เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 45154 เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ของไทย
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 11:14

 ตามบัญชาของอาจารย์เทาชมพู ท่านสั่งให้มาเปิดห้องเรียนใหม่ ผมมาปัดกวาดทำความสะอาด ลบกระดานรอท่าน

ตอนนี้ลองตั้งคำถามเล่นๆ รอเวลาก่อนว่า
คำถามคือ

เทพเจ้าองค์ใด ที่ชาวไทยสนิทสนมคุ้นเคยมากที่สุด ผมเสนอก่อนนะครับว่าได้แก่ อินทรา หรือพระอินทร์ตัวเขียวๆ ที่ชาวบ้านสมัยก่อนชอบอ้างกัน เวลาเราตักบาตรก็นิยมใส่ดอกบัวถวายพระภิกษุ นัยว่าจะให้เหมือนชายเข็ญใจผู้หนึ่ง ที่ทำดังนี้แล้วได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์

พระอินทร์นี่เป็นเทวดาที่แปลก คือความจริงเป็นตำแหน่ง เป็น presidency ใครทำดีถึงขั้นก็ได้เป็น ทางเหนือยังตกค้างความเชื่อนี้อยู่แน่แฟ้น พวกชื่อ อินต๊ะ นี่ละครับใช่เลย

เดี๋ยวมีโอกาสเหมาะ จะเรียนให้ท่านที่รักทั้งหลายทราบ เรื่องคติพระอินทร์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนับถือ

ตอนนี้รอคุณครูมาเข้าชั้น
เอ้า......นักเรียน    ตรง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 12:00


อินทราที่เก่าที่สุดชิ้นหนึ่ง มีเก่ากว่านี้ก็อยู่ในสกุลช่างโมระยะมาถึงสาญจี ซึ่งยังไม่สร้างรูปพระพุทธองค์ อันนั้นเราจะพิจารณาทีหลังครับ
รูปนี้เป็นผอบพระธาตุทำด้วยทองคำ มาจากสมัยกนิษกะ (ขอยืมมาจากวิกิพีเดีย The Buddha venerated by Indra and Brahma, Kanishka casket, dated to 127 CE, British Museum. http://en.wikipedia.org/wiki/Buddhism)  เมื่อพุทธศาสนาเริ่มแยกสายเป็นเหนือใต้แล้ว ในรูปนี้อินทรายังแสดงรูปเป็นมนุษย์ ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ไม่มีเทวูปโภค (คือเฟอร์นิเชอ่ร์ประจำตัว) สรวมหมวกทรงสูงซึ่งน่าจะเป็นต้นแบบของพวกเทวรูปสรวมหมวกทรงกระบอกในสมัยหลัง
รัศมีหรือประภามณฑลของพระพุทธองค์นั้น ต่างจากสองเทพซึ่งเป็นแผ่นเรียบๆ แต่ของพระองค์เป็นกลีบบัว(นับไม่ได้ว่ากี่กลีบ) เพื่อสะท้อนความเบิกบาน อันเนื่องจากทรง"ตื่น"แล้ว จากกิเลศร้อยรัดทั้งปวง แต่ศิลปินรุ่นหลัง(มากกกก..เป็นพันปีต่อมา)นิยมทำเป็นรัศมี เพื่อแสดงพุทธบารมีตอนทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ อย่างในกระทู้พระพุทธชินราชนั่นแหละครับ

น่าขอบคุณผู้ถ่ายรูปนี้ ที่อุตสาหะขยายรายละเอียดจนเห็นกระทั่งรอยสิ่วของช่างทอง (ต้องไปดูรูปในเวบต้นทางนะครับ Mb กว่าทีเดียว)
แต่ไม่ชอบคำบรรยายรูปที่เรียกรูปนี้ว่า "องค์สาม" เพราะเขาไม่เข้าใจนัยยะทางพุทธปรัชญา รูปนี้จะถือเป็นผู้ควรเคารพทั้งสามมิได้ สองเทพนั้นมีศักดิเสมอผู้พิทักษ์ หาพึงเคารพบูชาไม่ เป็นอุปกรณ์เพื่อเสริมส่งความสูงส่งแห่งพุทธิปัญญาอันมาจากการตรัสรุ้เท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 14:29

 ค่อยๆย่องเอาชาเขียวเข้ามาวาง สำหรับอาจารย์ท่านใหม่แก้คอแห้ง  แล้วถอยไปนั่งแอบอยู่แถวหลังสุด

เคยบอกแล้วว่าไม่รู้เรื่องประติมาณวิทยา  รู้แต่วรรณคดีสันสกฤตแบบงูๆปลาๆ
จำได้กะท่อนกะแท่นว่าพระอินทร์เป็นเทพของศาสนาพราหมณ์มาก่อน   มีบทบาทอะไรต่อมิอะไรหลายอย่างโลดโผนไม่แพ้พระเอกละคร
แต่เมื่อพุทธศาสนารุ่งเรืองขึ้นในชมพูทวีป พระอินทร์ก็เข้ามาในบทบาทใหม่ในพระไตรปิฏก  เป็นบทบาทดีในทำนองศาสนูปถัมภก  
ส่วนพระพรหมองค์ที่ครรไลหงส์นั้นไม่แน่ใจว่าเป็นองค์เดียวกับในบทสวด พรหมา จโลกา ธิปติหรือเปล่า
ใครบวชเรียนแล้วช่วยทบทวนความจำให้ด้วยได้ไหมคะ
แต่ว่ามีพรหมเป็นจำนวนมากในสวรรค์ชั้นพรหม ตามคติของพุทธ

ส่วนพระอิศวร และพระนารายณ์ไม่ได้เข้ามาในพระไตรปิฏกเลย  
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 14:49

 ถูกอาจารย์เทาหักหลัง
ท่านบอกว่า "ดิฉันก็จะไปแจม ไม่ให้คอแห้งอยู่คนเดียว"
ท่านเล่นเอาชาเขียวมาส่ง แปลว่างานนี้คงถึงน้ำลายเหนียวคอเทียวหรือ
ผมเป็นเด็กฝึกงานนะครับ ยังไม่พ้นโพรเบชั่น เป็นแค่เครื่องบินกระดาษพับบินลอดได้แค่ใต้ถุนบ้านเอง

ยังไงก้อช่วยเสริมด้วยนะครับ ทุกท่าน
อย่าปล่อยผมหลงทางอยู่ใต้พื้นเรือนเดียวดายแต่ผู้เดียว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 16:51

 เรื่องอินทราที่จะเล่าต่อไปนี้ ถ้าจะมีคุณงามความดี ก็ขอยกให้พี่แดง ผู้ล่วงลับ ส่วนขี้เท่อผมขอรับไปไว้บ้านครับ
บางเรื่องออกจะมั่วหน่อยตามประสาคนไม่อ่านหนังสือ บางเรื่องก็เดาเอาดื้อๆ ก็ผมเกิดไม่ทันนี่ครับ
เพราะฉะนั้น อ่านเอามัน อย่าอ่านเอาเรื่องละกัน

จะว่าไปแล้ว อินทรานี่อาจจะเป็นเทพที่มีส่วนผสมอันแปลกประหลาดนะครับ คือทางหนึ่ง ท่านก็เป็น personification ของปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันได้แก่ฟ้าผ่า (วัชระ) แต่ในประวัติ ก็ดูเหมือนท่านจะมีตัวเป็นๆให้ศัตรูชี้เฉพาะ เช่นเรื่องเป็นชู้กับเมียฤาษี จนถูกสาปเป็นท้าวพันตา(สหัสนัย) แล้วพอถูกบวชมาเป็นพุทธนี่ ท่านถูกตัดหางปล่อยวัด ขนาดรบแพ้ลูกทศกัณฐ์ก็ยังเคย (อินทรชิต) แต่ก็ยังดี เพราะในตำนานพุทธ ยังพอมีบทให้ท่านเล่นบ้าง เช่นมาดีดพิณสามสายเพื่อเตือนพระพุทธองค์ หรือมาลักพระเขี้ยวแก้วไปบูชาบนดาวดึงส์
แต่ที่มีความหมายอย่างยิ่งยวด ก็พบในวัฒนธรรมรัตนโกสินทร์เท่านั้นแหละครับ ที่ยังคงเก็บรักษาคติพระอินทร์เอาไว้อย่างครบถ้วน จนถึงรัชกาลที่ 6 ที่ท่านเปลี่ยนสัญลักษณ์ไปเล่นเรื่องรามายาณะเสียหลายอย่าง

เทพในหมวดปุคคลาธิฐานนี้ น่าจะเก่าที่สุด มีมาพร้อมๆ กับมนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรมกระมัง
นำขบวนมาโดยสูรยะเทพ ซึ่งใครที่คุ้นกับศิลปะทวารวดีคงสังเกตเห็นว่า คนในรุ่นนั้น ยังนับถือท่านดีอยู่ ตีเสียว่าราวๆ พันห้าร้อยปีมาแล้ว ในดินแดนสุวรรณภูมินี่ สูรยเทพยังเป็นพระเอกทีเดียว ที่หันเจย สมโบร์เปรยกุ๊ก ยังพบท่านเยี่ยมหน้ามองลงมายังพื้นโลก ในเครื่องประกอบธรรมจักรและรวมทั้งวงล้อธรรมจักรที่พบแถบภาคกลาง ท่านก็ยังเป็นประธานอยู่ ไม่มีเทพองค์ใหนมาบดบัง

จักรวาฬวิทยาของสูรยเทพนี่ยังเป็นแบบปรีมิถีปครับ หาได้วิลิศมาหราอย่างของอินทราไม่ แต่ก็คงเป็นส่วนที่งอกงามออกไป ไม่เหมือนระบบหิมวันต์ที่พวกฮินดูเรอเนซองค์ไปตั้งวงสร้างสรรค์ใหม่ นันเป็นตำราคนละเล่มเลยละครับ ด้วยเหตุนี้พวกเราเหล่าขี้ข้าเทวดาจึงต้องมาเถียงกันอยู่นั่นแหละ ว่าภูเขาจักรวาฬมีกี่วง ทวีปใหนชื่อไร เทพประจำทิศมีใครบ้าง.......

สูรยะมีวิมานเป็นยอดไม้แค่นั้นเอง เหมือนบ้านนอกยังไงยังงั้นแหละครับ ขอแต่ให้ไม้นั้นเป็น “พนัสบดี” คือพระยาไม้เป็นพอ มีลำต้นที่ตั้งตรง ชูยอดขึ้นบนอากาศ รากหยั่งสู่พิภพ ในเวลาที่ดวงตะวันสถิตย์บนยอด ไม้นั้นก็จักกลายเป็นแกนโลก (axis-mundi) เป็นกัลป์สตัมพะ (kalapa stambha) ไม้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมบูรณ์
-----------------------------------
รูปประกอบมาจาก Takeo Kamiya แสดงสตัมพะ หรือสดมภ์แบบต่างๆ เป็นจักรวาฬวิทยาแบบเริ่มแรก ที่คติพระอินทร์จะมาครอบและเปลี่ยนเป็นระบบดาวดึงส์
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 17:25

 ของฝากอาจารย์เทาฯ http://students.washington.edu/prem/mw/a.html

โมเนียร์-วิลเลียมออนไลน์ครับ
ท่านอื่นจะเล่นก็ได้นะครับ หน้านี้เริ่มที่ตัว อา อยากได้หน้าใหนก็เปลี่ยน /?.html  ตรงท้ายลิงค์เอา ดิคฯ เล่มนี้เป็นอมตะ จะแพ้ก็คง อักขราภิธาศรับท์ ที่อาจารย์ทัตคัดแปล แต่ไหงเป็นหมอปลัดเลย์ได้ชื่อก็ไม่รู้
ขี้ตู่จริงๆ ฮึ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 19:30

 ขอแอบมานั่งแถวหลังกับอาจารย์ จิบชาฟังด้วยคนนะครับ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 00:16

 เชิญครับ จะรับชาด้วยก็ยินดีอย่างยิ่งครับ

มีคนมานั่งหลังห้องอย่างนี้
ผมรู้สึกเสียวสันหลังยังไงชอบกล ชวนให้คิดถึงสมัยเรียน ต้องเสนองานหน้าห้อง มันช่างเดียวดายจริงๆ มองไปหลังห้อง เจอแต่กระดูกเบอร์ใหญ่ๆ ไม่รู้ตูจะได้แต้มเท่าใด
หวังว่าอาจารย์ทั้งหลายจะเมตตานะขอรับ

เราจบลงที่เสาจักรวาล แต่ยังไม่จบเสียทีเดียวจะต่อให้เห็นการเชื่อมโยงมาสู่คติพระอินท์

ท่านคงเคยได้ยินคำว่าเสาอินทขีล (ทางเหนือเรียกอินต๊ะขีลา) กันบ้างนะครับ นี่แหละคือการต่อยอดของคติพระอินทร์จากคติเสาแกนโลกของสูรยเทพ พระอินทร์นี่แกก็ช่างตู่ไม่ใช่ย่อยครับ จัดการแปลง"เสา"จักรวาล มาเป็น"เขา"จักรวาล เรื่องก็จบ

ร่องรอยอยู่ที่เสาหินของพระเจ้าอโศกครับ

เสาเหล่านี้ ตามศัพท์ฝรั่ง เรียกว่า มอนอหลิท โมนุเมนท์ ( Monolith monument) อธิบายไปต่างๆ นานา แต่สมองขี้เลื่อยอย่างผม เห็นว่าคนละเรื่องเลยครับ พวกคอเคซอยเขาถือเป็นหิน แต่พี่ฮินดูบอกว่านั่นไม้ครับ เป็นการกลายร่างทางวัสดุ แต่นัยยะยังคงเดิม เราเรียกเสานี้ว่า ยูปะ(Yupa) คือเสายัญนั่นแหละครับ คติเดิมจะปักนอกหมู่บ้าน เอ หรือในก็ลืมซะแล่ว ตอนตั้งนี่มีพิธีกรรมทักเสาอะไรต่างๆพอสมควร แล้วจึงอัญเชิญสูรย์ลงครอง ต่อมาเมื่อการก่อสร้างทวีความซับซ้อนขึ้น เกิดเป็นพูนดินกันด้วยเขื่อน ที่เรียกกันว่า สะตูป (สถูป ถูป หรือโถป)นั่นแหละครับ เสายูปะก็ถูกหุ้มซ่อนไว้ข้างใน กลายเป็นเสาแกนโลก โผล่ทะลุยอดขึ้นมาแค่ส่วนปลาย เพื่อรองรับฉัตราวลี ที่ช่างไทยเรียกว่าปล้องฉไน แท้จริงคือส่วนหนึ่งของสูรยะเทพ ถ้าอยากเห็นเต็มตัว เชิญพิจารณาโครงสร้างของฉัตร อันเดียวกันเลยครับ
แล้วท่านเคยคิดต่อใหมครับ ว่าคติของไทย ห้อยนพปฎลมหาเศวตรฉัตรอยู่เบื้องบน หามีก้านไม่ คติจะสมบูรณ์ได้อย่างไร
นี่ละครับ การซ้อนกลของระบบสัญลักษณ์ โดยปรกติ เมื่อแขวนลอยอยู่ ย่อมไม่อาจนับเป็นการจำลองจักรวาลอันสมบูรณ์ ต่อเมื่อพระผู้เป็นเจ้าประทับบนพระที่นั่งพุดตาลเมื่อใด สิ่งที่ขาดหายจึ่งเติมเต็ม

เล่ามาถึงตรงนี้ เลยอดตรวจสอบข้อมูลมิได้ แล้วก็เจอเรื่องเศร้าที่สอง คือว่า นักวิชาการที่ผมปลื้มแกมากเรื่องเสาอโศก JOHN CONRAN IRWIN ได้เสียชีวิตไปอีกท่านหนึ่งแล้ว เลยถือโอกาสอ้างถึงท่านสักเล็กน้อยนะครับ ท่านเรียกเสาจักรวาลว่า stone kalpa-vriksha แล้วไอ้ความเข้าใจเรื่องเสาๆ พวกนี้ ล้วนมาจากบทความของท่านเป็นหลัก
ถ้าท่านใดเคยอ่านหนังสือ the symbolism of stupa ของ Adrian Snodgrass (แปลไทยแล้ว สนพ.อมรินทร์) โปรดฟังเฮียเออร์วิ่นแกปรายตาพร้อมทั้งสรุปสั้นๆว่า ถ้าแยกระหว่าง cosmology และ cosmogony ไม่ได้ ก็ไม่ควรจับเรื่องแบบนี้
ทำเอาผมไม่กล้ายุ่งกับท่านเอเดรียนอีกเลย อาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ก็ช่างอุตสาหะวิริยะพากเพียรจริงๆ เรื่องอื่นน่าแปล กว่าแยะ ไม่จับ ทราบมาว่าบรรดาไกด์(ผีและไม่ผี) ต้องมีกันคนละเล่ม เพราะสามารถอธิบายทุกอย่างเป็นจักรวาลวิทยาได้โดยอ้างเล่มนี้เล่มเดียว

นอกเรื่องไปมาก ขอโทษครับ ของขึ้น ต้องจิบชาดับอารมณ์เสียหน่อย
----------------------------
Stupa at Vaisali with Asokan Pillar
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 00:36


buddha sermon sculpture at sarnath

สมัยอโศก วัดใหญ่โตหายาก (ที่เห็นกัน เป็นงานสร้างเสริมสมัยคุปตะลงมา) ส่วนมากก็นับถือกันเป็นเครื่องปลงสังเวช ไปจาริกเพื่อยกระดับจิตใจเป็นกริยาบุญ
สถานที่สำคัญก็ทำเพียงรั้วหินล้อมโพธิ์ตรัสรู้ ตั้งเสาสิงห์ที่สวนลุมพินีวัน หรือเสาธรรมจักรแห่งสารนาถ
เฉพาะคติเสาธรรมจักรนี่ อาจแพร่ออกไปได้โดยไม่ต้องอ้างอิงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ เพราะธรรรมะตั้งมั่นที่ใด เสาแห่งธรรมก็ตั้งมั่นได้ฉันนั้น

อดแซวกรมศิลป์ไม่ได้ ธรรมจักรของท่าน น่าจะเป็นวงเดียวในจักรวาล ที่ไม่ต้องพึ่งเสา วางแหมะมันกองไว้ตรงนั้นแหละ แอ็กซ้งแอ้กซิส มุนด้งมุนดี้ ไม่ต้องมีครับ เรามันรุ่นใหนแล้ว
โบราณทำผิด กรมศิลป์ต้องมาแก้ให้ถูก
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 06:20

 สวัสดีครับ คุณpipat
ต้องขอบพระคุณ อ. ท่านใหม่อีกท่านในเรือนไทยมากครับ
ผมขอมานั่งฟังด้วยคนนะครับ

แต่ช่วงนี้คงหายบ่อยหน่อยนะครับ ถ้าแวบไปนานอาจารย์ pipat อย่าดุนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 09:32

 เข้ามารายงานตัว ในตอนสายค่ะ
เข้าชั้นเรียนช้าหน่อย  ก่อนหน้านี้ไปเดินด้อมๆมองๆตามใต้ถุนเรือนไทยบ้าง  หลังบานประตูบ้าง
ตามหาสมาชิกที่ไปแอบอยู่   จะได้พามารวมกันไว้ในห้องนี้

เดี๋ยวตอนเที่ยงจะไปหาโรตีจิ้มกินกับแกงเนื้อมาเลี้ยงนะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 09:53

 ลงชื่อเข้าชั้นเรียนด้วยคนครับ

นักเรียนคนนี้อาจจะผลุบๆโผล่ๆบ้าง แต่เนื้อหาวิชาจะพยายามไม่ให้ตกหล่นให้เสียน้ำใจของอาจารย์เชียวครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 12:44

 ตลาดนัดวิชาเสรียินดีต้อนรับครับ เนื้อหาออกจะมั่วศาสตร์ไปหน่อย ออกแนวโมเมมีทโธ๋โลยี่ก้ออย่าว่ากัน
--------------------
เสาอโศกที่ครบถ้วนจะมีกี่ต้นก็เหลือจะเดา ดูจากที่นี่น่าจะเพียงพอ
 http://www.cs.colostate.edu/~malaiya/ashoka.html

เออร์วินบอกว่า ส่วนหนึ่งเก่ากว่าสมัยอโศกด้วยซ้ำไป มีหลายรูปแบบ หลายวัสดุ คนไม่รู้อย่างผมก็เห็นเหมือนๆ กันหมด แต่มีต้นหนึ่งที่ดังกว่าเพื่อน เพราะท่านเนห์รู เชิญมาเป็นธงชาติ ขุดเจอที่สารนาถ โดยคันนิงแฮม(กระมัง) ผมมีรูปเปรียบเทียบสมัยขุดเจอกับที่ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ ดูจากขนาดคนในรูป จะเห็นว่านี่มิใช่ศิลปะธรรมดา เชื่อกันว่าเมื่อสมบูรณ์จะมีวงล้อธรรมจักรอยู่ด้วย และน่าจะสูงเท่าตึกสี่ชั้นเป็นอย่างน้อย

ยามเมื่อต้องแสงตะวัน หินที่ขัดจนเป็นมัน บวกกับฝีมือช่างที่จงใจจำหลักให้ลวดลายลึก และมีบริมาตรที่หนักแน่น เมื่อมองของจริง สายตาถูกแสงสว่างทำให้พร่ามัว ประติมากรรมนี้คงงามราวมีชีวิตทีเดียว ความจริงจะจำแนกเป็นประติมากรรมอาจจะไม่ถูกต้อง เพราะกระบวนการครอบครองที่ว่างนั้น อยู่ในระดับเหนือกว่าสถาปัตยกรรมเสียด้วยซ้ำ
นี่แหละตะวันตกที่ไม่เจอตะวันออก
คือเอาเกณฑ์ฝรั่งมาใช้กับงานระดับนี้ กฏเกณฑ์ก้อกลายเป็นของหยาบไปเลยครับท่าน

เพ้อไปหน่อย ของสวยของงาม อดพรรณาสรรเสริญมิได้ อย่าถือสา

ตรงหัวเสาจะเห็นสัญลักษณ์รูปสัตว์สี่ตัว นี่ละครับที่จะมาเข้าเรื่องอินทราเสียที เพราะสัตว์ทั้งสี่นี้ ใครที่แม่นเตภูมิกถา หรือคุ้นเคยกับป่าหิมพานต์ก็จะร้องอ๋อ รู้แล้วรู้แล้ว
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1802


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 12:47


------------------
ตรงนี้ขอแกล้งอาจารย์เทาหน่อยได้ใหมครับ

กรุณาเสริมความรู้เรื่องกำเนิดแม่น้ำจากปากสัตว์ทั้งสี่ ซึ่งจะโยงมาถึงพระราชพิธีโสกันต์ในพระราชสำนักของเราได้พอดี

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 12:52

 อ๊ากกกก
ไม่เข้าชั้นเรียนแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง