เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 40146 อยากทราบความหมายของชื่อ "รลัญรร" ค่ะ
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 20 พ.ค. 09, 19:44

ขอเสนอประสบการณ์เรื่องการตั้งชื่อไว้พิจารณาค่ะ

น้องสาวดิฉันเธอตั้งชื่อลูกของเธอเองค่ะ  ซึ่งไม่ค่อยลงรอยกับคุณตาที่เห่อหลานเหลือเกิน  จะเอาดวงไปผูก  จะหาผู้รู้ตั้งชื่อให้เป็นมงคล  ไม่เป็นกาลกินี  น้องสาวดิฉันไม่ยอมค่ะ  เธอบอกว่าลูกของเธอเองทำไมต้องให้ใครตั้งชือให้ด้วย  แล้วเธอก็ตั้งชื่อง่่าย ๆ ว่า จงดี จงเก่ง และจงจรัส  เธอบอกว่าเป็นพรที่เธอให้กับลูกของเธอทั้ง 3 คน  ปัจจุบันทั้ง 3 คนก็เติบโตดี  สุขภาพแข็งแรง  การเรียนปานกลาง  อุปนิสัย ดีบ้าง ดื้อบ้าง  ในอนาคตคงจะเป็นพลเมืองธรรมดา ๆ  ประกอบสัมมาอาชีพ  ไม่เป็นภาระของใคร ไม่ได้เป็นThe star ไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี  ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี  แค่เป็นลูกหลานของครอบครัว เราก็รัก และเป็นสุขแล้วค่ะ

เป็นอีกมุมหนึ่งของการตั้งชื่อค่ะ

ส่งมาแอ้มด้วยคนค่ะ  ได้แต่เก็บเกี่ยวฝ่ายเดียวอยู่นานแล้ว
บันทึกการเข้า
supermoonpim
อสุรผัด
*
ตอบ: 10



ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 21 พ.ค. 09, 02:59

0  0 ชื่อแปลกจังค่ะ
มารอฟังความหมายนะคะ
บันทึกการเข้า
Vilasinee
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 22 พ.ค. 09, 07:47

อ่านกระทู้นี้ แล้วเหนื่อยจัง
ทำไมก็ไม่รู้ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 29 พ.ค. 09, 16:00

ชื่อ รลัญรร นี่ แปลไม่ได้ ไม่มีความหมาย เป็นการตั้งชื่อที่คนตั้งตั้งใจเอาเพียงความแปลกใหม่ไม่ซ้ำกับชื่อคนอื่น  หรือไม่ก็เอาเพียงเสียงฟังดูไพเราะดี  แต่ไม่มีความหมายตามภาษา  การตั้งชื่อแบบนี้บางทีก็เล่นเอานักภาษาปวดศีรษะมาก  นอกจากนี้  ยังมีการตั้งชื่อโดยเปลี่ยนพยัญชนะของคำให้ไม่เป็นกาลกิณีแก่ผู้ใช้ชื่อนั้น แต่หารู้ไม่ว่า การเปลี่ยนพยัญชนะบางตัว บางทีก็ทำให้ชื่อแปลไม่ได้ หรือมีความหมายเปลี่ยนไปในทางลบ เช่น ณัฐพล แปลว่า กำลังของนักปราชญ์ แต่บางคนใช้ว่า นัฐพล จะแปลว่า กำลังแห่งความฉิบหาย  ฉะนั้นการตั้งชื่อคน ทางที่ดี ควรให้คนที่เขามีความรู้เรื่องการตั้งชื่อตามคัมภีร์ทักษาช่วยตั้งก็จะดีกว่า  หรือไม่ก็ลองตั้งชื่อแล้วไปให้คนที่รู้เรื่องคัมภีร์ทักษาตรวจดูว่ามีความหมายดีหรือไม่ มีอักษรกาลกิณีหรือไม่ และชื่อนั้นมีความหมายทั้งดีหรือไม่ดีหรือไม่  จะได้ไม่ต้องมาเปลี่ยนชื่อกันเมื่อโตๆ แล้ว  เปลี่ยนบ่อยๆ มันวุ่นวาย  อ้อ แล้วชื่อที่ตั้งกัน(ชื่อจริง)ก็ไม่ควรให้อ่านยาก เขียนยาก และไม่ควรให้ยาวเกิน๔-๕ พยางค์ เพราะชื่อคนเรามุ่งประโยชน์มากกว่าเน้นความแปลกพิสดารหรือความสวยงามไพเราะ..
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 01 มิ.ย. 09, 10:41

ตอบคุณความเห็นที่ 45
จากประสบการณ์ที่คุณเล่ามา  อันนี้เป็นความนิยมและความเชื่อถือส่วนบุคคล  ถ้ามองในทางกลับกัน  ถึงแม้คุณตาจะเป็นคนเก่าไปหน่อย  แต่ท่านก็หวังดีกับลูกหลาน  จริงอยู่ว่า  ลูกของเรา  เราจะไปให้คนอื่นตั้งทำไม  แต่การที่เราตั้งชื่อเอง  ถ้าดีก็แล้วไป  แต่ถ้าไม่ดีขึ้นมา  จะแก้ไขในภายหน้า  คนที่เขารู้จักการตั้งชื่อกันจริงๆ  เขาจะไม่ตั้งชื่อที่ไม่สามารถคาดหมายอนาคตของเด็กได้  จะไม่ตั้งชื่อประเภทชื่นชมรูปร่างหน้าตาว่างาม  เพราะเป็นการคาดเดาที่ไม่แน่นอน  และก็จะไม่ตั้งชื่อที่ดูจะชื่นชมคุณสมบัติแบบเลิศลอยเกินคน  เพราะเคยเห็นคนที่ชื่อดี แต่ประพฤติตนไม่ดีก็มาก  เพราะว่าการตั้งชื่อนี้มันสัมพันธ์กับอนาคตของเด็ก  ผู้ใหญ่สมัยก่อนท่านจึงเอาวันเดือนปีเกิดของเด็ก ไปผูกดวงดูว่า อนาคตและนิสัยเด็กคนนี้จะเป็นอย่างไร เลี้ยงยากหรือง่าย  จะเป็นคนดีที่พ่อแม่พึ่งพาได้ไหม  ถ้าดูดวงแล้วว่า อนาคตเด็กคนนี้ท่าจะออกเกเรมาก  เขาก็ตั้งชื่อเด็กให้ไม่แข็งไป  คือ ไม่เอาอักษรวรรคเดชของวันเกิดเด็กขึ้นต้นชื่อ เป็นต้น  กระนั้นถึงเด็กไม่เกเร  แต่ถ้าตั้งชื่อเด็กให้ดูสูงเกินไป  ก็ดูไม่เหมาะเหมือนกัน  คนเก่าแก่เชื่อว่า บางทีถึงกับทำให้เด็กเจ็บไข้ได้ รักษาไม่หายทีเดียว 

เรื่องการตั้งชื่อนี่  เป็นเรื่องความเชื่อถือต่อๆ กันมา ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า จะดีดังที่ความเชื่อนั้นบอกทั้งหมด  บางคนพอมีคนทักว่าชื่อตัวไม่ดี ก็คิดมาก อยากเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนแล้ว ถ้าดีก็ดีไป แต่ถ้าไม่ดีอีก มีคนทักเข้า ก็จะเปลี่ยนอีก  โดยไม่ดูการกระทำที่ผ่านมาของตนเองก่อนว่า ที่ดีกะที่ไม่ดีอย่างไหนมันมากกว่า และที่ไม่ดีเป็นเราใช้ชื่อนี้หรือเปล่า  ฉะนั้น การตั้งชื่อ เปลี่ยนชื่อ เป็นเรื่องความนิยมของคนแต่ละยุคสมัย  ครั้นจะทอดทิ้งเสียไม่ใส่ใจเสีย ก็เป็นเรื่องสมัยนิยม  ที่ต่างกัน  แต่ทางที่ดี หากจะตั้งชื่อใครก็อย่าให้ถึงกับบ้านแตกก็แล้วกัน มันจะไม่เป็นเรื่องดีสำหรับคนที่ได้ชื่อ ของแบบนี้ลางเนื้อชอบลางยา  ว่ากันไม่ได้ดอก
บันทึกการเข้า
pakun2k1d
พาลี
****
ตอบ: 285


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 01 มิ.ย. 09, 16:51

เห็นเช่นเดียวกันกับคุณluanglekค่ะ  เรื่องความเชื่อถือและศรัทธาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่เราต้องเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันค่ะ  ดังนั้นถึงเราจะเชื่อถือไม่ตรงกันเราก็ยังรักกันได้อยู่  เพราะเราเข้าใจว่าต่างปรารถนาดีแก่กัน  และยอมรับได้ว่าบางทีความปรารถนาดีของเราก็อาจจะไม่เหมาะกับเขาก็ได้   
บันทึกการเข้า
เอกตรา
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 29 ก.ค. 09, 03:50

รายการ "ตีสิบ" เคยเชิญผู้ชมทางบ้านส่งชื่อแปลกเข้ามาทางรายการนะคะ
มีน้องคนนึง ยังเป็นทารกอยู่เลย คุณแม่อุ้มมาบอกว่าชื่อ "รรรรรร"
มาจาก "รัก" ของคนในครอบครัว 6 คน คือ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และคุณป้า

ป.ล. เป็นตีสิบช่วงแรกๆ ก่อนจะมีวิวัฒนาการเป็นรายการพ่อมดหมอผีค่ะ
บันทึกการเข้า
khawmao
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 10:55

ความหมายของชื่อ "รรรรรร" อ่านเจอจากนี่ค่ะ

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=79de0cfb0cde4c82

เค้าตอบว่า

เคยมีคนตั้งคำถามแล้ว  และก็เคยตอบไปแล้วนะคะ  ลองเซิร์ชดูน่าจะเจอ

ตอบอีกครั้งก็ได้ 

อ่านว่า ระ - รัน - รอน

ผูกศัพท์  โดยการเอา ร. ธาตุ ในภาษาบาลี   แปลว่าความรัก มาสมาส คือมาต่อเข้าด้วยกัน 6 ตัว

คนตั้งชื่อตั้งใจจะให้หมายถึง ความรักของคน 6 คน  หรือผู้ที่ได้ความรักจากคน 6 คน คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย  ค่ะ

เครดิตจาก คุณ ป๊าป้า
 
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 16 มี.ค. 11, 22:11

     เห็นคุณ Khawmao เปิดประเด็นกระทู้ของคุณ Sunnie ขึ้นมาใหม่ก็คันไม้คันมือตั้งแต่กลางวันแล้วแต่เพิ่งจะสะดวกตอนนี้ (ป่านนี้ตัวเล็ก
ของคุณ Sunnie คงวิ่งได้ตัวปลิวแล้ว)
     ท่าน อ. เทาชมพู และอาจารย์อีกหลายท่านได้แสดงความเห็นไว้อย่างคมคายน่าอ่าน  แต่ถ้าได้อ่าน "ลิลิตทักษาพยากรณ์" ฉบับพระนิพนธ์
ของสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทีเชื่อกันว่าทรงถอดความ (แปล) มาจากพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหา
ธรรมราชาฦๅไทยแห่งกรุงสุโขทัย (หลักศิลาจารึกหลักที่ห้า) แล้ว ผมเชื่อว่าพวกเราคงได้อ่านความคิดเห็นดีๆ จากครูอาจารย์เหล่านี้อีกเป็นแน่
     ผมมีโอกาสได้อ่านลิลิตทักษาพยากรณ์เพียงบางส่วนเท่านั้นก็พอคาดเดาได้ว่าหลักของการตั้งชื่อนั้นมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยแล้ว  ส่วนการ
ตั้งชื่อที่ยึดถือวันเกิดเป็นหลัก (วันในสัปดาห์) ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เพิ่งมีขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ท่านทรงบัญญัติขึ้นเองเช่นเดียวกับที่พระองค์
ท่านทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นใหม่  แต่พระองด์ท่านทรงอัจฉริยภาพทั้งทางด้านโหราศาสตร์และดาราศาสตร์จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน  ดังนั้น
โหราจารย์หลายท่านในปัจจุบัน (ส่วนใหญ่เสียด้วย) จึงยึดหลักทักษาแบบใหม่ทีพระองค์ท่านทรงบัญญัติไว้
     การตั้งชื่อให้ถูกหลักเพื่อความเป็นมงคลสวัสดีแก่ทารกที่เกิดใหม่นั้นไม่ใช่เพียงรู้ว่าเกิดวันใดวันหนึ่งในสัปดาห์แล้วก็ตั้งกันเลยก็หาไม่  จะต้อง
ผูกดวงชะตาขึ้นมาเสียก่อนแล้วพิจารณาตำแหน่งพระเคราะห์ในดวงชะตาว่าอยู่ที่ตำแหน่งใด ให้คุณให้โทษเพียงไหน แล้วจึงกำหนดอักษรเพื่อเสริม
หรือหักล้างพระเคราะห์นั้นๆ เพื่อให้เป็นคุณแก่เจ้าของดวงชะตามากที่สุด 
      ผมอยากจะยกตัวอย่างดวงชะตาของชูชกที่บุรพาจารย์ท่านกำหนดขึ้นเพื่อให้โหราจารย์ได้ศึกษาเป็นแนวทางในวิธีการแก้ไขชื่อที่ให้โทษแก่
เจ้าชะตาให้กลับกลายเป็นคุณ  แต่เป็นภาษาโบราณที่ท่านรจนาไว้เป็นร่ายและยาวมากจึงขอเว้นไว้  แต่อยากบอกว่าการตั้งชื่อทารกเกิดใหม่นั้นอย่า
คิดว่าไม่สำคัญ (ถ้ามีใจโน้มเอียงทางด้านเรื่องเช่นนี้) เช่นเดียวกับการทำบุญบ้าน การโกนจุก การตั้งเสาเอก ฯลฯ  ถ้าท่านมีจิตใจเข้มแข็งก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าท่านเป็นคนเชื่อเรื่องโชคชะตา  ยังผูกพันอยู่กับฝันดีฝันร้าย  ยังเห็นเรื่องโชคลางเป็นสิ่งสำคัญ  ผมว่าทำให้ถูกต้องเสียตั้งแต่ต้นดีกว่า  แต่เรื่องการ
อบรมบ่มนิสัยเด็กตั้งแต่ยังเยาว์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
บันทึกการเข้า
nattoutataki
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 15:59

ชื่อ ก็เอาไว้เรียกตัวใครสักคน ให้มันแตกต่างกับคนอื่น เท่านั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า
tongtham
มัจฉานุ
**
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 20:51

พ่อแม่ต้งชือ่ลูก  ส่วนใหญ่รอบคอบ
บางส่วน  ก็ตามใจตัวเองจนเกิน
นักเขียน  ตั้งชื่อตัวละคร  ยิ่งต้องระวัง
นามปากกาของผม  มีนามสกุลจริงของชาวบ้าน   
ตอนเราตั้งสมัยยังหนุ่ม ๆ ไม่ได้คิดรอบคอบนัก 
ตอนหลังจึงอยากใช่้นามจริงมากกว่านามปากกา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 21:20

ขอเพิ่มเติมว่า ตั้งชื่อนามสกุลตัวละคร ต้องระวังหนักกว่าตั้งชื่อ   เพราะไม่มีทางรู้เลยว่าจะไปซ้ำกับนามสกุลจริงๆของใครเข้า  
บางทีเขียนไปจนจบเรื่องแล้วถึงรู้ว่าไปซ้ำกับนามสกุลพระราชทาน   หรือไปซ้ำกับนามสกุลจริง เจ้าตัวเขียนมาบอก  
ต้องมาเปลี่ยนกันใหม่ทีหลัง
บันทึกการเข้า
nattoutataki
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 15:42

นามสกุลไทยมีเยอะ ต่างคนก็เลยอยากจะยึดเอาเป็นของตัวเอง ไม่ยอมให้มีใครที่ไม่ใช่คนในนามสกุลมาซ้ำ แม้แต่ตัวละครในนิยาย
นามสกุลภาษาฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น มีไม่มากเท่าของไทย ตัวละครก็ใช้นามสกุลแบบสมจริง เอาของจริงมาตั้ง เพราะถือว่านามสกุลเป็นของที่ใช้ร่วมกันหลายคน มีสิทธิ์ใช้เหมือนกัน
ตัวอย่างตัวละครไทยในนิยาย ที่นามสกุลซ้ำจริง ที่คลาสสิกที่สุดท่านหนึ่งคือ
พระยาปัจจนึกพินาศ (นามเดิม อู๊ด ศิริสวัสดิ์)
ในชีวิตผม รู้จักคนนามสกุล ศิริสวัสดิ์ ตัวเป็นๆ มาไม่ต่ำกว่าสามคน ดูท่าทางจะไม่มีปัญหาอะไรที่ใช้นามสกุลร่วมกับเจ้าคุณปัจจนึกฯ
555
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 15:57

สมัยนี้ มีอินทรเนตร ให้ส่องหา ตรวจสอบชื่อ นามสกุล หรือแม้แต่ความหมาย
ก่อนนำมาตั้งเป็นชื่อของตัวละคร นามปากกา หรือแม้แต่ชื่อคนจริงๆ
น่าจะสะดวก และสบายใจ ขึ้นกว่าสมัยก่อนเยอะเลยนะคะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
nattoutataki
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 28 พ.ย. 11, 16:57

ไปได้คำว่า อินทรเนตร มาจากไหนครับ
สมัยก่อนผมเองก็เคยพยายามผลักดันอยู่พักหนึ่ง ว่าน่าจะใช้คำนี้ แทนคำว่า อินเทอร์เน็ต
หรือคุณกับผม จะใจตรงกัน ยิ้มกว้างๆ

มีชื่อภาษาไทยเก๋ๆ ที่ผมไปเห็นเมื่อไม่นานมานี้ เป็นชื่อเด็กประถมหรือมัธยมจำไม่ได้
ชื่อเด็กชาย อินทัช คำนี้ จะบอกว่าเป็นภาษาอังกฤษ (in touch) ก็ได้
หรือจะบอกว่าเป็นภาษาบาลี อินฺท + ช แปลว่า เกิดจากพระอินทร์ ก็ได้
คนตั้งชื่อ ฉลาดครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง