เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 42122 กระทู้ชวนคุย : เที่ยวไปในตัวหนังสือ
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


 เมื่อ 09 พ.ค. 06, 20:10

 วันนี้เจ้าหมูฯอยากจะชวน ทุกๆท่านในบ้านเราคุยเรื่อง “ ที่มาของสำนวน โวหาร ภาษิต สุภาษิต คำพังเพย ของไทย เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ , ไม่กินเส้น ฯลฯ ปกติเราก็จะทราบความหมายของคำเหล่านี้ ทั้งความหมายตรง และความหมายแฝง ดีอยู่แล้ว หรือถ้าไม่ทราบอย่างไร ก็ใช้ พจนานุกรมหรือใช้  www.goolgle.co.th ก็จะทราบได้ แต่ด้วยความรู้น้อย ด้อยมารยา ของหมูน้อยฯก็เลยเกิดความสงสัยว่า แล้วต้นสายปลายเหตุ ที่มาของคำ , ประโยค,วลี เหล่านั้น(บางคำ บางวลี บางประโยค) มาจากไหนกัน (ที่จริงก็มีใจอยากจะชวนทุกท่านคุยให้คลายเหงาด้วย)

เคยสงสัย ว่าทำไม “ต้องตกกระไดพลอยโจร” ด้วย .. ขึ้นกระไดมิได้รึ???  หรือทำไมไม่ “ตกกระไดพลอยตำรวจ”?ฮืม

ผู้รู้อธิบายไว้ว่า
……….ตกกระไดพลอย"โจน" เป็นตำตอบสุดท้ายที่ถูกต้องครับ
คือ โจน = กระโจน หรือ กระโดดลงมา นั่นเอง
ส่วนความหมายที่ถูกต้อง คงจะมีผู้รู้เข้ามาอธิบายให้ทราบต่อไป

โดย: ลุงแก่ [IP: 202.183.228.67]
วันที่ 19 ต.ค. 2543

………..สำนวนนี้น่าจะมาจาก
ไม่ได้ตั้งใจจะกระโดดลงบันได
แต่เสียหลักตอนกำลังลงบันได
เมื่อไม่อยากเจ็บตัวก็เลยกระโดดลงมาเสียเลย
เปรียบเทียบคนที่ทำไม่ดีอะไรบางอย่างที่ทำเพราะสถานการณ์พาไป
เนื่องจากมักเป็นเรื่องไม่ค่อยดี คนก็นึกว่าไปเป็นโจร
อย่างนักท่องราตรีตอนตีสองไปแล้วบางที่
เห็นเขาทะเลาะกันก็เลยแถมบาทาเข้าอีกอัน
(เกี่ยวหรือเปล่านะนี่)
ก็อย่าโจนกันบ่อยนักก็แล้วกันนะครับ

โดย: นิรันดร์ [IP: 203.121.130.34]
วันที่ 20 ต.ค. 2543

……………..ไหน ๆก็ตกบันไดหล่นลงมาอยู่แล้ว เลยพลอยกระโจนลงมาเสียเลย ถูกแล้วครับ ไม่เกี่ยวกับขโมยขโจรใดๆ

โดย: นกข. [IP: 156.106.223.98]
วันที่ 21 ต.ค. 2543

นั่งอ่าน “ กับข้าวชาววัง “ ของอาจารย์เทาชมพู ก็ได้สำนวนที่ว่า “ เกลียดตัวกินไข่” มา    (ถ้าอยากทราบที่มา ก็ได้โปรดกลับไปอ่านเสียดีๆ)

มีสำนวน ภาษิต ฯ อื่นอีก เช่นว่า
………..ไก่ตาแตก นี่มาจากไก่ชน ที่ชนกันแล้วโดนเดือยคู่ต่อสู่แทงตา (แตก หรือ บอดไป) หรือเปล่าครับ ?
วันที่ 6 มิ.ย. 2544 - 19:10:39
โดย: เปียว
………….เรื่องตัดหางปล่อยวัดนี่ทีแรกผมเข้าใจว่าเป็นการตัดหางหมา เพราะ
ไปติดคำว่า "หมาหางด้วน" กับ "หมาวัด" ตกลงเป็นการตัดหางไก่
หรือครับ สงสัยว่าคำนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมต้องตัดหางด้วย
ปล่อยวัดเฉยๆ ไม่ได้หรือ พยายามหาในเน็ตแล้วไม่เจอที่มาเลย...
เรื่องไก่กับเรื่องวัด มีสำนวน "สมภารกินไก่วัด" ด้วยนะครับ...

วันที่ 7 มิ.ย. 2544 - 17:26:28
โดย: แจ้ง ใบตอง

…………….ไก่ได้พลอย
-ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
-ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
-ไก่แก่แม่ปลาช่อน
ฯลฯ
แจ้ง ใบตอง [IP: 203.170.191.2] วันที่ 8 มิ.ย. 2544
เหล่านี้ล้วนมีที่มาด้วยกันทั้งนั้นอย่าง จากกระทู้ของคุณ ติบอ ที่เราเคยคุยเรื่องรามเกียรติ์ ผมก็นึกได้อีกหลายสำนวน เช่น วัดรอยเท้า , งอมพระราม, ศรศิลป์ไม่กินกัน ฯลฯ จำพวกนี้ก็มีต้นสายปลายเหตุจากวรรณคดีไทย และสามารถอธิบายได้ว่ามาจากตอนไหน เพราะอะไร
แต่อีกหลาย10 หลาย 100 ในสำนวนไทยนี้ ยังรอทุกท่านในบ้านนำมาแบ่งปันแจกแจงถึงที่มาที่ไปกัน(ให้สนุก )ครับ



“   (ขอคุยถึงสำนวน สุภาษิต ฯ เฉพาะของไทยและขออนุญาตยกเว้นคำคมนะครับ เพราะเดียวจะไปคล้ายกับกระทู้ http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=20&Pid=25801&PHPSESSID=7ffe8450b28f321428579ee772ac9433   เข้า)
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 09 พ.ค. 06, 20:26

 ขออนุญาตเริ่มก่อนเลยก็แล้วกันครับ ด้วยสำนวนที่ว่า
" ลูกทรพี"
หมายถึงคนที่ไม่รู้จักคุณบิดามารดา
มีที่มาจาก ตอนศึกทรพี-ทรพา  
พระอิศวรสาปให้นนทกาลไปเกิดเป็นกระบือเผือก ชื่อ ทรพา และเมื่อมีลูกชายชื่อ ทรพี ขณะที่ให้กำเนิดทรพีนั้น นางนิลาได้พาหนีไปฝากเทพยดาให้ช่วยเลี้ยงดูที่ถ้ำสุรกานต์ เนื่องจากกลัว
ทรพาจะจับฆ่าเสีย เนื่องจากลูกตัวผู้ก่อนหน้านี้ก็ถูกทรพาฆ่าตายหมด เมื่อทรพีเติบใหญ่ก็ออกเดินทางตามหารอยเท้าพ่อ จนพบรอยเท้าใหญ่เหมือนกันจึงได้เกิดการต่อสู้ กับทรพาตามคำสาปของพระอิศวร แล้วทรพาถูกทรพีขวิดจนตาย

ตรงนี้ยังมีสำนวนเพิ่มมาอีกสำนวนหนึ่ง คือ " วัดรอยเท้า"
ซึ่งหมายความว่า เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ ,  พยายามลบหลู่ ต่อสู้ แข่งดี ผู้มีอำนาจสูงกว่า

ปล.ตรงนี้เข้าใจว่าแทบทุกท่านก็คงทราบถึงที่มาของ 2สำนวนนี้ดีอยู่แล้ว แต่หมูน้อยฯก็อยากนำมาเป็นตัวอย่างก่อน เป็นการเรียกน้ำย่อยนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 พ.ค. 06, 22:28

 แวะเข้ามาถามสำนวนจากรามเกียรติ์อีกเล็กน้อยนะครับ
เพราะผมไม่ทราบจริงๆ ว่าสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร


สืบเนื่องมาจากมีสมาชิก อยากเป็น "นางมณโฑ" ขึ้นมา
เลยทำให้ผมนึกถึงสำนวนอีกสำนวนนึงออก คือ "ฑ นางมณโฑ นมโตข้างเดียว"
แต่ถ้าเอาไปโพสต์ไว้ในกระทู้นั้นจะไปคล้องกับเรื่องใยบัวบน "สไบ" ของนางพิรากวน (มากไปหรือเปล่า)
เลยขอเอามาถามที่นี่ดีกว่าครับ ว่าสำนวนนี้มีที่มายังไง ทำไมถึงต้องโตข้างเดียว





ปล. ผมเดาเอาว่า ทศกัณฑ์ พิเภก พาลี และหนุมานคงถนัดขวา นางมณโฑก็คงถนัดขวา เวลาอุ้มอินทรชิตกินนม คงต้องให้กินข้างซ้าย
เพราะฉะนั้น เดาว่านมข้างซ้ายของนางมณโฑเป็นข้างที่โต แต่ไม่รู้ว่าทำไมต้องโตข้างเดียวอ่ะครับ แหะๆ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 พ.ค. 06, 22:49

อุ๊ย มีคนชวนคุย คุยด้วยก็ได้
เดี๋ยวจะหาว่าเรา สวยแล้วหยิ่ง

มีคำพังเพยอยู่อันหนึ่งนะคะ
ที่ดิฉันเพิ่งเกิดความคลางแคลงใจในความหมาย
คือ คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ
เพราะเข้าใจว่า แปลว่า เป็นธรรมดาโลกเมื่อมีคนรัก ย่อมมีคนชัง
แต่เพิ่งทราบว่า มีคนจำนวนไม่น้อย
แปลว่า มีจำนวนคนรักน้อยกว่าจำนวนคนชัง
(หรือมีคนชังจำนวนมากกว่า คนรัก ว่างั้นก็ได้)
เพราะเทียบระหว่างขนาดผืนหนัง กับผืนเสื่อ

พอพูดถึงผืนหนัง กับผืนเสื่อ
จิตดิฉันก็เจ้ากรรมนายเวรอะไรไม่ทราบ
ประหวัดไปถึง หนังกลางแปลง
(ทำไมไม่นึกถึงหนังตะลุงก็ไม่ทราบค่ะ)
ถ้าอย่างนั้นละ ผืนหนัง ใหญ่กว่าผืนเสื่อแน่ๆละ

หรือถ้าเทียบระหว่าง หนังช้าง กับ เสื่อใบเตย ล่ะ
ผืนหนัง ก็ย่อมใหญ่กว่าแน่ๆเลย

หรือดิฉันฟุ้งซ่านคะเนี่ย ช่วยตอบที
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 พ.ค. 06, 22:55

ขอต่ออีกหน่อย เพื่อประกันความฟุ้งซ่าน

การที่ดิฉันพยายามจะให้ผืนหนัง ใหญ่กว่าผืนเสื่อ
เพื่อให้จำนวนคนรัก มากกว่าคนชังเนี่ย
จะตีความอีกอย่างได้ไหมคะ ว่าเป็นคนมองโลกในแง่ดี
แบบน้ำเต็มครึ่งถ้วย อะไรอย่างนั้นน่ะค่ะ อิอิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 09:02

 สำนวนตัดหางปล่อยวัด  มีที่มาจากการสะเดาะเคราะห์   นิยมเอาไก่ไปปล่อยวัด แล้วเด็ดหางทิ้งเป็นการแก้เคล็ด  ถือว่าหมดเคราะห์แต่เพียงเท่านั้น  
มีหลักฐานอยู่ในประกาศรัชกาลที่ ๔ ค่ะ
ต่อมา เอามาใช้ในความหมายว่า ตัดขาด ไม่เลี้ยง  ไม่เกี่ยวข้องอุปถัมภ์ หมดความสนใจไยดีด้วยอีก

หนูเฟื่องจ๋า
คนรักเท่าผืนหนัง   หมายถึงหนังสัตว์ จะสัตว์อะไรก็ได้ ที่เขาลอกหนังออกมาเป็นชิ้นขนาดย่อมๆ    ส่วนเสื่อทอเป็นผืนใหญ่นั่งกันได้หลายคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 09:04

 สำนวนที่เกี่ยวกับหมู   นำมาฝากคุณหมูน้อยให้เลือกเอาค่ะ  ชอบสำนวนไหน
หมูเขาจะหาม  เอาคานเข้าไปสอด
หมูในอวย
หมูไปไก่มา
หมูสนาม
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 11:31

 คุณเฟื่องนี้ ก็
คิดอะไรไม่ค่อยเหมือนคนอื่นเขาอีกแล้ว!

อย่างนี้ละเขาถึงว่า

"น้ำเชี่ยวอย่าเข็นครกขึ้นภูเขา"

ฮืมฮืม?
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 11:34

 สำนวนของคุณติบอนั้น อ่านความเห็นแล้วก็ได้แต่ยิ้มๆไม่รู้จะต่อ ยอดยังไงดี สำหรับผมคิดว่าคงไม่ใช่สำนวนแต่อาจเป็นคำที่ใช้โดยคนอง หรือเป็นคำล้อเลียนเสียมากกว่า  แท้จริงแล้วเป็นยังไง ไม่ทราบได้

...เรียนอาจารย์ครับ
เมื่อตอนยังเด็กน้อยผมเคยเป็นบรรณารักษ์ของห้องสมุดในโรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด ผมเคยได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตไทย ในตอนนั้นก็ยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายสักเท่าไหร่ อาศัยดูภาพซะเป็นส่วนใหญ่  ที่จำได้ดีในหนังสือเล่มนั้น คือสำนวนตัดหางปล่อยวัด ในภาพประกอบเป็นภาพคนถือพร้ายืนอยู่หน้าอุโบสถ   และมีภาพหมากำลังเลียหางที่กุดของตัวเอง ที่จำได้ดีเพราะว่าผมสงสารหมา  ใต้ภาพเค้าบอกประมาณว่าคนสมัยก่อนถ้าจะนำหมามาปล่อยวัด ก็มักจะตัดหางทิ้งเสียก่อนเพื่อจะได้ไม่มีใครจำได้ ว่าเป็นหมาของใคร เจ้าของเดิมที่นำหมามาปล่อยจะได้ไม่ถูกชาวบ้านตำหนิ การตัดหางหมาจึงเป็นที่มาของสำนวน “ตัดหางปล่อยวัด” อะไรทำนองนี้
ตอนนี้เห็นอาจารย์นำหลักฐานที่น่าสนใจมายืนยัน(ได้ความรู้ใหม่)  ก็เลยแปลกใจ เลยสงสัยว่าเป็นไปได้ไหม ที่บางสำนวนอาจจะมีที่มา จากหลายที่ต่างกัน

สำนวน
หมูเขาจะหามฯ  คือ เข้าไปขัดขวางขณะที่ เขาทำอะไรกำลังจะสำเร็จ อันนี้ก็พอจะทราบที่มาครับ
หมูในอวย ก็คง จะเหมือนหมูที่ถูกขังอยู่ในอวยรออยู่แล้ว ไปไหนไม่รอดแล้ว จะจับเชือด จับขาย หรือทำอะไร ก็ง่ายดาย
หมูไปไก่มา ก็คงมีที่มาอยู่ในลักษณะการแลกของซึ่งกันและกัน เอาหมูแลกไก่
( เดาถูกรึเปล่าก็ไม่ทราบ)
อย่างงั้นผมเลือกอยากทราบความเป็นมาของ  “หมูสนาม” ครับอาจารย์
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 16:42

 อีก 2 สำนวนที่น่าสนใจและมีที่มาจากเรื่องรามเกียรติ์  ซึ่งปัจจุบันมีการนำไปใช้ผิดความหมายจากเดิมไปมาก ก็คือ
1.ศรศิลป์ไม่กินกัน
ศรศิลป์ไม่กินกัน มีที่มาจากรามเกียรติ์ ตอนที่พระรามและพระมงกุฎ พระลบ ต่อสู้กัน เพราะเข้าใจผิดไม่ทราบว่าแต่ละคนเป็นพ่อเป็นลูกกัน พระรามแผลงศรไปเป็นอาหารคาวหวาน ส่วนศรของพระมงกุฎพระลบ กลายเป็นข้าวตอกดอกไม้ ทำอันตรายกันไม่ได้ คำนี้จึงมีความหมายตามเนื้อเรื่องคือ ทำอันตรายกันไม่ได้ ต่อมาความหมายกลายไปจากเดิม ใช้ในความหมายใหม่ว่า ไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน

2. สิบแปดมงกุฎ
สิบแปดมงกุฎ เกิดจากเทวดาจำนวน ๑๘ องค์ ขอแบ่งภาคมาเกิดเป็นทหารลิง ๑๘ นาย เรียกว่า สิบแปดมงกุฎ โดยแยกกันไปเกิดที่เมืองขีดขินบ้าง ที่เมืองชมพูบ้าง
มีดังนี้
๑. เกยูร
๒. โกมุท
๓. ไชยามพวาน
๔. มาลุนทเกสร
๕. วิมล
๖. ไวยบุตร
๗. สัตพลี
๘. สุรกานต์
๙. สุรเสน
๑๐. นิลขัน
๑๑. นิลปานัน
๑๒. นิลปาสัน
๑๓. นิลราช
๑๔. นิลเอก
๑๕. วิสันตราวี
๑๖. มายูร
๑๗. กุมิตัน
๑๘. เกสรทมาลา

โดย: บอกไป [IP: 207.109.8.79]
วันที่ 3 ต.ค. 2543

………..ความหมายของสิบแปดมงกุฎที่กลายไปจากเดิม มีความเป็นมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีนักเลงการพนันชั้นยอด รู้จักกันแพร่หลายพวกหนึ่ง สักรูปมงกุฎที่ตัวค่ะ จนชาวบ้านตั้งสมญาว่า "สิบแปดมงกุฎ"
ต่อจากนั้นใครเป็นนักเลงการพนันที่ขึ้นชื่อ ก็พากันเรียกว่าเป็นพวกสิบแปดมงกุฎ ไม่เกี่ยวอะไรกับทหารพระรามอีกแล้ว
จาก "สำนวนไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา ค่ะ
พอมาถึงปัจจุบัน สิบแปดมงกุฎ เปลี่ยนความหมายไปอีก สื่อมวลชนใช้เรียกหมายถึงพวกอันธพาล ประเภทต้มตุ๋นฉ้อโกง ไม่ใช่การพนันอย่างเดียว
โดย เทาชมพู
วันที่ 6 ต.ค. 2543
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 16:57

 กระทู้ชวนคุย…นี้ใช่ว่าจะเป็นกระทู้แรกที่คุยเกี่ยวกับเรื่อง สำนวน สุภาษิตไทย จะว่าไปแล้วใน เว็บ วิชาการของเรานี้ก็มี กระทู้ที่เกี่ยวกับที่มาของสำนวน สุภาษิตอยู่มากมายหากอ่านย้อนหลังไปหลายๆปี ก็จะเจอ หลายกระทู้ทีเดียว เพียงแต่กระจัดกระจายอยู่คนล่ะทิศล่ะทาง  ถ้าจะนำมารวมๆไว้ให้อ่านให้ศึกษาในที่เดียว ก็คงจะดีไม่น้อย เดี๋ยวหมูฯจะลองรวบรวมมาให้อ่านๆกัน

เจอแล้วอีก 1

สำนวนที่ถูกต้องคือ "หัวมังกุ ท้ายมังกร" ค่ะ ทั้งมังกุและมังกรเป็นชื่อเรือคนละชนิดกัน
โดย: เทาชมพู
วันที่ 23 มี.ค. 2549
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 17:18

 เข้ามาตอบการบ้านคุณหมูน้อยฯ ค่ะ

ตัดหางปล่อยวัด มีหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่าเป็นไก่ ไม่ใช่ หมา
๑) ประกาศในรัชกาลที่ ๔
" เมื่อคนที่มีศรัทธาฤๅคนถือการเสียเคราะห์  เอาไก่ไปปล่อยวัดไม่ขาด"
สมัยโน้นเอาไก่ไปปล่อยวัดเป็นการสะเดาะเคราะห์   คล้ายกับสมัยนี้เราปล่อยปลาไหล  ปล่อยเต่ากัน

๒) ในพระราชนิพนธ์อิเหนา  ตอนปันหยีชนไก่  

สองฝ่ายให้น้ำสรรพเสร็จ..........เสียเคราะห์ทำเคล็ดเด็ดหาง
ดีดมือถือไก่เข้าไปวาง.............ในกลางสังเวียนสนามพลัน

ที่มา "สำนวนไทย" ของหลวงวิจิตรมาตรา( กาญจนาคพันธุ์)

ที่เราคิดว่าเป็นหมา อาจจะเป็นเพราะชินกับหมาวัด มากกว่ามั้งคะ
ส่วนเหตุผลการตัดหางหมาเพื่อไม่ให้จำได้ว่าเป็นหมาใคร    ดิฉันไม่ค่อยเห็นด้วย  
เพราะเวลาดูหมา กี่คนจะเลือกไปจดจำหางมากกว่าจำหน้ามันว่านี่หมาเราหรือหมาใคร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 17:39

 หมูสนาม เป็นสำนวนที่ไม่เก่ามากนัก คงจะไม่กี่สิบปี

คณะสิงห์ดำในสมัยหนึ่ง มีเพลงเชียร์ว่า สิงห์เผ่น สิงห์เผ่นสิงห์ผยอง สิงห์คะนองจะลงสนาม
ถูกคณะคู่ปรับ นำไปแปลงว่า
หมูแผ่น หมูแผ่น หมูหยอง  หมูกระป๋องจะลงสนาม...
คุณนกข.เคยร้องหรือเปล่าไม่ทราบ  หมายถึงเพลงของแท้นะคะ ไม่ใช่เพลงแปลง

ที่ยกมาเพื่อจะอธิบายว่า คำว่าหมู คำเดียวล้วนๆ เป็นสำนวนมานานแล้วว่า ง่าย ง่ายดาย สะดวก ไม่เก่ง  ไม่มีชั้นเชิง ไม่ยากอะไร
คงเป็นเพราะหมูเป็นสัตว์เลี้ยงอยู่ในคอก หนีไปไหนไม่ได้   ต้อนเข้าเล้าหรือต้อนออกมาใส่กระสอบส่งโรงฆ่าก็ไม่ยาก

จึงเอาคำนี้ไปประกอบคำอื่นๆ เช่นเรื่องหมูๆ  แปลว่าเรื่องง่ายๆ
พอประกอบคำว่าสนาม ก็คือไม่เก่งในการแข่งกีฬา
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 17:47

 ระหว่างที่ไปหาคำตอบ กลับมาก็เห็นคำตอบอาจารย์ วางไว้บนหน้าจอเสียแล้ว

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ ถ้า เป็นผม ผมก็จำได้ว่าหมาใคร และถ้าคนสมัยก่อนนิยมตัดหางหมาเหมือนในสมุดภาพที่ผมเคยเห็นนั้น หมามันคงน่าสงสารแย่

...........ตัดหางหมาหรือหางไก่เนี่ย ตามคำตอบสุดท้ายของคุณไตรภพแห่งเกมเศรษฐี เค้ายืนยันว่าหางไก่นะคะ ไม่ได้บอกด้วยว่าอ้างอิงจากไหนค่ะ

โดย: อ้อยขวั้น [IP: 203.144.223.74]
วันที่ 7 มิ.ย. 2544


แล้ว "หมูสนาม" ของผมล่ะครับ


.
บันทึกการเข้า
หมูน้อยในกะลา
พาลี
****
ตอบ: 392

อะแฮ่ม!!


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 10 พ.ค. 06, 17:55

 ฮืม?
ไอ้หย่า....โพส ช้ากว่าอาจารย์ คำถามเลยมาก่อนคำตอบเลย..??
หมูสนาม มีที่มาแปลกกว่าที่คิดเสียอีก ??
แม้ว่าจะเข้าใจความหมายแต่ก็ไม่เคยได้รู้ที่มา (เดี๋ยวผมรีบต้องไปต่อ ยอดเอาเองเกี่ยวกับคณะสิงห์ดำเสียแล้ว)
ขอบพระคุณอาจารย์ครับ.
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง