ดาวกระพริบ
อสุรผัด

ตอบ: 9
|
จากกระทู้สมเด็จเจ้าพระยานะคะ ที่คุณเทาชมพูยกบทกลอนมาค่ะ
"เดี๋ยวขอเล่าถึงผ้าสมปักก่อน
เรื่องนี้มาจากคำอธิษฐานของคุณพุ่ม กวีหญิงคนสวยฝีปากกล้าในสมัยรัชกาลที่ ๓ คำอธิษฐานนี้แต่งเป็นคำคล้องจองกัน จุดมุ่งหมายก็คือ"แซว" บุคคลที่ท่านเอ่ยถึง มีดังนี้ค่ะ
-ขออย่าให้เป็นชิดของเจ้าคุณผู้ใหญ่ -ขออย่าให้เป็นคนใช้ของเจ้าพระยานคร -ขออย่าให้เป็นคนต้มน้ำร้อนของพระยาศรี -ขออย่าให้เป็นมโหรีของพระยาโคราช -ขออย่าให้เป็นสวาสดิของพระองค์ชุมสาย -ขออย่าให้เป็นฝีพายของเจ้าฟ้าอาภรณ์ -ขออย่าให้เป็นละครของแม่น้อยบ้า -ขออย่าให้รู้ชาตาเหมือนอาจารย์เซ่ง -ขออย่าให้เป็นนักเลงอย่างท่านผู้หญิงฟัก -ขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย -ขออย่าให้เป็นดอกไม้ของเจ้าคุณวัง "
อยากทราบรายละเอียดน่ะค่ะ ว่าคุณพุ่ม ได้เขียนแซวใครบ้าง อย่างไรค่ะ
ขอบคุณนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 24 เม.ย. 06, 09:47
|
|
- ขออย่าให้เป็นชิดของเจ้าคุณผู้ใหญ่ เจ้าคุณผู้ใหญ่หมายถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)สมุนายก ซึ่งเป็นแม่ทัพคู่บารมีในรัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นคนดุ ไม่เห็นแก่หน้าใคร คนใกล้ชิดมักถูกเฆี่ยนหลังลายเสมอถ้ารับใช้ไม่ถูกใจ
-ขออย่าให้เป็นคนใช้ของเจ้าพระยานคร นี่ก็คล้ายๆกัน คนใช้เจ้าพระยานครมักถูกลงโทษแปลกๆ เช่นพายเรือช้าไปท่านก็สั่งให้ฝีพายถองเรือ
--ขออย่าให้เป็นคนต้มน้ำร้อนของพระยาศรี พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) เป็นขุนนางใหญ่ที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงมีคนไปหาไม่ขาดสายทั้งวัน เมื่อแขกไปถึงทางบ่าวเจ้าของบ้านก็ต้องยกน้ำร้อนน้ำชามาต้อนรับ ใครเป็นคนต้มน้ำร้อนก็ต้องต้มกันทั้งวันไปจนดึกดื่น ไม่เป็นอันได้พักผ่อน
-ขออย่าให้เป็นมโหรีของพระยาโคราช พระยาโคราช เจ้าเมืองนครราชสีมา อยากมีวงมโหรีในบ้านเหมือนขุนนางผู้ใหญ่ในกรุง แต่หาชาวกรุงไม่ได้ ท่านก็จับพวกข่าพวกลาวซึ่งเป็นเชลยมาหัดมโหรีแทน ฝีมือคงแย่เอาการ -ขออย่าให้เป็นสวาสดิของพระองค์ชุมสาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 24 เม.ย. 06, 09:48
|
|
หมายเหตุ: ที่ยกมาไม่ใช่กลอนค่ะ เรียกว่าคำคล้องจอง แล้วจะมาต่อจนจบนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ดาวกระพริบ
อสุรผัด

ตอบ: 9
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 24 เม.ย. 06, 19:07
|
|
ขออนุญาต นั่งรอเลยนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 24 เม.ย. 06, 20:02
|
|
มานั่งรอด้วยคนครับ
เอ.. เคยทราบมาว่า สมัยนั้น ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือกัน เพราะเกรงว่าจะริไปตอบโต้เพลงยาวกับผู้ชายพายเรือ กรณีคุณพุ่มนี่เป็นข้อยกเว้นรึอย่างไรครับ? ผมเดา(เอาเอง)ว่าสมัยนั้นก็คงไม่ปลื้มเอาเท่าไหร่ที่คุณพุ่ม มาเป็นกวีหญิง เรียนรู้หนังสือเฉกเช่นเดียวกับผู้ชาย อาศัยดูจาก สมญานามที่คุณพุ่มได้รับ ว่า " บุษบาท่าเรือจ้าง" ต้องขอรบกวนอาจารย์เทาชมพู ช่วยให้ความเห็น และให้ความรู้ เสียแล้วล่ะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 06:52
|
|
ถ้าจำไม่ผิด สมญานาม บุษบาท่าเรือจ้าง มาจากการที่ท่านอาศัยอยู่ในเรือนแพ ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นการเรียกในทางลบ (ถ้าผิดพลาดอย่างไร อาจารย์เทาชมพูกรุณาแก้ให้ดิฉันด้วยนะคะ)
ท่านถวายบังคมลา จากการเป็นพนักงานเชิญพระแสงของรัชกาลที่สาม ไปเป็นหม่อมของพระปิ่นเกล้าฯ รัชกาลที่สามท่านประพันธ์กลอนบทนี้ เมื่อคุณพุ่มกลับมาอยู่ในวังหลวงเหมือนเดิมค่ะ
เจ้าช่อมะกอก เจ้าดอกมะไฟ เจ้าเห็นเขางาม เจ้าตามเขาไป เขาทำเจ้ายับ เจ้ากลับมาไย เขาสิ้นอาลัย เจ้าแล้วหรือเอย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 09:00
|
|
เรื่องราวก็เป็นอย่างที่คุณ B เล่าค่ะ สมญา "บุษบาท่าเรือจ้าง" ไม่ใช่คำดูถูกดูหมิ่น แต่เป็นเพราะเธออาศัยอยู่ในเรือนแพของพระยาราชมนตรี ผู้บิดา คุณพุ่มเป็นสาวสวย และสาวเปรี้ยวประจำยุค มีความรู้อ่านออกเขียนได้ แต่งกลอนได้ซึ่งนับว่าหายากในหมู่สตรีสมัยนั้น แพของคุณพุ่มมีเจ้านายหนุ่มๆเสด็จไปร่วมวงสักรวากันเป็นประจำ เช่นเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์(ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เป็นต้น
คุณพุ่มเข้ามารับราชการในราชสำนักรัชกาลที่ ๓ เป็นพนักงานเชิญพระแสง ตำแหน่งนี้ไม่ใช่เจ้าจอม หรือนางข้าหลวงอย่างแม่พลอย เป็นพนักงานฝ่ายใน อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าสิบสองนางพระกำนัล (อย่าเพิ่งขอให้อธิบายคำนี้ มีหนังสือแล้วค่ะแต่หายังไม่เจอตามเคย) เรื่องต่อไปก็เป็นอย่างที่คุณ B เล่า
กลับมาเรื่องกระทู้ -ขออย่าให้เป็นสวาสดิของพระองค์ชุมสาย พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๓ (ต้นราชสกุลชุมสาย) สวาสดิในที่นี้หมายถึงมหาดเล็กคนโปรด กล่าวกันว่าใครเป็นมหาดเล็กคนโปรด ทรงใช้สอยบ่อยก็มีเรื่องให้กริ้วบ่อยพอกัน เวลาใช้ไม่ได้ดังพระทัย เลยโดนจำโซ่ตรวน แย่กว่าคนที่ไม่ได้โปรดปราน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 09:08
|
|
-ขออย่าให้เป็นฝีพายของเจ้าฟ้าอาภรณ์ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ประสูติแต่เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ต้นราชสกุล อาภรณกุล ว่ากันว่าฝีพายของพระองค์ต้องขานถี่และยาวกว่าฝีพายเรืออื่นเวลาเสด็จไปไหนมาไหน คงคอแหบคอแห้งไปตามๆกัน
-ขออย่าให้เป็นละครของแม่น้อยบ้า แม่น้อยบ้าเป็นธิดาพระยานครราชสีมา(ทองอิน) เป็นเจ้าของโรงละคร ละครเจ้าอื่นพอเล่นเขารับเงินค่าจ้าง แต่ละครของแม่น้อยบ้าถึงไม่ได้เงินก็เล่น รับค่าว่าจ้างเป็นพริก กะปิ หอม กระเทียม อะไรก็ได้แล้วแต่คนจ้างจะให้ เอามาแจกตัวแสดง
-ขออย่าให้รู้ชาตาเหมือนอาจารย์เซ่ง อาจารย์เซ่งเป็นหมอดู ใครไปดูก็ทำนายว่าดี คนก็เลยขึ้นกันมาก ในที่สุดแกลืมดูชะตาตัวเองหรือไม่ก็ดูไม่ถูก มีคราวหนึ่งถูกลงพระอาญา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 09:14
|
|
-ขออย่าให้เป็นนักเลงอย่างท่านผู้หญิงฟัก ท่านผู้หญิงฟักเป็นเมียของเจ้าพระยาท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๓ นิสัยชอบเล่นการพนัน เข้าไปเล่นในบ่อนเป็นประจำ วิธีหลอกดึงความสนใจของเจ้ามือคือนั่งโป๊ เปิดผ้าถุงให้ดูของดี เจ้ามือหลงดูทางนี้ พรรคพวกท่านผู้หญิงก็แอบโกงเจ้ามือได้ ทำเอาท่านผู้หญิงเล่นรวยไปเลย
-ขออย่าให้เป็นสมปักของพระนายไวย อธิบายแล้วค่ะ
-ขออย่าให้เป็นดอกไม้ของเจ้าคุณวัง " เจ้าคุณวังคือเจ้าจอมมารดาตานี ในรัชกาลที่ ๑ เกิดจากภรรยาเก่าของเจ้าพระยามหาเสนา(บุนนาค) ท่านเป็นช่างดอกไม้ ใครมีงานมีการก็ไปขอให้ท่านช่วยทำดอกไม้ ดอกไม้ในสวนของเจ้าคุณวังจึงถูกเด็ดตลอดเวลา ไม่มีโอกาสอยู่กับต้นจนบาน
มีอีกข้อสุดท้ายค่ะ -ขออย่าเป็นระฆังวัดบวรนิเวศ สมัยรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ามงกุฎผนวชอยู่วัดบวรนิเวศ วัดอื่นตีระฆังกันแค่วันละ ๒ เวลา แต่วัดนี้พระองค์ท่านโปรดให้ตีระฆังเป็นสัญญาณวันละหลายครั้ง ระฆังวัดบวรเลยถูกตีแทบไม่ได้หยุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หมูน้อยในกะลา
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 09:16
|
|
ขอขอบพระคุณอาจารย์ กับคุณบี ครับที่หาเรื่องราวดีๆมาให้อ่าน ประดับความรู้กัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 25 เม.ย. 06, 21:21
|
|
"สมัยนั้น ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือกัน"
ผมขอแย้งความเห็นนี้ครับ ลองอ่านประวัติเจ้านายตั้งแต่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ลงมา ส่วนมากทีเดียวที่ทรงศึกษากับครูผู้หญิง จนถึงขึ้นสมุด จากนั้นจึงค่อยแยกวิชาเฉพาะ แต่เรื่องกลอนนี่ ก่อนโสกันต์ก็น่าจะทรงได้บ้างแล้ว
ถ้าจะลองทำบัญชีกวีหญิงครั้งรัตน์โกสินทร์ ผมว่าจะได้ถึงสองโหลนะครับ แถมบางคน ไม่แพ้ผู้ชายเลย สุนทรภู่ยังยอมนะครับ
และใครเอ่ย เป็นสตรีเพียงนางเดียว ที่ทรงโปรดให้ตรวจแก้ ลิลิตนิทราชาคริต
อันนี้ขอเชิดชูกวีหญิงหน่อยนะครับ ถูกมองข้ามมาตั้งหลายร้อยปี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 00:57
|
|
เดานะคะคุณ พิพาท
สมเด็จหญิงน้อยค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
  
ตอบ: 148
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 05:14
|
|
เพิ่งเห็นว่าในความเห็นที่ห้าของดิฉัน ใช้ราชาศัพท์ผิด
ขอแก้ไขเป็น ทรงพระราชนิพนธ์ นะคะไม่ใช่ ประพันธ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pipat
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 07:38
|
|
ลิลิตเรื่องนี้ พระราชนิพนธ์ตั้งแต่ยังหนุ่มฟ้อเชียวละครับ กรรมการเป็นผู้ชายดูเหมือนจะสี่ เดี๋ยวจะไปหาหนังสืออ้างอิงมาเฉลย (อยู่ที่ทำงาน)
ระหว่างนี้ เชิญร่วมสนุกกันต่อ ของรางวัลเป็นเพลงของครูมี(แขก) สนใจกันใหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 26 เม.ย. 06, 08:12
|
|
"สมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ" หมายถึงชาวบ้านชาวช่อง ทั่วไปอย่างบรรพสตรีของเราๆนี่แหละค่ะ ไม่ได้หมายถึงเจ้านายฝ่ายใน
มีกวีหญิง ๒ โหลต่อประชากรหญิงนับล้านทั่วประเทศ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วอาจจะต่ำว่า 1% นะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|