เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 118779 อยากทราบข้อมูลวังเจ้าในจักรีบรมราชวงศ์..ที่หายสาบสูญไปจากแผ่นดินสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 07:40

 ตอบคุณ Tiwa
ขออภัยที่ตอบผิด   เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร แต่แรกค่ะ ไม่ใช่กรมขุน

วังของกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช    โอรสธิดาอยู่กระจายกันไป ไม่ได้รวมที่เดิม  
หาอ่านได้ในหนังสือประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์ ค่ะ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 10:25

 วังพระอาทิตย์  ของกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช  "ตำนานวังเก่า"  ระบุว่า  "...เขตอยู่ติดกับวังเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎาต่อลงมาทางใต้..."  เมื่อกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช  สิ้นพระชนทม์ในปี  2417  วังนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น  4  แปลง  หม่อมเจ้าเจ้ากระจ่าง  พระโอรสองค์ใหญ่ได้ครองตำหนักใหญ่  ส่วนที่อีก  3  แปลงที่เหลือก็ได้แบ่งให้กับพระโอรสพระองค์อื่นๆ  โดยที่ดิน  1  ใน  4  แปลงนั้น  ตกเป็นของหม่อมเจ้าเสาวรส  บิดาของม.ร.ว.เย็น  อิศรเสนา  ซึ่งท่านได้ปลูกเรือนไม้ฝากระดานขนาดย่อมอยู่กับหม่อมมุหน่าย  หน้าวังหันออกทางถนนพระอาทิตย์และหม่อมมุหน่ยได้เปิดร้านขายของเล็กๆ  น้อยๆ  เพื่อหารายได้เพิ่มในครอบครัว  ต่อมาเมื่อหม่อมเจ้าที่เป็นพระโอรสในกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชสิ้นชีพิตักษัยไปหมด  ม.ร.ว.เย็น  อิศรเสนา  จึงเป็นหม่อมราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่จะต้องปกครองวังต่อไป  และเมื่อครั้งเป็นหลวงสิทธินายเวร  เป็นข้าราชบริพารที่ถวายงานใกล้ชิดพระพุทธเจ้าหลวง  จึงทรงพระกรุณาพระราชทานเงินสร้างบ้านเพื่อให้สมฐานะ  โดยได้สร้างบ้านตึกแยกออกไปจากเรือนเก่า  และจากนั้นมาศูนย์กลางของวังพระอาทิตย์เดิม  และราชสกุลอิศรเสนาจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านของม.ร.ว.เย็น  หรือที่ในปัจจุบันเรารู้จักกันในนามว่าบ้านพระอาทิตย์  ก่อนที่ที่ทายาทจะขายให้กับเอกชน  ดังนั้นบ้านพระอาทิตย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของวังกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 10:44

 ม.จ.กระจ่างนี่หรือเปล่าคะ ที่ว่าย้ายไปอยู่นนทบุรี  

ยังหาหนังสือประวัติเจ้าพระยาวรพงษ์ไม่เจอค่ะ   แต่จากคำบอกเล่าในนั้น ไม่ค่อยเหมือนตำนานวังเก่าเท่าไร
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 11:16

 ขออนุญาตตอบคุณ   Tiwa  ในคคห.ที่  28  ครับ  ในยามที่พระเจ้าแผ่นดินทรงปราบดาภิเษกตั้งพระบรมราชวงศ์ขึ้นใหม่  การบำเหน็จความชอบและการสถาปนาพระอิสริยยศของพระญาติ  เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยครับ  อาจจะไม่เป็นไปตามธรรมเนียมก็ได้ครับ  ส่วนพุทธศักราชที่คุณระบุไว้น่าจะพิมพ์ผิดครับ  ผมขออนุญาตแก้เป็น

วังหน้าเสด็จทิวงคต......... ปี พ.ศ. 2346
พระราชพิธีอุปราชาภิเษก...ปี พ.ศ. 2349
พระราชพิธีราชาภิเษก.......ปี พ.ศ. 2352

---------------------------------------------------------------
ในคคห.  21  ที่คุณเจ้าสัวบ่อนไก่บอกว่าลูกเธอในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาทไม่ได้เสด็จออกนั้น  น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนะครับ  เพราะจริงๆ  แล้ว  สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาทได้ทรงสร้างวังพระราชทานพระโอรสบริเวณริมสนามวังหน้า  ด้านทิศตะวันออก  ทั้งหมด  4  วังครับ

วังที่  1  คือบริเวณพระแม่ธรณีบีบมวยผม  จรดริมคลองหลอด  สร้างพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าชายลำดวน  ต่อมาเมื่อเจ้านายพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ในปี  2346  วังจึงตกเป็นของพระอนุชาพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอสุนี  

วังที่  2  อยู่ถัดจากวังแรกมาทางกระทรวงยุติธรรมในปัจจุบัน  สร้างพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอินทปัต  ต่อมาตกเป็นของพระอนุชา  คือ  กรมขุนนรานุชิต

วังที่  3  อยู่ถัดมาจากวังที่  2  ซึ่งอยู่บริเวณสนามหลวง  และถนนหน้ากระทรวงยุตธรรมในปัจจุบัน  สร้างพระราชทานพระเจ้าวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าชายช้าง  

วังที่  4  อยู่บริเวณที่เป็นกระทรวงยุติธรรม  สร้างพระราชทานพระองค์เจ้าก้อนแก้ว

วังทั้ง  4  นี้ถูกรื้อลงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  ครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 11:48

 ใน  คคห.  33  เรื่องวังของพระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาท  ผมพลาดไปครับ  ไม่ทันเห็นว่าคุณเจ้าสัวบ่อนไก่  ได้พิมพ์ไปบ้างแล้วใน  คคห.19

แต่ผมขออนุญาติเพิ่มเติมว่า  วังพระองค์เจ้าลำดวนกับวังพระองค์เจ้าอสุนี  จริงๆแล้วคือวังเดียวกันครับ  โดยมีข้อสันนิษฐานว่าพระองค์เจ้าอสุนี(กรมหมื่นเสนีเทพ)  ได้ย้ายมาประทับที่วังนี้  เมื่อพระองค์เจ้าลำดวนสิ้นพระชนม์ในปี  2346  หรือไม่ก็ทรงประทับอยู่ที่วังนี้อยู่แล้วจึงได้ทรงครองวังสืบมาครับ

ส่วนวังของกรมขุนนรานุชิต  วังริมสนามวังหน้าที่กล่าวถึงนั้น  เดิมคือวังของพระองค์เจ้าอินทปัต  กรมขุนนรานุชิตทรงย้ายมาประทับหลังจากพระองค์อินทปัตสิ้นพระชนม์ไปแล้วครับ  และวังของพระองค์เจ้าก้อนแก้ว  แท้จริงแล้วก็  คือ  วังริมสนามวังหน้าวังที่  4  ดังที่ผมบอกไว้ใสคคห.  ด้านบน  วังทั้ง  4  นี้ยังคงความเป็นวังจนถึงสมัยรัชกาลที่  5  โดยส่วนใหญ่พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ  ทรงครองวังต่อมา  แต่เมื่อจะมีการทำสนามหลวงใหม่  สร้างถนนราชดำเนิน  และกระทรวงยุติธรรม  วังทั้ง  4  นี้จึงถูกรื้อลงครับ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 12:14

 สำหรับในคคห.12  เรื่องที่ตั้งของวังที่คุณเจ้าสัวบ่อนไก่ถาม  ไม่ทราบว่าคุณได้ข้อมูลหรือยัง

1. วังสะพานหัวจระเข้ ของกรมหลวงวรศักดาพิศาล  ปัจจุบันคือบริเวณถนนพระพิพิธฝั่งใต้  ด้านหลังของกรมการรักษาดินแดน  เคยใช้เป็นแผนกคลัง  กองยกบัตร  กรมพลาธิการทหารบก  แต่ไม่แน่ใจว่าขณะนี้ใช้เป็นสถานที่อะไรครับ แต่น่าจะเป็นที่ของทหาร

2. วังคลังสินค้า ของเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิทักษ์มนตรี  อยู่บริเวณกรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน  ในสมัยรัชกาลที่  1  วังนี้อยู่นอกกำแพงเมือง  อยู่ด้านใต้ของท่าราชวรดิษฐ์

3. วังสนามชัน ของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  หาไม่พบเหมือนกันครับ

4. วังคลองตลาด ของพระองค์เจ้าจินดา  อยู่บริเวณเชิงสะพานเจิญรัถในปัจจุบัน  ตรงข้ามสถานีตำรวจพระราชวัง  ตรงทางสามแพร่งที่ถนนมาบรรจบกันครับ

5. วังริมคลองสะพานถ่าน ของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ  สำหรับวังนี้ผมเข้าใจว่าชื่อวัง  "วังริมคลองสะพานถ่าน"  เป็นของพระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตรไชย  และใช้เป็นที่ประทับต่อมาของสมเด็จฯ  กรมพระยาเทววงศ์ฯ  ส่วนวังของพระองค์เจ้าบดินทรไพศาลโสภณอยู่บริเวณไหนขอกลับไปค้นก่อนนะครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 00:23


ขอบคุณครับ สำหรับความคิดเห็นดีๆ จากหลายๆ ท่าน

จาก ค.ห. ที่ 12 เรื่องตอนท้ายที่ผมเล่าถึงบ้านหรือวังเก่าๆ ที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง มีใครผ่านไปผ่านมาได้สังเกตบ้างไหมครับ บ้านหรือวังนี้ผมยังไม่มีโอกาสไปถ่ายภาพมาให้ชมเลย แต่หวังใจว่าเร็วๆ นี้คงได้ไปถ่ายมาลงไว้ในกระทู้นี้ ตอนนี้ผมหาภาพถ่ายที่พอระบุตำแหน่งของบ้านหรือวังนี้ได้ภาพหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านหลังป้อมนี้ครับ ใครทราบที่มาของบ้านหรือวังนี้ โปรดบอกทีครับ อยากรู้มากแต่หาหลักฐานไม่ได้เลย

บ้านหรือวังนี้มีคนอยู่นะครับ แต่ว่าคล้ายๆว่า เค้าจ้างมาอยู่เป็นยาม ฉะนั้นจากที่ผมสอบถามเค้าจึงไม่ได้อารัยมาเลย  
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 00:31

 อยู่ด้านหลังป้อมหน่ะครับ มองเห็นอยู่ชัดเจน นั่นคือหลังคาครับ หลังคานี่ก้อออกแบบให้มีลักษณะเป็นดาดฟ้าอีกต่างหากนะครับ ศิลปะแบบนี้ยังไม่เคยมีว่าสร้างขึ้นแต่หนไหน ผมก้อไม่เคยเห็น แต่ผมสังเกตนะครับ ว่าตัวบ้านนี้มีบางส่วนเหมือนทุบทิ้งไป

มันสร้างขึ้นอยู่ริ้มคลองบางลำภู และบ้านเนี้ย ผมเห็นว่ามันมั่นคงสถาวรมาตั้งแต่รูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 ตอนยังไม่ได้ตัดถนนราชดำเนินกลางเลยด้วยซ้ำ ทำให้ข้องใจมากเลยถึงที่มา แต่ว่าอย่างน้อยมันก้อน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 120 ปีนะครับ โดยประมาณ ผมอนุมานว่าอย่างนั้น

อีกอย่างวังนี้ประหลาดนิดนึงว่าสร้างหันหน้าออกคลอง ที่ว่าแปลกคือหันหลังชนป้อมมหากาฬ เท่ากับว่ามันอยู่นอกกำแพงเมืองสินะครับอย่างนี้ สงสัยเจ้าของวังนี้ท่านรักสันโดษ แต่ถึงยังไงวังนี้ก้ออยู่ในเขตเกาะรัตนโกสินทรรอบนอก ผมขอแสดงความเห็นว่าถ้าเป็นวังคงเป็นวังของพระอนุวงศ์บางองค์ ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นราวตอนกลางแผ่นดินรัชกาลที่ 5

ไม่อยากเชื่อว่าจะเป็นบ้านคนธรรมดา จะว่าขุนนางก้อไม่น่าจะใช่ครับ ลองไปดูที่หน้าบ้านตรงหน้าบันมีสัญญาลักษณ์หรือตราอะไรสักอย่าง จะว่าตรานี้เป็นตราประจำกรมกองใดคงไม่ใช่แน่ครับ ยกเว้นจะเป็นตราประจำพระองค์เจ้านาย น่าจะนะครับผมไม่แน่ใจ

ผมจะพยายามสืบค้นดูว่ามันคืออารัยกันแน่ เร็วๆ นี้
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 01:16

 มาต่อเรื่องวังในยุคของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกันต่อครับ น่าจะเรียกวังลูกเธอมากกว่านะครับ เพราะบางวังสร้างมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 นู่น


กลุ่มวังต่อไปเรียกว่ากลุ่ม วังสะพานเสี้ยว ครับ ก่อนอื่นอยากบอกว่ากลุ่มวังนี้น่าเอน็ดอนาถพอดูเพราะว่าสร้างคร่อมถนนราชดำเนินกลาง ที่สำคัญกลุ่มวังนี้ใหญ่โตไม่ใช่เล่นนะครับ ขออธิบายว่ากลุ่มวังสะพานเสี้ยวน่าจะกินเนื้อที่ระหว่างกรมสรรพากรยาวเรื่อยไปทางถนนจักรพงษ์ผ่านเชิงสะพานผ่านภิภพและเลยไปจนถึงโรงแรมรัตนโกสินทร์จนกระทั่งถึงวัดบุณณสิริ ย่านคลองหลอดแหน่ะครับ พูดง่ายๆ ว่าคร่อมถนนทั้งวังเลยครับ มองเห็นภาพง่ายดีนะผมว่า วังกลุ่มนี้

36. วังสะพานเสี้ยว วัง 1 วังที่ประทับของพระองค์เจ้าภุมรินทร ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ อยู่ไม่นานก้อสิ้นพระชนม์ไป พระองค์เจ้านุช ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์เสด็จมาประทับต่อจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ต่อมาว่ากันว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อครั้งเป็นในกรมหมื่นบวรฯ เสด็จมาประทับช่วงต่อ วังนี้ถูกแปลงสภาพไปพอตัวและสิ้นสภาพวังไปแล้ว ปัจจุบันคือที่ทำการกรมสรรพากรและกรมธนารักษ์
( ต้นราชสกุล ภุมรินทรฯ และ ต้นราชสกุล อนุชะศักดิ์ฯ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มีพระทายาทหลายสาขา )

37. วังสะพานเสี้ยว วัง 2 อยู่ถนนจักรพงษ์ ไม่ทราบจุดแน่นอน เป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าใย ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วังนี้หาที่ไม่ได้ครับทราบแต่ว่าอยู่ถนนจักรพงษ์แน่ ผมไปดูมาตอนนี้ข้างหลังซ้ายขวาเป็นสลัมกับตึกแถว  วังหายไปตั้งแต่บรรพกาลไหนไม่มีใครรู้
( ต้นราชสกุล รังสิเสนาฯ )

38. วังสะพานเสี้ยว วัง 3 วังนี้ค่อนข้างจะจีรังกว่าวังญาติๆ ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งเป็นวังทีป่ระทับของ กรมหมื่นอมเรศรัศมี ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เมื่อเสด็จในกรมอมเรศฯ วายพระชนม์ มีพระทายาทประทับต่อยืนยาวมาจนถึงปลายรัชกาลที่ 5 จึงได้รื้อสร้างถนนรีชดำเนินกลาง วังนี้อยู่เชิงสะพานผ่านภิภพครับ
( ไม่มีพระทายาทสืบราชสกุลส่วนพระทายาทที่ระบุหมายถึงเจ้าพี่เจ้าน้องที่เป็นพระญาติวงศ์สนิทแต่ไม่ปรากฎพระนามแน่ชัดว่าเป็นท่านผู้ใด )

39. วังสะพานเสี้ยว วัง 4 ของพระองค์เจ้าทับทิม พระราชโอรส ร.1 ทรงย้าบมาจากวังหลักเมือง วัง 6 ตอนนี้ท่านย้ายมาอยู่วังนี้ครับ อยู่มาจนสิ้นพระชนม์ล่วงไป พระองค์เจ้าสีสังข์ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ท่านเสด็จมาประทับต่อจนสิ้นพระชนม์ วังนี้อยู่คร่อมถนนราชดำเนินเลยครับ ถูกร้อสร้างถนนในรัชกาลที่ 5
( พระองค์เจ้าสีสังข์ เป็นต้นราชสกุล สีสังข์ฯ )

40. วังสะพานเสี้ยว วัง 5 ครับ วังนี้อยู่ถัดมาจากวังที่ 4 มาทางวัดบูรณศิริ แถวคลองหลอด แต่เดิมเป็นเรือนของพระยาพิชัยบุรินทรา เสนาบดีกรมเมืองวังหน้า  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ พระราชทานแก่ พระเจ้าลุกยาเธอ พระองค์เจ้าอินทรวงศ์ แต่พระเคราะห์ร้ายอยู่ไม่นานก้อสิ้นพระชนม์ลง  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงพระราชทานแก่ พระเจ้าลุกยาเธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์ จนสิ้นพระชนม์ลงไปอีกพระองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทะเจ้าหลวง จึงพระราชทานแก่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม คาดว่าวังนี้น่าจะเหลือร่องรอยอยู่บ้างเล็กน้อยนะครับ แต่ผมไปมาแล้วไม่พบอารัยเลยนอกจากตึกแถวโกโรโกโส สำหรับวังนี้นับว่าเหลือรอดมาเพียงหนึ่งเดียวจากทั้ง 5 วังญาติๆ ส่วนวังนี้จะเป็นวังสนามชันของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมหรือไม่ ยังไม่ทราบครับ แต่ผมจะพยายามสืบหาข้อมูลต่อไป เร็วๆ นี้จะนำมาให้พิจารณากันครับ
(  พระองค์อินทวงศ์ ไม่มีพระทายาท ส่วนกรมหมื่นพิศาลฯ เป็นต้นราชสกุล วรรัตน์ฯ และ กรมหลวงประจักษ์ศิลฯ เป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่ฯ )

ต่อไปเป็นวังถนนโรงครก

41. วังถนนโรงครก วัง 1 อยู่ตรงศาลแพ่งกระทรวงยุติธรรมในปัจจุบัน แต่ก่อนเป็นทีป่ระทับของพระองค์เจ้าสาททิพากร ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ แต่อยู่ไม่นานสิ้นพระชนม์ลง
( ไม่มีพระทายาทสืบราชสกุล )

42. วังถนนโรงครก วัง 2 พระองค์เจ้าสาททิพากร เห็นว่าท่านจะมีคุณตาอยู่ท่านนหึ่งซึ่งแบ่งที่ดินให้ท่านอยู่ใกล้ๆ บ้านท่าน สำหรับในการนี้ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมเจ้าจอมเดียวกับพระองค์เจ้าสาททิพากร แต่เดิมในกรมหมื่นท่านอยู่ร่วมกันกับเจ้าพี่ที่ วัง 1 ต่อมาได้ปลุกวังขึ้นมาติดๆ กันกับวัง 1 ครับ วังถนนโรงครกนี้ต่อมารื้อทำศาลสถิตยุติธรรม สำหรับกรมหมื่นอนันตการฯ ในร.4 ท่านโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นฯ ย้ายไปอยู่วังพระนิเวศน์เดิม
( กรมหมื่นอนันฯ ต้นราชสกุล ยุคนธรานนท์ฯ )

มีต่ออีกนิดหน่อย
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 13:43

 ขออนุญาตตอบคุณเทาชมพู ในคคห. 32  ครับ

หม่อมเจ้าที่ออกไปอยู่นนทบุรีไม่ใช่หม่อมเจ้ากระจ่างครับ  แต่เป็นอีกองค์หนึ่งแต่ผมจำพระนามไม่ได้ครับ  ซึ่งหม่อมเจ้าองค์นี้น่าจะเป็นพระโอรสองค์โต  เพราะในหนังสือประวัติเจ้าพระยาวรวงศ์พิพัฒน์กล่าวว่าท่านต้องเข้ามาเป็นประธานในเวลาที่ในวังมีงาน  ส่วนหม่อมเจ้ากระจ่างที่ได้ครองตำหนักใหญ่น่าจะเป็นพระโอรสองค์รองลงมาครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 02:27

 3 วังสุดท้ายในรัชกาลที่2 ครับ มาต่อให้จบตอนนี้ผมรวบรวมข้อมูลวังลูกเธอในรัชกาลที่ 3 ได้แล้วแต่ดูเหมือนว่าจะน้อยกว่ารัชกาลอื่นๆ เลย

43. วังคลองตลาด ตามข้อมูลที่ผมได้มาเป็นวังที่ประทับของ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ พระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เชื่อว่าต่อมาน่าจะเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าจินดา ตามที่คุณหยดน้ำท่านระบุไว้ครับ ส่วนวังนี้พบแล้วว่าอยู่เชิงสะพานเจริญรัช สน พระราชวัง ย่านปากคลองตลาด

( กรมหมื่นสิทธิฯ ต้นราชสกุล รองทรงฯ ส่วนพระองค์เจ้าจินดา ไม่มีพระทายาท )

44. วังหลังวัดชนะสงคราม คงจะเหมือนชื่อวังครับอยู่หลังวัดชนะสงคราม ย่านบางลำภู-ตรอกข้าวสาร เป็นที่ประทับของพระองค์เจ้ารัชนิกร พระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ วังนี้ปรากฎหลักฐานได้น้อยมาก

( พระองค์ชายรัชนิกร ไม่มีพระทายาท )

45. วังริมคลองบางลำภู วังทีป่ระทับของพระองค์เจ้าสุดวอน พระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ชื่อบางลำภูแต่ไม่ทราบอยู่ช่วงไหนของคลองแต่ผมสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงปากน้ำแถบป้อมพระสุมเรในปัจจุบัน สังเกตว่าลูกเธอวังหน้าพระองค์นี้ทรงสร้างวังกระจุกอยู่ย่านเดียวกันหมดเลยครับ

สันนิษฐานว่าบางส่วนของวังริมป้อมสุเมรุก้อถูกแบ่งไปสร้างวังพระเจ้าลูกเธอวังหน้าในรัชสมัยต่างๆ ในเวลาต่อมา ผมคิดว่าอย่างนั้น

จบวังเจ้าในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 11 มิ.ย. 06, 02:33

 ต่อไปเป็นรายนามวังเจ้าในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครับ

กลุ่มนี้ชื่อกลุ่มวังท้ายวัดโพธิ์

46. วังท้ายวัดพระเชตพน วัง 1 เป็นวังที่ประทับของกรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร ต้นราชสกุล โกเมนฯ

47. วังท้ายวัดพระเชตพน วัง 2 เป็นวังที่ประทับของกรมหมื่นอมเรนทรบดินทร ต้นราชสกุล คเนจรฯ

48. วังท้ายวัดพระเชตพน วัง 3 เป็นวังที่ประทับของพระองคืเจ้างอนรถ ไม่มีพระทายาทสืบราชสกุลวงศ์

49 วังท้ายวัดพระเชตพน วัง 4 เป็นวังที่ประทับของกรมหมื่นภูมินทรภักดี ต้นราชสกุล ลดาวัลย์ฯ

50. วังท้ายวัดพระเชตพน วัง 5 เป็นวังที่ประทับของกรมหมื่นอุดมรัตนราษี ต้นราชสกุล อรรณพฯ

กลุ่มวังนี้ไม่ทราบว่าอยู่จุดไหนแน่ของวัดโพธิ์ แต่คงหายสาบสูญไปจากแผ่นดินไทยนานเท่านานแล้ว

มีต่อ
บันทึกการเข้า
ปากน้ำเจ้าพระยา
มัจฉานุ
**
ตอบ: 163


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 13:38

 ผมอยู่จังหวัดสมุทรปราการ ขออนุญาตคุยเรื่องวังที่เคยอยู่ใกล้บ้านผม ตรงตลาดปากน้ำปัจจุบัน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามเกาะองค์พระสมุทรเจดีย์ ชื่อ วังสมุทรปราการ

วังสมุทรปราการ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประทับ เมื่อครั้งที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฎิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ (พระเจดีย์กลางน้ำ) ครั้งใหญ่ ในปี ๒๔๐๔

สมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นสำนักงานศาลาว่าการเมืองสมุทรปราการ แล้วใช้พื้นที่บางส่วนสร้างสถานีรถไฟสายปากน้ำ

ปรากฏว่าเมื่อมาอยู่ในความดูแลของส่วนราชการ ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยน คราวเมื่อย้ายศาลาการจังหวัดสมุทรปราการให้ออกจากตัวชุมชน ปี ๒๔๕๘ สถานที่วังสมุทรปราการเดิมจึงถูกนำมาให้เอกชนประมูลสร้างตลาดสดและท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งพระสมุทรเจดีย์

ทั้งวังสมุทรปราการและสถานีปลายทางรถไฟสายปากน้ำ ต่างก็สาบสูญ ไม่มีหลักฐานปรากฏอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
Retro
อสุรผัด
*
ตอบ: 5



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 15:07

 อ่านข้อความต่างๆ ได้ความรู้เพิ่มอีกเยอะเลย

วานก่อนได้ไปดูเรือราชพิธีที่ริมเจ้าพระยา ได้เห็นบ้านเก่าหลังใหญ่ตรงข้ามร้านอาหารต้นโพธิ์ ที่ถนนพระอาทิตย์ รู้สึกเสียดายและเกิดความสงสัยอยากรู้เกี่ยวกับประวัติของบ้านหลังนี้ว่า...มันเป็นวังเก่าหรือไม่ เพราะตึกมีพื้นที่ขนาดใหญ่ และอยู่ติดริมเจ้าพระยา และเป็นของผู้ใดมาก่อน ถึงได้ถูกปล่อยให้รกร้างและทรุดโทรมมาก ทั้งหน้าต่างหลังคาแทบจะไม่เหลือแล้ว

ใจจริงอยากจะข้ามฝากไปดู แต่ไม่รู้ว่าจะเข้าไปได้หรือไม่
ท่านผู้รู้เจ้าขา   ......ช่วยตอบให้หายสงสัยทีเถอะ.......
บันทึกการเข้า
ลา ลา ลา
อสุรผัด
*
ตอบ: 5


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 14 มิ.ย. 06, 21:48

 อยากไปดูมั่งจัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง