เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 29443 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า vs สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 19 เม.ย. 06, 11:23

 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้ชื่อว่าเป็น "พระหัตถ์ขวา" ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ในการบริหารราชการงานเมือง
เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย  เรียกได้ว่าไม่มีผู้เสมอเหมือน
แต่ก็คงมีน้อยคนที่รู้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงรู้สึกเช่นนั้น

ดิฉันมาตั้งกระทู้นี้ก็สืบเนื่องจากกระทู้ ที่คุณสมศักดิ์มาตั้งเรื่องพระราชพินัยกรรมในรัชกาลที่ ๖  
ข้อหนึ่งในนั้นระบุว่า

ฃ้อ ๓ ถ้าเมื่อฃ้าพเจ้า(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) สิ้นชีวิตไป มีลูกชายอยู่ แต่อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์, ฃ้าพเจ้าฃองแสดงความปราร์ถนาว่า ให้เลือกสมเด็จเจ้าฟ้ากรมฃุนสุโขทัยธรรมราชา เปนผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามกฎมณเฑียรบาล

(นี่เป็นคำสั่ง (ห้าม) อีกชั้น ๑ .- ถ้าเสนาบดีจะคิดเลือกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเปนผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์, ให้เสนาบดีกระทรวงวังคัดค้านด้วยประการทั้งปวงจนสุดกำลัง,
เพราะฃ้าพเจ้าได้สังเกตเห็นมาว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ไม่มีศาสนา, ไม่มีศีล, ไม่มีธรรม, วัน ๑ อาจพูดอย่างหนึ่ง, อีกวันหนึ่งอาจกลับกลอกเสียก็ได้,
และฃ้าพเจ้าจะไม่ลืมเลย ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ ลิเอาราชอาณาเฃตต์ฃองพระราชวงศ์จักรีไปฃายฝรั่งเสีย ๓-๔ คราวแล้ว.
ถ้าให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้เปนผู้สำเร็จราชการ ลูกฃ้าพเจ้าอาจไม่มีแผ่นดินอยู่ก็ได้

ข้อความนี้นับว่าร้ายแรง     โดยเฉพาะเรื่องเอาราชอาณาเขตของราชวงศ์จักรี   ก็หมายถึงแผ่นดินสยาม นั่นเอง
ไปขายฝรั่ง

เรื่องอีกด้านหนึ่งเป็นอย่างไร  ขอมาเล่าสู่กันฟัง  เพื่อจะได้มีโอกาสพิจารณาทั้ง ๒ ด้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 เม.ย. 06, 11:39

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕     ในตอนนั้นอังกฤษที่ปกครองมลายู คิดจัดตั้งทำกิจการรถไฟขึ้นใช้ในดินแดนแถบนี้
ทางรัฐบาลไทยเกรงว่าอังกฤษจะขอต่อทำรางรถไฟเชื่อมเข้ามาในประเทศไทย  ไม่ช้าก็เร็ว   วิธีแก้ก็คือชิงทำเองเสียก่อน   ไม่ปล่อยให้อังกฤษแผ่อิทธิพลเข้ามาได้ด้วยข้ออ้างข้อนี้
สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีมหาดไทยก็เสด็จออกไป "กรุยทาง" คือไปสำรวจเนื้อที่ที่จะวางรางรถไฟ    มีผู้ตามเสด็จคือเหล่าเจ้าหน้าที่ในกรมรถไฟ และฝรั่งชื่อ Mr.Gittin เป็นหัวหน้า
การกรุยทางกินเวลาเป็นเดือนๆ   เดินทางด้วยช้าง เพื่อดูเส้นทางให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อดูส่วนที่จะตั้ดสถานี  และวางแผนทำถนน ไม่ให้กินที่ทับหรือตัดกับทางรถไฟ    มีทางรถไฟเป็นสายหลัก
การกรุยทางสำเร็จลงแล้ว  แต่ติดขัดที่งบประมาณสร้างทางรถไฟซึ่งเป็นก้อนใหญ่มาก  รัฐบาลยังไม่มีมากพอ ก็ต้องรั้งรอไว้ก่อน
(มีต่ออีกค่ะ  กรุณาอดใจรอ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 09:15

 จนกระทั่งมลายูทำรถไฟเสร็จ   กิจการได้กำไรงาม   รัฐบาลไทยจึงเห็นว่าควรหยิบยกเรื่องรถไฟขึ้นมาทำเสียที   ติดขัดว่างบประมาณถึง ๔ล้านบาทนั้นยังหาไม่ได้
และมีนโยบายว่าถ้าไปกู้ยืมเงินมา   ก็ต้องมองเห็นว่าได้ดอกผลให้สามารถใช้หนี้ได้   ไม่งั้นก็จะไม่ยืมเป็นอันขาด
คือไม่ใช่ว่ากู้มาก่อนแล้วค่อยคิดทีหลังว่าจะเอาเงินที่ไหนไปใช้เขา   แบบนั้นไม่ทำ

พูดไปแล้วกิจการรถไฟก็ย่อมออกดอกผลมากพอใช้หนี้ได้    จึงตกลงว่าจะทำ  ปัญหาก็คือจะกู้เงินจากใคร

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนึกถึงเรื่องหาแหล่งเงินกู้อยู่    ช่วงนั้นตรงกับพระเจ้าอยู่หัวเสด็จยุโรปครั้งที่ ๒ พอดี
ทรงมีที่ปรึกษาฝรั่งคนหนึ่งชื่อนายสโตรเบล(Mr. Strobel) ก็ทรงปรึกษาว่าจะกู้เงินจาก F.M.S. ที่ให้มลายูกู้ทำกิจการรถไฟ
ดิฉันไม่ทราบว่า F.M.S นี้ย่อมาจากอะไร ใครทราบบ้างคะ?อ่านในนี้แล้วเข้าใจว่าเป็นธนาคารหรือแหล่งเงินทุนของฝรั่งที่ดำเนินกิจการในมลายู
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 09:15

 ม.จ.พูนพิศมัยทรงเล่าในตอนนี้ว่า
"วันหนึ่ง  เสด็จพ่อ...ตรัสออกไปว่า  " เออ ก็ F.M.S เขากำลังรวย    เราเอาเงินเขาเองมาทำเองไม่ได้หรือ? และเวลานี้ทางไมตรีก็กำลังดีอยู่   บางทีจะได้ดอกถูกๆบ้างกระมัง?
นายสโตรเบลก็ฮุบโผงว่า
"เข้าที จะต้องเลียบเคียงดู"
เสด็จพ่อก็ตรัสว่า  "ไม่ได้นา  สโตรเบล  จะต้องกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบเสียก่อน   เราทำเองไม่ได้"

แกก็หัวเราะ รับว่าจะตรองดูก่อน    ครั้นต่อมาวันหนึ่ง  แกมาทูลเสด็จพ่อว่าF.M.S เขาจะคิดดอกเพียง ๔% เท่านั้น   ฉันเห็นเหมือนกับได้เปล่า  จึงตกลงกับเขาไปแล้วว่าจะกู้"
เสด็จพ่อก็ทรงร้อง ว่า "เอ๊ะ   ไม่ทูลในหลวงเสียก่อน  เห็นจะไม่ดีแน่    เพราะท่านจะทรงพระดำริเห็นเรื่องนี้ในยุโรปอย่างไรบ้างก็ไม่รู้"
สโตรเบลก็ตอบว่า "เอาเถอะ   เรื่องนี้ฉันรับผิดชอบเอง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 09:16

 ก็นิ่งกันมาจนไม่ช้านายสโตรเบลก็เกิดตายไปเสียเฉยๆ    เรื่องนี้ก็ระงับมา จนก่อนเสด็จสวรรคตได้สักหน่อย  ก็กลับเข้าที่ประชุมอีก
ทรงทราบตามบันทึกของนายสโตรเบลว่า  ได้ตกลงกู้เงินF.M.S ตามความเห็นของกรมดำรง  แต่แกไม่ได้จดไว้ด้วยว่าเสด็จพ่อขอให้กราบทูลก่อน  

ครั้นเรื่องโผล่ขึ้นตามบันทึกของแก   ท่านจะกราบทูลความจริงก็จะเป็นการแก้ตัว  และซัดคนตาย จึงจำต้องนิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉุนพวกฝรั่งทางสิงคโปร์อยู่ในเวลานั้น   และทรงมีพระราชดำริว่าจะกู้เงินทำรถไฟนั้นจากประเทศยุโรป    จึงเป็นเหตุให้ทรงขุ่นเคือง  มีพระราชดำรัสออกมาว่า

" แล้วกัน  กรมดำรง   อ้ายเงินรายนี้จะเป็นเงินขายเมืองเสียแล้ว"

เผอิญในเวลานั้น  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช(หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ) เสด็จอยู่ด้วย
จึงทรงได้ยิน และทรงจำมาเป็นคำสำหรับกริ้วเสด็จพ่อต่อมาว่า ขายบ้าน ขายเมือง    ท่านพวกนักปราชญ์สมัยใหม่ก็พลอยผสมต่อ   ทั้งๆที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 09:17

 แต่เรื่องนี้ก็สงบระงับกันไป

"เสด็จพ่อทรงเล่าว่า " พ่อชักเคืองที่ถูกกริ้วคราวนั้น   เพราะได้ท้วงแล้ว และอีตาสโตรเบลเจ้ากรรมนั่นก็เสือกตายเสียก่อน  เลยขัดใจ  ไม่ไปเฝ้าตามที่เคยไป นอกจากเวลาราชการ
ซ้ำเย็นๆเวลาท่านประทับเล่นที่วัดราชาธิวาส  ริมแม่น้ำ  พ่อก็ลงเรือผ่านไปเที่ยวเสียไกลๆ

วันหนึ่ง ไปเฝ้าเวลาเสด็จออก   พอจะเสด็จขึ้น  ท่านเสด็จมาตรัสด้วยว่า
"ดำรง  รูปมาถึงใหม่จากยุโรป   เข้าไปดูด้วยกันเถอะวันนี้"
พ่อก็เลยตามเสด็จเข้าไปดังแต่ก่อน    แล้วท่านก็ดีด้วยเหมือนไม่เคยกริ้วมาแล้วเลย อย่างนี้แหละลูก   จะไม่ให้รักท่านอย่างไร"
บันทึกการเข้า
pharmaceutical scientist
มัจฉานุ
**
ตอบ: 70


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 12:00

 ผมคาดว่า FMS น่าจะย่อมาจาก Federated Malay States ประกอบด้วย Perak, Selangor, Negri Smbilan และ
Pahang
FMS เป็นรัฐบาลในกำกับของอังกฤษซึ่งควบคุมรัฐทั้ง 4 นี้ และเป็นผู้ลงทุนทำเส้นทางเดินรถไฟในมาเลย์
ตอนนั้นไทยยังไม่เสีย Kedah, Perlis, Kelantan และ Trengganu
และถ้าตีความจากข้อความนี้
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉุนพวกฝรั่งทางสิงคโปร์อยู่ในเวลานั้น และทรงมีพระราชดำริว่าจะกู้เงินทำรถไฟนั้นจากประเทศยุโรป "
FMS น่าจะหมายถึงข้อความที่กล่าวมาข้างต้น

พอดีหาอ้างอิงที่ชัดเจนมายืนยันยังไม่ได้ รอผู้รู้มายืนยันคำตอบอีกทีครับ
บันทึกการเข้า
B
แขกเรือน
ชมพูพาน
***
ตอบ: 148


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 13:58

 เข้าใจอย่างคุณเภสัชฯเหมือนกันค่ะ
มาเลย์มี FMS กับ UMS หรือ Unfederated Malay States ซึ่ง UMS เป็นรัฐจนกว่า FMS ค่ะ
ไม่มีเวลาไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมเลยค่ะ แต่พรุ่งนี้จะเจอกับเพื่อนมาเลย์ จะลองถามเขาดูค่ะ
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 เม.ย. 06, 22:15


มารายงานตัวค่า กลับจากอังกฤษแล้ว
มาเขียนรายงานต่อหัวฟูเลย

คอยอ่านต่อค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 10:34

 ขอบคุณค่ะ  คิดว่าเป็นอย่างที่คุณเภสัชและคุณ B ให้คำตอบมา
คุณเฟื่องแก้วไปเที่ยวลอนดอน ทั่วไหมคะ  เล่าให้ฟังบ้างได้ไหม

พูดถึงความไว้พระทัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงมีต่อสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็อยู่ในเรื่องมากมายเกินกว่าจะเอามาลงได้หมด
หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความไว้เนื้อเชื่อพระทัย มาจนถึงปลายรัชกาล(หลังจากเกิดเหตุนายสโตรเบล)
ขอยกที่ท่านหญิงพูนพิศมัย ทรงเล่าวไว้อีกตอนหนึ่ง

"เมื่อก่อนสวรรคตได้ ๕ เดือน   เสด็จพ่อ(หมายถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ) มีพระชันษาครบ ๔ รอบ(๔๘ ปี)  
ตามประเพณีไทยถือว่าพิเศษ   จึงมีงานเชิญเสด็จเสวยที่วังเก่า
พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระธำมรงค์เพชรกับทับทิมแก่เสด็จพ่อ  มีพระราชดำรัสว่า
"กรมดำรง   เธอกับฉันเหมือนได้แต่งงานกันมาครบ ๒๕ ปี   จึงขอให้แหวนนี้ไว้ใส่เป็นพยาน"
เสด็จพ่อยังทรงติดพระหัตถ์   ไม่เคยถอดเลยจนสิ้นพระชนม์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 10:46

 อีกตอนหนึ่ง

"แม้จนบัดนี้  ถ้าท่าน(หมายถึงสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ) ทรงเล่าถึงเรื่องราวในรัชกาลที่ ๕  โดยมากก็มีน้ำพระเนตรไหลเป็นทาง
ในเวลาที่ทรงรำพันถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท่านตรัสว่า "ไม่มีอีกละลูก  นายอย่างนี้ หาไม่ได้"
ที่จริงก็น่าเห็นพระทัยท่านอยู่ไม่น้อย เพราะความสนิทสนมกลมเกลียวที่ทรงมีต่อกันมา  เป็นชนิดที่ควรเรียกว่าหาได้ด้วยยากจริงๆ
ดังจะเห็นได้ตามหนังสือที่พวกฝรั่งเขียนๆไว้ในตอนสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้
น้อยเล่มนักที่จะไม่มีคำว่า Prince Damrong อยู่ด้วย
ทั้งนี้เพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ให้ทำการที่เกิดผลประจักษ์แก่ตาคน สมจริง
ดังเสด็จพ่อเคยตรัสกับฝรั่งคนหนึ่งว่า
"ฉันก็ไม่ใช่คนวิเศษอะไร   ถ้าจะเปรียบก็เหมือนซอคันหนึ่งที่เขาปรุงแต่งวางไว้เป็นธรรมชาติ
หากเป็นด้วยพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงหยิบขึ้นชัก  จึงเป็นเพลงดังไปถึงหูท่านเท่านั้นเอง"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 เม.ย. 06, 10:48

 ในทางส่วนพระองค์  ก็ไม่เห็นมีสิ่งใดที่เสด็จพ่อจะไม่ได้ทรงทราบหรือเกี่ยวข้องอยู่ด้วย  เช่น เป็นผู้นั่งในตำแหน่งพยาน
เมื่อเวลาทำพระราชพินัยกรรมส่วนพระองค์เป็นต้น   ซ้ำยังมีพระราชดำรัสด้วยว่า
" ฉันเห็นแต่เธอที่ฉันจะฝากลูกฝากเมียได้"
และด้วยถ้อยคำอันนี้ที่ทำให้เสด็จพ่อเอาพระทัยใส่แก่ราชสำนักในรัชกาลที่ ๕ เป็นพิเศษ
โดยไม่มีใครรู้เหตุจริงสักคน"
บันทึกการเข้า
เฟื่องแก้ว
พาลี
****
ตอบ: 327

เลขานุการ


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 02:46


สวัสดีค่ะ อาจารย์เทาชมพู เก็บดอกเชอรี่มาฝากค่ะ

แผนไปอังกฤษผิดแผนไปไกลเป้ามากค่ะ
เรียกว่า ถ้าวางเป้าหมายไว้ร้อย ได้มาแค่สองเองค่ะ
เพราะเพื่อนอีกคนไม่ได้วีซ่า เลยต้องไปคนเดียว
แต่ก็เป็นการพักผ่อนที่สนุกและคุ้มค่า

ได้ไปเที่ยวลอนดอนเพียงวันเสาร์วันเดียวเท่านั้นเอง
ก็ได้เดินดูย่านน่ารักอย่างน็อตติง ฮิล
หม่ำคัพเค้กสีชมพูแสนอร่อยที่ฮัมมิงเบิร์ดเบเกอรี่
ไปกินติ่มซำที่โซโห และดูละครที่หมายใจไว้
ส่วนแคมเดนไปไม่ทันเพราะดูละครรอบมาติเน่ คือ ห้าโมงเย็น
เลยไปไม่ทัน เพราะรถไฟจะหมดแค่สี่ทุ่ม
เนื่องจากเป็นสัปดาห์อีสเตอร์ค่ะ
เกรงจะไม่มีรถไฟกลับบ้านเพราะพักไกล แถวๆ เฮิร์สต์ กรีนนู่น

วันอาทิตย์ไปเยี่ยมเพื่อนและลูกชายสุดหล่อ

วันจันทร์ไปเที่ยวชมสวนที่ปราสาทของคิงเฮนรี่ที่แปดก่อนกลับค่ะ

ดอกไม้ในสวนต้นฤดูใบไม้ผลิหลายๆพันธุ์ยังไม่บาน
แต่ก็ได้รูปทุ่งแดฟโฟดิลและเชอรี่มาหลายรูปเหมือนกันค่ะ

เป็นทริปสบายๆ ไม่เร่งรีบ คุยกับเพื่อนออกรสกว่าเที่ยวเสียอีกค่ะ
เพราะจุดประสงค์เดิมที่ตั้งใจไปคือจะไปเล่นแมวทั้งห้าของเพื่อน
น้องแมวข้างบนชื่อฟีบี้ มานอนเป็นเพื่อนทุกคืนเลยค่ะ

กะว่าหน้าร้อนจะไปใหม่ ติดใจละครมากๆ ค่ะ
แต่คราวหน้าคงต้องหาที่พักในลอนดอน
เพื่อชมอะไรต่อมิอะไรในลอนดอนน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
สมศักดิ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 05:06

 ผมขออนุญาตแสดงความเห็น-ตั้งข้อสังเกตสั้นๆเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ระหว่าง ร.6 กับ กรมดำรง

ดังที่แจ้งไว้ในตอนโพสต์กระทู้ถามเรื่องพินัยกรรม ร.6 ว่า แม้ว่า คนที่พูดถึงหรือเผยแพร่เรื่องพินัยกรรม ร.6 (บทความในศิลปวัฒนธรรม) จะสนใจเรื่องที่ ร.6 ทรง "ด่า" กรมดำรงอย่างรุนแรง ผมเองไม่ได้สนใจประเด็นนี้โดยตรง ผมสนใจพินัยกรรม ในประเด็นแรกสุดที่สำคัญที่สุดของพินัยกรรม คือการกำหนดเรื่องใครจะเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 7 (ผมกำลังเตรียมบทความ เกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 แต่จำเป็นต้องย้อนหลังไปพูดถึงการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 7 โดยละเอียด เขียนมา 20 กว่าหน้า ยังไม่ถึงรัชกาลที่ 8 สักที)

แต่ในกรณีความขัดแย้งระหว่าง ร.6 กับกรมดำรง ซึ่งเป็นเรื่องเล่ากันแบบปากต่อปากในหมู่คนสนใจมาเป็นเวลานานนั้น ผมเองไม่มีความรู้มากพอจะคิด หรือเสนออะไรมาก

ในที่นี้ เพียงแต่อยากตั้งข้อสังเกตโดยเริ่มจากข้อความที่กล่าวถึงในพินัยกรรม และเริ่มจากตรงนี้ โดยใข้วิธีการที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า "การวิพากษ์เชิงประวัติศาสตร์" (historical criticsim) คือการวิเคราะห์หลักฐานนั่นเอง

เมื่อพูดถึงความขัดแย้งที่แสดงออกในพินัยกรรม "ท่านสุภัทร" (ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล โอรสองค์สุดท้ายของกรมดำรง) ทรงพูดถึงกรณีเรื่องป่าไม้ เรื่องสโตเบล ฯลฯ ดังที่คุณ "เท่าชมพู" ได้พูดถึงมานี้

แต่ผมมีข้อสังเกตุเชิงสงสัยอยู่ว่า จะใช่ประเด็นนี้หรือที่ทำให้เกิด outburst ในพินัยกรรม

ผมไม่ได้บอกว่า ไม่ใช่
อาจจะใช่ก็ได้ แต่ผมมีข้อไม่แน่ใจอยู่

ถ้าเราดูใน "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" ที่เขียนในปี 2467 (ไม่ใช่ 2466 ดังที่ผู้จัดพิมพ์เข้าใจ) จะเห็นว่า ส่วนที่กล่าวถึงกรมดำรงนั้น แม้จะมีลักษณะเชิง "ประชด" แบบ "ลึกๆ" แต่ก็ไม่ถึงกับมีลักษณะ "ด่า" (ดูตอนที่พูดถึง "ความฉลาด" ของกรมดำรง เรื่องเสนอให้งดการอภัยโทษนักโทษ เป็นต้น)

เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆที่ทรง "ด่า" แล้ว จะเห็นว่า ไม่ถึงกับ "แรง" เท่าไร

เหตุการณ์เรื่อง สโตเบล ฯลฯ เอง ก็เกิดขึ้นกว่า 15 ปีแล้ว (สมัย ร.5)

ข้อสงสัยของผมคือ สมมุติว่า ในพินัยกรรม ทรง refer ถึง กรณีอย่างสโตเบล จริงๆ ผมก็ยังรู้สึกว่า น่าจะต้องมีเหตุอื่นที่กระตุ้นให้ทรงเกิด outburst เช่นนั้น

พูดง่ายๆคือ น่าจะไม่ใช่ประเด็น สโตเบล เสียทีเดียว ที่เป็นสาเหตุเฉพาะหน้าของพินัยกรรม

ส่วนอะไรที่มากระตุ้นให้เขียนเช่นนั้นในพินัยกรรม ผมไม่ทราบเหมือนกัน

(โปรดอย่าเข้าใจผิด ผมไม่ได้กำลังเสนอว่า กรณีอย่างสโตเบล ไม่สำคัญ หรือไม่ใชปัจจัยหนึ่ง แต่เรื่องเกิดกว่า 15 ปีก่อนสวรรคต ในระหว่างนั้น จะต้องมีปัญหาอื่นๆ ความสัมพันธ์อื่นๆ ที่เป็นปัจจัยให้ ร.6 kept ความรู้สึกเชิงปฏิปักษ์กับกรมดำรงมานานขนาดนั้น และ (ในความเห็นของผม) จะต้องมีเหตุเฉพาะบางอย่างที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด outburst ในช่วงปลายปี 2468)

ความสัมพันธ์ระหว่าง ร.6 กับเจ้านายต่างๆ เป็นประเด็นที่ซับซ้อน และเกี่ยวพันถึงปัญหาเชิง "ส่วนพระองค์" ที่ละเอียดอ่อนบางอย่าง ซึ่งผมเองไม่แน่ใจว่า คนในที่นี้อยากจะ discuss จริงๆหรือไม่ แต่เป็นที่รู้กันทั่วไปในแง่ที่ โดยทั่วไป ความสัมพันธ์กับพระญาติวงศ์ ไม่ดีนัก แต่ทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกว่า กับบรรดา "ขุนนาง" (เช่น กลุ่ม เจ้าพระยารามราฆพ เป็นต้น) มากกว่า กรณี กรมดำรง เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับพระญาติดังกล่าว
บันทึกการเข้า
สมศักดิ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 22


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 22 เม.ย. 06, 05:14

 พินัยกรรม เขียนปลายปี 2468
"ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" เขียนปี 2467

ท่าทีต่อ กรมดำรง ในพินัยกรรม รุนแรงกว่า ใน "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" อย่างมาก

เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

กรณีสโตเบล ฯลฯ เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 หรือกว่า 15 ปี ก่อนเขียนพินัยกรรม

ฯลฯ ฯลฯ

เหล่านี้คือวิธีการตั้งคำถามเมื่อนักประวัติศาสตร์ต้องอ่านหรือวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์สักชิ้นหนึ่ง หัวใจคือ ต้องสนใจในเชิง "เวลา"

(ลองนึกดูง่ายๆว่า เราเองทุกคน ปีนี้ ณ เวลานี้ กับปีกลาย ก็มีหลายอย่างเปลี่ยนไปมาก อย่าว่าแต่ 15 ปีที่แล้ว ถ้าเหตุการณ์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว จะมีผลกระทบต่อเรามากๆ - เป็นไปได้ ไม่ใช่ไม่ใด้ - ก็ยังขึ้นอยู่กับช่วงระหว่างนั้นด้วย คือ 15 ปีที่ผ่านมาด้วยว่า เราเองผ่านประสบการณ์อะไร ทำไมเหตุการณ์ 15 ปีก่อน จึงถูก kept alive ในตัวเราขนาดนั้น เป็นต้น)

และต้องไม่ลืม ที่จะพยายามดู หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างนั้น (เช่นในกรณีนี้ เรื่อง "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" โดยเปรียบเทียบกันด้วย ทำไม ถ้าทรง "เกลียด" กรมดำรงมากขนาดที่เขียนในพินัยกรรม จึงไม่ทรงแสดงออกใน "ประวัติต้นรัชกาลที่ 6" ลองเปรียบเทียบกับกรณีอย่าง กับ "น้องชายเล็ก" เจ้าฟ้าจักรพงษ์ กรมขุนพิษณุโลก แม้ฝ้ายหลังจะสิ้นพระชนม์ไปกว่า 3 ปี ตอนที่ทรงเขียน "ประวัติต้นรัชกาล" และแม้ เหตุการณ์ที่บรรยายถึงในงานนั้น จะเกิดขึ้นกว่า 13-14 ปีแล้ว เมื่อทรงบรรยายถึง "น้องชายเล็ก" ยังมีลักษณะ "ขมขื่น" อย่างชัดเจน (เรื่อง "น้องชายเล็ก" ชอบ "เอาเปรียบ" เรื่อง "เสด็จแม่" ชอบเข้าข้างน้องชายเล็ก เรือง พระองค์เอง "เสด็จแม่" ไม่ทรงรักเท่าน้องชายเล็กเป็นต้น เรื่องเหล่านี้ เขียนอย่าง vivid มากๆในงานนั้น)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง