pipat
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 09:41
|
|
ว่าจะแวะไปดูโคมเขียวหน้าบ้านหนูสักกะหน่อย กำลังรอรถลาก กะหมวกสักกะหลาดที่ส่งไปซักแห้งอยู่
เดี๋ยวเจอกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 10:24
|
|
"อิน" แปลว่าเงอะงะ เชื่องช้า งุ่มง่ามอย่างแก้ไม่หาย มาจากคำว่า incurable คือแก้ไม่หาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีท่านมหาแก่วัดหลายท่านสึกออกมาเป็นฆราวาส แต่ก็ติดความประพฤติแบบมหาที่สำรวมเคร่งครัด จนกระทั่งกลายเป็นเชื่องช้าไม่ทันโลก เจ้านายท่านจึงเรียกว่า incurable ย่อสั้นๆว่า "อิน"
ตัวอย่าง คุณพัฒน์ นั่งรถลากทำมั้ย "อิน" จะตาย เอารถแข่งซิ่งไปดูหน้าบ้านดีกว่ามั้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 10:29
|
|
ล้มขร แปลว่านอนด้วยความเหน็ดเหนื่อยหมดแรง มาจากหนังใหญ่ ที่ชอบเล่นตอนพระยาทูต พระยาขร ออกรบ เล่นกันถึงสองยามกว่าจะถึงตอนพระยาขร ถูกศรพระรามตาย เรียกว่าขรล้ม ถึงตอนนั้นคนเชิดก็หยุดเล่น ถึงเวลาพัก คนดูจึงเรียกติดปากว่า ล้มขร กลายเป็นความหมายว่า นอนเพราะหมดแรง
คู่กับสำนวน กลิ้งทูต คำนี้ไม่ได้แปลว่าข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ส่งไปประจำในประเทศต่างๆ ไปกลิ้งอยู่ที่ไหน แต่หมายถึงพระยาทูต รบกับพระรามแล้วถูกศรพระรามตายอีกเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 10:33
|
|
มันเทศขึ้นโต๊ะ มันเทศเป็นของราคาถูก ชาวบ้านซื้อกินได้ทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นอาหารชั้นดี ถ้าจัดโต๊ะงานเลี้ยง ซึ่งควรใช้อาหารอย่างดีหรูหราสำหรับแขกแล้วไปเอามันเทศมาให้กินก็ไม่เหมาะ
สำนวนนี้ใช้กันสมัยที่สังคมไทยยังแบ่งชั้นวรรณะกันมาก อย่างในบ้านทรายทอง ถ้าคุณชายกลางไปได้เมียที่หม่อมแม่เห็นว่าชั้นต่ำ ยากจน ไม่ได้เป็นผู้ดีอย่างเธอ เอามาเชิดชูเป็นคุณผู้หญิงของบ้านทรายทอง ก็เรียกว่าเอามันเทศขึ้นโต๊ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 11:12
|
|
ผมได้ทราบสำนวน "อิน" มาอีกทางหนึ่งครับ แปลว่า "แก่วัด" คือเอะอะอะไร ท่านจะลากให้ไปเกี่ยวกับพระศาสนาทุกที
อิน มาจาก พระอินทร์ ซึ่งเป็นตัวแสดงใหญ่ในวรรณคดีพระพุทธศาสนาสมัยรัตนโกสินทร์
ผมไม่มีหนังสืออยู่ในมือ แต่จำได้ว่า ท้ายเล่ม พระราชหัตถเลขา ที่ ร. 5 พระราชทานแด่สมเด็จพระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จยุโรบหนแรก มีประชุมคำแผลงอยู่ น่าจะมีกล่าวถึงคำนี้ครับ
ใครมีลองสอบหน่อยเถอะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 11:30
|
|
กราบขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูที่ได้กรุณานำที่มาของสำนวนภาษามาแจงให้เด็กรุ่นหลังได้ทราบโดยทั่วถึงกันครับ
อาจารย์อธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้เห็นได้แจ่มชัดเลยทีเดียวครับ
ว่าแต่.. กองทัพนักกลอนของหมูฯที่ไปปะเหลาะมานั้นไปไหนกันหมด หนีทัพเสียก็ไม่รู้ ต้องวานให้แม่กินรีเฟื่องฯ บินไปตามกลับมาเสียแล้ว..
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 11:44
|
|
คงพากันไปล้มขรมั้งคะ คุณหมูฯ เดี๋ยวก็คงกลับมา นักเลงอดเพลงไม่ได้
สำนวนนี้แปลว่า ใครที่ชอบทางด้านไหนก็อดไม่ได้ที่จะไปทำทางนั้นเมื่อโอกาสให้ ที่มา คือการเล่นเพลง อย่างลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัยฯลฯ ที่ร้องโต้กันไปตอบกันมา ใครที่ชอบเล่น เห็นที่ไหนก็อดไปร่วมวงไม่ได้ คนที่มีนิสัยชอบทำอะไรอย่างหนึ่งจนชำนาญ โบราณเรียกว่านักเลง จะทางไหน ก็ต่อด้วยคำที่ตัวเองชอบทำ อย่างนักเลงกลอน นักเลงเพลง นักเลงไพ่
สุนทรภู่เรียกตัวเองว่า นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน เคยเขียนอ่านอดใจมิใคร่ฟัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 16:34
|
|
ขอบพระคุณค่ะ อาจารย์ เฟื่องรู้จักนะคะ บ้านโคมเขียว น่ะค่ะ เพียงแต่สงสัยว่า เขาเรียกแบบนี้ เพราะติดโคมสีเขียวจริงๆ แบบร้านเหล้าปักธงแดงหรือเปล่า
เพราะทีหนังสือปกขาว ยังไม่เห็นปกขาวเสียหน่อย (แต่ก่อนซื่อมากค่ะ คิดว่า หนังสือ ปกสีขาว จริงๆ)
เอ่อ คุณหมูศักดิ์คะ อิฉันน่ะ กินนอนค่ะ มิใช่กินรี ต่อให้ติดปีกเหล็ก หางไอพ่น จงอยคองคอร์ด ก็บินไม่ไหวแร้ววววววววววว
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 16:46
|
|
เอาสำนวน ที่เกี่ยวกับสี มาฝาก ธงแดง โคมเขียว ปกขาว แล้วก็คางเหลือง
สมัยโบราณถือว่าร่างกายมนุษย์มีจุดอ่อนอยู่ 8 แห่ง คางก็เป็นหนึ่งในแปด โดนเข้าแรงๆ ก็สลบหรือตายได้ อย่างนักมวยถูกน็อคปลายคาง ก็ล้มนับสิบแพ้ไป คางถูกกระแทกแรงเมื่อไร มักจะย่ำแย่ ถ้ารอดตายก็ต้องประคบประหงมรักษาแผลฟกช้ำหรือแผลแตก ด้วยการฝนไพลทา ไพลมีสีเหลืองติดผิวหนังเวลาทา ก็เลยเป็นสำนวนว่าคางเหลือง หมายถึง เกือบตาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 16:53
|
|
ดำเป็นเหนี่ยง เคยได้ยินไหมคะ เหนี่ยง คืออะไร มันเป็นสัตว์เล็กๆชนิดหนึ่งค่ะ เขาว่าคล้ายด้วงมะพร้าว แต่สีดำมะเมื่อม อาศัยอยู่ในน้ำเป็นฝูงๆ หรือตามแปลงควาย ตอนนี้ยังมีอยู่หรือสูญพันธุ์ไปแล้วก็ไม่ทราบ เด็กไทยในชนบท สมัยก่อนผิวดำแดงอยู่แล้ว มาเลี้ยงควายตากแดด บุกน้ำดำโคลนเสียตัวดำเมื่อม ผู้ใหญ่ก็เลยเปรียบว่า ดำเป็นเหนี่ยง
ด้วงมะพร้าวมันก็หนอนชนิดหนึ่งนี่ละ เคยอ่านสี่แผ่นดินไหมคะ ชาววังเขาเอามาทอดจนสุก หั่นเป็นแว่นๆจิ้มน้ำจิ้ม กินกันได้ลงยังไงไม่รู้ซี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nuchana
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 18:48
|
|
 เอาภาพมาให้หนูเฟื่องดูจ้ะ ข้างในคงจะใส่ไฟเขียวๆเอาไว้ โคมแลนเทอร์นกระดาษพวกนี้มีหลายเชป สี่เหลี่ยมก็มี เพนตากอนก็มี มีทุกทรง |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 20:03
|
|
พูดถึงสี หมูฯนึกถึง สำนวน ดำเป็นตอตะโก หมายความว่า ดำเหมือนต้นตะโกที่มีสีดำ
นี่ต้นตะโกครับ
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 20:04
|
|
 ให้เห็นชัดๆ
. |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 20:13
|
|
อ้อ....ในสมัยนี้เขาก็ใช้ธงแดงปักหน้าร้านเหมือนกันนะครับ แต่ไม่ใช่ร้านเหล้า เป็นร้านขายอาหาร?? บอกไปก็ทำลายขวัญของพวกเราในกระทู้ ........"น้องๆของเรา ที่เลี้ยงไว้ในบ้าน" ........ เสียหมด
เพราะธงนี้เขาปักไว้หน้าร้านแถวๆ จังหวัดสกลนคร
.
 |
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เฟื่องแก้ว
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 16 พ.ค. 06, 23:38
|
|
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดด หมาร้อน
เดี๋ยวนี้ นอกจากธงแดงแล้ว ก็มีร้านปักธงเหลืองด้วยไม่ใช่หรือคะ
อ้อ มีสำนวน ยกธงขาว อีกอัน แปลว่า ยอมแพ้ มาจากการรบสงครามในสมัยโบราณใช่ไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|