เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 45202 เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ของไทย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 13:03

 "พระอิศวร และพระนารายณ์ไม่ได้เข้ามาในพระไตรปิฏกเลย"

ข้อสังเกตนี้ ผมขออนุญาตสรุปว่า
สองเทพดังกล่าว เกิดไม่ทันพุทธกาลน่ะครับ
สมัยที่พระพุทธองค์ทรงจาริกไปทั่วมทธยประเทศ เทวดาอินเดียยังไม่อุดมสมบูรณ์อย่างทุกวันนี้ หลายองค์อาจจะมีอยู่ แต่นับถือกันในกลุ่มชนเล็กๆ
พระเจ้าอโศกเอง หลังพระพุทธเจ้ามาตั้งสองร้อยปี ท่านยังไม่อ้างเทวาองค์ใดเป็นจำเพาะเจาะจง ท่านเรียกตนเองว่า เทวายัมปิยะทัศศี

มีนักฮินดูจำนวนมาก พยายามโยงการเคารพองค์ชาติในวัฒนธรรมก่อนมีตัวหนังสือว่าเป็น ไศวนิกายแบบดั้งเดิม
ผมขอแย้งให้เขาหมั่นไส้ว่า พี่เล่นเอาของที่มีอยู่แล้วมาอุปโลกเป็นของตัว อะไรอะไรมันก็เก่าได้หมดแหละครับ

ผมจึงเน้นว่ามีฮินดูเรอเนซองค์เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน เพราะลำพังการดำรงวรรณะพราหมณ์โดยกำเนิด ได้ถูกพระเจ้าอโศกตีค่าเทียบเท่าสมณะ(รวมพุทธและชินไว้ด้วยกัน) แถมยังทำจารึกประกาศเสียทั่วอาณาจักร เสียรังวัดไม่น้อย

แต่เรื่องนี้ผมนึกเอาเองนะครับ อย่าเชื่อเป็นอันขาด
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 13:13

 อ้างชื่ออโศกผิด ตาลาย กรุณาตรวจจากลิงค์นะครับ

อาจารย์เทาฯ เกเร
เดี๋ยวผมจะหาของหนักกว่านี้มาให้นะครับ
ประมาณว่าบรรยายมหานครนิพพาน ที่มีกระดิ่งกรุ๊งกริ๊ง สายลมหอมสะอาดพัดผ่าน

สองรูปนี้ห่างกันสองพันกว่าปี แต่เล่าเรื่องเดียวกัน
----------
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 13:26

ตั้งแต่ดิฉันบอกความจริงไปว่ารู้วรรณคดีสันสกฤตแบบสเน้คๆฟิชๆ ก็เข้าทางปืนของคุณพิพัฒน์พอดี
ขอตอบเพื่อยืนยันความไม่รู้
เรื่องสัตว์ ๔ ตัวนั้น  ดูเหมือนจะมีสิงห์ โค ม้า กะอะไรอีกสักตัว  ช้างหรือเปล่าจำไม่ได้
ยืนอ้าปากปล่อยน้ำไหลลงสระอะไรสักแห่งในป่าหิมพานต์  หรือว่าน้ำในสระไหลออกทางปากสัตว์พวกนี้  ก็ไม่แน่ใจ

บนชั้นหนังสือ มีตำราอยู่ 3 เล่ม   เขียนโดยดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา และศ. วิสุทธิ์ บุษยกุล   เจ้ายุทธภพวรรณคดีสันสกฤตแห่งเทวาลัยทั้งคู่
ลูกศิษย์หางแถวยังแกะรอยไม่เจอตอนม้าลาโคกระบือ  พวกนี้ เลยตอบไม่ได้ค่ะ

คุณพิพัฒน์    พระศิวะกับพระวิษณุไม่ได้เกิดตั้งแต่สมัยพระเวทหรือคะ   นี่ถามจริงๆไม่ได้ดักคอ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 14:36

 คำตอบคือวรรณคดีพระเวท ที่เก่าที่สุด น่าจะใหม่ๆซิงซิงมังครับ
(เอาของจริงนะครับ ประเภทจำหลักติดถ้ำ ติดรูปเคารพ เพื่อกำหนดอายุได้)
ที่เราใช้กันอยู่นี่ ล้วนแล้วแต่เป็นฉบับคัดลอกกันมา
อาจารย์ว่า จารึกอโศกอายุสองพันสามร้อยกว่าปี รูปแบบภาษาประมาณนั้น หากใช้ร่ายโศลกระดับฤคเวท จะไหวใหมครับ

ดูจากวิวัฒนาการแล้ว ผมไม่คิดว่าพระเวทจะเก่าเท่าส่วนที่เก่าที่สุดในพระไตรปิฎกได้
พิจารณาที่ความอลังการณ์แห่งภาษา น่าจะร่วมสมัยกับคัมภีร์มหายานรุ่นแรกๆ ราวๆสองพันปีเศษ

นี่ความเห็นของนักประหลาดนะครับ ผิดถูกช่วยตกแต่งด้วย วรรณกรรมนี่ผมยิ่งรู้น้อยกว่าประติมาณวิทยาเสียอีก
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 18:28



  เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน( ...โอ้ว..นี่ผมแก่ปานนี้แล้วหรือนี่)



บ็อบ บราวน์ (Robert L. Brown) เพิ่งจบเอก แกปล่อยบทความมาชิ้นหนึ่ง "Indra's Heaven: A Dharmacakrastambha Socle in the Bangkok National Museum," Ars Orientalis 14 (1984) ศึกษาหินจำหลักปริศนาในห้องทวาราวดี ที่ดูปงค์ขุดเจอสมัยก่อนสงครามที่นครปฐม

บ๊อบตีความว่าเป็นรูปวิมานอินทรา ผมอ่านแล้วขำกลิ้ง (อันนี้สำนวนนะครับ  ที่จริงขากรรไกรค้างมากกว่า) เพราะสงกะสัยว่าท่านไปเอาหลักฐานจากใหน ขนาดบ็วสเซลิเย่ที่ครองราชย์เป็นนักปราชญ์อันดับหนึ่งอยู่ในวันนั้น ยังไม่กล้าฟันธง



ปีนั้นผมว่างงานอยู่ เลยเข้าไปเขียนแบบหินก้อนนี้ไว้ เพราะอยากรู้ตั้งแต่เห็นครั้งแรกแล้วว่า ก้อนอะไร ดูยากฉะมัด

การเขียนแบบนี่เหมือนเล่นจิ๊กซอครับ ตรงใหนขาด เว้นไว้ก่อน เดี๋ยวจะเจอข้อมูลมาเติมส่วนขาดได้



ปรากฏว่า ผลออกมาตรงข้ามกับท่านว่าไว้

คือเป็นสูรย์วิมานครับ สมบูรณ์แบบงดงามไม่แพ้ของสารนาถเชียวแหละ(อันนี้โม้หน่อยนะครับ มันปลื้มครับ)

จากนั้นผมก็จัดการรีสะตอเรชั่น สร้างรูปที่สมบูรณ์ขึ้นมา ขนาดประมาณ 1:4 ม้วนเก็บไว้ ม้วนนั้นยาวร่วม 3 เมตรครับท่าน

แปลว่าของจริงคงเกินสิบเมตรไปมาก



มาเรียนหนังสือ เลยส่งครู ครูบอกว่าดี ให้มาหนึ่ง A แต่แล้วกลับฝากบอกเพื่อนมาว่า ไม่รู้ว่าเอ็งลอกบ๊อบ บราวน์ หาไม่จะปรับตก ผมเลยเลิกเรียน หมดสิ้นศรัทธาในระบบการศึกษามาจนถึงทุกวันนี้

แค้นตรงที่ว่า ผมทำ measure drawing เสร็จก่อนบทความของบ๊อบตีพิมพ์ปีกว่า ครั้นจะเขียนบทความแย้ง ก้อยังเด็กนัก (อันที่จริงเขียนไม่เป็นเสีบละมากกว่า เป็นช่างครับ ไม่ใช่นักวิชาการ)

จนแล้วจนรอดข้อมูลนี้ก็ยังเก็บไว้กับตัว



จะเล่าความลับนะครับ ว่าทำไมบราวน์ถึงพลาด แกใช้รูปถ่ายเป็นเครื่องช่วยตีความครับ แล้วแกก็พยายามอย่างมาก ที่จะคัดลอกเส้นออกมาจากรูปถ่ายดำปิ๊ดปี๋เหล่านั้น แกมองเห็นเป็นชั้นๆ ว่าวิมานบังกันยังไง ผมดันเห็นเป็นรูปที่ต่างออกไป

บางทีถ้ามีโอกาส จะเรียบเรียงใหม่ พิมพ์ไว้เป็นที่ระลึกสิบปีการจากไปของพี่ที่เคารพ



แต่ตอนนี้ เอามาหากินใต้ถุนเรือนไทยของอาจารย์เทาเสียก่อน



มีของฝากอีกละ บทความเรื่อง ธรรมจักร ของคุณธนิต อยู่โพธิ์
 http://www.dhammajak.net/jaka/jaka01.htm

มีกล่าวถึงรูปสัตว์ทั้งสี่ ดูที่เชิงอรรถหน้า 3 ครับ



ส่วนรูป คือหินจำหลักจากมหาสถูปแห่งอมราวดี อังกฤษขุดเอาไปรักษาให้ที่ British Museum  เหล่าเทพเทวีทั้งหลาย ล้วนแต่ยังโนเนมกันทั้งนั้น

.

.

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 18:55

 เป็นอันว่าสัตว์ที่คุณพิพัฒน์เอ่ยถึงกับที่ดิฉันตอบ  เป็นประเภท "ไปไหนมา สามวาสองศอก"  คือคนละเรื่องกันเลยใช่ไหมคะ
คนละเรื่องก็บอกมาเถอะ  หักคะแนนไปตามใจชอบ  เพราะบอกตรงๆว่าเรื่องอะไรที่เล่าข้างบนนี้ดิฉันไม่ได้เรียนมาเลย
นอกจากไม่เรียนแล้วยังไม่รู้ด้วย

วรรณคดีเล่าแต่ว่ามีสระในป่าหิมพานต์ มีสัตว์ประจำอยู่ ๔ ด้าน  ๔ ชนิด  มีน้ำไหลออกจากปาก
ก็เลยนึกว่าเป็นตัวนั้นๆแหละที่เกี่ยวกับโสกันต์

ส่วนเรื่องของจักรแก้ว มีอยู่ใน นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์(กุ้ง)  รู้แค่นี้ละค่ะ  แต่สิงห์นั้นไม่ยักมี
อ้อ  ก่อนหน้านี้ก็มีในไตรภูมิกถาเหมือนกัน

คุณพิพัฒน์สมัยเรียนปริญญาโทคงเคยเป็นนักศึกษาที่อหังการ์เอาการ ( คำนี้เป็นคำชม ไม่ใช่คำว่ากล่าว)
อาจารย์เขาก็เป็นมนุษย์ปุถุชน   รู้   แต่ไม่ใช่ว่ารู้ไปเสียทุกอย่าง  อาจเข้าใจผิดบ้าง หลงผิดบ้าง หรือประเมินสติปัญญานศ. พลาดไปบ้าง
ก็ขอว่า ให้อภัยท่านเหมือนเราพึงให้อภัยตัวเองเถอะ  
อย่าคิดกว้างไปถึงสิ้นศรัทธาในระบบการศึกษา ซึ่งไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรด้วยเลย
ที่ขอยังงี้เพราะทุกวันนี้ห่วงระบบการศึกษาน่ะค่ะ ไม่ใช่อะไรอื่น  

ยุคนี้  ถ้าดิฉันย้อนกลับมาเรียนม.ปลาย หรือระดับปริญญาตรี  อาจจะเจ๊งไม่เป็นท่าเสียตั้งแต่เอนทรานซ์แล้วด้วยซ้ำ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 20:09

 ที่ผมเล่ามาเป็นตุเป็นตะ ดูเหมือนจะไม่มีที่ใหนสอนในสมัยที่ผมเรียนเหมือนกันครับ เรื่องสระอโนดาต ตัองรอคุ้ยหนังสือที่เก็บอย่างแหลกเหลว เผื่อจะมาเล่าให้ละเอียดกว่านี้ครับ

หากอาจารย์เทาฯ มีโอกาส ลองหาดิคชันนารีของมาลาเลเสเกระ
Dictionary of Pali Proper Names มาสอบดูก็จะทราบเรื่องพื้นฐานได้เกือบหมด สมัยก่อนอยากได้แต่แพงเหลือเกินชุดละเป็นพัน หน็อยแน่ เดี๋ยวนี้ชุดละเป็นหมื่น

หาเอาในเว็บก็ได้เหมือนกัน พอแก้ขัดครับ
 http://www.palikanon.com/english/pali_names/dic_idx.html
แล้วได้รูปแถมมาจากเว็บชาวเยอรมันคู่หนึ่ง ทำดีจนผมอายครับ
จากพระบาทของพระนอนวัดโพธิ์ ศิลปะประดับมุกสมัยรัชกาลที่ 3 ราวๆ พ.ศ. 2380
.
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 20:33

 สมัยเรียนผมเกเรจนไม่มีใครอยากสอน เพราะไม่เคยเชื่อใครเลย สุดท้ายไม่ได้อะไรติดมือมาสักอย่าง สมน้ำหน้า

แต่โรงเรียน ป.โทของผมก็เหลือรับประทาน ก่อนเปิด ไปอวดกับทบวงว่า ไม่เปิดสอนเป็นไม่ได้ เพราะอาจารย์ที่มี ล้วนแต่เก่งคับโลก มีความรู้มากมายจนต้องเอาออกมาใช้(หาไม่คงจุกตาย) สอนไปได้สามสี่รุ่น ขอปิดหลักสูตร บอกว่าความรู้ไม่พอ ต้องไปทำวิจัยเพิ่ม 555555
ทั้งๆที่วิชาหลักๆ เชิญคนนอกมาสอนทั้งนั้น

ผมมาเป็นสมาชิกเว็บนี้ เพราะยังรักในระบบการศึกษา และเห็นด้วยกับความรู้ที่แจกฟรีอย่างที่ทุกท่านร่วมมือร่วมใจกันอยู่ในขณะนี้ ได้ความรู้มากจนรู้สึกอายแทนระบบให้แผ่นกระดาษแลกเงิน อ่านเจอในกระทู้หนึ่งว่าเจ๊อะไรที่กวดวิชา มีเงินซื้อที่สองสามร้อยล้าน เพื่อเปิดโรงเรียนกวดวิชา รู้สึกอิจฉาจนหูกระดิก

ครูผมคนหนึ่ง ถ่ายรูปชนบทไทยเก็บสะสมสามสิบกว่าปี นับหลายหมื่นรูป เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ประเมินค่ามิได้ แต่ไอ้โรงเรียนที่แกสังกัด ตีราคาได้ครับ บอกว่าเมื่อพี่เกษียณไปแล้ว จงหาฟิล์มจำนวนเท่าที่พี่เคยเบิกไปใช้ เอามาคืนเสีย แล้วราชการจะไม่เอาเรื่อง
นึกถึงกรณีเจ๊เคมีที่ว่า ถ้าเราได้พระตำหนักนั้นมาทำศูนย์ข้อมูลวัฒนธรรมไทยอย่างเว็บของอาจารย์เทาและพวก มีห้องหนึ่งอวดรูปของครูผม และของคนอื่นๆ ยอมให้แกใช้ใต้ถุนกวดวิชา บ้านเมืองคงน่าอยู่กว่านี้นะคับ

เห็นว่าผมสติแตกก้อช่วยเตือนด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 23:00

 กลับมาเรื่องอินทราต่อ

ผมยกเรื่องบ๊อบ บราวน์มาเล่าเพื่อชี้ว่า ในยุคหนึ่ง เทวดาทั้งหลาย ยังไม่ค่อยมีข้อแตกต่างกันมากนัก บราวน์จึงชี้สูรย์เทพเป็นอินทราเทพได้
ทำให้ผมคิดเอาว่า คงเป็นยุคที่มีเทวดาให้เลือกน้อย เทวลักษณะจึงไม่จำเป็นต้องพัฒนามากนัก เป็นต้นว่า ในรูปจำหลักจากมหาสถูปอมราวดีที่แปะให้ดูท้ายความเห็น 19  และนำรูปเต็มมาให้ชมข้างซ้ายมือ
ลักษณะรูปเคารพนี่ออกจะเบบี๋ๆมากๆ คือดูง่ายครับ เป็นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ เทศนา และปรินิพพาน (ดูจากล่าง ขึ้นบนตรับ ปลายสุดคือตรีรัตนะ) ผมไม่เห็นรูปจริง เลยไม่กล้าฟันธง ว่าคิวเรเตอร์ของบริติช มิวเซียมเอาอะไรมารองรับ จึงระบุว่ารูปกลางเป็นปฐมเทศนา เคยมีหนังสือที่พิมพ์รูปชุดนี้อย่างงาม แต่หายไปแล้วเลยไม่กล้าค้านฝรั่งเต็มตัว
แต่ปกติ ปฐมเทศนา ควรมีรูปกวางประกอบ

เห็นใหมครับ ว่าประติมาณวิทยาบางยุค ก็ง่ายเหมือนเกมส์ทศกัณฐ์ แต่ที่ยากนะครับท่านผู้ฟัง ต้องขอใช้ศัพท์จิ๊กโก๋ว่า โคตะระยากเลย ครั้งสุดท้ายที่คุยกับพี่แดงของผม แกกำลังคร่ำเคร่งกับการนับขนนกบนหมวกของเทวาองค์หนึ่ง ก่อนหน้านั้นแกเพิ่งตัดสินใจกำหนดลักษณะของต่างหูเสร็จ ผมก็เพิ่งทราบตอนนั้นแหละครับ ว่าการสอดแผ่นทองคำม้วนเข้าเป็นต่างหู มีรูปแบบต่างกันมากกว่าสิบแบบ แกใช้เวลาเป็นเดือนครับ เพียงเพื่อจะบอกว่าเทวดาองค์นั้น ชื่ออะไร
ปัญหานี้ เกิดเพราะต้องจัดหาเทวดามาใช้งานเพิ่มมากขึ้น เหตุผลก็ง่ายๆนะครับ คือคติความเชื่อพัฒนามาสู่ลำดับขั้นที่ความศักดิ์สิทธิ์วัดกันที่ปริมาณ ไม่วัดกันที่แก่นเรื่อง
นั่นเป็นยุดฮินดูตีโต้แล้วครับ เทวดาใหม่ๆ เก่งๆ ถูกขุดออกมาแข่งกัน ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร มีชื่อเทวานับจำนวนไม่ถ้วน แต่ในธรรมบท หรืออุทาน บางทีอ่านจนลืม หาเทวดาไม่เจอสักองค์  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 23:17

 อินทราที่เรารู้จัก เป็นเชื้อชาติพราหมณ์สัญชาติพุทธ
ผมใช้คำว่าพราหมณ์ตรงนี้ เพื่อแยกออกจากฮินดู ซึ่งต่อไปนี้ จะหมายความอย่างจำเพาะเจาะจงว่า เป็นคติพราหมณ์ที่ออกแบบใหม่ ให้สามารถต่อสู้กับพระพุทธศาสนาได้ คือหลังสังคีติที่สามภายใต้การอุปถัมภ์ของราชากนิษกะ อันเป็นครั้งแรกที่แยกนิกายหลักเป็นสองทาง ผมเดาว่า ฝ่ายที่แยกตัวเป็นมหายาน เพราะเล็งเห็นว่า หากเคร่งคัมภีร์เกินไป เห็นทีพุทธจะสูญพันธุ์

การแข่งกันอย่างนี้ ก่อให้เกิดยุคทองของประติมาณวิทยา แต่เป็นยุคหน้ามืดของนักเรียนศิลปะอย่างผม
คิดดูละกัน เฉพาะมัทรา คือการจีบนิ้ว แค่นั้นเอง ทำด็อกเตอร์ได้แล้ว ผมลองพิมพ์ mudra ใส่กูเกิ้ล ได้มาล้านสี่แสนกว่าตัว jataka ได้มาแค่สี่แสนกว่า
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 23:21

 ดูเหมือนผมจะออกทะเลไปไกลสักหน่อย ท่านที่สนใจกรุณาเตือนด้วยนะครับ หากเห็นว่ามีน้ำมากกว่าเนื้อ หรือต้องการให้เข้าประเด็นใดเป็นพิเศษ
หากทำได้ยินดีปฎิบัติครับ นี่เป็นเรื่องเล่าแบบสั่งตัดครับ คนฟังสำคัญกว่าคนเล่า

ขอบพระคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 01:45

 สนุกครับ

เชิญต่อเลยครับ อย่าหยุด ฮิฮิ

mudra รู้สึกว่าจะเคยเห็นใช้กันว่า มุทรา บ่อยๆครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 08:38

 อ่านเพลิน
ขอย้อนไปประเด็นเก่าที่คุณพิพัฒน์จุดไฟไว้

"ครูผมคนหนึ่ง ถ่ายรูปชนบทไทยเก็บสะสมสามสิบกว่าปี นับหลายหมื่นรูป เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ประเมินค่ามิได้ แต่ไอ้โรงเรียนที่แกสังกัด ตีราคาได้ครับ บอกว่าเมื่อพี่เกษียณไปแล้ว จงหาฟิล์มจำนวนเท่าที่พี่เคยเบิกไปใช้ เอามาคืนเสีย แล้วราชการจะไม่เอาเรื่อง "
น้ำเสียงคุณพิพัฒน์ดูจะน้อยใจแทนครูอยู่หน่อยๆ ที่ผู้บริหารร.ร.ไม่เห็นคุณค่าของภาพถ่าย  แต่เห็นแค่ราคาของฟิล์ม

คุณเข้าใจผิดหรือเปล่า
สิ่งที่ผู้บริหารร.ร.คนนั้นทำไม่ใช่การประเมินค่าของภาพถ่าย แต่เป็นการให้ครูจ่ายค่าปรับอย่างอะลุ้มอล่วยที่สุดแล้ว
มันคนละเรื่องกับการตีราคาภาพนะคะ  

ฟิล์มที่เบิกไปเป็นทรัพย์สินของราชการ  หรือโบราณเรียกว่า"ของหลวง" ถือกันว่าตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้   ตกไปอยู่สารทิศใดต้องตามเอากลับคืนเข้าท้องพระคลังหลวง
ถ้าเอาของเดิมคืนมาไม่ได้ก็ต้องให้ผู้ที่เอาไปครอบครองจ่ายชดเชยในราคาเท่ากัน
อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการนี่แหละ   ถ้าทำหาย  ดวงหนึ่งชดเชยเป็นแสน   หน้ามืดเชียวนะคะ

ถ้าดิฉันเป็นครู  ดีใจตายเลยที่ทางร.ร.ให้ชดเชยเงินแค่นั้น  ถ้าไปเจอผ.อ.ที่ประเมินค่าภาพถ่ายจากฟิล์มว่ามีราคาสูงยิ่ง รวมเป็นส่วนหนึ่งของฟิล์ม  ถือว่าเป็นผลผลิตจากทรัพย์สินของราชการ  
ยื่นคำขาดให้ครูของคุณชดเชยด้วยราคาอันแทบจะประเมินมิได้เช่นร้อยล้าบาท
ครูคุณอาจจะเกือบหัวใจวายลงตรงนั้นก็ได้
เพราะงั้นเขาปรับแค่ฟิล์มน่ะดีแล้ว   ครูเก็บภาพถ่ายไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมต่อไปเถอะค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 10:01

 คนที่รับราชการพึงสังวรณ์ โดยเฉพาะครู
ผมได้บทเรียนจากคดีนี้ว่า
1 เขาไม่ได้ถือว่าฟิล์มถ่ายรูปเป็นวัสดุสิ้นเปลือง ประเภทกระดาษ ชอล์ค แปลงลบกระดาน แต่เป็นค่าใช้จ่ายจำพวกที่ต้องมีใบเสร็จ ประเภทค่าน้ำมันประมาณนั้น
2 เขามิได้ตีค่าทรัพย์สินทางปัญญาเลย ทั้งที่บุคคลากรด้านนี้ ทำงานด้วยใจรัก หากราชการต้องการผลงาน ย่อมยินดีอยู่แล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ราชการต้องมีระบบเก็บรักษาที่พอเหมาะกับค่าของสิ่งนั้น
3 เขาคิดได้เท่ากับบริษัทฟิล์ม คือรับผิดชอบเพียงฟิล์ม หากทำเสียหาย ก็ชดใช้แค่ฟิล์มดิบ ฝีมือไม่รับชดใช้ แต่นั่นเราไม่ว่ากัน เพราะเป็นข้อตกลงก่อนติดต่อธุรกิจ แต่นี่เรากำลังพูดถึงสถาบันที่เป็นยอดสุดของประเทศ มีภาระกิจทำนุบำรุงสติปัญญาและวัฒนธรมของระบบ ทำไมคิดกันได้แค่ระดับเสมียน
4 หากราชการเปลี่ยนวิธีคิด มองทะลุเข้าไปถึงหัวใจของกิจกรรมทางปัญญา คงจะได้มองเห็นสมบัติมหึมาของประเทศชาติที่ถูกโยนทิ้งเป็นขยะอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ผมนึกถึงลายพระหัตถ์ข้อสอบของพระราชบิดา ที่เพิ่งมีผู้เสนอในเรือนไทยของเรา แค่กระดาษสองแผ่น อาจสร้างความกระจ่างให้ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาก้อได้ ใครจะไปรู้
สิ่งมีค่าเหล่านี้ ราชการทำลายทิ้งไปไม่รู้วันละเท่าไร
เห็นกระดาษเปล่ามีค่ากว่ากระดาษเปื้อนหมึก

อาจารย์เทาฯ อย่าทิ้งกระดาษที่จดอะไรขยุกขยิกทิ้งนะครับ ผมจะเก็บเอามาทำหอประวัติเรือนไทย ฮิ ฮิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 เม.ย. 06, 10:25

 ดิฉันเข้าใจว่าครูของคุณพิพัฒน์เบิกฟิล์มของราชการไปถ่ายรูป  ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับงานการสอน
ถ้าไม่เกี่ยว รูปที่ถ่ายได้เจ้าตัวเก็บไว้   ก็ต้องใช้ราคาฟิล์มคืนราชการ แค่นี้ละค่ะ

"เขามิได้ตีค่าทรัพย์สินทางปัญญาเลย ทั้งที่บุคคลากรด้านนี้ ทำงานด้วยใจรัก หากราชการต้องการผลงาน ย่อมยินดีอยู่แล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ราชการต้องมีระบบเก็บรักษาที่พอเหมาะกับค่าของสิ่งนั้น"
หวังว่าครูของคุณพิพัฒน์ไม่ได้มอบผลงานให้ราชการนะคะ  เก็บรักษาไว้ให้สถาบันเอกชนภายนอก หรือลูกหลานดูแลต่อไปน่าจะดีกว่า
ดิฉันยังไม่เห็นหน่วยราชการหน่วยไหนมีระบบเก็บรักษาที่เหมาะสมได้เพียงพอเลย   แม้แต่หน่วยงานที่ทำหน้าที่รักษางานศิลปะต่างๆไว้ก็มีเนื้อที่จำกัด ไม่สามารถเก็บได้หมด
เผลอๆเกิดซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่  สร้างตึกใหม่ ต่อปีกใหม่ ทำห้องใหม่  ผลงานอาจลงไปพักรออยู่ใต้ถุนนานหลายปีก็เป็นได้

แต่ถ้าครูของคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ หรือบุคคลดีเด่นทางวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรมเขามีหออัครศิลปินไว้แสดงผลงาน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง