เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 21672 เจ้านายทรงกรม
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 11:30

 บทที่คุณครูเทาฯ ยกมาข้างบนโน้น ร. 6 ก็ทรงล้อไว้อีก

น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า
ลิงเห็นเนตรทรายวาม ว่าลูก หว้าแฮ
คนอ่านสือพิมพ์บ้า เชื่อแม้นด่าครูฯ

สรุปความ ทั้งของจริงและของจำแลง คือว่า สายน้ำคดเคี้ยว นกยูง (ตาถั่ว) ก็ (หลง) นึกว่าเป็นงู บินตามไปจะกิน เนื้อทราย (ตาถั่วเหมือนกัน) หลงนึกว่าหางนุกยูงสีเขียวๆ เป็นหญ้า ฝ่ายลิงผ่านมาอีกตัว ตาถั่วไม่มีวิสัยทัศน์เช่นกัน เห็นเนตรเนื้อทรายหรือตาทรายอันวาววาม ก็หลงนึกว่าเป็นลูกหว้าซะอีก เรื่องของความหลง คนหลงนำคนหลงนำคนหลง เลอะกันไปหมด

ในสมัย ร. 6 เป็นยุคที่ นสพ. มีเสรีภาพสูงมากถ้าคิดถึงว่าขณะนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และ นสพ. ก็เขียนบทความวิจารณ์รัฐบาลแรงๆ หลายบทเหมือนกัน แต่ไม่ยักถูกเซนเซอร์ เพียงแต่ถูกค่อนว่าและวิจารณ์โต้ตอบโดยองค์ประมุขรัฐบาล คือ ร. 6 เท่านั้น (แต่ทรงใช้นามแฝงในการพระราชนิพนธ์บทความโต้ตอบ เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ เป็นต้น)

ในสมัยปัจจุบันไม่กี่เดือนมานี้ ไม่ทราบว่าความเลอะเทอะหลงเลอะไปหมดเป็นทอดๆ เพราะอะไรไม่รู้บังตาอยู่นั้น จะใช้กับการบรรยายสภาพเมืองไทยได้หรือไม่ - อุ๊บส์ - วิชาการดอทคอมไม่มีพูดการเมืองครับ เซนเซอร์ตัวเองครับ
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 11:33

 ค.ห. ๑๘ ข้อมูลเพิ่มเติม กรมหมื่นเสพสุนทร (พระองค์เจ้ากุสุมา)

บรรดาพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๓ พระชนม์ไล่เลี่ยกันนั้น คือ
           
๑. กรมหมื่นสุนทรธิบดี (พระองค์เจ้ากล้วยไม้) ต้นราชสกุล ‘กล้วยไม้ ณ อยุธยา’ ประสูติ พ.ศ.๒๓๓๔
เป็นเจ้าของวังเดิม (วังบ้านหม้อปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ตรงข้ามวังท้ายหับเผยวังที่ ๑ (สิ้นพระชนม์พ.ศ ๒๓๗๕)

ในปีนั้นเองเกิดเพลิงไหม้ที่วังกรมหมื่นสุนทรธิบดี ท่านสิ้นพระชนม์ในกองเพลิง
พร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง ที่วังจึงว่างอยู่ฯ (กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ จึงขอ
พระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างวังขึ้นใหม่ และทรงย้ายมาประทับ ณ วังบ้านหม้อนี้
จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อพระชันษา ๖๕)

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าประทาน ม.จ.หญิงจงจิตรถนอม พระธิดา ไว้ว่า
       "...ปรากฏแต่ว่า เมื่อรัชกาลที่ ๓ กรมหมื่นสุนทรธิบดี ต้นราชสกุลกล้วยไม้ เป็นพระเจ้าลูกเธอ
ในรัชกาลที่ ๒ กับ พระธรรมทานาจารย์ วัดสระเกศ ชื่อตัวว่ากระไร พ่อไม่รู้ ช่วยกันสร้างวัดแค
[เป็นวัดเก่า ตั้งอยู่ที่ทุ่งสนามกระบือ] และเรียกว่า วัดแคมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ จึงพระราชทานนามว่า
วัดสุนทรธรรมทาน ด้วยเอาพระนามกรมหมื่นสุนทรธิบดี และ นามพระธรรม ทานาจารย์ ผสมกัน..."


๒. กรมหมื่นเสพสุนทร (พระองค์เจ้ากุสุมา) ต้นราชสกุล ‘กุสุมา ณ อยุธยา’
ประสูติ พ.ศ.๒๓๓๕ (สิ้นพระชนม์เสียแต่ในต้น ร. ๓) ในปีพ.ศ ๒๓๗๗ ร.๓ โปรดเกล้าฯ
ให้พระองค์ พร้อมด้วยกรมขุนเดชาดิศร และกรมหมื่นณรงคหริรักษ์ (ในรัชกาลที่ ๑)
เป็นแม่กองไปควบคุมการก่อสร้างป้อมที่สมุทรปราการ ที่ตำบลบางปลากด

         ๓. สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (พระองค์เจ้ามั่ง) ต้นราชสกุล ‘เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา’
ประสูติ พ.ศ. ๒๓๓๖

         ๔. กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (พระองค์เจ้าพนมวัน)  ต้นราชสกุล ‘พนมวัน ณ อยุธยา’
ประสูติ พ.ศ. ๒๓๓๗

ในปี ๒๓๖๙ เกิดศึกเจ้าอนุวงศ์ ร.๓ โปรดเกล้าฯให้กรมขุนพิพิธฯ เป็นเป็นแม่ทัพบัญชาการกองทัพ
ตั้งทัพสกัดตามชายทุ่ง ตั้งแต่ สามเสน ถึงทุ่งวัวลำพอง (หัวลำโพง) จรดชายทุ่งบางกะปิและ น. เจ้าพระยา



เจ้าพี่เจ้าน้องร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันกับกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (เจ้าจอมมารดาศิลา ใน ร. ๒
- เชื้อสายราชินิกุลบางช้าง) รวม ๕ พระองค์


๑. พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในปีที่เกิดศึกอนุวงศ์ ขณะนั้นพระชันษา ๓๕
๒. พระองค์เจ้าชายพนมวัน พระชันษา ๓๒

๓. พระองค์เจ้าชายกุญชร พระชันษา ๒๘ ขณะนั้นเป็นกรมหมื่นพิทักษ์เทเวศร์
(เลื่อนเป็นกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ในรัชกาลที่ ๔) ต้นราชสกุล ‘กุญชร ณ อยุธยา’

๔. พระองค์เจ้าชายทินกร พระชันษา ๒๕ (เป็นกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ในรัชกาลที่ ๔)
ต้นราชสกุล ‘ทินกร ณ อยุธยา’ เป็นชายหนุ่มสูงศักดิ์ที่มาชุมนุมเล่นสักวาที่แพคุณพุ่มด้วยกันกับเจ้าฟ้าน้อย
และพระองค์เจ้านวม (กรมหลวงวงศาฯ)

๕. พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล พระชันษา ๒๒
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 15:29


.
ฝากคุณ V_MEE และคุณนิล ค่ะ (บางส่วน)
บันทึกการเข้า
Nuchana
สุครีพ
******
ตอบ: 979


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 15:31


.
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 12 พ.ค. 06, 20:21

 ค.ห. 20
เรียน คุณนิลกังขาที่เคารพ

ขอบพระคุณที่ช่วยอธิบายค่ะ

นายดิฉันไม่ได้เป็นนักบัญชี แต่เป็นวิศวกรเคมีค่ะ ท่านเป็นสตรีที่มีบารมีมาก
นายกรัฐมนตรี 3 คนหลังสุดของประเทศไทยต้องยกมือไหว้ท่านก่อน ท่านเรียน
ภาษาไทยน้อย ภาษาไทยท่านเก่าๆ โบราณและฟังยากมาก อาศัยว่าภาษาทางการ
ของที่ทำงานเราต้องใช้ 2 ภาษา ท่านเลยไม่อนาทร ยามดิฉันพูดกับนาย บางครั้งก็
สื่อสารกันไม่รู้เรื่อง  หากท่านเรียกเข้าไปสั่งงานเดี่ยวต่อเดี่ยว หัวใจจะตุ๊มๆต่อมๆ
อาจร่วงไปกองกับพื้น ต้องกำชับหน้าห้องให้ช่วยดิฉันฟังอีกแรง ขาดตกจะได้ช่วยกัน
ปะติดปะต่อให้ครบ ถ้าทำผิดคำสั่ง ท่านจะโกรธมาก

คืนหนึ่งท่านสั่งให้คนรถมาบอกดิฉันว่าให้เขียนอารัมภกาของรายงานบนโต๊ะท่านด่วน
ใช้พรุ่งนี้ ที่ทำงานไม่มีพจนานุกรมไทย คนอื่นกลับบ้านไปหมด ดิฉันไม่รู้จักคำๆนี้
หันไปถามคนขับรถว่ารู้จักไหม เขาตอบว่ารู้จักแต่อารัมภบทลิเกน่ะ เหมือนกันไหม
คืนนั้นเป็นอันว่าไม่ได้ทำให้ท่าน รุ่งขึ้นท่านเข้ามาเช้า ดิฉันก็เข้ามาเช้าเพื่อจะมาทำงาน
ชิ้นนี้ พอรู้ว่ายังไม่ทำ ท่านส่ายหน้าแล้วพูดว่า “คนขับรถยังรู้มากกว่าซะอีก”

นอกออฟฟิซนายดิฉันก็มีบารมีแม้ไม่มีตำแหน่งทางการ ปลัดกระทรวงหรืออธิบดี
พูดกับท่านมักประสานมือ น้อมตัวลงน้อยๆ ในออฟฟิซซึ่งมีพนักงาน 20 คน ท่านยิ่งใหญ่
เกินบรรยาย เราไม่ต้องคลานเข่าในที่ทำงานก็บุญโขแล้ว ท่านดุมากๆๆๆ ท่านชี้นก เราก็ว่า
นก ท่านบอกกระทบ ก็ต้องเป็นกระทบ

วันหนึ่งท่านพูดว่าดึกแล้ว กลับบ้านๆๆๆๆ ทำอะไรกันอยู่ ดิฉันตอบว่า “อ้าวก็ท่านสั่งให้
แบ่งแยกตัวเลขนี้ ตกลงจะให้แบ่งต่อไหมคะ หนูทำมาให้ 3 คืนแล้ว บอกท่านว่าสมการ
นี้มี 2 ตัวแปร แบ่งต่อไม่ได้เพราะเรามีสมาการเดียว ท่านก็จะให้แบ่ง ทีนี้อีกาบินผ่าน
หนูละเสียวสันหลังวาบ เพราะระดับความเชื่อมั่นต่ำลงทุกที  อิลลอจิคอล

เท่านั้นแหละ ท่านระเบิดเสียงดังปานฟ้าผ่า  “อีเด็กปากกล้า อีเด็กเมื่อวานซืน มาว่าฉันเป็นควาย”

ดิฉันตกใจ ละล่ำละลักออกไป ”พระเจ้าเป็นพยาน หนูยังไม่ได้พูดควาย หนูว่างานนี้
มันอิลลอจิคอล ไม่ได้ว่าท่านอิลลอจิคอล


นายฉุนเฉียวมาก ”ก็ฉันสั่งให้เธอทำงานนี้  ถ้าเธอว่างาน ก็เหมือนว่าฉัน”

เหงื่อแตก ตอบท่านว่า “I’m sorry; I don’t mean to.  But I think how nice I am.
I tried to please the boss; knowing that it’s not achievable, I go ahead anyway.
Look, I try to break down the unbreakable for you.”

ท่านลดเสียงลง “If you see illogicality, you’ve got to speak up. Don’t you
know to overcome stupidity is just stupid. I’m sorry. I really am.”

แล้วทีนี้ ดิฉันควรไปเรียนถามท่านว่าทำไมจึงใช้คำว่า..กระทบ...ไหมคะ เกรงว่าเหมือนนำกระพรวน
ไปผูกคอแมวน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 09:56

 ต่อจาก #29

๕) กรมหมื่นรามอิศเรศ พระองค์เจ้าชายสุริยา  ทรงช่วยว่าความรับสั่งและฎีกาบ้าง ในรัชกาลที่ ๒
ถึงรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นกรมขุน  และเป็นกรมพระ ในรัชกาลที่ ๔
ต้นราชสกุล สุริยกุล

๖) กรมหมื่นนุชิตชิโนรส  พระองค์เจ้าชายวาสุกรี  ผนวชเป็นสามเณรตั้งแต่รัชกาลที่ ๑   เป็นพระภิกษุในรัชกาลที่ ๒ และเลื่อนเป็นพระราชาคณะ และได้ทรงกรม
รัชกาลที่ ๓ ทรงเลื่อนเป็นเจ้าคณะกลาง  เป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔   ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตนิโนรส

เจ้านายพระองค์นี้ทรงเป็นกวีเอกผู้หนึ่งแห่งรัตนโกสินทร์   พระนิพนธ์ อย่างลิลิตตะเลงพ่าย เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับผู้เรียนวรรณคดี
เช่นเดียวกับพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก และร่ายยาวมหาชาติ
พระนิพนธ์อื่นๆคือ พระราชพงศาวดารฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตราพระกฐินสถลมารค และชลมารค

ในทางพระพุทธศิลป์ ทรงออกแบบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ เป็นจำนวน 37 ปาง เริ่มตั้งแต่ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา จนถึงปางห้ามมาร

ในปี พ.ศ. 2533 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2533

ขอยกตัวอย่างบทพระนิพนธ์  พรรณนาด้วยคำกวี งดงามดุจแก้วเก้าประการร้อยเรียงเข้าด้วยกัน
เป็นคำบรรยายกำไลข้อมือรูปพญานาคฝังนพรัตน์ ที่พระมหากษัตริย์ทรงสวมใส่

นาคีภุชแผ่เกล้า.................เกลือกเศียร
คลี่อาตมวนเวียน................หัตถ์ไท้
นพรัตน์เรียบรายเฉวียน........ฉวัดวิ่ง แสงนา
เถือกเถกิงกลไต้.................ตากรุ้งเรืองโพยม

ดิฉันเคยเห็นกำไลทองรูปพญานาคฝังเพชรซีก ขายอยู่ในร้านของเก่าเมื่อนานหลายปีก่อน
โผล่กลับไปดูอีกที ได้ความว่าเศรษฐินีเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมซื้อไปเสียแล้ว   หลังจากนั้นไม่เห็นของแบบนี้มาวางอีกเลย
แต่กำไลทองนั่นคงเป็นของสามัญชน     กำไลข้อพระหัตถ์เท่านั้นถึงจะฝังนพรัตน์  คนสามัญไม่มีใครกล้าใช้กัน
กำไลในบทกวี ช่างคงออกแบบให้ลำตัวอ่อนช้อย ม้วนตัวรัดรอบข้อมือ  เพชรพลอยแต่ละเม็ดคัดมา ถือเป็นสุดยอดของนพรัตน์
เห็นภาพแสงเพชรและมณีอีกแปดอย่าง น้ำวิ่งเจิดจรัสยามเคลื่อนไหว  ราวกับแสงรุ้งกระจ่างอยู่กลางท้องฟ้า

คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์นำมาเป็นชื่อหนังสือรวมบทร้อยกรอง ด้วยความประทับใจ
เล่มนี้ที่มีอยู่ มีลายเซ็นคุณเนาวรัตน์ด้วยนะ  ขออวดค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 20:31

 ในสมัย ร. 6 เป็นยุคที่ นสพ. มีเสรีภาพสูงมากถ้าคิดถึงว่าขณะนั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง และ นสพ. ก็เขียนบทความวิจารณ์รัฐบาลแรงๆ หลายบทเหมือนกัน แต่ไม่ยักถูกเซนเซอร์ เพียงแต่ถูกค่อนว่าและวิจารณ์โต้ตอบโดยองค์ประมุขรัฐบาล คือ ร. 6 เท่านั้น (แต่ทรงใช้นามแฝงในการพระราชนิพนธ์บทความโต้ตอบ เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ เป็นต้น)

ในสมัยปัจจุบันไม่กี่เดือนมานี้ ไม่ทราบว่าความเลอะเทอะหลงเลอะไปหมดเป็นทอดๆ เพราะอะไรไม่รู้บังตาอยู่นั้น จะใช้กับการบรรยายสภาพเมืองไทยได้หรือไม่ - อุ๊บส์ - วิชาการดอทคอมไม่มีพูดการเมืองครับ เซนเซอร์ตัวเองครับ

อ่านข้อความข้างต้นแล้วอดนึกถึงบุคคล ๒ ท่านนี้ไปไม่ได้  ท่านหนึ่งเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ท่านรับราชการทหารเรือมียศเป็นนายพลเรือตรี พระยา...(จำราชทินนามไม่ได้)... ตำแหน่งเจ้ากรมพระธรรมนูญทหารเรือ  ได้แสดงความคิดเห็นของท่านผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ในทำนองคัดค้ายแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านทางหน้าหนังสือพิมพ์  ผลหรือครับ  ท่านผู้เป็นใหญ่ในกระทรวงทหารเรือรีบเสนอให้ปลดท่านผู้นี้กจากราชการเพราะมีความเห็นขัดแย้งกับพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้นำรัฐบาล  แต่เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท  โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปรับราชการกระทรวงวัง  พระราชทานพานทองเครื่องยศ  พร้อมกับเลื่อนยศเป็น นายพลเรือโท พระยาวินัยสุนทร  นามเดิมของท่านคือ  วิม  พลกุล  หรือที่มักจะรู้จักกันในนาม "มหาวิม" เพราะท่านเป็นเปรียญเก่า

อีกท่านหนึ่งที่ผมนึกถึงเป็นบุคคลในยุคสมัยปัจจุบัน  จะเกี่ยวข้องกับท่านที่เอ่ยนามไว้ข้างต้นอย่างไรไม่ทราบ  แต่มีที่เหมือนกันอยู่อย่างเดียวครับ  ท่านใช้นามสกุล พลกุล เหมือนกัน  เป็นท่านผู้ใดคงไม่ต้องออกนามนะครับ  เดี๋ยวจะหาว่า ผมพาเวบวิชาการไปยุ่งกับการเมือง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 20:31

 ถ้าเจ้านายคุณรินดาท่านใช้คำเช่นนั้น ก็ปล่อยท่านไปโดยเคารพเถิดครับ ผมก็เห็นใจคุณ ในฐานะลูกน้อง อย่าเอากระพรวนไปผูกคอแม่เสือเลย เพียงเพราะเห็นแก่ผมเลย เป็นแต่ผมตั้งใจจะเรียนคุณรินดา (คนเดียวเจ้าค่ะ... ไม่เกี่ยวกับนาย) ว่าคนอื่นๆ ทั่วไปใต้ฟ้าเมืองไทย เขาไม่ได้ใช้คำว่ากระทบในลักษณะนั้นเหมือนท่านกันสักกี่คนนัก เท่านั้นแหละ ไม่ยังงั้นอาจารย์เทาฯ ท่านจะฉงนหรือ (เมื่อแรกผมก็ฉงนเหมือนกัน แต่พอนึกได้เรื่องศัพท์เฉพาะทางวิชาบัญชี จึงเอามาฝากเท่านั้น) จบเรื่อง/

กลับเข้าเรื่องเจ้านายทรงกรมของหัวข้อกระทู้ดีกว่ามั้งเนี่ย

ป.ล. ใครจะตั้งกระทู้เรื่องโลกนิติจำแลงไหมครับ ว่างๆ ผมจะไปแจม ฮะแอ้ม -
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 20:33

 ขอขอบพระคุณ คุณ Nuchana ด้วยครับที่กรุณานำโคลงโลกนิติจำแลงมาให้อ่านคลายเครียดครับ  โดยเฉพาะบทที่กล่าวถึงนางเอกภาพยนตร์  อ่านแล้วทันสมัยดีจังครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 13 พ.ค. 06, 20:39

 คห. 37 พูดถึงท่านผู้หนึ่ง ซึ่งผมก็นึกอยู่ในใจเหมือนกัน คือท่านผู้หาญแต่งเรื่อง ล้อติดโคลน ออกมาโต้คารมหรือดวลกับ โคลนติดล้อ (ของ ร. 6) ซึ่งได้ทราบว่ากริ้วไม่ใช่น้อยเหมือนกันที่มีผู้กล้าหาญมาวิจารณ์พระองค์ท่าน แต่ด้วยความที่ในหลวง ร. 6 ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยเป็นนักกีฬา และทรงเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน แม้จะไม่โปรดก็ไม่ทรงว่ากระไร ท่านเจ้าคุณนายพลเรือจึงยังรับราชการอยู่ได้ต่อไปเป็นปกติ

ผมเข้าใจว่าจะเป็นท่านผู้นี้ด้วยซ้ำที่เคยรับสั่งถึงอย่างทรงยอมรับว่า การเขียนบทความโต้ตอบกันก็เหมือนเล่นเทนนิส ถ้าไปเจอมือสาวๆ ตีอ่อนๆ ก็เล่นไม่เป็นรส ไม่สนุก แต่ถ้าเจอมือดีๆ เก่งในการโต้ เราตีแรงไปเขาตีโต้แรงมา บางทีท่านทรงออกจะฉุนๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าสนุกกว่าในเชิงเกม ... หรืออะไรทำนองนั้นแหละครับ จำพระราชดำรัสเป๊ะๆ ไม่ได้ครับ

ผมเผลอชักใบให้เรือเสียอีกแล้ว (รู้สึกเหมือนเด็กแอบคุยเรื่องอื่นในห้องเรียนยังไงไม่รู้) เราไปตั้งกระทู้ใหม่ดีไหมครับ เกรงใจคุณครูเทาชมพู ที่ผมว่ามาไม่ค่อยเกี่ยวกับเรื่องเจ้านายทรงกรมเลย
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 14 พ.ค. 06, 00:18

 ยังติดลมเรื่องที่คุณ V_Mee และคุณนิลกังขาปรารภไว้ ขอต่ออีกสักนิดนะครับ

หลังเกิดเรื่องของบุคคลผู้ใช้นามปากกา "ทุ่นดำ" ที่โต้แย้งพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างแรง ในหน้าหนังสือพิมพ์

จากนั้น ก็ปรากฏนาม พระยาวินัยสุนทร อยู่ในรายนามผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เป็นที่ตะลึงพรึงเพริดของข้าราชการสมัยนั้นมากว่าเป็นไปได้อย่างไร แสดงให้เห็นน้ำพระราชหฤทัยนักกีฬาของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ว่าสูงส่งนัก

ขณะทรงคล้องตรา ท.จ. พระราชทาน ได้มีพระราชดำรัสว่า

"วิม นี่แสดงว่าข้ามิได้ผูกโกรธหรือพยาบาทเจ้าในการที่เจ้าเขียนหนังสือเล่นงานข้าแต่ถือว่าเจ้าได้ช่วยข้าแสดงความคิดเห็นในการปกครองบ้านเมือง ข้าขอขอบใจ"

ต่อมา เมื่อมีผู้กราบบังคมทูลพระกรุณาถามถึงเหตุผล ก็มีพระราชดำรัสตอบว่า

"เออ เอ็งยังไม่รู้อะไร คนเรามันต้องแยกหน้าที่ให้ออกให้ดีสิวะ บางทีข้าก็ฉุนที่มีคนมาขัดคอ มันก็พลุ่งขึ้นมา แต่เมื่อนึกถึงว่าเขาก็เป็นคนไทย เป็นนักกฎหมาย เป็นเปรียญ เขาก็ได้บวชได้เรียน ย่อมรู้ผิดชอบชั่วดี จริงอยู่ ตาวิมมีเพอร์ซันแนลลิตี้เป็นนักเลงแต่ก็ชอบความรู้เขา มีหลักดีๆข้าก็นึกว่าเขามีความหวังดีต่อชาติเช่นเดียวกับข้า เขามีความคิดเห็นอย่างที่นึกว่าของเขาถูก เขาก็พูดออกมาอย่างเปิดเผยอย่างนี้ข้าชอบ ดีกว่าไปก่อเรื่องซุบซิบอย่างไอ้พวกขี้ขลาดตาขาว มือไม่พายเอาตีนราน้ำ

คนเขียนหนังสือพิมพ์ข้าเห็นว่าพวกเขามีสปอร์ติ้งสปิริตดีกว่าพวกต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก ซึ่งเชื่อไม่ได้ไม่จริงต่อใคร

อีกอย่างหนึ่ง การเขียนหนังสือก็เหมือนเกมส์ชนิดหนึ่ง อย่างเล่นบิลเลียดหรือเทนนิสเราต้องมีคู่เล่นที่มือทัดเทียมกันถึงจะสนุก แต่อย่าโกงกันนะ ถ้าเล่นกันซื่อๆ โดยฝีมือ แพ้ชนะไม่สำคัญหรอกวะ สนุกดีนัก ถ้าไปโดยฝีมือสวะๆอ่อนๆเข้าแล้วหมดรสหมดสนุก เลิกดีกว่า"
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 14 พ.ค. 06, 07:52

 ขอบพระคุณ คุณ Upที่กรุณาขยายความให้ครับ  ทำให้นึกถึงที่จมื่นมานิตนเรศร์ (เฉลิม  เศวตนันทน์) ท่านเล่าไว้ว่า  วันหนึ่งได้มีรับสั่งเรื่องพระยาวินัยสุนทรนี้ว่า  เขาเป็นรักชาติรักแผ่นดินอย่างแท้จริง  เรื่องอะไรที่ข้าจะปลดคนดีๆ เช่นนี้ออกจากราชการ

และอีกเรื่องหนึ่งคืงที่อยากกล่าวถึง คือ แบบธรรมเนียมในพระราชสำนักข้อหนึ่งที่ว่า  ในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินกำลังพิโรธและมีพระราชดำรัสหาพระแสงนั้น  ห้ามมิให้มหาดเล็กถวายพระแสงเป็นเด็ดขาด  ผู้ใดถวายมีโทษถึงกบฏ  เพราะยามที่คนเราโกรธนั้นย่อมขาดสติยั้งคิดไปบ้าง  เรื่องนี้เป็นธรรมชาติของปุถุชน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 14 พ.ค. 06, 10:20

 แบบธรรมเนียมที่คุณ V_Mee กล่าวไว้นั้น ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่า

“พระเจ้าอยู่หัวทรงพระโกรธแก่ผู้ใดและตรัสเรียกพระแสงอย่าให้เจ้าพนักงานยื่น ถ้ายื่นโทษถึงตาย”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 13:45

 ต่อจาก ค.ห. 36

๗) กรมหมื่นสุรินทรรักษ์  พระองค์เจ้าชายฉัตร  กำกับกรมพระนครบาลในรัชกาลที่ ๒  
เมื่อถึงรัชกาลที่ ๓ ทรงย้ายมากำกับกรมท่าและกรมมหาดไทย  สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
เป็นต้นราชสกุล ฉัตรกุล

๘) กรมหลวงรักษ์รณเรศ   พระองค์เจ้าชายไกรสร   เจ้านายพระองค์นี้ทรงมีชีวิตที่มีสีสันมากที่สุดในรัตโกสินทร์ตอนต้นก็ว่าได้

พูดถึงความมีบุญ ถือได้ว่าระยะต้นๆ ทรงมีวาสนาเด่นว่าบรรดาเจ้านายพี่น้อง  ที่ส่วนใหญ่ทรงกรมเป็นกรมหมื่นแล้วหยุดอยู่แค่นั้น

ในรัชกาลที่ ๒ ทรงกรมเป็นกรมหมื่น  กำกับกรมสังฆการี   ผลงานสำคัญก็คือจับพระเถระดังๆสึกออกมาด้วยข้อหาปาราชิก  ซึ่งกลายมามีเหตุสืบเนื่องให้กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ต้องพระราชอาญาด้วยเรื่องบัตรสนเท่ห์ อย่างที่เล่ามาแล้ว
กรมหลวงรักษ์รณเรศตามศักดิ์ เป็น"อา"ของสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็จริง แต่มีพระชนม์อ่อนกว่า"หลานชาย" ๔ ปี  ทรงสนิทกันดี    
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ สวรรคต กรมหลวงฯท่านก็ทรงเป็นแรงสนับสนุนแรงหนึ่งให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์    

สมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงสถาปนา"อา" อีกพระองค์หนึ่งเป็นวังหน้า   คือกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ    หลังจากทรงดำรงตำแหน่งวังหน้าได้ ๗ ปีก็สิ้นพระชนม์

ชะตาของกรมหลวงรักษ์รณเรศในแผ่นดินนี้ทำท่าจะไปด้วยดี   โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง  และมีข่าวว่าอาจจะได้เป็นวังหน้าสืบต่อไปด้วย      
แต่สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็มิได้สถาปนาเจ้านายองค์ใดเป็นวังหน้า   คงปล่อยให้ว่างอยู่จนสิ้นรัชกาล

กรมหลวงรักษ์รณเรศถือเป็นเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ มีอำนาจวาสนา   ทรงกำกับกรมวัง   ในหนังสือของศ.วอลเตอร์ เอฟ. เวลลา  ระบุว่าทรงมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการศาล   ถวายนิตยภัตพระสงฆ์  จ่ายเบี้ยหวัดขุนนาง และมีอำนาจในการแต่งตั้งขุนนางด้วย    
ในเมื่อหน้าที่การงานใหญ่ๆโตๆ ย่อมเป็นช่องทางให้เกิดลาภสการนอกเหนือจากที่ควรได้อีกมาก   ก็ทำให้มีผู้ถวายฎีกาในพ.ศ. ๒๓๙๑  ว่าทรงรับสินบน  

พระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ชำระความ   ก็ได้เรื่องอื่นๆพ่วงมาอีกเป็นขบวน รวมทั้งพฤติกรรมส่วนพระองค์ว่าไปหลงใหลรักใคร่นางละครนอก ซึ่งเป็นผู้ชายด้วยกัน  
ถึงกับรับเข้ามาเป็นหม่อมอยู่ในวัง  ห่มแพรสีแต่งกายอย่างสตรี  และมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 14:06

 ละครสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีละครในกับละครนอก   ละครในเป็นประเภทผู้หญิงเล่นล้วนๆ เล่นกันอยู่ในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น  คนนอกไม่มีโอกาสดู  
เรื่องที่เล่นก็จำกัดแค่ ๔ เรื่องคือรามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง และอุณรุท  แต่ในเชิงปฏิบัติ เล่นเฉพาะสองเรื่องแรก  สองเรื่องหลังเป็นบทละครเฉยๆ ไม่เคยได้ข่าวว่านำมาเล่นกัน  

ส่วนละครนอกจากนี้เป็นละครนอก  ขุนนางชาวบ้านเล่นกันดูกันได้   แต่ใช้ผู้ชายล้วน แม้แต่บทนางก็เป็นชาย  ทำนองเดียวกับละครสมัยเชกสเปียร์ หรืองิ้วโบราณของจีน

นางละครนอกที่กรมหลวงรักษ์รณเรศหลงใหล   เดาว่าเป็นหนุ่มร่างเล็ก ผิวพรรณดี หน้าตาดี    แต่งตัวเป็นผู้หญิงห่มสไบนุ่งโจงหรือนุ่งจีบคงไม่ขัดตา  เพราะเล่นละครก็สวมแบบนี้อยู่แล้ว    
อีกอย่างสาวสยามแท้ๆสมัยนั้น ดูในรูปวาดที่ฝรั่งบันทึกเอาไว้   หุ่นก็ล่ำบึกบึน แทบไม่ต่างจากผู้ชายนัก แล้วยังไว้ผมสั้นเกือบจะเท่าชาย  
ถ้าหนุ่มน้อยหน้าตาดีๆแต่งเป็นหญิง  ผัดหน้า ห่มแพรสวยๆ จริตกระตุ้งกระติ้ง  บางทีอาจจะสวยเกินหน้าหม่อมๆพวกหญิงแท้ของกรมหลวงท่านเสียอีกก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม  เรื่องนี้คงไม่ใช่ข้อหาร้ายแรงสุด    เรื่องร้ายแรงคือกรมหลวงฯท่านให้การว่าถ้าสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ แล้วก็จะไม่ยอมเป็นข้าของใคร      
ก็หมายความว่าใครก็ตามที่จะมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลต่อไป  ท่านไม่ยอมรับ
ตีความต่อไปว่าเมื่อไม่ยอมรับ  ท่านก็ต้องเป็นกบฏนั่นเอง   จะมัวนั่งเฉยๆไม่ยอมรับ แบบไม่รู้ไม่ชี้อยู่ในวังของท่านได้ยังไง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง