณฑยางกูร
อันที่จริง หากจะวิจารณ์กันอย่างเคร่งครัดแล้ว งานที่ท่านอื่นๆ ผลิตออกมาหลังจากสารานุกรม ก็ไม่มีอะไรแปลกใหม่ เพราะนายยิ้มได้สรุปสาระสำคัญจากพระมติของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้จนครบถ้วน เสริมด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากอาจารย์เลิศ พ่วงพระเดช ลูกศิษย์ของพระอาจารย์ฤทธิ์ และยังได้พิมพ์รูปประกอบผลงานของท่านขรัว ที่มีความสำคัญไว้อย่างครบถ้วน

สิ่งที่ น.ณ ปากน้ำ เพิ่มเติมออกไป ก็มีเพียงข้อมูลที่ท่านไปสอบมาได้ว่า ท่านขรัว เป็นชาวบางจาน เท่านั้น นักเขียนอีกท่าน ที่เพิ่มเติมเนื้อหาได้อย่างน่าพิศวง ก็คือ แสน ธรรมยศ ในงานฟูมฟายสวิงสวายเรื่อง พระเจ้ากรุงสยาม ท่านระบุอย่างคลุกวงในว่า ขรัวอินโข่งเคยเขียนรูปเหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และสุนทรภู่ แต่รูปกวีเอกถูกสั่งทำลาย เพราะท่านอ้างว่า ในแผ่นดินนี้ จะมีรูปเหมือนคนอื่นมาทำทัดเทียมพระบรมรูป มิได้
ผมไม่เชื่อ ส. ธรรมยศ แม้ว่าอยากจะเชื่อสักเพียงใด

ความรู้ใหม่ล่าสุด มาจากงานเขียนของ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ เรื่อง จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก (๒ เล่ม สำนักพระราชวัง ๒๕๓๖)...ซึ่งระบุว่า พระบรมรูปสีน้ำมันในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ซึ่งเคยจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมื่อก่อตั้งหอศิลป์แห่งชาติ มีการเชิญจัดแสดงณ อาคารโรงกษาปณ์(เดิม) น้น ไม่ใช่ฝีมือขรัวอินโข่ง อย่างที่เคยเชื่อกัน
ประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา เพราะข้อความไปปรากฏในสิ่งพิมพ์ระดับชาติ จากนักวิชาการชั้นนำ

เมื่อพ.ศ. 2526-27 สนิท คิ้วฮก เจ้าหน้าที่หอศิลป์แห่งชาติ ได้พยายามผลักดันให้หน่วยงานจัดการแสดงในลักษณะที่เป็นหมวดหมู่มีทิศทางตามหลักวิชา อย่างที่เรียกกันว่า genre exhibition เพื่อให้สามารถเสนอเนื้อหาที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงศิลปะสมัยใหม่ได้ชัดเจนขึ้น เป็นต้นว่า นิทรรศการภาพนิ่ง(still life) ทิวทัศน์(land scape) คน(figurative) ฯลฯ

หัวข้อแรกที่กำหนดก็คือ ศีลปะภาพเหมือน (portraiture) ในระหว่างรวบรวมผลงาน คณะกรรมการที่มีอาจารย์สวัสดิ์ ตันติสุข ศิลปินแห่งชาติเป็นประธาน มีมติให้ตัดพระบรมรูปพระองค์ดังกล่าวออก ทั้งๆ ที่จะต้องเชิญจัดแสดงอย่างยิ่งยวด เนื่องจากเป็นรูปเหมือนพระมหากษัตริย์ไทยชิ้นแรกที่เรารู้จัก
เนื่องจากความเห็นผู้เกี่ยวข้องยืนยันว่า มีตัวอักษรภาษาต่างประเทศอยู่ในรูป จึงน่าจะมิใช่ผลงานของคนไทย
อภินันท์ คงได้ข้อมูลนี้มา ระหว่างเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ซึ่งถูกปรับปรุงเป็นหนังสือชุดสองเล่มดังกล่าว เขาลงชื่อศิลปินไว้ด้วย แต่ไม่ระบุเป็นชาติใด

ผมก็ยังไม่เชื่อตามอภินันท์อยู่ดี
เป็นไปได้ละหรือ พระรูปที่สมเด็จฯกรมดำรงทรงระบุไว้ นายยิ้ม ที่เคยถวายงานรับทราบ คนอื่นๆร่วมสมัยกับสมเด็จ เช่น พระยาอนุมานราชธน และอธิบดีท่านอื่นๆ รวมถึง ส. ธรรมยศ จะไม่รู้ว่า เป็นผลงานของใคร

ที่สำคัญ ราชสำนักไทยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 4 ลงมา  มีวิจารณญานพอจะปฏิเสธงานที่มีจุดอ่อนมากมาย ไม่เก็บไว้อย่างมีเกียรติอย่างนี้ จนถึงวันที่มีคนมาร้องว่าเป็นของต้อยต่ำ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 00:17

 ความรู้ใหม่อย่างแท้จริงเกี่ยวกับขรัวอินโข่ง เกิดขึ้นเพราะการศึกษาของนักวิชาการท้องถิ่น
ผมขอโทษที่จำรายละเอียดไม่ได้ชัดเจน แพอสรุปได้ว่า อธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งเพชรบุรี(ถ้าผิด อย่าถือโทษ...) ได้ค้นพบหมายรับสั่งในรัชกาลที่ 4 พระราชทานนิตยภัทให้ช่างเขียนวัดมหาสมณาราม ระบุนาม พระอินทร กับช่างเอีกหลายท่าน เป็นเงินปีละ ๑ ชั่ง เป็นครั้งแรกที่เราได้ข้อมูลใกล้ชิดกับเหตุการณ์ถึงเพียงนี้ ข้อเขียนนี้พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกซึ่งผมจะพยายามค้นให้พบเพื่อนำมาเล่าในภายภาคหน้า

งานเขียน (สมัยนั้น เมื่อใดที่ท่านจะเรียกจิตรกรรมฝาผนัง ท่านจะใช้คำว่า "เขียน" เช่นเขียนวัดรวก เขียนวัดระฆัง เลยกลายมาเป็นชื่อ เรียกวัดบางแห่งว่า"วัดเขียน" และเป็นชื่อวิชาว่า "วาดเขียน") ที่วัดสะหมน(ชื่อเดิมก่อนพระราชทานใหม่) นี้เอง ที่เราได้เห็นฝีมือช่างชั้นเยี่ยใของขรัวอินโข่งอย่างเต็มตา ท่านวางโครงรูปใหญ่เต็มผนัง เป็นเรื่องนมัสการพระบาท ซึ่งเป็นฉากเหตุการณ์แบบองค์เดียว วางเรื่องย่อยให้ต่อเนื่องตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ด้านล่างไปสุดที่มณฑปพระพุทธบาทที่ด้านบนของผนัง
เป็นเทคนิคเล่าเรื่องแบบต่อเนื่องอย่างเคารพเวลาตามเหตุการณ์จริง อันเป็นสาระใหม่ของจิตรกรรมฝาผนัง ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผมจะลงรายละเอียดอีกครั้งเมื่อได้รูปที่เหมาะสมมาใช้งาน

หมายรับสั่งนี้ ลงปีไว้ตรงกับพ.ศ. 2406 เป็นช่วงที่มีการซ่อมสร้างครั้งใหญ่บนพระนครคีรี เมื่อเสร็จงานนี้แล้ว ท่านคงจะมารับงานต่อที่วัดบวรนิเวศน์

นี่เป็นข้อเสนอใหม่ที่หักล้างกับความเห็นเดิมที่กล่าวว่า เขียนที่วัดบวรฯ สร้างตั้งแต่เมื่อทรงครองวัด ครั้งรัชกาลที่ 3
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง