เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53023 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:51

 นั่นสิคะ ฟังคุณพิพัฒน์แจกแจงออกมาฉาดฉาน ดิฉันก็ชักจะเชื่อว่ากรมขุนวรจักรฯชำระบัญชีหางว่าวเองเห็นทีจะเป็นโปรเจ็คใหญ่ระดับชาติ
แต่เรื่องต้นตะขบ ก็ยังไม่อยากฟันลงไปง่ายๆว่าไม่จริง ดิฉันยังนับถือความรู้ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ อยู่เหมือนเดิม
ขอรอดูหลักฐานอีกสักเรื่อง แล้วครูเป็นฝ่ายถูกตีเสียเองก็ตีเถอะ

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 15 เม.ย. 2549 - 18:12:41
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:53

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 99

ขออนุญาตด้วยคน ไม่ทราบจะพอให้รายละเอียดได้หรือเปล่า เฉพาะในส่วนของ 2 คดี ในส่วนของ หอรัษฎากรพิพัฒน์ และ การเลิกทาส ไม่ได้ทำไว้ แต่ในหนังสือของ "คุณวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย เรื่อง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววะวงศ์วโรปการ" คงจะมีรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ครบค่ะ

คดีพระยาอาหารบริรักษ์

เริ่มจากมีการปรับเปลี่ยนระบบพระคลังมหาสมบัติ พระยาอาหารบริรักษ์(นุช บุญ-หลง) เสนาบดีกรมนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ภายหลังจากที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเสนอให้มีการจัดระเบียบการเก็บค่านาใหม่ พระยาอาหารบริรักษ์ไม่ยอมรับและปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม โดยอ้างเหตุผลว่า ร่างกฎหมายที่ว่าด้วยที่นาใหม่นอกจากจะนำมาใช้ไม่ได้ในทางปฏิบัติแล้วยังก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้อย่างมากอีกด้วย เมื่อเสนาบดีกรมนามีปฏิกิริยาเช่นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งกรรมการ สอบบัญชีเงินย้อนหลัง และปรากฏว่าบัญชีรายรับเงินภาษีของกรมนาและจำนวนเงินที่กรมนาส่งให้แก่พระคลังมหาสมบัติ
แตกต่างกันอย่างมาก จึงมีการดำเนินคดีกับพระยาอาหารบริรักษ์เสนาบดีกรมนา

การพิจารณาคดีของพระยาอาหารบริรักษ์เป็นการแสดงเจตจำนงอย่างแน่วแน่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงใช้ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการบริหารการปกครองประเทศของพระองค์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเริ่มจากการเคร่งครัดเรื่องของภาษีอากร ให้ขุนนางต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด เมื่อมีหลักฐานชัดเจน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ริบราชบาตร ถอดพระยาอาหารบริรักษ์ กับผู้สมรู้ร่วมคิดลงเป็นไพร่มีโทษจำคุก

โดย: วรรณวรรธน์  [IP: 202.5.86.231,,]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 11:29:07
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:54

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 100

คดีพระปรีชากลการ

ถือว่าเป็นคดีที่มีความสำคัญต่อประเทศในขณะนั้นคดีหนึ่ง เนื่องจากมีผลกระทบถึงในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษความเดิมของคดีดังกล่าวคือ พระยาปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) เป็นบุตรชายของพระยากษาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน จบการศึกษาด้านวิศวกรรมมาจากระเทศอังกฤษ รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมืองปราจีนบุรีเป็นผู้ดูแลเหมืองทองที่กบินทร์บุรี เป็นขุนนางที่แสดงตนสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด แต่ในขณะที่พระยาปรีชากลการดำรงตำแน่งเจ้าเมืองปราจีนบุรีอยู่นั้น ได้ถูกประชาชนชาวปราจีนบุรีทูลเกล้าฯฎีกาต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง ๒๗ ฎีกาด้วยกัน รวมทั้งข้อหาเบิกเงินหลวงไปลงทุนทำบ่อทองถึง ๑๕,๕๐๐ ชั่งเศษ แต่ส่งทองมาเพียง ๑๑๑ ชั่งเท่านั้นอันเป็นจำนวนทองคำ ที่ต่ำกว่าการคาดหมายมากนัก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานฎีกาทั้งหลายไปยังที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินพิจารณาแล้วจึงเชิญตัวพระยาปรีชากลการมาสอบสวนความผิด เนื่องจากพระยาปรีชากลการเป็นลูกเขยของกงสุลเยเนอราลอังกฤษประจำประเทศไทยในขณะนั้น (Thomas George Knox) จึงมีการติดต่อกับกงสุลอังกฤษบีบบังคับให้ทางการไทยปล่อยตัวถึงกับเรียกเรือปืนอังกฤษจากสิงคโปร์มาข่มขู่จะยิงพระนคร การควบคุมตัวและดำเนินกระบวนการสอบสวนเอาผิดกับพระยาปรีชากลการจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงเหตุดังกล่าว ทรงโปรดเกล้าฯให้กระบวนการพิจารณาคดีของสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินดำเนินการไต่สวนความผิดของพระยาปรีชากลการต่อไป ขณะเดียวกันทรงโปรดให้พระยาภาสกรวงศ์ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เป็นราชทูตพิเศษไปเข้าเฝ้า
สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียเพื่อป้องกันมิให้กรณีดังกล่าวที่ลุกลามอาจบานปลายเป็นวิกฤติการณ์ระหว่างประเทศไปได้
แต่ท้ายสุดเมื่อความผิดเป็นที่ปรากฏว่าพระยาปรีชากลการได้กระทำผิดหลายกระทง ทั้งกรณีกล่าวหาว่าฉ้อราษฎร์บังหลวงเหมืองแร่ทองคำที่กบินทร์บุรี และคดีอาญาฆ่าประชาชนตาย จนกลายเป็นความผิดอุกอาจถึงขั้นต้องโทษประหารชีวิตในท้ายสุด
การพิจารณาโทษพระยาปรีชากลการดังกล่าวประเทศไทยก็มิได้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่โตอย่างที่คาดหมายไว้แต่ประการใด


บทคัดลอกนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ "กว่าจะมาเป็น...ศาลปกครอง" สำนักงานศาลปกครอง ค่ะ

โดย: วรรณวรรธน์  [IP: 202.5.86.231,,]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 11:32:59
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:54

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 101

อาจารย์เทาฯ ได้ลูกศิษย์เก่งๆ มาช่วยอีกแล้ว

คุณวรรณวรรธน์ เล่ามา ทำให้นึกถึงเรื่องสำคัญเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยาอีกเรื่องคือ การที่ท่านไม่รับเป็นสภาที่ปรึกษา ทั้งส่วนพระองค์และของแผ่นดิน
สภานี้ เป็นการเมืองก้าวสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงแยกมิตรแยกศัตรู และค่อยๆ สถาปนาระเบียบบริหาราชการแผ่นดินให้เป็นแบบแผน

ผมเดาเอาว่า เป็นพระราโชบายของรัชกาลก่อนต่อเนื่องลงมา หัวใจของระบบนี้คือ งบประมาณแผ่นดินต้องตรวจสอบได้และเบิกจ่ายจากส่วนกลาง

ตอนสิ้นรัชกาลที่ 4 สมเด็จเจ้าพระยา ท่านมีกระเป๋าเงินส่วนตัว คือผลประโยชน์ของมณฑลราชบุรีทั้งหมด ไม่มีใครกล้าเข้าไปตรวจสอบ คดีพระยาอาหารฯนี่ ทำกระเป๋าฉีกเลยครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.190.140,,]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 12:46:14
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:54

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 102

กลับไปอ่านตัวบทที่อาจารย์เทาฯแนะนำ เจอข้อความอย่างนี้เข้าให้
ตอนเยาว์วัยเด็กชายช่วง ...รับการศึกษาจากวัดพอประมาณ ไม่ได้เล่าเรียนอักขรสมัยอย่างลึกซึ้ง แต่ได้อ่านและเรียนตำราต่างๆ จากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ .....
งงยิ่งกว่างงครับ

ระดับท่านช่วงนี่ได้รับการศึกษาแค่พอประมาณ ผมว่าจะยังไงยังไงอยู่นา

โดย: pipat  [IP: 58.9.190.140,,]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 12:56:24
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:55

 ขอบคุณคุณวรรณวรรธน์ค่ะ
ระดับคุณวรรณวรรธน์ไม่ใช่ลูกศิษย์ดิฉันค่ะ คุณพิพัฒน์ น่าจะเรียกว่าเพื่อนร่วมอาชีพ หรือร่วมอุดมการณ์มากกว่า

เรื่องการศึกษาของสมเด็จเจ้าพระยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ คงหมายความว่าท่านไม่ได้เรียนอักขระจากวัด ขั้นแตกฉานบาลีจนเป็นเปรียญหรือมหาได้มั้งคะ


โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 13:11:20  
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:56

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 104

"ท่านไม่ได้เรียนอักขระจากวัด ขั้นแตกฉานบาลีจนเป็นเปรียญหรือมหา"

ถ้าแตกฉานได้อย่างนั้น(เป็นเปรียณ หรือมหา) ร 4 ท่านทรงโปรดให้รับราชการได้แค่ 2 กรมเท่านั้นนะครับ

ผมว่าผู้เขียนอาจจะเคยชินกับระบบการศึกษาปัจจุบันมากไปหน่อย
สมัยนั้น ท่านที่ใหญ่ๆโตๆ นี่ ท่าน "โฮมสกูล" กันทุกสกุลมิใช่หรือครับ

คำว่า การศึกษาแค่พอประมาณ จึงไม่สอดคล้องกับเหตุการณ์

ผมว่าผมนี่ชักเรื่องมากไปซะแล้ว ขออภัยด้วยนะครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.190.140,,]  
วันที่ 18 เม.ย. 2549 - 13:25:25
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:57

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 105

มาขอกราบอาจารย์เทาชมพูกับคุณ pipat อาจารย์เทาชมพูมาบอกเป็นเพื่อนร่วมอาชีพหรือร่วมอุดมการณ์เล่นเอาสะดุ้งโหยง ไม้กวาดหลุดหล่นหมดเลย จริงๆแล้วเป็นแค่เด็กเก็บกวาดใต้ถุนเรือนไทยค่ะ แอบมาตะคุ่มๆอยู่ใต้ถุนบ้างประตูเรือนไทยบ้าง ตามสภาพอากาศ ที่มาแกเปลี่ยนก็อาศัยว่าเก็บเบี้ยเก็บหอยตามทางมาพูดคุยทั้งนั้นค่ะไม่ได้คิดเอง....

กรณีที่คุณpipat ถามเรื่องสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านปฏิเสธ เข้าร่วมสภาที่ปรึกษานั้น ต้องเกริ่นนิดหนึ่งว่า เท่าที่ตัวเองจำได้ สภาที่ปรึกษาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวท่านจะตั้งขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๑๗ มีสองสภาด้วยกันคือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือที่เรียกกันว่า ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ฤๅ เคาน์ซิล ออฟสเตด (ลูกขุน ณ ศาลา) อีกสภาหนึ่งคือสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ฤๅ ปรีวีเคาน์ซิล (ลูกขุน ณ ศาลหลวง)

ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งจากบรรดาสนาบดีและเชื้อพระวงศ์ที่ทรงวางพระทัยในขณะนั้นแต่งตั้งไว้รวม สิบสอง(พระองค์) ท่าน ด้วยกัน ที่ทำหน้าที่เรื่องประกาศหอรัษฎากรพิพัฒน์และคดีต่างๆ ที่คุณ pipat ถามและตอบไปบ้างแล้วตอนต้น

แต่ที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ นั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งในภายหลัง ที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์นี้เอ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทาบทามสมเด็จเจ้าพระยาฯ มาเป็นคณะที่ปรึกษา แต่ สมเด็จเจ้าพระยาฯได้ตอบปฏิเสธโดยกราบบังคมทูลมีใจความว่า
“....ตนเองนั้นได้รับราชการรับใช้บ้านเมืองและพระราชวงศ์มาตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้รับราชการสำคัญใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาโดยตลอดครั้นมาถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยฝากฝังบ้านเมืองให้ทำนุบำรุงต่อมา จนกระทั่งได้ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มาถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้(รัชกาลที่ ๕) ก็ได้เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯมีอำนาจสิทธิขาดถึงตัดหัวคนได้ เมื่อได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาจนแก่เฒ่าถึงเพียงนี้ แล้วยังจะให้ไปถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาซ้ำสองเพื่อเป็นปรีวี่ เคาน์ซิลอีก ขุนนางผู้ใหญ่ขนาดตนนั้นไม่อาจรับได้...”

เพราะเหตุนี้ สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงไม่ได้เข้าไปอยู่ในที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ ปรีวี่ เคาน์ซิล”

ดูจากคุณวิมลพรรณ ปีตธวัช ในสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ค่ะ

ว่าแล้วก็ขอไปแอบตะคุ่มๆตามต้นไม้ริมๆ เรือนไทยต่อตามเดิมดีกว่าค่ะ......

โดย: วรรณวรรธน์  [IP: 202.57.168.76,,]
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:58

ความเห็นเพิ่มเติมที่ 106


 
คนกวาดใต้ถุนเรือนยังแค่นี้ ผมเป็นคนผ่านทาง ไม่กล้าอยู่นาน

แวะเอารูปพระที่นั่งจักรี แบบดั้งเดิมมาฝากครับ


โดย: pipat  [IP: 58.9.185.55,,]  
วันที่ 19 เม.ย. 2549 - 00:14:53
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:59

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 107

สวัสดีครับทุกท่าน
ขอบคุณที่มาเล่าได้อย่างจุใจเลยครับ
ตอนนี้อยู่ ต่างประเทศครับ เลยไม่ค่อยมีโอกาสมาโพสต์เท่าไหร่
แต่ยังไงก็ต้องขอชื่นชมคุณ พิพาท ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับว่ามีภูมิความรู้ล้ำลึกในหลายด้าน นับถือๆ

อาจารย์เทาชมพูคงสบายใจล่ะครับที่มีคนช่วยทำให้เรือนไทยครึกครื้นยิ่งขึ้น

โดย: paganini  [IP: 209.87.242.5,,]  
วันที่ 19 เม.ย. 2549 - 09:44:20
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:00

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 108

สวัสดีค่ะคุณ paganiniว่างเมื่อไรก็แวะเข้ามาอ่านนะคะ

มีเกร็ดเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยาอีกเรื่องหนึ่ง ที่ขอเอามารวมไว้ในกระทู้นี้

ในต้นรัชกาลที่ ๕ มีชายหนุ่มชาวอังกฤษชื่อเฮนรี อาลาบาสเตอร์มีชาติตระกูลดี เดินทางมาประจำในสถานกงสุลไทยในฐานะนักเรียนล่าม
ในช่วงที่กงสุลน็อกซ์เป็นกงสุลอยู่ ต่อมาน็อกซ์เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิด มอบให้นายอาลาบาสเตอร์รักษาการแทน
ช่วงนั้นอั้งยี่ในกรุงเทพก่อเรื่องวุ่นวายขึ้นที่วัดสัมพันธวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาสั่งปราบปราม เกิดการต่อสู้กันใหญ่ จนเกิดเพลิงไหม้
ลามไปไหม้บ้านพวกแขกซึ่งเป็น"สัปเยก" หรือคนในบังคับของอังกฤษ
เมื่อนายอาลาบาสเตอร์เห็นคนในบังคับบ้านถูกไฟไหม้เสียหาย เพราะเหตุนี้ก็มาเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย
สมเด็จเจ้าพระยาท่านก็แน่เหมือนกัน ท่านบอกว่าให้ไปเรียกค่าเสียหายจากอั้งยี่เอาเอง เพราะเป็นต้นเหตุ
นายอาลาบาสเตอร์ก็เถียงว่ารัฐบาลไทยจับไม่ดีจึงเกิดความเสียหาย
เถียงกันไปมา นายอาลาบาสเตอร์เกิดโทสะก็เอาธงอังกฤษลงจากเสา ผู้คนก็ตื่นตระหนกลือกันไปทั่วเมืองว่าอังกฤษจะรบกับไทย

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 24 เม.ย. 2549 - 09:23:19
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:01

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 109

เรื่องยังไม่ทันลุกลามมากกว่านั้น กงสุลน็อกซ์กลับจากอังกฤษมาถึงสยามเสียก่อนก็เข้าไกล่เกลี่ยให้นายอาลาบาสเตอร์แพ้ความ รัฐบาลไทยไม่ต้องจ่ายเงินค่าเสียหายให้แขกสัปเยก นายอาลาบาสเตอร์ก็เลยขุ่นใจ ลากลับไปอังกฤษ ไปเรียนกฎหมายเพื่อจะกลับมาเมืองไทยแล้วจัดการกับกงสุลน็อกซ์ให้ได้

สมเด็จเจ้าพระยาเห็นเรื่องจะไปกันใหญ่ ก็เลยตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการกราบบังคมทูลให้จ้างนายอาลาบาสเตอร์มารับราชการเสียให้หมดเรื่อง
นายอาลาบาสเตอร์ก็เลยได้เข้ามาสอนทหารไทย ทั้งด้านทำแผนที่และด้านวิศวกรรมฯ ตั้งโรงเรียนสอนอยู่ในหอสมุทัย

สมเด็จกรมพระยาเทวะวงษ์ฯทรงนับถือว่าเป็นผู้มีความรู้เรื่องกฎหมาย เมื่อมีพระประสงค์จะทราบเรื่อง International Law ก็ทรงปรึกษาราชการกับนายอาลาบาสเตอร์ด้วย

นายอาลาบาสเตอร์ได้ภรรยาคนไทยชื่อเพิ่ม มีบุตรชาย ๒ คน คือ
๑ พระยาวันพฤกษ์วิจารย์(ทองคำ) รับราชการกรมป่าไม้
๒ พระยาอินทราบดีสีหราชรองเมือง(ทองย้อย)
บุตรของนายอาลาบาสเตอร์ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า เศวตศิลา แปลว่าหินขาว (alabaster) ซึ่งสะกดคล้ายนามสกุลของนายอาลาบาสเตอร์ (Albaster) หลานปู่ของนายอาลาบาสเตอร์ ที่พวกเราคงเคยได้ยินชื่อกันคือพลอ.อ. สิทธิ์ เศวตศิลา

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 24 เม.ย. 2549 - 09:34:05
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:01

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 110

นึกว่าอาจารย์จะไม่มาต่อเสียแล้ว
เดชะบุญคุณปะการัง เอ้ย..ปะกานินี มาเยี่ยม เลยได้ยืดอายุไปอีกหลายๆเฮือก(กระมัง)

ผมจำได้ว่าอาลาบาสเตอร์เป็นวิศวกร เพิ่งทราบว่าแกเป็นเนติด้วย
จะแวะเข้าประวัติท่านผู้นี้ เห็นจะต้องเปิดเรื่องใหม่มังครับ
เป็นคนดูแลผลประโยชน์ประเทศไทยยุคต้นรัชกาลที่ 5
นำเข้าความเจริญหลายอย่าง ทั้งพฤกษ์ศาสตร์ โลหะวิทยา พิพิธภัณฑ์ การสำรวจ ฯลฯ แม้กระทั่งเป็นนักวิชาการด้านพุทธศาสนารุ่นบุกเบิก

ใครจะรับข้อนี้ไปคันต่อครับ ผมอยากรู้แต่ไม่มีปัญญาแล่ว

โดย: pipat  [IP: 58.9.187.241,,]  
วันที่ 24 เม.ย. 2549 - 16:52:17
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:02

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 111

ไม่มีหนังสือประวัตินายอาลาบาสเตอร์ค่ะ
คุณพิพัฒน์น่าจะเล่าเองได้น่า มาใช้คนอื่นทำไม

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 25 เม.ย. 2549 - 09:15:55
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:02

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 112

ผมไม่กล้าเล่าครับ ท่านเป็นวิศวกร่ใหญ่ ทายาทก็มีตัวตนอยู่มากมาย เล่าไปก็เป็นแต่ผิวเผิน อย่างเรื่องตัดถนนเจริญกรุง ทำสวนสราญรมย์และทำมิวเซียม แค่นี้ผู้น้อยก็ขอลาละครับ ยังมีเรื่องแปลหนังสือแสดงกิจจานุกิจอีก

ถ้าทำได้รับประกันไม่ถอยขอรับ ส.พลายน้อยยังเล่าไว้นิดเดียวเอง คุณเอนก นาวิกมูลก็เติมไว้อีกหน่อย
ไม่สมใจอยากครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.185.221,,]  
วันที่ 25 เม.ย. 2549 - 11:28:55
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 19 คำสั่ง