เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 21684 เจ้านายทรงกรม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 06 พ.ค. 06, 10:06

สืบเนื่องจากกระทู้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  
 http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Cid=130&Pid=48308
คุณหยดน้ำจุดประกายขึ้นมา เรื่องการทรงกรมของเจ้านายในรัชกาลที่ ๓  
คุณ Rinda ก็มาโพสต์ในเรื่องนี้อีก
ทำให้ดิฉันเกิดสนใจ  อยากจะรู้เพิ่มเติมว่าตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา   มีเจ้านายทรงกรมกี่พระองค์กันแน่ในแต่ละรัชกาล
ก็เลยไปรวบรวมมาให้อ่านกัน

ถ้าขาดตกบกพร่องยังไง  กรุณามาช่วยตกแต่งเพิ่มเติมให้ครบด้วยจะขอบคุณมาก

เมื่อสถาปนาราชวงศ์จักรี   เจ้านายทรงกรมในรัชกาลนี้  มีจำนวนมากเอาการ   เพราะเป็นการสถาปนาพระราชวงศ์ใหม่  
เจ้านายพระองค์ที่มีพระสายโลหิตร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯตั้งแต่ปฐมวงศ์   ก็ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นมาเกือบทั้งหมด
เริ่มตั้งแต่ชั้นที่ ๑ ในปฐมวงศ์ คือ
๑) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยาสุดาวดี   พระเชษฐภคินีพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
๒)สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระศรีสุดารักษ์  พระเชษฐภคินีพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
๓)กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  พระราชอนุชา
๔) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา  (พระองค์เจ้าลา)พระอนุชาต่างพระชนนี

ส่วนกรมหลวงนรินทรเทวี (หรือที่เรียกกันว่าเจ้าครอกวัดโพธิ์)พระขนิษฐาต่างพระชนนี  มิได้รับการสถาปนา  คงเป็นพระองค์เจ้าหญิงกุ
จนรัชกาลที่ ๔ จึงได้รับการสถาปนาพระอัฐิเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 10:08

ขอเว้นวรรคแค่นี้ก่อนนะคะ  จะมาต่อทีหลัง

ขอตัวไปตามหานักเรียนโค่ง ที่โดดเรียนไปถือธงนำหน้า ปลุกระดมอยู่ในกระทู้ใกล้ๆนี้  
ให้ผู้คนไปชุมนุมกันประท้วงดิฉันเรื่องคอร์สที่ที่ปิดไปแล้ว    เพื่อจะดึงดันให้เปิดขึ้นมาอีก

ดิฉันจะต้องไปร่างคำฟ้องต่อศาลบน (Up Court) ขอให้สั่งระงับการกระทำว่าเป็นโมฆะ  
และลากเอาตัวหัวหน้าการประท้วงกลับมาเข้าชั้นเรียนวิชาอื่นๆที่ยังเปิดอยู่   โจทก์รออยู่หลายราย  

ยื่นคำร้องเสร็จก็จะแวะไปหลังบ้าน   มะยมต้นใหญ่ ก้านขนาดกำลังงาม   เหมาะกับเหลาติดมือไปสลายการชุมนุมเชียวละ
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 16:02

 ที่กระทู้ ข้อ1) อาจารย์กรุณาช่วยเติมคำว่า...เทพ
สมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 16:17

 หมายเหตุ
ค.ห. 2 เมื่อเติมแล้ว โปรดลบได้เลยค่ะ
ค.ห. 3 คัดมาเพื่อให้เปรียบเทียบกระทบ หลังจากนั้นลบได้เลย เพื่อไม่ให้การดำเนินเรื่องสะดุด

จาก "เฉลิมพระยศเจ้านาย" เล่ม ๑ และเล่ม ๒ ของกรมศิลปากร
************
รายนามเจ้าต่างกรมสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

สมเด็จพระอนุชาธิราช มหาสุรสิงหนาท เป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาท
(ในรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ เป็น กรมพระยาเทพสุดาวดี
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอพระองค์รอง เป็น กรมพระศรีสุดารักษ์

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน (พระโอรสพระพี่นางองค์ใหญ่) เป็น กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์
ต่อมาเลื่อนเป็น กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่วังหลัง หลังจากมีความชอบรบชนะพม่าในสงครามปราบพม่าในหัวเมืองเหนือ

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญเมือง (พระโอรสพระพี่นางองค์ใหญ่) เป็น กรมหลวงธิเบศร์บดินทร
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองจีน (พระโอรสพระพี่นางองค์ใหญ่) เป็น กรมหลวงนรินทรรณเรศร์
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าลา เป็น กรมหลวงจักรเจษฎา
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฉิม (คือรัชกาลที่ 2) เป็น กรมหลวงอิศรสุนทร
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าตัน (พระโอรสพระพี่นางเธอองค์น้อย) เป็น กรมหลวงเทพหริรักษ์
หม่อมมุก พระสามีพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุ เป็น กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์
หม่อมเรือง (พี่น้องร่วมสาบานกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ 1) เป็น กรมหมื่นสุนทรภูเบศร์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงแจ่ม เป็น กรมหลวงศรีสุนทรเทพ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย เป็น กรมขุนเสนานุรักษ์
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงประไพวดี เป็น กรมขุนเทพยวดี
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าจุ้ย(พระโอรสพระพี่นางองค์น้อย) เป็น กรมขุนพิทักษ์มนตรี

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าสุพันธวงศ์ หรือเจ้าฟ้าเหม็น(พระโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี
และพระธิดาองค์ใหญ่) เป็น กรมขุนกษัตรานุชิต (ถูกประหารชีวิตในสมัย ร. 2 ในข้อหากบฏ)

สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าเกศ (พระโอรสพระพี่นางองค์น้อย)เป็น กรมขุนอิศรานุรักษ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต เป็น กรมหมื่นเทพพลภักดิ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอรุโณทัย เป็น กรมหมื่นศักดิพลเสพ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าปาน ในกรมพระราชวังหลัง เป็น กรมหมื่นนราเทเวศร์
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าบัว ในกรมพระราชวังหลัง เป็น กรมหมื่นนเรศร์โยธี
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าแตง ในกรมพระราชวังหลัง เป็น กรมหมื่นเสนีบริรักษ์
สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็น กรมขุนศรีสุนทร
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอสุนี ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็น กรมหมื่นเสนีเทพ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 16:45

 "เปรียบเทียบกระทบ"   คืออะไรคะ?

อุตส่าห์โพสต์มาตั้งยาว จะให้ดิฉันลบทำไมล่ะคะ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 19:01

ต่อจากค.ห. ข้างบนสุด

ในลำดับชั้น ๒ ในปฐมวงศ์  ก็มีเจ้านายทรงกรมอีกตามนี้
๕) เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์  กรมพระราชวังหลัง
๖) เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศรบดินทร์
๗) เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
ทั้ง ๓ พระองค์เป็นพระโอรสในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี
๘) เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์
๙) เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี
๑๐)เจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์
ทั้ง ๓ พระองค์เป็นพระโอรสในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์

มีพิเศษอีก ๓ องค์คือ
๑๑) กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์  พระสวามีในพระองค์เจ้ากุ  เจ้าครอกวัดโพธิ์
๑๒) กรมขุนสุนทรภูเบศร์  พระสหายร่วมสาบานของกรมพระราชวังบวรฯ  องค์นี้เป็นเจ้านายนอกพระราชวงศ์จักรี
๑๓)เจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต  พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสิน   ประสูติแต่พระราชชายาสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงฉิมใหญ่
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 20:08

 ตอบ ค.ห. 4

เปรียบเทียบกระทบ คือ การเช็คข้อมูลหลายๆแหล่งเปรียบเทียบกัน เช่น ข้อมูลของ ส. พลายน้อย
ต่างจากข้อมูลของ ม.ล. ศรีฟ้าฯ ดังนั้นแหล่งที่ 3 อาจจำเป็น


อุตส่าห์โพสต์มาตั้งยาว จะให้ดิฉันลบทำไมล่ะคะ?
ไม่ประสงค์ให้ข้อมูลของ ค.ห. 2 และ ค.ห. 3 ไปขัดจังหวะการเล่าเรื่องของ ค.ห. 5
เกรงว่าจะผิดคิวแลเกิดเหตุเหมือนกระทู้ "ขุนนาง 2 ร่าง" ค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 20:15

 ถ้างั้นเป็นแค่ข้อมูลเปรียบเทียบเท่านั้นค่ะ ไม่มีกระทบ  

ถ้าคุณ Rinda ไม่มีเจตนาจะเฉลยข้อมูลตัดหน้า  ดิฉันก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอย่างที่คุณว่า
หรือถ้ามี   คุณก็คงทราบว่าจะทำยังไง

ดิฉันไม่ชอบลบค.ห. ใครโดยไม่จำเป็น  
ถ้าคิดว่าส่งมาแล้วจะต้องลบภายหลัง ขอให้ส่งเป็น sms ก็จะสะดวกกว่าค่ะ
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
*
ตอบ: 25


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 พ.ค. 06, 23:14

 ค.ห. 7 ถ้างั้นเป็นแค่ข้อมูลเปรียบเทียบเท่านั้นค่ะ ไม่มีกระทบ

ก๊ากก ขอบพระคุณค่ะ
นานมากแล้ว ที่ดิฉันคาใจกับความหมายอันนี้ นายของดิฉันท่านหนึ่งสั่งให้หาข้อมูลหลายๆแห่ง
แล้วนำมา "กระทบกัน" ซึ่งคำนี้ฟังแล้วแปลไม่ออก แต่ทราบว่าท่านต้องการให้ "cross-check" หรือเปรียบเทียบ
จึงตัดสินใจผสมกันเข้าไป เป็น.... เปรียบเทียบกระทบ น่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 พ.ค. 06, 11:41

 cross-check  =  ข้อมูลเปรียบเทียบกระทบ
crossroad     =  ถนนกระทบกัน
cross-country = ประเทศกระทบ
มันดีนะคะ
ยังดี แค่ "กระทบ"   ถ้านายของคุณบอกให้เอาข้อมูลมา"กระแทก" กัน    ข้อมูลคงบอบช้ำหมด กว่าจะหาความถูกต้องได้
นายคุณคงไม่เคยดู "ลาวกระทบไม้"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 09:38

 ต่อจาก ค.ห.พ.ต. ที่ ๕

พระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯที่ทรงกรมในรัชกาลที่ ๑
๑๔) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร   ทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในตอนปลายรัชกาล
 (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
๑๕)สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง)กรมหลวงศรีสุนทรเทพ
๑๖)สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์  กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒
๑๗)สมเด็จเจ้าฟ้า(หญิง) กรมหลวงเทพยวดี
๑๘)กรมหมื่นเทพพลภักดิ์
๑๙) กรมหมื่นศักดิพลเสพ (ในรัชกาลที่ ๓ ทรงอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ)
พระราชโอรสพระองค์อื่นๆ  นอกจากนี้กว่าจะได้ทรงกรมก็ในรัชกาลที่ ๒ บ้าง และบางองค์ก็ถึงรัชกาลที่ ๓ โน่น
พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง
๒๐) กรมหมื่นนราเทเวศร์
๒๑) กรมหมื่นนเรศร์โยธี
๒๒) กรมหมื่นเสนีบริรักษ์
(เรื่องราวของทั้ง ๓ องค์นี้อยู่ในบทความ จากวัดระฆังถึงศิริราช)

ถึงชั้นพระราชภาคิไนย (หลานลุง)
๒๓)สมเด็จฯ กรมขุนศรีสุนทร (เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)
๒๔)กรมหมื่นเสนีเทพ (พระองค์เจ้าอสุนี ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 10:00

 อาจารย์ครับ กระทู้นี้น่าจะเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงถ้าทำได้ดังประกาศ
"มีเจ้านายทรงกรมกี่พระองค์กันแน่ในแต่ละรัชกาล"

ผมยินดีช่วยตามกำลังที่มี ได้ลองตั้งแนวขึ้นมาก่อนดังนี้ครับ

การสถาปนาครั้งปฐม เมื่อ พ.ศ. 2325
เจ้านายชั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มี 6 พระองค์ (รวมพระเจ้าอยู่หัวเป็น 7)
1 พระอนุชา พระนามเดิม บุญมา (2286-2346) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ในแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี สถาปนาเป็น กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ
2 พระพี่นาง พระนามเดิม สา (2272-2342) สถาปนาเป็น เจ้าฟ้ากรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี "ได้ว่าราชการเปนใหญ่ทั่วไปแทบทุกอย่าง แลว่าการวิเศษในพระคลังเงิน พระคลังทอง แลสิ่งของต่าง ๆ ในพระราชวังชั้นในทั้งสิ้น"(ปฐมวงษ์ ปชพ เจ๋ง มีข้อพิเศษคือ เจ้ากรมเป็นพระยา ส่วน 3 นั้นเจ้ากรมเป็นพระเหมือนธรรมเนียมเดิม
3 พระพี่นาง พระนามเดิม แก้ว (2282-2342) สถาปนาเป็น เจ้าฟ้ากรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ "เรียกกันว่า เจ้าคุณพระตำหนักแดง ได้ทรงราชการทรงกำกับเครื่องใหญ่ในโรงวิเศษต้น  แลการสดึงแลอื่น ๆ  เปนหลายอย่าง"(ปฐมวงษ์ ปชพ เจ๋ง
4 .......

อาจจะต้องเน้นตัวเป็นตัวหนา ตัวเอนด้วย หากเห็นว่าเกินจำเป็นจะได้ปรับแนวครับ
บันทึกการเข้า
ศรีปิงเวียง
องคต
*****
ตอบ: 566

เรียนจบแล้ว


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 10:18

 เรียน อ.เทาชมพู คุณรินดาและคุณพิพัฒน์ ที่เคารพครับ
ผมขออนุญาตตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงต้น(ร.๑)มักจะสถาปนาโดยไม่คำนึงถึงความดีความชอบนัก สถาปนาไปตามพระเกียรติที่พึงมี
นอกจากสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงจักรเจษฎา ที่ได้รับการสถาปนาเพราะทรงอัญเชิญพระอัฐิของสมเด็จพระราชชนกใน ร.๑ จากพิษณุโลกลงมา
และกรมพระราชวังหลัง ที่ ร.๑ ทรงสถาปนาเพราะมีความดีความชอบดังที่กล่าวมาครับ
เมื่อช่วงนั้นยังไม่มีการสถาปนาหม่อมเจ้าขึ้นเป็นพระองค์เจ้าตั้ง ก็ย่อมไม่มีพระองค์เจ้าตั้งต่างกรมครับ
บันทึกการเข้า

ไม่เห็นใครแน่นอน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 10:20

คุณพิพัฒน์คะ   คุณก็คงพอนึกออกว่าพวกอักษรฯมักมีโรคภูมิแพ้ตัวเลข
ทำเป็นลำดับไว้ข้างบนนี้  ในรัชกาลที่ ๑ ทรงกรม ๒๔ องค์
แต่จำแนกเป็นกรมพระยา กรมพระ กรมหลวง กรมขุน กี่พระองค์  ยังทำไม่ถูก
ยิ่งเสริมบทบาทในทำนองพระประวัติย่อด้วย  ก็คงไม่มีเวลาไปตั้งกระทู้ "เจ้าจอมมารดาเพิ่ม"
และเรื่องฆาตกรหญิงโหดให้อ่านกัน

ถ้าจะช่วยสงเคราะห์ทำให้อย่างตัวอย่างข้างบนก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 08 พ.ค. 06, 10:32

 จะลองไปทำดูนะครับ

ต้องไปตามหาจดหมายเหตุตั้งพระบรมวงษานุวงศ์(กรมฯ สมมติ ทรงรวบรวม) กับเรื่องตั้งพระบรมวงศานุวงศ์(กรมฯ ดำรง ทรงเรียบเรียง) อันเป็นบรรพบุรุษของเฉลิมพระยศเจ้านาย (ฉบับมีพระรูป) สอบกับราชสกุลวงษ์(หลายสำนวน) และจดหมายเหตุประถมวงษ์(หลายสำนวน) พระราชพงศาวดารทั้งสี่รัชกาลของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์.......และสยามประเภท(เผื่อเหนียว) อีกฉบับ
นี่ผมฟั่นเฟือนไปหรือไง.....งานนี้เห็นจะถึงชีวิต

อาจารย์ครับ เด็กศิลปะนี่ ก-ฮ ท่องไม่ครบนะครับ ไม่ต้องพูดเรื่องนับเลขเล็ยยย

โรงเรียนนี้โหดสุด สั่งการบ้านตะละที ถึงต้องปิดห้องสมุดห้ามคนนอกใช้บริการ
ยังดี ท่านไม่ให้กำหนดส่งงานมาด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง