pipat
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 23 พ.ค. 06, 14:42
|
|
ขอบพระคุณในน้ำใจไมตรีที่พี่ๆ ทุกท่าน มีให้น้อง
แบบนี้เห็นจะเก็บเบี้ยใต้ถุนร้านแถวนี้ได้อีกพะเรอเกียน แต่ว่าคุณอั๊บเลิกเลี้ยงกาแล้วนา.... ผมเป็นโรคแพ้นกดำเสียด้วย โดยเฉพาะเจ้า black bird sr 71 สุดสวยตัวนั้น
สัตว์ทั้งสี่นี้ ผมยังไม่เชื่อว่าหมายถึงประเทศหนึ่งประเทศใดทางภูมิศาสตร์ เพราะล้อมรอบพระเจดีย์อันเป็นประธานแห่งอาณาบริเวณ ในตำแหน่งที่เป็นไปตามคติโบราณ ดูจากฝีมือช่างก็เห็นจะใหม่ แถวๆร้อยปีต้นๆ ไม่น่าจะข้ามไปถึงรัชกาลที่ 4 ใครมีตำนานวัดบวรฯ ช่วยค้นดูได้ใหมครับ ว่าสร้างสมัยใหน และหันทิศตามนี้ใหม สิงห์ : สิงคโปร์ .............ทิศใต้ ม้า : พม่า ....................ทิศตะวันตก นก : โยนก ..................ทิศเหนือ ช้าง : ล้านช้าง ..............ทิศตะวันออก
โยนก คือ ประเทศเชียงใหม่ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 23 พ.ค. 06, 22:18
|
|
ตอบเท่าที่พอทราบก่อนนะครับ เรื่องทิศนี้พระอุโบสถวัดบวรฯหันหน้าไปทางทิศเหนือ พระเจดีย์องค์นี้อยู่ที่ด้านหลังพระอุโบสถ ตามแผนผังวัดซึ่งพบบ่อยในรัชกาลที่ 4 ตามแนวคิดที่ว่า นอกจากได้ไหว้พระพุทธรูปในพระอุโบสถแล้วยังได้สักการะพระบรมสารีริกธาตุในเวลาเดียวกันด้วย สัตว์ทั้ง 4 ที่อยู่รอบพระเจดีย์นั้นจะอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของพระเจดีย์ดังนั้นทิศที่สัตว์ทั้ง 4 อยู่จะไม่ตรงทิศสักทีเดียวโดย สิงห์ จะอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ม้า จะอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ นก จะอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ช้าง จะอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็เรียงตามประเทศซึ่งอยู่รอบประเทศไทยได้อย่างถูกต้องนะครับ ส่วนมงกุฏเหนือนภศูลยอดปรางค์ที่คุณ up กล่าวถึงเป็นมณฑปยอดปรางค์ซึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 4 ครับ ปล. แหะๆประวัติวัดบวรฯอันนี้ลืมหมดแล้วคงต้องฝากคนอื่นตอบไปก่อนละครับ ถ้าว่างๆจะไปเปิดหนังสือดูครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
UP
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 24 พ.ค. 06, 01:48
|
|
ตอนนี้กาหาเลี้ยงยากขึ้นทุกวันครับคุณพิพัฒน์ เพราะท่านว่าที่อากาศบริสุทธิ์เท่านั้นกาถึงจะอยู่ได้ สมัยนี้หาได้เสียที่ไหน ตกลงว่าไม่ส่งกาไปแล้วครับ แค่เงื้อง่าจะเปิดกรง แหย่คุณพิพัฒน์เล่นเท่านั้นเอง ฉะนั้น สบายใจได้ ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากมหาดเล็กไล่กาแต่อย่างใด เดชะบุญ พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหารไม่มีรูปกาคาบข่าว ไม่งั้นคงต้องหาหน้ามาทางบ้านผม
ขอบคุณคุณนทีสีทันดรด้วยที่ช่วยอธิบายว่าปรางค์นั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ ผมไม่แน่ใจว่าปรางค์ดังกล่าวสร้างเมื่อไหร่ ดูแล้วไม่น่าจะเก่า แต่จำได้ว่าพระบรมราชานุสาวรีย์ในนั้นเป็นของใหม่ รู้สึกว่าผู้เป็นต้นคิดจัดการให้เชิญพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ มาประดิษฐานที่พระเจดีย์นี้คือ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 24 พ.ค. 06, 09:17
|
|
สร้างเมื่อสองพันห้าร้อยสิบกว่าๆ ครับ ท่านหญิงพูนทรงระดมทุนซ่อมพระบรมรูปฝีมือพระเทพรจนาที่(ถูกฟ้าผ่า-ไม่แน่ใจ) ชำรุด แล้วเลยให้กรมศิลปากรหล่อเป็นโลหะ เรื่องสร้างพระบรมรูป มีประเด็นน่าถกอยู่ไม่น้อย ผมพร้อมเมื่อไรจะชวนคุยเรื่องขรัวอินโข่ง จะมีเรื่องนี้แทรกด้วย อันนี้เป็นการโฆษณาล่วงหน้า คุณนทีจะเก็บค่าป่วยการหรือเป่าก็ไม่รู้ ฮิฮิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:35
|
|
สองสามวันนี้ คิดถึงคุณpipat และคุณนทีสีทันดร ขึ้นมาจับใจ ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไร เลยเรียกกระทู้เก่าๆขึ้นมาดู ว่าแล้วก็ไปพบไปเจอกระทู้นี้ของคุณนทีเข้า ก็เลยเข้ามาอ่านทบทวนเรื่องสัตว์ทั้งสี่ดูซ้ำอีกรอบ เพราะช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมานี้ผมมีโอกาสเดินทางไปนู่นมานี่อยู่หลายครั้ง เลยได้ภาพสัตว์ทั้งสี่มาเพิ่มอีกบ้าง ขออนุญาตเอามาฝากคุณpipat กับคุณนทีสีทันดรให้หายคิดถึงซักหน่อยแล้วกันนะครับ
เริ่มจากภาพแรก สัตว์ทั้งสี่ ณ สระอโนดาต ณ วัดโบสถ์สามเสน ครับ น่าจะเป็นจิตรกรรมในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา มั้งครับ
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:37
|
|
 .
จากวัดเดิม ช้างตัวนี้ดื่มน้ำจากปากช้างครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:41
|
|
.
และสิงห์คู่นี้ที่ดื่มน้ำจากปากสิงห์ครับ (มีสมาชิกท่านหนึ่งในบอร์ดพูดไว้ว่า "สิงห์ตัวซ้ายเป็นภรรยา กำลังประกอบกิจวัตรประจำวันในการเป็นครูที่ดี-แต่น่าเบื่อ-อยู่ สิงห์ตัวขวาก็เลยต้องตกที่นั่งในบทสวามีตามระเบียบน่ะครับ อิอิ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:44
|
|
 .
ภาพหลุดครับ ผมยังย่อไม่พอ
ก็ดีเหมือนกันครับ เพราะมีรายละเอียดสำคัญที่ลืมกล่าวถึงไปในความเห็นเพิ่มเติมที่ 19 ครับ เนื่องจากสัตว์ทั้ง 4 ในจิตรกรรมที่นี่ประกอบด้วยสัตว์ที่แปลกออกไปเล็กน้อย เนื่องจากใช้ "คชสีห์" แทนสิงห์" น่ะครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:49
|
|
 .
ภาพอีกชุดหนึ่งครับ จากชั้น 2 ของตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาครับ ภาพจิตรกรรมชุดนี้เขียนอยู่บนผนังสะกัดเหนือบานหน้าต่าง ทางด้านที่หันออกสู่แม่น้ำครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:51
|
|
 .
สิงห์ที่มาดื่มน้ำจากปากสิงห์ จากวัดเดิมครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:53
|
|
 .
โคที่มาดื่มน้ำจากปากโค ครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 23 ก.ย. 06, 20:54
|
|
 .
สิงห์อีกซักตัวครับ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:53
|
|
 มาช่วยคุณติบอขุดกระทู้ครับ อันนี้เป็นช้าง ม้า สิงห์ โค ในลังกา น่าจะสมัย โปลนนารุวะ ราวพุทธศตวรรษที่ 16
ช้าง ม้า สิงห์ โค เป็นสัญลักษณ์ของสระอโนดาตครับ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำในสระนี้ไหลออกจากปากสัตว์ทั้งสี่ นอกจากนี้ยังมีหงษ์ซึ่งเชื่อกันว่าประจำอยู่ทิศเบื้องบนด้วย
สระอโนดาตนี้เชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคต่างๆได้ทั้งทางกายและทางใจ คิดว่าถ้าใครปวดใจนักแล้วคิดสั้นไปโดดสระอโนดาตก็คงจะคิดได้ |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 10:55
|
|
 บางคนก็บอกว่าลวดลายที่ปรากฏบนอัฒจันทร์นี้ หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิด ก็คงคล้ายๆภวจักรของพุทธศาสนามหายาน |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
กุรุกุลา
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 25 ก.ย. 06, 11:10
|
|
แต่ในความคิดของผม ถ้าสระอโนดาตเป็นที่ชำระบาดแผลได้ทั้งใจและกายจริง (เน่ามากเลย)
ก็น่าจะหมายถึงการอำนวยอวยชัย หรือชำระร่างกายและจิตใจก่อนเข้าสู่ศาสนสถานมากกว่า
ขอยอมรับผิดไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ความคิดเห็นที่ 27 เป็นอัฒจันทร์สมัยอนุราธปุระ ไม่ใช่โปลนนารุวะ รีบร้อนไปหน่อยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|