ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ศิลปะวัฒนธรรม
>
ขอเรียนถามคุณเทาชมพูและท่านอื่นๆ เกี่ยวกับบทกลอนของคุณพุ่ม กวีหญิงในสมัยร.3ค่ะ
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
อ่าน: 5595
ขอเรียนถามคุณเทาชมพูและท่านอื่นๆ เกี่ยวกับบทกลอนของคุณพุ่ม กวีหญิงในสมัยร.3ค่ะ
เวคิน
อสุรผัด
ตอบ: 10
ความคิดเห็นที่ 15
เมื่อ 26 เม.ย. 06, 12:48
แล้วกลอนบทอื่นๆของคุณพุ่มล่ะครับไม่ทราบว่าพอจะหาได้ที่ไหน เคยไปที่หอสมุดฯ ก็ไม่มี ทั้งในห้องธรรมดาและห้องหนังสือเก่า
บันทึกการเข้า
ดาวกระพริบ
อสุรผัด
ตอบ: 9
ความคิดเห็นที่ 16
เมื่อ 27 เม.ย. 06, 13:49
กลับมาอ่านแล้วค่ะ
ขอบคุ๕ คุณเทาชมพูอีกครั้งนะคะ
ขอตอบคำถามคุณ pipat
พระองค์เจ้าหญิงบุตรี หรือเปล่าคะ
คุ้นๆ ว่าอ่านจากวิชาการนี่แหละค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1802
ความคิดเห็นที่ 17
เมื่อ 27 เม.ย. 06, 20:37
เพื่อยืนยันว่าไม่มั่ว แบบโอเอเน็ต เชิญคุณดาวกระพริบเล่ารายละเอียดเพิ่มสักนิดนะครับ
บันทึกการเข้า
ดาวกระพริบ
อสุรผัด
ตอบ: 9
ความคิดเห็นที่ 18
เมื่อ 28 เม.ย. 06, 21:25
แหะๆ ขอสารภาพว่า
จำได้เพียงเท่านี้ ที่จำพระนามท่านได้
เพราะมีเพื่อนรุ่นน้อง ชื่อบุตรีค่ะ
ทราบแต่ว่าเป็นพระราชธิดาในพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถ้าสอบ โอ เอเน็ต คอมพิวเตอร์คงไม่ตรวจข้อสอบให้แน่ๆ
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
ตอบ: 25
ความคิดเห็นที่ 19
เมื่อ 29 เม.ย. 06, 11:57
อาจารย์สอนภาษาไทยของดิฉันเล่าว่า กวีในวังท่านหนึ่งมีฝีพระโอษฐ์คมคายมาก
สมัยยังสาว หากใครแซวท่าน ท่านทรงสามารถว่ากลอนสดโต้ตอบได้ที
กวีท่านนั้นน่าจะเป็น พระองค์เจ้าหญิงบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระราชธิดาองค์เล็กใน ร. 3
(เป็นเพื่อนเล่นกับพระราชนัดดา 2 องค์ ที่ ร. 3 ทรงรับอุปการะ ด้วยกำพร้าพ่อคือ พระองค์เจ้าโสมนัสฯ
และ หม่อมเจ้ารำเพย แต่องค์บุตรีแก่ชันษากว่า 6 ปี)
ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 8 บูรพาสาฒ ขึ้น 6 ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จ.ศ. 1190 ในเจ้าจอมมารดาอึ่ง
ธิดาเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)
รัชกาลที่ 5 โปรดฯให้เป็นท้าวสมศักดิ์ และต่อมาทรงโปรดฯสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าอัยยิกาเธอ
กรมหลวงวรเสรฐสุดา อาทิอักษรวรรคศรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ
ปีมะเมีย จ.ศ. 1269 พระชันษา 80 ปี พระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นครูบาอาจารย์ สอนหนังสือในวังค่ะ
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1802
ความคิดเห็นที่ 20
เมื่อ 29 เม.ย. 06, 12:28
น่ากลัวต้องแบ่ง CD เป็นส่องแผ่น แจกเสียทั้งคู่
กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงได้รับยกย่องรองมาจากสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนฯ
ใครตอบได้ใหมครับ ว่าเหตุผลเช่นไร
ผมเคยมีบุญตา เห็นลายพระราชหัตถ์เลขา (ของจริง และทรงด้วยพระองค์เอง) ในรัชกาลที่ 5 สั่งพระองค์เจ้าประวิช(...กระมัง ไม่ได้สอบปี ท่านทรงไว้ลอยๆ อย่างนั้น) ให้จัดการเชิญกรมหลวงฯ ประพาสรถไฟ ตอนนั้นกรมหลวงวรเสรฐสุดาพระชันษามากแล้ว แต่อยากลองของใหม่
อ่านแล้วรู้สึกถึงความรักใคร่ต่อกรมหลวงฯ เหมือนพวกเราคงอยากพาคุณยายไปดูปลาที่พารากอนมังครับ
บันทึกการเข้า
Rinda
อสุรผัด
ตอบ: 25
ความคิดเห็นที่ 21
เมื่อ 29 เม.ย. 06, 21:36
ว่ากันว่าสำนักตักศิลาของท่าน ถือว่าเป็นสำนักศึกษาแห่งแรกของพระราชกุมารพระราชกุมารี
ในรัชกาลที่ 4 และ 5 แทบจะทุกพระองค์ นอกจากนี้พระองค์ทรงเป็นราชนารีผู้ประเมินคุณสมบัติกุลสตรีไทย
สมัยรัชกาลที่ 3 ราชสำนักมีการโล้สำเภาไปค้าขายไกลโพ้นยังแผ่นดินตงง้วน สร้างความมั่งคั่งมหาศาล
เจ้าจอมมารดาอึ่ง แม่ของพระองค์บุตรี เป็นลูกเจ้าสัวโต (ภายหลังเป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยามิตร)
ซึ่งโล้สำเภาเหมือนกัน และใกล้ชิดสนิทในฐานะข้าแผ่นดินของ ร.3 มั้กๆ ตั้งแต่ยังทรงเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
เจ้าสัวโต จึงเป็นขรัวตา ของพระองค์บุตรีนั่นเอง
เพราะพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์สูง ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์ "ลิลิตนิทราชาคริต" พระองค์เจ้าหญิงบุตรี เป็นกวีหญิงแต่เพียงพระองค์เดียว
ที่ได้ทรงรับเลือกท่ามกลางจินตกวีชายให้เข้าร่วม ช่วยกันตรวจแก้ใบหน้าแท่น (ตรวจปรู้ฟ)
ด้วยพระจริยาวัตรที่งดงามน่าชื่นชม และพระปรีชาสามารถด้านอักษรศาสตร ร.5 จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนา
ให้เป็น พระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา (พระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน)
ลิลิตนิทราชาคริต (นิทรา=หลับ ชาคริต=ตื่น) ทรงใช้เวลา 29 วันในการนิพนธ์เพื่อประทานแจก
พระบรมวงศานุวงศ์ในวันขึ้นปีใหม่ เมื่อเสร็จแล้วจึงให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้ชำระ ก่อนให้
พระศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) ตรวจอีกครั้งหนึ่ง
มีโคลงเตือนสติสอนใจหลายท่อน ที่จำได้ตั้งแต่สมัยเรียนคือ หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ความลับไม่มีในโลก
เป็นคติที่นางจอบแก้ว ได้เตือนบุตรชาย อาบูหะซัน ตอนกำลังคลั่งให้ระมัดระวังวังคำพูดคำจา ดังในโคลงนี้
ผิวใครผู้อื่นอ้าง...........คำอัน นี้นา
พ่อจักคิดฉันใด...........ดั่งนี้
กำแพงย่อมมีกรรณ.....คอยสดับ
ดีชั่วใช่จักอั้น.............โอษฐ์เอื้อนออกเอง
บันทึกการเข้า
pipat
แขกเรือน
นิลพัท
ตอบ: 1802
ความคิดเห็นที่ 22
เมื่อ 29 เม.ย. 06, 21:54
ผมหมดตัวแน่ ต้องเพิ่ม CD เป็น 3 แผ่นซะแล่ว
อย่าเพิ่งจบนะครับ คุณ Rinda คงได้รับถ่ายทอดข้อมูลมาลึกซี้งมิใช่น้อย อย่าเก็บไว้คนเดียวนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.035 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...