เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 53038 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์(ช่วง บุนนาค)
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:10

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 128

ตลอดรัชกาลที่ ๔ อำนาจของพวกบุนนาคก็เติบโตอย่างมั่นคงมาตลอด แม้แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯเองก็ทรงจับตามองด้วยความไม่ประมาท
จึงทรงฝึกทหารเอาไว้คานอำนาจพวกขุนนาง กำลังทหารของวังหน้ามากกว่าวังหลวงเสียอีก
ส่วนเจ้านายอื่นๆที่เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ แทบจะไม่มีบทบาทอะไรในการบริหารบ้านเมืองอยู่แล้ว และก็ไม่เห็นว่ามีพระองค์ไหนแสดงความทะเยอทะยาน

กำลังทางทหารตกทอดมาถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมากน้อยแค่ไหน ดิฉันไม่ทราบรายละเอียด
ทราบแต่ว่าตามธรรมเนียมของรัชกาลก่อนๆ เมื่อวังหน้าสิ้นพระชนม์ไป ขุนนางวังหน้าทั้งหมดก็จะต้องย้ายเข้ามาสังกัดวังหลวงโดยอัตโนมัติ

เคยอ่านพบที่ไหนสักแห่งว่า เมื่อสิ้นสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แล้ว กองทหารที่ฝึกเอาไว้แบบฝรั่งก็ถูกลดทอนลง บางส่วนก็ไปขึ้นกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญนั้น พระอัธยาศัยโปรดการทหารด้วยหรือไม่ ก็ไม่ทราบ รู้แต่ว่าโปรดวิชาช่างต่างๆ อย่างหุ่นวังหน้าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ตาม ดิฉันก็มองว่า อำนาจของวังหลวง (x)อำนาจของวังหน้า(y)และอำนาจของพวกบุนนาค(z) น่าจะเป็น ๓ กลุ่มที่สำคัญไล่เลี่ยกัน มากน้อยต่างกันไม่เท่าใดนัก
เทียบเป็น x=y=z

แต่ถ้า z จัดระเบียบเสียใหม่ เป็น z+y ส่วน x แยกออกไปเดี่ยวๆ
ก็จะออกมาในรูปนี้ z+y>x
หรือกลับกัน เป็น x< z+ y

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 17:26:05
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:11

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 129

เกือบชนกันกลางอากาศ เหลื่อมกันนิดเดียว คุณพิพัฒน์

ที่ยกมานั้นเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนเรื่องจะเชื่อหรือไม่เชื่อหลักฐานนั้นไม่เถียงละค่ะ ความเชื่อของแต่ละคนเถียงกันยาก มีแต่ว่าตรงกันหรือต่างกัน

ดิฉันเองก็มีความเชื่อเหมือนกัน
เชื่อว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯท่านพอใจแต่มีอำนาจอยู่ในมือ เพื่อจะทำงานบริหาร เพื่อแผ่นดิน
แต่ไม่ได้คิดว่าจะใช้อำนาจนั้นเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและลูกหลาน

แต่คนอื่นๆนั้นเขาอาจจะเชื่ออย่างอื่น และเชื่อกันแพร่หลายด้วย
จนกระทั่งก่อความขมขื่นแก่ลูกหลานบางคน
คุณพิพัฒน์จำพระราชหัตถเลขาที่สมเด็จพระนางสุขุมาลมารศรีทรงมีถึงพระราชโอรสได้ไหม ว่าทรงเอ่ยถึงตระกูลบุนนาคอันเป็นตระกูลฝ่ายเจ้าจอมมารดาของท่านไว้อย่างไร ดิฉันว่าคุณพิพัฒน์จำได้น่า

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 17:34:46
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:11

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 130

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเหยื่ออีกรายของการสร้างวรรณกรรมประวัติศาสตร์
ถามว่าทำไมท่านไม่ยกเมียสักคนขึ้นเพื่อให้มีเจ้าฟ้า
ถามว่าทำไมท่านไม่ตั้งวังหน้า แทนพระองค์ที่สิ้นไป
ถามว่าทำไมยกมงกุฏไว้เหนือพระปรางค์วัดอรุณ(วัดนี้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เป็นศรีแห่งพระนครนะครับ)
ถามว่าเลื่อนพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ และให้ครองวัดบวรฯ(วัดของวังหน้านะครับ วัดในกรุงมีออกถม)
ถามว่าทำไมมีพระไพรีพินาศ
ถามว่ายกย่องท่านฟ้าน้อยทำไม
ถามว่าลูกท่านองค์ใหนได้ยกย่องบ้าง ได้คุมกำลังบ้าง
ถามว่าทำไมให้พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏดูแลการทำสัญญากับต่างประเทศ นั่นไม่ใช่กิจของสงฆ์ และในขณะนั้น มีใครในแผ่นดินที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาเหนือท่านบ้าง
ถามว่าคำสั่งเสียสุดท้าย ยกพระนามพระภิกษุว่าเหมาะเป็นกษัตริย์ทำไม

ท่านทำไว้เป้นนัยยะร่วมยี่สิบรายการ
คนทั้งหลายเอาเรื่องสร้อยเส้นเดียวมาลบล้างหมด
สำหรับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่อาจารย์เทาฯเชิญมานั้น
ผมทำความเข้าใจแบบเดียวกับที่อ่านงานของคุณชายคึกฤทธิ์ครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.183.177,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 17:37:25
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:11

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 131

ใจเย็นๆน่าคุณพิพัฒน์ ดิฉันก็เชื่ออย่างที่คุณเชื่อ

ส่วนสร้อยประคำเส้นนั้น ดิฉันก็เชื่อว่าไม่ได้หมายความกันใหญ่โตอย่างที่มาตีความกัน
อาจเป็นของส่วนพระองค์ พระราชทานพระราชโอรสที่ยังมีพระชนม์อยู่ ด้วยความรักจากพ่อที่มอบให้เป็นครั้งสุดท้าย

เพราะเงินทองทั้งหลายท่านก็ทรงทำเป็นเงินถุงแดง ให้แผ่นดินไปหมดแล้ว

สนทนากันนานๆเข้า ดิฉันแว่วว่าเสียงคุณพิพัฒน์ชักจะไม่ต้องใช้ไมค์เลยนะคะ แม้ในห้องประชุมขนาดคอนเวนชั่นฮอล ของศูนย์สิริกิติ์

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 17:56:24
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:12

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 132

ผมคิดว่า สิ่งที่นายสุกิจ นิมมานเหมินท์เล่าไว้ เรื่องรัตนบุรุษไทยสมัยก่อน น่าจะฟังขึ้น และวิธีคิดวิธีปฏิบัติอย่างนั้นแหละ ที่ทำให้เรากู้ชาติคืนจากพม่าในหกเดือน สร้างกรุงใหม่ได้ในรัชกาลเดียว และรอดเงื้อมมือตะวันตกมาได้

เว้นแต่มีหลักฐานอย่างหนาแน่น เราค่อยมาเขียนประวัติสาดเสียเทเสียกัน

ป.ล. 1 เรียนอาจารย์เทา ไม่สำคัญว่าผมจำได้ใหม คนอื่นๆ ควรได้จำบ้าง เล่ามาเสียดีๆ นะครับ
ป.ล. 2 เรียนอาจารย์เทาอีกนั่นแหละ ถ้าพระราชนิพนธ์ ร.6 ควรยึดถืออย่างเคร่งครัด
เราจะทำยังไงกับ "บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์" กันดีครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.183.177,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 17:59:43
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:12

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 133

เรียน คุณพี. พี. (ทนายหน้าหอ ตระกูล บ. น.)

***เมื่อรับเชิญเป็นกษัตริย์ รัชกาลที่ 4 เหตุใดทรงยกน้องชายเป็นวังหน้า
และยกขึ้นถึงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่สอง ตอบว่า เพราะจะได้ซ่องสุมอาวุธผู้คน
ได้อย่างเปิดเผย เพื่อคานอำนาจบุนนาค ***


คุณพีพี ทำไมถึงคิดไปไกลลิบลับนักล่ะคะ ลองมองประวัติศาสตร์แบบเส้นตรง
ดูบ้างนะคะ เราอ่านคำตอบของคุณพีแล้ว ดังเสี้ยนตำฝ่าเท้าเราให้ต้องระทมอยู่ร่ำไป
เราขอโต้สัก 2 กระบวนท่า ให้ท่านปวกเปียกเป็นมะเขือลนไฟ ดั่งนี้แล
(ตำราที่หมายจะงัดขึ้นมาสู้อยู่ในตู้ยังหาไม่เจอ ใช้ตำราใกล้ตัวตอบก่อนนะคะ)

1) พระองค์ทรงเชื่อในอิทธิพลของดวงดาวต่อวิถีชีวิตมนุษย์ มากกว่าใดอื่น

เมื่อ ร. 3 ทรงประชวรหนัก สมเด็จเจ้าพระยาเตรียมตัวมาเทียบเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎ
ขึ้นครองบัลลังก์ เราคิดว่าเจ้าฟ้ามงกุฎมีพระทัยใสสะอาด ในร่มกาสาวพักตร์
(ร่วม 27 วัสสา) เกินกว่าจะทรงมีจิตรคิดการแยบยลต่ำกว่าสะดือ ดั่งเหตุที่คุณพี
ยกอ้างทุกครั้งๆ (รวมทั้งเรื่องซื้อแผ่นดินที่สิงหะ+ปุระ 11 ไร่ – ที่ 370 ถนนออร์ชาร์ด)
แต่อย่างใดไม่

และเมื่อกางพระราชพงศาวดารโต้ตอบกับท่าน (ขอโทษที่ประวัติศาสตร์ไทย
เขียนโดยสมาชิกของตระกูล บ.น.) ก็น่าเป็นได้ว่าพระองค์ไม่ทรงประสงค์ทัดทาน
ลิขิตจากฟ้า อีกทั้งเข้าใจลึกซึ้งว่า....อันชีวิตนั้นกำหนดไม่ได้

“......สมเด็จเจ้าพระยาไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ที่วัดบวร
ซึ่งทรงผนวชอยู่กราบทูลให้ทรงทราบว่าจะเชิญขึ้นครองราชย์สมบัติ
ทรงตรัสว่าถ้าจะถวายราชสมบัติแด่พระองค์ ก็ขอให้ถวายแด่พระปิ่นเกล้าฯ
ซึ่งตรัสเรียก (อย่างอ่อนโยน) ว่า “ท่านฟากข้างโน้น” ด้วยเพราะท่านมี
ชะตาแรงนัก ตามตำราโหราศาสตร์ว่า ผู้มีชะตาเช่นนั้น จะต้องได้เป็นพระเจ้า
แผ่นดิน ถ้าทรงรับเพียงพระองค์เดียว จะเกิดอัปมงคลด้วยไปกีดบารมี
สมเด็จพระอนุชา......”

ที่มา: เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4
(พระนคร พ.ศ. 2504) หน้า 41-42

โดย: Rinda  [IP: 124.121.185.148,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 21:15:32
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:12

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 134

2) ดูกรท่านมานพ พีพี ที่รักชีพกว่าชาติ..อันว่าสากย่อมคู่กับครกฉันใด
บุ๋นก็ย่อมคู่กับบู๊ฉันนั้น

ขอเก็บความจากหนังสือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มาโต้กับคุณพีค่ะ


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงชำนาญทางบุ๋น จึงมีพระประสงค์
ให้พระอนุชาธิราช (ผู้เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากและเป็นพระอนุชาคู่ทุกข์คู่ยาก)
ดูแลทางบู๊ ความที่ทรงอยู่ในเพศบรรพชิตที่ยาวนาน ทำให้เราเชื่อว่า
พระองค์ไม่ทรงประสงค์จะปวดพระเศียรเรื่องการศึกตลอด ทรงใช้เวลาทาง
สุ-จิ-ปุ-ลิ สำหรับการค้นหาวิชาความรู้แขนงใหม่ๆ และคบหาสมาคมกับชาวต่างชาติ
อย่างอิสระเสรี เช่น ทรงเรียนละตินจากบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ (Pallegoix)
และสาธุคุณแคสเวล (Caswell) ตลอดจนได้เสด็จ ธุดงแสวงบุญ ทรงสัมผัส
กับชาวบ้านทุกระดับ ทำให้พระองค์ทรงประสงค์ ดูแลการบ้านการเมือง
ยังภาระยุทธโยธินไว้ประทานใส่บ่าพระอนุชา

“สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าก็ทรงพระปรีชา.....รอบรู้การในพระนคร
และการ ตปท. และขนบธรรมเนียมต่างๆและศิลปะศาสตร์ในการณรงค์สงคราม
.......มีการณรงค์สงครามมาคับขันประการใด จึงได้ให้เสด็จไปเป็นจอมพยุหโยธา
ทหารทั้งปวง”

ที่มา: พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, ม.ร.ว. กมลพิสมัยนวรัตน และ
นางบรรจบพันธุ์ นวรัตน ณ อยุธยา (พระนคร พ.ศ. 2507) หน้า

โดย: Rinda  [IP: 124.121.185.148,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 21:21:05
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:13

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 135

ค.ห. 130 ก-ข-ค-ง-จ-ฉ.....

สำหรับ ก. และ ข. ตอบซื่อๆว่า ทรงต้องการให้องค์รัชทายาทเข้าได้กับเจ้านาย
และพระราชวงศ์ ดังนั้นพระองค์จึงทรงสละสิทธิ์นี้ โดยให้เจ้านายทรงเลือกกันเอง
จะได้ประคบประหงม ประคับประคองกันไป

ค. ขอหาตำราหนึ่งเล่ม แล้วค่อยกลับมาตอบ

ง. พระองค์ทรงคิดว่าสมบัติผลัดกันชม แผ่นดินเมื่อ 27 ปีก่อน ควรเป็นของ
เจ้าฟ้ามงกุฎ ท่านทรงขัดตาทัพเสีย 27 พรรษา บัดนี้ลุแก่เวลาแล้ว

จ. ก็เพราะ ร. 3 ทรงช่วยกำจัดเสี้ยนหนามให้ เจ้าฟ้ามงกุฎแล้ว อริมลายสิ้น

ฉ. ถามว่ายกย่องท่านฟ้าน้อยทำไม…..ใครยกคะ ร.3 ไม่ได้ยกนะคะ (ดูข้างล่าง)

ช. ซ. และ ช. เชอ ก็ต้องดูข้อ ง. เหมือนกัน

ร. 3 ทรงคิดว่าเมื่อท่านคืนบัลลังก์ให้เจ้าฟ้ามงกุฎ เงินที่งอกเงยจากการโล้สำเภา
ก็ควรเป็นทุนรอนของประเทศต่อไปน่ะค่ะ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงไม่ทรงทำการจัดสรรศฤงคาร
ในหมู่พระราชโอรสธิดาของท่าน (ผิดด้วยหรือที่จะมีเจ้านายที่เงินทองเหนี่ยวพระทัยไม่ได้
อีกพระองค์ที่เห็น ก็คือ กรมพระจันทร์ฯ)


ขอคัดข้อสังเกตที่ ร. 3 ทรงพระราชทานแก่เจ้านายที่เข้าเฝ้าเพื่อเป็นแนวทาง
ในการเลือกเฟ้นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ มา ณ ที่นี้


“กรมขุนเดช (กรมขุนเดชอดิศร พระอนุชา) เล่าท่านก็เป็นคนพระกรรเบา
ใครจะเชื่ออะไรท่านก็เชื่อง่ายๆ จะเป็นใหญ่โตไปไม่ได้ กรมขุนพิพิธ
(กรมขุนพิพิทธภูเบนทร์ พระอนุชา) เล่าก็ไม่รู้จักการงาน ปัญญาก็ไม่สอดส่องไปได้
คิดแต่จะเล่นอย่างเดียว ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ก็เห็นแต่ท่าน
ฟ้าใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ) ท่านฟ้าน้อย (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์)
ก็ทรงรังเกียจอยู่ว่าท่านฟ้าใหญ่ถืออย่างมอญ ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้นก็จะให้พระสงฆ์
ห่มผ้าอย่างมอญเสียทั้งแผ่นดินดอกกระมัง ท่านฟ้าน้อยเล่าก็มีสติปัญญารู้วิชา
การช่างและการทหารต่างๆอยู่ แต่ไม่พอใจทำราชการ รักแต่การเล่นสนุกเท่านั้น”

คณะเสนาบดีได้ยินก็ยังลังเลไม่เลือกผู้ใด แต่เสนาบดีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคือ
เจ้าพระยาคลังเห็นว่าผู้ที่มีความสามารถสติปัญญาจะถือบังเหียนแผ่นดินให้
รอดพ้นจากฝรั่งได้ก็มีแต่เจ้าฟ้ามงกุฎเท่านั้น จึงไปอัญเชิญพระองค์ใน 7 วันต่อมา

ในพระราชพิจารณ์ของ ร. 5 เรื่องพระราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงคิดว่าเจ้าพระยาฯ เห็นว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ
ทรงเป็นพระบรมราชโอรสอันประเสริฐ ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 เป็นผู้คู่ควรแก่แผ่นดิน

(ท่อนนี้ขอไม่บอกที่มา เพราะคุณพีจะกล่าวหาว่าไร้จินตนาการ)

โดย: Rinda  [IP: 124.121.185.148,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 21:33:47
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:13

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 136

ข้อมูลของผมคงไม่ค่อยแม่น เพราะอ่านน้อย เล่มที่กรุณาแนะนำก็ไม่เคยอ่าน อ่านของท่านจันทร์ไม่เห็นมีอย่างที่ว่า

ตั้งแต่ทัพเรือแตกที่เมืองโจดก ผมก็ไม่ทราบว่าท่านฟ้าน้อยเคยรบทัพจับศึกที่ใหนอีก

คราวศึกเชียงตุงนี่ ท่านทำอะไรบ้างครับ

โดย: pipat  [IP: 58.9.183.177,,]  
วันที่ 3 พ.ค. 2549 - 22:11:33
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:14

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 137

ตอบคุณพิพัฒน์ ค.ห.พ.ต. 132

ป.ล. 1 เรียนอาจารย์เทา ไม่สำคัญว่าผมจำได้ใหม คนอื่นๆ ควรได้จำบ้าง เล่ามาเสียดีๆ นะครับ

ไปเปิดหนังสือแล้วค่ะ อ่าน 2 เที่ยวแล้วยังหาตอนที่สมเด็จพระนางฯ ทรงเอ่ยถึงสกุลท่านฝ่ายท่านไม่เจอ
กำลังนึกว่ามีเล่มไหนอีกในบ้าน จะไปงมเข็ม

จะเล่าแบบเก็บความก็เกรงว่าจะไม่ตรง อยากจะคัดข้อความกันเป๊ะๆมากกว่า
จนปัญญาต้องถามคุณ UP ว่ามีไหม พระหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึงสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตเมื่อครั้งทรงไปศึกษาอยู่ในยุโรป

ป.ล. 2 เรียนอาจารย์เทาอีกนั่นแหละ ถ้าพระราชนิพนธ์ ร.6 ควรยึดถืออย่างเคร่งครัด
เราจะทำยังไงกับ "บิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์" กันดีครับ

คำถามของคุณพิพัฒน์ ดิฉันไม่แน่ใจว่าแปลว่าอะไรกันแน่
เพราะฉะนั้นคำตอบของดิฉัน คุณพิพัฒน์ก็ต้องไปแปลเอาเองเหมือนกัน

ในเรื่องอิเหนา ตอนระตูจรกาหาคู่ ใช้ช่างเขียนไปวาดภาพหญิงงามในเมืองต่างๆมาให้เลือก
ช่างเขียนก็มาเห็นบุษบาเจ้าหญิงเมืองดาหา

บัดนั้น.....................................ช่างเขียนผู้มีอัชฌาศัย
เมียงหมอบลอบดูอยู่แต่ไกล........วาดรูปอรไทตื่นบรรทม
ไม่ผัดพักตราทรงอาภรณ์............ก็งามงอนระทวยสวยสม
นางช่างเขียนพลางทางชม..........นึกนิยมเตือนใจไปมา
**************
เมื่อนั้น....................................นายช่างชำนาญการเลขา
เห็นเทวีทรงเครื่องเรืองรจนา........โสภาผุดผ่องละอององค์
ตั้งตาพินิจพิศดูนาง....................เยื้องย่างยุรยาตรดังราชหงส์
จึงคลี่กระดาษวาดรูปโฉมยง.........เหมือนทั่วทั้งองค์อินทรีย์

พระนิพนธ์ เปรียบได้กับบุษบาตอนผัดหน้าแต่งองค์ทรงเครื่องอร่ามเรืองออกมาแล้ว
พระราชนิพนธ์ คือบุษบาตอนไม่ได้ผัดหน้าแต่งตัว

โดย: เทาชมพู  [IP: hidden]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 08:54:16
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:14

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 138

ผมยอมรับครับว่าในฐานะเสนาบดีผู้ใหญ่ ท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯ จะทำสิ่งใดก็คงต้องเห็นแก่บ้านแก่เมือง เพราะความมั่นคงของสยามย่อมส่งผลต่อความมั่นคงของตระกูลบุนนาคด้วย ยิ่งในภาวะที่ถูกภัยคุกคามจากต่างประเทศด้วยแล้ว ท่านจะทำสิ่งใดก็คงจะระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่การทำงานรับใช้พระเจ้าแผ่นดินในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเป็นคนโปรดก็นับว่าเป็นบุญวาสนา แต่ถ้าวันใดไม่โปรดขึ้นมาภัยก็อาจจะมาถึงตัวได้ ดังนั้นสิ่งที่ท่านทำย่อมต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของวงศ์ตระกูลท่านเองด้วยครับ

โดย: หยดน้ำ  [IP: 203.118.106.104,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 09:23:41
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:14

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 139

ในความคิดเห็นที่ 135 พระราชกระแสรับสั่งที่คุณ Rinda ยกมา นับว่าเป็นพระราชดำรัสที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องสืบสันตติวงศ์ เพราะได้ทรงแสดงพระราชดำริจะตัดสิทธิ์เจ้านาย 4 พระองค์นี้ ไม่ให้ขึ้นครองแผ่นดิน แต่คุณ Rinda ตกข้อความตอนหน้าที่เป็นประโยคสำคัญไปครับ


"...การแผ่นดินไปข้างหน้า ไม่เห็นผู้ใดที่จะรักษาแผ่นดินได้กรมขุนเดชเล่า ท่านก็เป็นคนพระกรรณเบา ใครจะพูดอะไรท่านก็เชื่อง่ายๆ จะเป็นใหญ่โตไปไม่ได้ กรมขุนพิพิธเล่า ก็ไม่รู้จักการงาน ปัญญาก็ไม่สอดส่องไปได้ คิดแต่จะเล่นอย่างเดียว ที่สติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่ก็เห็นแต่ท่าน
ฟ้าใหญ่ ท่านฟ้าน้อย ก็ทรงรังเกียจอยู่ว่าท่านฟ้าใหญ่ถืออย่างมอญ ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินขึ้นก็จะให้พระสงฆ์ ห่มผ้าอย่างมอญเสียทั้งแผ่นดินดอกกระมัง ท่านฟ้าน้อยเล่าก็มีสติปัญญารู้วิชา
การช่างและการทหารต่างๆอยู่ แต่ไม่พอใจทำราชการ รักแต่การเล่นสนุกเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึ่งมิได้ทรงอนุญาต กลัวเจ้านายข้ราชการเขาจะไม่ชอบใจเพียงนี้ จึ่งได้โปรดให้ตามใจคนทั้งปวง สุดแต่เห็นพร้อมเพรียงกัน..." (พระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี)


นอกจากนี้เซอร์เฮนรี่ ออร์ด ผู้สำเร็จราชการเมืองสิงคโปร์ในสมัยนั้น ได้บันทึกเรื่องราวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 และปลายรัชกาลที่ 4 ไว้ว่า

"...สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชันษาราวสัก ๑๕ ปี เป็นที่สงสัยกันว่า เจ้าฟ้าพระองค์นี้จะเป็นรัชทายาทสืบพระวงศ์ เพราะในเวลานี้ไม่มีพระมหาอุปราช แต่ไม่เป็นการแน่ทีเดียวที่เจ้าฟ้าพระองค์นี้จะได้ราชสมบัติ ด้วยตามประเพณีไทยถึงการรับราชสมบัติย่อมสืบต่ออยู่ในพระราชวงศ์เดียวกัน ราชสมบัติไม่ได้แก่พระราชโอรสพระองค์ใหย่ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นแน่นอน มีตัวอย่างเช่น ครั้งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อน มีพระราชประสงค์จะให้พระเจ้าลูกเธอได้รับราชสมบัติ แต่ตระกูลใหญ่ของผู้สำเร็จราชการทั้ง ๒ ไม่เห็นชอบตามพระราชประสงค์ ไม่ยกพระเจ้าลูกเธอของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ก่อนขึ้น พร้อมกันถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ ผู้เป็นรัชทายาที่แท้จริงแห่งสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ทำได้โดยปราสจากเหตุการณ์..."

บันทึกที่ผมยกมานี้อาจเป็นหลักฐานอีกอย่างที่อาจจะสันนิษฐานได้ว่าในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 มีพระราชประสงค์จะยกราชสมบัติให้พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง หาใช้วชิรญาณภิกขุครับ

โดย: หยดน้ำ  [IP: 203.118.106.104,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 09:54:24
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:15

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 140

ศึกที่เมืองบันทายมาศ ในปี 2538 น่าจะเป็นศึกเดียวของพระปิ่นเกล้าฯ ในสมัยรัชกาลที่ 3 นะครับ ส่วนศึกที่อื่นท่านก็อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องบ้างในฐานะที่ทรงกำกับราชการกรมทหารปืนใหญ่ กรมกองแก้วจินดา กรมทหารแม่นปืนหน้า แม่นปืนหลัง ญวนอาสารบ แขกอาสาจามครับ

โดย: หยดน้ำ  [IP: 203.118.106.104,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 10:09:19
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:15

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 141

คราวศึกเชียงตุงนี่ ท่านทำอะไรบ้างครับ...
เช่นคุณหยดน้ำเล่าค่ะ ท่านเจ้าฟ้าน้อยไม่มีบทบาทอะไร

ศึกเชียงตุง
ในปี 2392 เกิดกบฏเชียงรุ้ง และมีชาวเชียงรุ้งหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงมีพระราชดำริว่าที่พม่ามีอำนาจเหนือเมืองเชียงรุ้ง ก็เพราะได้อาศัยเมืองเชียงตุงอันเป็นเมืองใหญ่ขึ้นต่อพม่า
ถ้าไทยตีเมืองเชียงตุงได้ก็จะเป็นการตัดกำลังพม่ามิให้มีอำนาจเหนือเมืองเชียงรุ้งอีกต่อไป
พระองค์ทรงสั่งให้เกณฑ์กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง แต่ตียังไม่สำเร็จก็เสด็จ สวรรคตเสียก่อน

ลุปี 2496 ต้นสมัย ร. 4 พระองค์ไม่ทรงสนพระทัยเชียงรุ้งที่มาสวามิภักดิ์เพราะเห็นว่าอยู่ไกลเกินไป แต่มีผู้ทัดทานว่าควรต้องสนองศรัทธา
ต่อมาสภาเสนาบดีเสนอความเห็นว่าสยามควรจะไปตีเชียงตุงอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กรมวงษาธิราชฯ ทรงเป็นแม่ทัพหลวง และเจ้าพระยายมราชเป็นแม่ทัพหน้า กรีฑาทัพอันประกอบด้วยหัวเมืองฝ่ายเหนือมุ่งหน้าสู่เชียงตุง

สิ้นฤดูแล้ง กองทัพไทยยังตีเมืองเชียงตุงไม่ได้ เพราะภูมิประเทศของเชียงตุงเป็นภูเขาสูง การเคลื่อนพลทำได้ลำบาก บางช่วงต้องเดินขึ้นเขาเป็นแถวตอนลึกทีละหนึ่ง
ขาดแคลนเสบียงอาหาร และหญ้าสำหรับให้คาราวานสัตว์กิน กองทัพไทยต้องถอยร่น กลับประเทศก่อนย่างเข้าฤดูฝน เพื่อหลีกเลี่ยงน้ำหลากจากภูเขา


โดย: Rinda  [IP: 124.121.188.223,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 12:07:53
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:15

 ความเห็นเพิ่มเติมที่ 142

การบุกเชียงตุง ปี 2397: การรบครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่า

การเตรียมบุกเชียงตุงครั้งที่ 2 ในหน้าแล้งปี 2397 กรมวงษาธิราชฯ ทรงเตรียมทัพอยู่ทาง
หัวเมืองเหนือของไทย ส่วนเจ้าพระยายมราชก็เช่นกัน แต่แล้วก็ต้องกลับกรุงเทพฯ เพื่อปลง
ศพมารดา และกลับขึ้นไปสบทบใหม่ แม่ทัพทั้งสองวางแผนว่าจะต้องยกพลออกไปเร็วหน่อย
เพื่อให้มีเวลามากขึ้นในการเผด็จศึกให้ได้ก่อนฤดูฝน แต่ฤกษ์ไม่ดีเอาเสียเลยเมื่อเกณฑ์พลไม่ได้
ตามเป้า ไพร่พลที่เคยเดินทัพไปด้วยกันรู้ซึ้งถึงความลำบาก จึงหลบลี้ ทำให้การเคลื่อนพลช้าไป
1 เดือน

การยกพลไปเชียงตุงครั้งที่ 2 เหมือนฉายหนังม้วนเดิม ผิดกันที่ว่าครั้งนี้พระเจ้ามินดุงขึ้นครอง
เป็นกษัตริย์พม่า ทรงส่งทหารมาช่วยเชียงตุง ทำให้ศึกเชียงตุงมีสีสันขึ้น ครั้งก่อนเจ้าเมือง
เชียงตุงมีอุบายแยบยล รู้ตัวว่าไพร่พลน้อยกว่า และกองทัพไทยอาจมีปัญหาเรื่องเสบียง จึงเก็บ
กวาดเสบียงนอกเมืองเรียบวุธ แล้วหลบอยู่ในกำแพงเมือง คอยยิงปืน ญ. ลงจากเขาใส่กองทัพ
ไทยเป็นระยะ กองทัพไทยยิงปืน ญ. เปิดทางไปบ้าง แต่ก็ไร้ผล เพราะกระบอกเล็กและวิถีใกล้
เกินไป ลูกปืน ญ. จึงไปตกนอกกำแพงเมืองเสียหมด ครั้งนี้กองทัพเชียงตุงใช้วิธีรบแบบกองโจร
เพื่อตัดเสบียง จนกระทั่งฝนเริ่มลง ก็ยังทำอะไรไม่ได้ ไพร่พลทหารก็ล้มตายวันละหลายๆคน
จากไข้ป่าและโรคสารพัดชนิด รวมทั้งความอ่อนล้าที่กรำศึกติดต่อกันมาหลายเดือน

เจ้าพระยายมราชยกทัพหน้าไปทางหนึ่ง แยกจากทัพหลวงแต่ก็บุกต่อไม่ได้ ต้องหยุดรอ
เสบียงที่ส่งมาไม่ทัน ทางด้านกรมวงษาธิราชฯ ทรงเห็นท่าไม่ดี จึงสั่งให้ถอยทัพกลับ
เจ้าพระยายมราชที่เตรียมจะบุกต่อ เมื่อทราบว่าทัพหลวงล่าถอย จึงถอยกลับบ้าง

การรบที่เชียงตุงในปี 2397 สิ้นสุดลงด้วยความเสียหายด้านกำลังพลและทรัพย์สินเป็นอันมาก
และถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายระหว่างไทยกับพม่า

โดย: Rinda  [IP: 124.121.188.223,,]  
วันที่ 4 พ.ค. 2549 - 12:10:09
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง