เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 01 พ.ค. 06, 16:02
|
|
เฮ้อ คุณ UP คุณไม่น่ามาตั้งข้อสังเกต ให้ดิฉันถวิลหาปาท่องโก๋แถวสามย่านเลยเชียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 01 พ.ค. 06, 16:57
|
|
เรื่องพระเจ้าปราสาททองรับคติเขมรนี่ ผมไม่เคยเชื่อเลยตั้งแต่พระมติของกรมฯดำรงมายันท่านสุภัทรดิศ ไม่ยักทราบว่าอาจารย์ศรีศักดิ์ก็เอากะเขาด้วย เห็นทุกทีแกเป็นฝ่ายค้านสำนักดำรงชั่วกัลปาวสานต์
ตอนพระเจ้าปราสาททองตีเขมรนี่ ประเทศนั้นนอกจากปลากรอบแล้วยังมีอะไรเหลืออีกหรือครับ
แต่อย่าเพิ่งขัดจังหวะคุณสามศ.ของผมนะครับ อยากรู้ตอนต่อไป แหม ถ้ามีเพลงประกอบละก้อสวรรค์รำไรเทียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 01 พ.ค. 06, 17:31
|
|
ตอนแรกว่าวันนี้จะมาเล่าต่อเสียหน่อย อุตส่าห์เข้าไปที่โฮงเฮียนสืบสานฯ แต่คลาดกันไปประมาณ ๕ นาที วันนี้ก็เลยไม่ได้เอาตอนที่ ๔ มาเล่า เพราะหากจะเล่าข้ามไปตอนที่ ๕ เลยก็อดรู้ว่าพระพุทธเจ้าจะลี้อยู่ที่ไหน ไว้วันพรุ่งนี้จะมาเล่าแต่แน่ ๆ ครับ เพราะว่าวันพรุ่งนี้มีประชุมที่นั่นอยู่พอดี
ส่วนว่าพ้องกับนิทานทางมหายานหลาย ๆ เรื่องนั่นก็เป็นที่น่าสนใจอยู่ แต่ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น ว่า การหยิบเทพเจ้าหนึ่งในตรีมูรติ มากล่าวถึงนั้น ก็นับว่าสำคัญไม่น้อย ในการที่มองเห็นถึงความคิดความเห็นของชาวล้านนาต่อพระเจ้าในศาสนาฮินดู
สำหรับเรื่องพระเจ้าปราสาททอง คงต้องไปรื้อตำราอีกสักรอบ.... ว่าทรงสร้างภาพให้เห็นว่าพระองค์คือพระโพธิสัตว์ หรือเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 18:36
|
|
อ่านจนตาลาย ไม่รู้เรื่องเลยอ่ะครับ รูปสัตว์ทั้ง 4 นี่มีอยู่หลายที่ครับ ที่ผมนึกออก ก็ - จิตรกรรมฝาผนังบนเสาพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ - จิตรกรรมฝาผนังในหอไตรฯของวัดระฆัง - ภาพประดับมุกที่พระบาทของพระนอนวัดโพธิ์ - ที่รอบพระเจดีย์หลังพระอุโบสถวัดบวรฯ ก็มีสัตว์อยู่ 4 ชนิดครับ แต่ไม่ใช่ 4 ตัวที่มักจะกล่าวถึงกัน(สิงห์ ม้า โค ช้าง) แต่มีรูปหล่อของ สิงห์ ม้า นก ช้าง แทน เคยอ่านพบว่ามีผู้แปลความหมายถึงประเทศที่อยู่รอบประเทศไทยไว้คือ สิงคโปร์ พม่า โยนก ล้านช้าง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 18:43
|
|
ลืมไป อีกที่นึงซึ่งเหมือนในรูปพระราชพิธีโกสันต์ที่กล่าวถึง ก็คือเขาไกรลาสจำลองข้างๆพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่ผมจำไม่ได้แล้วว่าตอนนี้จะเหลืออยู่ครบ 4 ตัวรึเปล่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
  
ตอบ: 165
นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 18:49
|
|
อีกที่ก็คือภาพสลักไม้เรื่องพิธีอินทราภิเษก หน้า planary hall ของศูนย์พระนามครับ (ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์) คิดว่ารูปลายรดน้ำพิธีอินทราภิเษก ในพิพิธภัณฑ์วัดพระแก้วก็น่าจะมีรูปดังกล่าวเหมือนกันนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 18:55
|
|
ไหว้สาท่านเจ้าของกระทู้แลผู้ใหญ่ทั้งปวงครับ นกข. ขอมานั่งฟังด้วยคน
ตำนานล้านนาเรื่องการประลองฤทธิ์ระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระอิศวร ที่คุณศศิศเล่านั้น ทำให้ผมนึกถึงตำนานต้นกำเนิดเพลงสาธุการ ที่วงดนตรีไทยใช้ไหว้ครูนั่นแหละครับ แต่จะถือว่าเป็นตำนานทางไทยภาคกลางได้หรือไม่ก้ไม่ทราบ ทราบแต่ว่า เนื้อเรื่องที่ผมเคยได้ยินมา คล้ายๆ กันเลย สรุปย่อๆ ก็คือ พระอิศวรท้าลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า ลองด้วยการซ่อนหา แล้วก็แพ้ จึงยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า แล้วพระอิศวรก็เลยทำเพลงสาธุการเป็นการแสดงความเคารพ จึงถือว่าเพลงสาธุการเป็นเพลงไหว้ครูแต่นั้นมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 19:15
|
|
คุณอาชาคลั่ง ณ แดนตะวันตก จำเรื่องหงอคงหรือเห้งเจียประลองฤทธิ์กับพระยูไลฮุดโจ๊วที่อาจารย์เทาฯ ปรารภขึ้นมาได้ไหมครับ
ผมพอจำได้คร่าวๆ ไม่รับรองว่าถูกต้อง ถ้าผิด เชิญผู้รู้ทางจีนศึกษาแก้ให้ด้วยเทอญ - ขอบพระคุณล่วงหน้า
เท่าที่ผมจำได้ พญาลิงฤทธิ์มากหัวดื้อตัวนั้นประลองกับพระยูไลพุทธเจ้า โดยการกระโดดไกลครับ ไม่เชิงว่าเป็นการเล่นซ่อนหาทีเดียว แต่อีตาหงอคงแกเป็นลิงที่โดดตีลังกาไปทีหนึ่งได้ไกลถึงกี่หมื่นกี่พันโยชน์ก็ลืมแล้ว แต่ว่าไกลมาก เรียกว่าสามารถท่องทั่วสากลจักรวาลได้โดยการโดดไม่กี่ที พระยู่ไหลท่านก็ท้าว่า หงอคง หากเจ้าสามารถกระโดดข้ามพุทธหัตถ์ของเราตถาคตได้ เราจะไม่เอาโทษที่รุกรานจนสวรรค์ถล่ม แต่ถ้าไม่ได้ จะต้องลงทัณฑ์แก่เจ้านะ เห้งเจียก็บอกว่า โฮ้ย - หวานหมู ฝ่ามือของพระองค์ใหญ่ก็จริง แต่ข้าโดดทีเดียวก็ไปถึงไหนๆ แล้ว เอาเลย
พระพุทธองค์แบพระหัตถ์ออก เห้งเจียก้โดดลงไปกลางฝ่าพระหัตถ์ แล้วก้ออกแรงเต็มที่ ฮึบ- โดดไปโดยแรงด้วยกำลังฤทธิ์ ทีเดียวก็ไปถึงสุดขอบจักรวาลหรือเอกภพ เห็นเสาแก่นจันทน์แดงบรมมหามหึมาห้าต้น ค้ำยันเป็นหลักสุดเขตขอบจักรวาลอยู่ พ้นไปจากนั้นไม่มีอะไรอีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสสารหรือพลังงาน ก็นึกกระหยิ่มใจว่า เราโดดมาถึงนี่อีตาพระแก่นั่นต้องยอมรับแล้วว่าพ้นจากมือแกมาได้ไม่รู้ถึงไหนๆ แล้ว แต่เดี๋ยวแกจะไม่ยอมเชื่อหรือบิดพลิ้ว จำเราจะต้องทำเครื่องหมายไว้ยันทีหลังว่าเรามาถึงสุดขอบจักรวาลแล้ว ไม่มีใครจะมาไกลได้ขนาดนี้อีก คิดแล้วเห้งเจียก็เขียนชื่อตัวเองลงบนเสาต้นกลางว่า "ซีเทียนไต้เซีย was here" แบบเดี่ยวกับที่มนุษย์มือบอนทั้งหลายชอบเขียน แล้วก็ตีลังกาวูบกลับไปที่เดิม
ก็ได้ยินเสียงพระพุทธเจ้าบันลือพระสีหนาทว่า เห้งเจีย เจ้ายังไม่โดดไปไหนอีกหรือ? เห้งเจียฉุนก็ว่า อะไรได้ ข้าโดดไปถึงไหนๆ ถึงสุดขอบจักรวาลแล้ว พระองค์จะว่าข้ายังไม่ไปไหนได้ยังไง ไม่เชื่อไปดูหลักฐานที่สุดขอบจักรวาลของเราสิ -
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 19:24
|
|
พระยูไลฮุดโจ๊วท่านก็ว่า เจ้าลิงเอ๋ย เจ้าไม่รู้หรอกหรือว่าข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นย่อมครอบคลุมทั่วทั้งแสนโลกธาตุตลอดทั่วอนันตจักรวาล ที่เจ้านึกว่าเจ้าโดดไปจนถึงสุดขอบเอกภพแล้วน่ะ ที่จริงเจ้ายังไม่ได้ออกไปไหนเลย จงก้มลงดูที่โคนนิ้วกลางของเราสิ เห็นชื่อของเจ้าเองที่เจ้าเขียนอยู่ไหม? เสายักษ์ต้นกลางที่เจ้านึกว่าเป็นหมายบอกเขตสุดจักรวาลนั่นน่ะ ที่แท้คือนิ้วของเรานั่นเอง
เห้งเจียเห็นจะไปไม่รอดก็ทำท่าจะโดดหนี แต่ไม่ทัน พระยูไลพุทธก็คว่ำพระหัตถ์ลง กลายเป็นเทือกเขามหึมาห้ายอด ทับเห้งเจียอยู่ข้างใต้ และทรงสาปซ้ำให้ติดอยู่ใต้นั้นจนกว่าพระถังซัมจั๋งจะจาริกผ่านมา จึงให้เป็นอิสระได้ จะได้เป็นศิษย์นำพระถังไปไซทีต่อไป
พระพุทธเจ้าองค์นี้ดูทีท่าจะเป็นพระพุทธมหายาน อาจจะเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า แต่ชื่อของพระองค์ที่เรียกว่าพระยูไล (หรือยูไหล) นั้น แปลตรงตัวเลยว่า ตถาคต คือ พระผู้เสด็จไปดีแล้วอย่างนั้น (ตถ - เช่นนั้น คต - ไป) คือ ยู่ - "อย่างนั้น" +ไหล - มา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 19:28
|
|
ถ้าจำไม่ผิด ในคาถาพาหุงหรือพุทธชัยมงคลแปดประการนั้น ดูเหมือนมีพูดถึงพรหมองค์หนึ่งชื่อ พกาพรหม ซึ่งมาท้าลองฤทธิ์กับพระพุทธเจ้าแล้วก็แพ้ฤทธิ์พระพุทธองค์เหมือนกัน ผมจำรายละเอียดไม่ได้ว่าลองฤทธิ์กันยังไง แต่รู้สึกจะเป็นเล่นซ่อนหานี่แหละครับเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 19:52
|
|
กลับมาเรื่องพระอินทร์ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ท่านขึ้นไว้
ผม (ซึ่งไม่มีความรู้จริงจังด้านประติมานวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ อารยธรรม ศิลปะ ภารตวิทยา เทววิทยา ฯลฯ ใดๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่ชอบเรื่องพวกนี้เท่านั้นเอง) รู้สึกเป็นส่วนตัวว่า พระอินทร์สมัยก่อนดูท่านจะทรงเป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าถือว่าพระอินทร์เป็นเทพชาวอารยัน ก็ต้องย้อนรำลึกด้วยว่าเทพของชาวอารยันองค์อื่นในวัฒนธรรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน อย่างจูปิเตอร์นั้นท่านก็ทรงสายฟ้าเหมือนกัน จูปิเตอร์น่ะเป็นเทวาธิบดีนะครับ พระอินทร์สมัยหนึ่งก็ว่าเป็นราชาแห่งสวรรค์ ไหงสมัยหลังจึงตกต่ำลงมาเป็นคล้ายๆ หัวหน้าบ๋อยอย่างคุณพิพัฒน์ว่าก้ไม่รู้เหมือนกัน แต่เป็นยังงั้นจริงๆ เสียด้วย น่าสงสารพระอินทร์ครับ
ผมออกจะรู้สึกเป็นการส่วนตัว (โดยยังไม่ได้มีเวลาค้นตำรา) เหมือนกันว่า เทพยุคดึกดำบรรพ์ของฮินดู ดูเหมือนจะยังไม่ไกลจากคติการถือผีฟ้าของคนเผ่าสมัยหินเท่าไหร่ อานุภาพในธรรมชาติที่บรรพชนของชาวฮินดูสมมติเอาว่ามีเทพประจำอยู่ ก็เห็นได้ง่ายๆ เงยหน้าขึ้นไปบนฟ้าก็เห็นตะวันส่องแสงแดดเปรี้ยง เลยตั้งให้เป็นสูรยเทพ หรือเปลวไฟที่ให้ความร้อนความอบอุ่น ก็น่าจะมีเทพอยู่เลยให้เป็นพระอัคนี ดูเหมือนผมจะเคยอ่านแว่บๆ ว่าฮินดูโบราณสมัยโน้นเคยบูชาพระเพลิงที่ปรากฏรูปเป็นสาม คือบนฟ้าแสดงพระรูปเป็นสูรยเทพ ถ้าอยู่ระหว่างอากาศแสดงรูปเป็นสายฟ้า คือฟ้าผ่าแล้วเป็นเพลิงไหม้ ส่วนภาคที่อยู่บนดินก็เป็นไฟอย่างที่เรารู้จัก ถ้าเป็นเช่นนั้นจะถือว่า สูรยะ อินทรา (ผู้ทรงวัชระ ก็คือสายฟ้า เป็นอาวุธ) และอัคนี เคยถูกถือว่าเป็นเทพองค์เดียวกันมาก่อนได้ไหมครับ? แล้วค่อยแยกทีหลัง
ผมเข้าใจว่าคติความเชื่อนี้มีมาก่อนความคิดเรื่องสามมหาเทพในตรีมูรตินาน แปลกดีที่มีรูปเป็นองค์ 3 เหมือนกัน แต่เป็นองค์ 3 ของไฟ เท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 20:01
|
|
เรื่องฮินดูเรอเนซองซ์หลังพุทธกาล ที่คุณพิพัฒน์ท่านเสนอขึ้นมานั้น ทำไมก็ไม่ทราบครับ ผมอ่านแล้วใจแว้บไปถึงศังกราจารย์ไปโน่น ซึ่งเกี่ยวกันหรือเปล่าผมก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 20:18
|
|
อยากจะตอบยาวหน่อย แต่กำลังใจจดใจจ่อรอตอนต่อไปของคุณสามศ. เอาสั้นๆอย่างนี้นะครับ ผมเชื่อว่า"เรื่อง" เก่ากว่า "เล่า" หรือพูดได้ว่า เรื่องเก่าเล่าใหม่ ลองนึกว่าผู้เฒ่าที่บ้านเชียงนั่งปั้นหม้อไปก็เล่าเรื่องกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้าไป ผ่านไปพันปี เรื่องนี้ก้อยังถูกเล่าขานกันอยู่ แต่ภาษาที่ใช้นั้นเปลี่ยนไปเป็นภาษาธรรมะเสียแล้ว พญาลิไทท่านจึงอด"โอ่"มิได้ ท่านไม่ข้องแวะเรื่องพื้นบ้านเลย ทำโพสค็อกอย่างเดียว
ทางฮินดูก็เช่นกัน ศังกราจารย์ย่อมเอาภาษาสมัยตนไปห่อหุ้มเรื่องเล่าเมื่อสองพันปีก่อน
คุณนิลครับ ช่วยบอกด้วยนะครับ ว่าถนัดเรื่องอะไร ผมจะได้ระวังไม่ไปพ้องพาล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
     
ตอบ: 1012
ทำงานราชการ
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 20:22
|
|
ไม่ถนัดสักกะเรื่องครับคุณครู Pipat ถนัดฟัง แฮ่ะแฮ่ะแฮ่ะ - -
เชิญท่าน จขกท. ต่อครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ศศิศ
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 02 พ.ค. 06, 21:16
|
|
มาละครับ มาเล่าต่อละกัน หลังจากไปเอาตอนที่ขาดหายไปมาละครับผม
..................................
เมื่อได้ฟังดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตกายให้เท่ากับผงธุลี ไปลี้อยู่ระหว่างคิ้วของปรไมสวร ซึ่งคล้ายกับขนตาอยู่ใกล้ตาแต่กลับมองไม่เห็น แล้วพระพุทธเจ้าก็กู่เรียกให้ไปหาได้
ปรไมสวรก็เล็งหาดูในหมื่นจักรวาลก็ไม่จวบพบ ไม่ว่าจะทวีปทั้ง ๔ ภูเขาลำห้วย พฤกษาลดาวัลย์ พื้นน้ำมหาสมุทร เมืองครุฑเมืองนาค นอกจักรวาล หรือแม้แต่ในฉกามาพจรภพโสฬสพรหม ก็ไม่พบเจอ ค้นแล้วคนอีก อยู่อย่างนั้นเจ็ดรอบก็ไม่พบได้ ในที่สุดก็ยอมแพ้ บอกให้พระพุทธองค์ปรากฏออกมา
พระพุทธองค์จึงเนรมิตบันไดแก้ว ๗ ประการ พุ่งออกจากหน้าผากปรไมสวรลงไปยังพื้นดิน พระพุทธองค์ก็เสด็จลีลาลงจากหน้าผากปรไมสวรแล้วไปประทับอยู่ในที่อันควร
ปรไมสวรเห็นดังนั้นก็มีความเลื่อมใส สรรเสริญพระพุทธเจ้า ด้วยอิทธิอานุภาพแห่งองค์พระพุทธเจ้านั่นเอง แล้วพระพุทธเจ้าก็สั่งสอนปรไมสวรและให้ตั้งอยู่ในไตรสรณะ แล้วก็กลับมายังเชตวันอาราม สั่งสอนปัณสัตว์ตราบจนเสด็จเข้าสู่โมกขนิพพาน
เมื่อพระพุทธเจ้าตั้งศาสนาไว้ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ปรไมสวรมีใจศรัทธา จึงเนรมิตอาวาสปราสาทอันประดับประดาด้วยแก้ว ๗ ประการ ภายในปราสาทนั้นประดับด้วยแก้วต่าง ๆ เสาเป็นแก้ว พื้นก็ปูด้วยแก้วทับทิม เวลาเหยียบลงไปก็จะยุบอ่อนนุ่ม แต่พอยกเท้าขึ้นก็ยกตัวมาเสมอกันดังเดิม ส่วนบันไดนั้นทำมาจากเงิน และก่อศาลาบริจาคด้วยแก้วต่าง ๆ มากมายสุดจะคณนานับ
ปรไมสวรก็เนรมิตสารูปพิมพาของพระพุทธเจ้าด้วยแก้วตามลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนั้น ประดิษฐานเหนือแท่นทองในปราสาทนั้น และให้นายมกฏะเทวบุตรอันเป็นใหญ่แก่วอกทั้งหลายเป็นข้าพระ ดูแลอุปัฏฐากพระพุทธรูปพร้อมทั้งกัลปนาปัจจัย ๔ และเครื่องบริโภคทั้งหลายไว้สำหรับบูชาพระพุทธ
ในยามนั้น พระอรหันต์ทั้งหลาย ๕๐๐ ตน ที่อยู่ในนันทคูหาข้างดอยคันธมาทน์ ก็เหาะมาไหว้พระพุทธรูป และฉันข้าวที่ปรไมสวรถวายให้เป็นดั่งนี้ทุกวัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
- ศศิศ -
|
|
|
|