จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 30 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:04
|
|
เรื่องเปลี่ยนการนับถือศาสนาจากอิสลามเป็นพุทธ มีมาตั้งแต่ปลายอยุธยาค่ะ หนังสือของคุณชัย เรืองศิลป์ถ้าเป็นเรื่องสมเด็จเจ้าพระยา ยังไม่เคยอ่านค่ะ เรื่องกรมหลวงวงษาฯ ก็ไม่ได้อ่านเหมือนกัน
ส่วนเรื่องความรู้ภาษาอังกฤษ อ่านเจอที่สมเด็จกรมพระยาฯท่านเล่าว่าสมเด็จเจ้าพระยาท่านสนใจการต่อเรือ เสียมากกว่าสนใจเรื่องอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ แต่ว่าท่านพูดได้ และฟังได้รู้เรื่อง
ลองมาอ่านที่หมอบรัดเลย์บันทึกไว้ดีกว่า "วันนี้ (๒๓ ตุลาคม ๒๓๗๘) มีขุนนางไทยหนุ่มคนหนึ่งมาหาพวกมิชชันนารี ขุนนางหนุ่มผู้นี้พวกมิชชันนารีกล่าวว่าท่าทางคมขำ พูดจาไพเราะ เมื่อแรกมาถึงได้สนทนากับพวกมิชชันนารีอยู่พักหนึ่ง ครั้นจวนจะกลับ จึงได้สนทนากับยอห์น แบบติสต์ผู้ช่วยในร้านขายยา ตอนที่คุยกับยอร์น แบบติสต์นี้เอง ขุนนางหนุ่มคนนั้นได้บอกว่า ตัวท่านคือหลวงนายสิทธิ์ บุตรหัวปีของเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เพิ่งกลับจากจันทบุรี โดยเรือที่ไปต่อมาจากที่นั่นซึ่งได้ให้ชื่อว่า "อาเรียล"
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 9 เม.ย. 2549 - 10:44:09
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 31 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:05
|
|
ตามที่ดิฉันเข้าใจ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ท่านไม่ได้ดูแคลนสมเด็จเจ้าพระยา แต่ท่านบอกว่าสมเด็จเจ้าพระยาสนใจเรื่องต่อเรือ เสียมากกว่าจะสนใจอ่านเขียนภาษาอังกฤษจนแตกฉาน อย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ หรือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ท่านก็ทรงยอมรับว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ พูดภาษาอังกฤษได้ โต้ตอบกับฝรั่งรู้เรื่อง
ถ้าถามว่าภาพลักษณ์ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ สมัยยังหนุ่ม เป็นยังไง ก็ขอตอบว่ามองผ่านสายตามิชชันนารีแล้ว โก้มาก เท่มาก ทีเดียว หมอบรัดเล เล่าต่อว่า
" ในวันรุ่งขึ้นพวกมิชชันนารีได้พากันไปเยี่ยมที่บ้านหลวงนายสิทธิ์ตามที่ท่านบอกเชิญไว้เมื่อวาน เมื่อไปถึงก็พบบ้านใหญ่โตงดงามมาก ที่หน้าบ้านมีคำขวัญเขียนเตรียมรับรองไว้ว่า "นี่บ้านหลวงนายสิทธิ์ ขอเชิญท่านสหายทั้งหลาย" (คำรับรองนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ)
ที่บ้านหลวงนายสิทธิ์นี้เองมิชชันนารีได้พบคนดีๆของเมืองไทยอีกหลายคน ทำให้พึงพอใจการพบปะครั้งนี้มาก และพวกมิชชันนารีก็พอใจรักใคร่หลวงนายสิทธิ์ขึ้นอีกมาก
ส่วนภรรยาหลวงนายสิทธิ์ที่ชื่อคุณกลิ่น(ต่อมาคือท่านผู้หญิงกลิ่น) มีอัธยาศัยคล้ายสามี ชอบสมาคมกับชาวต่างประเทศ ได้ชอบพอกับนางแบบติสต์มากถึงกับเคยไปนอนค้างที่บ้านนางแบบติสต์ด้วย
(เก็บความจากหนังสือ "เฉกอะหมัด และต้นสกุลบุนนาค "ของพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) ****************** เดินยังไม่ถึงโคมระย้าแก้วสักที
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 9 เม.ย. 2549 - 10:55:44
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 32 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:06
|
|
ข้อความนี้ต่อจากค.ห. ๒๗ ค่ะ ***************** แทนที่จะยุติการประชุมลงเพียงแค่นั้น ถือว่าสยามได้พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นยังไง ก็เท่ากับเป็นเรื่องของงานแผ่นดินที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่จะทรงรับพระราชภารกิจต่อไป การประชุมก็ยังไม่จบ พูดอีกทีคือไม่ยักจบ
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ถามที่ประชุมอีกว่า ขอให้เสนอพระนามผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งว่างมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต รวม ๓ ปีกว่าแล้ว
อันที่จริงธรรมเนียมนี้ไม่มีมาก่อน ที่บรรดาเจ้านายจะมาประชุมเลือกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ ก่อนหน้านี้ทั้ง ๔ รัชกาล ล้วนแต่เป็นพระบรมราชวินิจฉัยของพระเจ้าแผ่นดิน ที่จะโปรดเกล้าฯสถาปนาเจ้านายพระองค์ใดก็ได้แล้วแต่จะทรงเห็นสมควร หรือจะไม่ทรงเลือกองค์ไหนก็ทรงทำได้เช่นกัน
อย่างที่เป็นมาแล้วในรัชกาลที่ ๓ เมื่อกรมพระราชวังบวรศักดิพลเสพย์สิ้นพระชนม์ไปแล้วหลังทรงดำรงตำแหน่งแค่ ๗ ปี ตำแหน่งนี้ก็ว่างจนสิ้นรัชกาล ไม่ใช่หน้าที่ของพระบรมวงศานุวงศ์หรือขุนนางจะมาเลือกกันเอง
ผู้ที่คิดเห็นอย่างนี้คงจะมีหลายองค์ เพราะเจ้านายย่อมทรงทราบโบราณราชประเพณีกันมาดี แต่ก็ไม่มีใครพูดออกมา คงเอออวยตามวิธีการของเจ้าพระยาสมุกลาโหม กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์จึงทรงเสนอพระนามกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นมา
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 9 เม.ย. 2549 - 10:58:53
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 33 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:07
|
|
ตอนอ่าน" โครงกระดูกในตู้" ถึงตอนนี้ก็อดคิดไม่ได้ว่าฉากนี้มีการเตี๊ยมรายพระนามกันมาล่วงหน้าแล้ว ถึงเสนอกันได้ไม่ผิดพลาดระหว่างกรมหลวงเทเวศร์ฯและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เจ้านายองค์อื่นๆก็คงทรงรู้หมือนกัน แต่ว่าไม่มีใครกล้าที่จะคัดค้าน แต่มีองค์เดียวเท่านั้นที่กล้าพูดขึ้นมากลางที่ประชุม ก็คือกรมขุนวรจักรธรานุภาพ(พระองค์เจ้าปราโมช)
กรมขุนวรจักรฯเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอำภา และทรงเป็นเสด็จปู่ของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในรัชกาลที่ ๔ ทรงกำกับกรมนครบาล ตอนนั้นพระชนม์ ๕๒ แล้ว ไม่ใช่น้อยๆส่วนเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อายุ ๖๐ ปี
กรมขุนวรจักรฯ ตรัสขึ้นมาว่า " ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรหรือวังหน้านั้น ตามพระราชประเพณีการปกครองแต่ดั้งเดิมมา สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงแต่งตั้ง ผู้อื่นจะมาแต่งตั้งไม่ได้ เมื่อที่ประชุมได้ลงมติให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ ทรงสืบราชสันตติวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ควรจะได้โปรดเกล้าฯตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรฯ ตามพระราชอำนาจ ไม่ใช่อำนาจหรือหน้าที่ของที่ประชุมนั้นจะมาแต่งตั้งกรมพระราชวังบวรฯเอาเอง"
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 9 เม.ย. 2549 - 11:00:42
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 34 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:08
|
|
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ฟังกรมขุนวรจักฯทรงแย้ง แทนที่ท่านจะตอบตามประเด็นนี้ว่ามันผิดหรือมันถูก หรือมันมีเหตุผลอะไรที่จะต้อง" เลือกตั้ง" ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯ หรือจะถามที่ประชุมว่าจะเอาแบบไหน แบบกรมขุนวรจักรฯตรัสมา หรือว่าจะแบบที่ท่านเสนอที่ประชุม
เปล่า เจ้าพระยาฯท่านไม่ได้ตอบตามประเด็นนี้สักคำ แต่ท่านย้อนถามกรมขุนวรจักรฯว่า " อยากจะเป็นเองหรือ?"
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 9 เม.ย. 2549 - 11:01:53
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 35 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:09
|
|
การเปลี่ยนประเด็นจาก "เรื่องที่พูดกันอยู่" เป็น "ใครที่พูดขึ้นมา" แบบนี้ มีที่มาเบื้องหลังที่หนักหน่วงไม่เบา
ก่อนหน้านี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงกระทำสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร แล้วทรงแสดงความในพระราชหฤทัยว่า ในเวลาต่อไป ถ้าเจ้านายทรงกรม ๔ พระองค์ คือ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ และกรมหมื่นราชสีหวิกรม ถ้าในภายหน้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็จะมิได้ทรงรังเกียจเดียดฉันท์เลย
แปลออกมาได้ความว่าผู้ที่ทรงเห็นว่าเหมาะสมเข้าข่ายจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้มีอยู่ ๔ พระองค์
พระองค์แรกคือพระราชโอรสที่ทรงพระเยาว์อยู่มาก พระองค์ที่ ๒ และ ๓ เป็นพระราชอนุชา ส่วนพระองค์ที่ ๔ เรียกอย่างชาวบ้านว่าเป็น "หลานอา"
ขออธิบายถึงแต่ละพระองค์ก่อนนะคะ กรมหมื่นบำราบปรปักษ์ พระนามเดิมคือเจ้าฟ้ามหามาลา เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี รับราชการในกรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุล มาลากุล
กรมหมื่นวรจักร - อธิบายแล้ว
กรมหมื่นราชสีหวิกรม (พระองค์เจ้าชุมสาย)องค์นี้เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ ทรงกำกับกรมช่างศิลาและกรมช่างสิบหมู่ เป็นต้นราชสกุล ชุมสาย
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 10 เม.ย. 2549 - 10:03:04
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 36 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:10
|
|
ราชสกุลชุมสายนี้ไงคะที่เคยเป็นข่าว เชื้อสายของท่านเคยให้ทนายยื่นโนติสน้องป๊อปให้เลิกใช้นามสกุลพ้องกับราชสกุลโดยไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย ราชสกุลชุมสายนี้เหมือนกันที่เป็นราชสกุลของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เจ้านายผู้อาภัพองค์หนึ่งของสยาม
เอาละ ออกนอกเรื่องมากไปแล้ว เลี้ยวกลับมาที่เดิม
พระราชประสงค์ในพระเจ้าอยู่หัวข้อนี้แทนที่จะเป็นเรื่องน่าปลาบปลื้มของเจ้านายทั้ง ๓ พระองค์ ว่าเป็นการสรรเสริญพระปรีชาสามารถ ก็กลับเป็นสิ่งน่าสะพรึงกลัว ให้ทรงหวาดหวั่นว่าจะเป็นที่เพ่งเล็งจากพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการว่า อาจจะมักใหญ่ใฝ่สูงคิดการใหญ่ ทุกพระองค์ต่างก็ทรงระมัดระวังพระองค์ ไม่ทรงทำสิ่งใดให้เกิดเสียงครหานินทาว่าทรงทะเยอทะยานในเรื่องนั้น
เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ย้อนในเรื่องที่เป็นข้อลำบากพระทัยของกรมขุนวรจักรฯ มาแต่ไหนแต่ไร เจ้านายพระองค์นี้ก็ไม่อาจตรัสถึงประเด็นนี้อีก แต่ทรงตอบว่า " ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม"
ก็เป็นอันว่าผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ได้แก่พระราชโอรสองค์ใหญ่ในสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ลำดับญาติแล้วก็ทรงเป็น "ลูกพี่ลูกน้อง"ของพระเจ้าแผ่นดิน ผิดกับวังหน้าองค์ก่อนๆ ที่ทรงเป็น "ลูก" บ้าง "น้องชายแท้ๆ"บ้าง เป็น "อา" บ้าง ทั้งที่ในรัชกาลที่ ๕ ก็มีทั้ง "น้องชาย" และ "อา" อยู่รวมกันแล้วหลายพระองค์ คำตอบในข้อนี้ก็เป็นอันชี้ชัดแล้วว่าในช่วงนั้นใครเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 10 เม.ย. 2549 - 10:07:06
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 37 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:11
|
|
หลังจากการประชุมจบลง กรมขุนวรจักรฯก็เสด็จกลับวัง และประทับอยู่ในวัง ไม่เสด็จออกมาสู่สังคมภายนอกที่สมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกเลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นเวลานานถึง ๕ ปี
จนกระทั่งมีอำนาจการปกครองแผ่นดินกลับมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าพระยาฯได้พ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแล้วนั่นแหละ กรมขุนวรจักรฯถึงประทับเสลี่ยงเสด็จออกจากวังเพื่อจะไปเฝ้ารับเสด็จ เวลาเสด็จออก
มีเกร็ดเล่าโดยม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชว่า กรมขุนวรจักรฯเสด็จออกประตูวังไม่ได้ เพราะว่าประตูนี้ไม่เคยเปิดเสียนานหลายปี จนต้นตะขบขึ้นงอกงาม ขวางอยู่หลายต้น คนธรรมดาพอจะเดินลอดผ่านไปได้ แต่เสลี่ยงผ่านไม่ได้ พอเสด็จออกก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ ต้องวางเสลี่ยงให้มหาดเล็กไปหามีดพร้ามาตัดต้นตะขบ กรมขุนวรจักรฯก็ทรงลงจากเสลี่ยงมาช่วยตัดกับเขาเหมือนกัน เอะอะเอิกเกริกอยู่พักใหญ่ เสโทท่วมองค์ กว่าจะทรงขึ้นเสลี่ยงตั้งขบวนให้หามออกนอกประตูวังไปได้
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 10 เม.ย. 2549 - 10:08:37
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 38 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:12
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 39 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:13
|
|
คราวนี้ถึงเรื่องโคมระย้าแก้ว ตามที่ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เล่าไว้ใน "โครงกระดูกในตู้"
สมเด็จเจ้าพระยาฯท่านนิยมความเป็นอยู่ทันสมัยแบบฝรั่ง สมกับที่ท่านนิยมสมาคมกับฝรั่ง จึงมีฝรั่งพ่อค้าเอาแคตตาล็อคสินค้ามาให้ดู ในนั้นมีโคมระย้าแก้วเจียระไนแบบฝรั่ง (chandalier) สวยงามหรูหรามาก
ฝรั่งก็ไซโคว่าโคมระย้าแก้วแบบนี้ผู้มีเกียรติยศสูงและมีอำนาจวาสนามากในเมืองฝรั่งจึงจะใช้ติดเพดานตึกได้ ในเมืองไทยก็เห็นมีแต่ท่านเท่านั้นที่มีบุญวาสนาและอำนาจราชศักดิ์พอที่จะมีโคมแบบนี้แขวนบนตึกที่บ้านได้
สมเด็จเจ้าพระยาฯดูรูปแล้วก็ถูกใจ เพราะสวยงามหรูหราสมกับบุญวาสนาของท่านจริงๆ ท่านก็สั่งเข้ามา เสียเงินไปเป็นพันๆชั่ง (๑ ชั่งเท่ากับ ๘๐ บาท ๑๐๐๐ชั่งก็ ๘๐๐๐๐ บาท ถ้าสองสามพันชั่งก็เป็นแสน)
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 08:28:14
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 40 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:14
|
|
พอโคมมาถึงจริงๆ ปรากฏว่ามันใหญ่โตขนาดเข้าประตูไม่ได้ ไม่ว่าประตูกำแพงบ้านหรือประตูเข้าตัวตึก ต่อให้รื้อประตูเอาเข้าไปจริงๆ พอแขวนเพดาน โคมก็จะห้อยลงมาถึงพื้น จนปัญญาเข้าท่านก็ต้องปลูกโรงมุงจากไว้ริมตลิ่ง เอาเสาซุงปักไว้ แล้วเอาโคมแขวนไว้ตรงนั้นหลายปี
จนกระทั่งพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทสร้างเสร็จ สมเด็จเจ้าพระยาท่านคอยดูแลเรื่องท้องพระโรงกลางบนพระที่นั่ง ที่ใช้เสด็จออกรับเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ ให้มีขนาดกว้างยาวและสูงจนถูกใจท่าน
แล้วท่านก็ให้คนหามโคมระย้าเข้าไปน้อมเกล้าฯถวาย ให้ติดบนท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรี ได้พอเหมาะ ท่านก็รื่นเริงเบิกบานมากในครั้งนั้น
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บอกว่าโคมระย้ายังติดอยู่จนบัดนี้ ใครเคยเห็นบ้างคะ?
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 08:37:51
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 41 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:15
|
|
อำนาจของสมเด็จเจ้าพระยามีมากแค่ไหน รู้ได้จากบันทึกของหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องนี้ท่านหญิงพูนฯ ทรงได้ยินจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักด์สโมสร(พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเที่ยง ต้นราชสกุล กมลาสน์)
ขอลอกมาให้อ่านกันค่ะ จะได้รสชาติครบถ้วน
"เสด็จลุงกรมราชศักดิ์ ท่านเคยเสด็จมาเยี่ยมเสด็จป้าที่วังเราเสมอๆ ข้าพเจ้าชอบไปคุยกับท่านเพราะท่านเป็นคนตรงๆ และคุยสนุก ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าทูลถามท่านว่า "เสด็จลุงทรงจำทูลกระหม่อมปู่ได้ไหมเพคะ?" ท่านก็เลยทรงเล่าประทานว่า "ได้ซีวะ ข้าอายุ ๑๑ ปีแล้ว กำลังเป็นเณร เขามาเรียกไปเก็บไว้ในพระที่นั่งกันเป็นแถว พูดถึงสวรรคตเข้าจริงข้าก็ร้องไห้ออกมาทั้งเป็นเณร" ข้าพเจ้าทูลถามต่อไปว่า "แล้วอย่างไรต่อไป" ท่านตรัสว่า " แล้วยังไง พอสึกจากเณรแล้วข้าก็อยู่กับแม่ ถึงเวลาก็ขึ้นเฝ้าในหลวงทางข้างหน้า แหม เอง เรากลัวเขาจริง พอคลานผ่านที่เขาเอกเขนกอยู่ละก็ เราหมอบกราบกันราบเทียว"
(เอง ในที่นี้ คือ เอ็ง ค่ะ)
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 08:39:48
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 42 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:15
|
|
ทูลถามว่า "เขาน่ะใคร" ท่านตอบว่า "ใครล่ะ สมเด็จเจ้าพระยาน่ะซี วันหนึ่งเขาเขยิบตีนไปถูกเอาหัวสมเด็จพระมหาสมณะ*ที่กำลังกราบอยู่เข้า เขาหันมาบอกว่า "ขอโทษทีนะ เจ้า" ข้าพเจ้าอดไม่ได้ก็แซกขึ้นไปว่า "ทำไมจะต้องกราบล่ะ เพียงนั่งคุมเท่านั้นไม่พอเทียวรึ" ท่านทรงพระสรวลแล้วตอบว่า "มึงอย่าอวดดีไปหน่อยเลย ถ้าเองเกิดทัน เองก็กลัวเขาเหมือนกัน"
ข้าพเจ้าเล่าถวายเสด็จพ่อว่า เสด็จลุงท่านว่าอย่างนี้ เสด็จพ่อเลยตรัสว่า "จริงของท่านนะ พ่อเคยเห็นคนมามากแล้ว ไม่เห็นใครมีสง่าเหมือนสมเด็จเจ้าพระยาฯคนนี้ ถ้าเดินมาในที่ประชุม คนทั้งร้อยก็กลัวทั้งร้อย ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร"
หมายเหตุ : หมายถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระนามเดิมคือพระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพยังทรงพระเยาว์ พระชันษาแค่ ๘ ปี นึกภาพพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เล็กๆ ไว้จุก กราบสมเด็จเจ้าพระยากันเป็นแถว เจ้านายท่านก็คงยำเกรงสมเด็จเจ้าพระยาตามประสาเด็ก
โดย: เทาชมพู [IP: hidden] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 08:46:49
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 43 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:16
|
|
 นำภาพท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มาให้ชมโคมระย้าที่คุณเทาชมพูกล่าวถึงไว้ในความเห็นที่ ๓๙ ครับ
โดย: UP [IP: 24.196.81.139,,] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 08:49:37 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จ้อ
|
ความคิดเห็นที่ 44 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 16:17
|
|
เพิ่งเข้ามาอ่านกระทู้นี้จริงจังครับ ขอโอกาสคุณเทาชมพูวกออกไปเล่าเรื่องการเปลี่ยนศาสนาของพวกบุนนาคสักนิด เป็นการเพิ่มเติมจากที่คุณ pipat ได้เล่าไว้ในความเห็นที่ ๒๘ ครับ
เรื่องการเปลี่ยนจากอิสลามเป็นพุทธซึ่งพัวพันกับการเสด็จพระพุทธบาทนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคของ "เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ)" ในวงศ์เฉกอะหมัด ชั้นที่ ๔ เมื่อแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครับ
ในปีหนึ่ง การเสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระพุทธบาท เป็นมหกรรมเอิกเกริกว่าปกติทุกปี เพราะเป็นระยะที่พระเจ้าบรมโกศทรงหายจากพระอาการประชวร บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และขุนน้ำขุนนางก็ยินดีกันมากเป็นพิเศษที่จะตามเสด็จสนองพระเดชพระคุณไปพระบาทในปีนี้ แต่ไม่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาเพ็ชรพิไชย (ต่อมาเป็นเจ้าพระยา) ตามเสด็จ
พระยาเพ็ชรพิไชยจึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอตามเสด็จ แต่พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภว่าพระยาเพ็ชรพิไชยเป็นแขกมุสลิม ไม่ควรตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาท ดังนี้ พระยาเพ็ชรพิไชยจึงตัดสินใจเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา โดยได้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะต่อสมเด็จพระสังฆราช และเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัว เป็นอันว่าพระยาเพ็ชรพิไชยก็ได้ตามเสด็จสมดังตั้งใจ
เมื่อเสด็จกลับพระนครแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อวยยศให้พระยาเพ็ชรพิไชย (ใจ) เป็น "เจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย" ที่สมุหนายก
โดย: UP [IP: 24.196.81.139,,] วันที่ 11 เม.ย. 2549 - 09:28:35
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|