เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 118791 อยากทราบข้อมูลวังเจ้าในจักรีบรมราชวงศ์..ที่หายสาบสูญไปจากแผ่นดินสยาม
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


 เมื่อ 22 พ.ค. 06, 03:33

 ในเกาะรัตนโกสินทรหรือว่าในรั้วกำแพงเมืองของกรุงเทพนั้น แต่เดิมเคยมีวังและตำหนักเจ้านายในยุคนั้นมากมาย เมื่อเทียบกับจำนวนพระองค์พระบรมวงศานุวงศ์เมื่อช่วงตั้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ 6 แล้ว น่าจะมีอยู่หลายร้อยตำหนักเลยทีเดียว

แต่ก็เป็นที่สงสัยอยู่เหมือนกันนะครับ เพราะปัจจุบันนี้ผู้ที่สนใจเชิงอนุรักษ์ได้พบเห็นว่าวังดังกล่าวนี้หายสาบสูญไปแทบจะทั้งหมดของที่เคยมีในแผนที่...   โดยมากแล้วจะกลายเป็นตึกแถว ร้านค้า บางส่วนเป็นสถานที่ราชการ

ผมเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและทำเลที่ตั้งของย่านนี้ดีครับ แต่ไม่ทราบว่าทายาทผู้ได้ครอบครองในเวลาต่อมาท่านทุบวังทุบตำหนักของบรรพบุรุษของท่านเองได้ลงคอเชียวหรือครับ เช่น แพร่งสรรพศาสตร์ ที่ทั้งตำหนักหายไม่เหลือแม้แต่ซาก ที่เหลือมีแต่ซุ้มประตูวังหน้าถนนตะนาว เท่านั้น หรือ แพร่งภูธร ซึ่งเดิมเป็นวงศ์ของเสด็จในกรมภูธเรศธำรงศักดิ์ แต่เมื่อไปดูก้อไม่เห็นเลยว่าพื้นที่นี้จะเคยเป็นวังมาก่อน

ผมเคยตรวจสอบจากแผนที่ที่น่าจะสร้างขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่  5 และพบว่าในแผนที่ระบุที่ตั้งวังเจ้านายในมากมายพอดู ซึ่งส่วนมากจะเป็นวังของพระบรมวงศ์ชั้น 4 และชั้นที่ 5 แต่ปัจจุบันวังที่ปรากฎบนแผนที่นั้นเหลืออยู่แทบนับจำนวนได้ไม่ถึง 10 องค์ เช่น วังวรดิศ วังบางขุนพรหม เป็นต้น ส่วนวังเจ้านายอีกมากก้อหายไปในกลับเมฆเช่นกัน อย่างวังราชบุรี วังมหานาค เป็นต้น ผมลองตรวจตามประวัติดูนะครับ เห็นว่า วังเจ้านายที่อายุยืนนานที่สุดและยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้และเป็นของพระทายาทในราชสกุลนั้นคือ วังบ้านหม้อ วังเดียวเท่านั้นครับที่เหลืออยู่ ส่วนวังช้างโรงสีพวกนี้กลายเป็นสถานที่ราชการเป็นส่วนมากแล้วครับ

และที่น่าเศร้าที่สุดคือ วังเพรชบูรณ์ ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชฯ ที่ผมพบว่าเดิมมันคือพื้นที่เวิลเทรดทั้งหมด แต่ปัจจุบันทั้งตำหนักหายไปหมดไม่เหลือร่องรอยใดๆ เลยแม้สักนิดก็ไม่มี ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดอยู่มากพอตัวเลยทีเดียวครับ ที่วังเพรชบูรณ์ เป็นของพระราชโอรสของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกับพระพันปี นอกจากนี้ยังเป็นพระราชอนุชาของ ร.6 พระราชเชษฐษของ ร.7 ทั้งยังเป็นทูลกระหม่อมลุงของในหลวงรัชกาลที่ 8 และรัชกาลปัจจุบันอีกด้วย แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่าแม้แต่วังของพระองค์จะถูกทุบทิ้งซึ่งไม่ทราบว่าความเป็นมามีมาอย่างไร ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดไม่ออกว่าทำกันได้ยังไงเหมือนกัน

ถ้าลองนับจากอายุพระชนม์ชีพของทูลหม่อมจุฑาธุชแล้วก็สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 พระทายาทก้อทรงมี คือ พระองค์ชายวรานนท์ธวัช และ หม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล เป็นต้น ในช่วงเวลานับจากสิ้นพระชนม์มาจนถึงพระทายาท ไม่น่าจะเป็นไปได้เลยว่าวังของพระองค์จะถูกทุบทิ้งแล้วสร้างห้างแทน

ผมเลยขอความกรุณาจากท่านผู้ทราบเรื่องของวังเจ้าในอดีตนับจากต้นพระราชวงศ์จักรีลงมานั้นว่ามีวังเจ้าวังไหนที่พอจะปรากฎหลักฐานระบุได้ ว่าวังนี้อยู่บริเวณใดและมีท่านใดเป็นเจ้าของวัง อยากทราบมากเลยครับถึงข้อมูลตรงนี้ เพราะนอกจากจะเป็นความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์และยังเป็นความรู้เชิงอนุรักษ์และศิลปวัฒนธรรมของไทยอีกด้วย ( ถ้ามีรูปด้วยยิ่งดีมากเลยครับ )

ท่านใดที่ทราบขอความกรุณาตอบด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ค. 06, 04:01

 เนื่องจากผมทราบมาว่าในจักรีบรมราชวงศ์นี้มีราชสกุลสืบสกุลมาด้วยกันทั้ง 131 ราชสกุล ( รวมสายทางวังหลวง วังหน้า วังหลัง ) ทั้งหมดมีถึง 131 สายราชตระกูล ซึ่งองค์ต้นราชสกุลนี้ก้อถือว่าทรงเจริญพระชนมายุได้พอประมาณถึงทรงมีพระทายาทสืบพระสกุล ก็แสดงว่าน่าและต้องทรงมีวังมีตำหนักเป็นของพระองค์เองด้วย ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงเจ้านายชั้น หม่อมเจ้า ที่ยังนับว่าท่านเป็นเจ้าอยู่ ย่อมจะทรงออกเรือนไปมีตำหนักอีกมากมายแทบจะนับไม่ถ้วนเลยก็ว่าได้นะครับ ผมคิดอย่างนั้น

ยกตัวอย่างเช่น วังลดาวัลย์ ในสมเด็จชายยุคลเป็นต้น แต่เดิมท่านประทับอยู่วังลดาวัลย์ ต่อมาทรงมีพระโอรส ซึ่งพระโอรสของพระองค์ก้อมีวังมีตำหนักกันต่อมาอีกหลายพอดู เช่น วังอัศวิน ของเสด็จพระองค์ชายใหญ่ พระโอรสองค์โตของสมเด็ขชายยุคล ดังนี้ผมไม่ทราบชะตากรรมของวังลดาวัลย์ว่าตอนนี้เป็นบังไงและอยู่ตรงไหน คลับคล้ายคลับคลาว่าตอนนี้จะเป็นที่ตั้งของกองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผมไม่แน่ใจนะครับ

ผมเข้าใจว่าวังเจ้านายเหล่านี้เมื่อเจ้านายพระองค์นั้นๆ วายพระชนม์ลง บางส่วนอาจตกถึงพระทายาท ( มีน้อยมากๆ ) แต่โดยมากก้อมักตกเป็นของแผ่นดินดังเดิม เช่นวังราชบุรี ใน เสด็จในกรมราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทราบว่าภายหลังเสด็จในกรมราชบุรีฯ สิ้นพระชนม์ลง หม่อมเจ้าชายพระองค์ใหญ่ของท่านได้รับวังราชบุรีของพระบิดาเป็นพระมรดก ต่อมาท่านชายโปรดขายวังนี้แก่ทางบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรางทราบแล้วไม่พอพระราชหฤทัยมาก จึงทรงซื้อวังราชบุรีคืน วังราชบุรีจึงเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สืบมา แต่วังราชบุรีก็ถูกทุบทิ้งไปแล้วเหลือแต่ที่ดิน ประมาณนี้

ผมสังเกตว่าวังเจ้านายของพระบรมวงศ์ชั้น 4 และ 5 โดยมากแล้วจะตกเป็นของแผ่นดินแทบจะทุกวังเลยทีเดียว

เห็นจะมีแต่วังบ้านหม้อ วังเดียวเท่านั้นที่เป็นของเอกชน ซึ่งแต่เดิมวังบ้านหม้อซึ่งสร้างขึ้นราวรัชกาลที่ 2 เป็นของเสด็จในกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ตกทอดเป็นพระมรดกของทายาทต่อมา เท่าที่ผมทราบคือตกแก่พระโอรสคือ พระองค์เจ้าสีหนาถราชดุรงฤทธิ์ และต่อมาก้อตกถึงหม่อมราชวงศ์ ( จำไม่ได้ว่าท่านคือใคร ) แต่เป็นขุนนางชั้นเจ้าพระยา กำกับกรมช้างกรมอัศวราช อย่างนี้เป็นต้นครับ แต่ตอนนี้ผมก้อไม่ทราบชะตากรรมวังบ้านหม้อว่าเป็นอย่างไร เคยคิดจะไปเยี่ยมชมหลายหนแต่ก็ไม่ทราบว่าอยู่จุดใดกันแน่

จึงอยากทราบข้อมูลวังเจ้านายเท่าที่มีหลักฐานปรากฏครับว่ามีที่ใดบ้าง ขอความกรุณาท่านผู้รู้ด้วยครับจะเป็นพระคุณยิ่ง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ค. 06, 04:47

 ตำหนักประถม ตำหนักใหม่ และตำหนักน้ำ ในวังเพชรบูรณ์ ยังอยู่ในสภาพดีครับ ไม่ได้ถูกทุบ แต่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระทายาทได้โปรดให้ชะลอมาไว้ที่ตำหนักของพระองค์ในจังหวัดนนทบุรี

โปรดดูข้อมูลและภาพได้ที่ http://www.geocities.com/tamnakprathom/  
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 พ.ค. 06, 10:59

 พระนิเวศน์เดิมของรัชกาลที่  1

ประวัติ  
เคยเป็นที่ประทับของรัชกาลที่  1  เมื่อครั้งที่ย้ายจากพระนิวาสสถานเดิมที่อัมพวา  เข้ามารับราชการในกรุงธนบุรี  เมื่อปราบดาภิเษกแล้วจึงโปรดเกล้าฯ  ให้เป็นวังที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงอิศรสุนทร(รัชกาลที่ 2)  พระราชโอรส  และมีเจ้านายอีกหลายพระองค์ต่อมา  สิ้นสุดความเป็นวังในสมัยรัชกาลที่  5  เนื่องจากทรงพระราชทานที่ดินบริเวณพระนิเวศน์เดิม  และที่ดินใกล้เคียงให้ใช้เป็นที่ทำการของทหารเรือ  ปัจจุบันอยู่ในบริเวณของกรมอู่ทหารเรือ


เจ้านายที่เคยประทับวังนี้
1. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงอิสรสุนทร
2. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงเสนานุรักษ์
3. พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ  กรมขุนธิบศร์บวร  (ต้นราชสกุลบรรยงกะเสนา)
4.  พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ  กรมหมื่นอนัตการฤทธิ์

หลักฐาน  และอาคารเดิมที่เกี่ยวข้อง

1.  กำแพงใบเสมาบริเวรกรมอู่ทหารเรือ  รัชกาลที่  5  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าน  ให้สร้างขึ้นเพื่อบอกอาณาเขตของพระนิเวศนืเดิม
2.  หอไตรที่วัดระฆังโฆษิตาราม  เดิมเคยเป็นหอนั่งของรัชกาลที่  1
3.  อาคารที่ทำการทหารเรือ  สร้างในสมัยรัชกาลที่  5  ปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 พ.ค. 06, 11:08

 วังริมป้อมพระสุเมรุ

ประวัติ
วังนี้ตังอยู่หลังป้อมพระสุเมรุ  บริเวณถนนพระอาทิตย์ต่อกับถนนพระสุเมรุ  เดิมเคยเป็นนิวาสสถานของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท  เมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา)  เมื่อสร้างป้อมพระสุเมรุเสร็จแล้ว  รัชกาลที่  1  โปรดเกล้าน  ให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงจักรเจษฎา  พระอนุชา  เสด็จมาประทับวังนี้  เพื่อรักษาพระนครทางทิศเหนือ  เมื่อเจ้าของวังสิ้นพระชนม์ก็ไม่ปรากฎว่ามีเจ้านายประทับต่อมา  เนื่องจากเจ้าที่แรง  จึงสิ้นสุดความเป็นวังในสมัยรัชกาลที่  1  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารพาณิชย์

หลักฐาน และอาคารเดิมที่เกี่ยวข้อง

ประตูวังก่ออิฐแดง  ไม่ฉาบปูน  อยู่บริเวณถนนพระสุเมรุกับกับหัวมุมถนนต่อถนนพระอาทิตย์และเป็นที่ตั้งของศาลกรมหลวงประจักษ์ฯ
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ค. 06, 11:22

 วังสวนมังคุด

ประวัติ
วังสวนมังคุดอยู่ที่ตำบลสวนมังคุด  ระหว่างวัดระฆังโฆษิตาราม  กับพระราชวังเดิม  เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมพระยาเทพสุดาวดี  ในสมัยธนบุรี  ต่อมาเมื่อเสด็จเข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวังแล้วจึงได้ประทานวังนี้แก่พระโอรส  คือ  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมหลวงนรินทรรณเรศร์  ซึ่งประทับจนตลอดพระชนมายุ  และหม่อมเจ้าในกรมประทับอยู่ต่อมา  จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่  3  วังนี้ได้ทรุดโทรมลง  สมเด็จเจ้าฟ้าฯ  กรมขุนอิศรานุรกษ์  จึงทรงซื้อวังนี้และได้สร้างขายวังใหม่  ประทับอยู่ได้เพียงปีเดียวก็สิ้นพระชนม์  กรมหมื่นเทวานุรักษ์  พระโอรสองค์ใหญ่จึงครองวังต่อมา  ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า  "วังกรมเทวาฯ"  เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว  หม่อมเจ้าในกรมประทับอยู่ต่อมา  ปัจจุบันบางส่วนเป็นบ้านของเชื้อสายสกุล  "อิศรางกูร  ณ  อยุธยา"  และของเอกชน

หลักฐาน และอาคารเดิมที่เกี่ยวข้อง

ไม่ปรากฎอาคารเดิมที่เกี่ยวข้อง  เหลือแต่เพียงซากกำแพงวังความยาว  20  เมตร  ในซอยศาลาต้นจันทร์  ถนนอรุณอัมรินทร์
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 พ.ค. 06, 11:53

 ส่วนวังที่ยังมีอาคาร  หรือหลักฐานเดิมหลงเหลืออยู่

วังกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ  ถนนขาว  ติดกับวัดราชผาติการาม  ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของราชสกุลเกษมศรี

วังพระองค์เจ้าหญิงมนัศสวาสดิ์  ถนนพระอาทิตย์  ปัจจุบันคือพุทธสมาคม

วังสมเด็จกรมพระยาชัยานาทฯ  ถนนวิทยุ  ปัจจุบันเป็นของทายาทราชสกุลรังสิต

วังกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร(วังสะพานขาว)  อยู่หัวมุมถนนหลานหลวง  กับถนนกรุงเกษม  ปัจจุบันคือปัจจุบันเป็นกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วังบ้านดอกไม้ ของกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  ถนนหลวงฟากเหนือต่อกับถนนบริพัตร  สำนักคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  และบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน  จำกัด

วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  ถนนลูกหลวง  ปัจจุบันพาณชยการพระนคร  (เหลือกำแพงวัง  กับเรือนของหม่อม  1  หลัง)

วังมหานาคของกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช  ถนนกรุงเกษม  ปัจจุบันบางส่วนเป็นของทายาท(ตำหนักพระธิดา)  และตลาดมหานาค(ตำหนักใหญ่)

แล้วจะมาต่อนะครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 พ.ค. 06, 11:58

 วังริมป้อมพระสุเมรุของเจ้าฟ้าฯกรมหลวงจักรเจษฏานี้ ที่เห็นๆ กันทุกวันนี้เหลือแต่กำแพงเก่าๆ เป็นซุ้มประตู มีรากต้นโพธิ์เลื้อยคลุมเหมือนจะโค่นลงมาแล้วครับ ผมเคยผ่านไปแถวนั้นบ่อยเหมือนกัน พอถึงวังนี้มองเข้าไปที่ซุ้มประตูเห็นเค้าทำเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งขนาบข้างไปตลอดแนวทั้ง 2 ด้าน ผมพยายามมองให้ลึกเข้าไปอีกก้ออนุมานได้ว่าน่าจะเป็นตึกหรืออาจจะเป็นป่ารกด้านหลังประตูพระทวารนั้น

แม้วังนี้จะสร้างมาแต่แรกมีพระนครและมีอายุมาร่วม 200 ปีเศษแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่น่าจะถูกทำลายลงแบบนี้ ผมคิดว่าเมื่อเจ้าฟ้าท่านหาพระองค์ไม่แล้ว วังนี้ถูกปล่อยร้างมายาวนานเท่าไหร่ทราบไม่ได้จนมาถูกรื้อถอน ผมว่าน่าเสียดายมากเลยครับเพราะสำหรับผมคิดว่าวังของเจ้านายในยุคแรกๆ นั้นน่าจะสร้างแบบไทยแท้ คือมีศิลปะไทยแท้และอาจเป็นศิลปะร่วมสมัยกับษิลปะกรุงศรีอีกด้วย

คาดคะเนจากความสูงของกำแพงแล้วก้อนับว่าสูงเอาการเลยนะครับ ในอดีตวังริมป้อมพระสุเมรุคงจะเป็นวังแรกๆ ของรัตนะวังหนึ่งที่มีความสวยงามเป็นสง่าอย่างมาก

อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากทราบมากๆ คือ วังเหล่านี้เมื่ออยู่มาจนถึงราวรัชกาลที่ 7 ตอนปลาย มักจะถูกดัดแปลงเกือบจะทั้งหมด แต่แทบจะทั้งหมดของทุกวังถูกทำลายทั้งองค์ อย่างเช่น วังริมป้อมพระสุเมรุ เป็นต้น ที่ดินของวังนี้เป็นที่ทรัพย์สินส่วนพระกษัตริย์แท้ๆ แล้วใครกันหนอที่บังอาจให้อำนาจในการรื้อถอนวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินนี้เสียสิ้นซาก

แต่ในจำนวนวังของเจ้านายในอดีตที่ถูกรื้อถอนไป ไม่มีวังไหนน่าเศร้าเท่า " วังบูรพา" ของ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ ได้มองได้เห็นจากภาพเก่าๆ แล้วรู้สึกได้เลยว่าพระตำหนักองค์นี้มีความสง่างามอย่างยิ่ง ทั้งศิลปะการสร้างประกอบกับความใหญ่โต ถ้าอยู่มาจนถึงปัจจุบันผมก้อมั่นใจว่า วังบูรพาน่าจะเป็นวังที่สวยงามที่สุดของไทยเลยก็ว่าได้ครับ

แม้ผมไม่ค่อยทราบประวัติที่แน่นอนของวังบูรพาแต่ได้ฟังมาว่าเมื่อสมเด็จวังบูรพาท่านเสด็จทิวงคตแล้ว วังนี้อยู่มาได้อีกไม่เท่าไหร่ก้อถึงกาลอวสานในช่วงรัชกาลที่ 8

เพราะอยู่ในเขตเมือง เขตธุรกิจ วังบูรพาถูกทำลายทิ้งไม่เหลือดีเลยครับ คราวนี้ซุ้มประตูวังก้อไม่เหลือให้เห็น มีเหลือแต่สิงหน้าประตูวังเห็นว่าเค้าย้ายไปไว้ที่ไหนไม่ทราบ แจ่ที่แน่ๆ ตอนนี้มีพวกอาม่าอยู่ในวังบูรพาเดิม ตอนนี้บริเวณวังบูรพาเป็นที่ตั้งของห้างเจ๊งๆ เก่าๆ และตึกแถวที่มีคนอาม่าอาแปะอาศัยอยู่ครับ

น่าอิจฉาอาม่าอาแปะจริงๆ เลยครับ ที่ได้มีกรรมสิทธิเหนือผืนดินของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 6 อย่างนี้
บันทึกการเข้า
หยดน้ำ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 146

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 06, 10:11

 ในส่วนของวังริมป้อมพระสุเมรุ  ผมเข้าใจว่าน่าจะถูกรื้อลง  เพื่อสร้างวังเจ้านายวังหน้า  กับข้าราชการวังหน้าในสมัยต่อมามากกว่าครับ  วังนี้จึงไม่เหลือร่องรอยเดิมครับ
บันทึกการเข้า
vun
พาลี
****
ตอบ: 374


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 11:40

 อีกวังหนึ่งครับ วังใจสวนปาริตฉัตร ผมเคยเห็นภาพในสมัยเก่าๆทรุดโทรมโกนคำบรรยาย แต่ผมก็แอบดีใจอยู่เนืองๆ เพราะปัจจุบันวังนี้ได้รับการบูรณะจนงดงามดังเดิมแล้ว

มีบางวังนะครับที่เหลือแต่เพียงซุ้มประตูอย่างวัง กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ แต่เดิมเป็นวังที่ใหญ่โตมาก ทางเข้ามีสวนปลูกบัวเป็นระยะ มีอาคารของช่างทองหลายท่านอยู่ด้านหน้า เป็นอาคารบริวาร ตัวตำหนักใหญ่เขาเล่าว่ามันตรงกับประตูทางเข้า คาดกันว่าตัวตำหนักเดิมใหญ่เเละหรูหรากันมาก แต่ถูกทำลายเพราะมีเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้น ปัจจุบันเหลือเพียงประตูวังไว้เป็นอนุสรณ์ของความใหญ่โต

วังที่ประทับของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎานั้น ก็เหลือเพียงซุ้มประตูวัง ซึ่งทุกท่านได้กล่าวไปในข้างต้นแล้ว

ต่อไปก็เป็นวังจักรพงศ์วัง จักรพงษ์ เป็นวังที่มาอายุร่วม 1 ศตวรรษ เป็นวังริมน้ำเจ้าพระยา ที่สมเด็จฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สร้างในศิลปะเเบบค่อนข้างทันสมัย

วังของพระองค์เจ้าสวัสดิ์โสภณ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ ในรัชกาลที่4ได้มีการสร้างตำหนัก กรมหลวงสวัสดิวัฒนฯได้สร้างวังในสมัยรัชกาลที่4 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6  ได้สร้างตำหนักหลังใหม่และใส่ลวดลายปูนปั้น และนำไม้ปักฉลุลวดลายอันอ่อนช้อยงดงามประดับเป็นหัวหน้าต่างดังที่เห็นในปัจจุบัน แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัง มะลิวัลย์ ในสมัยรัชกาลที่6
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 12:01

 ดิฉันมีแต่หนังสือ  ตำนานวังเก่า  พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พล อ.ต. ภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา
คุณจุลภัสสร  ลูกชาย  ให้มา

มีเล่มนี้อยู่เล่มเดียว   ถ้าคุณจขกท. ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้ เห็นทีจะต้องไปค้นคว้าต่อเอาเองละค่ะ
แต่ถ้ายังไม่ได้อ่าน  ก็ถามมาได้  ว่าอยากทราบถึงวังไหนบ้าง  เผื่อหาคำตอบเจอ ก็จะได้ตอบ

เรื่องวังบูรพา  มีหลักฐานอยู่ในหนังสือชีวประวัติของคุณหญิงมณี สิริวรสาร  ว่าทายาทตกลงขายเพื่อนำทรัพย์สินมาแบ่งกัน  
ผู้ซื้อ ซื้อเพื่อนำที่ดินตรงนั้นไปเป็นแหล่งธุรกิจ   วังจึงถูกรื้อลง เพื่อก่อสร้างอาคารพาณิชย์และโรงหนังขึ้นมาแทน  
เหลือไว้แต่ชื่อเป็นอนุสรณ์ว่าเคยมีวังตั้งอยู่ตรงนั้น
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 03:32

 วังของกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์อยู่ที่ไหนครับ หาไม่เจอ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 04:23

 ว่าแต่วังทางฝั่งธน ได้แก่ วังหลัง ( วังสวนลิ้นจี่ ) วังสวนมังคุด วังบ้านปูน 3 วังนี้หาบสาบสูญไปหมดแล้วสินะครับ เราพอจะทราบเจ้าของวังทั้ง 3 อยู่บ้าง คือ วังหลัง เป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข วังสวนมังคุดเป็นวังของกรมหลวงนรินทรรณเรศ และวังบ้านปูนเป็นของพระองค์เจ้าขุนเณร ทั้ง 3 วังเป็นของเจ้านายอาวุโสในยุคแรกสร้างกรุง แต่สำหรับพระเจ้าลูกเธอในกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข เช่น กรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี และกรมหลวงเสนีบริรักษ์ ทั้ง 3 พระองค์นี้กลับไม่ปรากฎหลักฐานว่าท่านมีวังประทับที่ไหน ทั้งๆ ที่พระนามทั้ง 3 พระองค์นี้มีปรากฎในประวัติศาสตร์ในตอนต้นกรุงฯ อยู่หลายวรรคหลายตอน
ผมทราบแต่ว่าเจดีย์ 3 องค์ทางทิศเหนือของวัดระฆังนั้น พระเจ้าลูกเธอของวังหลังทรงสร้างฯ ไว้ และผมคิดว่าวังของเจ้านายทั้ง 3 นี้น่าจะอยู่บริเวณโรงพยาบาลศิริราช แต่ไม่ทราบว่าจุดไหนเพราะแม้แต่วังของพระราชชนกยังถูกรื้อถอนไปสร้างโรงพยาบาล อันตำหนักลูกถ้าจะเหลืออยู่ก้อคงไม่น่าเป็นไปได้

อีกวังที่น่าสนใจมากก้อคือ วังบ้านปูน ของพระองค์เจ้าขุนเณร พระราชโอรสของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเช่นกัน แต่ท่านประสูติกับหม่อมนางกำนัล นัยว่าพระองค์ชายขุนเณรท่านอาวุโสพระชันษามากกว่าพระเจ้าลูกเธอทั้ง 3 ข้างต้นที่ประสูติแต่หม่อมใหญ่ พระองค์มีชื่อเสียงด้านการศึกสงครามพอดูทรงเชี่ยวชาญการรบแบบกองโจร ตามประวัติว่าพระองค์คุมทัพในสงครามเก้าทัพด้วยเช่นกัน โดยทรงเป็นกำลังเสริมในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท... เราหาวังของพระองค์ชายขุนเณรพบว่ามีอยู่จริงแต่ไม่ทราบว่าวังบ้านปูนอยู่ไหนของฝั่งธน แต่ผมเชื่อว่าน่าจะอยู่ระแวกเดียวกับโรงบาลศิริราชนะครับ แต่น่าจะอยู่ถัดไปอีก ไม่ทราบชะตากรรมว่าตอนนี้สภาพเป็นยังไงบ้าง แต่น่าจะหายไปแล้วนะครับ ท่านใดทราบช่วยบอกทีครับ

จากข้อมูลที่ผมดั้งด้นไปสืบเสาะมา มีหลายวังที่พอเข้าใจว่าอยู่แห่งหนตำบลใด แต่ก้อมีอยู่บ้างบางวังที่ไม่ทราบว่าอยู่ไหน ได้แก่

1. วังสะพานหัวจระเข้ ของกรมหลวงวรศักดาพิศาล
2. วังคลังสินค้า ของเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิทักษ์มนตรี
3. วังสนามชัน ของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
4. วังคลองตลาด ของพระองค์เจ้าจินดา
5. วังริมคลองสะพานถ่าน ของกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ

นอกจากนี้ยังมีวังประหลาดอีกพอประมาณ วังประหลาดที่ว่านี้หมายความว่า เค้าเรียกว่าวัง ปรากฎหลักฐานว่าเป็นวังหรือน่าจะเป็นวัง แต่ไม่ทราบของท่านผู้ใด ใครสร้างใครประทับอยู่ทราบไม่ได้

ที่ด้านหลังป้อมมหากาฬจะมีสิ่งปลูกสร้างคล้ายวังขึ้นนะครับ ก่ออิฐถือปูนสร้างชั้นเดียว ทาสีขาวทั้งหลัง ตอนบนทำเป็นดาดฟ้าไม่มีหลังคา ศิลปะเป็นของยุโรปครับ อิตาลี่ บ้านนี้หันหน้าออกสู่คลอง ( จำชื่อไม่ได้ ) ที่หน้าบ้านหลังนี้มีตราปูนปั้นอยู่ เป็นสัญลักษณ์บางอย่างแต่น่าจะเป็นตราประจำพระองค์แน่นอน แต่ทราบไม่ได้ว่าท่านองค์ใดอีก ผมเคยไปสอบถามคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ เค้าว่าถูกจ้างมาให้อยู่เฝ้าเท่านั้น
บ้านหลังนี้สะกิดใจผมหลายทีแล้วครับ เพราะผมเห็นมันในภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ถ่ายบริเวณป้อมมหากาฬ
ดูจากสภาพแล้วก้อโทรมในระดับหนึ่ง ซึ่งเชือว่าน่าจะเป็นตำหนักจริงๆ เพราะบ้านคนสามัญหรือคหบดีไม่น่าจะสร้างแบบนี้ และที่ยังรอดมาจนถึงทุกวันนี้ได้เพราะอยู่ในจุดที่ไม่น่าสนใจนั่นเองครับ คือหน้าชนคลองหลังชนป้อม ไม่สามารถทำมาหากินได้เลยแม้แต่น้อย

ท่านไหนอยากชมลองไปดูนะครับอยู่หล้องป้อมมหากาฬ โอกาศหน้าผมจะถ่ายรูปมาให้ชมกัน

* บ้านหลังป้อมนี้ น่าจะสร้างในราวตอนปลายรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 6 นะครับ ส่วนตราที่เห็นนั้นเป็นตราประจำชั้นพระองค์เจ้าตั้ง-หม่อมเจ้า แต่ไม่อยากปักใจว่าเป็นพระราชนัดดารัชกาลใด อนุมานได้เท่านี้แหละครับ ผมข้อมูลที่สอบถามมาไม่ได้อารัยเลย ( คนอยู่ไม่รู้เรื่อง ) *

ใครทราบข้อมูลที่กล่าวมาจะเป็นพระคุณมากเลยครับถ้ากรุณาตอบในข้อสงสัย
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 พ.ค. 06, 03:24

 แก้คำผิดนิดนิดหน่อยครับ

พระองค์เจ้าขุนเณร เป็นพระโอรสของ พระอินทรรักษา หรือหม่อมเสม ซึ่งเป็นพระภัสดาของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระยาเทพสุดาวดี พระภคินีเธอของ ร.1 ครับ

พระองค์เจ้าขุนเณร ทรงเป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี เพราะพระชาติประสูติของพระองค์นั้นเกิดกับหญิงสามัญ ซึ่งเป็นอนุภริยาในพระอินทรรักษา

ในพระยศของหม่อมเสมที่ได้รับพระราชทานมา จึงน่าจะเรียกว่า เจ้า นะครับ เพราะโอรสของท่านยังเป็น พระองค์เจ้า ได้ก้อแสดงว่าพระยศของท่านคงเทียบเท่า พระบรมวงศ์ หรือ พระเจ้าวรวงศ์

สำหรับพระองค์เจ้าขุนเณร นับว่าเป็นเจ้านายที่พระปรีชาการศึกสงครามพระองค์หนึ่ง แต่พระชีวประวัติเท่าที่สืบค้นมีน้อยมาก ไม่มีระบุเหตุของการสิ้นพระชนม์หรือพระทายาทสืบมาแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า
เจ้าสัวบ่อนไก่
อสุรผัด
*
ตอบ: 33

เรียน


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 พ.ค. 06, 13:41

 สวัสดีครับวันนี้ผมมีข้อมูลที่ได้ไปสืบค้นมาซึ่งเนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับวังเจ้านายเมื่อแรกสร้างกรุงเทพ

แบ่งเป็น 2 โซนครับคือกรุงธนฯและกรุงเทพ ทางฝ่ายกรุงธนฯ จะมีปรากฎเพียงวังเดียวเรียกว่า วังเดิม ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงสร้างในรัชสมัยของพระองค์ ต่อเมื่อได้สวรรคตแล้ว วังเดิม ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายจักรีมาอีกหลายต่อหลายพระองค์ทีเดียว ปัจจุบัน วังเดิม เป็นที่ทำการของกองทัพเรือ ชื่อใหม่ว่า นันทอุทยาน

วังทางฝั่งธน นอกจากวังเดิมแล้วยังมี วังหลังหรือวังสวนลิ้นจี่ของกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลศิริราช วังบ้านปูนของพระองค์เจ้าขุนเณร วังนี้ไม่ปรากฎว่าอยู่บริเวณใดแน่ครับ หาไม่พบ และวังสวนมังคุดของพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระนรินทรรณเรศร์ วังนี้ต่อมาเจ้าฟ้าฯกรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงซื้อและเสด็จมาประทับและสิ้นพระชนม์ในปีนั้น ปัจจุบันวังสวนมังคุดเป็นห้างร้านและกรรมสิทธิ์ของราชสกุลอิศรางกูร

นอกจากวังเดิมแล้วทั้ง 3 วังดังกล่าวถูกรื้อถอนไม่เหลือสภาพอีกแล้ว

ต่อไปเป็นวังของฝ่ายพระราชวงศ์จักรีบ้าง

1. วังริมป้อมพระสุเมรุ ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมหลวงจักรเจษฏา พระราชอนุชาของรัชกาลที่ 1 วังนี้สร้างขึ้นเมื่อแรกสร้างกรุงตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามป้อมพระสุเมรุ โดยแต่เดิมเป็นทีป่ระทับชั่วคราวของกรมพระราชวังบวรสถานมหาสุรสิงหนาท ต่อมา ร.1 โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงจักรฯ เสด็จมาประทับต่อเพื่อให้ทรงรักษาการพระนครทางเหนือ ได้ประทับวังนี้ตราบสิ้นพระชนม์ ภายหลังการสิ้นพระชนม์ไม่ปรากฎว่ามีเจ้านายท่านใดมาประทับอยู่ เนื่องจากเจ้าที่แรง ทำให้วังนี้ร้างมาตลอด แต่เชื่อว่าในช่วงเวลาต่อมาบริเวณทางด้านในของวังนี้ถูกรื้อเพื่อสร้างวังใหม่ๆ ขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบวรวงศ์เธอหลายรัชสมัยและน่าจะหลายพระองค์

*ปัจจุบันวังริมป้อมสุเมรุได้รื้อถอน ไม่ปรากฎหลักฐานในองค์พระตำหนัก เหลือเพียงซุ้มประตูวังก่ออิฐ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามทางเข้าโรงเรียนวัดสังเวช บางลำภู ถนนพระอาทิตย์*

มีต่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง