เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 45214 เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ของไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 10:05

 เล่ากันไปเล่ากันมาในกระทู้นี้   ความรู้มากมายดังคลื่นในมหาสมุทร  แหวกหาพระอินทร์ไม่เจอ
ต้องมาตั้งต้นใหม่บนฝั่ง

คุณพิพัฒน์เริ่มด้วย สมบัติอมรินทร์คำกลอน    เรื่องนี้ดูเหมือนจะเจ้าพระยาพระคลัง(หน) แต่งไว้ แต่ว่าเคยอ่านหนเดียวเลยจำไม่ได้แม่น     ทั้งผู้แต่งและเนื้อเรื่อง
จำได้แต่ว่าชื่อเรื่องกลายมาเป็นชื่อนิยายแปล Treasures of Heaven ของ Marie Corelli  คุณหลวงท่านหนึ่งแปลไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๖
วรรณคดีเรื่องอื่นๆที่มีพระอินทร์เป็นตัวเอก  ยังนึกไม่ออก
แต่ถ้ามีบทบาทแต่ไม่ใช่ตัวเอก ละก็เยอะมาก

พระอินทร์ในวรรณคดีไทย  มีบทบาทแบบพระอินทร์ในพุทธศาสนา  คือเป็นฝ่ายดีประกอบกุศลธรรมด้วยการช่วยฝ่ายพระเอกนางเอก
อย่างสังข์ทองไม่ยอมถอดรูปเงาะ  จนแล้วจนรอด    นางรจนาก็เลยตกยากอยู่ในกระท่อมไม่ได้กลับวัง  ท้าวสามลก็เข้าใจผิดไม่รู้จบ  ตัวละครทุกตัวติดแหง็กอยู่ในปมปัญหา
พระอินทร์ก็มาคลี่คลาย

มาจะกล่าวบทไป.............ถึงท้าวสหัสนัยน์ไตรตรึงษา
ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา.......กระด้างดังศิลาประหลาดใจ
จะมีเหตุมั่นแม่นในแดนดิน............อมรินทร์ยิ่งคิดสงสัย
จึงสอดส่องทิพเนตรดูเหตุภัย........ก็แจ้งใจในนางรจนา
ถ้าแม้มิไปช่วยจะม้วยมอด............ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า

พระอินทร์ลงมาท้าตีคลี    หกเขยแพ้ ท้าวสามลต้องให้นางมณฑาบากหน้าไปขอเจ้าเงาะเขยเล็กที่สุดชัง
เจ้าเงาะยอมถอดรูป   ตีคลีชนะ  เรื่องก็จบแฮปปี้เอนดิ้ง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 10:58

 ไม่เอาครับ อยากได้อย่างพระอินทร์เป็นพระเอกเดี่ยวๆ ทำยังกับอินทราของผมเป็นประจวบ ฤกษ์ยามดี ทั้งชีวิตเป็นพระรองอย่างเดียว เคยเป็นพระเอกเพียงหนึ่งเรื่อง

อนุโลมให้เลยออกมาจากวงวรรณคดีก็ได้ครับ
ประเภทตำนานมาฆมานพก็ยังพอไหว

อันนี้บอกบุญไปยังทุกท่านครับ
หาพระอินทร์ให้หน่อย

เอ นี่มันประเด็นทำเอกได้สองเรื่องเลยนี่หว่า อาจารย์เทาฯ สนใจอีกใบใหมครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 15:28

 คุณพิพัฒน์จำประจวบ ฤกษ์ยามดีได้ด้วย    อุแม่เจ้า!  ดิฉันนึกว่าคุณเกิดไม่ทันเขาเสียอีก
ถ้าไม่ใช่วรรณคดี ก็ไม่รู้หรอกว่าพระอินทร์เป็นพระเอกอยู่ในไหนบ้าง    ตำนานมาฆมานพ น่าจะอยู่ในพระไตรปิฎก

มีอีกเรื่อง  พระอินทร์เป็นพระเอกอกหัก  เมื่อยักษ์ชื่อท้าวกรุงพาลลอบเข้าไปตีท้ายครัว  
สุนทรภู่เล่าไว้ในนิราศพระบาท

ครั้นอิเหนาสุริย์วงศ์อันทรงกริช
พระทรงฤทธิ์แรมร้างจินตะหรา
พระสุธนร้างห่างมโนห์รา
พระรามร้างแรมสีดาพระทัยตรอม
องค์พระเพชรปาณีท้าวตรีเนตร
เสียพระเวทผูกทวารกรุงพาลถนอม
สุจิตราลาตายไม่วายตรอม
ล้วนเจิมจอมธรณีทั้งสี่องค์
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 19:38

 ขอยกมือถามคุณศศิศว่า ถ้าเป็นไปตามตำนานล้านนาฉบับนั้น ก็แปลว่าต้องรอถึง พ.ศ. 5000 คืออีก ราว 2500 ปีข้างหน้า พระอิศวรจึงจะเนรมิตสร้างวัดในพระพุทธศาสนาหรือครับ? แม้ว่าตอนนี้จะยอมนับถือพระพุทธเจ้าอยู่แล้วก็ตาม แต่ผมสงสัยว่า ตามความเชื่ออีกกระแสหนึ่ง พุทธกาลจะมีไปได้ถึง 5000 ปีเท่านั้นนี่ครับ แปลว่ากว่าพระอิศวรจะนึกศรัทธาพอจะสร้างวัดก็ถึงเวลาศาสนาพระพุทธเจ้าพระองค์นี้กำลังจะสิ้นยุคพอดี

สงสัยอีกคำครับ ผู้เป็นใหญ่แก่วอกทั้งหลาย แปลว่าเป็นเทพบุตรพญาลิงรึเปล่า?

ขอสู่มาเต๊อะเจ้า ขอบใจจ้าดนักครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 03 พ.ค. 06, 19:45

 ผมชอบอยู่สองคนเองแหละครับ คนอื่นนั้นออกจะแหยงๆ
คือคุณประจวบกับคุณพิศมัย สองท่านนี้เป็นดาราไทยจำนวนน้อยที่เล่นหนังด้วย "สายตา" คนอื่นๆนี่เล่นโขนหมด คือหน้าตาย แต่ตัวกระดิก
บันทึกการเข้า
ศศิศ
พาลี
****
ตอบ: 326


อหังการ์ ล้านนาประเทศ


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 05 พ.ค. 06, 23:33

 ก่อนอื่นก็ขอตอบคุณ นิลกังขาก่อนนะครบผม

ที่ว่า

"เมื่อพระพุทธเจ้าตั้งศาสนาไว้ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ปรไมสวรมีใจศรัทธา จึงเนรมิตอาวาสปราสาทอันประดับประดาด้วยแก้ว ๗ ประการ ภายในปราสาทนั้นประดับด้วยแก้วต่าง ๆ เสาเป็นแก้ว พื้นก็ปูด้วยแก้วทับทิม เวลาเหยียบลงไปก็จะยุบอ่อนนุ่ม แต่พอยกเท้าขึ้นก็ยกตัวมาเสมอกันดังเดิม ส่วนบันไดนั้นทำมาจากเงิน และก่อศาลาบริจาคด้วยแก้วต่าง ๆ มากมายสุดจะคณนานับ
"


นั้น หมายถึงว่า พระพุทธเจ้าประกาศตั้งศาสนาไว้ ๕๐๐๐ ปี (อันที่ตอนแรกไม่ได้ตั้งไว้ ๕๐๐๐ ปีหรอก แต่มีเทวดาหลายต่อหลายองค์มาขออายุศาสนาจนพระพุทธเจ้าประกาศตั้งไว้ ๕๐๐๐ ปีในที่สุด) แล้วปรินิพพาน หลังจากนั้น ปรไมสวรจึงสร้างพระพุทธรูป พิหาร ดังกล่าว น่ะครับผม ไม่ได้หมดศาสนาหลัง ๕๐๐๐ แล้วสร้างน่ะครับผม ผมอาจเขียนคลุมเครือก็ขออภ้ยด้วยครับผม

และที่ว่า

"นายมกฏะเทวบุตรอันเป็นใหญ่แก่วอกทั้งหลายเป็นข้าพระ"


ก็คงจะหมายความว่า นายมกฏะ เห็นหัวหน้าลิง (ไม่รู้ว่าจะเป็นลิงด้วยหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้ครับ)

เอาละครับ เหลืออีกนิดนึง เอามาต่อให้จบละกันครับ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ในยามนั้น ยังมีฤๅษีอยู่ ๔ ตน ซึงได้ปัญจอภิญญา และคุ้นเคยกันกับปรไมสวร ฤๅษีทั้ง ๔ ก็คุยกันว่า จะไปหาปรไมสวรเพื่อที่จะได้ ตบะอันบริสุทธิ์ จึงเหาะมาหาปรไมสวร เมื่อเจอพระพุทธรูปก็เป็นที่ประหลาดใจแก่ทั้งสี่เป็นอย่างมาก จึงแอบนั่งชิดอยู่ที่ฝาด้านหนึ่ง

ยามนั้น นายมกฏะอันเป็นอารามิก ( หรือ ข้าพระ หรือที่เอกสารทางอยุธยาเรียกว่า คนทานพระกัลปนา นั่นเอง) ก็ตกแต่งอาหารของฉันสำหรับอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ และเครื่องบูชาสำหรับพระพุทธเจ้า พร้อมกับผอบแก้วสองอัน เข้ามาจัดแจงภายในปราสาทเพื่อรอคอยปรไมสวร และอรหันต์ที่จะมา

เมื่ออรหันต์ทั้ง ๕๐๐ เหาะมาถึง นายมกฏะก็ถวายดอกไม้แก่อรหันต์ทั้งหลายเพื่อไปบูชาพระพุทธรูป แล้ววียนปทักขิณ ๓ ทีแล้วออกมา ยามนั้น ปรไมสวรเมื่อเห็นอรหันตาทั้งหมดมาถึงด้วยญาณทิพย์ ก็เสด็จมาพร้อมกับอุมมาเทวี บนหลังอุศุภราช พร้อมทั้งบริวารทั้งหลายมาถึง นายมกฏะก็เอาผอบแก้วให้กับปรไมสวรและอุมมาเทวี เอาไปไหว้บูชาพระพุทธรูป แล้วออกมาไหว้กับอรหันตาและบูชาด้วยอามิสบูชาต่าง ๆ พร้อมทั้งถวายของฉันทั้งมวล แล้วอรหันตาทั้งหมดก็เหาะกลับไปยังแห่งที่อยู่

แล้วปรไมสวรก็เจรจากับฤษีทั้ง ๔ ที่แอบอยู่นั้นแล้วก็เสด็จกลับ

แล้วนายมกฏะก็เสสังฆ์เอาข้าวที่พระอรหันตาฉันเหลือมาให้กับฤๅษีทั้ง ๔ เมื่อฤๅษีฉันแล้วก็เห็นอัศจรรย์ทั้งหลายในสิ่งที่ปรไมสวรกระทำด้วยศรัทธาเลื่อมใสในแก้วสามประการ แล้วฤๅษีทั้ง ๔ ก็มีใจเลื่อมใสด้วย จึงคิดใคร่บวชในศาสนาของพระตถาคต จึงลากลับ เมื่อฤๅษีพ้นจากพิหารไปแล้ว พิหารนั้นก็อันตรธานหายไปกลายเป็นป่าดงดอย แล้วในที่สุด ฤๅษีทั้ง ๔ ก็แสวงหาอาจารย์และบวชในบวรพุทธศาสนา

และการที่ปรไมสวรเนรมิตพุทธรูปและวิหารไวสักการบูชา แล้วไว้อารามิก(ข้าพระ) ไว้อุปัฏฐากพระพุทธรูป ดังกล่าว กลายเป็นจารีตที่สืบต่อกันมา ในการสร้างกุฏี พิหาร เจติยะ ทั้งหลายเพื่อบูชา และมีการกัลปนา “ข้าพระ” ไว้อุปปัฏฐากอยู่เนืองๆ

นิฏฐิตัง กรียา สังวัณณาวิเสส จาห้องเหตุปรเมสสรวัตถุกถา ก็สมเร็จสระเด็จเท่านี้ก่อนแล ๚๛
บันทึกการเข้า

- ศศิศ -
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 15 พ.ค. 06, 20:54

 ฮ๊าดเช่ยยยยยยย

แหม กระทู้นี้ฝุ่นจับซะหลายวัน
ไม่มีใครมาปัดฝุ่นเล๊ยยยยย เพราะท่านเจ้าของกระทู้ตอนนี้ตามเสาะหาภาพสยองขวัญอยู่
(อิอิ แซวคุณลุงpipat เล่นเล็กน้อย อย่าถือสาเด็กปากดีอย่างผมนะครับ แหะๆ)


เข้ามาขออนุญาตสอบถามข้อมูลกระทู้นี้ เนื่องจากวันนี้ไปเจอะเอาเรื่องข้องใจชวนให้สัยสง... ง่า สงสัย มาเรื่องนึงครับ
คือ ผมไปเห็นภาพถ่ายขณะกำลังก่อสร้างของศูนย์การค้า(เล็กๆ) แห่งหนึ่งใกล้ๆมหาวิทยาลัยผมเข้าน่ะครับ
อ๊ะๆๆๆ อย่าเพิ่งเดาไปหาห้างใหญ่ๆครับ ที่นี่มีร้านค้ายังไม่ถึง 20 ร้านเลยแหละ แหะๆ
แล้วภาพที่ผมอดสงสัยไม่ได้ก็คือภาพ "ศาลพระภูมิ" ที่เขากำลังซ่อมครับ
เนื่องจากตัวศาลผุมากแล้ว ทางเจ้าของซึ่งติดต่อท่านราชครูมาช่วยแนะนำให้ ก็เลยทำตามคำแนะนำของท่าน
โดยการ "รื้อ" เอาศาลกับฐานด้านบนลง เหลือแต่เสากับตอ แล้วท่านก็ให้เก็บรักษาแยกเอาไว้ในห้องๆหนึ่ง ก่อนจะนำศาลใหม่มาลง
ผมเลยขออนุญาตเข้ามาถามคุณลุงpipat ครับ ว่า "ศาลพระภูมิ" กับ "สตัมพะ" ที่คุณpipat กรุณาเล่าเอาไว้ในความเห็นที่ 4 นี่มีความเกี่ยวข้องกันหรือเปล่าครับ แหะๆ
แล้วถ้าไม่เกี่ยวกัน ทำไมถึงต้องรื้อศาลออกไป เก็บแต่เสาไว้ด้วยครับ นิสิต(ปัญญาอ่อน)เป็นเง็งครับ อาจารย์



ปล. ผมคิดมากไปไหนต่อไหนแล้วก็ไม่รู้ ดูสิ
เพราะคุณpipat ไม่มาเล่าต่อนะเนี่ยะ อิอิ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 15 พ.ค. 06, 20:56


อ้าว รูปผิดเฉยเลย
เมื่อกี้ก็รูปเกิน

จะลงรูปศาลพระภูมิในภาพครับ  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 15 พ.ค. 06, 22:28

 แหะ แหะ คุณติบอนี่คงอายุราวสิบเจ็ดปีแปดเดือน
ครือว่า หนุ่มไวไฟ ใจร้อน ไม่ยอมรอ

ผมกะลังดื่มดำกับ "ปรไมสวรสูตร" ของคุณศ.ยกกำลังสาม ทำให้นึกอะไรต่อได้อีกไม่น้อย

เรื่องเสาของศาลพระภูมินี้ ขอค้นอะไรอีกนิด แลวจะตอบให้อิ่มใจนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 16 พ.ค. 06, 11:39

 เอาหละ
เรามาเล่นไดอะล็อกกันหน่อย แบบโสกราติสนะครับ ไม่ใช่แบบวาติกัน

อะไร สำคัญกว่ากัน ตัวเสา หรือตัววิมาน
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 16 พ.ค. 06, 12:13

 รุปจาก thaiTambon.com

ตามรูปนี้ เสาก็ไม่มีความหมาย เพราะพี่แกเล่นเลือกเอาแบบคดสุดๆ เทวดาต้องใช้กระไดเวียนอย่างเดียว
ผู้ผลิตเจ้านี้ จึงอยู่ฝ่ายให้ความสำคัญกับวิมาน

อ้อรูปของท่านติบอ เห็นจะไม่ตรงคำถามกระมัง ผมดูเท่าไหร่ ศาลนี้ก็ยังไม่น่าจะถูกรื้อนะครับ ท่าทางยังเป็น living monuments สมบูรณ์อยู่

ยังรอคำตอบจากมิตรรักนักเพลงนะครับ เสากับวิมาน ใครใหญ่ใครอยู่

ระหว่างนี้ ขอบ่นตามประสาไม้ผุหน่อยเถิด ใหนๆก็มีคนมาเจาะช่องเรื่องศาลพระภูมิให้ต่อมใจน้อยระเบิด

ผมไม่เข้าใจเลย ว่าบ้านเมืองทุกวันนี้เป็นอะไรกันไปหมด บิดๆเบี้ยวๆ ผิดๆเพี้ยนๆ เข้าตำรา hybrid culture เจ้าว่างามก็ว่างามไปตามเจ้า
ทั้งๆที่เจ้าไม่ได้ว่าเลยสักแอะ

ยกตัวอย่างก็เรื่องศาลพระภูมินี่ละครับ
ผมเห็นทำกันจัง ไอ้ที่เอาหินอ่อนมาประกอบกันเป็นรูปปีระมิด เจาะรูนิดหน่อยทำเป็นประตูหรือหน้าต่างก็เหลือจะเดา ตั้งหน้าตึกระฟ้า ตรงตำแหน่งที่ปู่ย่าตายายเราท่านไว้ตั้งศาลพระภูมิ
ข้างหน้ามีแท่นบูชาเสียด้วย
ผมไม่เคยเห็นข้างในก้อนบ้าพวกนี้ ว่ามีอะไรบรรจุอยู่หรือไม่ ถ้ามี ก็คงเป็นรูปเทพกบ หรือรูป Bennu bird ตามคติไอยคุปต์กระมัง
แต่ไม่แน่ ถาปะนึกท่านอาจจะครีเอถีบ สร้างรูปภูมิเทวดาด้วยศิลปะบาศ์กนิยม หรือแนวกร้าวเรียบ ให้เข้ากับภาชนะบรรจุกระมัง

ขอบ่นถึงรูปแบบของเจดีย์องค์หนึ่ง บนภูเขาลูกหนึ่ง ในจังหวัดหนึ่ง ของประเทศหนึ่ง ว่า เปิดตำราจนมือเคล็ดแล้ว ยังไม่สามารถถอดรหัสนัยยะอันล้ำลึกที่ท่านประจงสร้างไว้ได้เล็ย
อีนี่แขกงงว่ะ โตระนะ เวทิกา ครรภะ บัลลังกะ ฉัตราวะลี ฯลฯ มันลดรูปลง กลายเป็นอะไรสักอย่างที่.......เหลือจะทนทาน

ผมถึงต้องลาออกจากอาชีพนักประวัติศาสตร์ศิลปะมานั่งฟังโชสตาโกวิชอยู่ทุกวันนี้

เซ็งง่ะ  
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 16 พ.ค. 06, 23:28

 พิมพ์ตอบซะยาว
เครื่องเป็นอะไรก็ไม่รู้ กลับมาอีกทีเวบโดนปิดไปแล้ว T_T br />เลยตอบใหม่สั้นๆละกันนะครับ


ขออนุญาตเดามั่วเดาสุ่ม ว่าการตั้งศาลไว้บนเสา เพื่อบ่งบอกว่ามีเทวดาสถิตย์อยู่เหนือวิมานบนยอดเสา ถ้าวิมานสมบูรณ์ วิมานก็เป็นสิ่งสำคัญไป
แต่ถ้าไม่มีศาล หรือศาลผุพังไปแล้ว การรักษาเสาเอาไว้ก็หมายถึง "สตัมพะ" ก็เลยไม่น่าจะผิดหลักการหรือเปล่าครับ



ปล. ผมเห็นศาลพระภูมิสมัยใหม่บางรุ่นแล้ว (นอกจากรุ่นที่หน้าตาเหมือนปิรามิด) ไม่ชอบอ่ะครับคุณpipat
เพราะยอดปรางค์มันผิดส่วนไม่พอ อวบๆอีกตะหาก เห็นแล้วนึกถึงข้าวโพดปิ้งน่ากิ๊นน่ากินอ่ะครับ อิอิ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 17 พ.ค. 06, 00:58

 พวกปรางค์สามยอด ห้ายอดอะไรนั่น เป็นอินโนเวย์ ถีบ ของชาวบ้านเขา
เราก็อนุโลมให้เป้น ป๊อบปุล่า คัลเช่อร์ ตามแนวมานุษยะสังคมวิทยาไปได้ พอกล้อมแกล้ม
เอ รู้สึกผมจะกระแดะจัง วันนี้
เอาใหม่ อะ แฮ้ม ...เปลี่ยนน้ำเสียง ตีหน้า Cเรียด ว่าใหม่

อันว่าสถาปัตยกรรมตะวันออกนั้น มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน และไม่ทานทนต่อความผิดพลาดเลยนะครับ
จริงอยู่ เราอ้างได้ว่าความปราถนาอันสูงสุดทางจิตวิญญานของเรา ก็คือ การอัญเชิญองค์ศิวะเทพอันยิ่งใหญ่
มาประทับเป็นยามเฝ้าตึกแถวหน้าตลาดจำเริญนครนั้น มาจากน้ำใสใจจริงอันบริสุทธิ์โดยแท้
ทำไปเถิดครับ พอสำเร็จกิจเรียบร้อยแล้วนั่นแหละ จึงจะเริ่มเผชิญกับหายนะของแท้ทีละน้อย สะสมไปทุกวันทุกวัน
ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งสอนผมว่า ถ้าเชื่อ ต้องเชื่อให้สุด มิเช่นนั้น อย่าริเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความเชื่อ

มีกรณีศึกษา กลางเมืองตรงสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมของความเชื่อแบบจับพลัดจับผลูระดับคลาสสิคเรื่องหนึ่ง
คุณติบอนับได้ใหมครับ ว่ามีเทพมาประชุมกันกี่องค์ แต่ละองค์เป็นตัวแทนของระบบคิดแบบใหน
ที่สี่แยกนี้ทำด๊อกเตอร์เรื่องเทววิทยา สถาปัตยกรรม ผังเมือง ภูมิสถาปัตย์ นิเทศน์ทั้งศิลป์และทั้งศาสตร์ ประติมาณวิทยา ศิลปะการแสดง จิตวิทยามวลชน การตลาดรากหญ้า การท่องเที่ยว และมนตร์ดำได้พร้อมๆกันเลยละครับ
แล้วแต่ละตึกที่อุตริไปอัญเชิญทวยเทพมาประชุมนั่นน่ะ วันๆ เดือดร้อนแค่ใหน กับการดูแลความพอเหมาะพอดีของลัทธิพิธีที่ต้องทำ
หาเหาใส่หัวแท้ๆ

กลับมาที่ปรางค์ซีเมนต์
การที่พ่อเบ๊คแข้มแกมาติดอกติดใจซื้อกลับบ้านเพราะนึกว่าเป็นวังจำลองก็ช่างแกเหอะ
แต่ที่เราคนไทยไม่รู้ว่าควรใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยอย่างไรให้เหมาะสมนี่สิ หายนะ
พวกส่วนราชการนี่ตัวดี ชอบทำตัวติดดินเทียบเท่าชาวบ้าน เที่ยวได้อัญเชิญสารพัดเทพมาประดิษฐาน แล้วสร้างสรรค์สักการะสถานหลากหลายรูปแบบ เป็นปรางค์มั่ง จัตุรมุขมั่ง เป็นเรือนแก้วมั่ง เป็นเรือนไทยมั่ง ฯลฯ
ไม่รู้ผิดชอบชั่วดีเลยหรือ
สมัยที่ผมยังต้องทำหน้าที่บรรยายบางวิชาอยู่ เคยคิดกันกับพรรคพวกว่า น่าจะเก็บข้อมูลศาลพระภูมิ ทำเป็นกระบวนวิชาว่าด้วยความเสื่อมทรุดของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในประวัติศาสตร์สติปัญญาไทย
คงมันไม่หยอกเทียว ไม่น่าเชื่อนะครับ แค่ศาลพระภูมที่ดูไม่มีประเด็น แท้ที่จริงเป็นดรรชนีชี้วัดมาตรฐานไอเอสโอ ความสำนึกต่ออดีตอย่างแจ่มชัดถึงเพียงนี้ อึกตัวชี้วัดก็คือลายกนกบนธนบัตร

ขอสรุปอย่างนี้ก่อนละกัน ว่าถ้าสังคมนี้ยังใช้ศาลพระภูมิกันไม่อย่างไม่ชอบด้วยปัญญาละก้อ
ต่อไปจะต้องไล่ตามลาว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 17 พ.ค. 06, 08:46

 เข้ามานั่งแถวหลัง   ติดผนังห้องบรรยายค่ะ
อยากจะฟังเรื่องศาลพระภูมิ มากๆ

คุณพิพัฒน์คะ  ขอสารภาพด้วยใจจริงว่า  เวลาฟังคุณบรรยายแล้วดิฉันก็เริ่มตระหนักถึงสติปัญญาอันต่ำเตี้ยของตัวเอง
ว่าไม่มีภูมิรู้ในเรื่องที่คุณรู้ แม้แต่หนึ่งในอสงไขย
จึงใคร่จะรู้เพิ่มเติม ได้สักแค่สองในอสงไขยก็ยังดี  
ว่าตกลงแล้วเรื่องพระภูมินั้นเป็นยังไง
คิดตามประสาคนไม่รู้วิชาพระภูมิวิทยาอย่างดิฉัน เสากับวิมานก็สำคัญพอกัน

ถ้าไม่มีวิมาน ก็เหลือแต่เสายอดด้วน   ไม่มีเสา วิมานก็ลอยต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ได้  ต้องหล่นปุ๊บลงมา

ที่บ้านดิฉันมีศาลพระภูมิเหมือนบ้านคนไทยทั่วไป    รวมทั้งศาลเจ้าที่ด้วย
เพราะดิฉันถือคติว่าที่ดินที่มนุษย์อยู่กันทุกวันนี้ เราไม่ได้มาอยู่เป็นรายแรกของโลก   ก่อนหน้านี้ เคยเป็นที่อยู่ของใครต่อใครอาจจะย้อนหลังไปได้หลายพันปี
ถ้าหากว่าเจ้าของคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนเขายังไม่ได้ย้ายไปอยู่ในภพภูมิอื่น   แต่ยังอยู่ในที่ที่เขาเคยอยู่
เรามาอยู่ เบียดที่เขา  ก็เกรงใจ เชิญเขามาอยู่ในบ้านที่เราจัดให้เป็นหลักเป็นแหล่ง  ดีกว่า  ได้ไม่เป็นการแย่งที่กัน
ต่างคนต่างอยู่ด้วยความเคารพ

ส่วนพระภูมินั้นถือกันว่าเป็นเทวดาที่ประจำอยู่ในโลก    ในเมื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่ว่าซีมากหรือน้อย  ดิฉันก็ให้ความเคารพ
ถ้าหมอตั้งศาลเชิญมาให้ประทับอยู่  เป็นการเชิญสิ่งดีๆเข้ามาในบ้าน   ก็จัดให้อยู่ในที่อันควร  

ส่วนสถานที่อยู่ของพระภูมินั้น ดิฉันไม่เคยรู้สักทีว่าควรจะอยู่ในวิมานไหนหน้าตายังไง
แหล่งความรู้ก็มีที่เดียวที่พอหาได้ง่ายที่สุดคือร้านขายศาลพระภูมิ
อาจารย์พิพัฒน์ท่านก็ไม่ออกมาบรรยายในมหาวิทยาลัยเปิดซะด้วย ดิฉันจะไปหาเทปมาฟังได้ง่ายๆ

อีกไม่กี่เดือน ดิฉันจะต้องย้ายศาลพระภูมิ ด้วยความจำเป็นทางภูมิสถาปัตยกรรมของบ้าน  (พูดง่ายๆว่าปรับปรุงสนามค่ะ)
คงจะต้องซื้อศาลใหม่
ก็เลยอยากได้คำตอบจริงๆ จากคุณพิพัฒน์ว่า จะเลือกยังไงดีถึงจะถูกต้อง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 17 พ.ค. 06, 11:41

 อย่าไปเชื่อเป็นอันขาด ในสิ่งที่ท่านล้อเล่นมานะครับท่านที่เคารพ
ถ้าท่านบอกว่าไม่รู้เรื่องไทย แล้วที่พวกเราอุตริคุยกันมาสาระพัดเรื่อง จะเอาหน้าไปไว้ที่ใหนกันละเนี่ย

ความเห็นที่แล้ว ผมบ่นดังไปหน่อย ขอปรับระดับความเดือดสู่เกณฑ์ปกติก่อน ดังนี้ครับ

ที่บ้านไม่ได้ตั้งศาล มีขวัญในบ้านก็เพียงกระดูกพ่อ และรูปเหมือนพระเถระรูปหนึ่งซึ่งท่านเมตตาให้มา ไม่กล้าปฏิเสธ เลยรับไว้เหมือนเป็นศิลปะวัตถุ แต่ไม่กล้าตั้งแท่นบูชาเอิกเกริก
สาเหตุเพราะ หากเชิญสิ่งพึงเคารพเข้ามาร่วมชายคา ก็เหมือนมีผู้หลักผู้ใหญ่อยู่ด้วย เราเป็นเด็กยังห่ามอยู่
จะไม่รบกวนจนถึงล่วงละเมิดท่านนั้น เป็นไปไม่ได้
อีกทั้ง การจัดที่จัดทาง การหาเครื่องปรุงแต่งและการประพฤติปฎิบัติตัวให้เหมาะสม เป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ สำหรับนาครชนอย่างผม
เช้าก็แหกขี้ตาตื่น ตาปรือเข้าห้องน้ำ เอาตัวเสือกเข้าในเครื่องแต่งกาย แล้วไปรับใช้รถยนตร์ พามันออกจากบ้านไปสังสันท์กับรถอื่นๆอีกชั่วโมงกว่า.....สภาพอย่างนี้ แม้มีพระห้อยคอไว้ ท่านคงช่วยอะไรเราไม่ได้
เรานั่นแหละต้องช่วยตัวเอง ด้วยการสมาทานศีลข้ออัปประมาทวรรค ให้ฝังใจยิ่งกว่าที่พระอานนท์ท่านทำได้
เป็นพอ

แต่ถ้าผมจะต้องตั้งศาลนะครับ
ในแง่รูปลักษณ์ ผมต้องหาไม้เป็นอันดับแรก เพราะเป็นวัสดุที่บริสุทธิ์ที่สุด เท่าที่เราจะยอมรับได้ พวกอิฐก่อ ปูนฉาบ เลยไปถึงหล่อซีเมนต์นี่ถือเป็นของต้อยต่ำ ระดับสามานย์เอาเลยทีเดียว
การที่ต้องผสมวัสดุมากกว่าหนึ่งอย่างเข้าด้วยกันนี่ เป็นกิจกรรมระดับวิกฤติแล้วนะครับ ช่างหล่อนี่ขนาดต้องถือบวช (คือกินเจ และรักษาพรรมจรรย์) กันทีเดียว ผมจึงไม่ไว้ใจว่า ไอ้แท่งๆ ที่เขาขายกันนี่น่ะ พี่ช่างปูนแกไปแอบทำธุระอยู่เลยไปทางโน้น ก่อนตักทรายมาประสมหรือเปล่า

ไม้ ต้องเป็นไม้แก่น เพื่อให้แน่ใจในอาวุโสของท่าน ว่าท่านอยู่มาก่อนเราในโลกอันอ้างว้างใบนี้ ไม่ใช่เอาไม้รวกเมื่อวานซืนมาประกอบการเคารพบูชา
ประเด็นอยู่ตรงไม้แก่นนี่ละครับ
กทม. เพิ่งได้ไม้ที่เหมาะสมมาใช้บูรณะเสาชิงช้า นัยว่าอายุเป็นร้อยปี ไม้ระดับนั้น เราเรียกพญาไม้ เชื่อว่ามีเทพสถิตย์อยู่
แต่คนอย่างเราจะไปหาไม้แบบนี้ได้ที่ใหนกันละครับ
โบราณท่านก็ฉลาดเหลือเกิน ท่านวางไว้เพียง "เพียงตา" คือระหว่างห้าศอกไม่เกินหกศอก เป็นใช้ได้

ทีนี้ ย้อนไปพิจารณาโจทย์ของอาจารย์เทาฯ ความต้องการ คือ จะอาศัยอยู่ร่วมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความต้องการที่ใหญ่มากในทางวัฒนธรรม
ผมตามรอยความเชื่อนี้มาได้พักใหญ่ มาสิ้นสุดที่สมัยรัชกาลที่ 1 ที่ทรงมีกฏหมายออกมาว่า ให้เก็บกระดูกบรรพบุรุษไว้กับตัวเสียที สมัยกรุงแตกเอาไปฝากวัดไว้ก็เห็นใจ แต่บัดนี้บ้านเมืองเป็นปกติสุขแล้ว อย่าไปทิ้งเรี่ยราดรบกวนคนอื่น
พระราชกำหนดนี้ทำผมคิดไม่ตกว่า จริงๆแล้ว กระดูกบรรพบุรุษควรปฏิบัติอย่างไร แล้วเลยคิดต่อไปว่า แล้วหอพระล่ะ ควรมีหรือไม่มี ...คิดวนเวียนไม่สรุปลงได้สักที
จนมาถึงบางอ้อที่รูปตะเหลว กับเรื่องพญาอาทิตยราชขุดส้วมในตำนานโบราณ

คือผมคิดว่ามันต้องแบ่งเป็นสองระดับ ระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ท่านมีทุกสิ่งพร้อมสรรพ จะทำอะไรก็ทำเถิด
แต่ชาวนาเข็ญใจทำดั่งนั้นมิได้
แต่ละหมู่บ้าน จึงมีศาลชุมชน อยู่ปากทางเข้าหมู่บ้าน ทุกคนมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน เชิญเข้าบ้านได้แต่ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นของใครของมัน แบ่งกันนับถือไม่ได้เว้นแต่ร่วม “ด้ำ” เดียวกัน

หำยนตร์นี่เป็นวิธีคิดที่ฉลาดมาก เพราะสกัดผีนอกสาแหรกออกจากเขตเฉพาะสกุลได้ชงัดนัก
ส่วนตะเหลวนี่ก็เป็นความฉลาดอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อจะทำการอันใด อันอาจละเมิดสื่งที่ไม่พึงละเมิด ท่านก็ต่ออินตะเน็ต แกร๊กกก....ปักตะเหลวเปรี้ยง กำหนดจิตเข้าสู่ภวังค์ ทำด้วยตัวเองแหละครับ ไม่มีปัญญาไปเชิญพ่อหมอที่ใหนมาหร็อก ต่อสายถึงภูมิเทวดา แจ้งปัญหา ขออนุมัติ ....เป็นอันเสร็จพิธี

ตกลงเลยไม่ต้องมีกันละ ศาลพระภูมิประจำบ้าน แล้วยังไม่ต้องพึ่งผู้ชำนัญการให้เสียสะตางค์สักแดง
หมอพวกนั้น เอาไว้ใช้บริการเรื่อง C เรียด อย่างเช่น การสะเดาะเคราะห์ ฝังรูปผังรอย แบบที่รวมอยู่ในพระอัยการหมวดหนึ่ง (ผมก็ลืมเสียแล้ว เกี่ยวกับ อาถพพ...อะไรนี่ละครับ ผ่านไปก่อนละกัน) ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างแน่นหนารองรับอาชีพนี้ ขนาดมีกฏหมายออกมารองรับทีเดียว ซึ่งไม่ต่างอะไรไปจากที่อยู่ในจารึกหลักที่ 1 ...ไหว้ดี พลีถูก....

เอาละ กลับมาที่เสา สมมติว่าหาได้แล้ว ทำไงต่อละท่าน
อาจารย์เทาฯ ท่านถามแบบโซฟิสตะเขต ( แหะ..แหะ..ล้อเล่นนะครับ) คือท่านจะเอาครบชุด แต่ผมตอบแบบอินทะเนียว่า ที่ขายท่านไปหน่ะ พอแล้ว ไม้ท่อนเดียวก็พอแล้ว ครบฟังก์ชั่นแล้ว
สาวอักษรก็บอกว่า จะพอได้ไงยะ มีแต่เสา ตุ้งติ้งประกอบอะไรก็ไม่มี นี่ฉันจะเอาไปทำเรื่องสูงนะ เธออย่ามางี่เง่า ตัดเครื่องเคราประดับซะหมดสวย

ร้อนถึงพี่แดงของผม ต้องจูงมือท่านเออร์วิ่นมาช่วยแก้ต่างว่า
“หลักเมือง” คือคำตอบสุดท้าย

ก้อที่ท่านอาจารย์ระบุมานะครับ
ท่านจะจำลองหลักเมืองเข้าบ้านเจียวนา
“...ที่ดินที่มนุษย์อยู่กันทุกวันนี้ ...เคยเป็นที่อยู่ของใครต่อใครอาจจะย้อนหลังไปได้หลายพันปี.....เรามาอยู่ เบียดที่เขา ก็เกรงใจ เชิญเขามาอยู่ในบ้านที่เราจัดให้เป็นหลักเป็นแหล่ง ดีกว่า …ต่างคนต่างอยู่ด้วยความเคารพ”

แต่ท่านอาจจะลดรูปลงเป็นเพียงหลักบ้าน หรือที่ถูกคือ หลักเรือน หรือ “หลักแหล่ง”

ถ้าเช่นนั้น ความเห็นแบบอินทะเนียก็ใช้ได้
ผมยังไม่เคยเห็นหลักเมืองที่ใด มีวิมานเลยครับ เสายัญ “ยูปะ” ที่อินเดียโบราณ ก็เป็นเสาเปล่า เจาะรูให้ร้อยเครื่องบวงสรวงได้เท่านั้น แต่งปลายเป็นเหมือนงวงอะไรสักอย่าง แต่ก็เป็นแบบเรียบๆ มาถึงเมืองไทย ท่านก็จับควั่นเป็นหัวเม็ด หลากหลายรูปทรง แต่ยังถือเป็นคติเดียวกัน

เอาละ ตอบคุณติบอเสียที
เสาคือ “แก่นสาร” (essence) ของคติครับ สตัมพะ หรือ เสา คือกายภาพทางวัตถุของภูมิเทวดา ไม่ต้องใส่หมวกให้ท่านอีกที
แต่...... อันนี้ผมประนีประนอมลงมาอีกชั้น โบราณท่านก็ประณีประณอมแบบนี้เหมือนกัน คือ
ถ้าหาไม้แก่นระดับเป็นสตัมพะ หรือ axis mudi ไม่ได้หละ เราก็เอาไม้ซีกมาใช้ ตั้งศาลให้ท่าน แปะป้าย หรือแม้แต่เขียนรูปท่านเอาไว้ ให้มันรู้แล้วรู้รอดไปเล็ยยย์
ไอเดียนี้เปิดทางให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องออกมาอีกกระตั้กกกใหญ่ และทำให้นักเรียนสายซิมบอลิสซึ่ม อย่างผม ซึมไปเลย ผลิตตำราไม่ทันความก้าวหน้าของคติ

ผมชักเมาแล้วแหละครับ อาจารย์ ขอหยุดตั้งหลักก่อน กรุณาชันสูตรความเห็นของผมด้วยนะครับ รวมถึงน้องติบอด้วย หน็อยแน่ ถามเรื่องสติแตกกับคนฟั่นเฟือน.....อยู่ดีไม่ว่าดี

เดี๋ยวจะมาเสนอความเห็นเรื่องศาลพระภูมิที่บ้านอาจารย์
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 19 คำสั่ง