เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 65091 มารู้จักเรือพระราชพิธีกันเถอะ
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:35


ภายในตำหนักทอง รูปสุดท้ายครับ
ผมว่าทางราชการน่าจะย้ายมาเก็บรักษาไว้
ดีกว่าปล่อยให้หมาขึ้นไปนอนหรือถ่ายสิ่งปฎิกูล
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:41


ขณะเดินออกมาจากวัดอรุณฯ เป็นภาพการรอคอยดูเรือสำหรับผู้ที่มาทีหลัง (รอคอยต่อไปเหอะไม่เห็นแน่ๆ อภิสิทธิ์ชนเขานั่งชูคอกันอยู่เต็มไปหมด)ขนาดเราก็มาไม่ช้านะยังไม่มีที่ให้ดูเลย  
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:53

 ลืมบอกค่ะคำว่า"พยุหยาตราชลมารค"จะใช้คำนี้ในกรณีที่พระมหากษัตริย์เสด็จประทับร่วมอยู่ในกระบวนเรือด้วยค่ะ แต่ในกรณีของเอเปคและงานเฉลิมฉลองในครั้งนี้พระมหากษัตริย์ไม่ได้เข้าร่วมประทับในกระบวนด้วย จึงเรียกแค่ว่า กระบวนเรือพระราชพิธีค่ะ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 22:08

 ผมจะขออนุญาตทราบได้ไหมครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง ว่าประทุน (เรียกว่ากัญญาได้ไหม?)เรือนั้นท่านได้แต่ใดมา?

ผมนึกว่าราวบันไดที่พระพุทธบาทจะโดนพวกจีนปล้นไปหมดแล้วเสียอีก ส่วนตัวก็ยังไม่เคยขึ้นพระบาทสักครั้งเลยครับ

สุบรรณโขนเรือเคยได้ไปชม ช่างเหมือนพระทรงเครื่องของสกุลช่างปราสาททองจริงๆครับ ผอมเรียวกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ท่าทาง คิดว่าคงประดิษฐ์เองในอยุธยา เพราะสุบรรณเขมรตอนปลายนิยมยกแขนขึ้นสองข้าง มือสองข้างที่ทำกฎกมุทรานั้นคงไว้เพื่อสอดธง แบบเรือรูปสัตว์ในปัจจุบันหรือเปล่าครับ?

ถามคุณโพธิ์อีกอย่างหนึ่ง ตำหนักทองนี้มีช่อฟ้าเป็นนกเจ่าและป้านลมก็มิได้ทำเป็นเครื่องลำยองนาคสะดุ้ง เครื่องบนนั้นเป็นของเดิมหรือเปล่าครับ หรือว่าเปลี่ยนใหม่ สังเกตดูยังมีกระจังฐานพระอยู่ แล้วพระตำหนักนี้ขนาดสามห้องแล้วมีพาไลหนึ่งหรือเปล่าครับ ผมเคยคิดว่าเรือนหลวงควรจะมีห้าห้องขึ้นไปเสียอีก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 03:01

 สวัสดีครับคุณ ornyupa  และ คุณกุรุกุลา

ขอตอบเป็นข้อๆ เลยเน้อ

1. ผมจะขออนุญาตทราบได้ไหมครับ คุณโพธิ์ประทับช้าง ว่าประทุน
(เรียกว่ากัญญาได้ไหม?)
ตอบ ผมขออนุญาตอธิบายคุณกุรุกุลาว่า คำว่ากัญญานั้น ใช้สำหรับ
เรือของหลวง คนธรรมดาสามัญทั่วไปไม่มีสิทธิ์ใช้ สำหรับกัญญาเรือนั้น
ก็มีหลายระดับ สังเกตุได้จากการดาดหลังคาของเรือลำนั้นๆ ชั้นสูงต่ำ
เพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับบรรดาศักดิ์ของผู้นั่งในเรือลำนั้น เราสามารถสังเกตุ
ได้จาก การตกแต่งประดับประดา, ลวดลาย, วัสดุ รวมถึงสีที่ใช้ดาดหลังคา
ของเรือลำนั้นๆ ไม่พบว่าประชาชนทั่วไปจะใช้กัญญาประดับเรือ ถ้าใช้
จะเรียกว่าเก๋ง หรือ ประทุนแทน แต่ในสมัยอยุธยาผู้ที่ได้รับพระราชทาน
จากพระมหากษัตริย์และเจ้านายเป็นกรณีพิเศษอาจใช้กัญญาเรือได้
เฉกเช่นเดียวกับยานมาศ, วอ, เสลี่ยง, กูบ และ อังลึงค์หรือเปลคานหาม
ที่คนทั่วไปก็มีสิทธิ์ใช้ได้ โดยนั่งหรือนอนเอกเขนกสัญจรไปมาอย่างขวักไขว่
ตามแต่บารมีและยศฐาบรรดาศักดิ์ของแต่ละคน สำหรับประทุนเรือหลังนี้
ฐาน เสา และ โครง ทำจากไม้ แกะสลักประกอบฐานสิงห์ ชั้นร่องถุนทึบแกะ
เป็นรูปตาบ ฐานหน้ากระดานแกะเป็นลายลูกฟักก้ามปู หลังคาจักสาน
ดัดจับเข้ากับโครงหลังคาให้แอ่นโค้งตามแบบนิยมอยุธยา ทาสีแดงทั้งหลัง
พนักด้านนอกปิดทองลายฉลุรูปตาบ ราวผนักปิดทอง ปลวกกิน
ไปเยอะเลย

2. เรือนั้นท่านได้แต่ใดมา?
ตอบ สำหรับที่มาของโขนเรือรูปกระบี่นั้น ถ่ายมาจากร้านขายของเก่า
ร้านหนึ่ง ถ้าท่านเจ้าของร้านมาพบเข้าต้องขออภัยด้วยที่แอบถ่าย
ผมไม่มีเจตนาร้าย คงจะกลัวกรมศิลปากรไปยึด

3. ผมนึกว่าราวบันไดที่พระพุทธบาทจะโดนพวกจีนปล้นไปหมดแล้วเสียอีก
ส่วนตัวก็ยังไม่เคยขึ้นพระบาทสักครั้งเลยครับ
ตอบ ผมก็ไม่รู้ว่ารอดมาได้ยังไง อีกด้านก็มีราวบันไดพญานาคเหมือนกัน
แต่เป็นอีกแบบ สันนิษฐานว่าสร้างในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวทรงธรรม
คนสมัยอยุธยาเชื่อกันว่าต้องไปกราบนมัสการพระพุทธบาทให้ได้
สักครั้งในชีวิต โอกาสเหมาะสม ผมจะมาเล่าเรื่องพุทธบาทให้ฟังกันใหม่

4. สุบรรณโขนเรือเคยได้ไปชม ช่างเหมือนพระทรงเครื่องของสกุลช่าง
ปราสาททองจริงๆครับ ผอมเรียวกว่าสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ท่าทาง
คิดว่าคงประดิษฐ์เองในอยุธยา เพราะสุบรรณเขมรตอนปลายนิยมยกแขน
ขึ้นสองข้าง มือสองข้างที่ทำกฎกมุทรานั้นคงไว้เพื่อสอดธง แบบเรือรูปสัตว์
ในปัจจุบันหรือเปล่าครับ?
ตอบ สำหรับโขนเรือรูปครุฑที่เจ้าสามพระยานั้น มือทำท่าเหมือนเทวรูป
สุโขทัย ที่ย้ายมาจากหอเทวาลัยเกษตรพิมาน ไม่แน่ใจว่ายุดนาคหรือเปล่า
อาจจะหลุดหายไปแล้ว แต่คงไม่ได้ถืออะไรเหมือนในปัจจุบัน ไปเจ้าสามพระยา
อีกครั้งคงได้คำตอบครับ

5. ถามคุณโพธิ์อีกอย่างหนึ่ง ตำหนักทองนี้มีช่อฟ้าเป็นนกเจ่าและป้านลม
ก็มิได้ทำเป็นเครื่องลำยองนาคสะดุ้ง เครื่องบนนั้นเป็นของเดิมหรือเปล่าครับ
หรือว่าเปลี่ยนใหม่ สังเกตดูยังมีกระจังฐานพระอยู่
ตอบ ผมเข้าใจว่า คงจะมีเค้าของเดิม ช่อฟ้าคาดว่าจะไม่ใช่นกเจ่าแต่เป็นครุฑยืน
ส่วนเป็นนาคน่าจะเป็นนาคลำยอง คือสะดุ้งไม่เรียบอย่างนาคสำรวย
จะสอดคล้องกับครุฑมากกว่า รูปปั้นครุฑยืนแยกขาแบบนี้ ผมเคยเห็นที่
หอระฆังวัดพญาทำ ธนบุรี แต่จากรูปถ่ายเครื่องบนหลังคาถูกบูรณะ ขาของครุฑ
หายไป สภาพปัจจุบันปรากฏเป็นนาคสำรวย เป็นนาคแบบสกุลวังหน้า ถ้าเป็นสกุล
วังหน้า ช่อฟ้าก็น่าจะเป็นนกทัณฑิมามากกว่านกเจ่าครับ เครื่องบนหลังคา
ซ่อม ไม่มีใบระกา หางหงส์เป็นเศียรนาค กระเบื้องเกร็ดเต่ามุงใหม่แต่นานแล้ว
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 03:03


รูปครุฑพนม มือหายไปแล้ว
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 03:10

 7. แล้วพระตำหนักนี้ขนาดสามห้องแล้วมีพาไลหนึ่งหรือเปล่าครับ

ตอบ มีความยาว ๓ ห้อง หรือช่วง ๓ เสา ด้านในโชว์โครงสร้าง
ของหลังคา ไม่บุเพดานปิดทึบ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรือน
สมัยอยุธยา ตำหนักนี้ไม่มีพาไล ชายคาสั้นมาก ไม่ปรากฏร่อง
รอยของค้ำยัน ด้านนอกปรากฏลายทองรดน้ำทั้งหลัง เลือนไป
เกือบหมดแล้ว ส่วนสีก็สามารถแบ่งฐานะของเรือนและเจ้าของ
เรือนได้ เช่น ทองก็ของกษัตริย์ เขียว-แดง ก็ของเจ้านาย ลด
หลั่นกันลงมาตามฐานะ ด้วยเหตุที่ยกมา เรือนหลังนี้จึงเป็นเรือน
ของพระมหากษัตริย์ครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 03:19

 8. ผมเคยคิดว่าเรือนหลวงควรจะมีห้าห้องขึ้นไปเสียอีก
ตอบ อยู่ที่ความเหมาะสม แล้วแต่ประโยชน์ใช้สอย
คงต้องช่วยกันค้นต่อไปครับ

สุนทรภู่ลอยเรือผ่านวัดไทร
ได้บันทึกไว้ในนิราศเมืองเพชรว่า

" ถึงคลองขวางบางระแนะแวะข้างขวา
ใครหนอมาแนะแหนกันแต่หลัง
ทุกวันนี้วิตกเพียงอกพัง
แนะให้มั่งแล้วก็เห็นจะเป็นการ
ถึงวัดไทรไทรใหญ่ใบชอุ่ม
เป็นเชิงซุ้มสาขาพฤกษาศาล
ขอเดชะพระไทรซึ่งชัยชาญ
ช่วยอุ้มฉานไปเช้นพระอนิรุท "

แล้วพบกันใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:05

 ขอแก้คำผิดในความเห็นที่92ค่ะจากคำว่า "กระบวนเรือพระราชพิธี" เป็นคำว่า "ขบวนเรือพระราชพิธี"ค่ะ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 10 มิ.ย. 06, 19:09

 ขอบคุณ คุณโพธิ์ประทับช้างมากเลยค่ะที่หาข้อมูลที่น่าสนใจและรูปหายากมาฝากค่ะ โดยเฉพาะรูปที่คุณแอบถ่ายมา ดูมีคุณค่ามาก
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 23:39

มาแล้วค่ะรูปขบวนเรือพระราชพิธีในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ ในรูปคือเรือทองขวานฟ้า ซึ่งจะคู่กับเรือทองบ้าบิ่น ทั้งสองลำเป็นเรือประตูหน้า ทำหน้าที่เป็นเรือนำริ้วกระบวน
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 23:40

นี่คือรูปเรือทองบ้าบิ่นค่ะ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 23:43

เรือเสือคำรนสินธุ์ คู่กับ เรือเสือทยานชล เป็นเรือพิฆาต หัวเรือเขียนเป็นรูปหัวเสือ มีปืนจ่ารงที่หัวเรือ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 12 มิ.ย. 06, 23:58

เรือดั้งมี ๑๑ คู่ หรือ ๒๒ ลำ ได้แก่เรือดั้ง ๑-๒๒ ใช้เป็นเรือสายนอก เรือดั้ง ๑-๒๐ เป็นเรือไม้ทาสีดำ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 13 มิ.ย. 06, 00:00

เรือดั้ง ๒๑ และเรือดั้ง ๒๒ เป็นเรือดั้งทอง(ทาสีทอง)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง