เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
อ่าน: 65128 มารู้จักเรือพระราชพิธีกันเถอะ
ลำดวนเอ๋ยพี่จะด่วนไปก่อนแล้ว
ชมพูพาน
***
ตอบ: 175

ความสุขที่แท้อยู่ที่ใจ


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 10:12

 เคยได้ยินว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา มีกระบวนเรือที่เรียกว่า "กระบวนเรือเพชรพวง" ไม่ทราบว่ามีจริงประการใด หรือเป็นเพียงคำเล่าลือ
ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 14:06

 นักสราชคืออะไรครับ ต่างกับพันท้ายอย่างไร
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:18


ภาพพิมพ์ รูปกระบวนเรือพระราชพิธีในสมัยอยุธยา โดยชาวฝรังเศส
ภาพนี้ ประมูลขายอยู่ในเว็บไซท์ของ Ebay.com
ราคาปิดประมูลตกอยู่ที่ราว ๒,๐๐๐ บาท
ซึ่งถือว่าถูกมาก คาดว่าน่าจะเป็นของแท้
เอามาฝากสำหรับคนชอบรูปแผนที่ครับ

คัดย่อมาจากหนังสือ "The Royal Barge Procession"
กล่าวถึงบทความในหนังสือของ นิโคลาส แชว์แวส์ และ บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด
ชาวฝรั่งเศสที่มาพร้อมกับคณะราชฑูตฝรั่งเศสมายังกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผมขออนุญาติเอามารับใช้ท่านที่สนใจครับ

นิโคลาส แชว์แวส์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา
ได้บรรยายไว้ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรสยาม"
ถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ซึ่งอาจจะเหตุแห่ง "กระบวนเรือเพชรพวง" ไว้ว่า

"ไม่สามารถเทียบความงามกับขบวนเรืออื่นใดได้ เป็นขบวนเรือที่มโหฬาร
มีเรือกว่าสองร้อยลำโดยมีเรือพระที่นั่งพายเป็นคู่ๆ ไปข้างหน้า
เรือพระที่นั่งนั้น ใช้ฝีพายของพวกแขนแดงที่ได้รับการฝึกพายมาจนชำนาญ
ทุกคนสวมหมวก เสื้อ ปลอกเข่า ปลอกแขน มีทองคำประกอบ เวลาพาย
จะพายพร้อมกันเป็นจังหวะจะโคน พายนั้นก็เป็นทองเหมือนกัน เสียงพาย
กระทบกันเป็นเสียงประสานไปกับทำนองเพลงยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน"

กีย์ ตาชาร์ด บาทหลวงเยซูอิด ซึ่งเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับ
คณะราชทูตที่นำโดยลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ "จดหมายเหตุการ
เดินทางสู่สยามประเทศ" ในตอนหนึ่งเล่าถึงขบวนเรือที่ใช้ออกรับ
เครื่องราชบรรณาการว่า

"มีเรือบัลลังก์ขนาดใหญ่สี่ลำมา แต่ละลำมีฝีพายถึงแปดสิบคน ซึ่งเราไม่เคย
เห็นมาก่อน สองลำแรกนั้นหัวเรือทำเป็นรูปเหมือนม้าน้ำปิดทองทั้งลำ
เมื่อเห็นมาแต่ไกลในลำน้ำดูคล้ายว่ามันมีชีวิตชีวา มีเจ้าหน้าที่กองทหารรักษา
พระองค์สองนายมรในเรือทั้งสองลำเพื่อรับเครื่องราชบรรณาการของ
พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ครั้นบรรทุกเสร็จแล้วก็ถอยออกไปลอยลำอยู่กลาง
แม่น้ำอย่างเงียบสงบ และตลอดเวลาที่ลอยลำอยู่นี้ ไม่มีสุ้มเสียงใดเลยบนฝั่ง
และไม่มีเรือลำใดเลยแล่นขึ้นล่องในแม่น้ำ เป็นการแสดงความเคารพต่อ
เรือบัลลังก์หลวงและเครื่องราชบรรณาการที่บรรทุกอยู่บนนั้น"

บาทหลวงตาชาร์ด บังได้เขียนถึงขบวนเรือที่แห่พระราชสาสน์และ
เครื่องบรรณาการในวันที่ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อไปเข้าเฝ้า
สมเด็จพระนารายณ์ที่พระราชวังที่ลพบุรีอีกว่า

"ขบวนอันยืดยาวของเรือบัลลังก์หลวง ซึ่งเคลื่อนที่อย่างมีระเบียบเรียบร้อยนี้
มีจำนวนถึงร้อยห้าสิบลำผนวกกับเรื่อลำอื่นๆ เข้าอีกก็แน่นแม่น้ำแลไปได้สุดสายตา
อันเป็นทัศนียภาพที่งดงามหนักหนา เสียงเห่แสดงความยินดีตามธรรมเนียมของ
ชาวสยามอันคล้ายกับจะรุกไล่เข้าประกับข้าศึกนั้น ก้องไปทั้งสองฝั่งฟากแม่น้ำ
ซึ่งมีประชาชนพลเมืองล้นหลาฟ้ามืดมาคอยชมขบวนยาตราอันมโฬารนี้อยู่"
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:18

 นักสราชคือคนเทิดธงค่ะ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:22


ภาพเรือของชาวอยุธยา จากจิตรกรรมฝาผนัง วัดเกาะ เพชรบุรี
ภาพนี้ มีโขนเรือรูปสัตว์เหมือนกับภาพพิมพ์ของชาวฝรั่งเศสใน
อีกหลายๆ ภาพ คาดว่าผู้วาดภาพก่อนการแกะพิมพ์ น่าจะได้
เข้ามาที่กรุงศรีอยุธยาและเห็นภาพเรือพระราชพิธีจริงๆ
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:35

 "นักสราช "หรือ คนเทิดธง หรือ ธงท้าย เป็นเจ้าหน้าที่เครื่องสูงจะนั่งอยู่ท้ายเรือสุดหลังนายท้าย"พันท้าย"แต่ถ้าเป็นนายท้าย "นายท้าย"ทำหน้าที่ คัดหางเสือเรือให้ไปทางซ้ายหรือขวา ตามที่นายเรือสั่งหรือตามที่ได้ตกลงกัน
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:40


เศียรพญานาคแผ่ผังพานสำริด ศิลปกรรมสมัยอยุธยา
มีลักษณะทางศิลปกรรมแบบสกุลช่างปราสาททอง
ถ้าท่านมีโอกาสไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี
ลองเดินชมที่ราวบันไดของมณฑปพระพุทธบาท
และลองเดินหาราวเทียนรูปเรือนาคราช สมัยอยุธยา
ซึ่งมีรูปแบบทรวงทรงเหมือนกับเศียรราวบันไดที่ว่านี้
เรียกว่าทอดแบบกันมาเลยทีเดียว และอาจจะเป็น
หลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกถึงถึงลักษณะและรูปแบบ
เรือนาคราชในสมัยอยุธยา ซึ่งมีลักษณะเหมือน
กับรูปเรือนาคราชที่ปรากฏอยู่ในภาพพิมพ์ของ
ชาวฝรั่งเศสพอดีไม่มีแตกต่าง

ถ้าจะได้อรรถรสในการชมให้มากขึ้น ขอให้ท่าน
ลองนำลวดลายที่ปรากฏบนเศียรบันไดนาคนี้
ไปเทียบเคียงกับลวดลายในศิลปกรรมเขมรดู
จะพบว่าได้รับอิทธิพลมาเต็มๆ ในปัจจุบันจะยังพบ
ร่องรอยของการปิดทองร่องชาดเดิมบนเศียรนี้อยู่
ซึ่งแต่เดิมคงจะปิดทองทั้งองค์

เศียรพญานาคนี้ก็มี 7 เศียรเหมือนกับเรือพระที่นั่ง
อนันตนาคราชลำปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:43


ยังปรากฏหลักฐานที่คิดว่าเป็นประโยชน์สำหรับผู่ที่สนใจ
เรื่องเรือหลวงสมัยอยุธยาอิกหลายชิ้น ซึ่งได้นำมาฝากไว้

ภาพนี้เป็นจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย จากวัดเกาะเพชรบุรี
จะเห็นภาพเอกดขนกของชนชั้นสูงในประทุนเรือ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:45


ภาพนี้เป็นภาพประทุนเรือของชนชั้นสูงสมัยอยุธยา
ซึ่งคาดว่าจะเป็นหลังสุดท้ายในปัจจุบัน ถ้าสังเกตุ
จะเห็นว่าเหมือนกับภาพในจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะมาก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:48


ภาพเรือ ประติมากรรมปูนปั่นนูนต่ำ ที่ห้องด้านหลัง
พระอุโบสถวัดไผ่ล้อม เพชรบุรี อาจจะมีโขนเรือรูปสัตว์
แต่ชำรุดไปหมดแล้ว
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 19:57


โขนเรือรูปครุฑหรือสุบรรณ สมัยอยุธยา
สกุลช่างปราสาททอง พบที่ริมตลิ่งวัดเชิงท่า
วัดนี้อยู่ติดกับอู่เรือหลวงเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยา
จึงได้ชื่อว่าวัดเชิงท่า ปัจจุบันจัดแสดงอยูที่
พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา อยุธยา

อีกเช่นเคย ลองเทียบเคียงรูปแบบทางศิลปกรรม
กับพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบปราสาททองดู
ที่ด้านหลังของมงกุฎ  บริเวณที่เรียกว่าผ้าโพก
จะมีลักษณะเป็นเกร็ดเรียงซ้อนกันเหมือนกับ
พระพุทธแบบปราสาททองไม่มีผิดเพี้ยน
รูปแบบโดยรวม จะสังเกตุว่าได้รับอิทธิพล
ทางศิลปกรรมจากรูปครุฑของเขมรสูงมาก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:04


ภาพนี้เป็นภาพที่มีคุณค่า และอาจจะไม่ได้พบเห็นกันได้ทั่วไป
เพราะเป็นภาพแอบถ่าย ถ้าท่านเว็บมาสเตอร์เห็นว่าไม่สมควร
ขอให้ลบออก เพราะเป็นสมบัติส่วนบุคคล อยู่ในร้านขายของเก่า
เจ้าของร้านหวงมาก ไม่รู้จะติดคุกหรือเปล่าที่แอบถ่ายมา
เป็นภาพโขนเรือรูปกระบี่ หรือ ลิง สมัยอยุธยา
คงเป็นโขนเรือของเรือที่สำคัญลำนึงในกระบวนเรือพระราชพิธี
สมัยอยุธยา ซึ่งเราไม่เคยพบว่าปรากฏที่พิพิธภัณฑ์ไหน
ในประเทศไทย คิดว่ามีประโยชน์มาก จึงนำมาฝาก
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:07


รูปธรรมมาสน์ทรงปราสาท หรือ ทรงบุษบก
อยู่ในศาลาการเปรียญสมัยอยุธยา
ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เพชรบุรี
เป็นศิลปกรรมแบบปราสาททองอีกเช่นเคย
คาดว่าเดิมน่าจะเป็นบุษบกทอดในเรือพระราชพิธี
บันทึกการเข้า
ornyupa
พาลี
****
ตอบ: 240


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:31

 วันนี้กะว่าจะไปเก็บภาพเรือพระราชพิธีที่วัดอรุณฯไปถึงประมาณเที่ยงกว่าๆ สิ่งที่ไปเจอคือเก้าอี้วางอยู่ที่ขอบปูนที่ยกสูงริมแม่น้ำเรียงรายเต็มไปหมดพอสอบถามก็ได้ความว่าเขาจองตั้งแต่เมื่อวานแล้วค่ะ แต่ฟังเขาเล่าไปเรื่อยๆพบว่ามันไม่ได้เป็นการจองธรรมดา มันต้องเสียเงินแลกกับการได้นั่งเก้าอี้พลาสติกที่อยู่ริมน้ำที่ยกสูงขึ้นมา(แค่นี้ก็ทำให้คนที่มาทีหลังไม่สามารถชมกระบวนเรือได้แล้ว)เป็นจำนวนเงินค่านั่ง เก้าอี้ละ800บาท(จะตักตวงกันไปถึงไหน)และคนที่ไม่ได้จองก็ไม่สามารถเข้าได้เนื่องจากนำรั้วเหล็กมากั้นและก็มีอีกชุดหนึ่งมีหน่วยงานหนึ่งมาจอง(ที่วัดอรุณฯเช่นกันริมน้ำอีกแล้ว)มีตำรวจคอยมากันไม่ให้คนอื่นเข้า(แต่ใจจริงคุณตำรวจเห็นใจพวกที่มาก่อนมากๆ "แต่เขามอบหมายให้ ผมก็ต้องทำตามหน้าที่"คนที่มาจากที่ไกลๆก็ไม่ทราบ มีพี่ผู้หญิงคนหนึ่งมาจากปักษ์ใต้พร้อมด้วยลูกสาวต้องยอมกลับบ้านทั้งๆที่ยังไม่ได้ดูอะไรขอเน้นว่ามันมองไม่เห็นจริงๆ ตัวเราก็จำใจต้องกลับเช่นกันก็มันมองไม่เห็นจริงๆไม่รู้จะนั่งทนร้อนไปทำไม แต่ที่ตัดสินใจให้กลับเร็วขึ้นเนื่องจากพระในวัดเริ่มมีปากเสียงกันเล็กๆ ก็ไอ้เรื่องค่าจอง800นั่นแหละ
 ( พระรูปแรก )ถือโทรโข่งมาประกาศว่าที่นี่ไม่มีการเก็บเงิน ใครเก็บเงินขอให้บอก"
  (พระรูปที่สอง )ก็บอกว่า ตรงนี้ไม่ได้เก็บเงิน
  (พระรูปแรก )จะไม่ได้เก็บได้ยังไงก็มีคนมาบอก
  (เด็กวัด ) ไม่ได้เก็บซะหน่อยไหนใครบอกหลวงพี่ ใครบอก
 ( พระรูปที่สอง )ถ้าจะมาพูดเรื่องนี้ก็ไปเลยไป(เสียงใส่อารมณ์ แต่ที่เห็นคือกำลังให้เด็กวัดติดสติ๊กเกอร์จองความเป็นเจ้าของเก้าอี้นั้นอยู่ เห็นนะไม่ได้โม้)
  (ผู้เขียนและน้อง) กลับบ้านดีกว่า
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 20:32


ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เรื่องสุดท้ายที่อยากจะยกมาฝาก
ด้วยมูลเหตุแห่งการเสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเล
ของพระเจ้าอยู่หัวสมัยอยุธยา และเป็นเส้นทางเสด็จ
ของสมเด็จพระเจ้าเสือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
คือ ตำหนักทอง วัดไทร ตั้งอยู่ที่ริมคลองสนามไชย
บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

ตำหนักทองหลังนี้เป็นอาคารไม้สมัยอยุธยา ซึ่งหลงเหลืออยู่
จำนวนน้อยมากในปัจจุบัน เขียนลายทองเทคนิคลายรดน้ำ
ทั้งหลัง หลังคาประดับช่อฟ้ารูปครุฑและหางหงส์ปูนปั้น
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเสือ หรือ ช่วงอยุธยา
ตอนปลาย โดยจะสร้างไว้เป็นจุดๆ ตลอดระยะทางเสด็จ
ใช้สำหรับประทับพักผ่อนหรือค้างแรมในคราวเสด็จ
เมื่อก่อนมีศาลาการเปรียญหลังใหญ่สร้างสมัยอยุธยา
เช่นเดียวกัน แต่ทางวัดรื้อทิ้งไปแล้ว เหลือแต่ธรรมมาสน์
เทสน์สมัยอยุธยา สวยมากๆ ถ้ามีโอกาส ลองแวะไปชมกันครับ
อยู่ไม่ไกลในกรุงเทพฯ นี่เอง

บริเวณใกล้ๆ กัน มีวัดสิงห์ พระอุโบสถสร้างในสมัยอยุธยา
มีหน้าบันปูนปั้นลวดลาย อิทธิพลฝรั่งตะวันตก
มีทวยค้ำยันหลังคาไม้แกะ ไม่บอกว่าสวยหรือเปล่า
คนที่ชอบงานสถาปัตยกรรมลองแวะไปชมกันดูครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 15
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง