เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 53032 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:16

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 143

ค.ห.139
ฮิฮิ คุณหยดน้ำคะ แหมโตะใจหมดเลย

เราถกกันเพื่อกระชับสัมพันธ์นะคะ ส่วนตัวเห็นว่าข้อความในแบรคเก็ตข้างล่างนี้ น่าจะละได้
โดยไม่ทำให้ความหมายตกหล่นแต่อย่างใด เหตุผลคือมีบริบทก่อนหน้าและตามหลัง
โคตนี้ อีกทั้งข้อความในโคต ก็มีการแจกแจงข้อบกพร่องของตัวละครแต่ละท่านเรียง
ลำดับกัน เมื่ออ่านทั้งหมด น่าจะได้ใจความสมบูรณ์ดีอ่ะ

"...[การแผ่นดินไปข้างหน้า ไม่เห็นผู้ใดที่จะรักษาแผ่นดินได้] กรมขุนเดชเล่า
ท่านก็เป็นคนพระกรรณเบา ใครจะพูดอะไรท่านก็เชื่อง่ายๆ จะเป็นใหญ่โตไปไม่ได้
กรมขุนพิพิธเล่า ก็ไม่รู้จักการงาน ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้.........

โดย: Rinda  [IP: 124.121.188.223,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 12:13:31
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:16

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 144

พระหัตถเลขา
สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรีฯ ถึงพระโอรส (ทูลหม่อมบริพัตรฯ)
ขณะทรงประทับอยู่ ย.ร.

“วันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 116

ถึงลูก

ด้วยแม่ผัดว่าจะตอบหนังสือของลูก ฉบับ ล.ว. 5 ก.ค. นั้น เผอิญมีธุระจุกๆจิกๆ
ไม่ปรุโปร่งหัวใจ พึ่งจะได้ฤกษ์เขียนวันนี้

เรื่องที่พระนายเสมอใจ เขาสอนว่าให้รักใคร่ทูนหม่อมโตนั้น เป็นเพราะแม่สั่งเขา ไปด้วย เพราะแม่รู้อยู่เต็มใจว่า ชาวฟากข้างโน้นนั้นเป็นที่รังเกียจของเจ้านายเป็น อันมาก
เพราะผู้ใหญ่บางคนทำชั่วไว้ ความชั่วเลยมาแปดเปื้อนแก่ลูกหลานต่อมา
แลพวกเหล่านั้นกองพันโตหนักด้วย ปรการหนึ่ง ตัวของลูกก็ไม่ใช่เป็นเจ้านาย อย่างสามัญ ความรแวงสงสัยมันอาจต้องเกิดขึ้น เพราะเป็นเจ้าฟ้าปัญญาดี และมี ญาติข้างแม่มาก
......................ต้องทำให้ทูนหม่อมโตท่านรักใคร่ไว้วางพระทัยจริง ให้ปรากฏแก่ตาคนทั้งหลายมากๆเท่านั้น.....................”

โดย: Rinda  [IP: 124.121.188.223,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 12:19:05
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:16

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 145

เรียนถามอาจารย์เทาฯอย่างชัดๆเลยครับ ว่า
1 "พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ไม่มีศาสนา, ไม่มีศีล, ไม่มีธรรม, วัน ๑ อาจพูดอย่างหนึ่ง, อีกวันหนึ่งอาจกลับกลอกเสียก็ได้, และฃ้าพเจ้าจะไม่ลืมเลย ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ ลิเอาราชอาณาเฃตต์ฃองพระราชวงศ์จักรีไปฃายฝรั่งเสีย ๓-๔ คราวแล้ว"
2 " ท่านใช้เราเป็นบรรไดขึ้นถึงที่สูงได้แล้ว ท่านจะเตะบรรไดเสีย"
ผมไม่เชื่อทั้งสองข้อครับ

สำหรับเรื่องลูกประคำนั้น
ถ้าพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง จะมอบราชสมบัติให้ใคร แค่หยิบลูกประคำผิด เห็นจะเปลี่ยนชะตากรรมไม่ได้มังครับ

พระบรมราชโองการนัดสุดท้ายนั้น ผมอ่านอย่างคนโง่ ก็คงได้ความว่า มี "สอง" พระองค์เท่านั้นที่เหมาะสม
พระองค์หนึ่ง รีบทำคำปฏิญานถวาย(แต่ไม่ใช่ว่าเพราะกระสันในราชบัลลังก์) ส่วนอีกพระองค์หนึ่ง ข้อกล่าวหารุนแรงจนแก้ไม่ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลบุนนาคกับพระภิกษุเจ้าฟ้าฯ นั้น ให้ไปดูเรื่องราวการสร้างวัดดอกไม้
และให้ไปค้นว่า ทำไม ร. 4 พระราชทานนามวัดแห่งหนึ่งว่าวัดมหาพฤฒาราม

คำเล่าของเซอร์ออร์ด เหมือนกับคำเล่าของปาเลกัวส์
นักปราชย์ไทยยืนยันอย่างนี้มาตั้งร้อยปีแล้ว ผมยังไม่เชื่อ ทำไมต้องมาเชื่อฝรั่ง 2 คนนี้

ผมอ่านข้อความของคุณรินดาไม่แตก ท่านใช้สำนวนล้ำลึกเกินสมองน้อยๆ ของผมจะทานทนได้

โดย: pipat  [IP: 58.9.189.196,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 13:04:35
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:17

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 146



สมองตื้นๆของดิฉันก็ไม่อาจทานทนความล้ำลึกแห่งคำถามของคุณพิพัฒน์ได้เหมือนกัน

เลยตอบไปเสียอีกทาง คนละเรื่องกันเลย เพิ่งเลี้ยวกลับมาได้ตอนคุณพิพัฒน์ยอมเฉลยข้อสอบในค.ห. ข้างบนนี้เอง

ใครที่ติดตามอ่านมาแต่แรก กรุณาข้ามค.ห. 137 ไปนะคะ



คุณพิพัฒน์ คำถามของคุณเป็นปริศนาข้อโตสำหรับดิฉันมาตั้งแต่อ่านหนังสือครั้งแรก

ดิฉันยังหาข้อมูลไม่ได้ว่า ๓-๔ คราวนั้นคือคราวไหนบ้าง นอกจากคราวแรกที่เคยเล่าให้ฟังแล้ว



คำตอบเท่าที่หาให้ตัวเองไปพลางๆก่อน ก็คือ สิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงเข้าใจนั้น ย่อมมีต้นสายปลายเหตุอยู่ ไม่ใช่แค่คำเพ็ดทูลลอยๆ หรือข่าวลือหาตัวผู้เล่าไม่ได้ เพราะถ้ามีแค่นั้น บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์อย่างพระองค์ท่าน มีหรือจะทรงเชื่อแน่นแฟ้น

แต่ปัญหาก็คือ "ต้นสายปลายเหตุ" ย่อมมองได้หลายมุม ยิ่งเป็นเรื่องตัวบุคคลแล้ว มองในแง่บวกก็ได้ลบก็ได้ เพราะมนุษย์ปุถุชนนั้นจะทำให้ถูกใจคนอื่นไปเสียทุกเรื่องย่อมเป็นไปไม่ได้



นาย ก. ยื่นเงินให้นาย ข. 1000 บาท นายข.จะซาบซึ้งน้ำใจเพื่อนว่าอุตส่าห์ควักกระเป๋าให้ตั้งหนึ่งพันบาท หรือจะนึกสวดในใจว่า ไอ้นี่ขี้เหนียวให้มาพันเดียวเอง ก็เป็นได้ทั้งสองทาง



เรื่องของบุคคลที่ทรงเห็น เอาเป็นว่าทรงมองในแง่ลบ ดิฉันเชื่อว่าทรงเห็นอย่างนั้นจริงๆ แต่ว่าสิ่งที่ทรงเห็นนั้น'จริง' หรือไม่ อันนี้ไม่กล้าฟันธง ใครจะกล้า?



ส่วนเรื่องที่ว่าเชื้อพระวงศ์หนุ่มอาจเอื้อมดอกฟ้าชั้นพระอนุวงศ์ จนกลายเป็นเหตุลุกลามนั้น เอาเป็นว่าไม่เชื่อละกัน



ป.ล. สนทนากับคุณพิพัฒน์บ่อยเข้า ชักติดเชื้อหวัดคำว่า "ไม่เชื่อ" หรือ"เชื่อ" มาหลายคำแล้ว หวังว่าคงไม่ร้ายแรงอย่างไข้หวัดนก



โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  

วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 13:38:45
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:17

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 147

เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ นั้น
ผมเรียนตามตรงว่า ทรเป็นพระมหากษัตริย์ที่ "โลดโผน" เกินกว่ามาตรฐานพระราชวงศ์ยุคนั้นจะตามทัน อันนี้สดุดีนะครับ
ดูเอาเถิด ท่านจะประกาศสงคราม ท่านยังต้องรอวันเสาร์ และทรงชุดสีม่วง ใครเคยอ่านที่ท่านเอ็ดมหาดเล็กคนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) ท่านว่า ข้าจะประกาศสงคราม ใช้ปากกาด้ามนี้ได้ยังไง ...(ขออภัย เล่าจากความจำอีกแล้ว)

แต่... พระราชอัธยาศัยเช่นนี้ เป็นฝ่ายศิลปิน มิใช่ฝ่ายวิชาการ (ยกเว้น วิชาการดอทคอม) เปรียบแล้วพระราชนิพนธ์นั้นคือเพชรน้ำเอก
แต่พระบรมราชวินิจฉัย ต้องรอบคอบเหมือนเดินผ่านสนามทุ่นระเบิด

นิสัยไม่ดีนี่ติดง่ายครับอาจารย์ แต่ทิ้งไว้พักเดียวก็หลุด เหมือนน้ำกลิ้งบนใบบอน เพียงแต่นี่เป็นใบบัวของบัวที่บานแล้ว

โดย: pipat  [IP: 58.9.189.196,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 14:02:01
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:18

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 148

คนที่เป็นศิลปิน ทำไมเป็นนักวิชาการพร้อมกันไม่ได้ล่ะคะ
อังคาร กัลยาณพงศ์เป็นศิลปินแห่งชาติ แต่อ.กรุณา กุศลาศัยก็เป็นศิลปินแห่งชาติเหมือนกัน

พระอัธยาศัยในเชิงวิชาการ ไม่มีเลยหรือ? รอคุณ V_Mee คุณหยดน้ำ หรือคุณ UP มาเล่าจะได้รายละเอียดกว่า

ดิฉันเชื่อในพระบรมราชวินิจฉัยหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องเข้าร่วมกับพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทั้งที่สยามเองก็เจ็บช้ำน้ำใจจากฝรั่งเศสและอังกฤษมาหลายครั้ง แต่ไม่เคยมีเรื่องบาดหมางกับเยอรมัน ถ้าทรงใช้อารมณ์มากกว่าวิชาการ ก็คงไม่ตัดสินพระทัยอย่างนี้

การแต่งองค์ที่คุณพิพัฒน์ยกมา ก็คือทรงกระทำตามโบราณราชประเพณีไทยเท่านั้นเอง เคารพสิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล
ไม่น่าจะนับรวมเข้าเป็นอารมณ์ศิลปิน

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 14:14:13
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 21:18

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 137

ความเห็นเพิ่มเติมที่ 145

เรียนถามอาจารย์เทาฯอย่างชัดๆเลยครับ ว่า
1 "พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ไม่มีศาสนา, ไม่มีศีล, ไม่มีธรรม, วัน ๑ อาจพูดอย่างหนึ่ง, อีกวันหนึ่งอาจกลับกลอกเสียก็ได้, และฃ้าพเจ้าจะไม่ลืมเลย ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ ลิเอาราชอาณาเฃตต์ฃองพระราชวงศ์จักรีไปฃายฝรั่งเสีย ๓-๔ คราวแล้ว"
2 " ท่านใช้เราเป็นบรรไดขึ้นถึงที่สูงได้แล้ว ท่านจะเตะบรรไดเสีย"
ผมไม่เชื่อทั้งสองข้อครับ

เรื่องข้างต้นนี้โปรดอ่านรายละเอียดในกระทู้เรื่อง http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=130&Pid=49906  

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ นั้น
ผมเรียนตามตรงว่า ทรเป็นพระมหากษัตริย์ที่ "โลดโผน" เกินกว่ามาตรฐานพระราชวงศ์ยุคนั้นจะตามทัน อันนี้สดุดีนะครับ
ดูเอาเถิด ท่านจะประกาศสงคราม ท่านยังต้องรอวันเสาร์ และทรงชุดสีม่วง ใครเคยอ่านที่ท่านเอ็ดมหาดเล็กคนหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้) ท่านว่า ข้าจะประกาศสงคราม ใช้ปากกาด้ามนี้ได้ยังไง ...(ขออภัย เล่าจากความจำอีกแล้ว)
เรื่องนี้คิดว่า ไม่น่าจะเกี่ยวกับความเป็นศิลปิน  แต่น่าจะอยู่ที่ความพร้อมมากกว่า  เพราะเท่าที่ทราบมา  ทรงเตรียมการไว้ล่วงหน้าเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว  ดังที่ทรงมีพระราชหัตถ์ลับให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งทรงกำกับการขุดอุโมงค์ขุนตานถือไว้  พอดีเวลาที่กำหนดก็ให้จับกุมวิศวกรเยอรมันและชนชาติศัตรูพร้อมกันกับที่กรุงเทพฯ  ในเรื่องการจับกุมนี้มีเรื่องเล่ากันอยู่ว่า  ฝ่ายเยอรมันนั้นพอจะได้ระแคะระคายอยู่บ้าง  แต่ไม่ทราบว่าจะรวดเร็วถึงขนาดทูตถูกจับกุมจากที่นอน  ที่สำคัญคืออุโมงค์ขุนตานหากวิศวกรเยอรมันลอบวางระเบิดอุโมงค์  งานที่ทำมากว่าก่อนหน้านั้นก็เป็นอันสูญหมด  ถึงแม้คนไทยจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีไว้แล้วก็คงยากที่จะมาเริ่มงานใหม่

ในประเด็นเรื่องเครื่องทรงนั้น  ขอเรียนว่า ทรงสีแดง ซึ่งเป็นสีตามกำลังวันของวันอาทิตย์ตามโบราณราชประเพณี  และการทรงเครื่องเช่นนี้เป็นไปตามตำหรับพิชัยสงครามซึ่งพระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงกันมาตลอด  เป็นการทำสงครามจิตวิทยาชนิดหนึ่ง  หากขวัญกำลังใจของทหารไม่พร้อมแล้ว  ต่อให้มีกำลังมากกว่าข้าศึกถึง ๑๐ เท่าก็อาจปราชัยได้  ดังเช่น พระเจ้านโปเลียนที่มีกำลังมากกว่ากองทัพของดุ๊กออฟเวลลิงตันถึง ๑๐ เท่า  แต่ก็แพ้สงครามวอเตอร์ลูให้แก่อังกฤษเป็นตัวอย่าง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 13:32

 เรียน คุณหยดน้ำ มีข้อมูลเพิ่มเติมจากของคุณค่ะ

1) เจ้าฟ้ามหามาลา ทรงกรมเป็นกรมหมื่นปราบปรปักษ์ เพราะทรงอิสริยยศ
เสมอเป็นเจ้าฟ้าชั้นโท  ปี พ.ศ 2394

เจ้าฟ้ามหามาลา ตอนกำเนิดน่าจะถือเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เพราะเป็นโอรส
ของเจ้าฟ้ากุณฑล (อัครมเหสีฝ่ายซ้าย-พระราชธิดาของร.1) แต่พระบาท
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯมิได้ทรงยกย่อง แม้จะโปรดปรานพระราชชายานารี
ที่ประสูติพระโอรสธิดาถึง ๔ พระองค์ สันนิษฐานว่ารัชกาลที่2  ทรงเกรง
พระทัยอัครมเหสีฝ่ายขวา สมเด็จเจ้าฟ้าบุญรอด

ชาววังขานพระนามเจ้า 3 องค์ ว่า องค์ใหญ่ (เจ้าฟ้าอาภรณ์) องค์กลาง
(เจ้าฟ้ามหามาลา) องค์ปิ๋ว (สิ้นพระชนม์เมื่อ 19 พรรษา) เสมอพระองค์เจ้า
รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดน้องเล็กๆทั้ง 3 พระองค์มาก และโปรดฯให้เป็น
เจ้าฟ้าชั้นโท

ต่อมาปลายสมัย ร.3 เจ้าฟ้าอาภรณ์ ขณะชันษา 33 ถูกจองจำ และสิ้นพระชนม์
ในคุกด้วยโรคอหิวาต์  เนื่องจากติดร่างแหไปกับกรมหลวงรักษ์รณเรศ (เคยทรง
ช่วยราชการกำกับกรมพระคชบาลอยู่ด้วยกัน) ร.3 โปรดฯให้ฝังพระศพอย่างคน
โทษ แต่เจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งทรงผนวชอยู่กราบบังคมทูลขอพระราชทานทำพิธีถวาย
พระเพลิงอย่างพระศพเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า


2) เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ เจ้าฟ้าจาตุรนต์ฯ เจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ประสูติเป็น
เจ้าฟ้าชั้นเอก (ทรงรับพระสุพรรณบัฏเป็นกรมหมื่นตั้งแต่ประสูติ) เจ้าฟ้า
จุฬาลงกรณ์ฯ ทรงกรมเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ ตอนชันษา 14

กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ น่าจะเป็นเจ้าฟ้าที่ทรงกรมเป็นกรมขุนเร็ว
ที่สุดองค์หนึ่ง พระองค์จุลฯเล่าว่าพ่อได้ทรงกรมเป็นกรมขุนตั้งแต่ 9 ชันษา [หาปีไม่พบ]
.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง