เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
อ่าน: 42132 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 17:45

 คอทั่งสันหลังเหล็ก   หมายความว่าไม่ระคายผิว  ไม่ว่าจะโดนทุบตีแรงแค่ไหนค่ะ  
ใช้ในความกล้าบ้าบิ่นไม่กลัวเจ็บก็ได้     หรือถ้าในทางลบ หมายถึงด้าน จนไม่เจ็บก็ได้

เรื่องสีต่างๆ ไม่รู้ที่มาอยู่หลายคำ   ชมพูเห็นจะมาจากสีชมพู่   ม่วงนี่ไม่รู้ เพราะผ้าที่เรียกว่าผ้าม่วงก็มีหลายสี  
สีแดง  คำว่าแดงมาจากไหนก็ยังจนปัญญา
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 18:06

 หมากม่วง ก็มีสีเขียว(ดิบ) กับ สีเหลือง(สุก) ไม่มีสีม่วง
สีส้ม อาจมาจากสีผิวผลส้ม ??
แล้วสีแสดล่ะ ฮืม

บางครั้งเราเรียกสีแดงว่า สีชาด
กาชาด คือกากบาดสีชาด ฯลฯ

มีใครเคยได้ยิน สีโอรส ??บ้างไหมครับ (โอรด โอลด โอรถ ไม่ทราบเหมือนกันว่าสะกดอย่างไร?) ใครมีนิยามของสีนี้บ้างครับ ตกลงเป็นสีสรร อย่างไรกันแน่


ผมว่าท่าทางเราจะมีหัวข้อคุยเรื่องเรื่องสีๆ นี่อีกมากเลยนะครับ    
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 18:08

 ถ้าพูดเรื่องสี เห็นทีผมคนนึงล่ะครับที่งงไม่หาย เพราะเคยสังเกตดูพบว่าส่วนมากสีของคนไทย มีอยู่แค่ "เขียว" กับ "แดง" นะครับ

อะไรที่ออกมาเป็นส้ม แสด ชมพู ม่วงแดง น้ำตาลอ่อน น้ำตาลแดง พี่ไทยเรียกรวมๆกันว่า "แดง"
ส่วนอะไรที่ออกมาเป็นฟ้า น้ำเงิน ขี้ม้า เขียว กรมท่า ดำ น้ำตาลเข้ม เทาแก่ พี่แกก็เรียก "เขียว" น่ะแหละ

แต่พอพูดว่า "ทาหน้ามาเขียวๆแดงๆ" ก็เห็นภาพชัดแจ๋ว ว่าทาหน้ามา "สีสด" ไม่ใช่ทาหน้าเป็นตุ๊กตางิ้วหรือหุ่นกระบอก
หรือบอกให้ "เดินไปหยิบตะกร้าสีเขียวให้หน่อย" เดินไปเจอตะกร้าสีฟ้า สีแดง สีขาววางอยู่ก็หยิบได้นี่ครับ อิอิ




ปล. ถึงอาจารย์เทาชมพูครับ ผ้าม่วงเป็นผ้าที่ทอมาจากโรงงานในเมือง "หม่วง" มณทลเซี่งไฮ้ ประเทศจีนครับ
ชื่อก็เลยถูกเรียกเพี้ยนออกมาเป็น ผ้าม่วง เหมือนที่คนไทยเรียกผ้าที่ทอมาจากแคว้น "กุศราจ" ในอินเดีย ว่าผ้า "กุสราด" น่ะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 18:27

 ขออนุญาตเดาว่าสีที่คุณหมูฯถามถึง คือ "สีกุหลาบแก่" หรือสีOld Rose (ชื่อภาษาไทยก็แปลมาทั้งดุ้นน่ะแหละครับ แหะๆ)
แต่พอมาพูดเข้า "สีกุหลาบแก่" (ผมคลับคล้ายคลับคลาว่าดอกไม้สดจะเคยใช้คำนี้อยู่เหมือนกัน)
ฟังแล้วสื่อความหมายได้ไม่เหมือนสีOld Rose นะครับ ทั้งๆที่คนไทยก็คุ้นกับกุหลาบมอญสีชมพูอยู่
หรือไม่ชื่อนี้ก็ฟังแล้วมัน "ไม่โก้" เลยไม่ถูกหูคนชอบพูดภาษาต่างประเทศอย่างคนไทย ผมก็ไม่ทราบได้
ชาวบ้านเลยติดคำว่า "สีโอโร๊ด" ตามภาษาเดิม หรือหนักๆเข้าก็พูดเป็น "โอรด" เหมือนที่คุณหมูฯถามมาร่ะครับ



ปล. พูดถึงชื่อสีแล้วผมนึกถึง "สีเขียวหัวเป็ด" "สีแดงเลือดนก" "สีเขียวขี้นกการเวก" ฯลฯ
ฟังแล้วชวนให้คิดว่าคนไทยรู้จักชื่อสีอยู่ไม่กี่สี อยากบอกว่าสีไหนก็ค่อยเอาคำอื่นๆมาขยายความต่อ ว่าสีที่ว่าสีเหมือนอะไร
เวลาเขียนตำราสอนภาษาอังกฤษ พูดเรื่องสีให้เด็กฟังก็พูดแค่สีที่ภาษาไทยมีชื่อเรียก นับแล้วก็มากกว่าสีรุ้งอยู่ไม่กี่สี
ไม่เหมือนฝรั่งที่มีชื่อเรียกสีที่แทบจะไม่ต่างกันเลยสารพัดไปหมด อย่าง crimson หรือ cyan นี่เด็กไทยสักกี่คนจะรู้จักก็ไม่ทราบนะครับ
แค่ violet กับ purple เด็กไทยตั้งหลายคนที่ไม่ละเมียดละไมในการใช้ภาษา(เช่นผมเป็นต้นล่ะครับ แหะๆ)
จนโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังแปลเป็นภาษาไทยไปโล้นๆว่า "สีม่วง" เหมือนกันหมดนะครับ อิอิ


ปล. ใครพอนึกถึงสีขาบ หรือสีบัวโรย ออกมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 19:46

 สมแล้วที่เป็นคุณติบอ

ไม่เสียแรงที่ผมชื่นชมคุณให้คนโน้นคนนี้ฟังเสมอ ว่าคุณเก่งนัก (เก่งจริงนะ ตัวแค่เนี๊ย!!)

ขอบคุณสำหรับความรู้(เก่าสำหรับคนอื่นแต่)ใหม่ๆสำหรับผมครับ
     
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 20:38

 ครั้งหนึ่งนานมาแล้วในเว็บอื่น เราเคยคุยกันเรื่องสีเบจ และสีโอลด์โรสนี่ด้วย มีใครท่านหนึ่งบ่นขึ้นมาว่า สี "โอโร้ด" ในเมืองไทยนั้น ไม่ตรงกับสีโอลด์โรสต้นตำรับในเมืองฝรั่ง ดูเหมือนโอลด์โรสจะเป็นชมพูหม่น แต่โอโร้ดในเมืองไทย ดูจะเป็นชมพูอมส้ม หรือไงนี่แหละ

ชาด มีสีแดงครับ ฉะนั้นอะไรที่เป็นสีแดงก็เรียกว่าสีชาดได้

ผมเคยคุยกับคุณบัวดินและคุณ B (และอีกหลายท่าน) ในเว็บอื่นเหมือนกัน ว่าด้วยชมพู่ ชมพู Jambu และลูกหว้า รวมทั้งลูกไม้อื่นๆ ที่คนหลายชาติแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยืมเอาคำว่า ชัมพุ ของภาษาบาลีไปใช้เรียกในภาษาของตน (ดั้งเดิมแขกอินเดียเขาตั้งใจจะให้หมายถึงลูกหว้า)

ถ้าว่ากันตามเดิมจริงๆ สี "ชมพู" ไม่เชิงจะเป็นสีที่เรารู้จักว่าเป็น pink แต่คงเป็นสีลุกหว้าค่อนไปทางม่วงๆ ก่อนที่คำว่าชัมพุเองจะกลายเป็นใช้เรียกชมพู่ไปในหลายภาษา
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 20:43

 และเผอิญ ชมพู่นั้นสีชมพู (แต่ที่สีเขียวก็มี)

ผมเคยสงสัยมานานแล้วเหมือนกัน ว่า ม่วง มาจากไหน ไทยเรามีคำว่า สีม่วง และ มะม่วง หรือหมากม่วง แต่มะม่วงก็ไม่เห็นจะสีม่วงเลย ที่จริงสีตรงกันข้ามกับม่วงคือเหลือง (เวลาสุก) ด้วยซ้ำ

เคยรู้ว่า ภาษาเขมร (ที่ผมรู้มาตกๆ หล่นๆ นี้อาจจะเป็นภาษาเขมรภูมิภาค ไม่ใช่เขมรพระนคร - ใครรู้ภาษาเขมรจริงช่วยกรุณาแก้ไขผมด้วยครับ) ก็มีคำคู่นี้ คือทั้งมะม่วง และสีม่วง เขมรเรียก สวาย ทั้งคู่

ก็น่าจะแปลว่าตาคนไทยโบราณกับตาคนเขมรโบราณ เห็นผลไม้นี้สีคล้ายๆ กันซิ? และไม่ใช่สี "ม่วง" purple อย่างเดี๋ยวนี้ด้วย?

ทำให้นึกเลยเถิดต่อไปว่า แล้วปลาสวายในภาษาไทย คนไทยและคนเขมรสมัยโน้นเห็นเป็นสีอะไร?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 22:27

 เปิดวิกิพีเดียเรื่อยส่งเดชเรื่องชื่อสีในภาษาอังกฤษ หาคำชื่อสีว่าโอลด์โรสไม่ยักกะเจอครับ หาต่อไปอีกหลายเว็บ ไม่เจอเหมือนกัน ?

แต่การส่งเดชของผมก็ทำให้สะดุ้งได้ เพราะเปะปะไปเจอบทความฝรั่งบทหนึ่ง เดี๋ยวจะลากลิ๊งก์ให้ครับ ทำไม่ค่อยเป็น แต่สรุปความได้ว่า Orange สีส้มและผลส้มในภาษาฝรั่งน่ะ ที่จริงเป็นภาษาแขก ข้อนี้ผมรู้อยู่แล้วคร่าวๆ มาก่อนว่า สเปนเรียกส้มว่านารังฮ่า หรืออะไรเทือกนั้น แต่พอหลุดไปอยู่ในภาษาฝรั่งเศสกับอันกฤษ ทำเสียง น. หน้าคำตกหาย กลายเป็นอะรังฮ่าและออเรนจ์จ้าต่อมา ทีนี้ สเปนได้คำนี้มาจากไหน ความรู้เดิมผมรู้ว่ามาจากอาหรับ ก็ไม่ติดใจอะไร

ภาษาสเปนได้คำจากอาหรับแยะมากหลายคำนะครับ เพราะอารยธรรมอาหรับเคยเจริญอยู่แถวนั้น อันนี้ก็ความรู้เดิม

ที่ผมสะดุ้งเมื่ออ่านบทความเมื่อกี้ เป็นความรู้ใหม่ก็คือ ฝรั่งรายนั้นเขาว่า อาหรับได้ชื่อคำเรียกส้มและสีส้มนี่ มาจากเปอร์เซีย และเปอร์เซียก็ได้มาจากอินเดียอีกต่อ แล้วว่า ที่จริงรากเดิมของคำว่า Orange นั้น เป็นภาษาสันสกฤต     !

ประกาศขอตัวช่วยด่วน ปุจฉา - อันว่าคำว่าส้ม ทั้งที่เป็นผลไม้ และสีสันวรรณะทั้งคู่นั้นแล พระบาลีท่านว่ากระไร ขอนมัสการกราบเรียนถามมาด้วยความเคารพ ณ ที่นี้

(เพราะภาษาบาลีก็ต้องสืบได้กับสันสกฤตน่ะแหละ)
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 22:36

 บทความที่ว่า ครับ

 http://www.worldwidewords.org/articles/colour.htm

"The colour orange derives originally from the Sanskrit word narangah for the fruit, whose name moved westwards through Persian narang and Arabic naranj to Spanish (the Arabs imported it into Europe via Moorish Spain in medieval times); in French it became corrupted to orange, in part by the process called metanalysis but also through being strongly influenced by the name of the town of Orange in south-eastern France which used to be a centre of the orange trade."

ที่ผมรู้มา ทำนองยังงี้ด้วยว่า จากที่เคยเรียกว่า a naranj ส้ม หนึ่งลูก กลายเป็น an orange ส้มหนึ่งลูก ไป เสียงตัว N ย้ายที่ ไปติดกับอาร์ติเกิ้ล เลยชื่อในภาษาใหม่กลายเป็น โอเร้นจ์ เสียง น ต้นคำ หาย

แต่ที่เขาว่าที่จริงแล้วรากเดิมเป็นภาษาสันสกฤตว่า Narangah นี่สิ ผมทึ่ง จริงตามที่ฝรั่งว่าจริงๆ เหรอ?

นรังคห์? ณรงคห์? (มั่วครับ) นรางเคราะห์? .... มั่วไปก็ไม่ได้เรื่อง ยอมแพ้ดีกว่า

ลองนึกตามพระบาลี (ซึ่งนักภาษาศาสตร์ว่า ภาษาบาลีก็เป็นรูปที่ง่ายลงหรือที่เพี้ยนไปแล้วรูปหนึ่ง ของภาษาสันสกฤต) ฉัพพรรณรังสี หรือรัศมีหกสีของพระพุทธเจ้า มีสีส้มอยู่ด้วยรึเปล่านะครับ? และสีส้มถ้ามีนั่นน่ะ พระบาลีท่านเรียกว่าอะไรหนอ?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 22:39

 พจนานุกรมว่า อย่างนี้ครับ

"คำ :  ฉัพพรรณรังสี
เสียง :  ฉับ-พัน-นะ-รัง-สี
คำตั้ง :  ฉัพพรรณรังสี
ชนิด :  น.
ที่ใช้ :  แบบ
ที่มา :  (ป. ฉพฺพณฺณรํสี)
นิยาม :  รัศมี ๖ ประการคือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ)."

เป็นอันจบเห่ ไม่มีสีส้มในนี้แฮะ มีแต่สีเฉดแดงๆ เหลืองๆ คล้ายๆ จะเป็นส้มได้ แต่ก็ยังไม่ตรง และไม่มีคำเรียกสีที่ฟังเสียงคล้ายนรังฮ่าซักสีเดียว
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 22:48

 มีข้อสังเกตว่า ตาแขกโบราณก็เห็นสีต่างๆ ปนๆ กันพอๆ กับไทยโบราณเหมือนกัน นีลนั้น มาถึงสมัยนี้ไทยเราว่าเป็นสีดำ อย่างรัตนชาติที่ชื่อนั้น แต่ในฉัพพรรณรังสีพระพุทธเจ้า พระโบราณาจารย์ท่านกำหนดให้เป็นสี "เขียว" แต่บอกว่าเขียวเหมือนดอกอัญชัน ซึ่งใครจะยังไงไม่ทราบนะครับ สำหรับผม (ซึ่งเป็นไทยสมัยนี้) น่ะ ผมว่าดอกอัญชันมันสีน้ำเงินนี่ครับ?

สรุปว่า นีล ของแขกอาจจะเป็นสีดำ เขียว น้ำเงินเข้ม ได้ทั้งนั้น ม่วงก็ดูเหมือนจะได้ด้วย สีน้ำทะเลก็ดูเหมือนจะได้ ออกไปทางเฉดทำนองนั้นหมด

โลหิตกับมัญเชฐนั้น ผมอ่านแล้วมีความรู้สึกว่าออกเฉดแดงทั้งคู่แต่คนละเฉดกัน
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 22:57

 ไล่ชื่อผลไม้ต่อ

ชัมพุ อย่างในชื่อชมพูทวีป เป็นลูกหว้า สีน่าจะม่วง แต่มาถึงภาษาไทยกลายเป็นชมพู (แล้วสีชมพู พระบาลีว่ากระไร?) ในภาษาจีนกลาง สีแดงเรียกว่า หง (- อั๊ง ในภาษาแต้จิ๋ว) และชมพูเรียกว่า เฝิ่นหง มีคนบอกผมว่า เฝิ่นในคำจีนกลางคำนั้น มีรากศัพท์สัมพันธ์กับคำว่า ฝุ่น ในภาษาไทย หมายความว่าเป็นสีแป้งผิดหน้าหรือทาหน้า (สมัยนี้จะเรียกว่า "รูจ" ก็คงได้กระมัง?) คือคนที่เล่าเขาบอกผมว่า คนจีนเรียกชมพูว่า "แดงฝุ่น" หรือ แดงอย่างแป้งผัดหน้า เท็จจริงอยู่ที่คนเล่าครับ ผมก็ไม่ทราบ  

มะม่วง ภาษาฮินดีสมัยนี้ก็ยังเรียกว่า อัม อยู่เลย บาลีสมัยโบราณเรียก อัมพะ (อัมพวัน แปลว่าป่ามะม่วง) ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเกี่ยวกับสี (ไม่เหมือนในภาษาเขมรและไทย)

ส้ม ยังหาศัพท์ไม่เจอ

ในวิชากสิณ มีการเพ่งเอาสีต่างๆ เป็นอารมณ์กำหนดจิตเหมือนกัน เห็นจะต้องลองไปค้นดูว่ามีสีชื่อบาลีว่าอะไรบ้าง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 23:02

 นึกเตลิดไปว่า ตัวการ์ตูนฝรั่งของ DC คอมิก (บริษัทเดียวกับที่วาดการ์ตูนซูเปอร์แมน มนุษย์ค้างคาว และสาวน้อยมหัศจรรย์วันเดอร์วูแมนออกขาย) มีตัวหนึ่ง ชื่อเดอะกรีนแลนเทิร์น ซึ่งห้ามแปลเป็นไทยว่าวีรบุรุษโคมเขียวเป็นอันขาด จะความหมายเพี้ยนไกลลิบลับเลยทีเดียว

อีตากรีนแลนเทิร์นนี้ ดูเหมือนมีฤทธิ์วิเศษเกี่ยวกับอะไรก็ตามที่เป็นสีเขียวๆ

ถ้าแกเป็นพุทธ ผมว่าแกคงต้องเล่นกสิณแล้วเพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์แน่เลยครับ ถึงได้มีฤทธิ์แบบนั้น
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 03 ก.ค. 06, 23:33

 เห็นคุณนิลกังขาเปิดเรื่องมาเรื่องลูกหว้า ก็ขอเล่าที่ตัวเองเคยได้ยินมาบ้างแล้วกันครับ
ผมเคยสงสัยเรื่องทองชมพูนุช ว่าทำไมถึงเรียกว่าทองชมพูนุช มันไม่เห็นจะชมพูตรงไหนเลย ออกจะทองๆ แดงๆ ม่วงหน่อยๆด้วยซ้ำไป
ก็เลยไปลองค้นหนังสือดู เท่าที่จำได้ความของผมในครั้งนั้นไปจบที่ "ไตรภูมิพระร่วง" ของพระยาลิไทครับ

เรื่องที่ค้นเจอ เริ่มจากที่เล่าว่าเหนือชมพูทวีป (นี่ก็ชมพูล่ะ อิอิ ก็ มาจากชื่อ "ต้นหว้า" น่ะแหละครับ ไม่ใช่ทวีปเป็นสีชมพูแจ๋หรอก)
เพราะฉะนั้น เหนือทวีปที่ว่านี่ก็เลยมีไม้หว้าต้นใหญ่มโหฬารขึ้นอยู่ แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปไกลพอดู
เล่ากันว่าเมื่อผลจากไม้หว้าต้นนี้หล่นลงบนพื้นเมื่อใด ผลไม้นั้นก็จะกลายสภาพไปเป็นทอง เรียกว่า "ทองชมพูนุช" ครับ
ผมเลยได้ถึงบางอ้อ ว่าเจ้าทองสีก่ำๆที่เรียกว่าทองชมพูนุช มันมีที่มาประการฉะนี้นี่เอง


ปล. ว่างๆคงต้องไปค้นเพิ่ม มีเรื่องน่าสนใจอีกปานตะไทรอให้ผู้สนใจไปค้นนะครับ อิอิ

ปล.2 ไม่ทราบจะจำมาถูกหมดหรือเปล่านะครับ หลายปีแล้วน่ะครับ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 196


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 04 ก.ค. 06, 02:38

 สีม่วง ผมว่า อาจเป็นสี มะม่วงเน่า นะครับ
มันออกม่วงๆ อยู่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง