เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
อ่าน: 42134 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:20

 อาจจะเป็นได้ครับว่าเป็นสีมะม่วงสุกแก่จัด (ใกล้เน่า) ไม่เช่นนั้นผมก็นึกไม่ออกว่าจะมีสีม่วงมาแต่ไหน

คห. 108 คุณติบอเงยหน้าดูธงไทยไตรรงค์ จะเจอสีขาบเป็นหนึ่งในสามสีของธงชาติไทยครับ สีขาบ คือ สีน้ำเงินเข้มแก่ และเป็นสีที่ ดั้งเดิมในหลวง ร. 6 ทรงกำหนดให้เป็น 1 ใน 3 สีธงไตรรงค์ที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้นพระราชทานให้ไว้แก่ชาติไทย แทนธงชาติเดิมที่เป็นธงช้าง ดูเหมือนมีคำนี้ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติธงด้วยซ้ำ (อย่างน้อยก็ในฉบับแรกที่กำหนดธงชาติใหม่นี้)

แต่ก็แปลกหน่อย คือ สีขาบในพระราชนิยม ร. 6 ซึ่งมาเป็นสีธงชาตินั้น เป็นน้ำเงินแก่ เดี๋ยวนี้ในธงชาติเราก็เห็นเป็นน้ำเงินแก่ แต่พจนานุกรมราชบัณฑิตให้ความหมายคำว่า ขาบ ว่าเป็น "น้ำเงินแก่อมม่วง" ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าธงชาติไทยปัจจุบันแถบสีน้ำเงินตรงกลางนั้น มีม่วงเจือด้วยหรือเปล่า มีความรู้สึกว่าไม่เห็นมี?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:22

 ส่วนสีบัวโรย ผมรู้สึกว่าน่าจะเป็นสีชมพูซีดๆ ใช่หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:33

 ตาม คห. 95 96 และ 107

ต่อไปนี้นิลกังขาจะขอมั่ว ยกทฤษฎีเดาชั่นตามใจฉัน เรื่อยเปื่อยตามประสา

ผมกำลังจะเดาต่อจากที่คุณพิพัฒน์เกริ่นไว้ และคุณติบอรับลูกต่อครับ ว่า ผมคิดว่าคำเรียกสีในภาษาไทยเดิม หรือในความรู้สึกของคนไทยโบราณนั้น ท่านแบ่งกว้างๆ เป็นสีสองพวกเท่านั้นแหละ คือสีโทนร้อนกับโทนเย็น อินกัหยาง มืดกับสว่าง เป็นแนวคิดปรากฏการณ์คู่ตรงข้าม

ที่จริงตามทฤษฎีสี (ซึ่งผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว ถ้าผิดพลาด ขอความกรุณาขาใหญ่ศิลปากรหรือเพาะช่างแถวนี้เมตตาแต่กระผมผู้ไม่รู้เรื่องสีด้วย -) นั้น แม่สีมันควรจะเป็นสามกลุ่ม ไม่ใช่สอง คือเหลือง น้ำเงิน และแดง แต่ผมออกจะรู้สึกว่าคนไทยเก่าท่านขีดเส้นแบ่งหลักๆ คร่าวๆ เป็นแค่สองฝั่ง เอาสีสว่าง และสีร้อนอย่างเหลืองกะแดงไว้ด้วยกันฟากหนึ่ง แล้วเอาสีมืดบรรดามี ทั้งดำ น้ำเงิน เขียว ม่วง ฯลฯ รวบไว้ด้วยกันอีกฟาก

จึงเป็นที่มีของคำว่า "เขียวๆ แดงๆ" ของคุณติบอ ซึ่งความหมายสามารถแตกลูกออกมาได้เป็นสารพัดสี เพราะพูดคร่าวๆ ด้วยตัวแทนสุดโต่งของทั้งสองข้างไว้แล้ว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 10:51

 เขียว ในเซนส์หนึ่งจะเป็นดำได้ ทำนองเดียวกัน แดง เหลือง ขาว สว่าง ในเซนส์หนึ่งก็เป็นพวกดียวกัน

หลักฐานในการมั่วของผมมีไหม มีครับ แต่อย่าเอาอะไรกะผมมาก ผมบอกแล้วว่าผมมั่ว

- ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นอย่างน้อย ที่มีการแบ่งในพระปรมาภิไธยกษัตริย์ เป็น อินทราทิตย์ จันทราทิตย์ ข้างหนึ่งเราหมายเอาตะวัน ฟากสว่าง ผู้เป็นใหญ่แห่งวัน อีกข้างหมายเอาพระจันทร์ ผู้เป็นใหญ่แห่งราตรี

ชื่อคนธรรมดาแม้แต่ที่เป็นหญิง ก็มีลูกอิน ลูกจัน ชายก็มี อิน จัน
เข้าใจว่าข้างอินจะใหญ่กว่าข้างจัน น่าจะเป็นฝั้งพระอาทิตย์ จันนั้นพ้องกับจันทร์ด้วย

- แต่เป็นไปได้ว่า ธรรมดาของสิ่งที่เป็นคู่ มาด้วยกันเป็นชุดนั้น อาจจะสลับสับสนกันได้ โดยเฉพาะเมื่อเรารับคำว่าจันทร์จากแขกมา (เดิมเราเรียกของเราว่าเดือน) ทำให้จันคำไทยไปได้ความหมายเป็นราตรีไป สลับข้าง เพราะว่า "อิน" ในภาษาจีนกลาง นั้น คือสิ่งเย็นสุด มืดสุด และ "หยาง" คือสว่างสุด คือร้อนสุด "หยาง" กับ "จัน" ก็ใกล้กัน และผมเชื่อว่าไทยคบหรือรับแนวคิดจากจีนก่อนรู้จักอารยธรรมอินเดีย แต่พอมีคำว่า จันทร์ เข้ามา เลยความหมายสลับข้างกัน

- เราอยู่อินโดจีน รับมันทั้งครูจีนครูแขก จึงผสมปนเป ต่อมาเรารู้จักพระอินทร์ รู้ด้วยว่าตัวเขียว เลยเกณฑ์ให้อินทร์ เป็นเขียว (กลับไปตามความหมายดั้งเดิม แต่ไม่ตรงกับที่เราเคยใช้ใน อินทราทิตย์ ซึ่งน่าจะแดง) เรารับความคิดเรื่องพรหมของแขกมาด้วย เมื่อเดิมเรามีเป็นคู่ ต่อมาเรามีอินทร์รอท่าอยู่แล้ว ก็จับพรหมมาเป็นคู่ซะ

ที่จริงตามตำราแขกดั้งเดิม พระอินทร์กับพระพรหมนั้นไม่คู่กันแน่ คนละชั้น ท่านหนึ่งเป็นมหาเทพ อีกท่านเป็นเจ้าสวรรค์ดาวดึงส์เท่านั้น แต่ในกระบวนแห่ไทย เทวดา (คือคนแต่งเป็นเทวดา) พวกหนึ่งที่นำเสด็จหรือตามเสด็จในกระบวน เราเรียกว่าอินทร์ ก็จะแต่งเครื่องเขียว อีกพวกเราเรียกของเราว่าพรหม ก็จำเป็นต้องแต่งเครื่องแดง เดินกันเป็นแถวยาวยืดคู่กัน ดูจะเป็นซ้ายข้าง ขวาข้าง ซึ่งผมก็จำไม่ได้ว่าใครข้างไหน แต่แนวคิดเอาอินทร์กับพรหม (หลายๆ คนเป็นแถวด้วย ไม่ใช่ 1 อินทร์ 1 พรหม) มาคู่กันนี้ ผมไม่เชื่อว่ามีในอินเดียเดิม
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 18:26

 สวัสดีค้า คุณพระนิล ฯ คุณติบอ ขอร่วมวงด้วยคน
ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะได้ฟัง (อ่าน) หนุ่มๆ วิเคราะห์สีกันอย่างละเอียดละออขนาดนี้
เพราะวันก่อน ไปซื้อกางเกงให้แมว เฟื่องบอกคนขายว่า ตกลงเอาสีเขียว ไม่เอาสีทราย
จริงๆ กางเกงทั้งสองตัว เป็นสีโทนเบจทั้งคู่ แต่สำหรับเฟื่อง
ตัวนึงเป็นเบจออกเฉดเขียว อีกตัวออกเฉจน้ำตาลเหมือนสีทราย
แต่..แมว ก็คือ แมวค่ะ ดูไม่ออกหรอก กางเกงตัวเองแท้ๆ นะ

สีขาบนี่ เป็นสีม่วงอมน้ำเงินใช่ไหมคะ คุณติบอ (หรือน้ำเงินอมม่วง ?) แต่บัวขาบเดี๋ยวนี้ก็มีหลายๆ สีแล้ว
ส่วนสีกลีบบัวโรยนี่ ชมพูเจือม่วงนิ้ดดดเดียว แล้วก็ออกซีดๆ ไม่สดอย่างคุณพระว่า
เหมือนดอกบัวหลวงสีชมพูที่โรยแล้วจริง ๆ

ส่วนทอง ชมพูนุช ที่ว่านี่ เขียน ชมพูนุท หรือเปล่าคะ
บางทีเคยได้ยินเรียกเป็น ชามพูนุท ก็มี

"ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด
บราลีที่ลดมุขกระสัน
มุขเด็ดทองคาดกนกพัน
บุษบกสุวรรณชามพูนุท"

จากเนื้อร้องของระบำดาวดึงส์ค่ะ หรือจะเขียนแบบนี้
เพื่อให้ได้เสียงที่ไพเราะเวลาร้องก็ไม่ทราบ

คุณครูพัด จะมาไหมคะเนี่ย ขอถามเป็นความรู้หน่อยสิคะว่า
สีเขียว เวอริเดียนเนี่ย ...เป็นอย่างไรคะ
สีเขียวไข่กาอีกสีค่ะ ที่เฟื่องไม่รู้จัก
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 18:59

 สวัสดีครับพี่เฟื่อง
ไม่เจอกันตั้งหลายอาทิตย์แนะ!!


มีใครพอจะมีรูปของ ดอกม่วง หรือเปล่าครับ(ไม่ใช่ดอกเบี้ยใบสีม่วงๆนะ) มันเป็นสีม่วงแบบไหนหนา ผมก็ไม่เคยเห็นสักทีใช้ กูลเกิ้ล ดูภาพ มันก็ไม่ เกื้อกูล กันเอาเสียเลย

สีม่วงอาจจะมาจาก ดอกม่วง นี้เอง
หรือคำว่า ดอกม่วง นั้นอาจมาจากดอกมันสีม่วง เขาจึงเรียกดอกม่วงก็ได้ (โอ้ย งง ??)


แต่ที่แน่ๆผมไม่อยากเชื่อเลยครับว่าคำว่าสีม่วง จะมาจากสีของมะม่วงเน่า !!
ไม่รู้เพราะอะไรเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 19:18

 ดอกม่วง เป็นไงครับ
ผมเคยได้ยิน ช่อม่วง แต่นึกว่าเป็นของกิน ไม่นึกว่าเป็นดอกไม้

สวัสดีครับคุณเขวี้ยงแก้ว หรือคุณเฟืองเก่า ยินดีต้อนรับกลับบ้านครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 19:21

 สีกากี ไทยเรียกตามฝรั่งอังกฤษ แต่ฝรั่งเรียกตามคำเปอร์เซียหรืออินเดียอีกทีหนึ่ง คำเดิมแปลว่า สีของฝุ่นหรือทราย

เมื่อวานนี้ผมเพิ่งมีเหตุเกี่ยวกับการแต่งชุดสีกากีมาหยกๆ ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 19:23

 จริงแล้วภาษาบาลี กากะ แปลว่านกกาหรืออีกา ดังนั้นสีกากี น่าจะเป็นสีดำถ้าใช้พจนานุกรมบาลีเทียบ แต่เผอิญมันไม่ใช่ภาษาบาลี เป็นภาษาแขกตระกูลอื่น เลยรอดตัวไป

กากบาท แปลว่าตีนกา หรือเครื่องหมาบรูปตีนกา ก็คือ + หรือ x
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 20:28

 เกิดเหตุอะไรกับเครื่องแบบสีกากีคะ คุณนิลกางขา เอ๊ย กังขา

คุณนิลนี่ มักจะมีเกร็ดเด็ดๆ มาแจกประจำ
ต่อไปเราจะได้ทักทายพี่ ๆ ว่า ไม่เจอกันนาน กากบาทเพียบเลยนะคะ
(ฟังดูดีกว่าแยะ คิกๆ)

แว้บไปชวนครูพัดมาวิเคราะห์สีด้วยดีก่า
เรียนจนจบมาเป็นสิบปี ไม่เคยรู้เลยว่า สีประจำมหาวิทยาลัยตัวเองนี่ หน้าตาเป็นไง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 22:33

 ที่จริง ถ้าสนใจจิตรกรรมไทยจะเจอชื่อสีแปลกๆอยู่อีกหลายสีเลย
เช่น สีหงดิน หงเสน ฯลฯ (จำไมได้แหล่วครับว่ามีอะไรบ้าง)


ที่จริง ผมมาทิ้งเรื่อง "สีขาบ"กับ "สีบัวโรย" เอาไว้ให้งงกันเล่น เพราะ(แอบ)อยากชวนคุยเรื่องอื่นล่ะครับ อิอิ
2 สีนี้เป็นชื่อสีที่ชวนให้นึกถึงความผูกพันของคนไทยกับดอกบัวอยู่มากทีเดียวนะครับ
(พอดีเห็นว่าสมาชิกท่านหนึ่งที่มาถกกันเรื่องสีเนี่ยะ สัญลักษณ์ของที่ทำงานเป็นดอกบัว ผมเลยว่าจะถือโอกาสเปิดเรื่องค้างไว้ต่อน่ะครับ อิอิ)





.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 22:49

 พูดถึงสีขาบก่อนแระกัน

ครั้งแรก ที่ผมเดาว่าสีขาบคือสีอะไร ก็ตอนที่รู้จักผ้าชนิดหนึ่งครับเรียกว่า "ผ้าเข้มขาบ"
ผ้าชนิดนี้เป็นผ้ายกทองชนิดหนึ่ง ลายผ้าเป็นลายริ้วตามแนวยาวขนานไปกับริมผ้า
ส่วนมากมักทอเป็นทองสลับกับสีแก่ และตัวอย่างผ้าที่ผมเห็นจำนวนมากส่วนที่เป็นสีแก่จำนวนมากก็เป็นสีที่ย้อมด้วยคราม


ขออนุญาตอธิบายเพิ่มนิดนึงว่าเนื้อของสีย้อมจากธรรมชาติอย่างครามเนี่ยะ สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามปัจจัยหลายอย่างเลยล่ะครับ
เช่นเปลี่ยนตามสภาพความชื้น แสงสว่าง หรือความเป็นกรด-ด่างรอบตัวได้
(ถ้าใครนึกไม่ออก ลองนึกถึงเวลาเรียนเคมีตอนประถมที่คุณครูเอาดอกอัญชันมาเติมน้ำมะนาวแหละครับ)

นอกจากนั้น เนื้อสีของครามยังสามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศได้อีกตะหาก
โดยเมื่อทำปฏิกิริยาแล้วเนื้อสีจะมีสีที่ออกไปทางสี "เขียว" หรือสีน้ำเงินอมเขียวมากขึ้น
(ถ้าใครเคยเห็นผ้าครามของคนอิสานคงพอนึกออกว่ามีหลายสีเสียเหลือเกิน)



ขี้เกียจเล่าแล้วครับ เรื่องสีเดี๋ยวเยิ่นเย้อไป สรุปว่าครั้งแรกที่ผมเจอชื่อผ้า"เข้มขาบ"
ผมก็เลยนึกเอาว่าสีขาบเป็นสีเหมือนผ้าฝ้ายย้อมครามน่ะแหละ เพราะสีมันออกมาแบบนั้นนี่นา



เอาภาพผ้าเข้ขาบแบบอินเดียมาให้ชมกันครับ สีแบบนี้ล่ะที่ผมเล่าถึง (ใครอยากเห็นของไทยไปชมที่พิพิธภัณฑ์นะครับ)





.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 23:17

 แต่แล้ว เมื่อผมไปค้นตำราเพิ่มเติม ในบันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ ซึ่งสมเด็จครูประทานแก่พระยาอนุมานราชธน
ลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ทรงอธิบายถึงผ้ายกไว้หลายชนิดว่า "ถ้าลายเป็นริ้วเห็นทองกับพื้นเท่ากันเรียกว่าเข้มขาบ จัดว่าเป็นที่ 2"

ส่วนจดหมายของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งขอประทานกราบทูลฉบับลงวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ทูลสมเด็จฯ ว่า
"ในภาษาเปอร์เซีย มีคำว่า tash และ kimkhab แปลว่าผ้าทอง ไม่อธิบายอะไรอีก"

จากข้อมูลส่วนนี้ก็เลยทำให้ผมกลับไปสรุปว่า "ผ้าเข้มขาบ" เรียกว่า "เข้มขาบ" เพราะมีสีขาบ ไม่ได้แล้ว
เพราะชื่อผ้าน่าจะมาจากภาษาต่างชาติมากกว่าที่จะมาจากชื่อของสีในภาษาไทย ?


ข้อสรุปใหม่ก็เลยทำให้ "สรุปไม่ได้" ว่าสีของผ้าเข้มขาบเป็นสีขาบ (อ่านแล้วสับสนมั้ยครับ อิอิ)



ปล. "ผ้าKimkab" ในอินเตอร์เนตที่ผมหาเจอเป็นผ้าแบบผืนด้านล่างนี่แหละครับ
หน้าตาต่างจาก "ผ้าเข้มขาบ" ของคนไทยที่บันทึกไว้ในบันทึกของพระยาอนุมานราชธนหลายขุมนะครับ แหะๆ




.
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 00:22


.










เอา "บัวขาบ" มาพูดถึง "สีขาบ" แทนดีกว่า เพราะผ้า "เข้มขาบ" มันใช้ไม่ได้แล้ว

"บัวขาบ" ภาษากวีก็เรียกให้ไพเราะเพราะพริ้งจนฟังแล้วนึกไม่ออกว่าเป็นดอกอะไรเลยล่ะครับ ว่า "นิโลตบล"
อันที่ครูภาษาไทย ม.3 ชอบเอามาสอนน่ะแหละครับ ว่าเป็นการสมาสเสียงแบบ "สนธิ" (ไม่ใช่ลิ้มทองกุลนะครับ อิอิ)
มาจากคำว่า "นิล" ซึ่งเป็นชื่อสีสีหนึ่งในภาษาแขก กับ "อุบล" ที่แปลว่าจังหวัดใหญ่ทางภาคอิสาน เอ๊ย...! ไม่ใช่ๆ แปลว่าดอกบัว
รวมๆแล้วผมก็เลยอนุมานไปเองได้ว่า "บัวขาบ" เป็นบัวที่มีสีแบบที่ภาษาแขกเรียกว่า "สีนิล" ล่ะครับ


แต่ก็อย่างที่คุณเฟื่องแก้วบอกไว้ล่ะครับ บัวขาบ หรือที่ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Nymphaea cyanensis
(บางทีผมก็เห็นเรียกว่า Nymphaea capensis Thunberg) เนี่ยะ มีหลายสีครับ (ไม่ใช่แค่สี cyan นะครับ อิอิ)
เพราะตามธรรมชาติของบัวโดยเฉพาะบัวในกลุ่มบัวสาย สีและรูปทรงของดอกจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสิ่งแวดล้อมต่างๆครับ เช่น อุณหภูมิน้ำ หรืออายุของดอกครับ

ยิ่งหลังๆมานี่ผมเห็นบางเวบเอาภาพ "บัวขาบ" กับ "บัวเผื่อน" มาปนกันอีกให้ผู้อ่านสับสนเล่น บัวขาบก็เลยยิ่งมีสีก็เยอะเข้าไปอีกล่ะครับ เพราะบัวเผื่อนน่ะเปลี่ยนสีได้นะครับ หุหุ



เล่าเรื่องไม่ค่อยมีสาระมาตั้งหลายความเห็นเพิ่มเติมแล้ว ผมก็ยังตอบตัวเองไม่ได้ซะทีว่า "สีขาบ" เป็นสีอะไร
รู้แค่ว่า "สีขาบ" น่าจะสีตรงกับสีของ "บัวขาบ" มากกว่าสีของ "ผ้าเข้มขาบ" ครับ
เพราะคำว่า "ขาบ" ของ "บัวขาบ" น่าจะมาจากสีของดอกบัว ที่ผมอนุมานเอาว่าน่าจะมีสีขาบ
ส่วนคำว่า "ขาบ" ของ "ผ้าเข้มขาบ" น่าจะมาจากเสียงในภาษาต่างประเทศนะครับ

ว่าแล้วก็เดาต่อไปว่า "สีขาบ" น่าจะมีส่วนคล้ายกับ "สีนิล" อยู่บ้างนะครับ เพราะภาษาแขกเรียกบัวขาบว่า "นิโลตบล"
แต่ "สีนิล" จะเป็นสีอะไร คงต้องรบกวนสมาชิกท่านอื่นที่น่าจะรู้จักชื่อสีดีกว่าผมมาตอบดีกว่าครับ อิอิ






ปล. เอาคำประพันธ์มาฝากกันครับ


.......โกมลเดียรดาษท้อง...................สินธู
วาลุการะดับดู..................................ดั่งแก้ว
ปารังระบัดปู....................................ปุยนุ่น...เปรียบฤๅ
เปิดจอกกระจับแผ้ว...........................ผ่องน้ำเห็นปลา

......เรืองรองน้ำจันทรมณี...............บุษปะสระศรี
สโรชนิโลตบล
......บัวบานมณีสุริยพิมล................บงกชจงกล
ลนีนิโลตบลบาน
......ขจรคนธตรหลบโอฬาร............ฟุ้งฟ้าจักรพาฬ
ก็พูนบำเทิงหฤทัย
......รายรอบสระศรีเรียงไร.............ย่อมรัตนอำไพ
รุวาลุกายับยับ
......กรวดแก้วกรวดรัตนประดับ.......ทรายทองรายกับ
รัชฎดาษเดียรดาษ



จากอนิรุทธคำฉันท์ ของศรีปราชญ์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 05 ก.ค. 06, 10:03

 สี old rose หมายถึงสีชมพูคล้ำๆอย่างสีกุหลาบ(สีชมพู)โรย
แต่คนไทยออกเสียง โอลด์ ไม่ถนัดเพราะเราไม่มีเสียงตัวสะกด ล &  ด ควบกัน   ก็เลยออกแต่ตัวแรก เป็น โอ
แต่พอมาใช้ นานๆเข้า สีโอโรสที่หมายถึง  ไม่ยักใช่สีชมพูคล้ำ  แต่กลับเป็นสีตรงกับที่ฝรั่งเรียกว่า peach คือสีชมพูอมส้ม ค่ะ


นิล  เดิมหมายถึงสีฟ้า หรือเฉดน้ำเงิน  ไม่ได้หมายถึงดำ
นิลวรรณ ไม่ได้แปลว่าผิวดำ  แต่แปลว่าสิ่งที่มีผิวสีน้ำเงิน หมายถึงพลอยสีน้ำเงิน  ซึ่งรวมหลายเฉด ตั้งแต่น้ำเงินอ่อนไปจนน้ำเงินแก่เกือบดำ
ส่วนคำว่าสีดำ  คือ กาฬ  
คำนี้แม้แปลว่าดำตรงตัว  แต่ไทยไปใช้ในชื่อพระกาฬ   กวีก็คงไม่อยากเอามาบรรยายความงาม
ฟันงามเลยกลายเป็นดำเหมือนนิล  อนุโลมเรียกสีดำว่านิล ในคำว่า เจ้างามทนต์กลนิลเจียระไน  ฟังแล้วนิ่มหูว่ากาฬ เยอะค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง