เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 20682 แทนคำขอบคุณ บทความให้ download เรื่อง "ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ตามลำดับขั้นของกฎมณเฑียรบาล
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 21:49


ภาพหลุดอีกแล้วครับ ขอโทษด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 21:52


ของแถมเล็กน้อยครับ

ตัวนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mahodolia mystacina ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครับ



ถ้าว่ากันตามการอ่านชื่อวิทยาศาสตร์ ปลาตัวนี้ก็ชื่อ mystacina อยู่ในสกุล "มหิดล" ล่ะครับ อิอิ





ปล. ภาพจากสารานุกรมสำหรับเยาวชนไทยเล่ม 2 ครับ
 http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK2/chapter1/t2-1-l4.htm  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 21:54

 ดิฉันคิดว่ากรรมการบัญญัติศัพท์ก็คงอธิบายทำนองเดียวกับคุณติบอ ว่าถูกต้องแล้ว    แต่ประโยคหลังของคุณ ดิฉันไม่แน่ใจว่าคุณหมายถึงอะไร

พระนามนี้   นานหลายปีมาแล้ว พสกนิกรชาวไทยหมายถึงพระองค์ท่าน ก่อนจะทรงเป็นสมเด็จพระเทพฯ อย่างในปัจจุบันนี้

กรรมการฯก็คงอธิบายว่า  ชื่อคนไม่มีนิยามในพจนานุกรม  สมมุติว่ามีชื่อ Queen Elizabeth ก็คงจะมีนิยามในพจนานุกรมว่าเป็นชื่อเรือลำหนึ่ง เท่านั้น

เพียงแต่อ่านแล้วมันตะขิดตะขวงใจเท่านั้นเองละค่ะ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 23:10

 หมายความว่าเท่าที่ผมเข้าใจคือ

ชื่อของนก "เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" เป็นวิสามานยนาม เหมือน ปลาตะเพียน นกพิราบ นกกางเขน

แต่พระนาม เจ้าฟ้าหญิงสิรินธรของสมเด็จพระเทพ เป็นการรวมพระอิสริยยศเจ้าฟ้าหญิง กับพระนามสิรินธรเข้าด้วยกันครับ




ปล. ขอคำชี้แนะจากสมาชิกวิชาการด้วยครับ
ผมมีปัญหาเรื่องการสื่อความหมายผ่านการเขียนอยู่เสมอๆครับ ไม่ทราบว่าจะแก้ปัญหาตัวเองยังไง
อ่านทวนหลายๆรอบก็แล้ว แต่ก็ยังเลิกเขียนหนังสือให้ดูสับสนไม่ได้ซะที กลุ้มใจครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 23:26

 ระหว่างรอจำเลยคืออาจารย์สมศักดิ์ มาแก้ต่าง เรามาเล่นพจนานุกรมกันไปพลางก็ไม่น่าจะเสียหาย
ผมเห็นท่านกรรมการ"ชำระ" เอกสารนี้มาตั้งแต่ก่อนผมเกิด จะหกสิบปีแล้วยังชำระไม่เสร็จ

ผมเรียนตามตรงว่า ผมรู้สึกอายเวลาใช้พจนานุกรม เพราะไม่เคยใช้ถูกเลย (ถูกใจน่ะครับ) อยากขีดทิ้งร่วมครึ่งเล่ม

เคยสอนสุนทรีย์ศาสตร์ เราก้อชาตินิยม เรื่มก่อร่างสร้างตัวด้วยศัพท์ไทยเลย หงายหลัง ตกเก้าอี้หัวทิ่มอาจมของราชบัณฑิต
ท่านเก็บคำไว้ว่า งาม ดังนี้
งาม น. งามแงะ........

ในทางสติปัญญาแล้ว เราคงไม่ต้องจาระนัยนะครับว่า พจนานุกรม นี่สำคัญกับเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเราแค่ใหน

ลองไปอ่านเบื้องหลังในจดหมายของเจ้าคุณอนุมานฯ ดูเถิด ผมว่ามันสยดสยองยังไงชอบกล

อย่างเช่น กาญจนาคพันธุ์ นึกอย่างไรก้อม่ายรู้ เอ่ยปากออกมาว่า คำว่า เข้า(กับเข้ากับปลา) กับคำว่าเข้า(ตามตรอกออกตามประตู) น่าจะทำให้ต่างกัน
แคนี้แหละครับ คำพังเพย "แก่เพราะกินเข้า เฒ่าเพราะอยู่นาน"
และ"เด็กเจ็ดเข้า เฒ่าเจ็ดสิบ"(อย่าไปเชื่อ)
ก้อบ๊ายบาย ถึงแก่กาลกิริยา อสัญกรรมตายโหงเลยครับท่าน

สมมติว่าจะใช้ให้ถูกหลักของท่านเจ้าคุณ มิต้องใช้ว่าแก่เพราะกินข้าวววว ฒ่าววววเพราะอยู่นาน กระมัง

เรื่องนี้ถ้าจะถกกัน เห็นจะยาวกว่าเรื่องของอาจารย์สมศักดิ์หลายชั่วอายุ และต้องคุยกันในห้องเย็น
มันเดือดครับ
.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 01 พ.ค. 06, 23:50

 เปน คำนี้เสียงไพเราะมาก ท่านจับมาขึงพืด กลายเปน เป็น

วิธีประวิสรรชะนี(แกล้งเขียนมันอย่างงี้แหละ อยากกวน) ของท่าน สรุปง่ายๆก็คืออยากปะ ก็ปะ ไม่อยากปะ ก็ไม่ปะ

ท่านเคย"รับประทาน"คนช่างติ ว่า พจนานุกรมที่สมบูรณ์เล่มคงหนาจนพิมพ์ไม่ไหว

ผมเห็นพจนานุกรมออกสเฝิร์ด ฉบับสมบูรณ์ เกินหนาไปไม่รู้เท่าใหร่ ต้องเก็บใส่หนึ่งตู้ใหญ่ๆ กี่เล่มจำไม่ได้แล้ว ดูเหมือนเกินยี่สิบ แล้วเขาก็มีเล่มใหญ่ยักษ์ ใหญ่มาก ใหญ่โต ใหญ่ กลาง เล็ก จิ๋ว จนถึงเพื่อเด็ก ไม่เห็นเขามานั่งแก้ตัวเลย

ท่านผู้ใดเคยใช้พจนานุกรมสัมผัสสระบ้าง
เคยใช้พจนานุกรมสังสกฤตของ ...ตายจริงผมลืมชื่อท่านไปแล้ว นิยม รักไทย ท่านขุน.... หรือไงนี่แหละครับ ขออภัยจริงๆ
หรือดิคของ ส. เศรษฐบุตร (แบบห้าเล่มปกแข็งนะครับ)

ท่านเหล่านี้ไม่ได้กินภาษีของใครเลี้ยงชีพเลย ทำเพราะเป็นประทีปแห่งดวงจิตโดยแท้

เฮ้อ พูดถึงท่านเหล่านี้แล้วค่อยสงบสติอารมณ์ได้บ้าง
.
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 07:46

 เรื่องคำว่า "เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" นั้นถ้าพูดตามหลักการทำพจนานุกรมผมว่าไม่ผิดหรอกครับ เพียงแต่เป็นประเด็นยกมาให้กล่าวถึงได้เท่านั้นเอง

เคยมีปาฐกถาเกี่ยวกับภาษาไทย ที่บรรยายหน้าที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาฐกท่านหนึ่งได้ยกคำว่า "เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" คำนี้มาบรรยาย เป็นที่ขำขันกันมาก เจ้านายเองก็ทรงพระสรวล

ปาฐกท่านนั้นกล่าวติดตลกเป็นการปิดท้ายการบรรยายในส่วนของท่านว่า พระราชอาญามิพ้นเกล้าฯ ขอพระราชทานกราบบังคมทูลฟ้องว่าพจนานุกรมได้หมิ่นพระเดชานุภาพในใต้ฝ่าละอองพระบาท

จากนั้น ท่านก็อ่านคำนิยามติดกันเป็นพรืดว่า

"เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร" หมายถึง นกนางแอ่นชนิดPseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้น พบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.

เรียกเสียงหัวเราะและปรบมือได้อยู่นานทีเดียว

....ยังมีสัตว์น้ำอีกชนิดหนึ่งที่ผมเห็นแล้วก็ตะขิดตะขวงใจ คือ "ปูราชินี" (พบได้แถวทองผาภูมิ กาญจนบุรี ตัวเป็นสีแดงขาวน้ำเงิน แบบแถบริ้วธงชาติเลยครับ) วันที่ผมไปทัศนาจรนั้น มีป้ายอยู่ป้ายหนึ่งติดอยู่ที่พื้น เขียนว่า "ระวังเหยียบปูราชินี"

อันตรายเหลือเกิน หากมีใบไม้สักใบตกลงมาปิดคำบางคำ ความหมายจะเปลี่ยนไปมากเพียงไร
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 10:53

 ยกมาให้ชมกันนิดหน่อยครับ

ที่จริงลักษณะของเมืองร้อนแบบประเทศไทยถือเป็นแหล่งมีสิ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
ผู้ค้นพบก็ค้นพบใหม่อยู่เรื่อยๆ แล้วก็ตั้งชื่อกันไปเรื่อยๆ ตามแต่ใครจะตั้ง
แต่หลายปีมานี้ผมเห็นของใหม่ๆ พบใหม่ทีไร ขอพระราชทานฯ ซะทุกที
ตอนนี้เมืองไทยก็เลยมีปูอีกหลายชนิด ที่ขอพระราชทานพระนามในพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งชื่อนะครับ


เริ่มจากตัวนี้ก่อนเลยครับ

"ปูเจ้าพ่อหลวง"
ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ ( Potamon bhumibol )
ชื่อสามัญ คือ Mountain giant crab (เพราะเป็ปูภูเขาที่มีขนาดโตที่สุดในประเทศไทย)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตในการนำพระปรมาภืไธย มาใช้เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 6 รอบ ครับ



ภาพปูเจ้าพ่อหลวงนะครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:05


คราวนี้มาถึงปูราชินีของคุณUP นะครับ


ปูราชินี
ชื่อวิทยาศาสตร์ ( DEMANIETTA SIRIKIT )
ชื่อสามัญยังไม่มีครับ เข้าใจว่าเพราะค้นพบใหม่ได้ไม่นาน และชาวบ้านไม่ค่อยได้เข้าไปยุ่งกับแถบเขตอาศัยของปูพวกนี้มากนัก
เจ้าตัวนี้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี จากริมลำธาร ในหมู่บ้านน้ำโจน อำเภอไทรโยค ครับ
นายสุรพล ดวงแข นักศึกษาปริญญาโท ม.มหิดล จั้งชื่อเฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:06


ว่ากันว่าปูราชินีจัดเป็นปูที่สวยที่สุดในโลกก็ว่าได้นะครับ
เพราะมีถึง 3 สี คือ ม่วง แดง และขาว
แต่บางฤดูขาปูก็จะเปลี่ยนเป็นสีขาวก็มีครับ (ผมไม่แน่ใจว่าช่วงลอกคราบใหม่หรือเปล่านะครับ)
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:18

 เรื่องความสูงต่ำในการออกนามผู้ใหญ่อย่างตรงๆ ในวัฒนธรรมไทยนั้น ทำให้นึกไปถึง "วัดมกุฏกษัตริยาราม" ที่คนโบราณเรียกว่า "วัดพระนามบัญญัติ" จนสิ้นรัชกาลที่ ๔ จึงกล้าเรียกวัดมกุฏฯ

ธรรมเนียมนี้ผมยังพอได้ยินอยู่บ้างในปัจจุบันนะครับ เชื่อหรือไม่? ผมเคยได้ยินผู้ใหญ่ในพระราชสำนักบางท่าน เรียกศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า "ศูนย์พระนาม" ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:25


.



ตัวถัดมาครับ "ปูเจ้าฟ้า"
เจ้าตัวนี้เป็นตัวที่ผมชอบที่สุดครับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ของเขาคือ Phricotelphusa sirindhorn
ส่วนชื่อสามัญ เนื่องจากมีสีดำขาว แถมตาเป็นวงสีดำอีกตะหาก เลยเรียกว่า Panda Crab

ปูตัวนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลขอ พระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธย จากสมเด็จพระเทพฯ มาเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของปู เนื่องในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์สถานธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปูชนิดนี้ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่วนอุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:29


.



คราวนี้มาเป็นคู่ครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:47


ตัวถัดมาครับ ปูทูลกระหม่อม



ตัวนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ Thaipotamon chulabhorn
ชื่อสามัญภาษาไทยคือ "ปูแป้ง" ภาษาอังกฤษคือ Mealy Crab
ชื่อที่ตั้งได้ขอพระราชทานพระอนุญาตเชิญพระนามเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์มาตั้ง ในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ

สถาที่พบคือ ป่าดูนลำพัน อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคามครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 พ.ค. 06, 11:48


.
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง