เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 13149 เจ้าคุณสิงห์ พระยาสุเรนทร์ พระยาประเสริฐ เกี่ยวข้องกันอย่างไร
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


 เมื่อ 15 พ.ค. 06, 12:11

 ผมทำงานอยู่ใกล้โรงเรียนบดินทรเดชา อยู่ในซอยพระยาประเสริฐ แต่เมื่อวานปั่นจักรยานจากแถวบ้านไปถึงวัดพระยาสุเรนทร์ เขตคลองสามวา ทราบมาว่ามีความเกี่ยวเนื่องกันทางสายเลือด ผมกลับมาค้นหาข้อมูลจากกูเกิลแล้ว หาไม่ได้สักทีเลยรบกวนถามสักนิด หรือหากทางเรือนไทยเคยมีกระทู้นี้แล้วรบกวน ส่งลิงค์ให้ด้วยจะขอบคุณอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 พ.ค. 06, 21:56

 สวัสดีค่ะ คุณ sound engineer

ข้อมูลทั้งหมดมาจาก Google.co.th ค่ะ
**********

1) ใช้ google.co.th  พิมพ์....จุลลดา สิงหเสนี มีบทความที่กระชับ

-บทความอื่น คุณลองค้นให้เจอนะคะ ว่า พ่อของนายสิงห์ เป็นน้องของ กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ (มุก)
ภัสดากรมหลวงนรินทรเทวี(กุ) ต้นสกุล "นรินทรกุล"

-ทำไม ร. 3 เรียกท่านว่าพี่สิงห์…..ต่อไป.... พี่บดินทร์
-ทำไม “บดินทรเดชา” จึงกล่าวกันว่าเป็น “เดชา” ของ “บดินทร์”

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์   สิงหเสนี) ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหนายก แม่ทัพใหญ่ ผู้สำเร็จราชการฝ่ายทัพศึก
ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓  และยังเป็นต้นตระกูล "สิงหเสนี" ท่านเกิดเมื่อ
ปีระกา พ.ศ.๒๓๒๐ และ ถึงแก่กรรมเมื่อ อายุได้ ๗๒ ปี ตรงกับ ปีระกา วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๙๒


2)ประวัติพระยาสุเรนทร์
ท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) บุตรของ ท่านพระยามุขมนตรี และเป็นหลาน
ของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์สิงหเสนี) ต้นตระกูลสิงหเสนี รับราชการทหารในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็น"พระยา" ถือศักดินา 4,000 ไร่
จึงออกไปจับจองที่ตามศักดินา ณ อาณาบริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดบึงพระยาสุเรนทร์ในขณะนี้
เมื่อจับจองที่ตามศักดินาแล้วท่านได้ปลูกบ้านบริเวณบ้านฉาง ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของวัดประมาณ 10 เส้น
โดยเว้นช่วงที่ตรงบึงขนาดใหญ่ หรือบึงพระยาสุเรนทร์ จำนวน 48 ไร่ ไว้ ต่อมาท่านได้สร้างวัดขึ้น คือ
วัดบึงพระยาสุเรนทร์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2431 ในชีวิตบั้นปลายของ
เจ้าพระยาสุเรนทร์ได้หันเหเข้ามาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบึงพระยาสุเรนทร์ที่ท่านได้สร้างไว้
และอุปถัมภ์เสมอมา


3) พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี)  เป็นหลานปู่ ของพระยาบดินทร์

เกิดที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2416 เป็นบุตรพระยาเพ็ชฏา (คิด) กับท่าน โหมด สิงหเสนี
สมรสกับคุณหญิงตุ่ม สิงหเสนี (คุณหญิงตุ่ม ประเสริฐสุนทราศรัย)

เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาหนังสือกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่ตำหนักสวนกุหลาบ
ในพระบรมมหาราชวัง

ปี 2422 ท่านบิดานำถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชทาน
บรรดาศักดิ์เป็นหลวงรังสฤษฎิ์ศุภการ (หลวงสฤษฎิ์) ต่อมาได้เวียนเป็นข้าหลวงหลายแห่งในหัวเมือง
ทางภาคอีสานเมื่อครั้งยังขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา และภาคกลาง

ปี 2456 รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์โท พระยาประเสริฐสุนทราศรัย
ปี 2471 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2471
อายุ 55 ปี

******************

คุณหญิงนครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) เป็นเหลนของเจ้าพระยาบดินทรเดชา
ได้ยกที่ดินให้แก่หลวงเพื่อสร้างโรงเรียน โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษต้นตระกูลสิงหเสนี
ผู้เห็นคุณค่าของการศึกษา ทั้งนี้คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชู ผอ. โรงเรียนเตรียมอุดมฯ
ได้ช่วยเป็นธุระในการดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบดิทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 พ.ค. 06, 22:59

 มี ทิป อีกอันหนึ่งเวลาใช้ search engine for Thai. เนื่องจากภาษาไทยติดกันเป็นพืด
ถ้าคุณลองพระราชทินนาม แล้วไม่ได้ผลออกมา ให้ทดลองใช้ชื่อเต็มๆ อย่างกับพระยาสุเรนทร์
คุณก็ลองใช้ชื่อเต็มพระยาสุเรนทร์ราชเสนา ถ้าหากไม่ทราบชื่อเต็ม ก็ลองดูว่าชื่อสั้นนั้นมีผลการ
สืบค้นอันใดที่นำไปสู่ชื่อเต็มบ้างหรือไม่

คราวนี้ เห็นคุณเอ่ยถึงวัดพระยาสุเรนทร์ ถ้าคุณใช้ ชื่อวัดเป็นคีย์ คุณก็จะเห็นประวัติสั้นๆ และชื่อเดิม
ของท่านอยู่ที่เวบของวัดนั้นเองค่ะ


วัดพระยาสุเรนทร์
 http://www.school.net.th/library/create-web/10000/religion/10000-4218.html

คีย์อื่นๆ.........พึ่ง สิงหเสนี
แล้วค่อยนำชื่อเดิมของท่านไปค้นใหม่อีกครั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
sound engineer
อสุรผัด
*
ตอบ: 37

ทำงาน บ.ทอป ออดิโอ จก.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 พ.ค. 06, 10:58

 ขอบคุณครับ คุณNuchan เติมa ที่ท้ายชื่อตั้งแต่เมื่อไหร่ ตกลงคนเดียวกันหรือเปล่า แต่ผมว่าน่าจะใช่ สำนวนอย่างนี้มีคนเดียวครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 พ.ค. 06, 11:19

 คุณ Nuchan เป็นคนเดียวกับคุณ Nuchana ค่ะ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 20:35


.
วันนี้จะพาท่านไปเที่ยววัดพระยาสุเรนทร์ ซึ่งเป็นวัดเก่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ดิฉันค้นพบทางนี้
โดยบังเอิญเมื่อไปรับคนงานหลังแฟชันไอส์แลนด์ไปส่งรังสิต ตลอดสองข้างทางร่มรื่นมาก

"เอ้ย..พวกเรา บอกทางที่ไม่ต้องเสียค่ามอเตอร์เวย์ให้หน่อยซิ"

"ได้เลยลูกพี่ ลัดเลาะทางนี้ แล้วไปผ่ากลางวัดพระยาสุเรนทร์ ตรงนั้นเลยด่านเก็บเงินแล้ว
ค่อยเข้ามอเตอร์เวย์ครับ" เสียงคนงานตะโกนบอกเจื้อยแจ้วมาจากด้านหลัง  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 20:41


นานๆจะได้ออกมาทางมีนบุรี แถวคลองสามวา รู้สึกตื่นเต้น ที่ได้เห็นทุ่งนา
เขียวขจี อากาศบริสุทธิ์ แถวนี้มีแต่คลอง คลองเล็กคลองน้อยเชื่อมกับคลองรังสิต
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 20:47


แถวๆวัด ยังมีสภาพเป็นชนบทริมคลอง คืบก็น้ำ ศอกก็น้ำ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 20:52


คลองบางช่วงก็กว้าง บางช่วงก็แคบ ชาวบ้านแถวนี้บอกว่า
ปลาช่อนตัวละ 8 ขีดยังพอมีให้เห็นบ้าง ส่วนปลากระทิง
ปลาสลิด ปลาตะเพียน และปลาหมอนั้น ของตาย
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 20:56


ทางเดินขนาบข้างคลอง ที่ชาวบ้านใช้
เดินทางออกสู่ถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทาง  
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 21:09


ข้ามสะพานไม้ไปอีกฝั่งหนึ่ง จะมีร้านค้า และแผงขายก๋วยเตี๋ยวเรือชามละ 5 บาท (พ.ศ. 2549)
แต่เส้นชักบางตา ถั่วงอกดิบไม่อั้นเหมือนเดิม พาลูกน้องผ่านมาเป็นได้แวะกิน ตะโกนบอก

"อ้าว..เหมือนเดิมนะ คนละ 2 ชาม ใครเกินโควต้า จ่ายเองนะ"

มีเสียงต่อรองออกมาขรม พี่ๆ...ขอสักสามไม่ได้หรือครับ
"โธ่...กินก๋วยเตี๋ยว กินพอรู้รส บอกแม่ค้าขอน้ำเยอะๆ เติมถั่วงอกเข้า เดี๋ยวก็อิ่มน้ำอิ่มผักเองแหละ"
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 21:16


บริเวณตัววัด รูปทรงและสีสรรแปลกตา
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 21:22


ยอดนี้ ภาษาช่างทั่วไปเรียกกันว่าปั้นลม แต่พอมาอยู่บน
ยอดศาลาวัด ศัพท์แสงจะเปลี่ยนหรือไม่ก็จนด้วยเกล้า
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 21:25


พันตรี พระยาสุเรนทร์ราชเสนา ผู้สร้างวัด
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 21:29


ยอดเจดีย์ทรงแปลกตา  
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง