เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 42105 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 17:27

 ฮ่าๆๆๆๆ
น่าน เห็นไหม ล้วงตับพี่พัด ได้ความรู้ใหม่มาอีกเรื่อง

เหลือเวลาอีกเท่าไหร่คะ
สำหรับสีนิลสมัยดึกดำบรรพ์ของพี่พัด

อีกสำนวนเพิ่งอ่านเจอในหนังสือ

กินข้าวลิง

สำนวนนี้ คนรุ่นเฟื่องก็ไม่ค่อยพูดกันแล้ว
แต่ได้ยินมาจากเพื่อนคนหนึ่ง สาวเมืองเพชรค่ะ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 18 พ.ค. 06, 17:37

 สวัสดี ทุกๆ ท่านที่เคารพครับ
1. ขออนุญาตเพิ่มเติมสำนวนในวงการหมากรุกครับ
ล้มกระดาน
รุกฆาต
2. ขออนุญาตตอบความเห็นที่ 68 ครับ
2.1 ผมเข้าใจว่า โคมเขียวเป็นสำนวนที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๕ ครับ
ใช้เรียก ซ่อง หรือสถานบริการทางเพศ ครับ
น่าจะเกิดขึ้นเมื่อมีการขึ้นทะเบียนโสเภณีในสยาม แต่ที่มาผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเอาโคมเขียวมาไว้ที่หน้าร้านดังกล่าวหรือเปล่าครับ
2.2 ปกขาว หมายถึง หนังสือเกี่ยวกับเพศ ทำนองปลุกใจเสือป่าครับ
เพราะว่า สมัยก่อนผู้ที่ทำหนังสือแบบนี้มักจะทำหน้าปกเป็นปกขาวครับ คนที่ไม่ทราบจะได้ไม่รู้ว่าในนี้มีเรื่องอะไรครับ
3. เพิ่มสำนวนอีกข้อหนึ่งครับ
นั่นคือ ยื่นซองขาวครับ
4. ขออนุญาตปิดท้ายด้วยเพลง สิงโตเล่นหางครับ
สิงโตเล่นหาง
ม.จ. พิจิตรจิราภา เทวกุล
อันความผิดนิดหนึ่งอย่าพึงโกรธ ควรยกโทษกันและกันให้พลันหาย
อย่าอาฆาตบาดหมางจนวางวาย เป็นกรรมร้ายติดตัวชั่วกัปกัลป์
ข้างหนึ่งโกรธข้างหนึ่งนิ่งเสียนั้นไซร้ เป็นคุณได้ดับร้อนช่วยผ่อนผัน
เหมือนตบมือข้างเดียวไม่ดังพลัน เป็นมิตรกันดีกว่าเกลียดเดียดฉันท์เอย
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 พ.ค. 06, 22:00

 เนื้อทั่งสันหลังเหล็ก
บันทึกการเข้า
Little Sun
พาลี
****
ตอบ: 212

กำลังตามหาความฝัน


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 21 พ.ค. 06, 00:15

 ฮาจริงๆนะคะกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
องคต
*****
ตอบ: 522


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 21 พ.ค. 06, 11:13

 ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 13:09

 ตอบคุณพิพัฒน์ที่เคยถามไว้ครับเกี่ยวกับสีดำ

ได้ทราบมาจากคุณยายท่านหนึ่ง    ท่านว่าเมฆฝนที่ครึ้มๆมืดๆลอยมา ท่านเรียกว่า เมฆสีเขียว

ม้ากะเลียวเขียวขำ ท่านก็ว่าเป็นม้าสีดำ

ตอนเด็กๆซนหน่อยต่อยตีกะเพื่อนมา ขอบตาช้ำดำปี๋ เขาก็ว่าอ้ายตาเขียว (ท่าจะไปกันได้กับอ้ายคางเหลือง)

เพราะฉน้าน น น ผมขอตอบว่าสีเขียว ค๊าบบบบบบ
(พรุ่งนี้จะไปรับรางวัล ฮ่าๆ)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 17 มิ.ย. 06, 14:52

 ขอบฟ้าเขา"เขียว"........
ใครเคยอยู่กลางทุ่ง สมมติว่าที่แม่แจ่ม ขอบฟ้าจะเป็นสีเข้มเกือบดำ คนบ้านนอกเรียกหมาดำว่า "ไอ้เขียว"
ส่วนผม เมื่อยังเด็กนานนนนนมากแล้ว เวลาอ้างถึง green เราจะเรียกว่าเขียวใบไม้ บางทีก็ใช้เขียวสด ให้ต่างจากเขียวธรรมดา ซึ่งมักจะเรียกว่าเขียวปี๋ แสดงว่าความหมายยังไม่กร่อนไปมากนัก

ผมจับทางแล้ว เขียวนี่ น่าจะหมายถึงสุดทางด้านหนึ่ง ยิ่งยวด และสีที่หมดสิ้นสภาพแล้ว คือไม่รู้แล้วล่ะ ว่ามันสีอะไร

ต๊ดตู่ของผมท่านนิยามว่า
"สีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว"

เก่งมากหมูน้อยฯ
ผมจะให้รางวัลคุณยายท่านนั้นได้อย่างไร...55555
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 13:13

 ล่วงเลยมาจนวันนี้   สงสารคุณยาย เห็นทีจะชวดรางวัล
ทั้งคุณหลานและคนให้รางวัล พร้อมใจกันเงียบหาย   คงชักดาบกันไปแล้ว
*************
เอามาฝากอีกสำนวนค่ะ  ใช้กันบ่อยแต่เคยเจอว่าเข้าใจกลับตาลปัตรไปตรงข้าม

ชั่วช่างชี  ดีช่างสงฆ์
แปลว่า ไม่สน   ใครจะทำดีเลวยังไงก็เพิกเฉยไม่เอาธุระด้วย

ในประกาศรัชกาลที่ ๔  เรื่องห้ามคฤหัสถ์ไม่ให้คบภิกษุสามเณร มีระบุไว้ว่า
"เพราะเหตุด้วยคฤหัฐชายหญิงทั้งปวง  ถือลัทธิผิด เข้าใจว่าชั่วชั่งชี ดีชั่งสงฆ์  
ถึงจะรู้ว่าภิกษุสามเณรรูปใดประพฤติอนาจารทุจริตกระทำความผิดสิ่งใดๆ ที่สุดจนถึงปาราชิกก็ดี   ถ้าไม่โกรธกันแล้ว ก็นิ่งเพิกเฉยเสีย"

บางทีก็ใช้สำนวน  "ชั่วชั่งชี ดีชั่งพราหมณ์"  ดูได้จากประกาศอีกฉบับหนึ่ง
"ถ้าเป็นแต่รู้เห็น   มิได้ช่วยสื่อสน  ไม่เอาความมาร้องฟ้องว่ากล่าว   ด้วยคิดเห็นว่าชั่วช่างชี ดีช่างพราหมณ์
เป็นคนใจบุญนอกทางดังนี้  จะปรับผู้นั้นตามโทษละเมิดลาหนึ่ง   เอาเป็นพินัยไปจำหน่ายทำพระอารามหลวง"

เดี๋ยวนี้ เคยอ่านพบว่าเข้าใจตรงข้าม    "ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์" กลายเป็นคำขวัญให้ทำตามนี้เสียอีกแน่ะ  คืออย่าไปเอาผิดกับพระที่ประพฤติผิด
ถ้าเป็นสมัยรัชกาลที่ ๔  คนคิดแบบนี้ เจอข้อหาถูกปรับเอาง่ายๆ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 15:47

 ถ้าเป็นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เห็นจะเกินกว่าถูกปรับ
ท่านถือเคร่งเหมือนพระเจ้าแผ่นดินลังกา
ไม่สึกครับ อลัชชี
ท่านกุดหัว
ถือว่าเบียดเบียนพระศาสนา เป็นบาปหนักสุด ตายสถานเดียว

สำหรับคุณยายของหมูน้อยฯ นั้น ถ้าเจอตัว จะถามแกว่า
กวีกรีก รุ่นโฮเมอร์กับน้องๆ ทำไมไม่เคยพรรณาถึงสีท้องฟ้าและห้วงน้ำอันแสนสดใสของทะเลเอเจียน

เผื่อแกจะตอบได้อีก .....ฮิฮิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 16:36

 คุณยายงกเงิ่นตำหมาก ๓ ที    แล้วฝากตอบมา  พร้อมตะบันหมากเขวี้ยงมาด้วย

"หลอกกันรึเปล่าหลานเอ๊ย   ทำไมจะไม่เคยพรรณนา
ไม่งั้นใครล่ะที่พูดว่า
"The Aegean, sea of many a green. It is sea of love and wine."
*********************
ไม่เกี่ยวกับคุณยายข้างบนนี้ค่ะ  ขอเอาสำนวนมาฝากอีก ๑ คำ  
คำนี้ดูเหมือนไม่มีใครรู้จักกันแล้ว

ลมพามา

หมายถึง คนจีน
ฟังเพราะดีนะคะ  poetic เชียว
เพราะเมื่อสมัยก่อนคนจีนที่เดินทางมาตั้งถิ่นฐานในไทย มาโดยเรือสำเภา   เรือสำเภาต้องอาศัยลมในการเดินทาง
คนไทยเลยเรียกคนจีนว่า  พวก "ลมพามา"
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 17:05

 เคยได้ยินเหมือนกันครับ แต่ได้ยินเป็นสำนวนเชิงคำถามว่า "ไม่เจอกันซะนาน ลมอะไรหอบมาล่ะครับยาย ? "

(สงสัยจะเป็นพายุเทอร์นาโด ถึงสามารถหอบมาได้)
( ถ้าเป็นผมล่ะก็ ..เป็นลมบ้าหมู ชัวร์)

เคยได้ยินอีกเช่นว่า " เจ้าติบอนี่ มาหาทีไรก็พาฟ้าพาฝนมาด้วยทู๊ก..ก ที "
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 26 มิ.ย. 06, 21:06

 มีใครกี่คนรู้ว่า สำนวน มะพร้าวห้าวยัดปาก เป็นสำนวนเก่าแก่ ชนิดถอยหลังไปเกิด ๕ ชาติก็ยังไม่เก่าเท่า
เพราะว่ามีมาตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองค่ะ  อยู่ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง

เป็นโทษสำหรับคนที่..."ใจโลภ มักใหญ่ใฝ่สูงเกินศักดิ์    ถ้อยคำมิควรเจรจาก็เอามาเจรจา เข้าในระวางราชาศัพท์"

มะพร้าวที่เอายัดปาก  กาญจนาคพันธุ์อธิบายว่าปอกเปลือกเสียก่อน เหลือแต่แก่นกลมข้างใน (คงจะเหมือนมะพร้าวเผา)แล้วยัดเข้าปาก  เพราะปากไม่ดี ไปพูดสิ่งที่ไม่ควรพูดมาใช้ในราชาศัพท์

ก็เลยกลายเป็นสำนวนจดจำกันมา แม้ว่าตัวกฎหมายไม่เหลือแล้ว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 27 มิ.ย. 06, 21:12

 เอ ขอยกมือสงสัย

คห. 100 ของคุณหมูกับ คห. 99 ของคุณครูเทาชมพู น่าจะคนละสำนวนกันนะครับผมว่า แม้ว่าความจะคล้ายกันก็ตาม

ยอมรับว่าผมเพิ่งทราบว่ามีสำนวน ลมพามา ซึ่งหมายถึงคนจีนโพ้นทะเลที่มากับเรือสำเภา ฟังเก๋ดีครับ

แต่คำถามที่คุณหมูหลบลมอยู่ใต้กะลาเคยได้ยิน ว่า "ลมอะไรหอบ (ไม่ใช่พา) มา" นั่น ผมกลับนึกไปถึงนางบุษาครับ จำได้ไหมครับ นางเอกเรื่องอิเหนาที่ถูกองค์ปะตาระกาหลาเทวดาบันดาลเป็นลมพายุหอบนางไปตกที่ไกลๆ พรากจากอิเหนาน่ะครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 27 มิ.ย. 06, 21:14

 ความเห็นที่ 92 ของคุณครูนิรันดร์ ผมเคยได้ยินว่า คอทั่งสันหลังเหล็กครับ แต่จะแปลว่าอะไรนั้นก็จนด้วยเกล้าเหมือนกัน

น่าจะเป็นอะไรแข็งๆ คอก็เป็นทั่งตีเหล็ก สันหลังก็เป็นเหล็ก กะโหลกเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่คงจะแข็งพอกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 27 มิ.ย. 06, 21:25

 เรื่องของสี ผมเคยสงสัยมานานแล้วว่า

คำเรียกสีของไทยเราปัจจุบัน (ซึ่งไม่ตรงกับคำเรียกสีของช่างไทยโบราณ - พระเจ้าตาพิพัฒน์ของผมคงอธิบายได้) มีที่มาจากไหนบ้าง เช่น สี "เทา" นั้นเกี่ยวอะไรหรือไม่กับคำว่า ขี้ "เถ้า"  

สีฟ้านั้นออกจะเห็นได้ง่ายว่ามาแต่สีของท้องฟ้ายามที่เป็นสีฟ้า (?) - คือผมหมายความว่า ไม่ใช่สีท้องฟ้ายามที่เป็นสีแดงหรือสีดำนะครับ

สีครามก็เห็นชัดว่ามาแต่ธาตุชนิดนั้น คือคราม อย่างที่เขาเอามาซักผ้าสมัยก่อน มันสีอย่างนั้นก็ใช้เป็นคำเรียกสีด้วย

สีส้มเป็นสีของผลไม้ชนิดนั้น แต่ถ้าเป็นคำเรียกรส แปลว่าเปรี้ยว อันเป็นรสของผลไม้ตระกูลนั้นอีกแหละ

สีน้ำตาล มาแต่ไหน น้ำตาลที่รินหรือตัดจากต้นตาลโตนด จริงๆ แล้วสี brown หรือเปล่า? ผมว่าไม่เชิงจะเป็นน้ำตาลสีช็อกโกแลตอย่างที่เราหมายถึงสีน้ำตาลเดี๋ยวนี้นะ แต่ก็ออกโทนน้ำตาลนวลๆ เหมือนกัน - อ้อ เดิมอาจจะหมายถึงสีของน้ำตาลตอนที่เป็นน้ำตาลปึกก็ได้ ส่วนสีของน้ำตาลเมานั้นดูจะใสเกินไป ไม่เป็นสีน้ำตาล

สีน้ำเงิน อันนี้ก็น่าคิดว่ามายังไง สีครามมันเป็นน้ำเงินจริง เพราะครามก็เป็นสีน้ำเงิน หรือสีนี้ถ้าเรียกว่าสีกรมท่า ก็มีประวัติ เพราะกรมท่าหรือกระทรวงการต่างประเทศสมัยโน้นใช้สีนี้ประจำกรม แต่ "น้ำเงิน" ? ผมก็ไม่เคยเรียนวิชาการถลุงโลหะ ไม่เคยเห็นธาตุเงินตอนที่มันหลอมเหลว จึงนึกไม่ออกว่า ถ้าเงินตอนปกติมันสีเงินๆ แล้ว เวลามันละลายเป็นน้ำ มันออกสี blue หรือเปล่า? คำเรียกสี blue ของเราในภาษษไทยถึงได้เรียกกันมายังงั้น?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง