เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7872 เจ้าคุณชูโต
ทูรวาสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 20 พ.ค. 06, 22:56

 ขอความกรุณาท่านอาจารย์ผู็้้มีความรู้ ช่วยให้ข้ิอมูลเกี่ยวกับเจ้าคุณชูโต อันเป็นต้นตระกูล ของหลายๆ สกุลทีีี่มีความสำคัญกับประวัติศาสตร์ ด้วยครับ
ผมมีข้ิอสงสัยเกี่ยวกับสกุลทางสายนี้ว่า ทำไมถึงแยกย่อยออกเป็นหลายสาย แล้วแต่ละสายมีความสำคัญอย่างไรครับ ทำไมถึงแตกต่างจากทางสกุลบุนนาคที่ไม่แตกแยกย่อยนัก

โดยส่วนมากแล้วผมมักจะอ่านเจอแต่ทางด้านสาย ทางเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสง-ชูโต)ซึ่งเคยอ่านเจอว่าท่านไม่มีลูกหลาน แล้วคนที่ใช้นามสกุลนี้อยู่ในปัจจุบัน
น่าจะสืบชื้ิอสายมาทางใครเป็นหลักครับ
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:41

 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ "อธิบายราชินิกุลบางช้าง" ว่า พระญาติของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี เป็นราชินิกุลก่อนสกุลอื่น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะสมเด็จพระ อมรินทราบรมราชินี ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระองค์แรก เมื่อสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระญาติของสมเด็จพระอมรินทร์ฯ ก็ขึ้นสู่ฐานะเป็นราชินิกุลตั้งแต่นั้นมา หรือถ้าว่าโดยการนิยม ราชินิกุลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นปฐม และที่เรียกกันว่า "ราชินิกุลบางช้าง" เพราะพระญาติวงศ์ขององค์สมเด็จพระอมรินทร์ฯ โดยมาก ตั้งนิวาสสถานอยู่สืบกันมาในแขวงอำเภอบางช้าง เขตจังหวัดสมุทรสงคราม แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แม้องค์สมเด็จพระอมรินทร์ฯ ก็ทรงสมภพและได้ตั้งพระนิวาสสถานอยู่ ณ บางช้าง มาแต่เดิม ตรงที่ทรงสร้างวัดอัมพวันเจติยาราม ตำบลอัมพวา อำเภอบางช้าง

ราชินิกุล หมายถึง พระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี และถือเอาการที่ถวายตัวทำราชการ (คือได้รับเบี้ยหวัด) เป็นสำคัญ สกุลบุนนาคเกี่ยวเป็นราชินิกุลเฉพาะผู้สืบสายจาก เจ้าคุณนวล ซึ่งเป็นน้องของสมเด็จพระอมรินทร์ฯ เจ้าคุณนวลซึ่งเรียกกันว่า เจ้าคุณโต ได้สมรสกับ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) (เดิมเขียนว่า "อัครมหาเสนา" แต่ สมเด็จพระมงกุฏฯ ทรงอักษรว่า "อรรคมหาเสนา" จึงเขียนตามท่าน) บุนนาคสายนี้จึงเป็นราชินิกุล

บรรดาราชินิกุล ซึ่งเป็นพระพี่และน้องของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมัยรัชกาลที่ ๔ เรียกในราชการว่า "เจ้าคุณพระอัยยิกา" ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า "เจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ ๑"

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงยกย่องราชินิกุลเจ้าคุณนวลยิ่งกว่าราชินิกุลบางช้างวงศ์อื่น เพราะเหตุที่เจ้าคุณนวลได้อภิบาลพระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์ บุตรธิดาเจ้าคุณนวลมียศเป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ ชั้นที่ ๒

สมเด็จพระอมรินทร์ฯ ทรงพระนามเดิมว่า "นาก" พระชนกท่านชื่อ "ทอง" ถึงแก่พิราลัยตั้งแต่สมัย กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระชนนีทรงพระนามเดิมว่า "สั้น" ภายหลังทรงผนวชเป็นรูปชี มีพระชนม์มาจนรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาถวายพระนามว่า สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี พระโอรสธิดาของสมเด็จพระรูปฯ มี ๑๐ องค์ด้วยกัน คือ

       ที่ ๑ เจ้าคุณหญิงแวน ไม่มีบุตร
       ที่ ๒ เจ้าคุณหญิงทองอยู่ เรียกกันว่า เจ้าคุณผู้ใหญ่ ท่านเป็นภรรยาของท่านตาเจ้าขุนทอง ในราชินิกุลสาย สาขา มีบุตรธิดานับเป็นราชินิกุลชั้นที่ ๒ คือ
               ๑) เจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี (สังข์) ที่สมุหพระกลาโหม ในรัชกาลที่ ๒ แต่ไม่มีทายาทสืบสกุล และ
               ๒) ธิดาชื่อ หงส์ เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๑

       ที่ ๓ เจ้าคุณชายโต มีภรรยาชื่อทองดี มีธิดาชื่อคุณหญิงม่วง เป็นภรรยาพระยาสมบัติบาล (เสือ) มีบุตรธิดา ๗ คน ใช้นามสกุลว่า "ชูโต" แต่บุตรคนที่ ๖ ชื่อสวัสดิ์ ซี่งต่อมาเป็นพระยาสุรเสนา ในรัชกาลที่ ๔ ใช้นามสกุลใหม่ว่า "สวัสดิ์-ชูโต" และบุตรของพระยา สุรเสนาที่ชื่อ "แสง" ซึ่งต่อมาเป็นพระยาสุรศักดิ์มนตรี ในรัชกาลที่ ๕ ใช้สกุลใหม่ว่า "แสง-ชูโต"
       ที่ ๔ สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๕ พระองค์ ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียกว่า "วงษ์ษากยราช"

       ที่ ๕ เจ้าคุณชายแตง หามีบุตรไม่
       ที่ ๖ เจ้าคุณหญิงชีโพ มีบุตรชื่อหง ไปอยู่พม่า
       ที่ ๗ เจ้าคุณชายโพ หามีบุตรไม่
       ที่ ๘ เจ้าคุณหญิงเสม หามีบุตรไม่
       ที่ ๙ เจ้าคุณหญิงนวล เป็นภรรยาของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) บุตรหลานของท่านใช้นามสกุลว่า "บุนนาค"
       ที่ ๑๐ เจ้าคุณหญิงแก้ว คนทั้งหลายเรียกว่า "เจ้าคุณบางช้าง" บุตรหลานใช้นามสกุลว่า "ณ บางช้าง"

พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทั้ง ๑๐ ท่านนี้นับเป็นชั้นที่ ๑ ไม่มีบุตรธิดาสืบสกุล ๖ วงศ์ เหลือเพียง ๔ วงศ์ เป็นราชสกุล ๑ วงศ์ คือ สายของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ เป็นราชวงศ์จักรี นอกจากนั้นเป็นราชินิกุลสายตรง ๓ วงศ์ ได้แก่ สายเจ้าคุณชาย ชูโต เป็นต้นสกุลชูโต สวัสดิ์-ชูโต และแสง-ชูโต สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล เป็นสกุลบุนนาค และสายเจ้าคุณหญิงแก้วเป็นสกุล ณ บางช้าง ส่วนพระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งมีนิวาสสถาน อยู่ในตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นพระนิวาสสถานเดิมนั้นเรียกว่า ราชินิกุลบางช้าง ซึ่งแยกเป็น ๒ สาย ได้แก่ ราชินิกุลบางช้างสายตรง คือ ผู้สืบวงศ์ลงมาจากพระชนกชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี กับราชินิกุลสายสาขาคือ ผู้สืบวงศ์นอกจากสายตรง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายความหมายของคำว่า "ราชินิกุล" ต่างกับคำว่า "ราชนิกุล" ดังนี้ ราชนิกุล หมายถึงเป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมชนกนาถ ราชินิกุล เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี ต่างกันอีกอย่างหนึ่ง คือ ราชนิกุล ย่อมเป็นเชื้อเจ้า เพราะสืบสายลงมาจากเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ในพระราชวงศ์ร่วมสกุลอันเดียวกัน ดั่งใช้นามสกุลว่า ณ อยุธยา อยู่ในปัจจุบันนี้ แต่ราชินิกุลนั้น เพราะสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ย่อมมีพระญาติเป็นสกุลอื่นต่างกันทุกองค์ ราชินิกุลจึงมีหลายสกุล

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ได้ทรงออกพระราชบัญญัติขนานนามสกุล กำหนดให้ภายใน ๖ เดือน ให้หัวหน้าครอบครัวทุกครัวเรือน เลือกสรรถือเอาชื่อสกุลอันหนึ่งแล้วให้จดทะเบียนชื่อสกุลนั้น ณ ที่สำนักงานอำเภอท้องที่ของตน ฯลฯ พระราชบัญญัตินี้ทำให้คนไทยทุกคนในพระราชอาณาจักรสยาม ต้องมีนามสกุลใช้ และต้องเรียกขานชื่อตัวและชื่อสกุลตั้งแต่วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นต้นมา

ส่วนข้าราชบริพาร ข้าราชการ และเจ้านายทั้งหลายได้ขอพระราชทานนามสกุล กราบทูลประวัติของบรรพบุรุษ ของตน ตำแหน่งหน้าที่ราชการขอพระราชทานนามสกุล ให้เป็นศิริมงคลเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล


เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ซึ่งสืบสายสกุลมาจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) ขอพระราชทานนามสกุลว่า "บุนนาคนวล" เพื่อให้มีนามเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) และนามของเจ้าคุณพระราชพันธุ์ (นวล) ราชินิกุลบางช้าง ติดอยู่ในนามสกุล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลว่า "บุนนาค" ให้บุตรหลานของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ใช้ได้ทุกคน ส่วนบุตรหลานของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ที่ปรารถนาจะตั้งสกุลขึ้นใหม่ ได้ขอพระราชทานนามสกุล และได้รับพระราชทานตั้งให้ใหม่ ได้แก่

๑. พระยาราชสมบัติ (เอิบ) บุตรพระยาวิเศษโภชนา (จีน) หลานพระยาอรรคราชนารถภักดี (เมือง) เหลนเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ขอพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "บุรานนท์" โดยเอานามพระยาอรรคราชนารถภักดี (เมือง)  
๒. จมื่นเสมอใจราช (เจ๊ก) บุตรหลวงแก้วอายัติ (จาด) ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ขอพระราชทานนามสกุลใหม่ ได้พระราชทานว่า "จาติกรัตน์"  
๓. เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด) สมุหพระตำรวจ เหลนเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ในขณะนั้นยังเป็นพระยาราชวัลภานุสิษฐ์ ขอพระราชทานนามสกุล ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ศุภมิตร"  

เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณหญิงนวล เป็นสกุลบุนนาคชั้นที่ ๑ และท่านทั้งสองมียศเป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ ๑ ด้วย

สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ ๒ ได้แก่ สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) และสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) ตามลำดับ ซึ่งคนทั่วไปเรียกนามท่านคู่กันว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่และสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย"

สกุลบุนนาคชั้นที่ ๓ แยกออกเป็นสกุลบุนนาคสายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งผู้สืบสกุลโดยตรงคือ บุตรของท่านและท่านผู้หญิงจันทร์ คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๔ ส่วนสายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา พิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) มีผู้ที่สืบเชื้อสายสายตรง คือ พระสุริยภักดี (สนิท บุนนาค) ซึ่งเกิดด้วยท่านผู้หญิงน้อย แต่พระสุริยภักดี เจ้ากรมตำรวจได้ถึงแก่กรรมในรัชกาล ที่ ๓ เมื่ออายุเพียง ๒๗ ปี บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยที่เป็นผู้นำสกุล ได้แก่ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) พระยาอิศรานุภาพ (เอี่ยม บุนนาค) และพระยานานาพิธภาษี (โต บุนนาค) ตามลำดับ

สำหรับสกุลบุนนาคชั้นที่สี่ ผู้สืบสกุลโดยตรง คือ บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์ ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม ในรัชกาล ที่ ๕ และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) บุตรของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) กับเจ้าคุณหญิงเป้า ซึ่งเป็นที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ ๕

สกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ห้า มีผู้สืบเชื้อสายคือ บุตรชายของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม ได้แก่ พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค) เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) และพระยาราชานุวงศ์ (เล็ก บุนนาค) ตามลำดับ แต่พระยาประภากรวงศ์ (ชาย) ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๕ ทายาท สายตรงของสกุลในชั้นนี้จึงได้แก่ เจ้าพระยาสุรวงศ์ วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ ส่วนพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) มีบุตรกับคุณหญิงเลื่อน คือ วิเชียร เป็นผู้สืบสกุล ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์เช่นเดียวกับปู่และบิดา

ผู้สืบสกุลบุนนาคสายตรงชั้นที่ ๖ ได้แก่ บุตรชายของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับท่านผู้หญิง ตลับ คือ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) และพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) ตามลำดับ พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ ได้เป็นผู้นำของตระกูลนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เมื่อท่านบิดาถึงแก่อสัญกรรม

สำหรับผู้ที่จะเป็นผู้นำในการสืบสกุลบุนนาคสายตรงนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้นั้นเป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลบุนนาค คือ อัฐิเจ้าคุณพระราชพันธุ์ผู้เป็นต้นสกุล ได้แก่ อัฐิของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณนวล และสิ่งของบางอย่างซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวแต่ละพระองค์พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาฯ อาทิเช่น พระทนต์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งได้พระราชทานให้เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เก็บรักษาไว้เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่ สมบัติดังกล่าวนี้รักษามาตั้งแต่ครั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมอบให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) รักษาสืบต่อมา เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมา และเมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น บุนนาค) เป็นผู้รักษาสมบัติสำหรับสกุลสืบต่อมาจนถึงแผ่นดินสมัยรัชกาล ที่ ๖

ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้นามสกุลบุนนาคมากมายทั่วประเทศไทย โดยที่บางคนอาจจะไม่รู้จักกันเลยแม้อยู่ในสกุลเดียวกัน มีทั้งผู้ที่สืบเชื้อสายโดยทางตรงและโดยสายสาขา สำหรับบุตรหลานที่สืบสายสกุลทางสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ และสายสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยนั้น มีผู้สืบ สายต่อกันมาถึงลำดับชั้นที่ ๙-๑๐ แล้ว และมีหลายท่าน ที่สมรสกันในสายเดียวกันและระหว่างสายเหมือนต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกผล เมล็ดพืชพันธุ์ได้ขยายออกไปเติบโตในท้องถิ่นต่างๆ ฉันนั้น
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:44

 ที่มา http://www.bunnag.in.th/  
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:53

 ราชินิกุลสายตรง ๓ วงศ์ ได้แก่ สายเจ้าคุณชาย ชูโต เป็นต้นสกุลชูโต สวัสดิ์-ชูโต และแสง-ชูโต สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล เป็นสกุลบุนนาค และสายเจ้าคุณหญิงแก้วเป็นสกุล ณ บางช้าง ส่วนพระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งมีนิวาสสถาน อยู่ในตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นพระนิวาสสถานเดิมนั้นเรียกว่า ราชินิกุลบางช้าง ซึ่งแยกเป็น ๒ สาย ได้แก่ ราชินิกุลบางช้างสายตรง คือ ผู้สืบวงศ์ลงมาจากพระชนกชนนีของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี กับราชินิกุลสายสาขาคือ ผู้สืบวงศ์นอกจากสายตรง

ที่ ๓ เจ้าคุณชายโต มีภรรยาชื่อทองดี มีธิดาชื่อคุณหญิงม่วง เป็นภรรยาพระยาสมบัติบาล (เสือ) มีบุตรธิดา ๗ คน ใช้นามสกุลว่า "ชูโต" แต่บุตรคนที่ ๖ ชื่อสวัสดิ์ ซี่งต่อมาเป็นพระยาสุรเสนา ในรัชกาลที่ ๔ ใช้นามสกุลใหม่ว่า "สวัสดิ์-ชูโต" และบุตรของพระยา สุรเสนาที่ชื่อ "แสง" ซึ่งต่อมาเป็นพระยาสุรศักดิ์มนตรี ในรัชกาลที่ ๕ ใช้สกุลใหม่ว่า "แสง-ชูโต"

ถ้าจำไม่ผิดเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสง-ชูโต) จะเป็นบุตรของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง) ต้นสกุล "แสง-ชูโต"

ดังนั้นผู้ที่ใช้นามสกุล "แสง-ชูโต" ก็คือผูที่สืบเชื้อสามาจากพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง) ต้นสกุล "แสง-ชูโต"
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:56

ลายพระหัตถ์ ร.6
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:57

ลายพระหัตถ์ ร.6
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 18:58

หอพระธาตุมณเฑียร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิของ
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี สมัยรัชกาลที่ ๑
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 19:00

ภายในหอพระธาตุมณเฑียร
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 19:04

เจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
บันทึกการเข้า
พระยาสุเรนทร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 71


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 31 พ.ค. 06, 19:38

 ความเห็นที่ 1 กับ 3
เจ้าคุณชายโต ผิดนะครับ
ต้องเป็น เจ้าคุณชายชูโต
ขออภัย    
บันทึกการเข้า
ทูรวาสี
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 มิ.ย. 06, 01:13

 ขอบพระคุณครับ
แต่ผมยังอยากทราบว่าอันที่จริงแล้ว ท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม) ท่านไม่มีผู้สืบสกุล จริงรึเปล่าครับ
ถ้างั้น ผู้ที่ใช้นามสกุลนี้อยู่ในปัจจุบัน ก็น่าจะเป็นทายาทจากน้องชายของท่าน ใช่รึไม่ครับ
รึว่าท่านมีทายาทสืบสกุล แต่ไม่ใช่สายหลัก เพราัะเท่าที่อ่านมา ท่านไม่มีบุตรกับคุณหญิงของท่าน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.086 วินาที กับ 19 คำสั่ง