เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 10167 ผ้าไหมอัตลัด
Gabriel
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 00:55

 ขอนอกเรื่องนิดนึง อยากถามผู้รู้ครับว่า มีใครรู้จักผ้าไหมที่ชื่อว่า ผ้าไหมอัตลัด กันบ้างมั้ยครับ หน้าตามันเป็นแบบไหน และ หาซื้อได้ที่ไหนบ้าง รู้แต่เพียงคร่าวๆว่าเป็นผ้าไหมทอดิ้นทอง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 25 เม.ย. 06, 09:20

 http://rirs3.royin.go.th/riThdict/
เว็บพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน
พิมพ์คำว่า อัตลัด ลงไปจะเจอความหมาย

อัตลัดเป็นผ้าเทศ หมายถึงว่าเป็นผ้าต่างประเทศ แถวอินเดียหรือไม่ก็เปอร์เชีย  
ถ้าจะซื้อลองไปแถวพาหุรัดอาจจะมี  แต่เขาเรียกว่าอัตลัดหรือเปล่าไม่ทราบได้ค่ะ
ต้องไปอธิบายความหมายให้เจ้าของร้านผ้าฟัง อาจจะเจอ
บันทึกการเข้า
นทีสีทันดร
ชมพูพาน
***
ตอบ: 165

นสพ. จุฬาฯ ปี 6 (extern) แล้วครับ


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 เม.ย. 06, 19:40

 อันนี้สงสัยต้องถามคุณติบอแล้วล่ะครับ รอฟังคำตอบอยู่เหมือนกันครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 06:51

 อ่า.... อธิบายยากนะครับ

ถ้าวันนี้ไม่จบ ขอติดไว้ก่อนล่ะครับ
หนังสือในมือจะอ้างอิงก็ไม่ทราบว่าเก็บไว้กล่องไหน ลังไหนด้วยครับ
เล่มที่น่าจะใช้ได้มากที่สุดเล่มหนึ่งก็โดนเพื่อนรัก(หักเหลี่ยมโหด) ยืมไปแล้วไม่ได้เอามาคืนเสียแล้ว



ขอคว้าสิบเบี้ยใกล้มือมาตอบก่อนนะครับ
จาก ผ้า พัฒนาการทางอุตสาหกรรมและสังคม
ของ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นะครับ

ใครสนใจเปิดอ่านได้ที่หน้า 61 คอลัมทางซ้ายมือครับ

ผ้าอัตลัด เป็นผ้าทอด้วยไหมกับแล่งเงินหรือแล่งทอง อาจเป็นคำที่มาจากภาษามลายู ซึ่งแปลว่าแพรต่วน





แขนเสื้อในภาพอายุประมาณ 150- 250 ปีได้ ตัวเสื้อตัดด้วยผ้าอัตลัดสีแดงครับ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 เม.ย. 06, 06:53


ภาพหลุดครับ แหะๆ

ผมลืมแก้ภาพให้เล็กลง
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 พ.ค. 06, 22:00

 ต้องขอโทษคุณ Gabriel และคุณนทีสีทันดรด้วย ที่ผมไม่ได้มาอธิบายต่อ
พอดีวันนี้หานักเล่าคนใหม่มาช่วยเล่าได้แล้วครับ



ปล. แปะโป้งไว้แล้วหายไปนานขนาดนี้ คนมาเล่าใหม่นี่ผมยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่าเล่าได้เด็ดจริงๆครับ
บันทึกการเข้า
มัธย์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 00:22

 แหมคุณติบอคะ พอดิฉันรับปากจะสมัครสมาชิกก็หาภาระก้อนโตมารอเชียว
เอาเถอะค่ะ จะตอบให้เท่าที่ความรู้ดิฉันจะช่วยคุณได้นะคะ


ขอออกตัวก่อนค่ะ ว่าดิฉันเองความรู้เรื่องผ้าก็มีอยู่แค่กระแบะมือพูดอะไรไปก็ผิดๆถูกๆอยู่ออกบ่อย
ถ้าความรู้ที่มีอยู่ผิดพลาดไปก็ขออภัยไว้ซะก่อนจะเล่าล่ะค่ะ ท่านสมาชิกทั้งหลายอย่าได้ถือสานะคะ




เริ่มที่ผ้าในราชสำนักสยามก่อนแล้วกันค่ะ

ถ้าคุณๆสังเกตงานปราณีตศิลป์ของไทยกัน จะพบว่าราชสำนักสยามนิยมของสวยของงามมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ทุกอย่างที่เจ้านายทรงใช้จะต้องปราณีต สวยงาม และสีสันสดใสสะดุดตาเสมอ

แต่น่าเสียดายค่ะ ชาวสยามทำงานช่างเก่งอยู่ไม่กี่ประเภท
ของที่เหลืออย่างอื่น คนพวกนี้ไม่เคยเลยแม้แต่คิดที่จะเรียนรู้กรรมวิธีการผลิตว่าเขาทำกันมายังไง
ดิฉันสรุปเอาเองดื้อๆว่าพี่ไทยแกถือว่าแกมีเงินซื้อใช้ได้เป็นอันเสร็จพิธี ไม่ต้องมีอะไรต่อ
ของส่วนมากก็แค่ส่งแบบส่งลายไปเป็นต้นแบบให้ช่างต่างชาติทำแล้วส่งกลับมาใช้อีกที
งานจะออกมาสวยงามสมใจหรือผิดแบบไปเท่าไหร่พี่ไทยทำตัวเป็นลูกค้าที่ดีเสมอ เพราะไม่เคยปริปากบ่นแม้แต่น้อย
แถมแกใช้ได้อย่างชื่นชมเสียหมดทุกอย่างและเห็นว่าดีเพราะพี่แกถือว่าเป็น ของนอก ค่ะ


ผ้าผ่อนแพรพรรณก็อยู่ในรายการของที่ดิฉันพูดถึงว่าพี่ไทยไม่เคยทำเองด้วยล่ะค่ะ
โดยเฉพาะงานทอที่ละเอียดปราณีต เรียกได้ว่าช่างในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นของสยามไม่มีความรู้ความสามารถเอาเสียเลย
เจ้านายจะนุ่งผ้าปูมทีก็ต้องสั่งจากเขมร จะนุ่งผ้าเขียนผ้าพิมพ์ก็ต้องสั่งจากอินเดีย มลายู จะนุ่งผ้ายกก็ต้องสั่งจากจีนหรือ อินเดีย
มีสกุลช่างที่พอจะอะลุ่มอล่วยได้ว่าเป็นญาติห่างๆกันแล้วทอผ้าเป็น อยู่ใกล้ที่สุดก็ไกลถึงเมืองนครศรีธรรมราชนู่นแหนะค่ะ

ชื่อผ้าในราชสำนักไทยแต่ละชนิดถึงกระเดียดไปทางฟังไม่ออกว่าเป็นภาษาไหนเสียส่วนมาก
บางชนิดจนปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และเดาศาสตร์ทั้งหลายก็ยังหาคำตอบไมได้ ว่ามาจากภาษาอะไร
ได้แต่สันนิษฐานกันไปต่างๆนานาเขียนตำราขายกันได้เป็นเล่มๆ แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าข้อสันนิษฐานไหนถูก
เพราะผ้าบางชนิดแม้แต่สถานที่ผลิต นักวิชาการปัจจุบันเขาก็ยังเถียงกันอยู่เลยค่ะ


ดิฉันขอนำภาพผ้าชนิดต่างๆจาก สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนมาให้ชมกันนะคะ
สมาชิกท่านไหนสนใจลองเปิดเข้าไปชมเรื่องราวอื่นๆได้ที่ลิงค์ที่ดิฉันให้ไวนะคะ
 http://kanchanapisek.or.th/kp6/May06.htm  
เรื่องน่าสนใจแยะเชียวค่ะ


อ้อ ขอบคุณ คุณติบอที่ช่วยแนะนำวิธีการโพสต์ค่ะ




ผืนแรก ผ้ายกทองนะคะ ลายแบบนี้เวลานุ่งขึ้นมาจะเป็นริ้วแนวตั้งค่ะ
บันทึกการเข้า
มัธย์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 01:01

 ผ้ายก


ก่อนดิฉันจะเล่าเรื่องผ้าอัตลัต ขอปูพื้นพูดถึงเรื่องผ้ายกก่อนนะคะ


สำหรับคนสยามผ้ายก คือ ผ้าอะไรก็ได้ที่มีลวดลายยกขึ้นนูนสูงจากพื้นผ้า
จะทอมาวิธีไหนพี่ไทยแกไม่สนใจอยู่แล้วเพราะแกทอผ้าไม่เป็น แกก็เลยเรียกรวมกันหมดว่าผ้ายกล่ะค่ะ
ส่วนจะเป็นแบบไหนก็เรียกแบ่งแยกย่อยกันลงไปอีกที เช่น ผ้าอัตลัด ผ้าเข้ม ผ้าเยียรบับ ตามลักษณะของผ้าอีกที


สำหรับวิธีการใช้แล้ว หลวงจะพระราชทานผ้าแต่ละผืนให้ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ถึง ไม่ใช่ว่าใครอยากซื้อก็ไปซื้อหาผ้าพวกนี้มาใช้กันได้ง่ายๆ
หรือถ้าจะซื้อไว้ใช้ราคาผ้าแต่ละผืนก็แพงระยับ จะนุ่งทีผ้าก็หนักแสนหนักเพราะทอแทรกด้วยโลหะเป็นจำนวนมาก
การนุ่งก็ต้องคาดเข็มขัดรัดเชือกให้แน่นแล้วอยู่นิ่งๆ เพราะถ้าขยับสักทีสองทีอาจมีผ้าหลุดให้อายได้ง่ายๆ
ด้วยเหตุนี้ ผ้ายกก็เลยกลายเป็นผ้าในพระราชพิธีที่ไม่ต้องเดินทางไกลๆหรือมีการเคลื่อนไหวมากไปโดยปริยายค่ะ


และเช่นเดียวกับของพระราชทานตามยศตามศักดิอื่นๆ ผ้ายกก็มียศมีศักดิ์ตามตำแหน่งของผู้ใช้เหมือนกัน
ตำแหน่งเล็กหน่อยก็นุ่งดอกเล็กๆ ตำแหน่งใหญ่โตขึ้นหน่อยก็นุ่งลายใหญ่ขึ้นมา
โดยเฉพาะผ้าบางลาย เช่น ผ้าสมปักยกเทพนม ผ้าสมปักยกดอกใหญ่ลายต่างๆ จะถูกสงวนไว้สำหรับพระบรมวงศ์เท่านั้น
แม้แต่พระญาติทั้งหลายถ้าศักดินาไม่ถึงก็หมดสิทธิ์นุ่งผ้ายกไปตามยศล่ะค่ะ


ชื่อลายของผ้ายกก็เรียกกันไปตามลายดอกลายดวงของผืนผ้า ไม่มีมาตั้งชื่อให้ดูแปลกหูเรียกลูกค้าเหมือนเดี๋ยวนี้
ลายดอกเล็กๆ ก็เรียกว่าสมปักยกดอกเล็ก ดอกขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ก็เรียกไล่ขึ้นไปตามขนาดของดอกลาย
ส่วนลายไหนพิเศษก้อาจจะเรียกชื่อลายเป็นพิเศษได้ เช่น สมปักยกดอกใหญ่ลายพุ่มข้าวบิณฑุ์ หรือ สมปักยกลายเทพนม ไงคะ



ส่วนคำว่าสมปัก เป็นคำที่ใช้เรียกผ้านุ่งทั่วๆไปที่หลวงท่านพระราชทานให้ ขอแค่เอามานุ่งจีบนุ่งโจงเข้าไปได้ก็เรียกว่าสมปัก
ถ้าเป็นผ้าปูม หรือที่เดี๋ยวนี้มาเรียกกันตามภาษาลาวว่าผ้ามัดหมี่ ก็จะเรียกว่าสมปักปูม
ถ้าเป็นผ้าเขียนหรือผ้าพิมพ์ก็จะเรียกว่าสมปักลาย
ถ้าเป็นผ้ายกก็เรียกว่าสมปักยกไปตามระเบียบค่ะ








ภาพที่ดิฉันแทรกมาเป็นกรวยเชิงของผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราชนะคะ
บันทึกการเข้า
มัธย์
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 01:22

 เข้าเรื่องที่เจ้าของกระทู้ถามมานะคะ




ผ้าอัตลัด ค่ะ




สำหรับราชสำนักสยามแล้ว ผ้าอัตลัดจัดได้ว่าเป็นผ้ายกเกรด 3  คือรองลงมาจากผ้ายกอีกหลายชนิด เช่น ผ้าเยียรบับ หรือผ้าเข้มขาบค่ะ
เพราะเขาถือว่าผ้าชนิดนี้เป็นผ้าที่มีไหมเงินไหมทองทอควบในลวดลายแค่เป็นลายดอกๆ ไม่ได้เป็นทองทั้งผืนเหมือนอีก 2 อย่างที่ดิฉันพูดถึง
เนื่องจากวิธีทอผ้าชนิดนี้ ใช้การเกาะดอกลายทีละดอกลงบนหน้าฟืม ไม่ได้ยกด้วยทองทั้งเส้นตลอดหน้าผ้าค่ะ


ลายของผ้าเยียรบับก็มีขนาดต่างกันออกไปทั้งดอกใหญ่ดอกเล็กเหมือนผ้ายกชนิดอื่นๆล่ะค่ะ
การนำไปใช้นิยมตัดเป็นเสื้อ ตัวสั้นบ้างยาวบ้าง มีปกบ้างไม่มีบ้างตามความนิยมแต่ละช่วงต่างๆกันไป
แล้วก็เหมือนที่เล่าไปแล้ว การใช้ก็ตามยศของผู้สวมใส่เหมือนของอื่นๆไงคะ







คืนนี้ขอตัวก่อนล่ะค่ะ ภาพสุดท้ายดิฉันนำมาจากผู้จัดการ ออนไลน์เป็นภาพผู้นำเอเปคสวมเสื้อที่ตัดจากผ้าเยียรบับของกลุ่มจันทร์โสมานะคะ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 16:47


เอามาฝากครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 16:48


ขยาย
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 16:49


ขยาย
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 16:50


อีกผืนครับ
บันทึกการเข้า
โพธิ์ประทับช้าง
องคต
*****
ตอบ: 399


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 พ.ค. 06, 16:51


ลองดูครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง