เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 27 พ.ค. 06, 14:20
|
|
ในหนังสือของเวลล่า เล่าความต่อไปว่า
" หลังจากที่ได้ทรงปรึกษาหารือกับบรรดาเสนาบดีของพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้กรมหลวงรักษ์รณเรศเข้าเฝ้าเฉพาะพระพักตร์เป็นครั้งสุดท้าย ได้ทรงสรุปความผิดทั้งมวล แล้วตรัสด้วยความขมขื่นว่า
"ฉันได้คำนึงถึงความทะยานอันชั่วช้าของเธอที่อยากจะเป็นรัชทายาท และอยากจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง อย่าว่าแต่มนุษย์เลยที่จะให้เธอได้เป็น แม้แต่สัตว์เดรัจฉานที่ไม่มีปากมีเสียง มันก็ไม่ต้องการให้เธอเป็นกษัตริย์ของมัน"
ดังนั้นกรมหลวงรักษ์รณเรศถึงถูกตัดสินประหาร ด้วยวิธีที่เจ้านายได้รับกันคือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
คุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ เล่าเป็นเกร็ดในเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ "เลาะวัง"เล่ม 1 ว่า
"ผู้ใหญ่เล่าให้ฟังว่า กรมหลวงรักษ์รณเรศท่านดุ เล่ากันต่อๆมาว่าเมื่อเอาพระองค์เข้าถุงแดง เตรียมประหารแล้ว ชะรอยเพชฌฆาตจะมือไม้สั่น เพราะต้องประหารเจ้านายที่เคยบังคับบัญชากำกับตนมา จึงทุบท่อนจันทน์พลาด ไม่สิ้นพระชนม์ในทันที ว่ากันว่าทรงตวาดออกมาจากถุงแดงว่า " ไอ้พวกนี้ กูสอนแล้วไม่จำ"
กรมหลวงรักษ์รณเรศสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ พระชนม์ได้ ๕๘ ปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 28 พ.ค. 06, 09:20
|
|
พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๑ ที่ได้ทรงกรมในรัชกาลที่ ๒ มีแค่ ๘ พระองค์
กรมหลวงรักษ์รณเรศเป็นพระองค์สุดท้าย พระอนุชาที่ลำดับต่อๆไป ล้วนกว่าจะได้ทรงกรม ก็ล่วงเลยมาถึงในรัชกาลที่ ๓
ส่วนพระโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ไม่มีองค์ไหนทรงกรมในรัชกาลที่ ๒ นับจำนวนพระโอรสที่ได้ทรงกรมมีน้อยมาก แค่ ๒ องค์เท่านั้นเองคือพระองค์เจ้าชายอสุนี กรมหมื่นเสนีเทพ ทรงกรมในรัชกาลที่ ๑ ส่วนอีกองค์คือพระองค์เจ้าชายสังกะทัต กรมหมื่นนรานุชิต ข้ามไปถึงรัชกาลที่ ๓ ถึงได้ทรงกรม
ส่วนองค์อื่นๆแม้ว่ามีพระชนม์ยืนยาวมาถึงรัชกาลที่ ๔ อยู่หลายองค์ ก็ไม่ได้ทรงกรมแต่อย่างใด ดำรงฐานันดรเป็นพระองค์เจ้าเฉยๆจนสิ้นพระชนม์ ****************************** ส่วนเจ้านายวังหน้าในรัชกาลที่ ๒ ที่ทรงกรม หมายถึงว่าเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ มีองค์เดียว คือ พระองค์เจ้าชายประยงค์ กรมขุนธิเบศวร์บวร เป็นกรมหมื่นในรัชกาลที่ ๒ และเป็นกรมขุนในรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นราชสกุล บรรยงกะเสนา ส่วนองค์อื่นๆกว่าจะได้ทรงกรม ก็นานถึงในรัชกาลที่ ๔ โน่นแน่ะค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 30 พ.ค. 06, 09:02
|
|
เจ้านายทรงกรมในรัชกาลที่ ๓
๑) พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมื่นอับสรสุดาเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ กล่าวกันว่าทรงพระสิริโฉมงดงามมาก สมดังพระนาม เป็นพระเจ้าลูกเธอที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงโปรดปรานอย่างมาก ถึงกับทรงยกย่องว่าเป็น "นางแก้ว" ของแผ่นดิน วัดเทพธิดาราม ใกล้ๆ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ก็คือวัดสร้างพระราชทานเจ้านายพระองค์นี้
สุนทรภู่เคยบวชที่วัดนี้ เคยเป็นครูถวายพระอักษรด้วย
ด้วยนิสัยฝันเฟื่องของกวี ชอบใช้จินตนาการ นำหน้าความเป็นจริง จนหักห้ามใจไม่ได้ สุนทรภู่จึงแต่ง "รำพันพิลาป"ขึ้นเพื่อรำพึงรำพันถึงความรักที่มีต่อ "โฉมเทพธิดามิ่งมารศรี" แล้วซุกซ่อนไว้ไม่ได้เผยแพร่ มาค้นพบกันในภายหลัง ใน"รำพันพิลาป" สุนทรภู่สร้างเรื่องขึ้นว่า นอนหลับฝันไป เห็นเทพธิดาแวดล้อมด้วยนางบริวาร มาปรากฏกายให้เห็น นางเทพธิดานั้นแต่งองค์ทรงเครื่องแบบพระราชบุตรี (ก็หมายถึงใครเสียอีกล่ะคะ) ลักษณะการมาให้เห็นก็เหมือนเจ้านายสตรีแวดล้อมด้วยนางในจำนวนมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 30 พ.ค. 06, 09:05
|
|
พอเสียงแซ่แลหาเห็นนารี.............. ล้วนสอดสีสาวน้อยนับร้อยพัน ล้วนใส่ช้องป้องพักตร์ดูลักขณะ....... เหมือนนางสะสวยสมล้วนคมสัน ที่เอกองค์ทรงศรีฉวีวรรณ................ ดั่งดวงจันทร์แจ่มฟ้าไม่ราคี ทั้งคมขำล้ำนางสำอางสะอาด.......... โอษฐ์เหมือนชาดจิ้มเจิมเฉลิมศรี ใส่เครื่องทรงมงกุฎดังบุตรี............... แก้วมณีเนาวรัตน์จำรัสเรือง รูปจริตพิศไหนวิไลเลิศ.................... เหมือนหุ่นเชิดโฉมแช่มแฉล้มเหลือง พอแลสบหลบชะม้ายชายชำเลือง..... ดูปลดเปลื้องเปล่งปลั่งกำลังโลม ลำพระกรอ่อนชดประณตน้อม......... แลละม่อมเหมือนหนึ่งเขียนวิเชียรโฉม หรือชาวสวรรค์ชั้นฟ้านภาโพยม....... มาประโลมโลกาให้อาวรณ์
สุนทรภู่ท่านมีโรคประจำตัวเหมือนพระเอกวรรณคดีไทยหลายต่อหลายคน คือเป็นโรคหัวใจปุยนุ่น เห็นหญิงสาวสวยเป็นไม่ได้ ใจมันพลอยแต่จะปลิวตาม นี่ขนาดอยู่ในเพศบรรพชิต ทำวัตรเช้าวัตรเย็น โรคนี้ก็ยังไม่ทุเลา เห็นชาวสวรรค์ แทนที่จะโสมนัสว่าตัวเองมีบุญ เทวดานางฟ้ามาเข้าฝัน แสดงว่าถ้าใกล้ตายก็จะไปสู่สุคติ ควรจะเร่งทำบุญรักษาศีล ท่านกลับนึกเกี้ยวนางฟ้าเสียนี่ ๏ ซึ่งสั่งให้ไปสวรรค์หรือชันษา............. จะมรณาในปีนี้เป็นปีขาล แม้นเหมือนปากอยากใคร่ตายหมายวิมาน............. ขอพบพานภัคินีของพี่ยา ยังนึกเห็นเช่นโฉมประโลมโลก.............. ยิ่งเศร้าโศกแสนสวาทปรารถนา ได้แนบชมสมคะเนสักเวลา..................... ถึงชีวาม้วยไม่อาลัยเลย อยู่หลัดหลัดพลัดพรากไปฟากฟ้า.......... ให้ดิ้นโดยโหยหานิจจาเอ๋ย ถึงชาตินี้พี่มิได้บุญไม่เคย....................... ขอชื่นเชยชาติหน้าด้วยอาวรณ์ แม้นรู้เหาะก็จะได้ตามไปด้วย............... สู้มอดม้วยมิได้ทิ้งมิ่งสมร เสมอเนตรเชษฐาเวลานอน..................... จะกล่าวกลอนกล่อมประทับไว้กับทรวง สายสุดใจไม่หลับจะรับขวัญ................... ร้องโอดพันพัดชาช้าลูกหลวง ประโลมแก้วแววตาสุดาดวง................. ให้อุ่นทรวงไสยาสน์ไม่คลาดคลาย ยามกลางวันบรรทมจะชมโฉม................ ขับประโลมข้างที่พัดวีถวาย แม้นไม่ยิ้มหงิมเหงาจะเล่านิยาย............ เรื่องกระต่ายตื่นตูมเหลือมูมมาม ไม่รู้เหาะก็มิได้ขึ้นไปเห็น........................ แม้นเหมือนเช่นชาวสุธาภาษาสยาม ถ้ารับรักจักอุตส่าห์พยายาม.................... ไปตามความคิดคงได้ปลงทองฯ ดิฉันเชื่อว่าท่านไม่ได้หลับฝันไปจริงๆหรอก ผูกเรื่องฝันทั้งตื่น ลับคารมกวีโดยมีกรมหมื่นอับสรสุดาเทพเป็นนางแบบเสียมากกว่า แต่งเรื่องนี้ ท่านต้องซุกซ่อนไว้บนเพดานกุฏิ เพราะความแพร่ออกไปนอกจากต้องอาบัติแล้ว อาจหัวขาดอีกต่างหาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 30 พ.ค. 06, 09:15
|
|
ในฝันนั้นสุนทรภู่ถามชื่อเทพธิดา แต่นางเมินสะเทิ้นอาย ไม่ยอมบอก จนนางเมขลามาบอกชื่อให้ ว่านางฟ้าคนสวยชื่อ "โฉมเทพธิดามิ่งมารศรี"
เห็นโฉมยงองค์เอกเมขลา............ ชูจินดาดวงสว่างมากลางสวรรค์ รัศมีสีเปล่งดังเพ็งจันทร์............... พระรำพันกรุณาด้วยปรานี ว่านวลหงส์องค์นี้อยู่ชั้นฟ้า.......... ชื่อโฉมเทพธิดามิ่งมารศรี วิมานเรียงเคียงกันทุกวันนี้.......... เหมือนหนึ่งพี่น้องสนิทร่วมจิตใจ จะให้แก้วแล้วก็ว่าไปหาเถิด.......... มิให้เกิดการระแวงแหนงไฉน ที่ขัดข้องหมองหมางเป็นอย่างไร... จะผันแปรแก้ไขด้วยใกล้เคียงฯ
อ่านมาถึงตอนนี้แล้วก็มีนัยยะเหมือนกับว่า มีแม่สื่อโผล่เข้ามาอีกรายหนึ่ง คือนางฟ้าชื่อเมขลา บทบาทคล้ายๆว่าเป็นเจ้านายสตรีหรืออย่างน้อยก็เจ้าจอมหม่อมห้าม หรืออย่างต่ำสุดก็นางข้าหลวงสำคัญอีกสักคนที่รู้เห็นเป็นใจ เปิดหนทางให้ แต่มีจริงหรือสุนทรภู่คิดฝันไปเองทั้งหมดก็ไม่ทราบ ถ้าถามความเห็นดิฉันเห็นว่าน่าจะวาดวิมานในอากาศไปเอง แต่ครูบาอาจารย์บางท่านเชื่อกันจริงจังถึงกับเห็นว่า "ลอบรักกัน" ถามหาข้อมูลก็ไม่มีอย่างอื่นนอกไปจากในรำพันพิลาป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 12:49
|
|
พระนามของกรมหมื่นอับสรสุดาเทพปรากฎในวรรณคดี เรื่อง"คุณโม่ง" แต่งโดยคุณสุวรรณ กวีหญิงแห่งราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ ๓
คุณสุวรรณเป็นกุลสตรีลูกผู้ดีไทย บิดาคือพระยาอุไทยธรรม เป็นเชื้อสายราชินิกุล ณ บางช้าง เธอก็เลยมีโอกาสถวายตัวเป็นนางข้าหลวงในกรมหมื่นอับสรสุดาเทพ เขาว่ากันว่าคุณสุวรรณเพี้ยนๆ วัดจากผลงานเรื่อง พระมะเหลเถไถ และ อุณรุทร้อยเรื่อง
เพี้ยนหรือไม่เพี้ยน คุณสุวรรณก็บันทึกเรื่องเลสเบี้ยนออกมาได้เห็นภาพชัดเจน ถึง ๒ เรื่อง คือ "หม่อมเป็ดสวรรค์" และ "คุณโม่ง" พูดถึงพฤติกรรมรักร่วมเพศของสาวชาววัง ชื่อ หม่อมขำ และหม่อมสุด
หม่อมสุดเป็นหม่อมในวังหน้ารัชกาลที่ ๓ คือกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ทรงดำรงตำแหน่งได้ ๗ ปีก็สิ้นพระชนม์ ตามธรรมเนียม เมื่อไม่มีวังหน้าแล้ว ขุนนางวังหน้าก็ย้ายมาสังกัดวังหลวง บรรดาหม่อมห้ามนางในทั้งหลายก็มาอยู่กับเจ้านายฝ่ายในของวังหลวง แล้วแต่จะหาทางฝากตัวกันได้
หม่อมสุดได้มาเป็นนางข้าหลวงในกรมหมื่นอับสรสุดาเทพ ลงล็อคกลายเป็นดี้ของทอมชื่อหม่อมขำ ข้าหลวงของตำหนักนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 12:59
|
|
เจ้านายสตรีมักไม่บรรทมองค์เดียว แต่มีนางข้าหลวงอยู่เวรเฝ้าพระบรรทมอยู่ด้วย บางทีก็มีพระพี่เลี้ยง ก่อนกรมหมื่นอับปรสุดาเทพเข้าบรรทม หม่อมขำอยู่เวรเฝ้า หม่อมสุดอ่านหนังสือถวาย เข้าใจว่าเจ้านายบรรทมหลับแล้ว ทั้งสองก็เลยดับเทียน คลุมโปงเล่นจ้ำจี้ บัดสีบัดเถลิงกันอยู่ปลายแท่นบรรทม
ครั้นพระองค์ทรงพลิกพระกายกลับ หมายว่าพระบรรทมหลับสนิทนิ่ง ก็สมจิตคิดไว้ใจประวิง ก็คลานชิงกันขยับดับเทียนชัย
เข้าชุลมุนวุ่นวายอยู่ปลายพระบาท อุตลุดอุดจาดทำอาจโถง เอาเพลาะหอมกรอมหุ้มกันคลุมโปง จึงตรัสเรียกคุณโม่งแต่นั้นมา
กรมหมื่นอับสรสุดาเทพยังไม่บรรทมหลับ ได้ยินเสียงนางข้าหลวงสองคนก็เลยทรงกระแอมให้รู้ เพื่อให้หยุดกิจกรรมกัน หลังจากนั้นก็ทรงตั้งฉายาให้หม่อมสุดว่า "คุณโม่ง" เพราะเอาผ้าห่มคลุมโปงนี่เอง
เรื่องนี้รู้กันเกรียวกราวทั่วตำหนัก กลายเป็นเรื่องให้คุณสุวรรณเอามาเขียนแซว ได้อ่านกันมาหนึ่งร้อยกว่าปีให้หลัง เป็นตำนานเลสเบี้ยนไทยของแท้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 05 มิ.ย. 06, 13:12
|
|
ขอเลี้ยวแยกซอยออกไปหน่อยเมื่อมาพูดถึงเรื่องรักร่วมเพศ
รักร่วมเพศระหว่างชาย มีบันทึกไว้น้อยมาก ในประวัติศาสตร์มีกรณีของกรมหลวงรักษ์รณเรศที่เด่นชัดที่สุด ในวรรณคดีไทยเท่าที่นึกในตอนนี้ยังไม่เห็นพระเอกพระรองคนไหนมีรสนิยมแบบนี้ เห็นแต่เจ้าชู้กันเป็นไฟ
แต่หญิงรักหญิงหรือ "การเล่นเพื่อน" กลับมีเอ่ยเอาไว้หลายแห่ง แทบจะเรียกได้ว่า "การเล่นเพื่อน" เป็นของปกติของสาวชาววัง ในเรื่องนางนพมาศ หรือตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็มีเรื่องของนางนกไส้และนกอะไรอีกตัว ดูเหมือนนกกระเต็น ผูกสมัครรักใคร่กันแบบเลสเบี้ยน ในเรื่องบอกไว้ว่าไม่เป็นที่พึงประสงค์ กวีผู้แต่งยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อสอนใจผู้หญิง ไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง
เลสเบี้ยนเป็นที่แพร่หลายแค่ไหน คงพอเดาได้ สมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงวิตกเรื่องนี้ถึงกับมีพระบรมราโชวาทพระราชทานบรรดาพระราชธิดาว่า " มีผัวมีเถิด แต่ได้อย่าเล่นเพื่อนกับใครเลย" หมายความว่ามิได้ทรงรังเกียจที่พระราชธิดาจะมีพระสวามี แต่อย่ามีเกิร์ลเฟรนด์ก็แล้วกัน
ในขุนช้างขุนแผนก็มีกล่าวเอาไว้เหมือนกันค่ะ
เลสเบี้ยนแพร่หลายมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ จนคำว่า "เพื่อน"ในหมู่สาวชาววังกลายเป็นคำต้องห้าม ใครเผลอพูดว่าเป็นเพื่อนกับใครไม่ได้เป็นอันขาด เพราะเพื่อนในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเพื่อน แต่แปลว่าแฟนผู้หญิงของผู้หญิง แม่พลอยกับช้อย จึงเป็นได้แค่ "คนรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่เด็กๆ" ไม่ใช่เพื่อนนะจ๊ะ ขอให้รู้ไว้ แม่พลอยเองความที่เป็นคนสวย ถูกทอมในวังมาชวนไปเป็นดี้หลายหนแล้ว ต้องคอยวิ่งหนีไม่ยอมสุงสิงด้วย
โทษของเลสเบี้ยนไม่ถึงกับถูกประหาร เฆี่ยนหรือคุมขัง แต่ว่าถูกสักหน้า เป็นจุดเล็กๆ ๓ จุด เป็นเครื่องหมายว่าห้ามเข้าวังอีกต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tiwa
อสุรผัด

ตอบ: 16
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 10:12
|
|
ค.ห. ที่ 29 มีข้อมูลต่างกันหน่อยครับ กรมหมื่นเทพพลภักดิ์ จากฐานข้อมูลของกระผม เป็นเจ้านายในรัชกาลที่ ๑ ที่ได้ทรงกรมในสมัยพระบรมราชชนก ซึ่งมีอยู่ 2 พระองค์ เท่านั้น พระนามจึงคล้องจองกัน คือ กรมหมื่นศักดิพลเสพ-กรมหมื่นเทพพลภักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2350 ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tiwa
อสุรผัด

ตอบ: 16
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 10:14
|
|
ค.ห. 47
เพิ่มเติมเจ้านายใน ร. 1 ที่ทรงกรมใน ร. 2 อีกพระองค์หนึ่งครับ คือ พระองค์เจ้าฉิม กรมหมื่นนรินทรเทพ โอรสของกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์และพระเจ้าน้องนางเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (ใน ร.1)
ขอบพระคุณครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 07 มิ.ย. 06, 10:24
|
|
ขอบคุณค่ะคุณ Tiwa เช็คแล้วเป็นอย่างที่ว่า ดิฉันอ่านข้อมูลพลาดไปเอง
อยากจะเชิญคุณ Tiwa มาช่วยรวบรวมพระนามเจ้านายทรงกรม เข้าใจว่าคุณคงมีหนังสือเฉลิมพระยศเจ้านาย ดิฉันไม่มี ต้องลำดับเอาเองจากราชสกุลวงศ์ คงจะได้ประโยชน์เป็นล่ำเป็นสันมากกว่าปล่อยให้ดิฉันรวบรวมเองไปเรื่อยๆ แล้วคุณคอยเช็คว่าผิดตรงไหน พอเจอก็โผล่เข้ามาบอก คนเดียวทำ อาจจะหลงหูหลงตาไปได้ง่าย
ขอเชิญให้คุณรวบรวมพระนามเจ้านายทรงกรมในรัชกาลที่ ๔ ไหวไหมคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 08 มิ.ย. 06, 08:32
|
|
ต่อจากค.ห. ๔๘
๒) พระองค์เจ้าชายศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์ได้ ๒๘ ปีเท่านั้นเอง ทรงมีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่าหม่อมเจ้าหญิงรำเพย ต่อมาคือสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นต้นราชสกุล ศิริวงศ์
๓) พระองค์เจ้าชายคเนจร กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ ทรงกำกับกรมช่างมุก ทรงเป็นต้นราชสกุล คเนจร
นับพระราชโอรสและธิดาในรัชกาลที่ ๓ ได้ ๓ พระองค์เท่านั้นที่ทรงกรมในรัชกาลที่ ๓ พระองค์อื่นๆมาทรงกรมในรัชกาลที่ ๔
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Tiwa
อสุรผัด

ตอบ: 16
ทำงาน
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 09 มิ.ย. 06, 09:11
|
|
ตอบ คห 56
รับบัญชาท่านอาจารย์ขอรับ กระผมไม่มีหนังสือเฉลิมพระยศเจ้านายใกล้ตัวหรอกครับ อาศัยฐานข้อมูลที่สะสมมาเรื่อย และเปรียบเทียบกับพระราชพงศาวดาร ซึ่งได้บันทึกการเฉลิมพระยศเจ้านายในรัชกาลทุกครั้งไป
หยุดยาวครั้งนี้ ผมจะไปกางเต็นท์ปลีกวิเวกบนยอดเขา ถ้าแบกโน้ตบุคตัวใหม่ขึ้นไปไหว ผมอาจจะ ส่งการบ้านทางเน็ต ทดสอบระบบ GPRS กลางป่ามาให้อาจารย์ตรวจสอบรอบแรกได้ครับ
เอ่อ มีคำถามครับ.... เจ้านายทรงกรม รวมถึงเจ้านายได้เลื่อนกรมด้วยหรือเปล่าครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
tuka007
พาลี
   
ตอบ: 291
คนจับจอบจับเสียม
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 21 มิ.ย. 06, 19:46
|
|
รออ่านค่ะ รออ่านท่านอาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
จงยิ้มให้โลก...แล้วโลกจะยิ้มให้เรา
|
|
|
|