เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 62657 ที่มาของ "ตราบัวแก้ว"
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 15:14


ตราเล็กไปหน่อย ขยายให้ดูของในหัตถ์เทวดาชัดๆ
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 18 เม.ย. 06, 21:27

 อ่านแล้วเห็นด้วยกับความเห็นข้อ (ง) ในกระทู้ของลุงแก่ครับ

เท่าที่ผมเคยค้นเรื่องพุทธศาสนาในภาคกลางของประเทศไทย ก่อนการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์เข้ามา
พุทธศาสนาเดิมที่คนไทยนับถือ มีอยู่หลายนิกายด้วยกัน แต่ส่วนมากเป็นพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน
ซึ่งมีอยู่ 2 นิกายสำคัญที่เชื่อเรื่องเทวดานั่งอยู่บนดอกบัวครับ คือ สัทธรรมบุณฑริกนิกาย และ สุขาวดีนิกาย

ทั้งสองนิกายนี้นับถือพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คือ พระอมิตภะพุทธเจ้า (องค์นี้ส่วนมากจะสร้างเป็นพระพุทธรูปองค์ซ้ายในหมู่พระประธาน 3 องค์ของวัดจีนครับ)
เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าองค์นี้ประทับอยู่บนสวรรค์ริมฝั่งแม่น้ำคงคาช่วงที่ไหลอยู่บนฟ้า
ชื่อว่าสวรรค์ชั้น "สุขาวดี" มีพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปรมิตตาประทับอยู่สองข้าง
และเหล่าเทวดาบนสวรรค์ชั้นนี้ จะเกิดขึ้นและประทับอยู่บนดอกบัว
(ถ้าใครนึกไม่ออกไปอ่านกามนิตภาคสวรรค์ดู นั่นล่ะครับสวรรค์ชั้นสุขาวดี)

งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในยุคนั้นจึงมีรูปเทวดาครึ่งท่อนประทับบนดอกบัวแทรกอยู่บ้าง เช่น ลายประดับในเสมาทราย หรือกระเบื้องเชิงชายครับ (เท่าที่จำได้ ถ้าเป็นของสมัยอยุธยา เทวดาในกระเบื้องเชิงชายจะถือพระขรรค์กับดอกบัวครับ)

แต่หลังจากการเปิดรับพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ของอาณาจักรสุโขทัย พุทธศาสนาฝ่ายมหายานพวกนี้ก็เสื่อมความนิยมลงไปจนแทบไม่เหลือเค้าในปัจจุบันแล้ว แต่เราก็ยังเห็นรูปเคารพที่เป็นเทวดาครึ่งท่อนประทับอยู่บนดอกบัว หรือเทวดาครึ่งท่อนรูปดอกบัวแทรกอยู่ในงานศิลปะไทยหลายอย่างนะครับ เช่น ลายเทพนม ไงครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 10:47


รูปวัชระ (สี่แฉกหรือสี่ด้ามต่อกัน) ตามความเชื่อของพุทธศาสนานิกายวัชรยาน หรือนิกายลามะในทิเบตครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 10:49


วัชระทิเบตหน้าตาไม่ต่างกันมากกับวชิราวุธ อันเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ 6

ส่วนอันนี้เป็นสายฟ้าในมือเทวดาในตราบัวแก้ว ขยายให้ดูครับ เห็นได้ว่ารูปร่างไม่เป็นวชิราวุธ เป็นเหมือนเปลวไฟมากกว่า
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 10:59


ส่วนอันนี้เป็นตราวชิราวุธซึ่งเคยใช้เป็นเครื่องหมายประจำทบวงมหาวิทยาลัย เพราะถือว่า กิจการอุดมศึกษาในเมืองไทยนั้น ในหลวง ร. 6 พระราชทานกำเนิด โดยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศนั้น สืบมาจากแนวพระราชดำริ ดังนั้นต่อมาเมื่อมีการตั้งทบวงมหาวิทยาลัย จึงขอพระราชทานอัญเชิญพระราชสัญลักษณ์วชิราวุธมาเป็นเครื่องหมายทบวงฯ

เดี๋ยวนี้ทบวงมหาวิทยาลัยถูกยุบไปเสียแล้ว โดยผลของการปฏิรูปการศึกษา กลายสภาพไปเป็นคณะกรรมการการอุดมศึกษาขึ้นอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการ แต่ผมไม่แน่ใจว่าตราทบวงฯ เดิมนั้น ได้เอาไปใช้เป็นตราของคณะกรรมการการอุดมศึกษาต่อหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 11:20


ตรา กทม. เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ มือถือวชิราวุธชูขึ้นครับ

สงสัยน่าจะตั้งได้อีกกระทู้ ว่าด้วยรูปวัชระหรือสายฟ้าทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฏในเมืองไทย
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 11:27


ส่วนตรานี้เป็นตราของกรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งก็เป็นรูปพระอินทร์อีก แต่ทางกรมนั้นเขามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า พระพลบดี แปลว่าจอมพลัง เอ๊ย เจ้าแห่งพละกำลัง

ตรากรมพละฯ คล้ายตรา กทม. มาก พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณมือถือวชิราวุธเหมือนกัน เป็นแต่พระพลบดีหรือพระอินทร์ของกรมพละฯ นั้น วชิราวุธเป็น 2 ด้าน 2 คม และช้างเอราวัณมี 3 เศียร แต่พระอินทร์ของ กทม. วชิราวุธมีด้านเดียว และช้างก็มีหัวเดียว

ขอบคุณคุณติบอที่เข้ามาแจมครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 11:29

 บางทีวชิราวุธ 2 ด้านของพระอินทร์ หรือพระพลบดีองค์ที่อยู่ประจำกรมพลศึกษานั้น อาจจะทำหน้าที่เป็นดัมเบลด้วยก็ได้กระมัง?
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 11:38


ฮึบ... สู้โว้ย - !

อิอิอิ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:11


พูดกันถึงตราสามดวง ในกฎหมายตราสามดวง ซึ่งมีรูปตราบัวแก้วอยู่ด้วยแล้ว เลยขอเอาตราราชสีห์กับตราคชสีห์มาลงไว้ด้วย

ตราราชสีห์ ประจำตำแหน่งสมุหนายก ว่าราชการฝ่ายพลเรือน ส่วนตราคชสีห์หรือสีหะที่มีงวงเหมือนช้างนั้น เป็นตราของสมุหกลาโหม ผู้ว่าราชการฝ่ายทหาร ปัจจุบันตราราชสีห์ก็ยังเป็นตราประจำกระทรวงมาหดไทยอยู่ครับ และต่อเนื่องไปจากตราราชสีห์ของมหาดไทย บรรดาคณะวิชาภาควิชาต่างๆ ที่สอนวิชารัฐศาสตร์ในเมืองไทย (และผลิตบัณฑิตออกไปเป็นปลัดอำเภอ) ก็เลยมีตราประจำคณะเป็นสิงห์เสียเป็นส่วนมากด้วย เช่นสิงห์ดำของจุฬาฯ สิงห์แดง มธ. สิงห์ขาว มช. สิงห์เขียว เกษตรศาสตร์

ตราราชสีห์มหาดไทยเป็นยังงี้ครับ
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:29


ส่วนอันนี้เป็นตราคชสีห์ ของฝ่ายกลาโหมสมัยโน้น ซึ่งเดี๋ยวนี้กระทรวงกลาโหมไม่ได้ใช้แล้ว เห็นได้ว่าเป็นสีหะเช่นเดียวกับราชสีห์ แต่มีงวงเป็นช้าง
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:35


ในราชการไทย คชสีห์ยังเหลืออยู่ที่เดียวในตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นรูปราชสีห์คชสีห์คู่กันรักษารัฐธรรมนูญ เพราะ "สมุหนายก" หรือนายกรัฐมนตรีสมัยนี้ ท่านมีอำนาจบังคับบัญชาทั้งราชการฝ่ายกลาโหมและพลเรือน ถือว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ

เอาตราสำนักนายกฯ มาให้ดูครับ เป็นตราประจำคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นส่วนราชการย่อยอยู่ในสำนักนายกฯ แต่ใช้ตราเดียวกัน มีตัวอักษรบอกไว้เท่านั้นว่าเป็นของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวทางขวามือของเราเวลาเราหันหน้าเข้ามองตรา คือคชสีห์ครับ มีงวงนิดๆ ตัวทางซ้าย (ซ้ายมือเราผู้ดู) คือราชสีห์
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:38

 มีท่านผู้ใดในที่นี้ที่เป็นเด็ก O.V. เก่า จะช่วยผมหาตราประจำโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยมาลงได้ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า
นิลกังขา
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1012

ทำงานราชการ


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 17:10


ขออภัย ราชสีห์คชสีห์ยังมีอยู่อีกที่หนึ่งที่ยังใช้อยู่ในราชการ คือที่หน้าหมวกตำรวจไทยครับ ตราหน้าหมวกตำรวจไทยนั้นเคยเป็นตราแผ่นดินของสยามสมัย ร. 5 แต่ต่อมาในสมัย ร. 6 ตราแผ่นดินเปลี่ยนเป็นตราครุฑ (ซึ่งใช้มาจนเดี๋ยวนี้) ดังนั้นตราเก่าทางตำรวจก็อัญเชิญเอาไปไว้ใส่หน้าหมวกตำรวจแทน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

ตราแผ่นดินสยามอันเดิมนั้น มีราชสีห์คชสีห์ประคองตราสองข้างเหมือนกันครับ รูปนี้เห็นไม่ชัดนัก คือสัตว์ในนิยายหน้าตาแปลกๆ ที่ยืนถือฉัตรอยู่สองข้างตรานั่นแหละ ในรูปนี้มีสีแดงตัวหนึ่ง สีขาวตัวหนึ่ง ผมพยายามเพ่งว่าตัวไหนราชสีห์ไหนคชสีห์ ก็ดูยากเหลือเกิน
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 02:02

 น่าสังเกตอยู่เหมือนกันนะครับคุณนิลกังขา ว่าเทพดาในตราบัวแก้วตามความเห็นที่ ๑๕ นั้น เทพดาประทับขัดสมาธิขาซ้ายทับขาขวา ปกติเรามักเห็นพระพุทธรูปและเทวรูปประทับขัดสมาธิขวาทับซ้ายมากกว่าซ้ายทับขวา

เลยเกิดข้อสงสัยขึ้นมาเล่นๆ ว่าตราที่ติดอยู่ตามรั้วกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนที่อื่นๆ ในกระทรวงฯ เทพดาท่านนั่งขัดสมาธิขาไหนทับขาไหนครับ

ตะกี้ ผมลองไปเปิดตำราประวัติศาสตร์กฎหมายดู สังเกตเห็นว่าตราบัวแก้วที่ประทับบนกฎหมายตราสามดวงนั้น เทพดาประทับขัดสมาธิขวาทับซ้าย ตรงข้ามกับของกระทรวงครับ

หรืออาจจะเป็นความมึนของผู้แกะตรา ที่เวลาแกะจะต้องกลับซ้ายเป็นขวาขวาเป็นซ้ายภาพเหมือนมองกระจก เลยทำให้เทพดาท่านขัดขาซ้ายทีขวาที (เคยได้เห็นพระตราของเจ้านายบางพระองค์ แกะสลับกันแปลกๆ ด้วยความมึนงงของผู้แกะแบบนี้อยู่บ้างครับ พอประทับออกมาเลยกลับข้างกันยุ่งไปหมด)

หรือเทพดาท่านจะทรงเมื่อยเองก็ไม่ทราบ    
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 19 คำสั่ง