เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 42111 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 18:00

 ขออนุญาต หยิบอีกหลายๆสำนวนในกระทู้อื่นๆมาแปะรวมๆไว้ในกระทู้นี้นะครับ

***   --- คำว่า ร้อนตับจะแตก มีที่มาอย่างไรคะ
อยากทราบว่า คำว่า ร้อนตับจะแตกมีที่มาจากไหน ทำไมต้องเป็นตับด้วย
ขอบคุณค่ะ
โดย just somebody

จะมาจากเวลาทำอาหารหรือเปล่าครับ
จำได้ว่าถ้าต้มน้ำเดือดมากเกินไป ตับจะกระด้าง
แต่ไม่เคยต้มเองซะด้วยสิครับ เลยไม่แน่ใจว่าจะแตกหรือเปล่า

โดย: ติบอ
วันที่ 20 มี.ค. 2549

***   ---  ทำไมไม่ร้อยย่านน้ำ หรือ สองร้อยเอ็ด
แล้วทำไมไม่แปดหรือ ห้าย่านน้ำ
หรือเพื่อเป็นคำคล้องจอง

เปิดพจนานุกรมดู กเห็นว่า ร้อยเอ็ดแปลว่าแยะ มาก
เรียนผู้รู้ กรุณาไขข้อข้องใจด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
โดย นิรันดร์

……………….เรียนอาจารย์นิรันดร์ครับ

ต่อไปนี้เป็นการเดาของผมเอง
ร้อยเอ็ดแปลว่า แยะ มากมาย จริงๆ ครับ ดังนั้นในทาง "คณิตศาสตร์วรรณคดี" ไม่ใช่คณิตศาสตร์จริงๆ 101 จึงเท่ากับ 500 และ 108 และ 1009 คือต่างก็แปลว่าเยอะแยะมากมายทั้งนั้น

ตัวอย่างมีเช่น กษัตริย์หัวเมืองต่างๆ ที่เป็นตัวประกอบ ไม่ใช่พระเอก ในนิยายอินเดียและนิยายไทยโบราณ จะมาจาก 101 เมืองแทบทุกเรื่อง ไม่ค่อยเคยได้ยินว่ามาจาก 99 หัวเมือง หรือ 200 เมือง หรือ 78 เมือง ฯลฯถ้าจะว่ากันทางความเชื่อ ดูเหมือนเลข 7 กับ 108 จะมีความศักดิ์สิทธิ์บางประการสำหรับคนโบราณ (พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมกันได้ 108 ประการ ส่วนเลข 7 ในตำนานต่างๆ มีตัวอย่างนับไม่ถ้วน) เอา 108 ลบ 7 ก็ได้ 101 เวลาพูดต่อกันเป็น ร้อยเอ็ดเจ็ด... ยังฟังคล้องจองกันดีซะอีก นี่จะเป็นสาเหตุของการพูดสำนวนนี้ได้หรือไม่?……………
โดย: นกข.

…………ดิฉันสันนิษฐานว่าเจ็ดย่านน้ำมาจากความเชื่อของคนไทย ด้านภูมิศาสตร์โลกโบราณที่เรารู้จากไตรภูมิพระร่วง (ซึ่งมาจากอินเดียอีกที)
หมายถึงทะเลสีทันดรซึ่งหมายความรวมถึงทะเล ๗ แห่ง คั่นเขาสัตบริภัณฑ์ ค่ะ

เจ็ดคาบสมุทร เป็นสำนวนเกิดขึ้นทีหลัง เท่าที่จำได้คือประกอบหนังเรื่องซินแบด ผจญภัยเจ็ดคาบสมุทร
เพราะในนิทานบอกว่าซินแบดเดินทางไป ๗ ครั้ง ตามทะเลต่างๆ
โดย: เทาชมพู
บันทึกการเข้า
ศนิ
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95

- The Ultimate Aim of Education is the Development of Charactor -


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 19:39

 ขอยกมือ เสนออีกสำนวนค่ะ
ทำไมต้องฉลาดเป็นกรด ฉลาดเป็นกลางหรือฉลาดเป็นเบสไม่ได้หรือคะ
ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
ชื่นใจ
ชมพูพาน
***
ตอบ: 136

นักศึกษาปริญญาเอก University of East Anglia England


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 21:35

 ด้วยคนสิคะ

"พูดเป็นต่อยหอย" มีที่มาอย่างไรคะ อิฉันเดาว่าสำนวนนี้ไม่น่าจะเก่าเท่าไรนัก (มังคะ)
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 21:59

คหพต หมูสนาม แต่แปะรูป หมาราว อิอิ

ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์
อาจารย์อธิบายเห็นภาพเลย
สรุปว่า คนรักน้อยกว่าคนชังหรือคะ แง๊
(โลกสีชมพูของหนูเฟื่องแตกดังโพละ)

ตกลง กระทู้นี้ อาจารย์เหนื่อยเลย
มีแต่นักเรียนรุมถาม แหะๆ
เอ๊ เมื่อเช้า เฟื่องอ่านหนังสือในเมโทร
เจอสำนวนอะไรหนอ
นึกไม่ออกค่ะ ไว้นึกออกจะมาใหม่

กระทู้นี้สนุกจริงๆ ได้ความรู้ด้วย
ขอให้เจ้าภาพจงเจริญ ขอบคุณนะคะ
คุณหมูย่างกะทิ
(เอามะพร้าวที่เคยอยู่ในกะลาแหละ มาย่างหมู อิอิ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 07:55

 ฉลาดเป็นกรด    เห็นจะต้องเดาค่ะ

คนไทยเรานิยมเปรียบเทียบความฉลาด ด้วยคุณศัพท์ที่แสดงให้เห็นถึงของแหลม /ของคมที่เจาะทะลุอะไรได้ปรุโปร่ง
อย่างคำว่าแหลมคม  หรือหลักแหลม ก็แปลว่าฉลาด    พูดจาคมคาย ก็คือพูดจาฉลาด
ก็เลยมีคนหยิบยก "กรด" มาใช้   เพราะกรดมันก็มีคุณสมบัติ กัดทะลุอะไรต่อมิอะไรได้ง่าย ไม่ว่าผ้าหรือของใช้อื่นๆ
จึงมีคำว่า ฉลาดเป็นกรด  ไม่ใช่ฉลาดเป็นด่าง หรือฉลาดเป็นน้ำ  เพราะสองอย่างหลังไม่มีคุณสมบัตินี้

ต่อยหอย   เวลาคนเขาต่อยหอยออกจากแง่หินที่มันเกาะอยู่  ต่อยโป๊กเดียวไม่จบ  ต้องต่อยๆๆๆติดต่อกันไม่ขาดสาย  
จึงเอามาเปรียบกับคนที่พูดเก่งพูดไม่หยุดไงคะ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 11:04

 ที่จริงแล้วกระทู้นี้ กะจะให้ทุกๆคนช่วยกันนำ สำนวนที่แต่ละคนพอจะรู้ที่มา ของสำนวน มาแบ่งปันกันโดยการช่วยกันโพสลงไปคน ล่ะสำนวน 2สำนวน แบ่งปันความรู้กันไป
ตอนนี้กลายเป็นว่า เราพากันเฮโลมาถามอาจารย์หมด อาจารย์ของเราท่านก็เหนื่อยกันพอดี..
( แต่ก็อดสงสัยตามคำถามของแต่ละท่านไม่ได้….)
อย่างเรื่องกรด นี้ยังมี เร็วเป็นกรด อีกคำ  
ส่วนคำที่เสียงคล้ายกันก็มี พระจันทร์ทรงกลด ที่หมายถึง พระจันทร์ที่เปล่งรัศมี กลมๆออกมาโดยรอบ

สำนวนที่มีความหมายคล้ายๆกับ พูดเป็นต่อยหอย ก็มี สำนวนว่า พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง  ซึ่งหมายถึงพูดๆๆๆไม่หยุดปากเช่นกัน ต่างกันเพียงที่ สักแต่ว่าพูดๆ แต่ไม่รู้ความหมาย..จ้า
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 15:17

 พูดเป็นนกแก้วนกขุนทองนี่ ถ้าเป็นสำนวนฝรั่ง
จะแปลว่า คนที่พูดเลียนคนอื่น ซ้ำๆซากๆ นะคะ
ตอนมาใหม่ๆ เพิ่งรู้จักแม่บ้านประจำตึก
แมวที่บ้านก็ไม่ทราบว่าเธอชื่ออะไร เรียกแต่มาดามๆ
เฟื่องเลยแอบเรียกมาดามว่า พอลลี่
เพราะเธอขยันพูดเสียจริง แจ้วๆๆๆ ไม่ขาดปาก
ตามความหมายสำนวนไทย นกแก้วนกขุนทอง

ตอนนี้ รู้ว่าเธอชื่อ มิเชลล์
ก็ยังแอบเรียกกับแมวสองคนว่า พอลลี่
แหะๆ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:42

 เร็วเป็นกรด   สำนวนเต็มคือ "เร็วเป็นลมกรด" ค่ะ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:55

 ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์
หนูจะไปค้นมาเอง ว่า ลมกรด คืออะไร
เพราะเดี๋ยวคงมีคำถามต่อมาอีกแน่ๆ ฮ่าๆ
(หนูก็ไม่รู้จักค่ะ ลมกรด อิอิ)
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 18:00

 ลมกรด คือ แถบกระแสลมซึ่งมีความเร็วประมาณ 200 ถึง 400 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง
แนวกระแสลมกรดนี้ โดยมากพัดจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก
และเป็นแนวโค้งคดเคี้ยวคล้าย ๆ กับแม่น้ำโค้ง (meandering rivers)
กระแสลมกรดส่วนมากอยู่ในระดับสูงระหว่าง 9 ถึง 12 กิโลเมตร
แนวกระแสลมกรดจะมีความลึกหรือความหนาเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร กว้างเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร
ยาวเป็นพัน ๆ กิโลเมตร เกิดขึ้นในบริเวณละติจูด 30 ถึง 40 องศาเหนือ
และพัดโค้งไปมาคล้ายแม่น้ำ จากละติจูดสูงไปละติจูดต่ำ หรือจากละติจูดต่ำไปละติจูดสูง

กระแสลมกรดมีความสำคัญต่อการบินมาก
ได้มีการค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งบินและเห็นจุดหมายอยู่แล้ว
แต่ไม่สามารถไปใกล้จุดหมายนั้นได้
เนื่องจากบินสวนทิศกับกระแสลมกรดอยู่เรื่อย
ซึ่งทำให้ความเร็วของเครื่องบินลดลงไปมาก
นอกจากนั้นแล้วบริเวณกระแสลมกรดอากาศ จะมีความแปรปรวนปั่นป่วนมาก
เนื่องจากความแตกต่างของความแรงของกระแสลมกรด กับอากาศที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ลมกรดยังมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการก่อตัวของเมฆฝนฟ้าคะนอง
โดยส่งผลให้มี ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นอย่างรุนแรงได้

จากเว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 20:01

 ขอบคุณคุณเฟื่องแก้วครับสำหรับ “ลมกรด” โดยเฉพาะประโยค “การค้นพบกระแสลมกรดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ “ เคยอ่านหนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่2 พบว่าระเบิดปรมาณูที่ไปทิ้งที่นางาซากินั้น เดิมทีไม่ตั้งใจให้ไปทิ้งที่นั่นแต่ต้องเปลี่ยนเป้าหมายกระทันหันเพราะภูมิทัศน์, หมอกและกระแสลม ลมที่กว่านั้นคือ กระแสลมกรดนี่เอง

พูดถึงเรื่องความเร็ว ผมมีอีกสำนวนหนึ่งที่จำได้ คือ สำนวนว่า “ชั่วพริบตา” หมายถึงโดยทันทีทันใดนั้น  โดยฉับพลันทันที หรือ รวดเร็วมากๆ อีกสำนวนที่ความหมายเดียวกัน คือ “ เพียงพริบตาเดียว” มีที่มาจากการเปรียบเทียบกับความรวดเร็วของการกระพริบตา
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 20:20

 เห็นนกแก้วนกขุนทองก็อดคิดถึงสำนวนนี้ไม่ได้ครับ

“ เจื้อยแจ้ว”


เจื้อยแจ้วเหมือนนกแก้วนกขุนทอง
เจื้อยแจ้ว คือการพูดไม่หยุดไม่หย่อน ทำให้เรารำคาญ (คุณเฟื่องชอบเจื้อยแจ้วไหมหนอ .. แต่ไม่ต้องห่วงเพราะคุณติบอชอบฟัง !! )  แต่เมื่อก่อนเจื้อยแจ้ว คือเสียงร้อง ไพเราะๆที่ร้องยาวต่อเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันความหมายก็แปลงไปเป็นอย่างที่เห็น.


.  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 21:46

 ใครมีเตภูมิกถาลองตรวจดูหน่อยเถิด จำได้ว่ามีพูดถึงลมกรด หรือน้ำกรด ในตอนพรรณานรก
ผมห่างมาก็นานแล้ว (......หนังสือนะจ๊ะ หนูเฟื่อง ไม่ใช่นรก)
จำไม่ถนัดว่ามีหรือไม่

ถ้าใช่ คำนี้ก็เก่าพอกับภาษาไทย
แต่เก่ากว่า วิชาเคมีในประเทศไทยแน่ๆ

ส่วน 108 มีคำอธิบายที่พอฟังได้ใน คอคิดขอเขียน เกี่ยวกับการนับข้อนิ้วระหว่างบริกรรมคาถา

101 มาจากเมืองร้อยเอ็ดนครในชาดกกระมัง

เรื่องอกตัญญูนี่ สำนวนเลื่อนมาเรื่อย
จอมพล ส. เคยให้สัมภาษณ์ถึงจอมพล ป. ว่า ผมไม่ "วัดรอย" ท่านดอกครับ โบราณใช้แค่นี้เองไม่ต้องเพิ่มเครื่องปรุง

สิบกว่าปีก่อน ผมซึมมมมไปเล็ย มีโฆษณารายการประกวดผู้ประกาศข่าวในสถานีหนึ่ง ทำเสียงประกอบเป็นกุมารีเจื้อยแจ้วว่า
หนูอยาก วัดรอย คุณแม่ค่า....
ผมงี้ อยากล้วงมือเข้าไปในวิทยุ หยิกแม่หนูน้อยสักเขียวหนึ่ง
ไม่รู้ที่ต่ำที่สูงเลย (นี่ก็สำนวนเหมือนกัน)

สุดท้าย เรื่องผืนหนัง
หนังเป็นราชูปโภคครับ มีน้อยอย่างยิ่ง ตอนปลายอยุธยา ได้มาผืนหนึ่ง (เรื่องหนังราชสีห์ของเฒ่าสา) ถึงจดลงพงศาวดารเชียว
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีการเชิญมาปูด้วย
อาจจะเป็นคติตกค้างมาจากไศวนิกาย ที่พระอิศวรห่มหนังเสือ
ทั้งหมดนี่ เดาล้วนๆครับ

สำนวนที่ผมชอบคือ
โง่นอนเตียง
ใครแปลออกมั่ง

รูปมาจาก DownTheRoad.org ฝูงฤาษีที่ริมไกรลาศ ปราสาทตาพรม
.
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 22:30

กิ๊กเลย แหม พี่พัฒน์ เดี๋ยวนี้ ดักคอล่วงหน้า เฟื่องแซวไม่ถูกเลย

ขอจัดการคนนี้ก่อน จะไม่ย่างหมูแล้ว

เจี๋ยน เลย นี่แน่ะๆๆ หาว่าเราเจื้อยแจ้ว
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 11 พ.ค. 06, 22:33

 มาช้าไปแยะเลย
ขอคุ้ยความคิดเห็นที่ 1 ของคุณหมูน้อยฯ ขึ้นมา
เรื่อง"ลูกทรพี"

ผมค่อนข้างมีความเห็นขัดแย้งกับคนอื่น ๆ ในสำนวนนี้
ถ้า"พ่อทรพา"ยังอยู่ต่อ เห็นว่าลูกควายจะต้องตายไปเปล่า ๆ อีกแยะ
แม่ควายทั้งหลายก็จะต้องเศร้าโศกเสียใจกันไม่รู้จักจบ เพราะมีลูกเป็นตัวผู้ปั๊บก็จะถูกพ่อฆ่าทุกตัวไป

ความผิดของทรพี ไม่น่าจะอยู่ที่มันฆ่าพ่อตัวเอง เพราะพ่อทำบาปชั่วช้าไว้มาก สมควรตายได้
และก็เป็นคำสาบให้ต้องถูกลูกฆ่า ความผิดที่ลูกฆ่าพ่อ น่าจะอยู่ที่เทวดาที่ซี้ซั๊วสาป มากกว่า
แต่ความผิดของทรพีอยู่ที่กำเริบเสิบสาน ลืมบุญคุณของเทวดาที่รักษาเขาและตีนทั้งหก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง