เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 42113 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 10:12

 คุณติบอ
ข้อสันนิษฐานส่วนตัวก็คือ ผ้าเข้มขาบเมื่อมาถึงอยุธยา น่าจะเป็นผ้าสีครามยกทอง หรือไม่ถ้ามีหลายสี  ก็มีสีนี้เป็นที่นิยมกันมากกว่าเพื่อนในสมัยนั้น
จึงเรียกสีน้ำเงินเฉดนี้ว่าผ้าสีขาบ  
แล้วก็ยกคำว่า "ขาบ" ไปใช้เป็นคุณศัพท์ประกอบของอย่างอื่น อีก เช่นสีของบัว  เรียกว่าบัวขาบ
พลอย หรือผลึกแก้วสีน้ำเงินอ่อน ก็เรียกว่าแก้วสีขาบ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 10:29

 คำว่ากากี  ไทยอาจจะเอามาจากโปรตุเกสก่อนอังกฤษก็เป็นได้ค่ะ เพราะเราติดต่อค้าขายกับโปรตุเกสมาก่อน

ลอกกลอนบรรยายสี จากพระอภัยมณี  มาให้อ่าน  ตอนพระอภัยมณีไปขมภูเขาเพชรที่กรุงลังกา
คำไทยที่บรรยายสีคงมีจำกัดไม่กี่คำ กวีจึงต้องเพิ่มคำเปรียบเทียบและคำพรรณนาเข้าไปด้วยเพื่อให้เห็นสีชัดเจน

ฝ่ายเหล่าองค์พงศ์กษัตริย์ไม่ขัดข้อง
ทรงฉลองพระบาทเดินขึ้นเนินหิน
ชำเลืองเลียบเหยียบเตร็จชมเพชรนิล
กระจ่างจินดาดวงดูร่วงรุ้ง

เรืองจำรัสรัศมีสีต่างต่าง
บ้างเขียวด่างสีกุหร่าดังตากุ้ง
บ้างเหลือบลายพรายแพรวแววนกยูง
อร่ามรุ่งเรืองงามอยู่วามแวม

บ้างเขียวขาวพราวพร้อยทั้งน้อยใหญ่
เหมือนเจียระไนเรียบเรียมเป็นเหลี่ยมแหลม
สีเมฆหมอกดอกตะแบกขึ้นแทรกแซม
บ้างเกิดแกมเตร็จแก้วดูแพรวพราว
...............................
ที่แดงก่ำปัทมราชดังชาดเสน
แก้วโกเมนโมรามุกดาสลับ
โน่นหมู่เพชรเม็ดหลีกปีกแมงทับ
ดูซ้อนซับใหญ่น้อยล้วนพลอยเพชร

แก้วกาลีสีอินทนิลคล้ำ
นั่นเพชรน้ำตะกั่วตัดดูตรัสเตร็จ
เหมือนหิ่งห้องพลอยพรายกระจายเม็ด
เกิดกับเตร็จก้อนหินซอกศิลา
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 11:02

 อีกสีหนึ่งที่คิดว่าหาที่มา ได้ไม่ยากก็คือ สีน้ำตาล
ชื่อก็บอกว่าเป็นสี อย่าง น้ำของตาล

ปกติสีน้ำตาลสดนั้นออกจะเหลืองใส
สีน้ำตาลที่เป็นสีที่เห็นในปัจจุบัน น่าจะมาจากสีของน้ำตาลเคี่ยว หรือ น้ำตาลอ้อย หรือน้ำตาลปี๊บ
ถ้าเคี่ยวแบบไฟแรงๆ หรือนานเกินไป อาจได้น้ำตาลอีกเข้มกว่า ที่เรียกว่าสีน้ำตาลไหม้

   
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 13:25

 มีภาษาปาก ภาษาแสลง คำหนึ่งที่เกี่ยวกับสีเหมือนกัน
คือคำว่า อัดถั่วดำ ที่หมายถึงว่า การเสพสังวาททางทวารหนัก

เคยสงสัยว่าทำไม ไม่เป็นอัดถั่วแดง หรือถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแขก ถั่วแระ ฯลฯ
วันหนึ่งไปพบข้อมูลว่า




...........อัดถั่วดำ...

คำนี้ ฮิตติดตลาดมา ๖๐ กว่าปีแล้ว ต้นเรื่องมาจาก ชายผู้มีชื่อเล่นว่า "นายถั่วดำ" ทำวิตถารกับเด็ก ๆ ดังที่ปรากฏข่าวใน หนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ฉบับประจำวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ มีรายละเอียดว่า
.......เมื่อวันที่ ๑๘ เดือนนี้ เวลา ๑๘ น. ร.ต.ท. แสวง ทีปนาวิณ สารวัตร สถานีตำรวจป้อมปราบ ได้จับตัว นายการุณ ผาสุข หรือ นายถั่วดำ ตำบลตรอกถั่วงอก อำเภอป้อมปราบ มาไต่สวนยัง สถานีป้อมปราบ
 .......เหตุที่นายการุณ หรือถั่วดำ ถูกจับนั้น ความเดิมมีว่า ร.ต.ท. แสวง เห็นห้องแถวเช่า ซึ่งนายถั่วดำ เช่าอยู่ มีเด็กชายตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๑๖ ปี อยู่ในห้องมากมาย จึงสงสัยว่า เด็กชายเหล่านั้น จะเป็นเด็กที่ ประพฤติในทางทุจริต ร.ต.ท.แสวง ได้ออกสืบสวนอยู่ ๒-๓ วัน จึงทราบว่า นายถั่วดำ เป็นคนไม่มีภรรยา และเป็นผู้ชักชวนเด็ก ๆ ผู้ชาย ไปดูภาพยนตร์บ้าง ซื้อของเล่นบ้าง ให้ขนมรับประทานบ้าง แล้วก็พากันมาที่ บ้านพัก ของนายถั่วดำ ก็กระทำการ สำเร็จความใคร่ แก่เด็กชาย ที่พามาเสียก่อน และต่อจากนั้นแล้ว ก็จะจัดเด็กเหล่านั้น รับสำเร็จความใคร่ กับแขกบ้าง เจ้าสัว และจีนบ้าบ๋าบ้าง พวกที่มา ต้องเสียเงินเป็นรางวัล ให้แก่นายถั่วดำ เยี่ยงหญิงโสเภณี
.......จากนั้นคำว่า "ถั่วดำ" ก็กลายมาเป็น ศัพท์เฉพาะ ที่รู้ทั่วกันว่า หมายถึง การเสพสม ทางทวารหนัก เมื่อต้นปี ๒๕๔๑ ก็มีข่าว ข้าราชการ ชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" ทำมิดีมิร้าย กับเด็กชาย หนังสือพิมพ์ก็ใช้คำ "ตุ๋ย" พาดหัวข่าว แทนความหมายดังว่า อยู่พักหนึ่ง คำนี้ จะได้รับความนิยมสู้ "ถั่วดำ" ได้หรือไม่ เราคงต้อง ติดตามกันต่อไป

ขอขอบคุณ คุณศิวสิทธิ์ วนรังสรรค์ ผู้พิมพ์ .....
 http://www.sarakadee.com/108/volume8/frame.htm?/108/volume8/855toui.htm

สรุปว่าที่แท้คือไม่ได้เกี่ยวกับสีเลย แต่เกี่ยวกับชื่อของคนที่กระทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆจนกลายเป็นเรื่องดัง
ชื่อของคนนั้นๆจึงกลายเป็นตัวแทนแห่งการกระทำดังกล่าวแทนไปโดยปริยาย  

เห็นคำนี้แล้วคิดถึง คำว่า ประเทือง ที่ภายหลังมีคนกลุ่มหนึ่งใช้แทนคำว่าถั่วดำหรือตุ๋ยอยู่พักหนึ่ง นั่น เพราะมาจากเนื้อหาของเพลงฮิตเพลงหนึ่งในหมู่วัยรุ่นอยู่สมัยหนึ่งนั่นเอง


โธ่เอ๋ย..คำดีๆ กลายเป็น คำแสลงเสียหมด
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 16:28

 ตอนเลื่อนลงมาเจอถั่วดำ พี่เฟื่องช็อคไปเสี้ยววินาที รีบปิดไปเลยนะ
แล้วค่อย ๆ ย้อนกลับมาอ่านตอนท้ายขึ้นไปข้างบน อิอิ

โตะจายโหมะเลยยย
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 17:02

 เออ..... ถั่วดำของคุณหมูฯ ทำเอาผมเห็นภาพ หนุ่มผิวคล้ำท่าทางสกปรกจับเอาเด็กผู้ชายตัวผอมกะหร่อง อายุไม่กี่ขวบหน้าตามอมแมมเข้าไปในกระท่อมโกโรโกโสเพื่อประกอบกิจส่วนตัว พอสักพักก็ปล่อยเด็กเดินร้องไห้ขี้มูกโป่ง น้ำตากบตาออกมาอย่างน่าเวทนา นึกแล้วก็สงสารจับใจ
แบบนี้นักข่าวปี 2549 ไปเห็นเข้าคงต้องเรียกใหม่ว่า "ตุ๊ดใจโหด" หรือเปล่าหว่า หุหุ


ว่าแล้วเปลี่ยนไปกินกล้วยบวดชีแทนดีกว่า ก็ความเห็นของคุณหมูฯน่ะ ทำผมกินถั่วดำไม่ลงแหล่ว


ปล. ทำไมกล้วยต้อง "บวดชี" อ่ะครับ หรือคำว่ากล้วยในภาษาไทยเป็น "อิถีลึงค์" ??
ส่วนฟังทองเป็น "ลึงค์" เลยได้ไป "แกงบวด" ไม่ต้อง "บวดชี" อิอิ


ปล.2 บวดนะครับ ไม่ใช่บวด แล้วก็ไม่ใช่ยาบวดหายด้วย หุหุ


ปล.3 ภาษาปากอย่างคำว่า "กะเทย" "ตุ๊ด" "ประเทือง" "เกย์" นี่ก็มีความหมายแตกต่างกันมากพอดูนะครับ
เหมือนเวลาพูดกับเพื่อนสักคนว่า "มันเป็นตุ๊ด" ฟังแล้วดูไม่รุนแรงเท่าเวลาพูดว่า "มันเป็นประเทือง" นะครับ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 19:45

 กล้วยบวดชีนี่ เฟื่องก็สงสัยเหมือนคุณติบอค่ะ
ทีเวลาฟักทองมาทำจะเป็น ฟักทองแกงบวดไม่ยักกะบวดพระหรอกนะ เหลืองอร่ามออกจะตายไป
อ้อ ตามข้อสันนิษฐานของคุณติบอนะคะ
ในภาษาฝรั่งเศสน่ะ กล้วยเป็นเพศหญิง ฟักทองเป็นเพศชายจริงๆ ด้วยละ อิอิ


อย่างไรก็ตาม คำว่า บวด มันอาจจะพ้องเสียงกับ บวช เท่านั้นเองนะคะ
ส่วนชี อาจจะมาแนวเดียวกับ "ชี" ที่ว่ายน้ำไม่เป็น  ก็ได้
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 19:58

 อ้อ ๆ ลืมค่ะ เคยถามเพื่อนที่เป็นเกย์นะคะ
เขาบอกว่า เรียกว่า เกย์ นางกอ หรือ กระเทย นี่ไม่หยาบคาย
แต่ถ้าเรียก ตุ๊ด นี่ ถือว่าหยาบคายค่ะ
คำนี้ มาจากหนังเรื่องTootsie หรือเปล่าคะ

ประเทืองนี่.. ฟังแล้วจะออกไปทาง transvestism
สะแลงภาษาอังกฤษเรียก Drag Queen น่ะค่ะ
บางคน สวยกว่าเราเสียอีก ฮืออออๆๆ
บันทึกการเข้า
กุรุกุลา
พาลี
****
ตอบ: 235


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 20:14

 เห็นคำว่า "จีนบ้าบ๋า" ในโพสของคุณหมูน้อยแล้วก็คิดขึ้นมาได้ว่าเคยอ่านเจอ แต่ก็จำรายละเอียดไม่ได้จนต้องเปิดพจนานุกรม

บ้าบ๋า น. เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า บ้าบ๋า คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย

แต่เคยได้ยินมาคนละอย่างกับพี่หมูน้อยน่ะครับ สงสัยตำนานถั่วดำจะเลือน คือที่ผมได้ยินมามันเป็นแขกขายถั่วน่ะครับ
บันทึกการเข้า
กุ้งแห้งเยอรมัน
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1573



ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 06 ก.ค. 06, 01:14

 ไม่ได้เกี่ยวกับถั่วหรอกนะคะ
แต่เกี่ยวกับย่าหยา กับบ้าบ๋า
ดิฉันก็งงๆว่าทำไมเคยได้ยินคนไทยเรียกย่าหยา
แต่เมื่อไปมะละกาเจอแต่คำว่าบาบ้า กับนอนย่าหรือ ญอนย่า คิดว่าคงกร่อนมาจากคำนั้น
ถามเพื่อนและอ่านเอาจากหนังสือที่ซื้อมาจากที่นั่นเลยทราบว่า
บาบ้า เป็นชาย
นอนย่าเป็นหญิง
ทั้งคู่เป็นรุ่นลูกหลานของคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพมาตั้งครอบครัวและแต่งงานมีลูกมีหลานอยู่ในมาเลย์เซียและสิงคโปร์ มีวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหารและภาษามาเลย์แนวของตัวเอง เรียกรวมว่าพวกPeranakans
เพื่อนปีนังและสิงคโปร์หลายคนของดิฉันเป็นทั้งบาบ้า และนอนย่า เขาบอกมา
รู้งี้เปิดพจนานุกรมก่อนก็ดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 18:27

 กล้วยบวชชีค่ะ  ไม่ใช่บวดชี  
ดิฉันเดาง่ายๆว่าอยู่ในกระทิสีขาวนั่นแหละ  เขาเอาไปเทียบกับห่มผ้าขาวของแม่ชี

เอาสำนวนโบราณมาฝากอีกที
"เป็นแดน"  แปลว่าทำอยู่เป็นประจำ
แต่ว่าที่มานั้นค่อนข้างไกลกับความหมาย   มาจากประกาศรัชกาลที่ ๔
ท่านห้ามพระสงฆ์สามเณรเล่นการพนันและนำของต้นภาษีผ่านด่าน
ซึ่งเป็นการหนีภาษี
ท่านระบุว่า
"ฝ่ายภิกษุซึ่งลักลอบเล่นการพนัน  ชนไก่ ชนนก ชนปลา นี้ เอาพระราชบัญญัติเป็นแดน  กระทำเบียดบังพระราชทรัพย์ซึ่งเป็นภาษีหลวงให้ขาด"

"เป็นแดน "หมายถึงเอาเป็นที่กำหนด  หนักๆเข้าก็เลยหมายถึงยึดแบบนี้แหละเป็นแบบประจำ

ในสุภาษิตสอนหญิง  พูดถึงสำนวนนี้ว่า

พูดก็มากปากก็บอนแสนงอนนัก
เห็นเขารักกันไม่ได้ใจอิจฉา
เที่ยวรอนรานจนเพื่อนบ้านเขาระอา
นั่งที่ไหนนินทาเขาเป็นแดน

หมายเหตุ : ที่ยกๆมาเล่านี่ส่วนใหญ่มาจากหนังสือ สำนวนไทย ของขุนวิจิตรมาตรา หรือกาญจนาคพันธุ์ ค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 20:22

 อาจจะมาจากคำว่า กระยาบวช
กระยาแปลว่าคละกัน ไม่เป็นแก่นสารแบบไม้กระยาเลย
กระยาบวชคงแปลว่าของไม่คาว คือเครื่องเจ
แต่อาจจะเกี่ยวกับมะพร้าวด้วยกระมัง เห็นอะไรที่ถูกบวชนี่ต้องมีมะพร้าวเสมอ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 07 ก.ค. 06, 20:49

 ตอบนู๋เฟื่อง
สีเขียว เวอริเดียนเนี่ย ...เป็นอย่างไรคะ
ก็เป็นอย่างที่เธอนุ่งตอนเป็นน้องใหม่นั่แหละจ่ะ
เป็นเขียวที่ออกสว่าง เอาเป็นว่า ที่ตัววีท้ายชื่อแต่ละคน ที่มีวงรีสีเขียวโดนทับอยู่นั่นแหละเกือบเป็นเวอริเดียนแล้ว สมมติว่ามีผ้าสีนี้นะครับ เอาไปเช็ดโต๊ะเสียหน่อยละก้อ ใช่เลย
เอผมก็ชักเลอะเลือน หรือว่ามันจะใช้เฉพาะเด็กจิดกำหว่า

สีเขียวไข่กาอีกสีค่ะ ที่เฟื่องไม่รู้จัก
ผมก็ไม่รู้จักเหมียนกัลล์ ไว้จะไปถามอีกาหลังบ้าน ว่าไข่เอ็งสีไร....5555

เข้มขาบในศิลปะไทย ไม่ใช่สีครับ เป็นชื่อลาย ลายเข้มขาบ คือลายที่ต่อเนื่องไปทางยาว แบบที่คุณติบอเอามาอวดอย่างนั้นแหละครับ เป็นลายเนื่องมีลูกแปรนิดหน่อย แต่เจอในลายผ้ามากกว่าที่อื่น

สีของเอเชียผมว่าจะไม่แบ่งเป็นร้อนเย็น หยินหยางอะไรเทือกนั้นนา กำนันนิลฯ...
ผมว่าแบ่งตามราคาครับ

เอเชียไม่สร้างรูปตามตาเห็น
อย่างอาเจ้กทั้งหลายนี่ เป็นจิตรกรตาบอดสีทั้งนั้น จึงไม่ได้แบ่งตามจิตวิทยาการมองเห็น
แต่แบ่งตามจิตวิทยาเศรษฐศาสตร์
คือสีแพงนี่ของฮ่องเต้ พวกแดง พวกเหลือง พวกทอง
แล้วก็สีของจีนต้องไปวัดจากเครื่องกระเบื้อง เพราะเป็นแหล่งเดียวที่ตีราคาตามคุณภาพสี
อันนี้ฝรั่งไม่รู้จักครับ ฝรั่งเพิ่งมาหายงื่นเอาตอนอิมเปร๊สชั่นนิสต์นี่เองนะครับ ก่อนหน้านั้น ยังเอาโคลนเขียนรูปอยู่เลย
อย่างตอนปลายเรอเนซองค์มาบาโร๊คนี่ เพิ่งรู้จักสีคราม ด้วยความเห่อ ศิลปินบางคนหาเรื่องใช้มันแต่สีนี้แหละครับ โครงสีกระโดดไปมาหาความเป็นเอกภาพไม่เจอ บางทีบ้าหนักเข้า ให้ตัวละคอนห่มผ้าสีครามผืนบะเร่อเท่อ เพราะอยากเขียนสีนี้ พิลึกพิลั่นยังกะเจ๊กตื่นไฟ

คนแรกที่บ้าสีคืออีตาเดลาคัวส์ นั่นต้องไปถึงตะวันออกกลาง เพื่อไปดูสีสรรค์กลางแดดสะอาด กลับมาเป็นที่ฮือฮา คนอื่นถึงได้เอาอย่าง

คุณนิลคงจะจำได้ ว่าพระเจ้าชาละมังน่ะ หนังขาวดำทั้งเรื่องนะครับ....55555555
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 09 ก.ค. 06, 03:00

 เขียวต้องเขียวปีกแมลงทับ
มักจะใช้อธิบายสีดาบกระบี่ ชนิดพิเศษ
เราทำงานกับเหล็กมาพอสมควร ดูอย่างไรเหล็กก็ไม่เป็นสีเขียว

เหล็กจะเป็นสีเขียวก็ต่อเมื่อเป็นอิออน
แสดงว่าดาบวิเศษที่ตัดเหล็กประดุจหยวกกล้วย เปล่งประกายอิออนออกมาซินะ น่าสนใจ  
สมัยนี้ต้องเรียกดาบนาโนซะแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง