เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 52999 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:17

 เรื่องเท้าสมเด็จเจ้าพระยาไปต้องพระเศียรพระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ (สมเด็จพระมหาสมณฯ) ที่คุณเทาชมพูกรุณาเล่าไว้ในความเห็นที่ ๔๒ นั้น มีผลติดตามมาเป็นเรื่องค้างคาพระทัยของเจ้านายผู้ทรงถูก "ตีน" ต้องพระเศียร

ผมไม่แน่ใจว่าอ่านจากไหน แต่จำเนื้อความที่อ่านได้เลาๆ ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ยังทรงขุ่นเคืองติดพระทัยในเรื่องนี้อยู่มาก ถึงกับทรงปรารภว่าหากว่าจะหากจะทรงได้รับพระราชทานสถาปนาพระยศแล้ว ในที่สุดขอให้มีศักดินาสูงกว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ

โดย: UP  [IP: 24.196.81.139,,]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 09:33:47
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:18

 นึกอยู่เหมือนกันว่า คุณ UP จะต้องมีโคมระย้าแก้วมาให้เห็น เดาแม่นจริงๆ ขอบคุณที่มาขยายเรื่องให้ฟังค่ะ พิมพ์อยู่คนเดียวชักจะกร่อย

ดิฉันอยากได้อีกเรื่องคือความในพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงไว้ในพระราชหัตถเลขาถึงพระราชโอรส เท้าความถึงตอนเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ๆว่าอัดอั้นตันพระทัยแค่ไหน ที่ทรงพึ่งพาใครไม่ได้ ทรงเห็นว่า "ญาติข้างพ่อก็โลเลเหลวไหล"

ดิฉันมีกรรมแตกต่างไปจากคุณพิพัฒน์ คือที่บ้านมีชั้นและตู้หนังสือ แต่ว่าเล่มไหนบรรจงเก็บเข้าชั้นเข้าตู้ให้เรียบร้อย กลัวหาย มันจะหายไปในแถวหนังสือในชั้นในตู้นั่นเอง หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน ตู้ไหน ส่วนเล่มที่ไม่เอาใจใส่ กองเอาไว้นอกตู้ เสี่ยงกับแม่บ้านรวบรวมไปชั่งกิโลขายยิ่งนัก มักจะอยู่ครบ ไม่เคยหาย

สรุปว่า เลยหาไม่เจอถึงพระราชหัตถเลขาเรื่องนี้จนแล้วจนรอดค่ะ
ขอความอนุเคราะห์อีกสักครั้งเถอะ

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 09:57:42
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:19

 ส.ศ.ษ. เคยเล่าไว้ใน เรื่องเก่าเล่าใหม่ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับ พ.ค. 2544
ในบทความนี้ ส.ศ.ษ. (สุลักษณ์ ศิวรักษ์) พูดถึงเรื่องที่สืบต่อจาก สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น และเบ็ดเตล็ดครับ

โดย: ศรีปิงเวียง  [IP: 61.19.145.16,192.168.2.59,]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 12:15:07
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:19

 ผมอิจฉาอาจารย์เทาจังเลย ไม่ใช่เรื่องชั้นหนังสือ เรื่องแม่บ้านน่ะครับ ผมได้รับการสถาปนาโดยสมาชิกครอบครัวอันน้อยนิดให้เป็นตำแหน่งนี้ ใครมีก็ช่วยถนอมรักด้วยนะครับ

ขอเสริมสองเรื่อง
เรื่องแรก ผมไม่ค่อยเชื่อเกร็ด เรื่องการสั่งซื้อโคมนี้ มันออกจะเหยียดๆชอบกล
ผมเดาเอาว่าท่านซื้อถวายเลยละครับ เพราะในยุคนั้น การสั่งซื้อ ทำผ่านตัวแทน ด้วยอุปกรณ์ขายคือแคตล็อก ในนั้นจะมีรูป ขนาด สัดส่วน น้ำหนัก ราคา ฯลฯ ครบถ้วน ท่านช่วงอยู่ในวัฒนธรรมไม่ทำเทียมเจ้า อย่างที่เป็นสำนวนว่า "บ้านใหญ่ราวกะวัง" (ห้ามสร้าง) ลองสังเกตดูวัตถุสถานเกี่ยวกับท่านสิครับ วัดของท่านก็ขนาดกำลังราม บ้านช่องห้องหอก็ไม่ใหญ่โตหรูหรา และลองฟังอาจารย์เทา เล่าเรื่องผ้านุ่งเถอะครับ ยิวเรียกพี่เชียวแหละ
รับรองว่าแกไม่สร้างบ้านใหญ่พอใส่โคมยักษ์นี้แน่

มีใครทันนึกใหมครับ ว่าโคมนี้มาตอนเมืองไทยยังไม่มีไฟฟ้า
ร. 5 ท่านเคยบ่นเรื่องจุดเทียนโคมนี้ไว้ที่ใหนสักที่ ช่วยหามาเก็บลงที่นี่ด้วยครับ ท่านบ่นทำนองว่าต้องหยุดงานเลี้ยง ให้พนักงานจุดเทียน ......จำที่มาไม่ได้อีกแล้ว

เรื่องที่สอง
ฝากรบกวนอาจารย์อีกและ
มีฝรั่งเขียนเรื่องท่านช่วงไม่ตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์ เก็บความจากคำบอกเล่าของลูกหลาน ผมจำที่มาไม่ได้ (ทั้งปี.....)
กรูณาเล่าฝากไว้อีกเรื่องนะครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.196.79,,]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 12:16:05
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:21

 เห็นจะต้อง" ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม" คุณพิพัฒน์เล่นกระหน่ำคำขอมา จนดิฉันตั้งตัวไม่ติด ฝากท่านอื่นๆมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ

เดี๋ยวขอเล่าถึงผ้าสมปักก่อน

เรื่องนี้มาจากคำอธิษฐานของคุณพุ่ม กวีหญิงคนสวยฝีปากกล้าในสมัยรัชกาลที่ ๓ คำอธิษฐานนี้แต่งเป็นคำคล้องจองกัน จุดมุ่งหมายก็คือ"แซว" บุคคลที่ท่านเอ่ยถึง มีดังนี้ค่ะ

-ขออย่าให้เป็นชิดของเจ้าคุณผู้ใหญ่
-ขออย่าให้เป็นคนใช้ของเจ้าพระยานคร
-ขออย่าให้เป็นคนต้มน้ำร้อนของพระยาศรี
-ขออย่าให้เป็นมโหรีของพระยาโคราช
-ขออย่าให้เป็นสวาสดิของพระองค์ชุมสาย
-ขออย่าให้เป็นฝีพายของเจ้าฟ้าอาภรณ์
-ขออย่าให้เป็นละครของแม่น้อยบ้า
-ขออย่าให้รู้ชาตาเหมือนอาจารย์เซ่ง
-ขออย่าให้เป็นนักเลงอย่างท่านผู้หญิงฟัก
-ขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย
-ขออย่าให้เป็นดอกไม้ของเจ้าคุณวัง
-ขออย่าให้เป็นระฆังของวัดบวรนิเวศ

ที่ว่าขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย สมปักคือผ้าสมปักปูมที่ขุนนางนุ่ง ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ เป็นขุนนางชั้นไหนก็มีผ้าสมปักลายชั้นนั้นบอกถึงระดับชั้น ว่ากันว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯสมัยเป็นจมื่นไวยวรนารถ ท่านนุ่งสมปักอยู่ผืนเดียวไม่เคยเปลี่ยน สมปักท่านคงต้องถูกใช้งานตรากตรำมากไม่เคยได้พักผ่อนในหีบ
ข้อนี้ทำให้คุณพิพัฒน์เห็นว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านเป็นคนมัธยัสถ์ไม่นิยมความฟุ่มเฟือย ไม่น่าจะสั่งซื้อโคมระย้าแพงๆยังงั้นมาประดับบ้าน

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 12:58:49
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:21

 ขออีกแล้ว
ผมเคยอ่านจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันตอนที่ท่านถึงแก่พิราลัย อ่านแล้วก็สะท้อนใจว่า รัฐบุรุษที่ช่วยสร้างชาติมาถึงสามรัชกาล เวลาตายช่างเดียวดายเสียจริง
ผมเคยมีหนังสือชุดนี้เกือบจะครบ อยู่มาวันหนึ่งก็มีปลวกมาช่วยอ่าน เกือบหมดบ้าน ดังนั้นถ้าอ้างแต่ความจำก็อย่าตำหนิเลยนะครับ ทุกวันนี้ทรากหนังสือทิ้งกองอยู่ จะทิ้งก็คิดถึง จะเก็บก็ไม่มีปัญญา

ยังมีอีกเรื่องก็ตอนที่ท่านแบ่งต้นฉบับให้หมอปลัดเล และหมอสมิท นำไปพิมพ์ขาย เราไม่ได้ยกย่องท่านเท่าที่ควรในเรื่องที่ท่านสร้างต้นฉบับแปลวรรณกรรมจีนจนครบชุด ตั้งแต่ตอนสร้างโลก ห้องสิน มาถึงพวกโหงวโห้วเพ่งปัก

ใครรู้ เติมด้วยนะครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.197.217,,]  
วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 22:21:33
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:23

 อำนาจเป็นของมีคมค่ะ เอาไว้ใช้ประโยชน์ ฟัน ผ่า หั่น ได้สารพัด ถ้าไม่มี เราก็ลำบากไม่ว่าจะกินจะใช้อะไร
แต่ของมีคม ยิ่งคมเท่าไรก็ยิ่งมีสิทธิ์บาดมือไปจนบาดคอได้มากเท่านั้น ใครอยู่ใกล้ก็ต้องระวังตัวแจ

เหตุการณ์ตอนสถาปนาวังหน้ารัชกาลที่ ๕ (ที่เกิดการปะทะกันระหว่างกรมขุนวรจักรฯและสมเด็จเจ้าพระยา)
เป็นเหตุการณ์ที่ยังความลำบากพระราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯมากแค่ไหน
ก็พอมองเห็นเงาสะท้อนได้จากพระราชนิพนธ์ "ประวัติต้นรัชกาลที่ ๖" ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงบันทึกไว้อย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อมเห็นแก่หน้าใคร ทรงเข้าพระทัยหรือคิดเห็นอย่างไรก็บันทึกลงไปตามนั้น
ขอลอกมาให้อ่านค่ะ จะเก็บความก็ไม่ได้รสชาติเท่าของแท้

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 08:37:06
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:24

 "ในขณะที่ทูลกระหม่อมปู่(-หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ทรงพระประชวรหนักนั้น พะเอิน(-เผอิญ)ทูลกระหม่อมของฉัน(-หมายถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ก็ทรงพระประชวรเปนไข้ มีพระอาการมากอยู่ด้วยเหมือนกันอีกประการ ๑ ในเวลานั้นทูลกระหม่อมก็มีพระชนมายุเพียง ๑๕ เต็มๆเท่านั้น ทูลกระหม่อมปู่จึ่งได้มีพระราชดำรัสฝากให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ช่วยเปนผู้ประคับประคองด้วย

สมเด็จเจ้าพระยาเห็นว่าเปนโอกาสเหมาะที่จะรวบรัดอำนาจไว้ในกำมือของตน ฉนั้นเมื่อได้ไปเชิญเสด็จทูลกระหม่อมจากพระตำหนักสวนกุหลาบ เข้าไปประทับที่ในพระฉากในพระที่นั่งอมรินทร์แล้ว และได้จัดการถือน้ำตามประเพณีแล้ว ก็ยังมิได้ให้เรียกทูลกระหม่อมว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
เพราะเขานึกว่าทูลกระหม่อมจะสวรรคตเสียก่อนที่จะได้ราชาภิเษก

ที่ว่าสมเด็จเจ้าพระยานึกเช่นนี้ ไม่ใช่เปนการใส่ความ เพราะมีสิ่งที่เปนพยานอยู่ อย่าง ๑ คือสมเด็จเจ้าพระยาได้จัดการให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ( พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือที่เรียกกันอยู่ว่า ยอร์ช วอชิงตั้น ) พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รับบวชราชาภิเษกเปนกรมพระราชวังบวรก่อนงานบรมราชาภิเษกของทูลกระหม่อม
ซึ่งเปนการทำนอกธรรมเนียมราชประเพณีโดยแท้ เพราะมิได้เคยมีเลยในรัชกาลใดๆ ทั้งครั้งกรุงเก่าและกรุงรัตนโกสินทร์ที่วังน่าจะได้รับบวรราชาภิเษกก่อนที่พระเจ้าแผ่นดินในรัชกาลนั้นจะได้รับบรมราชาภิเษก

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 08:38:35
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:25

 อีกอย่าง ๑ ทูลกระหม่อมได้รับสั่งเล่าให้ฉันฟังว่า เมื่อพระองค์ท่านกำลังบรรทมประชวรอยู่ในพระฉากในพระที่นั่งอมรินทร์นั้น
คุณหญิงพันเมียสมเด็จเจ้าพระยาได้เข้าไปยืนอยู่ทางบนพระเจ้า( -หมายเหตุ หมายถึงทางศีรษะค่ะ)แล้วแลพูดว่า

" พ่อคุ๊ณ น่าสงสาร นี่พ่อจะอยู่ไปได้อีกสักเท่าไร?"

ทูลกระหม่อมได้ทรงเล่าต่อไปว่า ครั้นเมื่อถึงเวลาทำงานศพคุณหญิงพัน ท่านได้เสด็จขึ้นไปบนเมรุ ทรงเคาะโกษฐ์ แล้วตรัสว่า

"ยายพัน แกได้เคยถามว่าฉันจะอยู่ไปได้อีกสักเท่าไร วันนี้ฉันมาตอบแกว่าฉันอยู่มาได้นานพอที่จะมาในงานศพของแกแล้วละ จะว่าอย่างไร"

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 08:50:08
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:25

 อาจารย์เทาครับ เหาจะกินหัวผมใหมครับ ถ้าผมจะเสริมพระราชนิพนธ์ด้วยข้อมูลที่ไม่เสริมพระราชนิพนธ์นั้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า โปรดให้ลูกชายของท่านช่วงเข้าเฝ้านะครับ ไม่ใช่ท่านช่วง แล้วพระองค์ก็ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ โดยทรงผูกมัดพระราชโอรสไว้กับสกุลบุนนาคแล้วชั้นหนึ่งก่อน
ในกระแสพระราชดำรัสสั่งเสียนั้น ทรงอ้างการที่พระนั่งเกล้าทรงปฏิบัติ ก่อนสวรรคต โดยฝากแผ่นดินไว้กับลูก ไม่ใช่ไว้กับพ่อ
ท่านไม่ฝากแผ่นดินให้สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ แต่ฝากให้กับลูกของสมเด็จเจ้าพระยาแทน

ควรมืควรประการใด ขออาจารย์โปรดพิจารณา

โดย: pipat  [IP: 58.9.192.141,,]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 09:52:18
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:26

 คุณพิพัฒน์น่าจะแบมือมาให้ดิฉันตีเสียดีๆ ทำเอาดิฉันต้องไปค้นหนังสือเป็นการใหญ่
*********************
เหตุการณ์เมื่อใกล้เสด็จสวรรคต เป็นยังงี้ค่ะ

วันจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้พระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์(วร บุนนาค) ผู้เป็นบุตรชายสมเด็จเจ้าพระยาฯ และเป็นบิดาของเจ้าคุณแพพระสนมเอก เข้าไปเฝ้า แล้วตรัสถามถึงพระอาการสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระยาสุรวงษ์ฯกราบทูลว่าพระอาการดีขึ้นแล้ว ก็ทรงฝากสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ว่าไหนๆก็ได้เป็นเขยแล้ว ก็ขอให้พระยาสุรวงษ์ " ดูแลให้พ้นภัย" ด้วย

วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลา ๓โมงเช้าเศษ
โปรดให้กรมหลวงเทเวศวัชรินทร์ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท กรมขุนวรจักรธรานุภาพ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนบำราบปรปักษ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เจ้าพระยาภูธราภัยสมุหนายกไปเฝ้า
แล้วมีพระราชดำรัสว่า พระองค์เห็นจะเสด็จสวรรคตในวันนี้....สิ่งใดที่ได้ทรงขัดเคืองว่ากล่าวแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวงมาแต่ก่อนนั้น ขอให้อโหสิกรรมกันเสียเถิด และขอฝากพระราชโอรสธิดาทั้งหมดด้วย "ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ ให้เป็นแต่โทษเนรเทศเถิด"

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 11:02:50
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:27

ถ้าตามข้อมูลนี้ สมเด็จพระจอมเกล้าฯท่านก็ทรงเล็งเห็น "ภัย" ที่จะพึงเกิดได้กับพระราชโอรส จึงขอพระยาสุรวงษ์ ซึ่งย่อมจะผูกพันกับลูกสาวและหลานสาวอยู่มาก ช่วยดูแล "ลูกเขย" ด้วย ดิฉันพูดอ้อมๆก็แล้วกันว่า หากเกิด" ภัย" จริงๆขึ้นมาพระยาสุรวงษ์จะได้ช่วยคานไว้บ้าง

ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาและเจ้านายพระองค์อื่นๆที่ถือว่ามีอาวุโสอยู่ในแผ่นดิน ก็ทรงฝากไว้พร้อมหน้ากันให้เป็นพยานกันทั่วถึง สิ่งที่ทรงขอนั้น ก็ทรงตระหนักดีถึงอำนาจอันยิ่งใหญ่ที่จะ "ลงโทษ" แก่พระราชโอรสธิดาได้ในภายภาคหน้า
หมายถึงว่าก็ไม่ทรงแน่พระทัยนักว่าแผ่นดินจะตกอยู่กับผู้ใด

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 11:22:09
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:29

อาจารย์อย่าตีเจ็บนะครับ
นี่ครับมือ สมเด็จพระจอมเกล้า ทรงเห็นการณ์ไกลมาตั้งแต่พระปิ่นเกล้ายังอยู่แล้วละครับ ท่านไปแอบซื้อที่ดินไว้กลางสิงค์โปร์ ตั้งพระทัยว่า หากเกิดเหตุวิกฤติประการใด ลูกของท่านจะมีที่ลี้ภัย ท่านยังคิดทะลุไปอีกชั้นหนึ่งว่า แม้ไม่มีเหตุอันใด ที่แปลงนี้ก็ปล่อยเช่าไม่เสียเปล่า
ทรงซื้อในนามลูกสาวคนโตและลูกชายคนโตครับ

เรื่องไม่เกี่ยวกับสมเด็จเจ้าพระยานัก แต่หวังจะเสริมที่อาจารย์เล่านะครับ

อาจารย์ได้อ่าน ชานพระสี บ้างใหมครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.183.42,,]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 11:38:23
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:30

 ตีไม่เจ็บค่ะ ไม้บรรทัดขนาดกำลังราม
ถ้าเฆี่ยนเมื่อไร ถึงค่อยโวยวาย

ชานพระศรี ของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง น่ะหรือคะ
มีหนังสือค่ะ เคยเก็บมาเล่าเป็นบทความไว้หรือไงนี่ละ นานแล้ว

เช่นเดียวกับหนังสือดีหายาก ที่เก็บไว้อย่างดีจนหาไม่เจอ
ดิฉันขอให้คุณพิพัฒน์เล่าดีกว่า

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 12:59:02
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:31

 ผมประทับใจชานพระศรี ตรงที่สิ่งนี้แสดงด้านลึกของความเป็นไทย แสดงกระบวนการทางปัญญาที่ชนชั้นนำในอดีต ประพฤติปฏิบัติกัน โดยการสืบทอดเรื่องเล่าลงไปทีละรุ่น ส่วนหนึ่งของ พระราชพงศาวดารทั้งหลาย ก็คงมาจากกระบวนการเช่นนี้

คิดดูเถิด ท่านเพ็งนี่ให้ทุกอย่างกับเจ้านาย จนแม้กระทั่งคำสอนเล็กๆน้อยๆ ท่านยังอุตส่าห์รักษาไว้ แล้วหาทางส่งมอบ ชานพระสี เป็นหนังสือเล็กๆ ที่น้อยคนจะรู้จัก (แหะ แหะ นี่ผมอยู่ในสวนมะพร้าวนี่หว่า ดันมาบอกขายมะพร้าวห้าวซะนี่) โดยเฉพาะคนที่ไม่รู้จัก (หึ หึ ขอทางลงหน่อย)

ท่านเขียนคำนำไว้ ด้วยภาษาอันเข้าใจยากมาก เพราะเป็นสำนวนเก่า คนอยุทธยาก็น่าจะพูดแบบนี้ ว่า มีเรื่องเล็กน้อยที่จำได้จะเล่าถวาย เหมือนกำลังจะถวาย พระศรี ของพระจอมเกล้า( แต่เป็นชานแล้ว คือเคี้ยวแล้ว แม้หมดค่า) อันท่านเห็นเป็นของสูง หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องประวัตินโปเลยง มีเกร็ดแทรกว่า ท่านได้ฉายา เพ็ง นโปเลยง เพราะชอบเรื่องนี้มาก กลายเป็นถูกล้อกระมัง
เอ่ยถึงท่านผู้นี้ เพราะอยากจะแนะนำว่า จดหมายเหตุที่ท่านจดเรื่องการสวรรคตของ ร. 4 นั้น น่าจะเย็บเล่ม ปิดทองตั้งไว้เป็นขวัญของห้องสมุด ท่านเล่าละเอียดจนเรารู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์
ผมไม่ปลื้มกับตัวบทที่สมเด็จดำรงฯ ท่านทรงชำระใหม่ สอบหลักฐาน แทรกเรื่องจนแห้งแล้งกลายเป็นวิชาการ
ผมว่าเรื่องนี้เทียบชั้นวรรณคดีได้กระมัง

โดย: pipat  [IP: 58.9.186.83,,]  
วันที่ 12 เม.ย. 2549 - 13:20:53
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 19 คำสั่ง