เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 09 พ.ค. 06, 08:18
|
|
พระราชโอรสพระองค์อื่นๆนอกจากนี้ กว่าจะได้ทรงกรมก็ในรัชกาลที่ ๒ บ้าง และบางองค์ก็นานมาก ถึงรัชกาลที่ ๓ โน่น
พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง ๒๐) กรมหมื่นนราเทเวศร์ ๒๑) กรมหมื่นนเรศร์โยธี ๒๒) กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ (เรื่องราวของทั้ง ๓ องค์นี้อยู่ในบทความ จากวัดระฆังถึงศิริราช) ถึงชั้นพระราชภาคิไนย (หลานลุง) ๒๓)สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็น กรมขุนศรีสุนทร ๒๔)พระองค์เจ้าอสุนี ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็น กรมหมื่นเสนีเทพ
ตอบคุณศรีปิงเวียง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศ เคยตรัสว่า ในรัชกาลที่ ๑ ใครรบทัพจับศึกได้ก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ ๒ ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ ๓ ใครสร้างวัดวาอารามก็โปรด ในรัชกาลที่ ๔ ใครพูดภาษาอังกฤษได้ก็โปรด
เจ้านายทรงกรมในรัชกาลที่ ๑ นอกเหนือจากสถาปนาเพราะเป็นพระเกียรติยศแก่ปฐมวงศ์แล้ว หลายองค์เป็นนักรบ อย่างกรมหลวงจักรเจษฎานี่ก็ถือว่ามือหนึ่ง ทรงเป็นหัวหน้าพระองค์เจ้าขุนเณรที่ถือกันว่าเป็นนักรบกองโจรตัวฉกาจของไทย พระโอรสในกรมพระราชวังหลังทั้ง ๓ องค์ก็นักรบเก่งๆกันทั้งนั้น ลองไปอ่านบทความดูนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 08:07
|
|
สรุปว่าในรัชกาลที่ ๑ มีเจ้านายทรงกรม ๒๔ องค์
ถ้าหากว่าเผลอข้ามองค์ไหนไปบ้าง คุณพิพัฒน์กรุณาตรวจสอบด้วยค่ะ
มาถึงรัชกาลที่ ๒
ดิฉันขอแบ่งการบ้านจากคุณพิพัฒน์มาส่วนหนึ่ง เผื่อผ่อนแรงให้หน่อย
รู้สึกว่าจะเริ่มโอดโอยถี่ขึ้นว่าเหนื่อย คงไม่เคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน
กลับเข้าสู่เรื่อง ขอเริ่มด้วยพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๒ ก่อนนะคะ เรียงลำดับได้ดังนี้
๑) กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระนามเดิมพระองค์เจ้า(ชาย)ทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
ในฐานะพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ก็ทรงเป็นอย่างที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า 'เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงให้พ่อ'
ดูจากพระราชภารกิจในรัชกาลที่ ๒ แล้วก็กว้างขวางหนักหนาเอาการ เพราะทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา นิพนธ์บทกวี และรับราชการต่างๆต่างพระเนตรพระกรรณ
ดำรงพระยศกรมหมื่นเหมือนเมื่อเริ่มแรก จนตลอด ๑๖ ปีของรัชกาล ไม่มีการเลื่อนเป็นกรมหลวงหรือกรมพระ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 08:31
|
|
๒) กรมหมื่นสุนทรธิบดี พระองค์เจ้าชายกล้วยไม้ องค์นี้ไม่ทราบว่าว่าราชการด้านไหน
ดิฉันนึกอะไรไม่ออกเกี่ยวกับท่านนอกจากว่าทรงมีเชื้อสายสืบมาถึงทุกวันนี้ มีท่านหนึ่งที่เก่งเรื่องประวัติศาสตร์ เคยเขียนเกร็ดอะไรต่อมิอะไรน่าอ่านมาก ชื่อคุณทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา เป็นศาสตราจารย์พิเศษของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
๓) กรมพระยาเดชาดิศร พระองค์เจ้าชายมั่ง องค์นี้เป็นกรมหมื่นเดชอดิศรอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๒ เหมือนกัน แต่ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นกรมขุน และในรัชกาลที่ ๔ ทรงเลื่อนเป็นกรมสมเด็จพระเดชาดิศร แต่พระยศ "กรมสมเด็จพระ" มายกเลิกในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบัญญัติให้มีพระยศ "กรมพระยา"ขึ้นมาแทน กรมพระยา ทรงศักดิ์สูงกว่าเจ้านายต่างกรมชั้นอื่น เช่นพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวงเมื่อทรงกรม พระองค์เจ้ามีศักดินา 15000 แต่กรมพระยา ศักดินา 35000 เกือบเท่าศักดินาเจ้าฟ้าต่างกรม คำนำพระนามใช้เหมือนสมเด็จเจ้าฟ้า ถ้าเป็นชั้นบรมวงศ์(คือพระราชโอรสในพระเจ้าแผ่นดิน) ก็เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
สมเด็จกรมพระยาเดชาดิศรเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึง ก่อนเสด็จสวรรคต ที่ทรงเรียกว่าไพเราะว่า "พ่อมั่งขา พ่อจงเป็นเชษฐมัตตัญญู แก่ข้าผู้พี่...."
พวกอักษรศาสตร์รู้จักพระนิพนธ์ โคลงโลกนิติ ที่ทรงชำระเรียบเรียงจากสำนวนเก่าให้สละสลวยยิ่งขึ้น บางบท นอกจากเล่นเชิงภาษาอย่างเพราะพริ้ง ให้พวกเรียนภาษาได้การบ้านไปทำกันหัวโตแล้ว พวกปรัชญายังสามารถเอาไปถกกันเชิงสัญลักษณ์ได้ทีเดียว อย่างบทนี้
น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว.......ยูงตาม ทรายเหลือบหางยูงงาม.......ว่าหญ้า ตาทรายยิ่งนิลวาม.............พรายเพริศ ลิงว่าหว้าหวังหว้า..............หว่าดิ้นโดดตาม
ถ้าแปลไม่ออกอย่าตกใจ ยกมาเป็นตัวอย่างเฉยๆค่ะไม่ได้ให้การบ้าน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 10:21
|
|
ขอบพระคุณ อ. เทาชมพู มา ณ ที่นี้ครับ ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง .......... ขออนุญาตสอบถามครับ เพราะผมไม่แน่ใจครับว่า ใบคา คือใบอะไรครับ ใช้ตัวช่วยข้าง ๆ ก็ระบุว่า ค้น : คา คำ : คา ๓ เสียง : คา คำตั้ง : คา ๓ ชนิด : น. นิยาม : ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Imperata cylindrica Beauv. ในวงศ์ Gramineae ใบคาย แข็ง เอามากรองเป็นตับมุงหลังคา เหง้าใช้ทำยาได้. ปรับปรุง : 98/4/2
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 10:25
|
|
เรียนอาจารย์เทาฯ และคุณ Rinda ครับ ไม่เกี่ยวกับหัวข้อกระทู้ครับ แต่ผมเข้าใจเอาเองว่า เจ้านายคุณ Rinda อาจจะเป็นนักบัญชี ผมเองไม่ใช่ แต่เคยได้ยินพวกบัญชีเขาพูดอะไรคล้ายๆ อย่างนั้น ดูเหมือนพูดว่า "กระทบยอด" ซึ่งตามความเข้าใจผมเป็นการเปรียบเทียบยอด (ตัวเลข) ให้ถูกต้องตรงกัน
ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็พอเข้าใจเจตนาได้ว่าคุณ Rinda ตั้งใจจะพูดว่าอะไร แต่ผมขอเรียนคุณ Rinda ว่าคนนอกวงการบัญชีจะนึกไม่ออกเป็นอันขาดถึงความหมายเฉพาะทางที่ว่าเนี่ย พานจะนึกไปถึงกระทบกระเทียบกระแทกกระทั้นอะไรไปโน่น ซึ่งโทษพวกเราก็ไม่ได้ เพราะพวกเราไม่เคยเรียนบัญชีนี่ครับ
Boss ของคุณละก้อ... เหมาเอาพวกเราเป็นนักบัญชีไปซะหมดแล้ว
ทั้งนี้ถ้าผมเข้าใจความหมายของคำว่ากระทบยอดผิดไปในทางวิชาการบัญชี ขอผู้เป็นนักบัญชีตัวจริงเข้ามาแก้ไขด้วยเทอญ บอกแล้วว่าข้าพเจ้าไม่เคยเป็นนักบัญชี ทำบัญชีไม่เป็น แม้แต่บัญชีรัก แฮ่ะแฮ่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 11:01
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศรีปิงเวียง
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 12:14
|
|
เรียน อ. เทาชมพู และท่าน นกข. ที่เคารพครับ ขอบพระคุณ อ. เทาชมพู มา ณ ที่นี้ครับ จริง ๆ ผมก็เคยเห็นหญ้าคาครับ แต่คงไม่รู้จักเอง โดนบาดไปหลายที เพิ่งมารู้จักก็ด้วยเหตุที่กล่าวมาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่เห็นใครแน่นอน
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 17:59
|
|
ท่านอาจารย์เทาชมพูกรุณายกโคลงโลกนิติขึ้นมา ชวนให้ระลึกถึงพระราชนิพนธ์ โลกนิติจำแลง ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงย้อนพวก "สมัยใหม่" ในยุคนั้นได้แสบคันพอๆ กับโคลงโลกนิติต้นฉบับเลยทีเดียว เสียดายที่ไม่ค่อยจะมีเผยแพร่ ทุกวันนี้ยังแทบจะหาอ่านมิได้เลยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 18:58
|
|
เรื่องโคลงโลกนิติ เป็นกระทู้ใหญ่ได้อีกอันเลยครับ
โลกนิติจำแลง ผมก็ชอบ จำได้กระท่อนกระแทนไม่กี่บท
คำนำ บทต้น ครรโลงโลกนิติโน้น นมนาน สำหรับคนโบราณ เก่าพร้อง บัดนี้สมัยกาล แปรเปลี่ยน ภาษิตก็จำต้อง ดัดบ้างตามสมัยฯ
มีบทหนึ่งว่า แสวงรู้พึงคบด้วย หรั่งจ๋า แสวงทรัพย์คบกุ๊ยหา ทรัพย์ให้ แสวง ... แสวงนาฎนารีไซร้ หมั่นเข้าโรงหนังฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 19:00
|
|
คล้ายๆ เหมือนกับว่า โคลงพระราชนิพนธ์นี้ พิมพ์อยู่ในดุสิตสมิต ซึ่งผมคิดว่าอาจจะพอหาได้ เดี๋ยวขอเวลานิดครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 10 พ.ค. 06, 19:01
|
|
แสวงลาภคบบรรณา- ธิกเหมาะ ครับ
ทรงค่อน นสพ. รวมทั้ง บก. นสพ. และคนอ่าน นสพ. ในสมัยนั้นไว้หลายบท
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 11 พ.ค. 06, 17:10
|
|
ถ้าเป็นไปได้ขอความกรุณาลงเปรียบเทียบฉบับเดิมกับฉบับจำแลงให้อ่านบ้างนะครับ ผมยังเสียดายไม่หายเมื่อครั้งที่สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการรวบรวมโคลงโลกนิตจัดพิมพ์เป็นเล่ม แล้วไม่ได้พิมพ์โลกนิติจำแลงไว้ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 12 พ.ค. 06, 08:24
|
|
๔) กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (พระองค์เจ้าชายพนมวัน) องค์นี้ในรัชกาลที่ ๒ เป็นกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ เช่นเดียวกับพระราชโอรสองค์อื่นๆก่อนหน้า ไม่ขึ้นไม่ลงไปกว่านี้ ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนเป็นกรมขุน ทรงเป็นกรมพระในรัชกาลที่ ๔ ทรงกำกับกรมพระนครบาลในรัชกาลที่ ๒ มาถึงรัชกาลที่ ๓ ว่าการกรมพระคชบาล ถือว่าเป็นเจ้านายที่มีความสำคัญองค์หนึ่ง เป็นต้นราชสกุล พนมวัน ณ อยุธยา
ดิฉันเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้านายองค์นี้ ชื่อ แค้นของกวี หาอ่านดูนะคะ มีแค่นี้เอง พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ทรงกรมในรัชกาลที่ ๒
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 12 พ.ค. 06, 08:38
|
|
ย้อนกลับมาถึงเจ้านายในรัชกาลที่ ๑ ที่มาได้ทรงกรมในรัชกาลที่ ๒ ล้วนทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ๑) กรมหมื่นอินทรพิพิธ พระองค์เจ้าทับทิม ว่าการกรมช่างแสงใหญ่และกรมคชบาลในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุลอินทรางกูร ๒)กรมหมื่นเทพพลภักดิ์ พระองค์เจ้าอภัยทัต ว่ากรมพระคชบาลในรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงเลื่อนเป็นกรมหลวง เจ้านายพระองค์นี้สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา ๕๒ ปี แต่แปลกว่าไม่มีเชื้อสายราชสกุลนี้สืบทอดมา ๓) กรมหมื่นจิตรภักดี พระองค์เจ้าชายเจ้าทับ ทรงกำกับกรมช่างสิบหมู่ กรมช่างหล่อ ต้นราชสกุล ทัพพะกุล ๔) กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ พระองค์คันธรส เจ้านายองค์นี้ทรงมีชะตากรรมอาภัพ ทรงกรมได้แค่ ๓ ปีก็สิ้นพระชนม์
เรื่องมีอยู่ว่าในพ.ศ. ๒๓๕๙ มีราษฎรร้องเรียนขึ้นมาว่าพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ๓ รูปกระทำผิดพระวินัยร้ายแรงเรื่องเมถุนปาราชิก คือแอบไปมีเมียจนมีลูกด้วยกัน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯโปรดเกล้าให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นรักษ์รณเรศและพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) สอบสวนชำระความ ก็ได้ความว่าจริง พระเถระก็เลยถูกจับสึก และถูกเฆี่ยนจำคุกอีกด้วย ไม่ได้แค่จับสึกเฉยๆ อย่างสมัยนี้
พอเสร็จการสอบสวน ก็มีบัตรสนเท่ห์ออกมาโจมตี ไม่แพ้ใบปลิวสมัยนี้ แต่สมัยนั้นสมกับเป็นยุคทองของวรรณคดีไทย ขนาดบัตรสนเท่ห์ยังแต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ ภาษาเพราะพริ้งแต่เนื้อความด่าทอเจ็บแสบ ว่า ไกรสรพระเสด็จได้..............สึกชี กรมหมื่นเจษฎาบดี..............เร่งไม้ พิเรนทร์แม่นอเวจี...............ไป่คลาด อาจพลิกแผ่นดินได้.............แม่นแม้นเมืองทมิฬ
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ กริ้วมาก โปรดฯให้สอบสวนสืบสวนแกะรอยกวีนิรนามนี้โดยด่วน สืบกันไปสืบมาได้ความว่า สำนวนกวีไปเหมือนพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๑ นับญาติแบบชาวบ้านคือเป็นน้องของรัชกาลที่ ๒ คือกรมหมื่นศรีสุเรนทร์นั่นเอง มีหลักฐานแวดล้อมช่วยมัดองค์อีกว่า ทรงเป็นศิษย์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(บุญศรี) ๑ใน ๓ ของพระเถระที่ต้องอธิกรณ์
จึงถูกคุมขังจองจำ ประชวรและสิ้นพระชนม์ระหว่างนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 12 พ.ค. 06, 11:20
|
|
เอาโคลงโลกนิติจำแลงมาฝากอีกบทครับ จากความจำ ไม่ได้เช็คดุสิตสมิตสักที
ผลเดื่อเมื่อสุกไซร้ มีพรรณ ภายนอกแดงดูฉัน ชาดป้าย (โลกนิติของจริงต่อว่า ภายในย่อมแมลงวัน หนอนบ่อน ดูดั่งคนใจร้าย นอกนั้นดูงามฯ แต่ ร.6 ทรงแปลงต่อว่า) นางเอกภาพยนตร์อัน สรวยสุด แท้ที่จริงเป็นม่าย ลูกตั้งแปดคนฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|