เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 9040 วาจเทวี (vajadevi) แห่งศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 01 พ.ค. 06, 18:33

 เรียนอาจารย์เทาฯ
เรื่องนี้เป็นของขวัญแด่ชาวอักษรฯ ใครรู้ตัวโปรดอ่าน
เสนอไว้เป็นอนุสรณ์แด่พี่แดงอีกชิ้นครับ
---------------------------
เมื่อตอนที่การก่อสร้างศุนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ใกล้จะแล้วเสร็จ
กระทรวงการคลังประสงค์จะสร้างเทพารักษ์ประจำสถานที่
เพื่อเป็นขวัญและมงคลแก่โครงการตามความนิยมแบบพราหมณ์ จักได้ครบถ้วนสมบูรณ์สมกับเป็นสถาปัตยกรรมสถานแห่งรัชกาลที่ 9 จึงมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปเรียนปรึกษาท่านพระครูวามเทพมุนี แห่งเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ท่านพระครูได้กรุณามาสำรวจสถานที่ และเห็นชอบว่าทำเลที่ตั้งริมบึงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่เหมาะสม
แต่การสร้างเพียงศาลเทพารักษ์นั้น เห็นจะต่ำศักดิ์เกินสมควร
ด้วยศูนย์การประชุมฯ เป็นสถานที่สูงศักดิ์ ได้รับพระราชทานพระนาม และสมเด็จพระเทพพระรัตนฯยังเป็นองค์ประธานทรงประจุหินพระฤกษ์

ท่านแนะนำให้สร้างอาคารที่สูงค่ายิ่งขึ้น และได้พิจารณาอย่างแยบคายด้วยว่า อาศัยกิจกรรมอันจักบังเกิดในสถานที่แห่งนี้ภายใต้พระนามอันเป็นมหามงคล
เทพผู้คุ้มครองสมควรเป็นเทวี ทรงพระนามสรัสวดี (สราสวาตี) พระชายาแห่งพรหมเทพ และเป็น วาจเทวี (vajadevi) เทวีแห่งวาจาและการสื่อสารทั้งมวล รวมทั้งเป็นมารดาแห่งสติปัญญาแก่มวลมนุษย์

กระทรวงการคลังมีมติอนุมัติตามคำแนะนำของท่านพระครู และกราบเรียนเชิญท่านเป็นที่ปรึกษา พร้อมทั้งมอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบ จัดหาศิลปินผู้สร้าง และผู้รับเหมา
ท่านพระครูได้กรุณาวางฤกษ์สำคัญให้กับการจัดสร้าง 4 ฤกษ์ คือฤกษ์ที่หนึ่งเมื่อวางศิลาหลัก ฤกษ์ที่สองเมื่อเททอง ฤกษ์ที่สามเมื่อเชิญรูปเข้าสู่แท่นประดิษฐาน และฤกษ์สุดท้ายเมื่อเปิดเทวาลัย

ในการออกแบบนั้น บริษัทที่ปรึกษาได้เริ่มใช้โปรแกรมช่วยในการออกแบบแล้ว และน่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการใช้โปรแกรมนี้ในการออกแบบโครงการสถาปัตยกรรมแบบประเพณีไทย
โดยผู้ออกแบบไม่ยอมลดทอนรายละเอียดทางคตินิยมลงเพื่อแลกกับการทำงานที่ง่ายขึ้น แต่เลือกเอาการทำงานเต็มตลอดเกือบวันละยี่สิบสี่ชั่วโมง เพี่อให้งานแล้วเสร็จตามสัญญา

แผนผังของอาคาร ปรุงขึ้นจากผังอาคารแบบทวารวดีที่พบที่พงตึกและราชบุรี บัวประดับอาคารเลือกใช้เป็นบัวลูกฟัก มีเสาคั่นท้องไม้ และใช้แผนผังย่อมุมแบบย่อมุมจตุรัสใหญ่ เพื่อพยายามใช้เลขสี่ให้กลายเป็นมาตราหลักของกระสวนแบบ
ทางขึ้นวางอัฒจรรย์ปีกกา หรือที่เรียกกัน หินวงพระจันทร์ (moon stone) สองระดับคือที่พื้นโลก และที่พื้นเทวาลัย

สิ่งพิเศษในการสร้างคือ ตามคำแนะนำของท่านพระครู ควรใช้วัสดุศักดิ์สูงในการก่อสร้าง ไม้ถูกละทิ้งในทันที เพราะศักดิ์ต่ำ ผู้ออกแบบเลือกใช้หินอ่อนดำตรงส่วนฐานอาคาร เครื่องประกอบทั้งหมด งดเว้นการปั้นปูนซึ่งถือว่าเป็นวัสดุสามัญ
การจำหลักหินเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกพิจารณา แม้ว่าในเชิงเทคนิคจะสามารถควบคุมเวลาได้ เพราะสามารถแยกชิ้นงานออกสู่หลายช่างฝีมือ แต่การควบคุมฝีมือช่างเป็นสิ่งที่ยากลำบาก
ในที่สุดก็ตกลงใช้เทคนิคที่ยุ่งยากมากที่สุด คือการหล่อโลหะขึ้นทั้งองค์ นับว่าเป็นเทวาลัยกลางแจ้งองค์แรกที่เลือกสร้างด้วยวิธีเช่นนี้ ตอนบรรจบขององค์เทวาลัยกับฐานหินอ่อนนั้น จงใจใช้ลายบัวรวน เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ขาดออกจากกัน เสมือนองค์สถาปัตยกรรมลอยอยู่เหนือฐาน

รุปลักษณ์ของพระนางสราสวาตี อาศัยงานวิจัยของ Stella Kramrich เป็นต้นแบบ ปรับเปลี่ยนให้มีลักษณะไทยมากขึ้นโดยใช้รายละเอียดของศิลปะศรีวิชัยเข้าไปเสริม
-------------------------------
(ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 21:28

 คุณพิพัฒน์คงกำลังพิมพ์อยู่
มีรูปของพระสรัสวดี ของอ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต มาฝากค่ะ
สวยจับตาจับใจ
ได้มาจากเว็บนี้  สวยดี เลยขอแนะนำด้วย
 http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=banwangrung&group=18

สงสัยอย่างเดียว Vajadevi พิมพ์ผิดหรือเปล่า หรือดิฉันเข้าใจผิดเอง
เพราะ j ซึ่งเป็นอักษรโรมัน  เวลาถอดเป็นไทย ตรงกับ ช  ไม่ใช่ จ
จ ตรงกับ c
vajadevi ก็น่าจะเป็นวชเทวี  ไม่ใช่วาจาเทวี  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 22:38


.
นักวรรณกรรมถามนักเวรกรรม จะไปเหลืออะไรครับ

ผมใช้แบบชาวบ้านน่ะครับ ใช้แบบนี้ ทางอินเดียก็อนุโลม
หาไม่ต้องเขียน Vachdevi หรือเป๊ะๆเลยก็ Vacdevi {vAc devI}
ซึ่งจะเหลืออาจารย์เทากับพวกแก่งั่กกกก ไม่กี่ท่านรู้จัก
ผมยังละอ่อน เลยเพี้ยนไปหน่อย กิ๊ก กิ๊ก กิ๊ก
รูปบน มาจากขชุรโห
รูปล่างมาจากสารนาถ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 22:40


.
องค์นี้งามนักหนาแก่กม
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 22:46


องค์นี้ครับสารนาถ องค์บนฝีมือ Jagadeva, India (Gujarat), active circa 1130-70 (website LACMA)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 22:47


Agradigun ศตวรรษที่ 10 (คศ.)
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 22:49

 ลงรูปเปรียบเทียบก็เพราะจะแซวพี่จักร ว่าแกลืมมงกุฏเทวีน่ะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 07:19

 แน่ใจหรือคุณพิพัฒน์  ว่าที่เพี้ยนเพราะยังละอ่อน  
ไม่ใช่แก่เฒ่าจนหลงลืมนะค้า
ส่วนดิฉันยังจำแม่นค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 10:47

 ขออนุญาตเข้ามานั่งอ่านด้วยคนนะครับ
ชอบรูปแกะสลักในความเห็นที่ 3 ของคุณpipat มาก


ปล. เห็นภาพพระสรัสวดีทีไร ผมนึกกระทู้ที่สมาชิกอีกท่านมาเปิดไว้ด้วยความเข้าใจผิดเรื่องสัญลักษณ์คณะอักษรศาสตร์ทุกที อิอิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 12:36

 รูปนั้น มีคำอธิบายจาก Los Angeles County Museum of Art
ว่า เทวประติมานี้ Anna Bing Arnold มอบเป็นของกำนัล
เป็นศิลปะชิน หรือเชน คู่แข่งศากยพุทธ

Sarasvati, goddess of music and learning, was carved in 1153. The four-armed goddess holds stylized lotuses (symbols of purity) in both upper hands; one lower hand, now broken, would have held a manuscript, the other was probably lowered in the wish-granting gesture.

The inscription on its pedestal notes that when the original image, created one hundred years earlier, suffered irreparable damage, an officer named Parashurama commissioned a sculptor named Jagadeva to create this replacement. Since few artists from ancient India are known by name, this image serves as a valuable document.

เขียนเรื่องนี้ ต้องการกำนัลชาวเทวาลัยเป็นพิเศษ ค่าที่เป็นเสมือนสัทธิวิหาริกะแห่งพระนาง เพียงหนึ่งเดียวในสยามประเทศ
ผมขำตกเก้าอี้เลยในกระทู้นั้น อยู่ดีๆอาจารย์เทาฯกลายเป็นศิษย์นาฏตะราชาแห่งเขาไกรลาศไปเสียนี่ ใครหนอช่างอำกันโหดถึงเพียงนี้ นึกดูว่าสาวเจ้าแห่งภูมิปัญญาสลัดคัมภีร์ออกมาแดนส์กระจาย ก๊ากกก ก๊ากกก

แต่ที่ไม่ขำเห็นจะเป็นพรหมเทพมังครับ
--------------------------
เพื่อให้เข้าประเด็น เอารูปนี้เลย ปางร่ายรำ อยู่ในยุคศักติเฟื่องฟูแล้ว Anantapur District, Andhra Pradesh. About 10th Century  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 12:38


.
ต่อด้วยของใหม่ ดูสีมือช่างอินเดียปัจจุบันบ้าง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 14:52

 ฤกษ์ที่ท่านพระครูให้มานั้น เข้าใจว่าท่านจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะการทำงานราบรื่นผิดวิสัยงานช่างขนาดใหญ่ทั่วไป แต่เมื่อมีอุปสรรคก็ร้ายแรงเกือบคร่าชีวิตทีเดียว

ในวันที่เชิญรูปมาจากโรงหล่อในหมู่บ้านเศรษฐกิจ ฤกษ์ประดิษฐานตรงกับบ่ายสองโมง ของวันทำงานวันหนึ่ง ในสมัยนั้น เรื่องรถติดเป็นปัญหาสาหัสชนิดที่หาผู้รับรองอะไรไม่ได้ กระทรวงการคลังประสานงานขอรถนำจากตำรวจเป้นกรณีพิเศษ เพราะคาดเอาว่า อาจจะช่วยให้เดินทางได้คล่องตัวขึ้น แต่เป็นการคาดการณ์ที่หาความไกล้เคียงกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริงไม่ได้เลย รถติดตั้งแต่ออกจากศูนย์ประชุมฯ และหากไม่มีการปิดถนน รถอะไรอะไรก็มีสิทธิ์คลานไปบนผิวจลาจลในอัตราเร็วเดียวกัน
รถตำรวจทำเวลาชั่วโมงเศษจึงถึงเทวรูป นั่นก็เหลือเวลาอีกเพียงไม่ถึงชั่วโมง ในการเอาชนะเวลามาให้ทันฤกษ์ประดิษฐาน มิหนำซ้ำ ฝนยังตกไล่ตามมาตั้งแต่ออกจากหมู่บ้าน

ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ล้วนกระวนกระวาย สำหรับคนที่ทำงานในสายวิชานี้ การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องเยาวมาลย์อนุบาลชั้นต้น เมื่อเทียบกับการรักษาฤกษ์

ฝนตกหนักที่บริเวณก่อสร้างอย่างที่เรียกว่าฟ้ารั่ว ช่างคนหนึ่งออกไปซื้อตะปูเกลียวที่ตลาดคลองเตย ห่างออกไปเพียงสาม-สี่ร้อยเมตร ติดฝนอยู่ใต้ชายคาร้านค้า ขยับไปใหนไม่ได้ เพราะทุกอย่างเป็นสีเทา ทั้งลมทั้งฝนและทั้งลื่น

แต่ที่องค์เทวาลัย ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ตำรวจรายงานผ่านว. เข้ามาว่า ทั่วบริเวณสุขุมวิทย์ พระรามสี่และคลองเตยฝนตกอย่างหนัก ตำรวจที่เทวาลัยรายงานกลับไปว่า ที่นี่แห้งสนิทท้องฟ้าแจ่มใส

แต่ไม่มีใครแจ่มใสแข่งกับท้องฟ้า อีกสิบนาทีจะถึงฤกษ์ยกองค์พระ หรือว่างานที่ตั้งใจทำ จะต้องมาด่างพร้อยเพราะเรื่องจราจรของกรุงเทพ

แล้วก็มีว. เข้ามาอีกครั้ง
รถเชิญเทวรูปกำลังเลี้ยวเข้ามาสู่ศูนย์การประชุม พร้อมๆ กับช่างที่ติดฝน เดินเข้ามาถึง เขาเป็นนายงานยกองค์พระเข้าสู่แท่น

จากนั้น ทุกอย่างก็ดำเนินไปเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ ขาหยั่งเหล็กและแม่แรงยก พร้อมมาตั้งแต่เช้า การปิดทองงานโลหะเสร็จสมบูรณ์มาหลายวัน ผ้าคลุมทั้งหมดถูกรื้อเก็บ เปิดให้เห็นเทวาลัยทั้งองค์ แวววาวเหลืองอร่าม

การเชิญรูปสำเร็จเหมือนวิคเณศวรมากำกับ ง่ายเหมือนยกแจกันเข้าสู่ที่วาง

ทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ในเวลาฤกษ์ของท่านพระครูวามเทพมุนี ตรงจุดเชื่อมต่อสู่บึงน้ำใหญ่ เพื่อให้คล้องกับสมัญญาเทวีแห่งสราสวาตี แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์

นายตำรวจเจ้าของท้องที่ท่านหนึ่ง เอ่ยปากอย่างประหลาดใจ เมื่อทราบว่าพระนางคือชายาพรหมเทพ

พระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ ตั้งอยู่สุดเขตการปกครองด้านเหนือของสน.
เทวาลัยพระนางสราสวาติตั้งอยู่สุดเขตด้านล่างของสน.เช่นกัน
-------------
รูปคราวนี้มาจากธิเบตครับ
ให้อาจารย์เทาอ่านแก้ป่วยใจ ขอให้หายเร็วๆ
ผมยังมีเรื่องพระอินทร์รอเล่าอยู่อีกนะครับ  
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 15:58

 ลงชื่อ รอฟัง Lecture ต่อครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 18:07

 ขอแอบฟังอยู่แถวหลังเหมือนเดิมครับ
ปล. ผมขอใช้สิทธิ์พาดพิงครับท่านประธาน อ.เทาฯ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 19:22

 ขอข้ามมาสู่เรื่องปลีกย่อยอีกเล็กน้อย
เทวาลัยสถานนี้ จะว่าเล็ก ก็ไม่เล็ก จะว่าใหญ่ก็ไม่อาจกล่าวเช่นนั้น แต่ผู้ออกแบบได้วางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าอาจจะมีผู้ศรัทธานับถือเทวาลัยประจำศูนย์การประชุมอันทรงเกียรติแห่งนี้ มากพอสมควร

แต่ลิขิตมนุษย์หรือจะเทียมเทวบัญชา มาดูกัน

ในปีแรกของการเปิดใช้ศูนย์การประชุม (หลังยกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ในสถานที่นี้ แก่ผู้จัดประชุม WB/IMF ครอบครองอยู่สองสัปดาห์) งานใหญ่ชิ้นที่หนึ่ง เป็นงานที่น่าเกลียดน่าชังในความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้อง
มีการสร้างมังกรตัวมหึมาอยู่ตรงหน้างานจำหลักไม้ พระราชพิธีอินทราภิเศก เป็นมังกือปนกิ้งก่ากระป๋องตามคตินิยมร้อยพ่อพันแม่ของเจ๊กฮ่องกงตนหนึ่ง เพื่อบอกขายศูนย์การค้าหรูเริ่ดริมสวนเบญจสิริ
การค้าครั้งนี้สัมฤทธิ์ผลสมดังจำนงมุ่งหมาย คือขายเกลี้ยงในพริบตา

ลือกันว่า หลังจากนั้น เช้าตรู่วันหนึ่ง มีรถเก๋งหรูอลังการณ์แล่นมาเทียบหน้าเทวาลัย เครื่องบูชาทั้งสด คาว หวาน ลำเลียงกันลงมาเต็มลานบูชาด้านหน้า ไม่มีใครรู้สาเหตุผลักดันในกิจกรรมครั้งนี้ แลเธอผู้นั้นก็มิได้เอ่ยอธิบายความแก่ผู้ใดแม้จนบัดนี้

หลังจากนั้น การเคารพนับถือก็แพร่ไปอย่างเงียบๆ ทั้งในหมู่พนักงานของบริษัท และในหมู่ผู้มาประกอบกิจการในศูนย์ฯ ยังความเดือดร้อนแก่บริษัทผู้รับผิดชอบศูนย์การประชุมเป็นอย่างยิ่ง
เพราะเนื้อที่น้อยนิดอันเป็นที่ตั้งของเทวาลัย มิได้รวมอยู่ในสัญญาสัมปทานการบริหารศูนย์ฯ
แต่จะไม่ดูแลก็ไม่ได้ เพราะตั้งตำตาเป็นมหาเทพารักษ์ประจำอาณาบริเวณ
ยิ่งกว่านั้น การเข้ามาเคารพบูชาของประชาชน ก็ไม่อยู่ในความควบคุมดูแลของใครทั้งสิ้น

ใครใคร่ไหว้ ไหว้ ใครใคร่บูชา บูชา

------------------------
ผมไม่รู้จะจบตอนนี้ยังไง เพราะไม่ใช่คนใน ทั้งในกระทรวง ในโรงงานยาสูบ หรือในบริษัทเอ็นซีซีฯ
ขอทิ้งห้วนๆไปก่อนนะครับ
ท่านผู้ใดมีประสบการณ์กับวาจเทวีองค์นี้ เชิญประเลงได้เลย
ตอนนี้ จะพยายามไปหารูปมาอวด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง